November 22, 2024

นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดงาน InsurTech Summit 2024 ภายใต้หัวข้อ “พลิกโฉมประกันภัยสู่เครือข่ายสากล : Shaping Insurance, Building Community” จัดโดยศูนย์ CIT สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 ณ ศูนย์ประชุม C ASEAN อาคารซีดับเบิ้ลยู ชั้น 10 กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีประกันภัย และเป็นเวทีในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมประกันภัยไทยสู่อนาคต ด้วยการผสานองค์ความรู้และนวัตกรรมเทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและยกระดับศักยภาพบุคลากรทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่ม Tech Startup ผ่านกิจกรรมสัมมนาวิชาการเชิงลึก กิจกรรมสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ และการแสดงนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีประกันภัย ผ่าน Demo Showcase จาก บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำกว่า 10 บริษัท ที่ผู้เข้าร่วมจะได้สัมผัสผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่นำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในงานประกันภัย ในขณะเดียวกันก็เปิดพื้นที่เจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างบริษัทประกันภัยและบริษัทเทคโนโลยี เพื่อสร้างโอกาสในการร่วมมือและพัฒนาธุรกิจให้เติบโตยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยผลักดันความร่วมมือและโอกาสการเติบโตทางธุรกิจในระดับสากล นอกจากนี้ภายในงานยังมี Exhibition จากบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำกว่า 30 บริษัท ที่มาร่วมจัดแสดงนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้เห็นการใช้งานจริงของเทคโนโลยีในบริบทของอุตสาหกรรมประกันภัยอย่างใกล้ชิด

ในโอกาสนี้ เลขาธิการ คปภ. ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ Regulation for the Insurance Ecosystem โดยมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจประกันภัย ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจประกันภัยไม่ได้มีเพียงบริษัทประกันภัยและคนกลางประกันภัยอีกต่อไป แต่มีผู้เล่นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจประกันภัยเพิ่มขึ้นมากมาย เช่น บริษัทเทคโนโลยี Insurtech Startups ที่กลายเป็นผู้เล่นรายใหม่ในธุรกิจประกันภัย นอกจากนี้ ยังได้เห็นความร่วมมือ หรือ Collaboration ของบริษัทประกันภัยและคนกลางประกันภัยกับธุรกิจใหม่ ๆ เช่น โรงพยาบาล การขนส่ง เพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้มีความหลากหลาย ตอบโจทย์และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น จึงคาดการณ์ได้ว่าในอนาคตธุรกิจประกันภัยจะขยายวงกว้างมากขึ้น และเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันและการดำรงชีวิตของผู้คนและผู้ประกอบการต่าง ๆ มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อีกประเด็นที่ต้องกล่าวถึง คือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องใหม่และมีการพูดถึง เรื่องเทคโนโลยีมาหลายปีแล้ว แต่มุมมอง ผลกระทบ และทิศทางของเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปทุกปี เทคโนโลยีสามารถเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจของบริษัทประกันภัยได้เกือบทุกกระบวนการของ Supply Chain เริ่มตั้งแต่การเข้าถึงลูกค้าที่มีช่องทางการเสนอขายหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ที่เข้าถึงลูกค้าได้โดยตรงและตรงกับกลุ่มเป้าหมาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปัจจุบันมีเครื่องมือในการประมวลผลให้สามารถประเมินความเสี่ยงความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำมากขึ้น และกำหนดอัตราเบี้ยที่เหมาะสมได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เฉพาะเจาะจงหรือรายบุคคลได้มากขึ้น รวมถึงในอนาคตอาจได้เห็น Dynamic Pricing การปรับเบี้ยประกันภัยตามสภาพความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ด้วยหรือในส่วนของการดูแลลูกค้าและการให้บริการหลังการขายที่สามารถนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยให้บริการได้อย่างรวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น เช่น ระบบ OCR (Optical Character Recognition) หรือ RPA (Robotic Process Automation) มาช่วยดำเนินการด้านเอกสารให้รวดเร็วขึ้น การพัฒนา Chatbot เพื่อเป็นอีกช่องทาง ในการติดต่อและให้บริการลูกค้า ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการฝังGen AI เพื่อให้ Chatbot ประมวลผลได้ซับซ้อนและดียิ่งขึ้น

อีกส่วนที่เห็นได้ชัด คือ การจัดการค่าสินไหมทดแทนที่เทคโนโลยีสามารถเข้ามาช่วยทั้ง Front Office และ Back Office เช่น การสำรวจข้อมูลความเสียหายด้วยโดรนและการวิเคราะห์ความเสียหายและการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วยการใช้ VDO หรือ รูปภาพ ซึ่งจะถูกนำไปประมวลผลต่อเพื่อให้สามารถประเมินความเสี่ยงในอนาคตได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่ามีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในธุรกิจประกันภัยที่กว้างขวางและหลากหลาย โดยบริษัทประกันภัยเกือบทุกแห่งได้ให้บริการลูกค้าผ่านทางเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ แล้วทั้งสิ้น หรือการซื้อประกันภัยออนไลน์กลายเป็นช่องทางสำคัญของธุรกิจไปแล้ว ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงาน คปภ. ได้ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาเรื่องการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในธุรกิจประกันภัยไทย พบว่า ในภาพรวมอุตสาหกรรมประกันภัยไทยมีความพร้อมทางดิจิทัลสูงถึงร้อยละ 78.5 และในอนาคตอันใกล้บริษัทประกันภัยไทยมากกว่าร้อยละ 90 จะมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างแพร่หลายและเห็นเป็นรูปธรรม “การจัดงานเสวนาในครั้งนี้จึงคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้ทุกหน่วยงานที่เข้าร่วมงานได้รับประโยชน์ ข้อคิด และมุมมองที่น่าสนใจ สามารถนำไปประยุกต์หรือต่อยอดการดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งถือเป็นอีกก้าวสำคัญของสำนักงาน คปภ. ในการสร้าง Insurance Community ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านประกันภัย รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านประกันภัยของภูมิภาคอาเซียน” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

 

นิวยอร์ค, 12 กันยายน 2567 – เจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) และ ฮุนได มอเตอร์ ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ เพื่อศึกษาการร่วมมือกันในอนาคต ซึ่งจะครอบคลุมกลยุทธ์หลักในหลายสาขา จีเอ็มและฮุนไดต่างค้นหาหนทางที่จะสร้างประโยชน์สูงสุด จากการควบรวมระดับการผลิตและจุดแข็งของแต่ละฝ่าย เพื่อลดค่าใช้จ่ายไปพร้อมกับการเพิ่มทางเลือกยานพาหนะให้หลากหลายยิ่งขึ้น และส่งมอบเทคโนโลยีใหม่ให้ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วขึ้น

ทั้งสองบริษัทเป็นผู้ผลิตระดับชั้นนำของโลก ยังอยู่ระหว่างการศึกษาโอกาสที่จะจัดซื้อวัตถุดิบในหลายสาขาร่วมกัน ทั้งวัตถุดิบในการทำแบตเตอรี่ โลหะ และอื่น ๆ ผู้ที่ลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับดังกล่าวมี Euisun Chung ตำแหน่ง Executive Chair ของ ฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป และ Mary Barra ตำแหน่ง Chairperson และ CEO ของ เจนเนอรัล มอเตอร์ส

 

ความร่วมมือระหว่างสองบริษัทจะก่อให้เกิดศักยภาพ ในการพัฒนารถยนต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผ่านการเพิ่มสเกลการผลิต และการจัดสรรงบประมาณได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น “จีเอ็มและฮุนไดจะนำจุดแข็งและทีมงานที่มีฝีมือมาควบรวมกัน โดยเป้าหมายของเราคือการปลดล็อคขนาดและความสร้างสรรค์ของทั้งสองบริษัทฯ เพื่อส่งมอบรถยนต์ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น ให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพขึ้น” Barra กล่าว

ความยืดหยุ่นและความคล่องแคล่วของจีเอ็มและฮุนได ส่งผลให้ทั้งสองบริษัทฯ สามารถเริ่มการพัฒนาของการแลกเปลี่ยนความสามารถร่วมกันได้

“ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยให้ฮุนได มอเตอร์และจีเอ็ม ประมวลโอกาสที่จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในหลายตลาดหลัก และกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพด้านค่าใช้จ่าย และเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้า ผ่านการผสานความเชี่ยวชาญและนวัตกรรมของทั้งสองบริษัทฯ เข้าด้วยกัน” Chung กล่าว

หลังจากการลงนามในบันทึกความเข้าใจ ซึ่งไม่มีผลบังคับทางกฎหมายฉบับนี้ ทั้งสองบริษัทฯ จะเริ่มกระบวนการประมวลผลและเริ่มดำเนินงานทันที

ข้อมูลจากรายงาน Hype Cycle for Digital Workplace Applications, 2024 ของการ์ทเนอร์ คาดว่าภายในไม่ถึง 2 ปี นับจากนี้ Everyday AI และ Digital Employee Experience (DEX) จะกลายเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ในกระแสหลัก

แมตต์ เคน รองประธานฝ่ายวิจัยหลักการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “Everyday AI ช่วยกำจัดความยุ่งยากด้านดิจิทัลให้แก่พนักงานด้วยการช่วยงานเขียน การค้นคว้า การทำงานร่วมกันและคิดไอเดีย และยังเป็นส่วนสำคัญของเทคโนโลยี DEX ในความพยายามขจัดความยุ่งยากและเพิ่มความชำนาญด้านดิจิทัลให้กับพนักงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการพาองค์กรไปสู่ความก้าวหน้าจากนี้จนถึงปี 2573”

ปี 2567 ถือเป็นปีสำคัญของผู้นำแอปพลิเคชัน Digital Workplace เนื่องจากการให้ความสำคัญกับรูปแบบการทำงานไฮบริดและการทำงานจากระยะไกลนั้นลดลง ประกอบกับธุรกิจต่างมุ่งเน้นไปที่การใช้เทคโนโลยี Everyday AI เพิ่มขึ้น ทำให้ Everyday AI ถูกวางไว้ให้อยู่ในจุดสูงสุดของความคาดหวังที่จะเติบโตในวงจรเทคโนโลยีสำหรับ Digital Workplace Applications ในปี 2567 ของการ์ทเนอร์

Everyday AI สำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิผลการทำงานของพนักงานอย่างยิ่ง อาดัม พรีเซต รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “Everyday AI มีเป้าหมายเพื่อช่วยพนักงานทำงานได้อย่างรวดเร็ว ครอบคลุมและมั่นใจได้ โดยเทคโนโลยีนี้ยังสนับสนุนวิธีการทำงานแบบใหม่ ผ่านการใช้ซอฟต์แวร์อัจฉริยะทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมงานมากกว่าเป็นแค่เครื่องมือ ซึ่งปัจจุบัน Digital Workplace กำลังเดินเข้าสู่ยุคการใช้ AI ในชีวิตประจำวัน”

เมื่อผู้ขายเทคโนโลยีต่างหาวิธีเพิ่มประสิทธิผลการทำงานของพนักงานให้มากขึ้น ด้วยการพัฒนาฟีเจอร์และแอปพลิเคชันเดิมให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น ซึ่ง Everyday AI นั้นตอบโจทย์ โดยเทคโนโลยีนี้ไม่เพียงแต่มอบประโยชน์ด้านประสิทธิภาพการทำงานเท่านั้น แต่ยังมอบโอกาสใหม่ ๆ ในการทำตลาด อาทิ เป็นเครื่องมือช่วยพนักงานค้นหาและสังเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ตอบคำถามได้อย่างครอบคลุมและสร้างสรรค์งานศิลป์ได้ง่ายขึ้น

“Everyday AI จะมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น เปลี่ยนจากบริการที่ช่วยจัดเรียงและสรุปข้อความแชทหรืออีเมลไปสู่บริการที่ช่วยเขียนรายงานโดยป้อนคำสั่งเพียงเล็กน้อย ดังนั้น Everyday AI จึงเป็นอนาคตของการเพิ่มประสิทธิผลการทำงานให้กับพนักงานในหลากหลายด้าน”

องค์กรควรให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ DEX มากขึ้น

วันนี้พนักงานเกือบทั้งหมดกลายเป็นพนักงานดิจิทัล เนื่องจากใช้เวลาทำงานกับเทคโนโลยีมากขึ้นกว่าที่เคย ดังนั้น องค์กรต้องมีกลยุทธ์ในการประเมินและพัฒนา DEX เพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีทักษะความสามารถและสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานให้เกิดขึ้น ขณะที่ยังคงเพิ่มความผูกพันของการทำงานและทำให้พวกเขายังอยู่กับองค์กรต่อไป

ผู้นำธุรกิจกำลังมองหาแนวทางในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิผลขององค์กรได้อย่างเหมาะสม DEX คือแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการช่วยเพิ่มความชำนาญด้านดิจิทัล ดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีทักษะความสามารถพร้อมช่วยให้พนักงานบรรลุผลลัพธ์ทางธุรกิจได้

DEX กำลังอยู่ในช่วงขาลงในวงจรเทคโนโลยีฯ ซึ่งหมายถึงกำลังได้รับความสนใจลดลง เนื่องจากการทดลองและการใช้งานล้มเหลว ดังนั้นเพื่อเพิ่มความน่าสนใจและสร้างความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับ DEX ผู้นำทางธุรกิจควรใช้แนวทางแบบองค์รวม ร่วมมือกับทั้งพันธมิตรไอทีและที่ไม่ใช่ไอทีเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความหมายต่อการส่งเสริมให้พนักงานนำวิธีการทำงานใหม่ ๆ มาปรับใช้

กัลฟ์ ไบแนนซ์ (Gulf Binance) บริษัทร่วมทุนระหว่าง ไบแนนซ์ แคปปิตอล  แมเนจเมนท์ จำกัด บริษัทภายในเครือของไบแนนซ์ แพลตฟอร์มที่มีปริมาณการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่มากที่สุดในโลก และ บริษัท กัลฟ์ อินโนวา จำกัด ผนึกกำลัง โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อ.สามพราน จ.นครปฐม จัดเวิร์คช็อปมอบความรู้ให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจ เพื่อเตรียมรับมือกับอาชญากรรมไซเบอร์ พร้อมส่งเสริมการใช้งานบล็อกเชนเทคโนโลยี ผ่านโปรแกรมการฝึกอบรมด้านการบังคับใช้กฎหมาย  โดยมี นายยาเร็ก ยาคุบเช็ค (Jarek Jakubcek) หัวหน้าฝ่ายฝึกอบรมการบังคับใช้กฎหมายของไบแนนซ์ และ ดร.กร พูนศิริวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และผู้อำนวยการโครงการ Binance TH Academy (ไบแนนซ์ ทีเอช อะแคดิมี) บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด ร่วมเป็นวิทยากร 

ในปัจจุบัน โลกของเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ  ผู้คนทั่วโลกต่างสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีด้านการลงทุน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะเต็มไปด้วยข้อดีเนื่องจากสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้คนได้อย่างรอบด้าน แต่ก็ยังถือเป็นดาบสองคมที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับผู้ใช้งานเทคโนโลยีได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการถูกนักต้มตุ๋นหรือสแกมเมอร์ (Scammers) หลอกล่อให้เหยื่อทำธุรกรรมทั้งจากการเงินแบบดั้งเดิม หรือว่าสินทรัพย์ดิจิทัลก็ตาม 

ด้วยความมุ่งมั่นของ กัลฟ์ ไบแนนซ์ ด้านการเสริมสร้างระบบนิเวศสินทรัพย์ดิจิทัลที่ปลอดภัย เราจึงได้ร่วมมือกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เพื่อจัดกิจกรรมฝึกอบรมด้านการต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ขึ้น โดยเนื้อหาโปรแกรมการฝึกอบรมแบบมาตรฐานในหนึ่งวัน ประกอบด้วย การช่วยเหลือเชิงปฏิบัติการด้านการบังคับใช้กฎหมาย (Practical Assistance to Law Enforcement) บรรยายโดย นายยาเร็ก ยาคุบเช็ค (Jarek Jakubcek) หัวหน้าฝ่ายฝึกอบรมการบังคับใช้กฎหมายของไบแนนซ์ และการอบรมในหัวข้อเทคโนโลยีบล็อกเชนขั้นพื้นฐาน โดย ดร.กร พูนศิริวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และผู้อำนวยการโครงการ Binance TH Academy (ไบแนนซ์ ทีเอช อะแคดิมี) บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการเติบโตของอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นไปอย่างรวดเร็วในประเทศไทย ตลอดจนส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย รู้เท่าทันมิจฉาชีพ และสามารถรับมือกับอาชญากรรมไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการฝึกอบรมในครั้งนี้ มีนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4 ให้ความสนใจเข้าร่วมจำนวนกว่า 60 นาย 

ทั้งนี้ ในปี 2023 ไบแนนซ์ยังได้จัดเวิร์คช็อปและการฝึกอบรมกว่า 120 รายการ เพื่อมอบข่าวกรองที่สำคัญ มอบความรู้ และทักษะที่จำเป็นซึ่งเป็นรากฐานความสำเร็จของการสืบสวนและการบังคับใช้กฎหมายที่สำคัญให้กับนักต่อสู้กับอาชญากรรมทั่วโลก โดยการจัดฝึกอบรมในปีดังกล่าว เพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนหน้าที่มีการจัดฝึกอบรม 50 รายการ หรือคิดเป็นอัตราที่สูงขึ้นกว่า 140% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการยอมรับในสินทรัพย์ดิจิทัลที่ขยายวงกว้างมากขึ้น รวมถึงความตระหนักถึงความใส่ใจด้านความปลอดภัยของผู้บังคับใช้กฎหมายทั่วโลกด้วยเช่นกัน 

AWS มอบทุน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเด็ก โดยมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างสุขภาพและพัฒนาการที่ดีของเด็ก และการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหายากให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นิโคล จีรูว์ เข้าใจดีถึงความทุกข์ทรมานจากการรอคอยการวินิจฉัยที่แม่นยำ และการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่มาพร้อมกับการวินิจฉัยนั้น เมื่อประมาณ 15 ปีก่อน ลูกสาวของเธอชื่อไลลาแสดงอาการของมะเร็งสมองชนิดที่ผ่าตัดไม่ได้ ในขณะนั้นไลลามีอายุเพียง 15 เดือนเท่านั้น เนื่องจากข้อมูลทางการแพทย์มีไม่เพียงพอ ครอบครัวจีรูว์จึงต้องเผชิญกับความเจ็บปวดเป็นเวลานานถึง 5 ปี ก่อนที่จะสามารถเข้าใจโครงสร้างระดับโมเลกุลของก้อนเนื้องอกในสมองของลูกสาวได้อย่างชัดเจน

“หลังจากเริ่มการรักษาไม่นาน สามีและฉันตระหนักว่ามีทางเลือกในการรักษามะเร็งสมองในเด็กน้อยมาก นอกจากนี้ยังมีการขาดแคลนงบประมาณสำหรับการวิจัยโรคนี้อีกด้วย” นิโคล กล่าว

เพื่อเป็นเกียรติแด่ลูกสาวของเธอ นิโคลได้ก่อตั้งมูลนิธิ Lilabean Foundation for Pediatric Brain Cancer Research เพื่อการวิจัยมะเร็งสมองในเด็กขึ้น มูลนิธิมีพันธกิจหลักในการสนับสนุนทุนวิจัยที่สำคัญเกี่ยวกับมะเร็งสมองในเด็ก และช่วยสร้างความตระหนักรู้ถึงความรุนแรงของโรคร้ายนี้ในหมู่สาธารณชน

ในงาน AWS Summit ที่จัดขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ที่ผ่านมา AWS ได้ประกาศว่าจะมอบเงินทุนสนับสนุนจำนวน 10 ล้านเหรียญสหรัฐให้แก่องค์กรไม่แสวงหากำไร เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากคลาวด์ของ AWS เพื่อสนับสนุนโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในระดับสากล เงินทุนดังกล่าวจะช่วยให้สามารถเข้าถึงงานวิจัยที่สำคัญสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่เปราะบาง ซึ่งมักประสบปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรและมีขนาดตัวอย่างจำกัด

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกันของกลุ่มสถาบันการแพทย์ โรงพยาบาล และสถาบันต่าง ๆ ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการเร่งรัดการวิจัยและการค้นพบใหม่ ๆ ด้วยการจัดการข้อมูลบนคลาวด์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัยสามารถเข้าใจโครงสร้างพันธุกรรมของโรคได้ดีขึ้น นำไปสู่การวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น รวมถึงการรักษาเฉพาะบุคคลที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นสำหรับผู้ป่วย

อดัม เรสนิค ผู้อำนวยการศูนย์การค้นพบที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลเด็กฟิลาเดลเฟีย (Children’s Hospital of Philadelphia :CHOP) กล่าวว่า “เรายินดีเป็นอย่างยิ่งกับโครงการที่ AWS ได้เปิดตัว เนื่องจากสอดคล้องกับสถานการณ์ของเราอย่างลงตัว แม้มะเร็งในเด็กจะเป็นโรคหายาก แต่ก็เปิดโอกาสให้เราได้ทดสอบเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้วยความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาการค้นพบข้อมูลแบบเรียลไทม์และเครือข่ายความร่วมมือ”

AWS ได้สนับสนุนเงินทุนจำนวน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีการบริจาคเงิน 3 ล้านเหรียญสหรัฐให้แก่องค์กรต่าง ๆ 3 แห่ง ดังนี้ โรงพยาบาลเด็กแห่งชาติ (Children's National Hospital) ในวอชิงตัน ดี.ซี., โรงพยาบาลเด็กแนชั่นไวด์ (Nationwide Children's Hospital) ในโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ และเครือข่ายมะเร็งสมองเด็ก (Children's Brain Tumor Network) ซึ่งตั้งอยู่ที่ CHOP โดยแต่ละองค์กรจะได้รับเงินบริจาค 1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจขององค์กร มูลนิธิ Lilabean เป็นหนึ่งในองค์กรสมาชิกของเครือข่ายมะเร็งสมองเด็ก (Children’s Brain Tumor Network)

ด้วยโครงการ AWS IMAGINE Grant: Children’s Health Innovation Award ใหม่ที่มีงบประมาณสูงถึง 7 ล้านเหรียญสหรัฐ องค์กรต่าง ๆ จะได้รับการสนับสนุนเพื่อใช้ในโครงการที่เร่งการวิจัยด้านสุขภาพเด็ก ส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กอย่างครบวงจร และ/หรือสนุบสนุนบุคลากรทางการแพทย์และผู้ดูแลเด็ก

นอกเหนือจากมะเร็งในเด็ก เงินทุนนี้จะสนับสนุนการวิจัยโรคต่าง ๆ ในเด็ก ตั้งแต่โรคหัวใจไปจนถึงโรคพันธุกรรม โรคที่พบในเด็กมักไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร และมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการวิจัยโรคเหล่านี้น้อยกว่าโรคอื่นๆ แม้ว่าไลลาจะต้องเผชิญกับผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการรักษาด้วยเคมีบำบัดมาเป็นเวลาหลายปี แต่ในวัย 16 ปีปัจจุบันเธอยังคงมีสุขภาพที่แข็งแรงดี อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่ได้รับโอกาสที่ดีเช่นเดียวกับไลลา

มะเร็งในเด็กเช่นกรณีของไลลานั้นมีสัดส่วนน้อยกว่า 1% ของมะเร็งทั้งหมดที่ได้รับการวินิจฉัยในสหรัฐอเมริกาในแต่ละปี แม้อัตรารอดชีวิต 5 ปีของผู้ป่วยมะเร็งในเด็กในประเทศพัฒนาแล้วจะดีขึ้น แต่ยังมีถึงสองในสามของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งในวัยเด็กที่ต้องประสบกับผลข้างเคียงระยะยาวจากการรักษา

ข้อมูลการศึกษาวิจัยทางการแพทย์สำหรับโรคและการรักษาในเด็กยังคงมีข้อจำกัดอยู่มาก งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาขนาดเล็กที่ดำเนินการในศูนย์เดียว และขาดการสนับสนุนงบประมาณจากภาคเอกชนหรือภาครัฐ ส่งผลให้มีการศึกษาวิจัยการรักษาลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบริษัทยามีแรงจูงใจทางการเงินน้อยในการพัฒนายาสำหรับกลุ่มผู้ป่วยขนาดเล็กเหล่านี้ เด็กป่วยด้วยโรคมะเร็งและโรคหายากมักได้รับการรักษาตามแผนการรักษาที่ดัดแปลงมาจากแนวทางการรักษาสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับความต้องการของพวกเขา นอกจากนี้ การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมของมะเร็งในเด็กและผู้ใหญ่ยังแตกต่างกัน ซึ่งเพิ่มความซับซ้อนให้กับนักวิจัย ความท้าทายที่แตกต่างกันเหล่านี้ในการวิจัยสำหรับเด็ก จำเป็นต้องมีโซลูชันขั้นสูงเพื่อแก้ไขปัญหา การจัดการข้อมูลในคลาวด์เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญสำหรับการทำวิจัยร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ  การทำงานแบบแยกส่วนและไม่มีการประสานงานกันนั้น ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
นิโคล กล่าวว่า “ในอดีต นักวิทยาศาสตร์มักทำงานแยกส่วนกันและไม่ได้แบ่งปันข้อมูลสำคัญ เช่น ตัวอย่างเนื้อเยื่อ ผลการวิเคราะห์ลำดับจีโนม และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ แต่ในปัจจุบัน เราจำเป็นต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด แบ่งปันข้อมูล และประสานความร่วมมือในสนามวิจัยเดียวกัน”

สภาพแวดล้อมทดสอบ (sandbox) เป็นพื้นที่ปลอดภัยบนคลาวด์ของ AWS ที่ออกแบบมาเพื่อให้นักวิจัยสามารถจัดการข้อมูลที่ไม่ระบุชื่อและถูกทำให้เป็นข้อมูลนิรนามได้อย่างปลอดภัย โดยยังคงรักษามาตรฐานการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและผู้เข้าร่วมในการวิจัยทางการแพทย์ไว้อย่างเคร่งครัด ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย นักวิจัยจึงสามารถดำเนินการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลได้อย่างมั่นใจ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล

นักวิจัยที่โรงพยาบาลเด็กแห่งชาติ Nationwide Children's Hospital คลาวด์เป็นเครื่องมือในการประมวลผลข้อมูลจีโนมิกส์ และแบ่งปันข้อมูลและผลการวินิจฉัยสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเด็กในการศึกษาขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อผู้ป่วยมะเร็งเด็กทั่วสหรัฐอเมริกา หลังจากถูกใช้เพื่อช่วยให้ข้อมูลในการวินิจฉัยที่จะส่งกลับไปยังผู้ให้บริการด้านมะเร็งวิทยาสำหรับแต่ละผู้ป่วยแล้ว ข้อมูลที่ปราศจากการระบุตัวตนจะถูกแบ่งปันอย่างมีประสิทธิภาพผ่านคลาวด์ไปยังฐานข้อมูลมะเร็งเด็กของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ (NCI) ซึ่งนักวิจัยกลุ่มใหญ่สามารถเข้าถึงได้เกือบแบบเรียลไทม์

ดร.เอลเลน มาร์ดิส ผู้อำนวยการของสถาบัน Steve and Cindy Rasmussen Institute for Genomic Medicine จากสถาบัน Abigail Wexner Research Institute ที่โรงพยาบาล Nationwide Children's Hospital กล่าวว่า “สิ่งที่เราปรารถนาอย่างแท้จริงคือการทำให้มะเร็งที่พบได้น้อยกลายเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยขึ้น โดยการให้ข้อมูลที่ครอบคลุมแก่นักวิจัยที่ต้องการค้นคว้าเพื่อค้นพบสิ่งใหม่ ๆ”

ดร.เอลเลน ระบุว่า การแบ่งปันข้อมูลอย่างกว้างขวางในฐานข้อมูลบนคลาวด์ สามารถช่วยให้นักวิจัยสามารถวิเคราะห์ลักษณะทางจีโนมิกส์ของมะเร็งที่พบได้น้อยได้ง่ายขึ้น เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้มักถูกแยกเก็บไว้อย่างแยกส่วน ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มอาจไม่มีข้อมูลเพียงพอในการศึกษาลักษณะเหล่านี้ การรวบรวมข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลกลางบนคลาวด์จะดึงดูดความสนใจของนักวิจัยเหล่านั้นให้เข้ามาศึกษาได้มากขึ้น

ดร.เอลเลน กล่าวว่า “ในระยะเวลาอันสั้น ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการค้นพบใหม่ ๆ คือความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลผ่านระบบคลาวด์อย่างรวดเร็วและสะดวก”

การวิจัยทางการแพทย์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ถือเป็นพรมแดนใหม่ที่น่าจับตามอง

การสร้างพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการพัฒนาการรักษาโรคหายากในเด็กให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น AWS มีศักยภาพในการขับเคลื่อนการวิเคราะห์ข้อมูลและแอปพลิเคชันนวัตกรรม ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพการดูแลรักษา เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ และปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของแต่ละบุคคล ที่โรงพยาบาลเด็กแห่งชาติ ทีมงานได้นำแอปพลิเคชันที่ใช้ AI มาช่วยในการคัดกรองทารกที่มีภาวะทางพันธุกรรมหายาก โดยแอปพลิเคชันนี้จะประเมินลักษณะใบหน้าของทารกผ่านกล้องสมาร์ทโฟน เพื่อระบุการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในลักษณะใบหน้าได้อย่างรวดเร็วหลังคลอด แอปพลิเคชันดังกล่าวได้รับการทดสอบกับผู้ป่วยในกว่า 30 ประเทศแล้ว และสามารถช่วยคัดกรองเด็กที่อาจไม่สามารถเข้าถึงนักพันธุศาสตร์ในบริเวณใกล้เคียงได้

นอกจากนี้ AI ยังถูกนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองโรคหัวใจจากภาวะหัวใจรูมาติกด้วย โดยช่วยให้การตรวจคลื่นความถี่เสียงสูงแบบพกพามีราคาถูกลง ทำให้ผู้ป่วยที่มีทรัพยากรจำกัดสามารถเข้าถึงการตรวจได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศยูกันดา คาดว่าจะมีการคัดกรองเด็กประมาณ 200,000 คนในปีต่อ ๆ ไป

มาริอุส จอร์จ ลิงกูรารู ศาสตราจารย์ด้านครอบครัวคอนนอร์และประธานด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่โรงพยาบาลเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า “ประเด็นความเท่าเทียมด้านสุขภาพเป็นสิ่งที่ผมให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ณ ปัจจุบัน เรามุ่งเน้นการทำงานในสหรัฐอเมริกามากกว่าต่างประเทศ เนื่องจากเมื่อต้องการการตีความภาพและการถ่ายภาพขั้นสูง ทรัพยากรเหล่านั้นมีอยู่มากในประเทศรายได้สูง อย่างไรก็ดี ผมมักแสวงหาวิธีการที่ง่าย ราคาไม่แพง และมีความยืดหยุ่นมากกว่า ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ได้ด้วย”

การรักษามะเร็งแบบเฉพาะบุคคลเป็นอีกหนึ่งสาขาที่ปัจจุบันมีการนำเอา AI มาใช้เพื่อพัฒนาการดูแลสุขภาพสำหรับเด็ก ทีมงานของศาสตราจารย์ลิงกูรารูกำลังร่วมมือกับเพื่อนร่วมงานทั่วสหรัฐอเมริกา เพื่อปรับปรุงและทำให้แผนการรักษาสำหรับเด็กที่เป็นมะเร็งสมองมีความเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น ความก้าวหน้าทางด้านคลาวด์คอมพิวติงและการประยุกต์ใช้ AI เหล่านี้ เป็นสิ่งที่นิโคลหวังว่าจะช่วยพัฒนาแนวทางการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับครอบครัวที่มีสถานการณ์คล้ายคลึงกับครอบครัวของเธอในอนาคต

“ฉันเข้าใจดีว่าตอนที่ครอบครัวได้รับการวินิจฉัยโรคของลูก มันเป็นเรื่องยากลำบากมาก พวกเขาต้องเผชิญกับความกังวลและความไม่แน่นอนมากมาย ดังนั้นฉันอยากให้ลูก ๆ ของทุครอบครัวมีทางเลือกที่เหมาะสมในการรักษา อย่าปล่อยให้พวกเขาต้องยอมรับข้ออ้างที่ไม่ดีพอสำหรับลูกของตัวเองอีกต่อไป สถานการณ์กำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีความก้าวหน้าใหม่ ๆ เกิดขึ้นเรื่อย ๆ ในวงการแพทย์ ฉันหวังว่าครอบครัวเหล่านี้จะได้รับทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับลูกของพวกเขา”

AWS มุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ที่จะสนับสนุนงานสำคัญเพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็ก โครงการด้านการกุศลในครั้งนี้จะเสริมพลังให้แก่องค์กรไม่แสวงหากำไรทั่วโลก ในการนำประโยชน์จากคลาวด์ของ AWS มาใช้ขับเคลื่อนสาเหตุด้านสุขภาพเด็กและเยาวชน

Page 1 of 9
X

Right Click

No right click