January 22, 2025

หนุน Low Carbon Event พร้อมส่งเสริมผู้ประกอบการต่อเนื่อง

พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี และศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) และจังหวัดพัทลุง เปิดเทศกาลซากดึกดำบรรพ์พัทลุง ระหว่างวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2567 ณ อาคารซากดึกดำบรรพ์ 500 ล้านปี เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ จังหวัดพัทลุง

นายพิชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า กรมทรัพยากรธรณีให้ความสำคัญกับนโยบายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในเรื่องการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ผ่านการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลการดำเนินงานและการศึกษาวิจัยในพื้นที่จังหวัดพัทลุงของกรมทรัพยากรธรณีมาต่อยอด ถ่ายทอด และทดลองใช้ประโยชน์ให้กับชุมชน หน่วยงานราชการ ท้องถิ่น วิสาหกิจชุมชน และประชาชน ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวแบบบูรณาการที่เชื่อมโยงแหล่งมรดกธรณี กับแหล่งท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ ทั้งมิติด้านนิเวศวิทยา วิถีชีวิต วัฒนธรรมในพื้นที่ นำไปสู่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาที่เชื่อมโยงกับวิถีชุมชนได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“จังหวัดพัทลุง เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของแหล่งมรดกธรณี โดยเฉพาะทะเลน้อย ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่อยู่ตอนบนของทะเลสาบสงขลาที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และมีความโดดเด่นด้านความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ ยังมีความโดดเด่นของเขาลูกโดด ยุคไทรแอสซิก อายุราว 250 – 200 ล้านปี มีรายงานการค้นพบ ซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลื้อยคลานในทะเลโบราณ จำพวกอิกธิโอซอรัส ชนิด Thaisaurus chonglakmanii (ไทยซอรัส จงลักษมณีอิ) พบบริเวณหลังวัดภูเขาทอง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นหนึ่งในซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลื้อยคลานที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และยังพบซากดึกดำบรรพ์กลุ่มแอมโมนอยด์ และโคโนดอนต์ เป็นจำนวนมาก มีการรายงานพบซากดึกดำบรรพ์ยุคไทรแอสซิกมากกว่า 174 ชนิด ในจำนวนนี้มี 3 สกุลใหม่ของโลก และ 10 ชนิดใหม่ของโลก” นายพิชิตกล่าว

ด้าน รศ. ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและการเงิน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีความร่วมมือกับกรมทรัพยากรธรณีเรื่องการศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง การจัดเทศกาลซากดึกดำบรรพ์พัทลุงในครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสที่มหาวิทยาลัยจะได้เผยแพร่ผลงานวิจัยให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง

ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ประกอบด้วย การประชุมเสวนา เผยแพร่แนวทางการเชื่อมโยงแหล่งมรดกธรณีกับการบูรณาการการท่องเที่ยว งานแสดงนิทรรศการ และกิจกรรมการเรียนรู้ด้านซากดึกดำบรรพ์พัทลุง และสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน และกิจกรรมทัศนศึกษา “ท่องเลน้อยสู่เลโบราณ” ศึกษาระบบนิเวศทะเลน้อย เยี่ยมชมแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่สำคัญ รวมถึงสินค้าจากผลิตภัณฑ์ชุมชน

การจัดงานครั้งนี้เป็นการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานพันธมิตร ประกอบด้วย พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี ศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ เทศบาลตำบลทะเลน้อย เทศบาลตำบลพนางตุง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครศรีธรรมราช วิสาหกิจชุมชน และแกนนำชุมชนในพื้นที่จังหวัดพัทลุง โดยคาดว่ากิจกรรมนี้จะทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักรู้ถึงความสำคัญเกี่ยวกับทรัพยากรธรณีและซากดึกดำบรรพ์ในจังหวัดพัทลุง ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างยั่งยืน มีความเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากร และบริหารจัดการแหล่งมรดกธรณีและทรัพยากรด้วยองค์ความรู้อย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนากิจกรรมของเมืองพัทลุงอย่างสร้างสรรค์ต่อไป

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นเจ้าภาพจัดโครงการประกวดออกแบบนวัตกรรม แก้ปัญหาพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง The 8th Youth Innovation Competition on Lancang-Mekong Region’s Governance and Development (YICMG 2024) เวทีนานาชาติเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาจากประเทศลุ่มแม่น้ำโขงร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ Fudan University สาธารณรัฐประชาชนจีน เปิดโครงการประกวดนวัตกรรมเยาวชนด้านธรรมาภิบาลและการพัฒนาในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง ครั้งที่ 8 The 8th Youth Innovation Competition on Lancang-Mekong Region’s Governance and Development (YICMG 2024) โดยมี ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Prof. Dr. Zhou Lei, Vice President, Fudan University กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย แขกผู้มีเกียรติ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงกว่า 200 คน เข้าร่วม ณ ห้องประชุมเจ้าฟ้า สำนักงานวิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567

การประกวดนวัตกรรมเยาวชนด้านธรรมาภิบาลและการพัฒนาในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง The Youth Innovation Competition on Lansang – Mekong Region’s Governance and Development (YICMG) เป็นการประกวดออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาในมิติต่าง ๆ บนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษา ไม่จำกัดคณะ ชั้นปี ของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงรวม 6 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ราชอาณาจักรไทย และราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงานของจีน โดยมี Fudan University สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผู้ดำเนินการหลัก พร้อมกับมหาวิทยาลัย อีก 2 แห่งในจีน คือ Qinghai University และ Guangxi University of Finance and Economics ร่วมดำเนินโครงการ โดยได้จัดการแข่งขันครั้งแรกในปี 2559 ณ เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตอวี้ซู่ (Yushu Tibetan Autonomous Prefecture) มณฑลชิงไห่ สาธารณรัฐประชาชนจีน

สำหรับการประกวดนวัตกรรมเยาวชนด้านธรรมาภิบาลและการพัฒนาในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง ในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับเกียรติร่วมเป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เพื่อเป็นเวทีนานาชาติในการแลกเปลี่ยนความรู้ของนักศึกษาประเทศต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำโขง สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในลุ่มแม่น้ำโขง อันนำไปสู่การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีส่วนร่วมในการแข่งขันโครงการ YICMG ตั้งแต่การจัดการแข่งขันในครั้งที่ 1 โดยนักศึกษาให้ความสนใจและสมัครเข้าส่งผลงานในทุกปี และได้รับรางวัลต่าง ๆ อาทิ รางวัลชนะเลิศประเภท The Best Multi-national Team ในปี 2559 รางวัล The Best Incubation ในปี 2561 รางวัล The Best Creative Award ในปี 2564 และล่าสุดได้รับรางวัล The Most Valuable Question และ รางวัล The Most Creative Team จากการแข่งขันครั้งที่ 7 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา

นอกจากการส่งนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันในทุก ๆ ปีแล้ว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังส่งอาจารย์เข้าร่วมโครงการ YICMG ในฐานะ Expert อีกด้วย โดยมีหน้าที่หลักในการให้ความรู้ คำแนะนำ ข้อคิดเห็นต่อผลงานของนักศึกษาจากทุกทีมและทุกประเภทที่เข้าร่วมการแข่งขัน อีกทั้งยังร่วมกับ Expert จากประเทศอื่น ๆ ในการลงคะแนนตัดสินผลงานของผู้เข้าประกวด

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังได้ร่วมลงนามใน MoU กับ Fudan University และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั้ง 6 ประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ณ Fudan University เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนโครงการ YICMG โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการพิจารณาให้จัดตั้งศูนย์ YICMG ซึ่งจะเป็นศูนย์บริการในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับสภาวะและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงของประเทศไทย โดยจัดตั้ง ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง อีกด้วย

ผศ.นพ.คณุตม์ จารุธรรมโสภณ หัวหน้าหน่วยคลังเลือด และเวชศาสตร์บริการโลหิต สาขาวิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

X

Right Click

No right click