December 23, 2024

กรุงเทพฯ 28 พฤศจิกายน 2567 – ตามที่มีลูกค้าบางท่านได้รับจดหมายใช้ชื่อและโลโก้ทรมูฟ เอช แจ้งว่าลูกค้ามีการกระทำความผิดตามพรบ. คอมพิวเตอร์และหลอกให้ประสานตรงตำรวจ โดยขอให้เพิ่มเพื่อนใน line เพื่อคุยกับตำรวจนั้น ทรู คอร์ปอเรชั่น ขอแจ้งเตือนลูกค้าที่ได้รับจดหมายดังกล่าวอย่าหลงเชื่อ เนื่องจาก เอกสารจดหมายดังกล่าว เป็นการกระทำของ”มิจฉาชีพ “อ้างชื่อและนำโลโก้ทรูไปใช้ โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมท้้งใช้ชื่อผู้บริหารทรูเป็นผู้ลงนามซึ่งเป็นการแอบอ้างชื่อ โดยที่ไม่เป็นความจริงและไม่มีความเกี่ยวข้องแต่อย่างใด

ทรู คอร์ปอเรชั่น ขอยืนยันว่าบริษัทฯ ไม่เคยมีการออกจดหมายแจ้งเตือนดังกล่าว และไม่เคยขอให้ลูกค้าติดต่อตรงกับตำรวจในทุกกรณีแต่อย่างใด ขอลูกค้าโปรดเพิ่มความระมัดระวัง หากมีข้อสงสัยกรุณาติดต่อกลับ 1242

กรุงเทพฯ (26 กันยายน 2567) - ทรูมันนี่ และ แอสเซนด์ นาโน เตือนภัยประชาชนให้ระวังมิจฉาชีพแอบอ้างชื่อบริษัทฯ โลโก้ หรือชื่อสินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อหลอกลวงให้ประชาชนสมัครบริการสินเชื่อปลอม แนะนำวิธีสังเกตบริการสินเชื่อที่ถูกต้องบนแอปทรูมันนี่ของจริงว่ามีเพียงบริการ Pay Next / Pay Next Extra โดยบริษัท แอสเซนด์ นาโน จำกัด และวงเงินพร้อมใช้สบายเป๋าที่บริษัทฯ ให้บริการร่วมกับพันธมิตร ณ จุดขาย โดยผู้ที่สนใจต้องสมัครและส่งเอกสารผ่านแอปทรูมันนี่ ที่ดาวน์โหลดจาก App Store และ Google Play Store เท่านั้น ทั้งนี้ จุดสังเกตข้อที่สำคัญคือ ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ ในการสมัครทุกกรณี บริษัทฯ มีความห่วงใยและขอแนะนำประชาชนให้ระมัดระวังและตรวจสอบก่อนทำธุรกรรมทางการเงินทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

 

ทั้งนี้ ทรูมันนี่ ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรักษาความปลอดภัยอย่างไม่หยุดยั้ง อาทิ ระบบป้องกันการดูดเงิน 3 ชั้น TrueMoney 3X Protection ที่ ตรวจ-จับ-หยุด ธุรกรรมที่น่าสงสัยแบบเรียลไทม์ ซึ่งทำงานโดยผสานการทำงานของปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะ ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และเทคโนโลยีการอ่านชีวมิติ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ผู้ใช้ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการทำธุรกรรมในระดับสูงสุด นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับต่างๆ อย่างใกล้ชิด รวมถึงมีสายด่วน 1240 กด 6 เพื่อรับแจ้งเหตุต้องสงสัยด้านภัยทางการเงิน และแจ้งอายัดบัญชี ตลอด 24 ชั่วโมง

ช่วงนี้นอกจากข้าวของแพง เงินทองหายากแล้ว ชีวิตยังต้องลำบากกับการรับมือกลโกงมิจฉาชีพที่ระบาดหนักขึ้นทุกวัน แถมรูปแบบการหลอกลวงก็มีความหลากหลายและแนบเนียนขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งช่องทางพื้นฐาน ไปจนถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ทำให้ใครหลาย ๆ คน ถูกดูดเงินออกจากกระเป๋าไปง่าย ๆ เพียงเพราะความประมาท ขาดสติ และเท่าไม่ทันกลโกง วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จึงอยากชวนรู้ทันกันโกงของเหล่านักโจรกรรมทางการเงิน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ  

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เราสะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทางไปธนาคารเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน แต่หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ก็อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ ดังนั้น อย่าหลงเชื่อ เพราะเพียงแค่มีโลโก้ชื่อธนาคารหลอกให้ทำธุรกรรมปลอม หรือปล่อยสินเชื่อ  

โดยมีวิธีการตรวจสอบง่าย ๆ ดังนี้ 

  • กลโกงมิจฉาชีพ ปลอม! ระวังมิจฉาชีพปลอมเป็นเพจ หรือเว็บไซต์ แอบอ้างเป็นธนาคาร หลอกให้ทำธุรกรรมเท็จ หรือให้คลิกลิงก์เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว เพราะธนาคารไม่มีนโยบายส่งลิงก์ให้กับลูกค้าในการทำธุรกรรม 
  • กลโกงมิจฉาชีพ ปลอม! ระวังมิจฉาชีพปลอมเป็นพนักงานธนาคารหลอกให้โอนเงิน ก่อนได้รับการอนุมัติสินเชื่อ เพราะธนาคารไม่มีนโยบายให้ลูกค้าโอนเงินก่อนการพิจารณาสินเชื่อ 
  • กลโกงมิจฉาชีพ ปลอม! ระวังมิจฉาชีพปลอมเอกสารธนาคารเพื่อล่อลวงให้ขอสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ สุดท้ายมาหลอกให้โอนเงินในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จ่ายค่าธรรมเนียม ค่าโอน ฯลฯ เพราะธนาคารไม่มีนโยบายเก็บค่าธรรมเนียมลูกค้าในการขออนุมัติสินเชื่อ 

เช็กให้ชัวร์! ก่อนตกเป็นเหยื่อ 

  1. ตรวจสอบให้ดีก่อนให้รายละเอียดหรือข้อมูลส่วนตัว หากเป็นเพจหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ ให้สังเกตว่าเป็น official platform หรือไม่  2
  2. ธนาคารไม่มีนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมก่อนได้รับอนุมัติสินเชื่อ 3
  3. หากได้รับเอกสารที่ไม่คุ้นเคย หรือไม่แน่ใจว่าเป็นพนักงานตัวจริงหรือตัวปลอม ควรตรวจสอบโดยตรงกับธนาคาร  

ยุคสมัยที่เทคโนโลยีพัฒนาไปไกล มิจฉาชีพก็ขยันหาวิธีหลอกลวงใหม่ ๆ มาใช้มากมาย โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ ซึ่งนอกจากปลอมเป็นธนาคารแล้ว ยังมีวิธีต่าง ๆ อาทิ ล่อด้วยของรางวัลน่าสนใจ และส่ง URL หลอกให้คลิกลิงก์ผ่านทางข้อความ SMS, E-mail ที่สามารถหลอกดูดเงินได้อีกหลายทาง หรือกลโกงอีกแบบที่น่ากลัวคือ แฝงตัวมาบนโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่าง ๆ แอบอ้างเป็นแบรนด์ดัง และทำการซื้อโฆษณาเพื่อเชื่อมโยงไปเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกเอาข้อมูล หรือสามารถสวมรอยเพื่อดูดเงินในบัญชีได้ เป็นต้น 

หากไม่อยากตกเป็นเหยื่อของภัยทางการเงินป้องกันได้! อย่าเปิดโอกาสให้คนร้ายใช้จุดอ่อนมากระตุ้นให้หลงเชื่อ เพราะภัยที่เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่มักเกิดจากอารมณ์ “โลภ” และ “กลัว” จนขาดสติ ดังนั้น ควรระมัดระวังและตั้งสติทุกครั้ง ไม่หลงเชื่อใครง่าย ๆ ท่องไว้ว่า อย่ากด อย่าโอน อย่าแชร์ข้อมูลให้ใคร จะช่วยเป็นเกราะป้องกันที่ดีที่สุด อย่ากลัวเทคโนโลยีที่เข้ามาอำนวยความสะดวกสบาย ขอแค่ให้ใช้อย่างสติ รับรองว่าห่างไกลภัยทางการเงินได้ไม่ยาก 

 

นายคมกริช สาคริก ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง กล่าวว่า MEA มีความห่วงใยเตือนประชาชนระมัดระวังกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงผู้ใช้ไฟฟ้า แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ MEA ให้บริการเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า หรือแอบอ้างว่าเป็นตัวแทนให้บริการต่าง ๆ และเรียกเก็บเงินค่าบริการผ่านช่องทางโซเชียล หรือช่องทางอื่นที่ไม่ใช่ช่องทางบริการของ MEA แนะให้ฉุกคิดก่อนจะทำธุรกรรมใด ๆ และขอยืนยันว่า ปัจจุบัน MEA ไม่มีนโยบายให้พนักงาน หรือตัวแทนพนักงาน รับชำระค่าไฟฟ้า หรือค่าบริการใด ๆ นอกสถานที่ทำการฯ ทุกกรณี

MEA จึงขอเตือนอย่าตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพดังกล่าว หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆได้แก่  Facebook : การไฟฟ้านครหลวง MEA, Line : MEA Connect(@MEAthailand) ของแท้จะมีโล่สีเขียว นำหน้าชื่อ MEA Connect เท่านั้น, X : @mea_news, และศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง MEA Call Center Online 1130 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้หากผู้ใช้ไฟฟ้าพบกลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างหลอกลวงทำให้เสียทรัพย์ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ รวมถึงระมัดระวังการรับข้อมูลจากช่องทางการสื่อสารในสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งอาจมีการนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

ธนาคารไทยพาณิชย์ ตระหนักถึงภัยทางการเงินที่มีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น โดยจากสถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 12 - 18 มีนาคม 2566 มีการรับแจ้งความออนไลน์ จากคดีหลอกลวงทางโทรศัพท์ที่เป็นขบวนการ หรือ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” จำนวน 529 เคส มูลค่าความเสียหายกว่า 65 ล้านบาท ขณะที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานว่ามีภัยทุจริตทางการเงิน เช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์, SMS หลอกลวง, แอปดูดเงิน ฯลฯ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแอปดูดเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในเดือน มิถุนายน 2566 ที่มีรายงานความเสียหายจากแอปดูดเงินในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (ธันวาคม 2565 - มิถุนายน 2566) อยู่ที่ 1,152 ล้านบาท

 

แม้ว่าจะมีมาตรการต่างๆ ออกมาป้องกันอย่างเข้มข้นแล้วก็ตาม แต่เพราะมิจฉาชีพมีการปรับปรุงเทคนิคการหลอกลวงและพัฒนาเครื่องมือใหม่ๆ ที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ธนาคารจึงเดินหน้าสานต่อโครงการ “แก้ เกม กล โกง” เปิดตัวเว็บไซต์ศูนย์รวมคอนเทนต์คู่มือป้องกันมิจฉาชีพยุคใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยให้คนไทย ตื่นตัว รับรู้ เข้าใจ และรู้ทันวิธีป้องกันภัยทุจริตทางการเงิน และภัยคุกคามทางไซเบอร์ด้วยตนเอง ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับภัยจากมิจฉาชีพทั้งภาคธุรกิจ และผู้บริโภคภายใต้ 3 แกนหลัก ได้แก่ 1. อัปเดตกลโกง 2. วิธีป้องกันกลโกง 3. ถ้าโดนโกงแล้วต้องทำอย่างไร รวมถึงการแจ้งข่าวสาร ประกาศจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับภัยมิจฉาชีพ พร้อมส่ง “น้องเอ๊ะ เดอะซีรีส์” ผู้ช่วยเตือนภัยยุคใหม่ มาพร้อมคาแรกเตอร์ที่น่าเชื่อถือและเป็นกันเอง ถ่ายทอดประสบการณ์ภัยจากมิจฉาชีพจากการรับเคสต่างๆ ที่ลูกค้าเจอเป็นหลัก รวมถึงเคสจริงจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ธปท. และข่าวบนโซเชียลมีเดีย นำมากลั่นกรองและนำเสนอผ่านวีดีโอคอนเทต์ที่เข้าใจง่าย มุ่งหวังสร้างความตระหนักรู้แก่คนไทยให้เท่าทันภัยมิจฉาชีพ

ธนาคารให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงิน และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า โดยมีการพัฒนายกระดับความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและจัดการภัยทางการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้ จะสามารถสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนให้รู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพได้ อย่างไรก็ตาม ลูกค้าและประชาชน ควรต้องติดตามข้อมูลและปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันภัยทางการเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงการตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพ

สามารถติดตามเนื้อหาป้องกันภัยจากมิจฉาชีพจากเว็บไซต์โครงการ “แก้ เกม กล โกง” ได้ที่ https://link.scb/49pv2cw รวมถึง Social media ของธนาคารไทยพาณิชย์ และ The Standard ทุกช่องทาง ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click