November 24, 2024

NielsenIQ (NIQ) บริษัทวิจัยผู้บริโภคชั้นนำของโลกด้านข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค ได้เปิดเผยถึงรายงานแนวโน้มผู้บริโภคในประเทศไทยช่วงกลางปี พ.ศ. 2567 ชี้ให้เห็นถึงมุมมองที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของพฤติกรรมผู้บริโภค ในขณะชาวไทยกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น 

ความเชื่อมั่นทางการเงินและความกังวลหลัก 

รายงานได้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่เป็นจุดเด่นว่า ผู้บริโภคถึง 84% กำลังแสวงหาแหล่งรายได้เสริมนอกเหนือจากงานประจำ การเพิ่มขึ้นในจุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงการผลักดันให้ประเทศมีความมั่นคงทางการเงินท่ามกลางตัวเลขการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ 29% ของผู้บริโภคได้รายงานว่าสถานะทางการเงินของตนนั้นดีขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2567 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากจำนวน 24% แต่มีผู้บริโภคถึง 35% รู้สึกว่าสถานะทางการเงินของตนแย่ลง ถึงแม้ว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นจาก 48% ในช่วงต้นปีก็ตาม อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ เนื่องจากผู้บริโภคถึง 36% ได้แสดงถึงความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับค่าสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 32% เมื่อปีที่แล้ว 

การใช้จ่ายเชิงกลยุทธ์และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล 

แม้ว่าต้นทุนจะเพิ่มขึ้น แต่ผู้บริโภคชาวไทย 43% เชื่อว่าความมั่นคงทางการเงินของครอบครัวยังคงไม่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม คนกลุ่มนี้จะมีความระมัดระวังมากขึ้นในการใช้จ่าย ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 

เพื่อรับมือกับแรงกดดันด้านต้นทุน ผู้บริโภคชาวไทย 45% เลือกที่จะซื้อของออนไลน์เพื่อรับข้อเสนอที่ดีกว่า ลดการเดินทาง และประหยัดค่าน้ำมัน การเปลี่ยนแปลงนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความสะดวกสบายและความสามารถในการตัดสินใจใช้จ่ายของผู้บริโภค  เนื่องจากงบประมาณครัวเรือนตึงตัว ผู้บริโภคชาวไทย 25% จึงเปลี่ยนมาซื้อสินค้าจำนวนมากเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากต้นทุนต่อการใช้งานที่ลดลง นอกจากนี้ 80% ของผู้บริโภคมีความชื่นชอบต่อผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้มีราคาจับต้องได้มากที่สุด ซึ่งบ่งชี้ถึงโอกาสที่ธุรกิจต่างๆ จะสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยโซลูชันที่คุ้มต้นทุน 

สุขภาพและการเป็นอยู่ภายในบ้าน - Centric Lifestyles 

รายงานได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในทิศทางของมูลค่าระยะยาวอย่างเห็นได้ชัด โดยผู้บริโภค 76% ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มเพื่อผลิตภัณฑ์ที่ทนทานกว่า เพื่อลดความจำเป็นในการเปลี่ยนบ่อยครั้ง นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับประสบการณ์ภายในบ้านมากกว่าความบันเทิงภายนอก ซึ่งเน้นย้ำถึงความชอบในการทำกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจที่บ้านเพื่อลดต้นทุนโดยรวม 

นอกจากนี้ การใช้จ่ายด้านสุขภาพก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีกลุ่มผู้บริโภคชาวไทย 74% ที่มีการเพิ่มการใช้จ่ายในวิตามินและอาหารเสริมเพื่อสนับสนุนความเป็นอยู่โดยรวม แนวโน้มนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้นท่ามกลางต้นทุนการดูแลสุขภาพและการตระหนักรู้เกี่ยวกับประโยชน์ต่อสุขภาพที่เพิ่มขึ้นด้วย

อิทธิพลของโลกดิจิทัลและการบริโภคอย่างชาญฉลาด 

อิทธิพลของโซเชียลมีเดียยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริโภคชาวไทย 76% ใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้เพื่อค้นหาข้อมูลผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 46% อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ผู้บริโภค 22% ชอบใช้อุปกรณ์อัจฉริยะ อาทิ ตู้เย็นที่มีเซ็นเซอร์ เพื่อช่วยจัดการและเติมสิ่งของในครัวเรือนโดยอัตโนมัติ ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มของการบริโภคที่เน้นความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้น 

แนวโน้มที่ต้องจับตามองในอนาคต 

การพาณิชย์ทางโซเชียล ประสบการณ์แบบ Omni-channel การผสานรวม AI และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ผันผวน ทุกปัจจัยมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในปี พ.ศ. 2568 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการคาดการณ์ว่าผู้บริโภคชาวไทย 1 ใน 3 จะเลือกซื้อของทางโซเชียลมีเดียมากขึ้น ซึ่งจะผลักดันให้แนวโน้มการค้าปลีกเปลี่ยนแปลงไปด้วย  

สำหรับธุรกิจที่ต้องการประสบความสำเร็จในตลาดที่เปลี่ยนแปลงนี้ การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงให้แก่ผู้บริโภคและการเสนอข้อเสนอในหลายๆ วิธีถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ เมื่อการฟื้นตัวของผู้บริโภคดำเนินไปอย่างช้าๆ ผลิตภัณฑ์ที่มอบทั้งความคุ้มราคาและนวัตกรรมจึงมีแนนโน้มที่จะสามารถดึงดูดความภักดีของผู้บริโภคในระยะยาวได้ 

APCO ส่งผลงานนวัตกรรม ByeByeHIV 50 รายแรกของโลก กำจัดเซลล์ติดเชื้อ HIV ไร้ผลข้างเคียง สุขภาพดีขึ้นต่อเนื่อง เผยแพร่ในวารสาร Clinical Immunology & Research ตอกย้ำความเชื่อมั่นผู้บริโภค สร้างโอกาสความร่วมมือพันธมิตรใหม่ ตั้งเป้าช่วยเหลือผู้ติดเชื้อทั่วโลก

ศ. ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ APCO เจ้าของธุรกิจนวัตกรรมธรรมชาติเพื่อสุขภาพและความงาม ด้วยการวิจัย พัฒนา ผลิตและจัดจำหน่ายครบวงจร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เปิดเผยว่า นวัตกรรม ByeByeHIV จาก APCO ได้รับการยอมรับและเผยแพร่ในวารสาร Clinical Immunology & Research ซึ่งเป็นวารสารวิชาการแบบออนไลน์ ชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ที่บรรจุเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลกอย่างเป็นกลาง และได้รับการทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (Peer-Review) จึงสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างชาติ และถือเป็นโอกาสที่ดีในการทำธุรกิจของ APCO รวมถึงส่งเสริมให้พันธมิตรทางธุรกิจของบริษัทสามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น

ทั้งนี้ เชื้อ HIV ซึ่งจะกลายเป็นโรค AIDS ระยะลุกลาม เกิดขึ้นตั้งแต่ 40 ปีที่แล้ว จนบัดนี้ ยังไม่มียาใดที่สามารถจัดการโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย อีกทั้งความพยายามในการพัฒนาวัคซีนยังไม่ประสบความสำเร็จ จนถึงปัจจุบัน ByeByeHIV จึงเป็นถือเป็นนวัตกรรมของชาติไทยที่สร้างประวัติศาสตร์ของการจัดการกับเชื้อ HIV/AIDS ของโลก

คณะนักวิจัย Operation BIM ประสบความสำเร็จในการใช้สูตร ByeByeHIV ซึ่งเกิดขึ้นจากสูตรเสริมฤทธิ์ของสารสกัด มังคุด งาดำ ถั่วเหลือง ฝรั่ง และบัวบก จัดการกับปัญหานี้ได้อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว สามารถทำให้ผู้ที่ติดเชื้อตรวจไม่พบเชื้อ และมีคุณภาพชีวิตเป็นปกติ รวมทั้งสิ้น 24 ราย นานที่สุด 8 ปี แม้ว่าจะหยุดใช้สูตร ByeByeHIV แล้วก็ยังมีสุขภาพดีอย่างต่อเนื่อง โดยตรวจไม่พบเชื้อ นับเป็นความสำเร็จที่ไม่มีนักวิทยาศาสตร์จากประเทศใดทำได้สำเร็จเลย

ขณะเดียวกัน สูตร ByeByeHIV ได้ช่วยให้ผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS 26 ราย ซึ่งอยู่ในระหว่างการรักษาด้วยยารักษาเอดส์ แต่ต้องทรมานจากผลข้างเคียงของยา สามารถหยุดการใช้ยาได้และมีคุณภาพชีวิตเหมือนคนปกติ แม้จะหยุดใช้สูตร ByeByeHIV ก็ยังมีสุขภาพที่แข็งแรงและตรวจไม่พบเชื้ออย่างต่อเนื่อง ในจำนวนนี้มีผู้ที่ติดเชื้อจากมารดา รวมทั้งผู้ที่เป็นมะเร็งร่วมที่สมอง ช่องท้อง และไขสันหลัง ซึ่งแพทย์ให้ความเห็นว่าจะเสียชีวิต ภายใน 3 เดือน แต่ก็สามารถกลับมีคุณภาพชีวิตเป็นปกติต่อเนื่องแล้วเป็นเวลากว่า 8 ปี โดยไม่ต้องใช้เคมีบำบัด และรังสีบำบัดจัดการกับมะเร็งเลย

จากประสบการณ์ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นทั้งเอดส์และมะเร็ง ให้กลับเป็นปกติ ทำให้คณะนักวิจัยฯ สามารถใช้ความรู้นี้ในการพัฒนาสูตรที่จัดการกับมะเร็งทุกๆ ระยะ ตลอดจนอยู่ในระหว่างการพัฒนาสูตรป้องกันมะเร็งที่ใช้ได้อย่างสะดวกในราคาที่เหมาะสม ซึ่งควรจะทำให้ APCO มีผลประกอบการที่เพิ่มมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา

(กรุงเทพฯ ประเทศไทย) กุมภาพันธ์ 2566 – งานวิจัยฉบับใหม่* จากมินเทล ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลตลาดระดับโลก ชี้ว่าการใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนทำให้คน Gen Z** ให้ความสำคัญกับอนาคต หาความรู้ทางการเงินมากขึ้น และตัดสินใจอย่างชาญฉลาดขึ้นในการจับจ่ายใช้สอย

หลังจากต้องประสบกับเหตุการระบาดใหญ่โควิด-19 ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เงินเฟ้อสูง สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป ผู้บริโภคชาวไทยที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี มีความอยากใช้เงินลดลง โดยประมาณ 3 ใน 4 คน (75%) เลือกที่จะเก็บออมเพื่ออนาคตมากกว่าการใช้เงินไปกับการซื้อสิ่งของต่าง ๆ

ปัจจุบันคนรุ่นใหม่คิดก่อนจ่ายเสมอ โดยคนรุ่นใหม่ประมาณ 4 ใน 5 คน (86%) อ่านรีวิวสินค้าก่อนซื้อ พวกเขายังยินดีมากขึ้นที่จะจ่ายเงินไปกับผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ (53%) ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองที่น่าเชื่อถือ (39%) และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (36%)

แม้ว่าคน Gen Z ประมาณ 2 ใน 3 คน (60%) มีความพึงพอใจกับชีวิตของพวกเขาในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา (จนถึงเดือนมิถุนายน 2565) งานวิจัยจากมินเทลชี้ว่า ผู้บริโภครุ่นใหม่รู้สึกเครียดและโดดเดี่ยว พวกเขาให้ความสำคัญกับสุขภาพองค์รวมและความเป็นอยู่ที่ดีในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ

คน Gen Z มองหาทางออกด้านสุขภาพที่มีคุณภาพและเข้าถึงได้ง่าย แต่มากกว่า 2 ใน 3 คน (38%) จะตัดสินใจซื้อสินค้านั้นๆ ก็ต่อเมื่อพวกเขาสามารถตรวจสอบได้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเป็นของแท้และน่าเชื่อถือ โดยการกระทำนี้เห็นได้ชัดในการจับจ่ายไปกับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งคน Gen Z ใช้เงินกับผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มากที่สุด (65%)

แม้ว่าคน Gen Z จะพบเจอความท้าทายมากมาย ความมุ่งมั่นของพวกเขาที่มีต่อความยั่งยืนและประโยชน์ต่อสังคมยังคงไม่เปลี่ยนแปลง และพวกเขายังคาดหวังที่จะเห็นคุณค่าของตนเองสะท้อนออกมาจากแบรนด์ที่พวกเขาเลือก คน Gen Z จำนวนมากกว่า 3 ใน 4 คน (76%) ในประเทศไทย กล่าวว่าพวกเขาใช้ความพยายามมากกว่าเดิมในชีวิตประจำวันเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และประมาณ 25% คิดว่าการจ่ายเงินเพิ่มขึ้นให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนนั้นเป็นสิ่งที่คุ้มค่า

ช่องทางออนไลน์ยังคงเป็นช่องทางที่ผู้บริโภครุ่นใหม่ในประเทศไทยใช้งานบ่อยที่สุด โดยมากกว่า 3 ใน 5 คน (65%) ระบุว่าพวกเขาอยากซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่าออฟไลน์ และจำนวนใกล้เคียงกัน (64%) ระบุว่าพวกเขาเลื่อนดูสิ่งต่าง ๆ บนโซเชียลมีเดียเพื่อการผ่อนคลาย

ดร. วิลาสิณี ศิริบูรณ์พิพัฒนา (ไข่มุก) นักวิเคราะห์ไลฟ์สไตล์อาวุโส มินเทล รีพอร์ทส์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ผู้บริโภคอายุ 18-25 ปี มีจำนวนประมาณ 1 ใน 5 ของผู้บริโภคในประเทศไทยทั้งหมด พวกเขาเป็นตัวแทนของอนาคต แบรนด์จำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงวิธีการที่จะเข้าหาผู้บริโภคกลุ่มนี้และสร้างความภักดีต่อแบรนด์ตั้งแต่เนิ่น

“แต่แบรนด์จะพบกับความท้าทายเช่นกัน แม้ผู้บริโภค Gen Z ส่วนใหญ่ต้องการใช้เงินมากกว่าการเก็บออม แต่หลายคนก็ยังต้องพึ่งพาผู้ปกครองในด้านการเงินอยู่ และพวกเขาอาจไม่มีอิสระในการเลือกจับจ่ายใช้สอย

“แบรนด์สามารถเชื่อมต่อกับคน Gen Z ได้อย่างสำเร็จและมีประสิทธิภาพโดยการใช้ช่องทางดิจิทัล โดยการเสนอข้อมูลอย่างแท้จริง โปร่งใส และสนับสนุนในสิ่งที่ผู้บริโภค Gen Z ให้ความสนใจมากที่สุด แบรนด์สามารถใช้โอกาสนี้เพื่อช่วยลดความกังวลในการใช้เงิน โดยเพิ่มคุณค่าให้กับการใช้จ่ายของผู้บริโภครุ่นใหม่ และช่วยให้พวกเขาสามารถเก็บออมได้ดีมากขึ้นสำหรับอนาคต”

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทรนด์การตลาดของผู้บริโภค Gen Z และบทสัมภาษณ์นักวิเคราะห์ สามารถส่งคำขอได้ที่ Mintel Press Office

TRUE Global Intelligence™” ฝ่ายวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลของเฟลชแมน ฮิลลาร์ด บริษัทที่ปรึกษาด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ระดับสากล เปิดตัว “DE&I Decoded: APAC” รายงานวิจัยเจาะลึกการรับรู้และความต้องการด้านการสนับสนุนความหลากหลาย ความเสมอภาค และการยอมรับความแตกต่าง (Diversity, Equity and Inclusion: DE&I) ของประชาชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

เพื่อวางกรอบการดำเนินงานให้ภาคเอกชนในเอเชียแปซิฟิกสามารถปฏิบัติตามเพื่อสนองความต้องการของประชาชนในภูมิภาคนี้ได้อย่างแท้จริง โดยรายงานฉบับนี้สะท้อนให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดและการปฏิบัติกับผู้เกี่ยวข้องต่างๆ และยังแนะแนวทางให้แบรนด์สามารถดำเนินธุรกิจที่สนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภคในภูมิภาคดีขึ้นและถูกต้องมากยิ่งขึ้น

ลินน์ แอน เดวิส ประธานเฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “แม้ว่าก่อนหน้านี้ DE&I อาจไม่ใช่ประเด็นใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญสำหรับประชากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แต่ด้วยชุดข้อมูลล่าสุดที่เราทำการศึกษาและรวบรวมมานี้ ทำให้เราได้รับรู้และเข้าใจถึงรายละเอียดและมุมมองที่ลึกซึ้งของผู้คนในประเทศต่างๆ ต่อการให้ความสำคัญเกี่ยวกับ DE&I ในหลากหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นด้านความหลากหลายทางเพศสภาพและศาสนา ไปจนถึงด้านความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ อาทิ เรื่องที่อยู่อาศัยและรายได้ เป็นต้น ซึ่งมุมมองและนิยามต่อ DE&I ในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับแบรนด์และเจ้าของธุรกิจที่ต้องเข้าใจถึงความแตกต่างและหลากหลาย เพื่อนำไปปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจให้เหมาะสมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

งานวิจัย DE&I Decoded: APAC พบว่า:

· ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญกับเรื่อง DE&I: การตีความ DE&I อาจต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่กลุ่มตัวอย่างในเอเชียแปซิฟิกอยากให้การสนับสนุนความหลากหลาย ความเสมอภาค และการยอมรับความแตกต่างในประเด็นต่างๆ อาทิ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และเพศสภาพ เป็นสาระสำคัญในการสื่อสารและกลยุทธ์ทางธุรกิจ โดยประชาชนร้อยละ 51 เห็นว่า ต้อง“ทำให้คนที่มีภูมิหลังต่างกันมีส่วนร่วมในสังคมมากขึ้น” ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 11 เท่านั้นที่อยากให้คงโครงสร้างทางสังคมแบบเดิมไว้

· สภาพเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักที่กระตุ้นการเปลี่ยนแปลง: ประชากรในทวีปเอเชียกล้าที่จะแสดงความเห็นและจุดยืนของตน โดยกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 84 ระบุว่าเขาได้เรียกร้องต่อประเด็นสังคมอย่างน้อย

หนึ่งเรื่อง ทั้งนี้ ประเด็นความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ เช่น สถานะทางเศรษฐกิจ สถานะการจ้างงาน และรายได้ เป็นเรื่องที่คนให้ความสนใจสูงสุด ตามด้วยประเด็นด้าน DE&I ที่สังคมรับรู้กันในวงกว้าง เช่น เพศสภาพ สถานะทางสังคม/ชนชั้น ภูมิหลังทางวัฒนธรรม และศาสนา เป็นต้น

· การดำเนินธุรกิจตามแนวคิด DE&I สร้างผลบวกต่อองค์กร: องค์กรที่ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดที่สนับสนุนความหลากหลาย ความเสมอภาค และการยอมรับความแตกต่างจะได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคมากกว่าบริษัทที่ไม่ได้มีพันธกิจในเรื่อง DE&I เลย โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 94 ระบุว่า บริษัทต่าง ๆ ต้องดำเนินการในด้าน DE&I อย่างน้อยหนึ่งเรื่องเพื่อแสดงให้เห็นถึงจุดยืนและความตั้งใจดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด DE&I อย่างแท้จริง

ลีลา สเตก หัวหน้าฝ่าย FH4Inclusion และหัวหน้าทีมร่วมฝ่าย True MOSAIC DE&I เฟลชแมน ฮิลลาร์ด กล่าวเสริมว่า “ผลวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงนิยามใหม่ที่หลากหลายต่อมุมมองด้าน DE&I ทั้งจากผู้คนในโลกธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากภาคส่วนอื่นๆ เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์สังคมแห่งความเท่าเทียมและการยอมรับซึ่งกันและกันให้ดียิ่งขึ้น แม้ว่าภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในประเด็น DE&I อาจแตกต่างกันในแต่ละประเทศ แต่ความต้องการในการสร้างการเปลี่ยนแปลงนั้นกลับชัดเจนเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่สามารถสนับสนุนให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างอนาคตที่ดียิ่งขึ้นของประชาชน อาทิ ด้านการศึกษา รายได้ และความปลอดภัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างมีจุดยืนและต้องการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังร่วมกันทั่วทั้งภูมิภาค”

แนวทางปฏิบัติสำหรับองค์กรเพื่อก้าวสู่การดำเนินธุรกิจตามแนวคิด DE&I ในเอเชียแปซิฟิก:

· ต้องสื่อสารเรื่อง DE&I: ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกถึงร้อยละ 90 อยากเห็นองค์กรภาคธุรกิจดำเนินธุรกิจและสื่อสารภายใต้แนวคิดที่สนับสนุนความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการยอมรับความแตกต่าง อย่างไรก็ตาม กลับมีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่ระบุว่าเคยได้รับข้อมูลเรื่องในเรื่อง DE&I จากเจ้าของธุรกิจและผู้บริหารในองค์กร

· กำหนดกลยุทธ์ DE&I ด้วยแผนและเป้าหมายที่ชัดเจน: การดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด DE&I อย่างเป็นรูปธรรมและสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ ต้องเริ่มต้นด้วยแผนและเป้าหมายที่เป็นไปได้ โดยการเริ่มต้นในองค์กรอาจจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ต้องให้เห็นถึงความมุ่งมั่นขององค์กร การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และความจริงใจโปร่งใสด้วยเช่นกัน

· ให้ความสำคัญกับการรับฟังแลกเปลี่ยนความเห็นและการให้ความรู้: อย่าสื่อสารทางเดียว องค์กรต่าง ๆ ควรพร้อมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพนักงานในเรื่อง DE&I ตลอดจนลงทุนในเรื่องการอบรมและให้ความรู้ในเรื่องนี้มากขึ้น ซึ่งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36 ระบุว่าอยากให้มีการอบรมพนักงานในด้าน DE&I และ ร้อยละ 83 อยากให้บริษัทต่าง ๆ มีผู้นำที่ให้ความสำคัญกับ DE&I

· ต้องสื่อสารให้เหมาะกับแต่ละประเทศ: แม้ว่าการสื่อสารในเรื่องการสนับสนุนความหลากหลาย ความเสมอภาค และการยอมรับความแตกต่าง ควรไปในแนวทางและทิศทางเดียวกัน แต่การใช้ภาษาเพื่อพูดคุยสื่อสารในประเด็นนี้ของประเทศต่างๆ กลับมีความแตกต่างกันอย่างมาก ดังนั้น การสื่อสารและแผนการสื่อต้องจำเป็นจะต้องปรับให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละประเทศ ตลอดจนต้องแตะประเด็น DE&I ที่ผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ ให้ความสำคัญ

 "ผลการวิจัย DE&I Decoded: APAC สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนต้องการเห็นแบรนด์แสดงออกถึงจุดยืนด้าน DE&I แม้ว่าประชาชนในแต่ละประเทศจะให้ความสำคัญกับแต่ละประเด็นเรื่อง DE&I แตกต่างกัน แต่ก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่าผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องการที่จะเห็นการเคลื่อนไหวอย่างจริงจังจากรัฐบาลและภาคเอกชนเพื่อยกระดับสังคมให้ดีขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคนี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยการอบรมและให้ความรู้ที่ถูกต้องชัดเจนเรื่อง DE&I รวมถึงการมีผู้นำที่ให้ความสำคัญกับ DE&I เพื่อกระตุ้นให้เกิดแผนที่รัดกุมและปฏิบัติได้จริงในการที่จะยกระดับเรื่อง DE&I ในองค์กรและสถานที่ทำงานให้สูงขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม” ไมเคิล รินาแมน กรรมการผู้จัดการ TRUE Global Intelligence™ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและหัวหน้าทีมวิเคราะห์ของเฟลชแมนฮิลลาร์ด กล่าวเสริม

โสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโส พาร์ทเนอร์ และผู้จัดการทั่วไป เฟลชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย กล่าวถึงผลวิจัยของประเทศไทยว่า คนไทยมีความเข้าใจและให้ความสำคัญกับเรื่อง DE&I ในระดับสูง โดยมีความคุ้นเคยกับแนวคิด DE&I ถึง 76% และมีกลุ่มตัวอย่างเพียง 25% ที่จะเพิกเฉยเมื่อเผชิญกับการไม่สนับสนุนความหลากหลาย ความไม่เสมอภาค และการไม่ยอมรับในความแตกต่าง ดังนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐ ภาคสังคม และภาคธุรกิจในประเทศไทยต้องให้ความสำคัญ ยอมรับ และสนับสนุน DE&I มากขึ้น ผ่านนโยบาย การดำเนินงาน การขับเคลื่อนทางสังคม และการสื่อสาร เพื่อจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเรื่อง DE&I ในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความเสมอภาคและยอมรับความหลากหลายในเพศสภาพ ชาติพันธุ์และภูมิหลังทางวัฒนธรรม อันเป็นประเด็น DE&I ที่คนไทยรับรู้สูงสุด 3 อันดับแรก รวมถึงผนึกกำลังแก้ปัญหาความไม่เสมอภาคทางการศึกษาของประเทศที่กลุ่มตัวอย่างในไทยมองว่าเป็นวาระเร่งด่วนและทุกภาคส่วนควรให้ความสำคัญสูงสุด

งานวิจัย DE&I Decoded: APAC จัดทำโดย TRUE Global Intelligence™ ซึ่งเป็นฝ่ายวิจัยและวิเคราะห์ของเฟลชแมน ฮิลลาร์ด งานวิจัยนี้มีการสำรวจภาคสนามตั้งแต่วันที่ 16 ถึง 27 กันยายน 2565 รายงานการวิจัยฉบับนี้เขียนจากผลการสำรวจประชาชน 5,106 คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่สอดคล้องกับจำนวนประชากรของออสเตรเลีย จีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ตลาดแต่ละแห่งมีความต้องการเฉพาะ ทำให้ได้ข้อมูลที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มใหม่ ๆ ในภูมิภาคนี้อย่างชัดเจน ทราบถึงรู้แหล่งข่าวสารเกี่ยวกับ DE&I ของประชาชน และทำให้เห็นว่าความเสมอภาคทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อพฤติกรรมของประชาชนและภาคธุรกิจอย่างไร

เชสเตอร์ เปิดตัวร้านต้นแบบโฉมใหม่ สาขาห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน

X

Right Click

No right click