November 22, 2024

“กำไรเป็นแค่องค์ประกอบของธุรกิจ แต่ไม่ใช่ Key Success ของการทำธุรกิจ การทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเติบโตไปพร้อมกับเราต่างหากถึงจะเรียกได้ว่า ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จและสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

นี่คือคำกล่าวของ วีระ ตั้งวุทฒิไกรวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สุพรรณคิวฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิตขนมหวานแบรนด์ “แม่ละมาย” อีกหนึ่ง SME ตัวอย่างที่จำหน่ายผ่านร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เจ้าของรางวัล SME ยั่งยืน  จากเวที เซเว่น อีเลฟเว่น เอสเอ็มอียั่งยืน 2023 ที่เริ่มต้นธุรกิจอาหาร ด้วยความรู้จาก 0 จนปัจจุบันสามารถสร้างยอดขายกว่า 100 ล้านบาท สร้างรายได้ให้เกษตรกรและชุมชนที่เป็นซัพพลายเออร์ปีละหลายสิบล้านบาท

 

เปลี่ยน “วุ้น” ให้เป็นมิตรต่อสุขภาพ รสชาติแปลกใหม่

วีระ เล่าย้อนความให้ฟังถึงความเป็นมาของธุรกิจว่า หลังธุรกิจโรงพิมพ์ประสบวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตกเมื่อปี 2540 ตนพร้อมภรรยาตัดสินใจกลับมาตั้งหลักที่ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของภรรยา มองหาโอกาสในการทำธุรกิจใหม่ๆ และวุ้นน้ำมะพร้าวก็เป็นคำตอบ เพราะเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยม แต่ความรู้ด้านการทำธุรกิจอาหารเป็นศูนย์ จึงต้องศึกษาหาความรู้ให้มากขึ้น พบว่า วุ้นน้ำมะพร้าว NATA de coco ใช้แบคทีเรียกรดน้ำส้ม Acetobacter xylinum ที่พบได้ทั่วไปในการทำน้ำส้มสายชูหมักตามธรรมชาติ มาหมักน้ำมะพร้าว จนได้ออกมาเป็นวุ้นที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและมีไฟเบอร์สูง ถูกจัดให้อยู่ในหมวดสารอาหารประเภทเส้นใย ไม่มีการใช้สารฟอกสี ทำให้สีของวุ้นจะขุ่นกว่าวุ้นปกติ จึงเหมาะกับผู้รักสุขภาพ

เมื่อได้วัตถุดิบหลักแล้ว ก็มาคิดต่อว่าหากขายแต่วุ้นน้ำมะพร้าวอย่างเดียวก็จะไม่มีความแตกต่าง จึงต้องหาสินค้าทางการเกษตรตัวอื่นมาใส่ และมองว่า เม็ดแมงลัก น่าจะเข้ากับตัววุ้นน้ำมะพร้าวดีที่สุด แต่ปัญหาสำคัญของแมงลัก คือ การปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง จึงได้นำนวัตกรรมเครื่องนวดฝัดเม็ดแมงลักแบบแห้งของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาใช้ เพื่อให้เม็ดแมงลักปราศจากสารปนเปื้อน จนออกมาได้เป็นวุ้นน้ำมะพร้าวผสมเม็ดแมงลักแบบถ้วยวางจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เมื่อปี 2541 เพียง 20 สาขา ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลา 26 ปี

เดินหน้ายกระดับ “สินค้าเกษตร” สู่ร้านค้าเซเว่นฯ

หลังวุ้นน้ำมะพร้าวผสมเม็ดแมงลักประสบความสำเร็จ วีระ ก็เดินหน้าพัฒนาสินค้าอื่นอย่างต่อเนื่อง ภายใต้หลักแนวคิดการส่งต่อสินค้าดีๆให้ผู้บริโภค ส่งผลให้ปัจจุบันแบรนด์ แม่ละมาย มีสินค้าวางจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ทั้งหมด 10 รายการ แบ่งเป็น ขนมหวาน 7 รายการ เครื่องดื่ม 2 รายการ และธัญพืช (แห้ว) 1 รายการ ซึ่งแห้วถือเป็นสินค้าใหม่ที่เพิ่งวางจำหน่ายไปเมื่อช่วงเดือนเมษายน 2567 และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค เนื่องจากมีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย ดีต่อสุขภาพ และเป็นธัญพืชที่หาทานค่อนข้างยาก เพราะแห้วที่ดีคือ แห้วที่เป็นผลผลิตจาก จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพืชที่ได้รับเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)

ทั้งนี้ แม่ละมาย ยังมุ่งมั่นยกระดับพืชผลทางการเกษตรชนิดอื่นให้มีคุณภาพ พร้อมส่งต่อสู่ผู้บริโภค อาทิ ลูกตาล ลูกลาน ใบเตย โดยเลือกรับซื้อสินค้าทางการเกษตรจากเกษตรกรที่เพาะปลูกแบบไร้สารเคมี ผ่านการตรวจสอบจากทางบริษัทก่อนจัดเก็บ เพื่อนำมาแปรรูปเป็นสินค้าจำหน่ายให้กับผู้บริโภค

“โตไกลไปด้วยกันคาถาโตยั่งยืน

แม้ปัจจุบันบริษัทจะมีสินค้าที่วางจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เพียง 10 รายการ ในราคาขายต่อชิ้นเพียงหลักสิบบาท แต่บริษัทมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละประมาณ 20-40% ทุกปี โดยในปี 2567 บริษัทตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่มียอดขาย 150 ล้านบาท เหตุใด “แม่ละมาย” ที่จำหน่ายสินค้าในราคาหลักสิบ จึงสามารถสร้างรายได้สูงถึงหลัก 100 ล้านบาท

วีระ กล่าวว่า บริษัทจะประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้นจะต้องมีทีมที่ดี ทีมที่แข็งแกร่ง ซึ่งทีมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงทีมภายในบริษัท แต่หมายถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริษัทในทุกมิติ ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง ทีมต้นทางอย่างเกษตรกรและซัพพลายเออร์ก็ต้องดูแลผลผลิตให้ได้คุณภาพตามความต้องการ ทีมกลางทางอย่างบริษัทก็ต้องมีระบบบริหารจัดการที่ดีมีคุณภาพ ตั้งแต่ระบบการคัดเลือกวัตถุดิบ โดยทางบริษัทจะมีการบันทึกแหล่งที่มาของวัตถุดิบ เพื่อเวลามีปัญหาบริษัทจะได้เข้าไปแก้ไขได้ตรงจุด  เป็นต้น มีพันธมิตรที่คอยสนับสนุนและประสานงานในทุกด้าน และ เซเว่น อีเลฟเว่น ถือเป็นพันธมิตรที่อยู่เคียงข้างมาตลอด พร้อมมอบความรู้และคำแนะนำดีๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งการอบรม การหาพันธมิตรในการเชื่อมโยงเครือข่ายในการต่อยอดสินค้า เป็นต้น ทำให้บริษัทสามารถส่งต่อความรู้เหล่านั้นสู่ทีมต้นทาง เพื่อผลิตวัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพพร้อมส่งต่อไปยังผู้บริโภค เมื่อผู้บริโภคได้รับสินค้าที่ดีมีคุณภาพก็จะเกิดการซื้อซ้ำและบอกต่อ เรียกว่าเป็นการสร้างการเติบโตไปด้วยกันในทุกมิติ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง กำไรหรือเรื่องเงินเป็นแค่องค์ประกอบของการทำธุรกิจ แต่ไม่ใช่ Key Success ของธุรกิจ ถ้าทำธุรกิจได้แบบนี้ยังไงก็ประสบความสำเร็จและเติบโตยั่งยืน ปัจจุบันบริษัทรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรทั่วประเทศและสร้างรายได้กลับสู่ชุมชนปีละหลาย 10 ล้านบาท หรือคิดเป็น 50% ของยอดขาย

 

“แม่ละมาย” ถือเป็นอีกหนึ่งแบบอย่าง SME ที่น่าเรียนรู้ถึงกลยุทธ์และวิธีการสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน เพราะการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนไม่ใช่เพียงแค่การเพิ่มยอดขายในระยะสั้น แต่เป็นการพัฒนาสมดุลระหว่างธุรกิจ คู่ค้า และผู้บริโภคแบบระยะยาว สอดคล้องกับนโยบายความยั่งยืนของซีพี ออลล์ ในเรื่องการสร้างอาชีพ ตามปณิธานองค์กร Giving and Sharing

ติวเข้มเยาวชนสู่ Talent ลุยโปรเจกต์ AI ต่อยอดธุรกิจ เพิ่มคนเก่งรับมือยุคแห่งอนาคต

เชิดชูเกียรติ 26 SME ศักยภาพแบรนด์ “ฮูเร่-มหานคร-ด็อกเตอร์ อินโนวาเท็กซ์-หนุย คอลลาเจน-เมอร์ซี่-รัชชา ไลฟ์” คว้า SME ดาวรุ่ง

เซเว่น อีเลฟเว่น ปลุกโอกาสสินค้าเด็ด SME ถึงมือผู้บริโภค จัดแคมเปญ “เปิดวาร์ปความอร่อยขนมไทยจาก SME” เชิญชวนคนไทย-คนต่างชาติร่วมสนับสนุน ส่งเสริมขนมไทยฝีมือ SME ชูคอนเซ็ปต์ “อร่อย-หาทานง่าย-หลากหลาย-สะดวก” ยกทัพขนมไทยกว่า 80 รายการอาทิ ทับทิมกรอบกะทิสด กล้วยปิ้งน้ำตาลมะพร้าว ชุดรวมขนมทองมงคล สู่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น 14,000 สาขาทั่วประเทศ พร้อมการส่งเสริมการตลาด ณ จุดขาย ถึง 23 มี.ค.นี้ หวังช่วย SME ไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่ง หนุนขนมไทยของ SME ขึ้นแท่น Soft Power

นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่นอีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า การสนับสนุนการเติบโตของ SME ไทยอย่างยั่งยืน ถือเป็นหนึ่งในพันธกิจที่บริษัทให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องภายใต้นโยบาย “SME โตไกลไปด้วยกัน” โดยในปีนี้ได้ต่อยอดโดยนำกลุ่มสินค้าขนมไทยฝีมือ SME มาจัดแคมเปญ “เปิดวาร์ปความอร่อยขนมไทยจาก SME” เพื่อสร้างการรับรู้ถึงศักยภาพของผู้ประกอบการ SME ไทยและขนมไทยในวงกว้าง ที่พร้อมก้าวสู่การเป็น Soft Power ไทย

“เราเลือกนำกลุ่มสินค้าขนมไทยมาจัดแคมเปญต่อเนื่อง เพราะเรามองว่า ขนมไทย เป็นขนมที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว มีความหลากหลาย และมีรสชาติอร่อยไม่แพ้ชาติใดในโลก แต่ด้วยสินค้าขนมไทยในปัจจุบัน หาทานได้ยาก ทำให้คนรุ่นใหม่และชาวต่างชาติมีโอกาสเข้าถึงขนมไทยได้ไม่มากนัก เซเว่น อีเลฟเว่น ในฐานะผู้ที่สนับสนุน SME ขนมไทยมาโดยตลอด ต้องการช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว สร้างความตระหนักว่าสินค้าขนมไทยฝีมือ SME สามารถหาทานได้ง่าย พร้อมทั้งส่งเสริมโอกาสให้ SME ขนมไทยเข้าสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และเติบโตอย่างยั่งยืน เข้าถึงมือผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ” นายยุทธศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ แคมเปญ “เปิดวาร์ปความอร่อยขนมไทยจาก SME” ได้รวบรวมสินค้าขนมไทยจาก SME กว่า 80 รายการ มาร่วมแคมเปญ ถ่ายทอดจุดเด่นของขนมไทยที่วางจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในคอนเซ็ปต์ 1.อร่อย คงรสชาติความอร่อยอันเป็นเอกลักษณ์ของขนมไทยแท้ไว้ได้อย่างครบถ้วน 2.หาทานง่าย มีวางจำหน่ายในทุกสาขาทั่วประเทศกว่า 14,000 สาขา หรือสั่งซื้อผ่านเซเว่น เดลิเวอรี่ 3.หลากหลาย มีประเภทสินค้าขนมไทยที่เป็นที่นิยมมากมาย อาทิ ทับทิมกรอบกะทิสด กล้วยปิ้งน้ำตาลมะพร้าว ชุดรวมขนมทองมงคล  รวมถึงสินค้าที่หาทานได้ยาก อาทิ ตะโก้สามสหาย ถั่วทองกวนและเผือกกวน 4.สะดวก มาพร้อมกับแพ็กเก็จจิ้งสวยงามทันสมัย ที่ทางเซเว่น อีเลฟเว่น ร่วมพัฒนามากับผู้ประกอบการ ส่งผลให้แพ็กเก็จจิ้งของสินค้าแต่ละประเภทสะดวกต่อการรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

นายยุทธศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับรูปแบบการดำเนินการ จะให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการตัดสินใจซื้อ ณ จุดขาย อาทิ การติดตั้งสื่อสนับสนุน พร้อมข้อความสั้นๆ ชวนอุดหนุนขนมไทย ที่บริเวณชั้นวางสินค้าภายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และรายการส่งเสริมการขาย เพื่อช่วยขับเคลื่อน SME ด้านช่องทางขาย ช่วยทำให้ยอดขายของ SME เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างรายได้กลับสู่ชุมชน ตามปณิธานของบริษัท “Giving and Sharing” โดยระยะเวลาของแคมเปญนี้เริ่มตั้งแต่ 24 ก.พ. 2567 ถึงวันที่ 23 มี.ค.2567

“พฤติกรรมของผู้บริโภคในร้านสะดวกซื้อจำนวนมาก ยังคงเป็นการตัดสินใจซื้อ ณ จุดขาย การจัดกิจกรรมการตลาด ณ จุดขาย อย่างการติดตั้งสื่อสนับสนุน สร้างความตระหนักถึงรสชาติ ความอร่อย สร้างความสนใจในตัวผลิตภัณฑ์ จึงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เชื่อมั่นว่าแคมเปญครั้งนี้ จะช่วยยกระดับให้สินค้าขนมไทยฝีมือ SME กลายเป็น Soft Power ที่สร้างความประทับใจให้แก่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ” นายยุทธศักดิ์ กล่าว

ที่ผ่านมา เซเว่น อีเลฟเว่น ภายใต้บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ถือเป็นหนึ่งในองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการสนับสนุน SME ภายใต้นโยบาย “SME โตไกลไปด้วยกัน” พร้อมทั้งเดินหน้า กลยุทธ์ 3 ให้ ประกอบด้วย 1.ให้ช่องทางขาย 2.ให้ความรู้ และ 3.ให้การเชื่อมโยงเครือข่าย ช่วยเหลือ SME อย่างต่อเนื่อง โดยศูนย์ 7-Eleven สนับสนุน SME เป็นแกนหลัก ช่วยให้ผู้ประกอบการ SME เข้าถึงแหล่งข้อมูล ความรู้ งานวิจัย ตลอดจนเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนในการสร้างการเติบโตให้ SME ไทยเปี่ยมศักยภาพเติบโตในเวทีการค้าโลกได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

สำหรับ SME ผู้ประกอบการ ที่สนใจสามารถนัดหมายขอเข้ารับคำปรึกษากับทางศูนย์ 7-Eleven สนับสนุน ได้ผ่าน 2 ช่องทางหลัก ได้แก่ 1.ผ่านช่องทาง Call Center เบอร์ 02-826-7750 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-17.00 น. หรือEmail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. และ 2.ผ่านทาง www.7smesupportcenter.com ตลอด 24 ชั่วโมง

การพัฒนา SME อาจไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ก็มีปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของเอสเอ็มอีที่น่าสนใจที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาของผู้ประกอบการรายย่อยได้ เคล็ดลับหนึ่งที่สอดแทรกอยู่ในงานอบรมโครงการ “ตอกเสาเข็มเพื่อ SME” ปี 2567 ที่ทางศูนย์เซเว่น อีเลฟเว่น สนับสนุนเอสเอ็มอี ภายใต้การบริหารของซีพี ออลล์ หยิบยกขึ้นมาคือ “การสร้างแบรนด์” ได้จุดประกายให้เกิดคำถามต่อเนื่องที่เชื่อมโยงสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการรายย่อยอย่างมีนัยยะสำคัญ

ผศ.ดร.วราภรณ์ คล้ายประยงค์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญกลยุทธ์ SME หนึ่งในวิทยากร ได้ขยายความเรื่องของ “การสร้างแบรนด์” สิ่งที่ SME ควรรู้ก่อนที่จะปั้นแบรนด์ให้ปัง เพื่อพิชิตใจผู้บริโภคอย่างน่าสนใจ โดยกล่าวว่า ในปัจจุบันมีการแบ่งแยกประเภทลูกค้าตามพฤติกรรมของลูกค้า แทนแบ่งแยกตามอายุ (Generation) เนื่องจาก Digital เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการใช้ชีวิต และภาพเหล่านี้ยิ่งชัดเจนมากขึ้นหลังเหตุการณ์โควิด 19 โดยมีวางกรอบกลุ่มผู้บริโภคใหม่ดังนี้ กลุ่มที่น่าจับตามองคือกลุ่ม Generation C (Connected Generation) ซึ่งมีประมาณ 75% ของประชากรวัยทำงาน ต่างกับ Generation X, Y และ Z ในอดีต ตรงที่อายุไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ

Gen C กลุ่มนี้จึงไม่ได้ถูกจำกัดด้วยอายุ แต่มุ่งเน้นไปที่ทัศนคติและกรอบความคิดในการนำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับไลฟ์สไตล์ จากข้อมูล Parachute Digital. 2024 พบว่า กลุ่ม Gen C ส่วนใหญ่จะเสพข้อมูลผ่านเว็บไซต์โซเซียลมีเดีย โดย 42% ใช้แท็บเล็ตขณะดูทีวี และ 64% ของเวลาบนมือถือถูกใช้ไปกับ Application ต่างๆ เรียกว่า กลุ่ม Gen C มีความกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมในสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง โดยไม่เพียงแต่บริโภคเนื้อหาเท่านั้น แต่ยังสร้าง content ขึ้นมาด้วย

จากการวิจัยของ Think with Google พบว่า 90 % ของผู้บริโภค Gen C สร้างเนื้อหาบนโลกออนไลน์อย่างน้อยเดือนละครั้ง การแบ่งปันชีวิตกับโลกดิจิทัลผ่านเครือข่ายโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Twitter และ Instagram ความคิดสร้างสรรค์และกรอบความคิดดิจิทัลคือสิ่งที่ทำให้คน Gen C แตกต่างจากคนรุ่นอื่นๆ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คนเหล่านี้คือคนที่กิน นอน และหายใจผ่านสื่อดิจิทัล (ข้อมูลจาก : Appleton. 2024) ดังนั้น คนกลุ่มนี้จึงเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

เมื่อกลุ่ม Gen C มีขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการ SME หน้าใหม่จะทำอย่างไรเพื่อให้เข้าถึงคนกลุ่มนี้ หนึ่งในวิธีที่เห็นผลและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนก็คือ “การสร้างแบรนด์” โดยการสร้างแบรนด์ในสมัยนี้ง่ายและสะดวกสบายกว่าเมื่อก่อนมาก แบรนด์ที่ดีต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง

1.ทัศนคติในเชิงบวกกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง : การมองโลกในแง่ดีและสนับสนุนผู้บริโภคด้วยการสร้างมูลค่าเชิงบวกกับการขายที่ลำบากจะเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาความมั่นใจและสร้างความสัมพันธ์ในแบรนด์ เช่น ผู้ประกอบการจำหน่ายพลาสเตอร์ปิดแผล ซึ่งจะถูกใช้งานก็ต่อเมื่อเกิดบาดแผล หากผู้ประกอบการมีการนำข้อความดีๆหรือออกแบบลายที่ดูสดใส ก็จะช่วยสร้างอารมณ์และความรู้สึกที่ดีได้

2.มีความเป็นมิตร : ผู้บริโภคกำลังมองหาความไว้วางใจและมูลค่าในการซื้อสินค้า ที่มากกว่ามูลค่าทางตัวเงิน ผ่านการให้ความใส่ใจผู้บริโภค เช่น บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริการด้วยใจ ดังนั้นเรื่องของคุณภาพ ความปลอดภัย และความสะดวกจึงยังคงสำคัญ แม้ว่าจะมีความอ่อนไหวต่อราคาเพิ่มขึ้น เช่น ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่คนไม่สามารถออกมาจับจ่ายซื้อสินค้าได้ ผู้ประกอบการก็มีบริการจัดส่งแบบเดลิเวอรี่ หรือมีการสอบถามเพื่อแสดงความห่วงใย

3.ผสานเทคโนโลยีทั้งในการทำงานและชีวิตประจำวัน : เมื่อกลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่ในตลาดออนไลน์ ผู้ประกอบการก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะเข้าไปสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักผ่านช่องทางนี้ ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายแพลตฟอร์มออนไลน์ให้เลือกทำตลาด และมีค่าใช้จ่ายไม่สูง เหมาะกับผู้ประกอบการ SME หน้าใหม่ให้ได้ทำตลาดและสร้าง  แบรนด์ โดยผู้ประกอบการจะต้องศึกษารูปแบบและวิธีการขายในแต่ละแพลตฟอร์มให้ดี เพื่อสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

4.ให้ความสำคัญกับงานและชีวิต : การที่กลุ่ม Gen C เข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับธรรมาภิบาลขององค์กร ดังนั้น หากแบรนด์มีการสร้างการตระหนักรู้ถึงความใส่ใจขององค์กรที่มีต่อพนักงาน ก็จะยิ่งทำให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น เพราะความสุขของพนักงานที่มีต่อการทำงานจะสะท้อนออกมาผ่านตัวสินค้าและบริการนั่นเอง

5.ให้ความสำคัญกับสังคม : ผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และต้องการเห็นธุรกิจดำเนินการด้วยความรับผิดชอบ กลุ่ม Gen C มักจะค้นหาข้อมูลของผู้ประกอบการและที่มาของสินค้าว่า สร้างผลกระทบในเชิงลบต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่ รวมถึงมีการทำกิจกรรมหรือโครงการดีๆ เพื่อตอบแทนสังคมหรือรักษาสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญอย่างมาก

หากดำเนินการสร้างแบรนด์ครบทั้ง 5 เรื่องแล้ว ลำดับถัดไปคือการเลือกช่องทางในการสร้างแบรนด์ ผู้ประกอบการควรเลือกจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่มีการการันตีคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันมีช่องทางออนไลน์ที่เป็นสื่อกลางในการขายสินค้าจำนวนมาก หากผู้ประกอบการสร้างแบรนด์ผ่านช่องทางขายออนไลน์ของตัวเอง ก็สามารถการันตีสินค้าได้เช่นกัน และต้องมีการสื่อสารกับลูกค้าอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความพึงพอใจ

Page 1 of 5
X

Right Click

No right click