January 22, 2025

ระหว่างวันที่ 4-8 พฤศจิกายน 2567  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์สุทธิ  พื้นแสน คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี  มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยผู้บริหารและคณะกรรมการการพัฒนาองค์กรเข้าสู่มาตรฐานสากล AACSB คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี เข้าร่วมอบรมหลักสูตร Business Accreditation และประชุมวิชาการ AACSB’s 2024 Asia Pacific Annual Conference ของสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีระดับนานาชาติ หรือ Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย โดยมีผู้เข้าร่วมจากผู้แทนสถาบันการศึกษากว่า 200 แห่ง จาก 21 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก

ในการอบรมครั้งนี้มีเนื้อหาสำคัญของเกณฑ์มาตรฐาน AACSB 2020  โดยมี Mr. Geoff Perry  Executive Vice President, Chief Membership Officer, and Managing Director, Asia Pacific และ Dean Ross James, University of Canterbury เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในการอบรม นอกจากนี้ในส่วนของการประชุมวิชาการ AACSB’s 2024 Asia Pacific Annual Conference ที่มุ่งเน้นเนื้อหาด้านการใช้ AI เพื่อประยุกต์ใช้การพัฒนาการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา ตลอดจนการถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการทำวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งการประชุมดังกล่าวประกอบไปด้วยหัวข้อ “Revolutionizing Teaching and Learning with GenAI” วิทยากรโดย Seetharam Narasimha Prasad Director & Professor, Strategy & General Management Shri Dharmasthala Manjunatheshwara Institute for Management Development (SDMIMD) , หัวข้อ “Entrepreneurial Mindsets” วิทยากรโดย Aaron Sarma General Partner ScaleUp Malaysia และการถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการวิจัยในหัวข้อ Balancing Research Rigor and Excellence: A Balanced Portfolio Approach to Faculty Sufficiency” วิทยากรโดย Michael Ewing Executive Dean, Faculty of Business, Law, and Arts Southern Cross University

สำหรับคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 และอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อเข้าสู่การรับรอง Accreditation ของสถาบัน AACSB โดยมาตรฐาน AACSB นั้นเป็นมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีที่ทั่วโลกให้การยอมรับ ซึ่งทางคณะฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและมุ่งมั่นผลิตบัณฑิตที่มีความพร้อมในยุคดิจิทัล เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจและอุตสาหกรรมระดับโลกอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การเป็นส่วนหนึ่งของ AACSB ยังเป็นการยืนยันมาตรฐานหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของคณะฯ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักศึกษาและผู้สนใจเข้าศึกษาต่อ อีกทั้งคณะฯ ยังคงมุ่งมั่นที่จะยกระดับการศึกษาด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีให้ก้าวสู่ความเป็นมาตรฐานระดับสากลอย่างเต็มศักยภาพ ภายใต้วิสัยทัศน์ของคณะฯ ที่ว่า KKBS is the premier business school for industrial integration aiming to inspire innovators and global citizens”

ยกระดับคุณภาพชีวิตสูงวัยป่วย สร้างรอยยิ้ม สร้างรายได้ชุมชน

ฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น   ร่วมกับสถาบันวิจัยความมั่นคงด้านอาหารพลังงาน และน้ำ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และ สถาบันวิจัยแคนนาบิสครบศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดพิธีเปิดห้องปฏิบัติการแพลตฟอร์มการแปรสภาพวัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชและสมุนไพร  โดยมี ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวเปิดงาน รศ.นพ. ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวรายงาน พร้อมด้วย ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา คณะผู้บริหารร่วมพิธี ณ อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนา (RDI) มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รศ.นพ. ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น อยู่ในกลุ่มสถาบัน Global and Frontier Research University มีนโยบายและยุทธศาสตร์ในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย โดยมุ่งเน้นทำวิจัยตามความต้องการของผู้ใช้งานหรือตามปัญหาของประเทศ (Demand side) เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ใหญ่ที่มีผลกระทบ (Impact) สูงได้ ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ และช่วยยกระดับรายได้ของประเทศ 

“มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีการพัฒนาแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อรองรับการบริการด้านการวิจัยให้ครอบคลุมทุกศาสตร์สาขา และ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงานวิจัยด้านแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ผักพื้นบ้าน สมุนไพรพื้นถิ่น และปศุสัตว์พื้นเมือง  จึงกำหนดให้เปิดแพลตฟอร์มการแปรสภาพวัตถุดิบทางการเกษตรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชขึ้นในวันนี้”

ขณะที่ ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมการวิจัยที่มีผลงานดีเด่น เป็นประโยชน์แก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ จึงพัฒนาแพลตฟอร์มการแปรสภาพวัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชขึ้น ในห้องปฏิบัติการต้นแบบที่มีขนาดใหญ่และได้รับมาตรฐานตามที่ อย.กำหนด พร้อมเตรียมพัฒนามาตรฐานในระดับสากลต่อไป

“Pain point การแข่งขันด้านผลผลิตทางการเกษตรของไทย ควรแก้ไขให้ตรงจุด คือ เริ่มต้นจากการทำวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่นในวันนี้ได้พยายามสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีฐานมาจากวัตถุดิบทางการเกษตรของภาคอีสาน เชื่อว่าเทคโนโลยีในวันนี้จะช่วยสร้างผลิตภัณฑ์จากพืชที่มีประโยชน์ให้แก่สังคมและชุมชน ยกระดับความสามารถสู่การแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับสากล”

ด้าน ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา กล่าวว่า ห้องปฏิบัติการแพลตฟอร์มการแปรสภาพวัตถุดิบทางการเกษตร คือ พื้นที่ให้บริการเกษตรกรได้มาเพิ่มมูลค่า และเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร  โดยเฉพาะกลุ่มอาหารจากสมุนไพร อาหารเพื่อสุขภาพ ผลผลิตหลายตัวสามารถนำมาอบและบดได้ด้วยมาตรฐานระดับ GMP เป็นการยกระดับการผลิตของเกษตรกร ทั้งยังพร้อมให้บริการนักวิจัย ด้านการค้นคว้า ส่วนของผู้ประกอบการใหม่ ๆ ก็สามารถมาใช้บริการองค์ความรู้และใช้เครื่องมือต่าง ๆ ได้ 

ขณะเดียวกันห้องปฏิบัติการแห่งนี้ ยังพร้อมเชื่อมโยง บูรณาการการทำงานกับทุกคณะในมหาวิทยาลัย ในการให้บริการด้านต่าง ๆ อาทิ การผลิตผลิตภัณฑ์เป็นแคปซูล ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไปจนถึงการให้บริการเครื่องมือเฉพาะทางอื่น ๆ 

ชาวขอนแก่น ชวนนักวิ่งร่วมการแข่งขันขอนแก่นมาราธอนนานาชาติ 2024 ด้วยมาตรฐาน AIMS ชิงถ้วยพระราชทานพร้อมเงินรางวัลกว่า2ล้านบาท พิเศษสุดเพิ่มเงินรางวัลสำหรับนักวิ่งไทยอีกเกือบ4แสนบาท จัดเต็มเติมความประทับใจนักวิ่งด้วยงานวันเด็กและมหกรรมอาหารเครื่องดื่ม ฉลองครบรอบ 60 ปี มข.

อากาศเย็นสบายในช่วงปลายปีแบบนี้ หลายคนอาจกำลังมองหาสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหลังลุยงานหนักมาตลอดทั้งปี การท่องเที่ยวศึกษาวิถีชีวิตในท้องถิ่นนับเป็นการท่องเที่ยวอีกรูปแบบที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นทุกปี และกลายเป็นจุดแข็งสำคัญที่สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะมนุษย์และการเสริมสร้างสุขภาพ จัดโครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อสุขภาพขึ้น ณ บ้านโนนสะอาด ตำบลทุ่งโป่ง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อสุขภาพ โดยมุ่งเน้นการบูรณาการ การเกษตร วัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนอีสาน โดยมี ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ นายกานต์ ทองเสน นายอำเภออุบลรัตน์ ศ. ดร.จินตนาภรณ์ วัฒนธร ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะมนุษย์และการสร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมเปิดโครงการ โดยมีนักท่องเที่ยวกว่า 200 คน จากหน่วยงานราชการ เอกชน และภาคประชาสังคมเข้าร่วมด้วยเมื่อเร็วๆนี้

ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า โครงการวันนี้เป็นโครงการที่บูรณาการหลาย ๆ โครงการของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้าด้วยกัน สร้างสรรค์เป็นกิจกรรมมากมายเพื่อให้นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศได้สัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่น่าประทับใจ ทั้งการปลูกผักอินทรีย์ วิถีชีวิตประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าว ได้รับประทานอาหารจากวัตถุดิบท้องถิ่น รวมไปถึงพื้นที่จัดงานที่สวยงาม อากาศเย็นสบาย

“เชื่อว่าโครงการที่บูรณาการหลายศาสตร์ในลักษณะนี้จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนดีขึ้น เพราะเมื่อใดก็ตามที่ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ย่อมมีการจับจ่ายที่มากขึ้น ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมที่ดีขึ้น และจะนำไปสู่ความมั่นคงของชาวบ้านในระยะยาว ซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศนั่นเอง”

ขณะที่ นายกานต์ ทองเสน นายอำเภออุบลรัตน์ กล่าวว่า อำเภออุบลรัตน์วางแนวทางพัฒนาขับเคลื่อนอำเภอไว้ 4 ท. ประกอบด้วย ท่องเที่ยว มุ่งเน้นการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวให้น่าสนใจ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น  2 ท ท่องธรรม มุ่งเน้นการพัฒนาสถานที่สำคัญทางศาสนา ให้เป็นที่รู้จัก 3 ท ท่องการศึกษาและวัฒนธรรมมีเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่ให้นักท่องเที่ยวสามารถมาศึกษาเรียนรู้แหล่งเรียนรู้ อาทิ ทุ่นลอยน้ำ ท้องฟ้าจําลอง และเข้ามาเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนได้สุดท้าย  ท.ท่องสินค้าและบริการ การหาแนวทางส่งเสริมสร้างอาชีพให้ชาวบ้านมีรายได้มากขึ้น โดยนําการดำเนินการของ 3  ข้อข้างต้น มาเป็นปัจจัยพื้นฐานในการสร้างสินค้าและบริการ

“วันนี้เป็นโอกาสอันดีที่ทุกท่านได้ให้เกียรติเดินทางมาในพื้นที่ของเรา ขอบคุณมหาลัยขอนแก่นที่ได้มีการขับเคลื่อนโครงการนี้ ช่วยให้พี่น้องเราเกิดความรู้ใหม่ ๆ สามารถปรับพื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบเพื่อให้เกษตรกรได้นําไปต่อยอดนําไปพัฒนาจากสิ่งเดิมที่เคยทำ”

ด้าน ศ. ดร.จินตนาภรณ์ วัฒนธร ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาสมรรถนะมนุษย์และการสร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า กิจกรรมต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้ เป็นต้นแบบการท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ ทดลองทำด้วยความสนุกสนาน มีการพัฒนาพื้นที่แบ่งตามกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การชมพื้นที่แปลงนาข้าว 5 สี รูปตราสัญลักษณ์ครบรอบ 60 ปีมหาวิทยาลัยขอนแก่น การเรียนรู้พื้นที่แปลงเกษตรอินทรีย์ที่มีพืชพันธุ์มากมายทั้ง ผัก ไม้ผล ไม้เลื้อย ไม้ดอก และพืชสมุนไพรพื้นถิ่น

นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังได้รับชมการแสดงฟ้อนรำ พร้อมเรื่องเล่าที่ลานแสดงกิจกรรม ตามด้วยพิธีกรรมเกี่ยวกับพิธีปลงข้าว ความผูกพันของวัฒนธรรม วิถีชีวิตคนอีสาน การหว่านกล้า ปักดำ ลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว ตำข้าว และสามารถเดินเยี่ยมชมซุ้มกิจกรรมสาธิตผลผลิตภัณฑ์จากข้าว และ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ชมและร่วมทดลองทำเมนูอาหารแปรรูปจากข้าว ข้าวจี่ ข้าวโป่ง ข้าวต้มมัด ข้าวต้มหัวหงอก ขนมจีน ผลิตภัณฑ์จักสานจากฟางข้าว รวมถึงผลิตภัณฑ์ชุมชนจากวัตถุดิบพื้นถิ่นอีกด้วย

Page 1 of 11
X

Right Click

No right click