January 15, 2025

หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติถอดถอนนายเศรษฐา ทวีสิน จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทยได้เสนอชื่อ น..แพทองธาร ชินวัตร หรือ "อุ๊งอิ๊ง" เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2567 ..แพทองธาร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ทำให้เธอกลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นสตรีคนที่สองที่ดำรงตำแหน่งนี้ และเป็นบุคคลที่สามในตระกูลชินวัตรที่ได้นั่งเก้าอี้ผู้นำประเทศไทย ส่งผลให้เกิดกระแสการพูดคุยและถกเถียงอย่างกว้างขวางในโซเชียลมีเดีย 

บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ได้ทำการรวบรวมข้อมูลผ่านเครื่องมือ DXT360 เพื่อฟังเสียงในสื่อสังคมออนไลน์ (Social Listening) ในช่วงวันที่ 15 - 18 สิงหาคม 2567 ถึงประเด็น “นายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย” พบว่าชาวโซเชียลต่างแสดงความคิดเห็น สะท้อนทั้งความคาดหวัง และข้อกังวลต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในแง่มุมที่หลากหลาย ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างทางความคิดและทัศนคติทางการเมืองในสังคมไทยได้อย่างชัดเจน 

 

วิเคราะห์ความรู้สึกของชาวโซเชียลต่อนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 (Sentiment Analysis) 

ประเด็นที่ชาวโซเชียลพูดถึงนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 (Comment Topics) 

เมื่อวิเคราะห์เนื้อหาของความคิดเห็น (Comments) ที่ปรากฎในโซเชียลมีเดีย สามารถสรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับนายกฯ แพทองธาร ได้ดังต่อไปนี้ 

  1. สานต่อนโยบายของพรรคเพื่อไทย (41.3%) 
  • ดิจิทัล วอลเล็ต (Digital Wallet) 

นโยบายแจกเงินดิจิทัล หรือ นโยบายการเติมเงิน 10,000 บาทผ่าน Digital Wallet เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในโซเชียลมีเดีย ประชาชนส่วนใหญ่แสดงความกังวลว่านโยบายนี้อาจจะไม่ได้รับการดำเนินการต่อ ส่งผลให้มีทัศนคติเชิงลบต่อพรรคเพื่อไทย และนายกฯ แพทองธาร สูงถึง 74.7% ของการกล่าวถึงนโยบาย Digital Wallet 

  อย่างไรก็ตาม ยังมีบางส่วนที่ยังคงมีความหวังว่านายกฯ แพทองธารจะสามารถดำเนินนโยบายนี้ต่อไปได้ เนื่องจากมีข้อมูลว่างบประมาณบางส่วนได้รับการอนุมัติแล้ว 

  • นโยบายลดค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน 

หนึ่งในนโยบายหาเสียงสำคัญในการเลือกตั้งที่ผ่านมา คือการลดหย่อนค่าสาธารณูปโภค เช่น การลดค่า Ft และค่าน้ำมัน ซึ่งสัญญาว่าจะดำเนินการได้ทันทีหากพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ปัจจุบัน ความคิดเห็นส่วนใหญ่บนโซเชียลมีเดียอยู่ในสถานะ 'รอดู' โดยยังไม่ตัดสินว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่จะสามารถดำเนินการตามนโยบายนี้ได้หรือไม่ ส่งผลให้ทัศนคติส่วนใหญ่เป็นกลาง คิดเป็น 85% ของการกล่าวถึงนโยบายด้านการช่วยเหลือค่าสาธารณูปโภค 

  • ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) 

ก่อนการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี น.ส.แพทองธาร รับบทบาทประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ส่งผลให้ประชาชนในโซเชียลมีเดียมีความคาดหวังเชิงบวกต่อการผลักดันนโยบายด้านซอฟต์พาวเวอร์ของเธอ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น การผลักดันการศึกษา การส่งเสริมการท่องเที่ยว การยกระดับการผลิตสินค้า เป็นต้น 

  • การแก้ไขปัญหายาเสพติด 

ปัญหายาเสพติดในประเทศไทยทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อสังคมไทย สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือการขาดความเด็ดขาดในการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ นโยบายด้านสาธารณสุขที่นำกัญชาและกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดได้สร้างความท้าทายในการจัดการกับปัญหานี้ ภายหลังจากที่ น.ส.แพทองธารได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประชาชนในโซเชียลมีเดียต่างแสดงความคาดหวังอย่างสูงต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด ความคาดหวังนี้มีรากฐานมาจากความสำเร็จในอดีตของรัฐบาลภายใต้การนำของนายทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นบิดา ซึ่งสามารถจัดการกับปัญหายาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

  • ยกระดับฐานรายได้ 

ในช่วงหาเสียง พรรคเพื่อไทยได้เสนอนโยบายเพื่อดึงดูดความสนใจจากประชาชน โดยเฉพาะการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 600 บาทต่อวัน และเงินเดือนผู้จบการศึกษาปริญญาตรี 25,000 บาท เมื่อมีการประกาศแต่งตั้ง น.ส.แพทองธาร ลูกสาวของอดีตนายทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ประชาชนในโซเชียลมีเดียจึงให้ความสนใจนโยบายนี้ โดยหวังว่าเธอจะสามารถทำให้เศรษฐกิจดีเช่นเดียวกับบิดาของเธอที่ทำได้ในอดีต 

อย่างไรก็ตาม มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากบางส่วน (5% ของการกล่าวถึงนโยบายการเพิ่มรายได้) ที่แสดงความไม่เชื่อมั่นว่านายกฯ แพทองธาร จะสามารถทำให้นโยบายด้านรายได้ประสบความสำเร็จได้ นอกจากนี้ อีกประเด็นที่ได้รับการพูดถึงอย่างมากคือการอ้างอิงคำกล่าวของ น.ส.แพทองธารในช่วงหาเสียง “มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ไปพร้อม ๆ กัน 

 

  1. ความน่าเชื่อถือและความเหมาะสม (35.2%) 
  • การไม่รักษาคำพูด 

หลังจากพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล สลับขั้วไปจับมือกับพรรครวมไทยสร้างชาติและพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นกลุ่มขั้วอำนาจเดิมในฝั่งอนุรักษ์นิยม และทำให้พรรคก้าวไกลต้องไปเป็นฝ่ายค้าน ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมาย รวมถึงการผิดคำมั่นที่พูดไว้เรื่อง “ปิดสวิตช์ 3 ป” ตอนหาเสียงเลือกตั้ง เหตุการณ์เหล่านี้นำไปสู่ความไม่พอใจของชาวโซเชียลบางกลุ่มจนเกิดวลี “เพื่อไทยหักหลังประชาชน” รวมถึงมีการแสดงความคิดเห็นโดยใช้อิโมจิรูปสตรอว์เบอร์รี่เป็นสัญลักษณ์ สะท้อนถึงความไม่เชื่อมั่นที่มีต่อพรรคเพื่อไทย และนายกฯ แพทองธาร ในฐานะผู้นำพรรค 

  • คุณวุฒิและวัยวุฒิ 

ประเด็นความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องอายุและประสบการณ์ทางการเมือง ประเด็นหลักที่ถูกหยิบยกขึ้นมา ได้แก่ อายุน้อยเมื่อเทียบกับนายกรัฐมนตรีคนก่อน ๆ และขาดผลงานทางการเมืองที่เป็นที่ประจักษ์ 

นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวอ้างถึงคำพูดของนายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่เคยกล่าวเมื่อครั้งที่มีการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ว่า “ไม่ต้องการได้สามเณรเป็นเจ้าอาวาส” ในครั้งนี้จึงมีการเปรียบเปรยกันในบางส่วนของสังคมออนไลน์ว่า "ได้แม่ชีเป็นเจ้าอาวาส" โดยต้องการสื่อถึง น.ส.แพทองธาร อย่างไม่เป็นทางการ 

  • สืบทอดอำนาจครอบครัวชินวัตร 

ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์แสดงข้อสงสัยเกี่ยวกับการได้มาซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ น.ส.แพทองธาร โดยมีประเด็นหลักดังนี้ 

  • พรรคเพื่อไทยไม่ใช่พรรคที่ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนมาเป็นอันดับหนึ่ง 
  • ความไม่เชื่อมั่นในกระบวนการทางการเมืองไทย: สถานการณ์นี้ถูกมองว่าสะท้อนปัญหาในระบบการเมืองของไทยที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน 
  • อิทธิพลของตระกูลชินวัตร: มีการตั้งคำถามว่าการได้รับตำแหน่งนี้อาจเป็นผลมาจากอิทธิพลของครอบครัว และมีการตั้งข้อสังเกตว่าน.ส.แพทองธาร อาจเป็นเพียงตัวแทนในการบริหารประเทศแทนอดีตนายกฯ ทักษิณ 

ข้อสงสัยเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความกังวลของประชาชนต่อความโปร่งใสและความเป็นอิสระในการบริหารประเทศของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ 

 

  • ตัวแทนคนรุ่นใหม่  

ชาวโซเชียลบางส่วนแสดงความยินดีและพร้อมสนับสนุนนายกฯ แพทองธาร โดยมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถบริหารประเทศได้ดี จึงอยากให้โอกาสและรอดูผลงานก่อนแล้วค่อยตัดสินทีหลัง โดยสิ่งที่ชาวโซเชียลกำลังจับตาพิจารณาในช่วงนี้คือการแต่งตั้งรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ที่สำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจว่าจะใช้คนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมบริหาร หรือเป็นกลุ่มนักการเมืองรุ่นเก่าที่เคยทำงานกับนายทักษิณมาก่อน 

  1. เสถียรภาพทางการเมือง (17.6%)   

เหตุการณ์ที่ผ่านมาได้สร้างความกังวลให้กับประชาชนในโซเชียลมีเดีย โดยมีประเด็นหลักดังนี้ 

  1. ความเปราะบางของตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากกรณีอดีตนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากตำแหน่ง หลังจากดำรงตำแหน่งได้ไม่ถึง 1 ปี 2
  2. ความกังวลว่านายกฯ แพทองธารอาจเผชิญชะตากรรมเดียวกัน 3
  3. ความกังวลเกี่ยวกับการบริหารประเทศของนายกฯ แพทองธาร ภายใต้อิทธิพลของนายทักษิณ 4
  4. ประเด็นการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงในการถูกตัดสิทธิทางการเมือง เช่นเดียวกับกรณีการถือหุ้นสื่อของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ 

ประเด็นเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความไม่มั่นใจของประชาชนต่อเสถียรภาพทางการเมืองในปัจจุบัน 

  1. เฝ้ารอการฟื้นฟูทางด้านเศรษฐกิจ (5.9%)   

แม้ว่าประเด็นหลักซึ่งมีการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์กันในหลากหลายแง่มุมจะเกี่ยวข้องกับความนิยมของตระกูลชินวัตรและพรรคเพื่อไทย รวมถึงการแบ่งแยกแนวคิดทางการเมืองระหว่างอนุรักษ์นิยมและเสรีนิยม แต่ก็ยังคงมีการพูดถึงประเด็นเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ ปากท้องและความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งมีมุมมองที่น่าสนใจดังนี้ 

  • ประเด็นปากท้อง: บางส่วนให้ความสำคัญกับเรื่องเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นหลัก 
  • ความสงบของบ้านเมือง: มีการแสดงความคิดเห็นที่เน้นความสำคัญของเสถียรภาพทางการเมืองและสังคม 

Insight ที่น่าสนใจจาก Reaction ของผู้คนบนเฟซบุ๊ก 

การวิเคราะห์การแสดงอารมณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับนายกฯ แพทองธารผ่าน Reaction บนเฟซบุ๊ก พบประเด็นที่น่าสนใจ คือโดยปกติผู้ใช้เฟซบุ๊กมักจะกดไลค์ (Like) เพราะกดง่าย แตกต่างจาก Reaction อื่นที่ต้องเลื่อนเพื่อจะเลือก แต่จากการศึกษาโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับนายกฯ แพทองธารซึ่งมี Engagement สูงกว่า 10,000 ครั้ง กลับพบว่ามีการกดปุ่ม "หัวเราะ" เฉลี่ยสูงถึง 29% ของ Reaction ทั้งหมด ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงอย่างมีนัยยะสำคัญ 

 

รัฐบาลไทยและไมโครซอฟท์ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือภายใต้วิสัยทัศน์ในการยกระดับประเทศไทยให้มุ่งสู่ก้าวต่อไปกับนวัตกรรมดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยข้อตกลงฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะนำเทคโนโลยีคลาวด์และ AI ที่เปี่ยมประสิทธิภาพจากไมโครซอฟท์มาเสริมความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศไทย สร้างโอกาสใหม่ๆ ในการจ้างงานที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย และปูทางให้ประเทศไทยมุ่งสู่ความเป็นผู้นำในระดับภูมิภาค ทั้งในด้านนวัตกรรมดิจิทัลและความยั่งยืน

ในโอกาสนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และนายสัตยา นาเดลลา ซีอีโอของไมโครซอฟท์ ได้ร่วมพบปะหารือกันที่เมือง ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมพูดคุยถึงจุดประสงค์ของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับดังกล่าว ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

· ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยนวัตกรรมดิจิทัล

ไมโครซอฟท์จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สอดคล้องกับนโยบายด้านรัฐบาลดิจิทัลและการใช้บริการระบบคลาวด์ภาครัฐ หรือ Cloud First ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนภาคการเกษตร สาธารณสุข การท่องเที่ยว และการศึกษา นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังจะร่วมพิจารณาแผนการลงทุนก่อสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Center) ในประเทศไทย เพื่อยกระดับการใช้งานคลาวด์และ AI ต่อไปในอนาคต และพร้อมกันนี้ ไมโครซอฟท์จะให้การสนับสนุนกับรัฐบาลไทยในด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ด้วยการนำเสนอแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุด พร้อมด้วยความเชี่ยวชาญจากบุคลากรชั้นนำของบริษัท

 · ปูทางสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วย AI

ไมโครซอฟท์จะทำงานร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาและผสมผสานเทคโนโลยี AI เข้ากับโครงการด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) และบริการสาธารณะต่างๆ เพื่อประโยชน์แก่คนไทย นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังมีแผนที่จะร่วมกันจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเชิงกลยุทธ์ด้าน AI (AI Center of Excellence) เพื่อยกระดับโครงการที่ใช้เทคโนโลยี AI ของภาครัฐ จัดทำโรดแมปที่จะช่วยให้การนำเทคโนโลยี AI มาใช้งานเกิดขึ้นได้จริง และส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในภาคส่วนและอุตสาหกรรมต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมยังจะร่วมหารือกับไมโครซอฟท์เกี่ยวกับการกำหนดทิศทางนโยบายและกรอบการกำกับดูแล เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถนำ AI มาใช้งานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ

· เสริมทักษะคนไทยเพื่อชีวิตในยุคหน้า

ไมโครซอฟท์จะสานต่อพันธกิจในการยกระดับทักษะแห่งอนาคตสำหรับคนไทยกว่า 10 ล้านคน ผ่านทางความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานอื่นๆ โดยครอบคลุมทักษะสำคัญในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นภาษาที่สองเพื่อการสื่อสารหรือความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงการฝึกฝนนักพัฒนานวัตกรรมรุ่นใหม่ในทุกสายอาชีพ (Citizen Developers) ในรูปแบบที่เปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงโอกาสในการเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึงยิ่งขึ้น

· ยกระดับประเทศไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

หน่วยงานภาครัฐของไทยจะทำงานร่วมกับไมโครซอฟท์เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2608 ผ่านทางการสร้างพื้นที่ทดสอบสำหรับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Sandbox) เพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วน นับตั้งแต่ภาครัฐ องค์กรเอกชนขนาดใหญ่ ไปจนถึงผู้ประกอบการรายย่อย นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังมีแผนที่จะนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้งานเต็ม 100% ในโครงการและแผนการลงทุนในอนาคตอีกด้วย

 

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “พันธกิจของประเทศไทย นับตั้งแต่ด้านการสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนไปจนถึงการใช้พลังงานหมุนเวียน นับว่ามีทิศทางที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของไมโครซอฟท์ โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างทั้งความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและศักยภาพเชิงดิจิทัลของประเทศไทยไปพร้อมกัน”

นายอาเหม็ด มาซารี ประธาน ไมโครซอฟท์ เอเชีย กล่าวเสริมอีกว่า “เทคโนโลยี AI มีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดทิศทางและวิธีการทำงานของทั้งผู้คนและองค์กรทั่วโลก สำหรับประเทศไทยนั้น แผนปฏิบัติการของรัฐบาลได้วางเป้าหมายในการนำ AI มาขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วนเป็นมูลค่ากว่า 48,000 ล้านบาท ภายในปี พ.ศ. 25701 และเราก็มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะได้ทำงานอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับรัฐบาลไทยเพื่อมุ่งสู่อนาคตที่มี AI เป็นนวัตกรรมคู่คิดของประเทศไทย”

X

Right Click

No right click