December 23, 2024

เอปสันเดินหน้าลุยตลาดการพิมพ์ส่วนบุคคล (Personal Printing Service) อย่างต่อเนื่อง หลังจากเอปสัน เปิดตัว เครื่องพิมพ์หมึกยูวีขนาดเดสก์ท็อป A4 รุ่นแรก SC-V1030 ไปแล้ว เอปสันเดินหน้ารุกตลาดงานพิมพ์ส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่อง ด้วยเครื่องพิมพ์ผ้าขนาดเดสก์ท็อปรุ่นแรกของเอปสัน Epson SureColor SC-F1030 เหมาะกับงานออนดีมานด์ ที่กำลังเป็นที่นิยมในตลาด สามารถพิมพ์ได้ทั้งผ้าเส้นใยธรมมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ ด้วยเทคโนโลยีหัวพิมพ์แบบใหม่ของเอปสัน PrecisionCore MicroTFP  ให้งานพิมพ์คมชัด แม่นยำ และพิมพ์งานได้เร็วขึ้นถึง 135%  ให้ผู้สวมใส่มั่นใจด้วยหมึก UltraChrome DG2 ผ่านการรับรองความปลอดภัยและปลอดสารพิษของ OEKO-TEX®   ขนาดกะทัดรัด ออกแบบให้วางบนโต๊ะได้อย่างสะดวก เหมาะกับทุกสภาพแวดล้อมการทำงาน นอกจากนี้ Epson SureColor SC-V1030 ยังทำงานได้ทั้งการพิมพ์ DTG และ DFT จึงมีความยืดหยุ่นในการพิมพ์บนวัสดุที่หลากหลาย สามารถตอบโจทย์สำหรับร้านค้าที่ต้องการรองรับงานที่หลากหลาย และกลุ่มสตาร์ทอัพที่ต้องการเริ่มธุรกิจ รูปแบบ DIY เพื่อรองรับการพิมพ์งานส่วนบุคคลหรือองค์กรที่ต้องการปรับแต่งหรือออกแบบเองงานพิมพ์ของตัวเอง

อปสันครองตลาดโปรเจคเตอร์ 23 ปีซ้อน พร้อมเปิดตัวสินค้ารุกตลาดโฮมเอนเตอร์เทนเมนท์ในงาน Epson Ultra Projectors Experience Day

20 พฤศจิกายน 2567 – เอปสันเดินหน้าสร้างสถิติครองเจ้าตลาดโปรเจคเตอร์ทั่วโลกเป็นปีที่ 23 ติดต่อกัน ทั้งยังครองส่วนแบ่งตลาดในประเทศไทยถึง 54% ในไตรมาสแรกปีนี้ พร้อมเปิดตัวสินค้าใหม่ในกลุ่มโฮมโปรเจคเตอร์และโปรเจคเตอร์ความสว่างสูง เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดความบันเทิงภายในบ้านและธุรกิจ

ครองตลาดโปรเจคเตอร์ระดับโลก

นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เอปสันยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำตลาดโปรเจคเตอร์ระดับโลกมาอย่างยาวนานถึง 23 ปี และในประเทศไทย เอปสันมีส่วนแบ่งตลาดถึง 54% ในปีงบประมาณ 2567 (ข้อมูลจาก Futuresource) ซึ่งสะท้อนถึงความไว้วางใจจากลูกค้าในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ ตั้งแต่บริษัท หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา โรงแรม ไปจนถึงสถานที่จัดงานอีเวนต์

นอกจากนี้ เอปสันยังครองตำแหน่งผู้นำในตลาดย่อย เช่น โปรเจคเตอร์ธุรกิจ (57%) โปรเจคเตอร์ความสว่างสูง (55%) และโปรเจคเตอร์อินเตอร์แอคทีฟ (35%)

รุกตลาดโฮมโปรเจคเตอร์ ตอบรับการเติบโตของโฮมเอนเตอร์เทนเมนท์

โฮมโปรเจคเตอร์มีส่วนแบ่งตลาดของเอปสันในปัจจุบันอยู่ที่ 12% โดยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคต้องการสร้างประสบการณ์ความบันเทิงแบบโรงภาพยนตร์ที่บ้าน รวมถึงกลุ่มเกมเมอร์ที่ต้องการประสบการณ์เล่นเกมที่สมจริง

ตามรายงานของ KBV Research ตลาดอุปกรณ์เพื่อความบันเทิงในบ้านในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตเฉลี่ย 6.2% ต่อปีในช่วงปี 2566-2573

เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เอปสันได้เปิดตัวโปรเจคเตอร์หลากหลายรุ่น เช่น

  • EpiqVision Mini Projector รุ่น EF-21 และ EF-22: ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา รองรับ Full HD, HDR10 และ Dolby Audio พร้อม Google TV
  • EH-QL3000W: โฮมโปรเจคเตอร์ 4K ความสว่าง 6,000 ลูเมน พร้อมเทคโนโลยี Dynamic Tone Mapping และดีไซน์พรีเมียม

โปรเจคเตอร์ความสว่างสูงสำหรับงานขนาดใหญ่

ในกลุ่มโปรเจคเตอร์ความสว่างสูง เอปสันได้เปิดตัวซีรีส์ใหม่ EB-PQ ที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยี 4K Crystal Motion และเลนส์คู่แบบไมโคร โดยรองรับการใช้งานในสถานที่ขนาดใหญ่ เช่น ห้องประชุมและอีเวนต์

รุ่นเด่นในซีรีส์นี้คือ EB-PQ2220B ซึ่งมีความสว่าง 20,000 ลูเมน และเป็นโปรเจคเตอร์ขนาดเล็กและเบาที่สุดในโลก

งาน Epson Ultra Projectors Experience Day

งาน Epson Ultra Projectors Experience Day จัดขึ้นที่ Solution Center อาคารปัน ถนนพระรามสี่ ตั้งแต่วันนี้จนถึงสิ้นปี ภายในงาน ผู้เข้าชมสามารถสัมผัสเทคโนโลยีโปรเจคเตอร์รุ่นใหม่มากกว่า 20 รุ่น รวมถึงโซลูชันด้านเอนเตอร์เทนเมนท์ที่หลากหลาย เช่น Golf Simulation และ Immersive Mapping Projection

ผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถติดต่อได้ที่ Epson Call Center โทร. 02-460-9699 (จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-17.30 น.)

เอปสันมุ่งมั่นสู่การสร้างประสบการณ์ความบันเทิงระดับพรีเมียม ตอกย้ำความเป็นผู้นำในตลาดโปรเจคเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ

 

เอปสันพร้อมส่ง Epson SureColor SC-V1030 เครื่องพิมพ์หมึกยูวีขนาดเดสก์ท็อป A4 รุ่นแรกของเอปสัน รุกตลาดของขวัญ ของพรีเมียม และของแต่งบ้าน ช่วงไฮซีซั่น ชูเทคโนโลยีสุดล้ำพิมพ์ 6 สีได้ อย่างคมชัดบนหลากหลายวัสดุตั้งแต่ไม้ พลาสติก อะคริลิก จนถึงสแตนเลส ตอบโจทย์เทรนด์บริการพิมพ์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน 

เอปสัน ผู้นำโลกในตลาดการพิมพ์เชิงพาณิชย์ เผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงาน Road to Sustainable Printing: Exploring Attitudes and Behaviors in Southeast Asia พบว่าความยั่งยืนถูกยกระดับความสำคัญขึ้น และมีผลต่อพฤติกรรมการพิมพ์ในสำนักงานอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามยังมีธุรกิจและบุคคลจำนวนมากที่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการพิมพ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอยู่

รายงาน Road to Sustainable Printing: Exploring Attitudes and Behaviors in Southeast Asia เป็นการสำรวจเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้มีอำนาจตัดสินใจในองค์กรธุรกิจจำนวน 1,500 คน ในประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เพื่อศึกษาถึงทัศนคติและพฤติกรรมต่อการพิมพ์เพื่อความยั่งยืน ซึ่งเอปสันได้จัดทำขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยผลสำรวจในปีนี้ตอกย้ำว่า การพิมพ์ยังคงเป็นขั้นตอนการทำงานที่มีความจำเป็นสำหรับสำนักงานในภูมิภาคนี้ โดยผู้มีอำนาจตัดสินใจในการจัดซื้ออุปกรณ์สำนักงานและผู้ใช้งานมากกว่า 40% ยืนยันว่ามีการใช้กระบวนการพิมพ์เป็นประจำทุกวัน อย่างไรก็ตาม การทำงานแบบไฮบริดและการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สำนักงานต่าง ๆ ต้องการความยืดหยุ่นในการพิมพ์งานเพิ่มมากขึ้น

ความสามารถทางดิจิทัลกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานประจำวันขององค์กรธุรกิจปัจจุบัน มากกว่าจะเป็นแค่ทางเลือกเหมือนในอดีต ซึ่งหลายองค์กรมองว่าการแชร์เอกสารดิจิทัลเป็นขั้นตอนแรกในการก้าวเข้าสู่กระบวนการดิจิทัล (Digitalization) โดยองค์กรในบางอุตสาหกรรมจะมีการปรับตัวช้ากว่า เช่น มีเพียง 39% ขององค์กรในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และ 40% ในธุรกิจการค้าปลีก ที่ยังคงใช้เอกสารในรูปแบบกระดาษ เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมที่มีความทันสมัยมากกว่า เช่น กลุ่มธุรกิจที่ปรึกษาและบริการวิชาชีพ และโฆษณาและการตลาด ที่มี 50% และ 48% ขององค์กรในธุรกิจนี้ที่ได้เริ่มเข้าสู่ Digitalization

ขนาดของธุรกิจก็มีส่วนสำคัญ โดย 41% ของธุรกิจขนาดเล็กที่มีพนักงานไม่เกิน 50 คน และ 48% ของธุรกิจขนาดกลางที่มีขนาดไม่เกิน 500 คน ได้เปลี่ยนไปใช้เอกสารแบบดิจิทัล เมื่อเทียบกับ 45% ของธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งมีจำนวนพนักงานมาก ตั้งแต่ 501 คนขึ้นไป ทำให้มีความคล่องตัวในการเปลี่ยนแปลงภายในน้อยกว่า

การสำรวจยังพบว่า 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการให้การพิมพ์ในที่ทำงานมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 44% ต้องการเห็นระบบการพิมพ์ดิจิทัลแบบบูรณาการที่ทันสมัย เช่น โซลูชันการพิมพ์ผ่านเครือข่ายคลาวด์ อีกทั้งราว 4 ใน 5 ของผู้ตอบแบบสอบถามยังมองว่าความกะทัดรัดของเครื่องพิมพ์มีความจำเป็นต่อการพิมพ์งานในสำนักงาน ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มของธุรกิจที่มุ่งเน้นความมีประสิทธิภาพและความทนทานในพื้นที่จำกัด

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการพิมพ์ ได้แก่ ความสะดวกสบาย (46%) ความคุ้มค่า (44%) และการตื่นตัวในเรื่องการพิมพ์อย่างยั่งยืนที่เพิ่มขึ้น (41%) ข้อมูลเหล่านี้ตอกย้ำถึงความสำคัญของการหาสมดุลระหว่างการใช้งานได้จริง ความยั่งยืน และความคุ้มค่า ในกระบวนการพิมพ์ในสำนักงาน ทั้งยังต้องสนับสนุนพนักงานให้ก้าวทันตามแนวทางด้านความยั่งยืน

เป็นที่น่าสังเกตว่า องค์กรธุรกิจทั่วภูมิภาคนี้ตระหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงโซลูชันที่ยั่งยืน และพยายามมองหาทางเลือกด้านการพิมพ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบต่อธรรมชาติ โดยกว่า 3 ใน 5 หรือ 66% ของผู้ตอบแบบสอบถามได้ระบุว่าความยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกเครื่องพิมพ์ 74% ของบุคคลและบริษัทมีความตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการพิมพ์ในระดับ ‘มาก’ หรือ ‘ปานกลาง’ และ 63% ‘มีแนวโน้ม’ หรือ ‘มีแนวโน้มมาก’ ที่จะยินดีจ่ายเงินเพิ่มขึ้น เพื่อโซลูชันการพิมพ์ที่ยั่งยืน

ในภาพรวม ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนกำลังพิจารณาถึงทางเลือกที่มีอย่างรอบคอบยิ่งขึ้น ในขณะที่ได้นำวิธีการพิมพ์ที่เน้นความยั่งยืนมาปฏิบัติ เช่น การพิมพ์สองหน้า (38%) และการเข้าร่วมโครงการรีไซเคิลกระดาษ (34%)

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลสำรวจจะชี้ชัดว่าองค์กรต่าง ๆ จะตระหนักเพิ่มขึ้นและตั้งใจดีเกี่ยวกับการพิมพ์ที่ยั่งยืน แต่ยังจำเป็นต้องได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทางปฏิบัติจริงอยู่

เจสเตอร์ ครูซ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายผลิตภัณฑ์องค์กร ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเอปสัน กล่าวว่า “ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราได้เห็นความสนใจต่อความยั่งยืนเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่กล่าวว่าความยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกเครื่องพิมพ์ แต่มีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้นที่ยินดีที่จะจ่ายเงินมากขึ้น เพื่อมาตรการที่ยั่งยืน ทำให้เกิดช่องว่างใหญ่ในเรื่องการปฏิบัติจริง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมก็ยังสามารถเป็นสิ่งที่ดีต่อธุรกิจได้เช่นกัน ข่าวดีก็คือความต้องการเช่นนั้นมีอยู่จริง โดยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามพร้อมจะเปลี่ยนมาใช้เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท แทนที่เครื่องถ่ายเอกสารเลเซอร์อย่างแน่นอน หากได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นทางเลือกที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า”

รายงานดังกล่าวพบอีกว่า ยังมีความเข้าใจผิดในหมู่องค์กรธุรกิจทั่วภูมิภาคนี้ โดยหนึ่งในสาม (34%) ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท ขณะที่มีเพียง 29% ที่เชื่อว่าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า และอีก 29% ไม่แน่ใจในเรื่องนี้

เอปสัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ยกเลิกการจำหน่ายเครื่องพิมพ์เลเซอร์ตั้งแต่สิ้นปี 2566 หลังจากการประกาศยุติการจำหน่ายและจัดจำหน่ายเครื่องพิมพ์เลเซอร์ทั่วโลก และจะมุ่งให้ความสำคัญกับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทเท่านั้น  เนื่องจากเทคโนโลยีเลเซอร์ต้องใช้ความร้อนในกระบวนการพิมพ์ ซึ่งทำให้ใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

“ในสำนักงานปัจจุบัน มีเพียงเครื่องปรับอากาศและไฟส่องสว่างเท่านั้นที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าอุปกรณ์สำนักงาน ในความเป็นจริงแล้ว เครื่องพิมพ์คิดเป็นสัดส่วนถึง 10% ของการใช้พลังงานทั้งหมด การเปลี่ยนจากเครื่องพิมพ์เลเซอร์มาใช้เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทที่มีเทคโนโลยี Heat-Free ของเอปสันจะสามารถลดการใช้พลังงานในการพิมพ์ได้มากถึง 85% การใช้พลังงานที่น้อยลงนี้ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีก” เจสเตอร์ ครูซ กล่าว

“ผู้คนให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการลดการใช้พลังงาน แต่สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือการแสดงให้เห็นว่าประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมเหล่านี้สามารถแปลงเป็นเม็ดเงินได้อย่างไร เอปสันเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่านวัตกรรมสามารถทำให้การดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสภาพอากาศเกิดเป็นความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจได้ อนาคตขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ยั่งยืน และมันดูจะมีแนวโน้มที่สดใส ด้วยปรัชญาในการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ กะทัดรัด และแม่นยำ เอปสันจะยังคงผลักดันความยั่งยืนให้เป็นแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจที่สำคัญต่อไป”

นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร และนางสาวปวีณา ศรีตระกูล หัวหน้าฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาด บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเปิดกิจกรรม “Greenhouse Effect: Plastic Trap Stimulation” หนึ่งใน “From Waste To Worth” แคมเปญเพื่อสังคมประจำปีงบประมาณ 2567 ของบริษัทฯ ที่มุ่งผลักดันประเด็น “การลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากขวดพลาสติก” เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อที่ 12 ขององค์การสหประชาชาติ ว่าด้วยเรื่องของการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะหว่านเมล็ดความยั่งยืนในสังคมไทยด้วยการสร้างจิตสำนึกถึงการลด การรีไซเคิล และการนำขยะขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ ผ่านการสื่อสารภายในและนอกองค์กร

กิจกรรม “Greenhouse Effect: Plastic Trap Stimulation” เป็นกิจกรรมแนว social experiment ที่จำลองภาวะเรือนกระจกที่เกิดขึ้นกับโลก ด้วยเรือนกระจกที่ทำจากขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว 1,400 ขวด ซึ่งจะปล่อยให้แสงแดดผ่านเข้าไปภายใน แต่เก็บกักความร้อนไว้ไม่ให้ระบายออกมาได้อย่างเต็มที่ คล้ายกับวิธีที่ก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ อย่าง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน หรือ ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ทำกับโลก ทำให้อุณหภูมิภายในเรือนเพิ่มสูงขึ้น และร้อนกว่าอากาศภายนอก 1-4 องศาเซลเซียสระหว่างวัน โดยเอปสัน ประเทศไทย ได้นำเรือนกระจกจำลองดังกล่าวไปทำการทดลองกับผู้มาใช้บริการมากกว่า 200 คน ที่สยามสแควร์ ก่อนที่จะย้ายมาที่อาคารปัน ที่ตั้งของบริษัทฯ เพื่อให้พนักงานเอปสัน และผู้ที่สัญจรแถวอาคารปันได้ร่วมกิจกรรม โดยหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมดังกล่าว บริษัทฯ จะนำเรือนกระจกจำลองนี้ไปมอบให้แก่โรงเรียนวัดขุนทิพย์ (สาครราษฎร์บำรุง) อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อใช้ทำเป็นโรงเรือนปลูกผักปลอดสารพิษสำหรับอาหารกลางวันเด็กนักเรียนต่อไป

Page 1 of 18
X

Right Click

No right click