January 22, 2025

“การเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย” เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามปกติ นับตั้งแต่ยุโรปเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) และแพร่ขยายองค์ความรู้สมัยใหม่ไปทั่วทั้งโลก นำมาสู่การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม จนมาถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล อย่างไรก็ตาม แม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปมากเท่าไร แต่สิ่งที่ยังคงยืนหยัดและสะท้อนถึงธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์ก็คือ การปรับตัวผ่านกระบวนการเรียนรู้

ท่ามกลางพายุแห่งการเปลี่ยนแปลงที่กำลังก่อตัวโดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้สนทนากับ 3 คนรุ่นใหม่ ผู้เชื่อมั่นในศักยภาพการเรียนรู้ของมนุษย์โดยไม่มีที่สิ้นสุด

สาวอักษรเยอรมันกับบทบาท Data Engineer
พิชญา จรูญพงษ์ศักดิ์ หรือ อนิก ผู้เติบโตในครอบครัวที่พ่อและแม่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ทำให้เธอมีความฝัน ตั้งเป้า และมุ่งมั่นเดินไปข้างหน้าสู่เส้นทางแม่พิมพ์ของชาติตั้งแต่เด็ก โดยเธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโท สาขาวิชาภาษาเยอรมัน จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนวันหนึ่งเธอพิชิตฝันได้สำเร็จ รับหน้าที่ครูในโรงเรียนมัธยมและอาจารย์สอนคอร์สภาษาเยอรมันสำหรับบุคคลทั่วไป ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

การคลุกคลีกับ “ดนตรีคลาสสิก” ของเธอในช่วงปฐมวัย เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พิชญาสนใจศึกษาภาษาเยอรมัน แต่แล้วความสนใจนั้นก็ขยายวงสู่ความก้าวหน้าในวิทยาการ จนพบว่าเยอรมนีเป็นชนชาติที่มีระบบการจัดการองค์ความรู้ที่เป็นเลิศผ่านระเบียบวิธีคิดเชิง “โครงสร้าง” ทำให้คนรุ่นหลังสามารถสืบค้นองค์ความรู้ย้อนหลังได้นับร้อยปีผ่านห้องสมุด ทั้งยังเห็นลักษณะทางสังคมแต่ละยุคผ่านความนิยมของการใช้คำอีกด้ว แต่แล้ววันหนึ่ง พิชญารู้สึกว่าโลกของเธอเริ่ม “แคบลง” ทุกวันๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการคลุกคลีกับสิ่ใดสิ่งหนึ่งเป็นระยะเวลานาน ในทางกลับกัน เพื่อนในวัยเรียนที่เติบโตมาด้วยกันมีโอกาสไปเผชิญโลกที่แตกต่างหลากหลาย บ้างก็บริหารทรัพยากรบุคคล บ้างก็ทำสายการตลาด บ้างก็ไปเป็นทูต ถึงแม้พวกเธอจะไม่ได้ศึกษาสาขานั้นๆ โดยตรงก็ตาม

ทันใดนั้น เธอจึงตัดสินใจหยุดเครื่องจักรในสายอาชีพครูชั่วครู่ เพื่อขอไปเปิดประสบการณ์ ขยายขอบเขตการเรียนรู้ เพื่อพิสูจน์ศักยภาพของตัวเธอเอง และที่นั่นก็คือ โครงการ True Next Gen ปี 2564 ที่เปิดกว้างให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนองค์กรโดยไม่จำกัดสาขาที่เรียน พร้อมให้โอกาสในการสับเปลี่ยนหมุนเวียนภาระหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย 

หน่วยงานแรกที่พิชญาเข้าไปดูแลคือ งานของสภาดิจิทัล ทำให้ได้เรียนรู้การจัดการเชิงนโยบาย ทั้งยังกระตุ้นความสนใจด้านดาต้าแก่เธออีกด้วย และงานที่ 2 ก็คือ งานพัฒนา VLEARN Platform มีโอกาสได้ผลิตคลาสเรียนออนไลน์ งานการตลาด รวมถึงการทำแอปอีกด้วย และหน่วยสุดท้ายคือ Digitalization Center ที่ทำให้เธอได้สัมผัสกับเรื่องดาต้าอย่างจัง

ในเวลาเดียวกัน ทรูก็ได้เปิดรับสมัครโครงการ Data Science Immersive ซึ่งพิชญารีบร่อนใบสมัครคว้าโอกาสไว้ เพราะเธอมองว่า การมีทักษะเทคนิคเฉพาะด้านแบบนี้จะช่วยผลักดันศักยภาพตัวเองได้ไกลยิ่งขึ้นในวันแรกที่เข้าเรียน พิชญาสารภาพว่า เธอฟังไม่รู้เรื่องเลย แต่ก็พยายามจับหลักให้ทัน เพราะเวลาไหลไปเร็วมาก การเรียนการสอนในทุกๆ วันเป็นเรื่องใหม่ทั้งหมด เมื่อจบวัน ก็ต้องกลับไปทำการบ้านที่เป็นโค้ดดิ้ง

พิชญาบอกว่า พื้นฐานทางภาษาศาสตร์อักษรศาสตร์ที่ติดตัวมา ช่วยให้เธอมีทักษะการจับแพทเทิร์นเพื่อเห็นโครงสร้างของฐานข้อมูล คล้ายคลึงกับตอนทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของเธอ ในหัวข้อ “ภาษาเยอรมันอย่างง่าย” ซึ่งเป็นการศึกษาหารูปแบบ/โครงสร้างทางภาษา เพื่อให้ผู้มีความบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถอ่านและเข้าใจได้ โดยเฉพาะกับเอกสารทางราชการ

อย่างไรก็ตาม แม้ภาษามนุษย์และภาษาคอมจะมีสิ่งที่คล้ายคลึงกันในแง่โครงสร้าง ขณะเดียวกันก็มีจุดที่แตกต่างกันอย่างมหาศาล โดยเฉพาะความรู้พื้นฐานด้านฮาร์ดแวร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสมรรถนะและการใช้พลังงานในการรับ-ส่งข้อมูล

“ภาษาคอมคนละเรื่องกับภาษามนุษย์ ภาษาคอมก็คือภาษาที่ใช้สื่อสารกับฮาร์ดแวร์ แต่ในความต่างก็มีความเหมือน นั่นคือ การจัดเรียงภาษาที่ซับซ้อนให้เป็นโครงสร้าง เห็นภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น” พิชญา อธิบาย พร้อมเสริมว่า data practitioner ที่ดีควรมีทักษะ abstract thinking มองส่วนประกอบแบบองค์รวม  ภายหลังการเข้าคอร์สอย่างเข้มข้น พิชญามีโอกาสลงสนามจริงกับทีมพัฒนาซอฟแวร์ของแอป MorDee ตั้งแต่การพัฒนาซอฟแวร์ จนปัจจุบัน ทำหน้าที่เป็น data engineer วางระบบการเดินทางของดาต้าเพื่อให้ยูสเซอร์นำไปใช้ประโยชน์ได้สะดวกขึ้น

หนุ่มเศรษฐศาสตร์ผู้กระโจนสู่เส้นทางศาสตร์แห่งดาต้า
เส้นทางชีวิตเปรียบได้กับการเล่นรถไฟเหาะ มีสมหวังมีผิดหวัง พร้อมเจอสิ่งที่ไม่คาดคิดได้ตลอด เช่นเดียวกับ เรื่องราวของ เฉลิมชนม์ วงศ์โสภา หรือ อิม เด็กหนุ่มผู้ถือใบปริญญาด้านเศรษฐศาสตร์ถึง 2 ใบ แต่แล้วก็ตกหลุมและหลงใหลให้กับความน่าสนใจของดาต้า

เฉลิมชนม์ร่ำเรียนเรื่อย ๆ ไปตามระบบ แต่ก็ยังหาอาชีพในฝันไม่ได้ จนเมื่อเข้าสู่หัวเลี้ยวหัวต่อที่ต้องตัดสินใจ เขาจึงเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ โดยหวังว่าจะเข้าทำงานในหน่วยงานราชการอย่างกระทรวงการคลัง หรือสภาพัฒน์ แต่เมื่อเรียนจบปริญญาตรี ความรู้สึก “ไม่มั่นใจ” กับการเข้าสู่สนามแห่งมืออาชีพของเขากลับดังขึ้น เกรงว่าตนเองจะไม่สามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีกับการทำงานจริงได้ เฉลิมชนม์จึงตัดสินใจเรียนต่อระดับปริญญาโทในสาขาเดียวกันทันที

“เศรษฐศาสตร์​ถือเป็นสหวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับหลายศาสตร์ทั้ง คณิต สถิต สังคมศาตร์ ซึ่งผู้เรียนต้องรู้จักการประยุกต์พลิกแพลง และนี่คือสเน่ห์ของเศรษฐศาสตร์” เฉลิมชนม์ อธิบาย ระหว่างนั้้น เขาก็เริ่มร้อนวิชา ต้องการหาวิธีใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในสนามจริง จึงได้ไปสมัครงานที่บริษัทวิจัยในตำแหน่ง data analyst และนั่นจึงนำพาให้เขาเข้าใจการทำงานของดาต้าและหลักสถิติมากขึ้น

เมื่อต้องทำงานจริง การวิเคราะห์ข้อมูลก็เปรียบได้กับการต่อจิ๊กซอว์ เราต้องค่อยๆ ปะติดปะต่อ ภายหลังที่ต่อจนได้ภาพที่สมบูรณ์ เมื่อนั้นเราก็จะเห็นคำตอบที่อยู่ในข้อมูลเหล่านั้นเอง” เฉลิมชนม์ กล่าวพร้อมเล่าต่อว่า ที่เดียวกันนี้เอง ทำให้เขารู้จักกับอาชีพ data scientist พลันเมื่อเห็นวิธีคิดและการทำงานเพื่อพยากรณ์แนวโน้มแล้ว ยิ่งกระตุ้นต่อมความสนใจของเขา จนหาคอร์สสั้นๆ ลงเรียนเอง

หลังจากตรากตรำกับการเรียนและงานวิจัยเป็นเวลา 2 ปีเต็ม เฉลิมชนม์ก็คว้าดีกรีปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์มาได้ พร้อมกับบทบาทและองค์กรเป็น Business Intelligence Analyst รับผิดชอบงานพัฒนา dashboard เพื่อแสดงผลข้อมูล ที่ธนาคารยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง แม้จะพอคลุกคลีกับงานดาต้ามาบ้าง แต่เมื่อระบบโปรแกรมที่ใช้ต่างกัน เฉลิมชนม์จึงต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ ความพยายามอยู่ที่ใด ความสำเร็จอยู่ที่นั่นฉันนั้น เขาใช้เวลาช่วงเช้าก่อนเข้างาน เพื่อเรียนลงลึกเกี่ยวกับโปรแกรมนั้น โดยเขารับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ด้วยเหตุผลว่าตรงจุดและสนุก จนสามารถใช้โปรแกรมได้อย่างชำนาญการ แต่กระนั้น เฉลิมชนม์ยังคงมีความรู้สึก “ค้างคา” เพราะความใคร่รู้ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง อย่างการเข้าใจถึงที่มาข้อมูลที่ต้องอาศัยทักษะเทคนิคอื่นๆ

ในเวลาเดียวกัน เฉลิมชนม์เห็นข้อความประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการ Digital Science Immersive โดย ทรู คอร์ปอเรชั่น เพื่อให้โอกาสกับผู้ที่สนใจด้านดาต้าได้มีโอกาสฝึกฝนและพัฒนาตัวเอง พร้อมเข้าสู่สนามดาต้าอย่างมืออาชีพ แน่นอนว่าเขารีบยื่นใบสมัครทันที พร้อมกับเป็น 1 ใน 6 คนที่ได้รับทุนเรียนฟรี

สำหรับคอร์ส Data Science Immersive ดำเนินการสอนโดย General Assembly สถาบันการศึกษา ผู้บุกเบิกแนวทางการเปลี่ยนสายอาชีพสู่สายเทคและดิจิทัล จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งคอร์สเรียนดังกล่าวกินเวลาทั้งสิ้น 3 เดือนเต็ม ตั้งแต่เช้าถึงเย็น เหมือนกลับไปเรียนมัธยมฯ ใหม่

เหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้ความค้างคาในใจเริ่มจางลง พร้อมกับความฝันที่ชัดขึ้นกับเป้าหมายการทำหน้าที่ data scientist ด้วยเวลาเพียง 3 เดือน เฉลิมชนม์ประเมินความสามารถด้านดาต้าของตัวเองพัฒนาขึ้นถึง 80-90% ซึ่งนอกจากความรักดาต้าเป็นทุนเดิมแล้ว วิธีการสอนและความใส่ใจของอาจารย์จาก General Assembly ก็มีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียน

การเรียนการสอนของ General Assembly มีความต่างจากระบบการสอนแบบไทยอย่างมาก สิ่งที่เห็นได้ชัดคึอ ความรักในงานของอาจารย์ที่เราสัมผัสได้ ทุกเช้าจะมีการรีวิวเนื้อหา ปรับคอร์สตามสภาวะการเรียนรู้ และยังะคอยเช็คอุณหภูมิของห้องตลอดเวลา อันไหนง่ายไป ยากไป ถ้าเครียดก็จะใส่มุกตลก ให้บรรยากาศการเรียนสนุกขึ้น

ที่สำคัญ ยังมีเซสชั่นที่เปิดพื้นที่ให้ทุกคนในคอร์สได้ถกเถียงและอภิปรายถึงประเด็นที่เกิดขึ้นนอกตำราอย่างสร้างสรรค์ การมองข้อมูลที่ต่างมุม รวมถึงจริยธรรมด้านดาต้าที่ต้องคำนึงถึงอย่างแรก”

ปัจจุบัน เฉลิมชนม์ทำงานในตำแหน่ง data scientist สายงาน People & Organization Strategy, and Analytics ของทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งถือเป็นตำแหน่งใหม่และเป็นกำลังสำคัญของกลุ่มงานทรัพยากรบุคคล กับภารกิจเปลี่ยนองค์กรสู่ AI-First Organization ที่ตั้งเป้าไว้

จากเส้นทางดนตรี สู่นักสื่อสารด้วยดาต้า


หากใครได้ดูรายการประกวดร้องเพลงยุคบุกเบิก The Star ค้นฟ้าคว้าดาว อาจคุ้นๆ เห็นเธอคนนี้ผ่านตามาบ้าง ภัควลัญชณ์ โชติพิชชานันช์ หรือ ดิ๊ง เพราะเธอเป็นหนึ่งในผู้เข้าประกวดรอบ 20 คนสุดท้ายของรุ่น 4 สะพานอีกเส้นที่สานฝันอาชีพนักร้อง นักแต่งเพลงในวัยเด็ก เธอมุ่งมั่นกับมันอย่างมาก ถึงขั้นศึกษาเต็มเวลาในระดับปริญญาตรี คณะดุริยางคศาสตร์ สาขาดนตรีเชิงพาณิชย์ ม.ศิลปากร

ความฝันย่อมเป็นเพียงความฝันหากไม่ลงมือทำ แต่นั่นไม่ใช่ภัควลัญชณ์ เพราะเธอมุ่งมั่นคว้าฝันด้วยการฝึกฝนทั้งร้องเพลงทุกวัน วันละ 2 ชั่วโมง ซึ่งการฝึกตัวเองอย่างนี้ตั้งแต่เด็กช่วยบ่มเพาะให้เธอกลายเป็นคนมีวินัย จนกระทั่งอายุ 18 ปี เธอได้เป็นครูสอนร้องเพลงตามที่ฝันไว้ที่สถาบันดนตรีมีฟ้า ซึ่งเป็นโรงเรียนดนตรีในเครือ GMM Grammy และเป็นผู้สอนระดับขั้นสูง (KCI Advance Instructor) ของสถาบัน KPN Music Academy

แต่เมื่อทำงานสอนครบ 8 ปี ภัควลัญชณ์รู้สึกถึงจุด “อิ่มตัว” เธอจึงมองหาความท้าทายใหม่ๆ ขณะนั้นเธอพึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการตลาด จาก NIDA และนั่นจึงเป็นจุดหักเห เบนเข็มพาเธอเข้าสู่การทำงานในองค์กรเป็นครั้งแรกในชีวิต โดยเริ่มจากงานที่ศูนย์บริการลูกค้า จากนั้นจึงย้ายสู่สายงานสื่อสารองค์กร ทำหน้าดูแลงานสื่อสารภายในองค์กร  ช่วงปี 2560 เป็นยุคที่โซเชียลมีเดียเริ่มบูม คอนเทนท์บนฟีดมีความหลากหลายมากขึ้น แต่ที่เตะตาภัควลัญชณ์อย่างมากเลยคือ “อินโฟกราฟิก” และ “วิดีโอสั้น (short-form video)” เพราะเนื้อหาที่ย่อยมาแล้ว ดูปราดเดียวก็เข้าใจ เธอในบทบาทนักสื่อสารจึงอยากสร้างสรรค์ให้ได้บ้าง และนั่นถือเป็นจุดสตาร์ท เพื่อพัฒนา hard skill โดยหาคอร์สเรียนโปรแกรมออกแบบและตัดต่อวิดีโอด้วยตัวเอง จนสามารถทำกราฟิก-ตัดต่อวิดีโอเล่าเรื่องเองได้ เรียกได้ว่า “กระหายใคร่รู้กับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา”

จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ภัควลัญชณ์เดินทางเข้าสู่โลกดาต้าก็คือ การที่หัวหน้างาน (อรอุมา วัฒนะสุข ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าสายงานสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ที่ทรู) ได้จัดอบรม Data Storytelling ให้สมาชิกในทีมได้อัปสกิลให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้งานสื่อสารด้วยดาต้าเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างคุณค่าและการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคมได้อย่างแท้จริง และนั่นจึงไปกระตุกความสนใจการเล่าเรื่องด้วยดาต้าที่มุ่งเน้นให้คนมีปฏิสัมพันธ์กับเรื่องที่เล่าได้ด้วยเทคนิค Scrollytelling ผ่านเว็บไซต์ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในสื่อชั้นนำของโลก เธอจึงหาคอร์สเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาสื่อรูปแบบดังกล่าวเพิ่มเติม และพบว่าต้องอาศัยความเข้าใจภาษาโค้ดดิ้ง เช่น SQL, R ที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและทำ data visualization และอีกกลุ่มที่ช่วยทำให้เว็บไซต์ Interactive ได้อย่างภาษา HTML, CSS และ Java script

ระหว่างทาง เธอได้รับความไว้วางใจให้เป็น project manager ดูแลรับผิดชอบโครงการต่างๆ ซึ่งล้วนนำมาซึ่งการรีสกิลและอัพสกิลใหม่ๆ เช่น ความเข้าใจใน UX/UI การทำ prototype เว็บไซต์และแอป จากการดูแล corporate website การทำงานเชิงวิชาการจากฐานข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลการเคลื่อนที่ (Mobility Data) เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและออกแบบนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองรอง เช่นเดียวกับการเกิดขึ้นของ Generative AI ที่เธอเริ่มศึกษาและทำความเข้าใจถึงพื้นฐานแนวคิดการพัฒนา และการนำไปใช้

“ถ้าจะเป็น ‘มนุษย์เป็ด’ ในที่ทำงาน ก็ต้องเป็นเป็ดพรีเมียม (Multipotentialite) เรียนรู้ให้กว้าง ไว และไม่หยุดยั้งตลอดชีวิต (Life-Long Learning) เพราะทักษะที่หลากหลายนั้น จะทำให้เราเห็นภาพรวมของงาน และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง” ภัควลัญชณ์ กล่าว

ปัจจุบัน ภัควลัญชณ์ รับหน้าที่ดูแลงานสื่อสารผ่านดาต้าและช่องทางดิจิทัล ภายใต้หน่วยงานสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ ที่ทรู คอร์ปอเรชั่น

เธอเปรียบการพัฒนาตัวเองกับการฝึกของนักดนตรีว่า “เป้าหมายของนักดนตรีคือ ขยายขีดความสามารถตัวเอง เช่นเดียวกับการอัปสกิลที่ต่างต้องเริ่มที่การมี growth mindset แล้วตามด้วยการฝึกฝน เตรียมตัวเองให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในขณะเดียวกัน การมีบุคคลต้นแบบหรือโค้ชที่ดีก็จะช่วยให้นักดนตรีพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด เช่นเดียวกับการอัปสกิลที่เราควรมี mentor ที่ดี เพื่อชี้แนะแนวทางและให้การสนับสนุน เราก็จะพิชิตเป้าหมายได้อย่างแน่นอน”

ซิสโก้ (NASDAQ: CSCO)  บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีระบบรักษาความปลอดภัยและเครือข่าย ได้ประกาศเปิดตัวโซลูชั่นคลัสเตอร์ AI ที่ก้าวล้ำ พร้อมด้วยเทคโนโลยีจาก NVIDIA สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ที่จะพลิกโฉมการสร้าง การจัดการ และการปรับแต่งโครงสร้างพื้นฐานและซอฟต์แวร์

ภายใต้วิสัยทัศน์ Cisco Networking Cloud ซึ่งมุ่งที่จะลดความซับซ้อนของเครือข่าย ซิสโก้ได้นำเสนอโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานแบบครบวงจรที่พร้อมใช้งานในระดับองค์กร เพื่อรองรับเวิร์กโหลด Generative AI โดยโซลูชั่นคลัสเตอร์ Cisco Nexus HyperFabric AI ผสานรวมเครือข่ายแบบ AI-native ของซิสโก้ เข้ากับระบบประมวลผลที่มีการเร่งความเร็วและซอฟต์แวร์ AI ของ NVIDIA และที่เก็บข้อมูล VAST ที่แข็งแกร่ง โซลูชั่นดังกล่าวได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถโฟกัสไปที่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI รวมถึงโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างรายได้ โดยไม่ต้องวุ่นวายกับการจัดการระบบไอที

รายงานแนวโน้มด้านระบบเครือข่ายทั่วโลก (Global Networking Trends Report) ฉบับล่าสุดของซิสโก้ ระบุว่า ในช่วงสองปีข้างหน้า 60% ของผู้บริหารและบุคลากรด้านไอทีคาดว่าจะมีการปรับใช้ระบบเครือข่ายอัตโนมัติเชิงคาดการณ์ที่รองรับ AI ในทุกโดเมน เพื่อให้สามารถจัดการ NetOps ได้ดียิ่งขึ้น1 นอกจากนี้ 75% มีแผนที่จะปรับใช้เครื่องมือที่รองรับการตรวจสอบแบบครบวงจรผ่านคอนโซลหนึ่งเดียว ครอบคลุมโดเมนเครือข่ายที่แตกต่างกัน เช่น เครือข่ายแคมปัสและสาขา, WAN, ดาต้าเซ็นเตอร์, อินเทอร์เน็ต, ระบบ คลาวด์สาธารณะ และเครือข่ายอุตสาหกรรม

 

โจนาธาน เดวิดสัน รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปของ Cisco Networking กล่าวว่า “ถึงแม้ว่าอนาคตของ AI จะมีความชัดเจน แต่หนทางข้างหน้าสำหรับหลายๆ องค์กรที่เพิ่งเริ่มต้นการปรับใช้เทคโนโลยีกลับไม่เป็นเช่นนั้น กล่าวคือ ลูกค้าส่วนใหญ่มักจะต้องเผชิญกับปัญหาท้าทายทางด้านการเงินและการดำเนินงานสำหรับการเริ่มต้นใช้งาน AI Stack ซิสโก้มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงการติดตั้งใช้งานและการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน AI ให้สะดวกง่ายดายมากขึ้น โดยเราได้ร่วมมือกับ NVIDIA เพื่อนำเสนอโซลูชั่น AI Stack ที่ปรับใช้ได้อย่างง่ายดายและควบคุมผ่านระบบคลาวด์ โซลูชั่นที่ว่านี้สร้างขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์แพลตฟอร์ม Cisco Networking Cloud ของเรา ซึ่งมุ่งเน้นการทำงานแบบอัตโนมัติและเรียบง่าย”

เควิน ไดเออร์ลิง รองประธานอาวุโสฝ่ายระบบเครือข่ายของ NVIDIA กล่าวว่า “Generative AI จำเป็นต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานและซอฟต์แวร์ที่ออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถเปลี่ยนข้อมูลที่มีอยู่ให้กลายเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการพลิกโฉมธุรกิจได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ NVIDIA และซิสโก้ร่วมมือกันเพื่อส่งมอบแพลตฟอร์ม AI และระบบควบคุมที่พร้อมใช้งานสำหรับองค์กร เพื่อเพิ่มความสะดวกในการติดตั้งใช้งานระบบประมวลผลแบบเร่งความเร็ว ระบบเครือข่าย และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นสำหรับเวิร์กโหลด Generative AI”

ซิสโก้ได้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการช่วยให้ลูกค้าสามารถปรับใช้โครงสร้างพื้นฐาน AI ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ซิสโก้ยังส่งมอบเครื่องมือที่เหมาะสมให้กับลูกค้าเพื่อสร้างเครือข่าย AI-native ที่ใช้งานง่าย สามารถคาดการณ์ความล้มเหลวในการทำงาน ตลอดจนวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาได้อย่างฉับไว

วิธีการทำงานของ Cisco Nexus HyperFabric AI Cluster

โซลูชั่นนี้รองรับการออกแบบ ปรับใช้ ตรวจสอบ และรับรองพ็อด AI และเวิร์กโหลดของดาต้าเซ็นเตอร์อย่างครบวงจร โดยจะแนะนำผู้ใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ไปจนถึงการติดตั้งใช้งานที่ผ่านการตรวจสอบยืนยัน ไปจนถึงการตรวจสอบดูแลและรับรองโครงสร้างพื้นฐาน AI ที่พร้อมใช้งานระดับองค์กร ด้วยความสามารถในการจัดการระบบคลาวด์ ลูกค้าจะสามารถติดตั้งและจัดการแฟบริคขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมทั่วทั้งดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโคโลเคชั่น (Colocation) และไซต์ Edge ได้อย่างง่ายดาย

 

โซลูชั่นคลัสเตอร์ Cisco Nexus HyperFabric AI นำเสนอการทำงานแบบอัตโนมัติที่ควบคุมจัดการผ่านระบบคลาวด์ ครอบคลุมระบบประมวลผลและเครือข่ายแบบครบวงจรที่ผสานรวมความเชี่ยวชาญด้านสวิตช์อีเธอร์เน็ตของซิสโก้บน Cisco Silicon One โดยบูรณาการเข้ากับระบบประมวลผลแบบเร่งความเร็วของ NVIDIA และซอฟต์แวร์ NVIDIA AI Enterprise รวมไปถึงแพลตฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลของ VAST โซลูชั่นดังกล่าวประกอบด้วย:

· ความสามารถในการจัดการระบบคลาวด์ของซิสโก้ ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อนของการดำเนินงานด้านไอทีในทุกขั้นตอนของเวิร์กโฟลว์

· สวิตช์ Cisco Nexus 6000 series สำหรับ Spine และ Leaf ซึ่งให้ประสิทธิภาพของแฟบริคอีเธอร์เน็ต 400G และ 800G

· โมดูล QSFP-DD ในตระกูล Cisco Optics ซึ่งช่วยเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้าและให้ความหนาแน่นสูงมาก

· ซอฟต์แวร์ NVIDIA AI Enterprise ซึ่งช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการพัฒนาและปรับใช้เวิร์กโหลด Generative AI ในระดับเทียบเท่าการใช้งานจริง

· ไมโครเซอร์วิสการอนุมาน NVIDIA NIM ที่เพิ่มความรวดเร็วในการปรับใช้โมเดลพื้นฐาน พร้อมทั้งรับประกันความปลอดภัยของข้อมูล และสามารถใช้งานร่วมกับ NVIDIA AI Enterprise · NVIDIA Tensor Core GPU ที่เริ่มต้นด้วย NVIDIA H200 NVL ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อเพิ่มพลังให้กับเวิร์กโหลด Generative AI ด้วยสมรรถนะที่เหนือชั้นและความสามารถของหน่วยความจำที่เหนือกว่า

· หน่วยประมวลผลข้อมูล NVIDIA BlueField-3 DPU และ BlueField-3 SuperNIC สำหรับการเร่งความเร็วของเวิร์กโหลดด้านเครือข่ายประมวลผล AI การเข้าถึงข้อมูล และการรักษาความปลอดภัย

· ดีไซน์ต้นแบบระดับองค์กรสำหรับ AI ที่สร้างขึ้นบน NVIDIA MGX ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเซิร์ฟเวอร์แบบแยกส่วนที่มีความยืดหยุ่นสูง

· VAST Data Platform ซึ่งให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบครบวงจร ฐานข้อมูล และเอนจิ้นฟังก์ชั่นที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลซึ่งสร้างขึ้นเป็นพิเศษสำหรับ AI

 เอ้ก ดิจิทัล ส่งธุรกิจแพลตฟอร์ม ดิจิทัล และมีเดียโซลูชัน ช่วยผู้ประกอบการ ทรานส์ฟอร์ม ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยดาต้าและ Deep Tech เพิ่มความแม่นยำ ตอบโจทย์ และแก้ปัญหาทางธุรกิจได้ อย่างตรงจุดตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เน้นให้บริการแบบ End-to-End เผยพร้อมช่วยธุรกิจทุกขนาดเพิ่มศักยภาพด้านการตลาดและ CRM ด้วยการเชื่อมต่อธุรกิจกับผู้บริโภคยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มยอดขายให้เติบโตแข็งแกร่ง เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม โชว์ความสำเร็จครึ่งปีแรก 2566 โกยรายได้ 500 ล้านบาท คว้าลูกค้าใหม่ใน หลายอุตสาหกรรม ทั้งการเงิน โปรเจกต์ของหน่วยงานภาครัฐ โรงพยาบาล รวมถึงธุรกิจ SMB และ SME พร้อมประกาศแผนโค้งสุดท้ายของปี ลุยขยายฐานลูกค้าทุกบริการ ทุ่มงบกว่า 10 ล้านบาท พัฒนาแพลตฟอร์มให้ทันสมัยขึ้นและเสริมแกร่งระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลลูกค้า ตั้งเป้าปี 2566 มีรายได้เติบโต 20%

 

นางสาวรัฐธีร์ เจริญรัตน์วรกุล ผู้จัดการทั่วไปธุรกิจแพลตฟอร์มและมีเดียโซลูชัน บริษัท เอ้ก ดิจิทัล จำกัด กล่าวว่า “เมื่อโลกธุรกิจมุ่งหน้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ การทำการตลาดและการใช้สื่อจึงต้องอาศัย ดาต้า แพลตฟอร์ม และดิจิทัลโซลูชันเข้ามาช่วยเสริมแกร่งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทุกมิติ ธุรกิจแพลตฟอร์มและมีเดียโซลูชัน หนึ่งในธุรกิจหลักของ เอ้ก ดิจิทัล จึงนำจุดแข็งด้านการวิเคราะห์ดาต้าระดับโลกมาผสานการทำงานกับบริการด้านแพลตฟอร์มและดิจิทัลโซลูชันหลากหลายรูปแบบ เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยผลักดันธุรกิจทุกขนาดและทุกอุตสาหกรรมให้เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลได้เร็วขึ้น พัฒนาศักยภาพทางธุรกิจให้สามารถรับมือกับความท้าทายได้รอบด้าน ผลักดันทุกองค์กรไปสู่เป้าหมาย และช่วยเชื่อมต่อธุรกิจกับผู้บริโภคในยุคนี้ โดยจุดเด่นที่ทำให้บริการด้านแพลตฟอร์มและดิจิทัลโซลูชันตอบโจทย์ทางธุรกิจของลูกค้าได้อย่างหลากหลาย คือ 1. ขับเคลื่อนด้วยดาต้า AI และ Machine Learning ทำให้วิเคราะห์และพยากรณ์อินไซต์ได้อย่างแม่นยำ 2. มีความเข้าใจลูกค้าและมีเดียอย่างลึกซึ้ง และนำมาปรับใช้ในการวางกลยุทธ์และแผนต่าง ๆ รวมถึงสร้างสรรค์คอนเทนต์ได้ตรงจุด 3. Customize สามารถนำเสนอ หรือออกแบบแพลตฟอร์มและโซลูชันที่เหมาะกับแต่ละธุรกิจ 4. บริการแบบ End-to-end service ตั้งแต่วัดผลก่อนดำเนินการ วิเคราะห์ดาต้า วางกลยุทธ์ หรือการใช้สื่อ สร้างสรรค์คอนเทนต์ไปจนถึงวัดผลของงาน 5. มีทีมงานที่มี ความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน”

บริการหลักของธุรกิจแพลตฟอร์มและมีเดียโซลูชัน มีดังนี้ 1. LINE Solution: ให้บริการโซลูชัน LINE ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น LINE OA, LINE Ads, LINE API และ LON เพื่อการเข้าถึงและสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 2. Online Marketing: ให้บริการคำปรึกษาและวางแผนการทำการตลาดผ่านมีเดียแพลตฟอร์มหลายรูปแบบ เช่น Google, Facebook, LINE, TikTok, Twitter, Programmatic Ads และ Marketplace โดยมีบริการครอบคลุมทั้งด้าน Creative content, Social Commerce Live, Influencers และ Performance Ads รวมถึง Media Recommendation ผ่านการวิเคราะห์ด้วยดาต้า เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจลูกค้าในด้านการเติบโตและการขยายธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรม เช่น อี-คอมเมิร์ซ, ธุรกิจการเงิน และบันเทิง. 3. CRM/BI Platform: ให้บริการแพลตฟอร์มซื้อ-ขาย สะสมและแลกคะแนนแบบครบอีโคซิสเต็ม เพื่อเพิ่มฐานลูกค้าใหม่และรักษาลูกค้าเก่า ครอบคลุมทั้งระบบ Loyalty Program, SMS และ LINE CRM รวมถึงการดูแลด้าน Privilege ครบวงจร ผ่านแพลตฟอร์มจัดการข้อมูลที่

ปลอดภัยภายใต้ PDPA พร้อมฟีเจอร์ที่สนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ 4. Analytics SMS Platform: บริการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการสื่อสารผ่าน SMS พยากรณ์แนวโน้มและพฤติกรรมของผู้รับ เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการตลาดและการสื่อสาร

ธุรกิจแพลตฟอร์มและมีเดียโซลูชันได้เข้าไปช่วยสนับสนุนลูกค้าหลากหลายธุรกิจรวมกว่า 300 แบรนด์ ครอบคลุมทั้งธุรกิจรีเทล การเงิน ประกันภัย FMCG Healthcare รวมถึงกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง (SMB) และ SMEs โดยสามารถเข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพ การดำเนินงานให้กับธุรกิจและแบรนด์ของลูกค้าในหลากหลายด้าน เช่น นำ LINE Solution เข้าไปวิเคราะห์ Pain point และพฤติกรรมผู้ใช้งาน วางแผนการสื่อสาร รวมถึงสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจของสมาชิกใน Line Official โรงพยาบาลชั้นนำของไทย เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ลดอัตราการบล็อก และเพิ่มจำนวนเพื่อนในไลน์ โดยสามารถลดการบล็อกได้ถึง 17% และเพิ่มจำนวนเพื่อนได้มากขึ้น 10% สำหรับผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 บริษัทฯ สามารถคว้าลูกค้าใหม่มาได้ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจการเงิน โปรเจกต์ของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงธุรกิจ SMB และ SME พร้อมกวาดรายไปได้ถึง 500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565

“บริการด้านแพลตฟอร์มและดิจิทัลโซลูชัน เป็นเสมือนเฟรมเวิร์คที่นำไปเชื่อมต่อระหว่างดาต้า บริการ และแพลตฟอร์มของลูกค้าองค์กรกับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย เพื่อแก้ Pain point พร้อมยกระดับบริการ หรือผลิตภัณฑ์เหล่านั้นให้มีศักยภาพมากขึ้น รวมถึงสามารถวางกลยุทธ์ Cross-selling และ Up-selling แผนการตลาด การจัดกิจกรรม CRM หรือการโฆษณาที่สมบูรณ์แบบและตอบโจทย์ลูกค้าอย่างตรงจุด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการสเกลอัพธุรกิจให้เติบโต เสริมความแข็งแกร่งแบรนด์ รวมไปถึงสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้บริโภค โดยในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปีนี้ บริษัทเดินหน้ารุกตลาดเต็มสูบ นำบริการของเราเข้าไปรองรับความต้องการใช้งานแพลตฟอร์มการตลาด ดิจิทัลโซลูชัน และโซเชียลมีเดีย เพื่อขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มใหม่ ๆ และรักษาฐานลูกค้าเดิม รวมถึงทุ่มงบลงทุนกว่า 10 ล้านบาท พัฒนาแพลตฟอร์ม SMS Analytics รูปแบบใหม่และยกระดับระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลลูกค้า โดยตั้งเป้าปี 2566 มีรายได้เติบโตประมาณ 20% จากปีก่อน”

งานเปิดตัว Telehouse ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ นำโดย ฯพณฯ นายคะสุยะ นะชิดะ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งญี่ปุ่น ประจำราชอาณาจักรไทย (กลาง) คุณซ่อนกลิ่น พลอยมี รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (3 จากขวา) คุณเคน มิยาชิตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทเลเฮ้าส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ขวา) และ คุณเคอิจิ โมริ รองกรรมการผู้จัดการและกรรมการ บริษัท เค ดี ดี ไอ คอร์เปอร์เรชัน (3 จากซ้าย)

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 19 พฤษภาคม 2566 - Telehouse หนึ่งในผู้นำด้านการให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ระดับโลก เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกในประเทศไทยแล้ววันนี้ โดยตั้งอยู่ที่ถนนพระราม 9 ในกรุงเทพฯ ด้วยเงินลงทุน 74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 2.5 พันล้านบาท โดยดาต้าเซ็นเตอร์แห่งนี้ มุ่งที่จะเป็นศูนย์รวมในการเชื่อมต่อภายในภูมิภาคและทั่วโลก และยังเป็นดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกในประเทศไทยที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100%

งานในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ นายคะสุยะ นะชิดะ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งญี่ปุ่น ประจำราชอาณาจักรไทย คุณซ่อนกลิ่น พลอยมี รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และพันธมิตรทางธุรกิจมากมายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เดินทางมาเข้าร่วมงานเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ที่กรุงเทพฯ

 

Telehouse เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ระดับโลก ที่ได้ขยายการเติบโตมายังกรุงเทพฯ ซึ่งนับเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ที่แรกในประเทศไทย เป็นแห่งที่ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จาก Telehouse ทั้งหมด 45 แห่งทั่วโลก Telehouse ประเทศไทย มีพื้นที่อาคารกว้างขวางถึง 9,000 ตร.ม. พร้อมด้วยกำลังการรับไฟฟ้าสูงสุด 9.5 เมกะโวลต์แอมแปร์ (MVA) นอกจากนี้ ยังโดดเด่นด้วยทำเลที่ตั้งใจกลางกรุงเทพฯ – พระราม 9 ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งนี้ยังมุ่งเป็นผู้นำการเชื่อมต่อโครงข่าย โดยตั้งเป้าเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ที่เป็นศูนย์รวมอินเทอร์เน็ต สำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคมและผู้ให้บริการอื่นๆ เช่นคลาวด์และคอนเท้นท์ต่างๆได้เชื่อมต่อกัน ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนการรับส่งข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ ให้ถึงผู้ใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

 

นอกจากเป้าหมายในการพัฒนาและส่งเสริมระบบโครงข่ายในประเทศไทย Telehouse ยังเล็งเห็นความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมตั้งเป้าเป็นดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกในประเทศไทยที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายทั่วโลกของ Telehouse ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2569

นอกจากนี้ ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก คุณเคอิจิ โมริ รองกรรมการผู้จัดการ และกรรมการ บริษัท เค ดี ดี ไอ คอร์เปอร์เรชัน และ คุณเคน มิยาชิตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทเลเฮ้าส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นตัวแทนของ Telehouse ในการกล่าวตอนรับ และนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจในงาน

 

คุณเคน มิยาชิตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทเลเฮ้าส์ (ประเทศไทย) จำกัด

คุณเคน มิยาชิตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทเลเฮ้าส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “พวกเรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ประกาศการเปิดตัว Telehouse ในกรุงเทพฯ อย่างเป็นทางการ ด้วยที่ตั้งเชิงกลยุทธ์ใจกลางเมือง ทำให้ Telehouse ประเทศไทย เป็นดาต้าเซ็นเตอร์ที่ทำให้สามารถใช้งานเครือข่ายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมต่อยอดสู่การเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีความปลอดภัยและเชื่อถือได้ และเรามีความพร้อมที่จะช่วยยกระดับมาตรฐานดาต้าเซ็นเตอร์ในภูมิภาคแห่งนี้และสนันสนุนการพัฒนาสังคมดิจิตัลของประเทศไทยและภูมิภาคต่อไป”

ปัจจุบัน Telehouse ประเทศไทย มีพันธมิตรแล้วมากกว่า 10 ราย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ให้บริการโทรคมนาคม คลาวด์ หรือผู้ให้บริการคอนเท้นต์ รวมถึงพาร์ทเนอร์ที่ส่งมอบโซลูชันส์ให้ลูกค้าองค์กร ที่ช่วยสร้างความพร้อมของระบบนิเวศทาง “การเชื่อมต่อ” ในดาต้าเซ็นเตอร์แห่งนี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ที่ https://telehouse.co.th/

กลุ่มธุรกิจพลังงานดิจิทัล ของ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click