November 23, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

LINE TODAY เปิดอินไซต์พฤติกรรมบริโภคคอนเทนต์ - ข่าวสารของคนไทยบนแพลตฟอร์มในรอบปีที่ผ่านมา พบ “การเมือง – ดวง – บันเทิง” ครองหมวดเนื้อหามาแรงที่สุด พร้อมเผยความชอบตามช่วงวัย พบผู้อ่านวัยต่ำกว่า 30 ปีสนใจชอบ “บันเทิงเอเชีย” ขณะที่ก็ตื่นตัวเรื่องการเมืองไม่แพ้กัน

 

เผยท็อป 3 หมวดคอนเทนต์คนไทยนิยมเสพในรอบปี

1) การเมือง การเลือกตั้งในปีที่ผ่านมาถือเป็นวาระสำคัญของประเทศที่ทำให้เรื่องการเมืองอยู่ในความสนใจของคนทุกช่วงวัย ตามด้วยเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เรียกได้ว่าร้อนระอุแบบไม่แผ่ว ส่งให้คอนเทนต์การเมืองถูกอ่านรวมกว่า 514 ล้านวิว นอกจากนั้น ยอดวิวการเข้าชมไลฟ์นับผลคะแนนเลือกตั้งยังพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์กว่า 5.4 ล้านวิว โดยบุคคลและคำสำคัญที่ถูกคลิกอ่านมากที่สุด ได้แก่ “ก้าวไกล - พิธา – ทักษิณกลับไทย - ดิจิทัลวอลเล็ต และ สมรสเท่าเทียม”

2) ดวงชะตาราศี เป็นหมวดที่ไม่เคยหลุดออกจากความสนใจคนไทยไม่ว่าจะปีไหน โดยผู้ใช้งานนิยมติดตามคอนเทนต์ดวงประจำวัน สีมงคล เสี่ยงเซียมซี และตรวจดวงชะตาจากคำทำนายจากหมอดูชื่อดัง รวมมียอดวิวมากถึง 473 ล้านครั้ง โดยหมอดูที่ผู้อ่านโหวตชื่นชอบที่สุดได้แก่ “หมอไก่ พ.พาทินี”

3) บันเทิง หมวดเนื้อหาที่มาพร้อมกับความสนุกในทุกแง่มุมของวงการบันเทิง จึงไม่แปลกใจที่จะอยู่ในความสนใจคนทุกช่วงวัย ซึ่งเฉพาะบันเทิงไทยหมวดเดียวก็มียอดวิวรวมกว่า 316 ล้านวิว นอกจากนี้

“ลิซ่า แบล็กพิงค์” และ “แอฟ ทักษอร” ยังรั้งตำแหน่งคนบันเทิงที่มีเรื่องราวถูกติดตามอ่านมากที่สุด ขณะที่คอนเทนต์เกี่ยวกับภาพยนตร์ที่ถูกอ่านมากที่สุด ได้แก่ “สัปเหร่อ” และละครไทย ได้แก่ “พรหมลิขิต” ที่มีประเด็นร้อนหลายแง่ตั้งแต่ต้นจนจบ ด้าน “พีพี กฤษฏ์ – บิวกิ้น พุฒิพงศ์” ครองโหวตศิลปินแห่งปี และฝั่ง “นางงาม” หัวข้อที่คึกคักไม่แพ้กัน เพราะมีการเข้าชมไลฟ์ Miss Universe Thailand 2023 รวมกว่า 1.5 ล้านวิว โดย “แอนโทเนีย โพซิ้ว” ซิวมง “ข่าวบันเทิงแห่งปี” และ “อิงฟ้า วราหะ” คว้าตำแหน่ง “แฮชแท็กแห่งปี” จากคะแนนโหวต

นอกจากนี้ ยังพบว่าคอนเทนต์หมวด “สุขภาพ” มีการเติบโตอย่างน่าสนใจ โดยผู้ใช้งานติดตามบทความเกี่ยวกับสุขภาพจิตและการดูแลตนเอง โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 ที่อยู่ในความกังวลคนไทยอย่างต่อเนื่อง มียอดอ่านมากถึง 187 ล้านวิว จากเฉพาะเรื่องฝุ่น

 

เผยพฤติกรรมผู้อ่านจากระบบ AI ช่วงวัยไหน ชอบอ่านอะไร

· กลุ่มผู้อ่านอายุต่ำกว่า 20 ปี สนใจเนื้อหาบันเทิง และ ข่าวทั่วไป เป็นสัดส่วนถึง 80% ของเนื้อหาที่คนกลุ่มนี้บริโภค

· กลุ่มผู้อ่านอายุ 20 – 30 ปี สนใจเนื้อหาบันเทิงมากที่สุด โดยเฉพาะ “บันเทิงเอเชีย” แต่ก็ตื่นตัวติดตามเรื่องการเมืองเพิ่มขึ้นถึง 67% ในเวลาเดียวกัน

· กลุ่มผู้อ่านอายุ 30 – 40 ปีขึ้นไป สนใจคอนเทนต์ดวงชะตาราศี ลอตเตอรี ไลฟ์สไตล์-กินเที่ยว

· กลุ่มผู้อ่านวัย 50 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มวัยที่มีความสนใจโดยเฉลี่ยหลากหลายที่สุด ตั้งแต่เศรษฐกิจ กีฬา สังคม การเมือง ต่างประเทศ และบันเทิง

ชมวิดีโอ A Year in Review คนไทยชอบคอนเทนต์ข่าวสารอะไรในปีที่ผ่านมา โดย LINE TODAY ได้ที่: https://lin.ee/aWaox3l/wcvn

นายอมันพรีท บาจาจ ผู้จัดการทั่วไป ประจำอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน Airbnb กล่าวว่า Airbnb ร่วมกับ YouGov บริษัทวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลระดับโลก ทำการสำรวจแนวโน้มการท่องเที่ยวของคนไทยปี 2564 (Meaningful Travel Trends Survey 2021) พบว่าในปีนี้ คนไทยต้องการกระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและกลุ่มเพื่อนฝูง เน้นทริประยะสั้นเพียง 1-3 วัน และเข้าหาธรรมชาติมากขึ้น พร้อมมองหาที่พักราคาย่อมเยา การบริการเฉพาะบุคคล และที่สำคัญต้องสะอาดและปลอดภัย

 

“เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้คนไม่สามารถท่องเที่ยวได้เหมือนเดิม ปี 2564 จะเป็นปีที่เราเห็นผู้คนออกเดินทางอย่างมีความหมายและมีวัตถุประสงค์มากขึ้น Airbnb เชื่อว่าคนไทยมีความต้องการที่จะเดินทางเพื่อกระชับความ สัมพันธ์กับคนที่ตัวเองรัก โดยไปในที่ๆ ราคาย่อมเยา ปลอดภัย และสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับครอบครัวจะเป็นหัวใจหลักที่จะขับเคลื่อนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในประเทศ โดยเฉพาะในเทศกาลสำคัญอย่างสงกรานต์ที่ใกล้จะมาถึงนี้ การท่องเที่ยวมีความยืดหยุ่นและจะฟื้นตัวกลับมาเหมือนเดิมอีกครั้ง ทั้งนี้ Airbnb พร้อมมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนและฟื้นฟูการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศในระยะยาว” นายอมันพรีทกล่าว

 

โดยการสำรวจครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อต้องการเข้าใจในพฤติกรรมและความต้องการด้านการท่องเที่ยวในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของคนไทย ทั้งนี้  จากผลการสำรวจ พบว่า ท่องเที่ยวกับครอบครัวเป็นเหตุผลอันดับแรกที่คนไทยอยากออกท่องเที่ยวในประเทศ แต่ท่ามกลางวิกฤติการระบาดของโควิด-19 ได้ทำให้ความสัมพันธ์ครอบครัวที่อยู่ด้วยกันแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดย 68% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า รู้สึกใกล้ชิดและผูกพันกับสมาชิกในครอบครัวมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็รู้สึกห่างเหินจากเพื่อนฝูง ซึ่งสะท้อนถึงผลการสำรวจที่ระบุว่า 47% ต้องการท่องเที่ยวกับครอบครัวโดยทันที ตามด้วยการท่องเที่ยวกับคู่รัก การเดินทางคนเดียว และท่องเที่ยวเป็นกลุ่มกับเพื่อน

 

นอกจากนี้ คนไทยยังมองหาการเดินทางที่มีราคาย่อมเยาและให้ความรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน โดยผู้ตอบแบบสอบถามเลือก ราคาย่อมเยาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจในการเดินทางและเลือกที่พักในปีนี้ เช่นเดียวกับโปรโมชั่นและส่วนลดต่างๆ รวมถึงค่าเดินทางที่สมเหตุสมผล

 

ตามด้วย ที่พักที่ให้บริการดีและให้ความรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน ตลอดจน การจัดการเรื่องสุขอนามัยและความปลอดภัยเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่คนไทยนำมาพิจารณา (รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่ มาตรการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย และอื่นๆ) นอกจากนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ได้ระบุว่า มีความยินดีที่จะใช้จ่าย 5,000 - 15,000 บาท ในการเดินทางปีนี้ ขณะที่กลุ่มผู้ตอบคำถามอายุมากกว่า 55 ปีมีความยินดีที่จะใช้จ่ายมากกว่า 50,000 บาท

 

นอกจากนั้น ผลสำรวจพบว่า ทริประยะสั้นและการไปพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติจะเป็นที่นิยมในปีนี้ เห็นได้จากที่ผลสำรวจระบุว่า 74% ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการเดินทางเป็นระยะเวลา 1-3 คืน โดยต้องการไปในจุดหมายปลายทางที่ได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติและมีอากาศดี ขณะที่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนถือเป็นเรื่องสำคัญของคนไทย เพราะผลสำรวจระบุว่า 73% ของคนไทยมักใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเมื่อตัดสินใจเลือกที่พักและจุดหมายในการเดินทาง

Airbnb ในฐานะแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวที่ให้บริการทั้งที่พักและเอ็กซ์พีเรียนซ์ที่มีเอกลักษณ์และราคาย่อมเยา มีความตั้งใจที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในประเทศไทยเสมอมา รวมถึงการเป็นพันธมิตรที่ดีต่อชุมชนท้องถิ่นและผู้ที่ความเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ Airbnb ยังให้ความสำคัญกับการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น และเสริมความแข็งแกร่งให้พวกเขาสามารถสร้างรายได้เสริมจากการให้บริการบนแพลตฟอร์ม

 

ในช่วงที่การท่องเที่ยวเริ่มกลับมาอีกครั้ง Airbnb ได้เปิดตัว  Luck พัก Joy: Airbnb มอบอั่งเปาเที่ยวทั่วไทยรับตรุษจีน เพื่อส่งความสุขช่วงเทศกาลและสร้างแรงบันดาลใจในการเดินทาง รวมถึงยังได้เปิดตัว 2 เอ็กซ์พีเรียนซ์ใหม่จากเชฟหญิงชื่อดังของไทยอย่าง เชฟไก่ (ธนัญญา ไข่แก้ว) เจ้าของร้านขนมหวานชื่อดัง Brioche from heaven และเชฟนูรอ (นูรอ โซ๊ะมณี สเต็ปเป้) เจ้าของร้านไทยที่เป็นที่รู้จักทั่วโลกอย่าง Blue Elephant เพื่อเฉลิมฉลองวันสตรีสากลอีกด้วย

 

นอกจากนั้น ในปีที่ผ่านมาได้มีรายงาน ผลกระทบของ Airbnb ต่อเศรษฐกิจในประเทศไทย โดยสถาบันวิจัยอ็อกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า Airbnb เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยในปี 2562 โดยสร้างเม็ดเงินมูลค่า 4.37 หมื่นล้านบาทให้กับจีดีพีไทยและทำให้เกิดการจ้างงานกว่า 113,300 ตำแหน่งในประเทศไทย รายงานดังกล่าวยังระบุอีกว่า Airbnb มีบทบาทสำคัญต่อการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในประเทศไทย รวมถึงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นและช่วยสร้างงานกว่าแสนตำแหน่ง

ความท้าทายหนึ่งของการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยคือการออมของประชากรในประเทศ หากคนในประเทศมีความสามารถเก็บออมทรัพย์สินเพื่อใช้จ่ายในยามเกษียณอย่างพอเพียง ปัญหาด้านอื่นจะลดลงไปอย่างมาก แต่จากการศึกษาของศูนย์ Customer Insights by TMB Anylytics ที่ศึกษาในหัวข้อ “คนไทยมีเงินเหลือใช้ไม่ถึง 6 เดือนเมื่อหยุดทำงาน”

ผลสำรวจพบว่า คนไทยอายุระหว่าง 18-54 ปี มีเพียง 34 % ที่คิดว่ามีเงินเก็บเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายหากไม่มีงานทำได้นานถึง 6 เดือนหรือมากกว่า

 

นริศ สถาผลเดชา ผู้บริหาร TMB Analytics และ นันทพร ตั้งเจริญศิริ หัวหน้าทีม Customer Experience & Insights ให้รายละเอียดถึงผลการศึกษาพฤติกรรมการทางการเงินของคนไทย ว่า   “จากการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินของคนไทยตลอดเส้นทางทั้งการออม การใช้จ่าย การลงทุน การป้องกันความเสี่ยง” ในด้านเงินออมเราพบว่าคนไทยส่วนใหญ่มีเงินออมพอใช้ไม่ถึง 6 เดือน จากฐานข้อมูลจำนวนผู้ประกอบอาชีพ 35 ล้านคน เราแบ่งคนที่มีเงินออมเหลือจากการใช้จ่ายออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มมีเงินออมไม่พอ มีสัดส่วนถึง 80% ซึ่งเป็นกลุ่มที่เงินออมเหลือไม่พอใช้จ่ายไปอีก 6 เดือน ขณะที่กลุ่มที่มีเงินออมพอสำหรับการใช้จ่ายตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปมีสัดส่วนเพียง 20% (อ้างอิงตัวเลข 6 เดือนจากการจ่ายเงินชดเชยของประกันสังคมกรณีว่างงาน) ในขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นกับคนไทยอายุ 18-54 ปี กลับมีถึง 40% ที่ค่อนข้างมั่นใจว่ามีเงินออมพอใช้หลังเกษียณ เพราะมีการออมเงินไว้แล้วถึงแม้จะยังไม่มาก

นอกจากนี้ ปัญหาการออมเงินไม่ขึ้นอยู่กับ ระดับรายได้ พื้นที่ที่ประกอบอาชีพ และประสบการณ์ทำงาน กล่าวคือ 70% ของผู้ที่มีรายได้สูง (มีรายได้มากกว่า 3 หมื่นบาทต่อเดือน) ก็ยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มมีเงินออมไม่พอและพบว่าการประกอบอาชีพในพื้นที่ที่ต่างกันไม่ว่าเป็นกรุงเทพและปริมณฑล หรือต่างจังหวัดไม่มีผลต่อการออมเงินซึ่งสะท้อนจาก 80% หรือคนส่วนใหญ่ของทั้งสองพื้นที่ถูกจัดเป็นกลุ่มมีเงินออมไม่พอ นอกจากนี้ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มวัยเริ่มทำงาน (Gen Y) หรือกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า (Gen X) ยังคงวนเวียนอยู่กับปัญหาเงินออมไม่พอ และพบว่าคนที่มีเงินออมไม่พอส่วนใหญ่เป็นพนักงานเอกชนและจ้างงานอิสระ  

 

การขาดวินัยในการออมน่าจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนไทยมีเงินออมไม่พอเพียง โดยมีเพียง 38% ที่มีพฤติกรรมออมก่อนใช้และ

แยกบัญชีชัดเจน ในขณะที่ 49% ใช้ก่อนออมทีหลัง และอีก 13% ยังไม่คิดออม และต่อให้มีการออม ก็มีแค่ 35% เท่านั้นที่มีวินัยในการออมเท่ากันทุก ๆ เดือน อีกทั้งยังรู้สึกว่าการวางแผนการใช้จ่ายหลังเกษียณเป็นเรื่องไกลตัว โดย 21% ยอมรับว่ายังไม่เคยคิดถึงการวางแผนเลย

“พฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทย” เป็นสาเหตุของรอยรั่วเงินออม  โดยเฉลี่ยคนไทยมีการใช้จ่าย 76% ของรายได้ต่อเดือน ที่เหลือเป็นการออม 21% และป้องกันความเสี่ยง 3% และถ้าเป็นกลุ่มที่มีเงินออมไม่พอ จะมีการใช้จ่ายสูงถึง 82% ขณะที่การออมลดลงเหลือ 14%  ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทย ที่สำคัญคือไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปเน้นความสะดวกสบายและรวดเร็ว ติดหรู เช่น ทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น เน้นสถานที่บรรยากาศดี ชิลชิล ชิคชิค และนิยมเสพโซเชียลมีเดีย แชท แชร์ เพิ่มขึ้น

อีกพฤติกรรมที่บ่งชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายเกินกำลังจะเห็นได้จากในปัจจุบัน มากกว่า 50% ของคนที่มีบัตรเครดิตไม่สามารถจ่ายบิลรายเดือนได้เต็มจำนวน และอีกประมาณ 48% เคยผ่อนสินค้าแบบยอมเสียดอกเบี้ย

 

ในมุมของการใช้จ่าย พบว่าคนไทยส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นสูงถึง 1 ใน 4 ของรายได้ต่อเดือน  โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีเงินออมไม่พอ นอกจากจะเน้นใช้จ่ายไปกับด้านความบันเทิงแล้ว ยังมีการบริโภคสุราและสูบบุหรี่มากกว่าคนที่เงินออมพอถึงสองเท่า  ทั้งนี้ ในจำนวนเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นมีมูลค่าพอ ๆ กับค่าใช้จ่ายจำเป็นอย่างการประกันความเสี่ยงและการศึกษา

 

“ไม่ว่าคนที่ออมพอหรือออมไม่พอ ก็ออมผิดที่กันทั้งนั้น” ผลการวิคราะห์พบว่าการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินของทั้งกลุ่มคนที่มีเงินออมไม่พอกับกลุ่มคนที่มีเงินออมพอ จะกระจุกอยู่ที่เงินฝากธนาคารกว่าร้อยละ 80 และเกินครึ่งเป็นเงินฝากออมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉลี่ยสัดส่วนของเงินฝากจะต่ำกว่าร้อยละ 50

 

คนไทยส่วนใหญ่เผชิญความเสี่ยงสูง ทั้งในแง่อุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากโรคร้าย แต่กลับป้องกันความเสี่ยงในระดับต่ำ ประเทศไทยมีอัตราการตายจากอุบัติเหตุสูงเป็นที่ 13 ของโลกและมีค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาลสูงขึ้นทุกปี แต่ทั้งกลุ่มที่เงินออมพอและกลุ่มที่มีเงินออมไม่พอมีการทำประกันประกันไว้ไม่ถึง 10% ซึ่งสอดคล้องกับสัดส่วนเบี้ยประกันต่อรายได้รวม (Insurance Penetration) ของไทยยังอยู่ในระดับต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศพัฒนาแล้ว

 

 

 

 

ตัวเลขน่าตกใจเหล่านี้ คือสิ่งที่คนไทยวัยทำงานต้องหาหนทางเปลี่ยนแปลงสัดส่วนตัวเลขต่างให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของตนเอง เตรียมตัวรับมือกับความไม่แน่นอนทั้งในช่วงวัยทำงานและวัยเกษียณที่จะมาถึง

 ศูนย์ Customer Insights by TMB Analytics เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหน่วยงานภายในของทีเอ็มบี  คือ ทีม TMB Analytics และ ทีม Customer Experience & Insights  ผนึกองค์ความรู้ทางด้านเศรษฐกิจและด้านการวิจัยพฤติกรรมเชิงลึกของลูกค้า ประกอบกับการเชื่อมโยงข้อมูลที่มีประสิทธิภาพกับศูนย์วิเคราะห์วิจัยจากพันธมิตรอย่าง ไอเอ็นจี เพื่อการเก็บข้อมูลที่ได้กว้างมากพอที่จะนำมาศึกษาได้โดยละเอียด เพื่อให้ผลออกมาได้แม่นยำ

 

 

 

 

 

X

Right Click

No right click