

ธนาคารกสิกรไทย จับมือธนาคารชิซูโอกะ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับใหม่ ยกระดับบริการทางการเงินระหว่างประเทศ สนับสนุนนักลงทุนญี่ปุ่นที่ต้องการขยายธุรกิจในภูมิภาค AEC+3 และการสนับสนุนนักลงทุนจากภูมิภาค AEC+3 ที่ต้องการขยายธุรกิจไปยังญี่ปุ่น พร้อมขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างยั่งยืน ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านบริการทางการเงินระดับภูมิภาคของธนาคารกสิกรไทย
นายพิพิธ เอนกนิธิ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยดำเนินยุทธศาสตร์ด้านธุรกิจต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญเชิงกลยุทธ์ในการประสานความร่วมมือกับพันธมิตรในท้องถิ่น เพื่อการต่อยอดบริการรองรับการทำธุรกรรมและธุรกิจของลูกค้าในภูมิภาค AEC+3 โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าที่สำคัญและมีมูลค่าการลงทุนในประเทศไทยสูงเป็นอันดับหนึ่ง โดยบริษัทญี่ปุ่นมักขยายการลงทุนเป็นลำดับขั้น โดยเริ่มจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามด้วยประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน
นายมิโนรุ ยางิ ประธานผู้บริหาร ธนาคารชิซูโอกะ กล่าวเพิ่มเติมว่า ญี่ปุ่นเผชิญกับความท้าทายทางสังคมหลายประการ รวมถึงประชากรที่ลดลงและสังคมผู้สูงอายุ และจังหวัดชิซูโอกะก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น ภายใต้แผนการจัดการระยะกลางฉบับแรกของเรา ธนาคารชิซูโอกะมุ่งหวังที่จะสร้างสมดุลระหว่างการสร้างคุณค่าทางสังคม และการเพิ่มคุณค่าขององค์กร โดยการแก้ไขปัญหาที่สำคัญในภูมิภาคด้วยหัวข้อ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ในบริบทนี้ เป็นที่ชัดเจนว่ามุมมองข้ามพรมแดนและความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันมากขึ้นมีความสำคัญ บันทึกความเข้าใจฉบับนี้เป็นข้อพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นร่วมกันของเราในการใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของเราและให้บริการที่ดียิ่งขึ้นแก่ภูมิภาคและลูกค้าในทั้งญี่ปุ่นและไทย เรามั่นใจว่าด้วยการนำทางความซับซ้อนของการเงินโลกและการพัฒนาความร่วมมือของเรา เราสามารถเปิดโอกาสใหม่ๆ สำหรับความสำเร็จ
ล่าสุด ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารชิซูโอกะ ซึ่งเป็นธนาคารชั้นนำของญี่ปุ่น มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยมีเครือข่ายสาขาครอบคลุมทั่วทั้งจังหวัดชิซูโอกะและเมืองสำคัญต่างๆ รวมถึงโอซาก้า นาโกย่า และโตเกียว จึงได้ต่อยอดความร่วมมือระหว่างกัน โดยการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ฉบับใหม่ เพื่อขยายความร่วมมือในการยกระดับบริการทางการเงินระหว่างประเทศของธนาคาร ให้เป็นความร่วมมือแบบสองทาง (Two-way collaboration) ผ่านการผสานจุดแข็งของทั้งสองสถาบันการเงิน เพื่อครอบคลุมการทำงานที่สำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ 1.การแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกด้านการตลาดและการลงทุน 2.การนำเสนอและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าธุรกิจในยุคดิจิทัล 3.การแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างสองสถาบันเพื่อพัฒนาศักยภาพในการให้บริการ เพื่อให้ทั้งสองธนาคารมีความพร้อมที่จะส่งมอบบริการที่ตอบสนองความต้องการของพันธมิตรและภาคธุรกิจได้อย่างตรงจุด โดยมุ่งให้การสนับสนุนนักลงทุนญี่ปุ่นที่ต้องการขยายธุรกิจในภูมิภาค AEC+3 และให้การสนับสนุนนักลงทุนจากภูมิภาค AEC+3 ที่ต้องการขยายธุรกิจไปยังญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดที่มีศักยภาพสูง เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และจีน
นายพิพิธ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยและธนาคารชิซูโอกะ ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2554 โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สามารถสนับสนุนบริษัทญี่ปุ่นกว่า 100 แห่ง ในการจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย พร้อมให้บริการลูกค้าธุรกิจกว่า 200 ราย ครอบคลุม 7 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว จีน และฮ่องกง ที่ธนาคารกสิกรไทยมีสาขาอยู่ รวมถึงกรณีที่ลูกค้าของธนาคารกสิกรไทยจากแต่ละประเทศที่ต้องการจะขยายการลงทุนหรือธุรกิจไปยังประเทศญี่ปุ่น ธนาคารกสิกรไทยเชื่อมั่นว่าการยกระดับความร่วมมือกับธนาคารชิซูโอกะครั้งนี้ จะตอบโจทย์การลงทุนและการค้าในอาเซียนที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดียิ่งขึ้น ร่วมขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างยั่งยืน ตอกย้ำความมุ่งมั่นของธนาคารกสิกรไทยในการเป็นผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำแห่งภูมิภาค AEC+3
ธนาคารกสิกรไทย เปิดตัว “คอนเซียชพลัส” (KONCIERGE+) แพลตฟอร์มแรกที่รวมโซลูชันเพื่อธุรกิจโรงแรมแบบครบวงจร สนับสนุนให้ธุรกิจโรงแรม เพิ่มรายได้ลดรายจ่าย เพื่อให้เข้าถึงเทคโนโลยีในการบริหารจัดการโรงแรมได้ง่ายขึ้น ด้วยโซลูชันที่รวมมาให้ครบ ได้แก่ ระบบการบริหารจัดการห้องพัก ระบบการบริหารช่องทางการขายและการตั้งราคา ระบบการบริหารจัดการประสบการณ์ลูกค้า นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันรับโอกาสการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยวไทย เพราะประเทศไทยเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คสำคัญของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยปี 2568 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยจำนวน 37.5 ล้านคน
นายพิพิธ เอนกนิธิ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธุรกิจท่องเที่ยวมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศ และมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเติบโตต่อเนื่อง โดยปี 2568 คาดว่าจะมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงถึง 1.78 ล้านล้านบาท ซึ่งจากสถิติปี 2567 พบว่าการจ่ายค่าที่พักทั้งคนไทยเที่ยวไทยและต่างชาติประมาณ 950,000 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการพักกับโรงแรมขนาดใหญ่มีเพียง 37% ของค่าที่พักที่ใช้จ่ายกับโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ทั้งนี้ ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาธนาคารกสิกรไทยให้การสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวมาโดยตลอด ทั้งด้านการเงิน ช่องทางการขาย Voucher และการโปรโมต จนมาถึงครั้งนี้ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าถึงเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ด้วยการพัฒนา KONCIERGE+ ที่เปิดตัวในวันนี้ เป็นแพลตฟอร์มแรกที่รวมโซลูชันเพื่อธุรกิจโรงแรมแบบครบวงจร ซึ่งธุรกิจที่ใช้ KONCIERGE+ จะได้ประโยชน์ในการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ธุรกิจได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาค้นหา ลดต้นทุน และเพิ่มรายได้จากการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการโรงแรม
ด้านนายเทียนประสิทธิ์ ไชยภัทรานันท์ นายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก ปัจจุบันโรงแรมในไทยมีกว่า 16,000 โรงแรม แต่อุปสรรคที่ทำให้โรงแรมยังไม่เติบโตได้เท่าที่ควร ได้แก่ 1) การที่โรงแรมมีการทำการตลาดและการตั้งราคาที่ยังเป็นการตั้งราคาคงที่ ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 2) ขาดการทำการตลาดเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของตัวเอง 3) หลังโควิดมี Demand ของนักท่องเที่ยวมากขึ้น แต่จำนวนพนักงานที่น้อยลง ทำให้หลายโรงแรมเกิดปัญหาขาดคนทำงาน จนอาจทำให้ประสิทธิภาพการบริการน้อยลง และ 4) การเข้าถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ มีอย่างจำกัด ทำให้ประสิทธิภาพการบริหารจัดการไม่ดี การพัฒนา KONCIERGE+ ที่เปิดตัวในวันนี้สมาคมโรงแรมไทยมีความยินดีอย่างยิ่งที่ธนาคารกสิกรไทยเล็งเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมโรงแรม และได้สร้างแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกให้กับธุรกิจโรงแรมผลักดันให้ทำธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง และที่สำคัญแพลตฟอร์มนี้ยังเป็นของคนไทย ซึ่งสมาคมโรงแรมไทยเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะมีการสนับสนุนให้โรงแรมเข้าถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน แล้วยังช่วยให้ธุรกิจลดต้นทุน สร้างภาพลักษณ์ที่ดี และที่สำคัญเป็นช่วยให้สร้างประสิทธิภาพในการบริการเนื่องจากบุคลากรที่ขาดแคลนในปัจจุบัน
KONCIERGE+ เป็นแพลตฟอร์มแรกที่รวมโซลูชันการจัดการธุรกิจโรงแรมแบบครบวงจร ซึ่งจะช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับธุรกิจโรงแรมขนาด SME โดยมีโซลูชันดังนี้
ระบบการจัดการพื้นฐาน ได้แก่
ระบบจัดการการขาย ได้แก่
ระบบบริหารจัดการประสบการณ์ลูกค้า ได้แก่
นายพิพิธ กล่าวทิ้งท้ายว่า แม้ว่าธุรกิจท่องเที่ยวโดยภาพรวมมีแนวโน้มเติบโต แต่ธุรกิจโรงแรมขนาด SME ยังเผชิญกับปัญหาในหลายด้าน ซึ่งธนาคารหวังว่าการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการโรงแรมผ่าน KONCIERGE+ จะช่วยให้ธุรกิจ SME สามารถคว้าโอกาสทางธุรกิจได้เพิ่มมากขึ้น ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ รวมถึงการสร้างกำไรที่เพิ่มขึ้น เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน
หลังจากที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ได้กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้งหนึ่ง ความชัดเจนต่อนโยบายการค้า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ก็เริ่มมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบาย America First ที่สหรัฐฯ จะนำผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เป็นที่ตั้ง
นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า นโยบายทรัมป์ 2.0 จะยังคงใช้ภาษีนำเข้าเป็นเครื่องมือเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสหรัฐฯ ซึ่งเราได้เห็นนโยบายต่างประเทศ ของสหรัฐฯ มีการใช้ภาษีนำเข้า เป็น เครื่องมือในการเจรจา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านการเมืองและความมั่นคง ในประเด็นเรื่องคนลักลอบเข้าเมืองและปัญหายาเสพติด รวมถึงความต้องการขยายดินแดนและอิทธิพลไปนอกสหรัฐฯ อาทิ คลองปานามา กรีนแลนด์ และแคนาดา
ในแนวคิดของรัฐบาล ทรัมป์ วาระแรก ได้มีการขึ้นภาษีนำเข้า โดยเฉพาะจากจีน และมีการเปลี่ยนสนธิสัญญา ความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือ NAFTA(North American Free Trade Agreement) มาเป็น ข้อตกลงสหรัฐฯ-เม็กซิโก-แคนาดา หรือ USMCA (United States-Mexico-Canada Agreement) โดยสงครามการค้า มีผลลบกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ น้อยกว่าประเทศอื่นที่ค้าขายกับสหรัฐฯ
สะท้อนจากแนวคิด ที่นาย Robert Lightizer ซึ่งเป็นมันสมองของการวางกลยุทธ์สงครามการค้ารอบแรก ได้กล่าวว่า สหรัฐฯ ควรจะมองจีนเป็นคู่แข่งอันดับหนึ่ง ทั้งด้านการทหาร เศรษฐกิจ และความมั่นคง เนื่องจากการที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีนมากๆ ไม่เป็นผลดีกับสหรัฐฯ ในระยะยาว เพราะฉะนั้นนโยบายต่างๆ จึงต้องการบรรลุเป้าการลดการพึ่งพาเศรษฐกิจจีน และลดการขาดดุลการค้า
นอกจากนั้น สหรัฐฯ ยังต้องการให้มีการสร้างงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิต อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ และยังมีแนวคิดที่ว่า แม้แต่ประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ก็ได้มีการเอาเปรียบทางการค้ากับสหรัฐฯ มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเม็กซิโก แคนาดา สหภาพยุโรป และประเทศอื่นๆ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ประเทศไทย น่าจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากการที่ประเทศไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ เป็นอันดับที่ 10 ของโลก ดังนั้น กลยุทธ์ของไทยในการรับมือคงต้องเปิดตลาดให้กับธุรกิจสหรัฐฯ มากขึ้น หรือเพิ่มการนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ เพื่อลดการได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ นอกจากนี้ หากผลกระทบจากสงครามการค้าขยายวงกว้าง เฟดอาจจะไม่สามารถลดดอกเบี้ยเพิ่ม จากที่คาดว่าจะลดลง 2 ครั้งในปีนี้
นโยบายทรัมป์ 2.0 จะเน้น การสร้างความมั่นคง ทางด้านเศรษฐกิจ และการทหาร ให้กับสหรัฐฯ เป็นหลัก เราจึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่สหรัฐฯ จะใช้ความยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจของตนเองเป็นเครื่องมือต่อรอง ให้สหรัฐฯ ได้ประโยชน์จากความสัมพันธ์อย่างมากที่สุด
ธนาคารกสิกรไทยผนึกกำลังบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (BAM) ร่วมลงทุน 1,000 ล้านบาท จัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์ อรุณ จำกัด (ARUN AMC) เพื่อช่วยพลิกฟื้นสถานะลูกหนี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งการดำรงชีพและการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคาร ซึ่งสอดรับกับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ส่งเสริมการจัดตั้งกิจการร่วมทุนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้เสีย ช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับระบบนิเวศการจัดการด้านสินเชื่อ ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ
นายจงรัก รัตนเพียร ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจไทยที่ยังฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป และปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังคงมีแนวโน้มสูงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยที่ส่งเสริมการจัดตั้งกิจการร่วมทุนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้เสีย จึงเป็นที่มาของการร่วมลงทุนระหว่างธนาคารกสิกรไทย และบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (BAM) จัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์ อรุณ จำกัด (ARUN AMC) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับธนาคาร นอกจากนี้ ธนาคารจะได้รับส่วนแบ่งจากผลกำไรของการบริหารหนี้จาก ARUN AMC ในฐานะผู้ถือหุ้นสัดส่วนร้อยละ 50 ซึ่งธนาคารลงทุนผ่านบริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด (KVISION) อีกด้วย โดยมุ่งหวังว่า ARUN AMC จะช่วยแก้ไขปัญหาสภาพคล่องทางการเงินให้ลูกหนี้มีโอกาสแก้ไขหนี้ และสามารถดำเนินชีวิตและธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศเช่นกัน
นายบรรยง วิเศษมงคลชัย รองประธานกรรมการ และรักษาการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (BAM) เปิดเผยว่า ARUN AMC มีเงินทุนเริ่มต้นในการจัดตั้งบริษัทจำนวน 1,000 ล้านบาท โดยธนาคารกสิกรไทย และ BAM ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50เท่ากัน ซึ่งที่ผ่านมาBAM เป็นผู้นำในธุรกิจบริหารสินทรัพย์ที่มีศักยภาพ และมีความเชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพในระบบสถาบันการเงินและบริหารสินทรัพย์ รวมทั้งเป็นพันธมิตรที่ดีกับธนาคารกสิกรไทยมาอย่างยาวนาน การร่วมลงทุนจัดตั้ง ARUN AMC ในครั้งนี้ นอกจากจะสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของ BAM ในการพลิกฟื้นสินทรัพย์ ช่วยเหลือลูกหนี้ให้กลับคืนสู่ระบบเศรษฐกิจ และฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มือสองให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นแล้ว ยังช่วยส่งเสริมศักยภาพให้ทั้งธนาคารกสิกรไทยและ BAM มีความแข็งแกร่งมากขึ้น ถือเป็นการต่อยอดความสำเร็จ และเป็นการร่วมมือกันเพื่อผลักดันให้เกิดมูลค่าเพิ่มของธุรกิจบริหารสินทรัพย์ได้อย่างแท้จริง
นายสมชาย ธนุรักษ์ไพโรจน์ กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บริหารสินทรัพย์ อรุณ จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ARUN AMC ตั้งเป้าในการซื้อหนี้ด้อยคุณภาพจากธนาคารกสิกรไทย มูลค่าหนี้รวมประมาณ 50,000 – 60,000 ล้านบาท มาบริหารจัดการภายใต้ทีมงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ เพื่อพลิกฟื้นสถานะลูกหนี้ รวมถึงให้โอกาสลูกหนี้ฟื้นตัว และสามารถรักษาทรัพย์สินเพื่อใช้ในการดำรงชีพและดำเนินธุรกิจต่อไปได้ อีกทั้งยังมีแนวทางการบริหารที่ตอบรับมาตรการแก้ไขหนี้ของภาครัฐที่ออกมาในปัจจุบัน เช่น โครงการคุณสู้ เราช่วย รวมถึงมาตรการที่อาจออกมาในอนาคต ซึ่งแม้ว่าลูกหนี้ธนาคารกสิกรไทยจะถูกโอนขายหนี้มาที่ ARUN AMC แล้วตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2567 ก็จะยังคงได้รับการช่วยเหลือตามมาตรการแก้ไขหนี้อย่างต่อเนื่อง
ARUN AMC จะดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ "เป็นแสงสว่างให้ลูกหนี้พ้นจากวิกฤตทางการเงิน" โดยช่วยเหลือลูกหนี้อย่างเต็มที่ ด้วยการผสานจุดแข็งของธนาคารกสิกรไทยและ BAM เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ มีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม และสร้างรายได้และกำไรที่ตอบโจทย์ผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ARUN AMC ได้รับใบทะเบียนบริษัทบริหารสินทรัพย์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา
บลจ.กสิกรไทย ขานรับนโยบายลดหย่อนภาษีจากภาครัฐ “Easy E-Receipt 2.0” พร้อมนำส่งค่าธรรมเนียมจากการซื้อและขายกองทุนที่เข้าเงื่อนไขการลดหย่อนให้กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดหย่อนภาษีปี 2568 สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท ชูกองทุนแนะนำผ่านการจัดพอร์ตการลงทุนแบบ Core & Satellite Portfolio ย้ำต้องเป็นคำสั่งซื้อที่มีผล และ/หรือ คำสั่งขายที่ผู้ลงทุนได้รับเงินค่าขายคืนเข้าบัญชีเงินฝาก ในระหว่างวันที่ 16 ม.ค. – 28 ก.พ. 2568 เท่านั้น
นายวิน พรหมแพทย์, CFA ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) เปิดเผยว่า บลจ.กสิกรไทย ขานรับนโยบายลดหย่อนภาษีของรัฐบาลผ่านโครงการ Easy E-Receipt 2.0 โดยนำส่งค่าธรรมเนียมจากการซื้อและขายกองทุน (Front-end Fee และ Back-end Fee) ที่เข้าเงื่อนไขการลดหย่อนให้แก่กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดหย่อนภาษีปี 2568 ได้สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้ ธุรกรรมการซื้อและขายกองทุน ต้องเป็นคำสั่งซื้อที่มีผล และ/หรือ คำสั่งขายที่ผู้ลงทุนได้รับเงินค่าขายคืนเข้าบัญชีเงินฝาก ในระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2568 – 28 กุมภาพันธ์ 2568
นายวินกล่าวต่อไปว่า บลจ.กสิกรไทย ยังคงแนะนำให้ผู้ลงทุนจัดพอร์ตการลงทุนแบบ Core & Satellite Portfolio ผ่านกองทุนแนะนำจากกสิกรไทย ได้แก่ Core Portfolio ซึ่งเน้นลงทุนระยะยาวแบบจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) ในสัดส่วนการลงทุนประมาณ 80% ของพอร์ต โดยแนะนำเป็นกลุ่มกองทุน K-WealthPLUS Series ซึ่งเป็นกลุ่มกองทุนผสมที่จัดพอร์ตการลงทุนให้สำเร็จรูป ประกอบด้วย 3 กองทุนตามระดับความเสี่ยง ได้แก่ กองทุน K-WPBALANCED ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ 55-85%, K-WPSPEEDUP ที่เน้นสัดส่วนในหุ้นมากขึ้น 50-80% และ K-WPULTIMATE ที่เพิ่มสัดส่วนหุ้นได้มากถึง 100% ทั้งนี้ กลุ่มกองทุน K-WealthPLUS Series มีกลยุทธ์การลงทุนที่เน้นกระจายการลงทุน (Asset Allocation) ในหุ้น ตราสารหนี้ และสินทรัพย์ทางเลือกทั่วโลก ซึ่งสามารถรับมือกับความผันผวนได้ดีในทุกสภาวะตลาด อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือเชิงกลยุทธ์จากพาร์ทเนอร์ระดับโลก J.P. Morgan Asset Management เข้ามาช่วยดูแลพอร์ตแบบ Look Through (มองเห็นสินทรัพย์ทุกตัวในพอร์ต) และปรับพอร์ตได้อย่างรวดเร็วด้วยข้อมูลเชิงลึกจากทีมผู้เชี่ยวชาญการลงทุนทั่วโลก
สำหรับ Satellite Portfolio ซึ่งเน้นลงทุนระยะสั้นแบบจับจังหวะตลาด (Market Timing) ในสัดส่วนการลงทุนประมาณ 20% ของพอร์ต โดยแนะนำเป็นกองทุน K-FIXEDPLUS มีนโยบายการลงทุนที่เน้นตราสารหนี้คุณภาพดีระยะกลาง-ยาว ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงเงินฝาก ทั้งในและต่างประเทศ, K-GSELECT มีนโยบายการลงทุนผ่านกองทุนหลัก JPMorgan Global Select Equity ETF เน้นกระจายลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ของประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลก และ K-PROPI มีนโยบายการลงทุนในหุ้น / REIT ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ หรือกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งในและต่างประเทศ โดยกองทุนได้รับ Morningstar 4 ดาว จากผลการดำเนินงานที่ดีต่อเนื่องและสม่ำเสมอ (ข้อมูลจาก Morningstar ณ 31 ธ.ค. 2567)
นายวินกล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ลงทุนสามารถเริ่มต้นลงทุนกับกองทุนกสิกรไทยได้ง่ายๆ ด้วยเงินลงทุนเพียง 500 บาท ผ่าน App K PLUS, K-My Funds, ธนาคารกสิกรไทย และผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ทั้งนี้ บลจ.กสิกรไทย จะจัดส่งใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านอีเมลที่ผู้ลงทุนได้สมัครไว้ (สำหรับผู้ลงทุนที่สมัครใช้บริการ K-Mutual Fund Reports) และสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่มีบริการ K-Mutual Fund Report หากต้องการใบกำกับภาษีเก็บไว้เป็นหลักฐานในการลดหย่อน สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน ส่งกลับมาที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. เพื่อดำเนินการออกเอกสารและจัดส่งให้ผู้ลงทุนต่อไป ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบรายชื่อกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมการขายและค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน ได้ที่ www.kasikornasset.com หรือ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ KAsset Contact Center 0 2673 3888
ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน • กองทุนมีนโยบายที่แตกต่างกันทั้งด้านสินทรัพย์/ภูมิภาค/ประเทศ/กลุ่มธุรกิจที่กองทุนลงทุน ราคาของหลักทรัพย์จึงมีความผันผวนตามปัจจัยที่กระทบ • กองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุน หรือ ได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือ ได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้