อุณา วัชโรบล (ที่ 2 จากขวา) ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานบริหารทรัพยากรบุคคล กรุงศรี คอนซูมเมอร์ รับรางวัลยอดเยี่ยมด้านกลยุทธ์ขับเคลื่อนการทำงานแบบไฮบริด ("Bronze" Excellence in Hybrid Working) จาก HR Excellence Awards Thailand 2023 ที่จัดขึ้นโดยนิตยสาร Human Resources Online จากความสำเร็จด้านการวางนโยบายเชิงกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนวิถีการทำงานรูปแบบใหม่ Hybrid Working/Remote Working ภายใต้แนวคิด Flexi Workplace, Flexi Work-life เพื่อสร้างความยืดหยุ่น ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ และความต้องการของพนักงานที่หลากหลายในองค์กร ควบคู่กันกับการรักษามาตรฐานระบบความปลอดภัยของข้อมูลและคุณภาพการให้บริการแก่ลูกค้า
ไม่ว่าเมื่อไร ‘กันไว้ดีกว่าแก้’ ยังเป็นคำสอนที่คลาสสิคเสมอ โดยเฉพาะเรื่องเงินๆ ทองๆ ยิ่งสมัยนี้ มิจฉาชีพแฝงตัวมากับสารพัดวิธีหลอกลวงรูปแบบต่าง ๆ เราควรจะป้องกันอย่างไร ให้ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย
กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล มีคำแนะนำดี ๆ มาฝากกัน
· ไม่กดลิงค์ จาก SMS, Email หรือ Line ที่น่าสงสัย – สถาบันการเงินส่วนใหญ่ไม่มีนโยบายส่ง SMS, Email หรือ Line ไปหาลูกค้าเพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคล หรือให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่างๆ ถ้ามีข้อความ SMS อีเมล์ หรือไลน์ แปลก ๆ แอบอ้างชื่อหน่วยงานต่างๆ ส่งมาแจ้งให้กดลิงก์ กรอกข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้โอนเงินค่าธรรมเนียมใดๆ ให้ตั้งสติ คิดอย่างรอบคอบ ตรวจสอบแหล่งที่มาว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ หากไม่แน่ใจ -ไม่กด-ไม่กรอก-ไม่โอน ปลอดภัยกว่า
· เช็คก่อน ชัวร์กว่า – ถ้ามีบุคคลที่ไม่รู้จักติดต่อมาหา แอบอ้างว่ามาจากหน่วยงานใดก็ตาม ให้สอบถามข้อมูลของผู้ที่ติดต่อ เช่น ชื่อ-นามสกุล หน่วยงาน สาเหตุที่ติดต่อมา จากนั้นให้ขอวางสายก่อน แล้วจึงติดต่อกลับไปยังหน่วยงานที่ถูกกล่าวอ้างเพื่อตรวจสอบ หากไม่แน่ใจ อย่าหลงเชื่อและทำตามคำขอใด ๆ ก่อนตรวจสอบข้อเท็จจริง
· ไม่แชร์ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน – อย่าแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลทางการเงินของตนเองกับใคร เช่น ภาพบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด เลขที่บัญชี หมายเลขบัตรเครดิต รหัส CVV เพราะเป็นข้อมูลที่มิจฉาชีพอาจนำไปใช้ได้ ควรหลีกเลี่ยงการโพสต์ข้อมูลเหล่านี้ใน Social Media และไม่กรอกข้อมูลส่วนบุคคลในเว็บไซต์, Line หรือช่องทางออนไลน์ที่ไม่แน่ใจที่มา
· ตั้งรหัสผ่านเข้าใช้งานที่เดาได้ยาก – ควรตั้งรหัสผ่าน / รหัส PIN ที่เดาได้ยาก ในการทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ และห้ามใช้รหัสซ้ำกันทุกแอป ที่สำคัญ ต้องรักษารหัสผ่านเป็นความลับ ไม่แชร์รหัสกับผู้อื่น และควรเปลี่ยนรหัสทุก 3 เดือน
· OTP ใช้แค่ ‘Only Me’ - เมื่อได้รับรหัส OTP ให้ตรวจสอบทุกครั้งว่าเป็น OTP ที่ใช้ทำอะไร และห้ามบอกรหัสนี้ไม่ว่ากับใคร เพราะอาจเปิดช่องให้เข้าถึงสมาร์ทโฟนของเราได้จากระยะไกล (Remote Access)
· เลือกเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่เชื่อถือได้ ในการใช้จ่ายออนไลน์ – ควรเลือกเว็บไซต์/ร้านค้า/แอปที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยในการรับชำระเงินผ่านบริการอย่าง Verified By Visa หรือ MasterCard ID Check ที่ใช้รหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียวหรือ OTP จากผู้ให้บริการบัตรเครดิต เป็นการยืนยันตัวตนในการทำรายการออนไลน์ทุกครั้ง
· จำกัดวงเงินในการใช้ทำธุรกรรมออนไลน์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน - ปัจจุบัน สถาบันการเงินหลายแห่ง มีบริการให้ผู้ใช้งานสามารถตั้งวงเงินในการทำธุรกรรมให้เหมาะสมกับความต้องการได้ เพื่อความอุ่นใจ ผู้ใช้สามารถตั้งวงเงินในการทำธุรกรรมออนไลน์เท่าที่จำเป็น ให้เหมาะสมกับการใช้งานของตนเอง
· เปิดรับการแจ้งเตือนรายการใช้จ่ายไว้ ปลอดภัยกว่า – ควรตั้งค่าเปิดรับการแจ้งเตือน (Notification) บน Mobile Application หรือ Banking Application ต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับการแจ้งเตือนเมื่อทำธุรกรรม และคอยตรวจสอบ การแจ้งเตือนอย่างสม่ำเสมอ หากพบรายการที่ผิดปกติ ให้รีบติดต่อสถาบันการเงินผู้ให้บริการทันทีเพื่อตรวจสอบ
· อัปเดตหมายเลขติดต่อให้เป็นปัจจุบัน - หากมีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ ควรรีบแจ้งสถาบันการเงินผู้ให้บริการ กรณีที่สถาบันการเงินผู้ให้บริการ ตรวจพบรายการใช้จ่ายที่ผิดปกติ จะได้สามารถติดต่อเราได้ทันท่วงที
กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เผยผลประกอบการปี 2565 เติบโตแข็งแกร่ง