December 22, 2024

 

 

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยผลการสำรวจ ดัชนีชี้วัดนวัตกรรม (Innovation Index) ระบุ 66% ขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 60% และทั่วโลก 57%) เกรงว่าองค์กรของตัวเองอาจตกกระแสได้ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า

เมื่อพิจารณาจากความแข็งแกร่งของวัฒนธรรมการสร้างนวัตกรรมและแผนงานนวัตกรรมในกระบวนการทำงาน (Pipeline) การทำวิจัยเพื่อสำรวจความคิดเห็นทั่วโลกครั้งใหม่นี้ เป็นการทำโพลล์ด้วยการพูดคุยกับพนักงานองค์กรจำนวน 6,600 คนในกว่า 45 ประเทศทั่วโลก เพื่อให้สามารถเห็นภาพที่ชัดเจนว่าเพราะเหตุใดนวัตกรรมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจ และองค์กรธุรกิจเองควรเตรียมความพร้อมของคนทำงาน กระบวนการในการทำงาน และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพอย่างไรได้บ้าง ขณะเดียวกัน รายงานในส่วนของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเกิดจากการทำโพลล์จากการพูดคุยกับพนักงาน 1,700 คนทั้งในประเทศไทย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้

“เทคโนโลยียังคงเป็นแกนหลักที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของแต่ละองค์กร ในการที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถทรานส์ฟอร์มและเติบโต การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของตลาดได้สร้างโอกาสอย่างมหาศาลให้กับธุรกิจต่างๆ และในขณะที่ผลการศึกษาของดัชนีชี้วัดด้านนวัตกรรม หรือ Innovation Index เผยให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจของไทยจัดอยู่ในระดับแนวหน้าในกลุ่มของผู้นำนวัตกรรม (Innovation Leader) เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ภายในภูมิภาค องค์กรส่วนใหญ่ยังคงต้องตัดสินใจว่าในจุดไหนที่ต้องการไปให้ถึงในอนาคตอันใกล้นี้” ฐิตพล บุญประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว “ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจสามารถดำเนินการในรูปแบบนี้ได้ด้วยการปรับเป้าหมายต่างๆ ที่บริษัทมีอยู่ให้สอดคล้องกัน พร้อมทั้งบ่มเพาะวัฒนธรรมของการความอยากรู้และอยากลองด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ผู้คน และกระบวนการรูปแบบต่างๆ”

นวัตกรรมคือสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ

ด้วยการประเมินองค์กร ผู้ตอบแบบสอบถามจะถูกประเมินหรือตรวจสอบโดยการเปรียบเทียบกับมาตรฐาน (Benchmark) เพื่อดูเกณฑ์มาตรฐานความพร้อมด้านนวัตกรรม ตั้งแต่ผู้นำด้านนวัตกรรมไปจนถึงผู้ที่ยังคงล้าหลังด้านนวัตกรรม จากการวิเคราะห์ องค์กรต่างๆ เพียง 31% ในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 17% และทั่วโลก 18%) เท่านั้นที่สามารถกำหนดให้เป็นผู้นำทางนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้ที่นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งาน (Innovation Adopters) องค์กรในกลุ่มนี้มีกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมแบบครบวงจร (End-to-End) และวางตัวเองอยู่ในตำแหน่งที่ดีในการฟันฝ่าอุปสรรคและปัญหาที่มาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ปัญหาซัพพลายเชน ไปจนถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ อีกมากมาย ขณะที่ยังคงเติบโตต่อไป

ในความเป็นจริง 52% ของผู้นำทางนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งาน (Innovation Adopters) ของประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 51% และทั่วโลก 50%) มั่นใจว่าตัวเองสามารถเร่งสร้างนวัตกรรมได้ในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย ซึ่ง “ความยืดหยุ่นของนวัตกรรม” หรือที่เรียกว่า “innovation resilience” นี้ (เช่น ความมุ่งมั่นและความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก) ส่งผลดีให้กับผู้นำทางนวัตกรรม โดย 32% ของผู้นำทางนวัตกรรม และผู้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งานของประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 33% และทั่วโลก 32%) ได้รับประสบการณ์ที่ระดับของรายได้เติบโตเพิ่มขึ้นถึง 15% ในปี 2022 นอกจากนี้ ยังพบความท้าทายที่ลดลงในการรักษาบุคลากรที่มีทักษะด้านไอทีที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนนวัตกรรม ปัจจัยสนับสนุนอีกประการหนึ่งอาจเป็นเพราะ 65% ของผู้นำทางนวัตกรรม และผู้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งานของไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 73% และทั่วโลก 75%) ได้ตอบรับการใช้งานระบบอัตโนมัติอย่างเต็มที่เพื่อสู้กับกระบวนการไอทีทั้งแบบแมนนวลและทั้งใช้เวลายาวนาน เพื่อเร่งการพัฒนานวัตกรรมให้เร็วยิ่งขึ้น

 

ตามที่เส้นกราฟการเติบโตอย่างเต็มที่ของนวัตกรรมแสดงให้เห็น องค์กรธุรกิจในส่วนที่เป็นผู้ล้าหลังด้านนวัตกรรม (Innovation Laggards) และผู้ตามทางนวัตกรรม (Innovation Followers) ยังขาดการกำหนดกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมหรือกำลังพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไรสำหรับกลุ่มที่เป็นผู้ที่กำลังประเมินเพื่อการใช้งานนวัตกรรม (Innovation Evaluators) ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดทางนวัตกรรม (Innovation Index) คือการจับภาพหรือการสรุปภาพรวมของสถานการณ์ได้ทันเวลา องค์กรธุรกิจสามารถพัฒนาปรับปรุงได้ด้วยการพิจารณาถึงบุคลากร กระบวนการทำงาน และการใช้เทคโนโลยีในแบบองค์รวม และสร้างกลยุทธ์นวัตกรรมที่แข็งแกร่งแต่คล่องตัว

นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญบุคลากร

องค์กรธุรกิจต่างต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาวัฒนธรรมนวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับแนวความคิดทุกรูปแบบเพื่อที่จะสามารถสร้างความต่าง อีกทั้งสามารถเรียนรู้ผ่านความผิดพลาด โดยผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า

· 64% ของผู้ตอบแบบสอบถามคนไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 59% และทั่วโลก 59%) เชื่อว่าการที่มีคนลาออกจากบริษัทเกิดจากการที่ไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้มากเท่าที่คาดว่าจะทำได้

· 61% ในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 63% และทั่วโลก 64%) ระบุว่าวัฒนธรรมของบริษัทในด้านต่างๆ คือสิ่งที่สกัดกั้นทำให้ไม่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้มากเท่าที่ต้องการหรือสามารถทำได้

วัฒนธรรมในบริษัทได้ถูกกำหนดและสร้างขึ้นเป็นแบบอย่างโดยผู้นำ แต่ 71% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 73% และทั่วโลก 71%) ระบุว่าผู้นำของตัวเองมีแนวโน้มที่จะชอบความคิดของตัวเองมากกว่า นอกจากนี้ ยังมีการระบุถึงอุปสรรคส่วนบุคคลในอันดับต้นๆ ที่มีต่อการสร้างนวัตกรรมที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด คือความกลัวที่จะความล้มเหลว ไปจนถึงการขาดความมั่นใจในการแบ่งปันความคิดกับผู้นำของตัวเอง

นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญต่อกระบวนการ

ในทำนองเดียวกัน รายงานดัชนีชี้วัดทางนวัตกรรมยังเผยให้เห็นว่าธุรกิจต่างกำลังดิ้นรนที่จะนำเอากระบวนการนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยดาต้าและมีสตรัคเจอร์เข้ามาฝัง (Embed) ไว้ภายในองค์กร เพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนขององค์กร โดยผลการสำรวจสำคัญชี้ให้เห็นว่า

· ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีมากถึง 56% ในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 28% และทั่วโลก 26%) กล่าวว่าความพยายามด้านนวัตกรรมทั้งหมดของพวกเขาขึ้นอยู่กับข้อมูล

· มีเพียง 37% ขององค์กรในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 46% และทั่วโลก 52%) กำลังจัดโครงการนวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัท เป็นไปได้ว่า การขาดกระบวนการและกลยุทธ์นี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่องค์กรต่างๆ พยายามดิ้นรนเพื่อจัดลำดับความสำคัญของนวัตกรรม: อุปสรรคสำคัญต่อนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบต่อทีมคือการไม่มีเวลาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เนื่องจากมีภาระงานล้นหลาม (ประเทศไทย: 36% เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 40% และทั่วโลก 38%)

นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงพลังของเทคโนโลยีในการก่อให้เกิดนวัตกรรมและผลที่ตามมาของการถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยส่วนใหญ่ หรือ 99% ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 84% และทั่วโลก 86%) ต่างกำลังแสวงหาเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้พวกเขาสามารถบรรลุเป้าหมายด้านนวัตกรรม และในทางกลับกัน 49% ขององค์กรในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 58% และทั่วโลก 57%) เชื่อว่าเทคโนโลยีของตัวเองยังไม่ใช่เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและหวั่นเกรงว่าจะถูกทิ้งให้ตามหลังคู่แข่ง

การศึกษามุ่งที่จะสำรวจในรายละเอียดเพื่อดูว่าองค์กรธุรกิจสามารถได้รับผลประโยชน์ และเผชิญกับอุปสรรคใดบ้างจาก 5 เทคโนโลยีหลักที่ถือเป็นตัวกระตุ้น (Catalysts) สำหรับนวัตกรรม อันได้แก่ เทคโนโลยีมัลติ-คลาวด์ เอดจ์ โครงสร้างพื้นฐานโมเดิร์น ดาต้า การทำงานจากทุกที่ที่ต้องการ (Anywhere-work) และการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ และในเกือบทุกภาคส่วน สิ่งที่เป็นอุปสรรคที่ใหญ่ยิ่งที่สุดในการปลดล็อคศักยภาพทางนวัตกรรมนั่นคือความซับซ้อน (Complexity) หากให้ยกตัวอย่าง จะเห็นได้ว่ามีองค์กรธุรกิจในจำนวนที่มากจนเกินไปที่เข้ามาสู่สภาพแวดล้อมแบบมัลติ-คลาวด์โดยบังเอิญ ทำให้เกิดการควบรวมกันของแพลตฟอร์มต่างๆ ด้านคลาวด์ ตลอดจนแอปพลิเคชัน ทูลส์ และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งความซับซ้อนเหล่านี้ก่อให้เกิดต้นทุนทั้งในด้านเวลา เงินลงทุน ไปจนถึงโอกาสอันมีค่าในการสร้างนวัตกรรม

และนี่คือสิ่งที่เป็นหลักฐานที่เด่นชัดของอุปสรรคทางเทคโนโลยีของประเทศไทยที่ส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรมที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด:

1. การต่อสู้กับความซับซ้อนของระบบเอดจ์ที่ปลายทาง

2. การทุ่มเทความพยายามไปกับการเปลี่ยนดาต้าให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกแบบเรียล-ไทม์

3. การขาดกลยุทธ์ด้านการรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจรในแบบองค์รวม

4. ต้นทุนทางด้านคลาวด์ที่เพิ่มสูงขึ้น

5. การที่ผู้คนไม่สามารถทำงานอย่างปลอดภัยได้จากทุกที่ที่ต้องการ

เพื่อให้การสนับสนุนองค์กรต่างๆ ในการเดินทางบนเส้นทางแห่งนวัตกรรม เดลล์ เทคโนโลยีส์พร้อมที่จะแบ่งปัน "บทเรียนเหล่านี้ที่ได้จากผู้ที่เป็น ผู้นำทางนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้ที่นำนวัตกรรมไปใช้งาน (Innovation Leaders)" หาข้อมูลเพิ่มเติมและเข้ามาอ่านรายงานสรุป Executive Summary ได้ที่ www.dell.com/innovationindex

 บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท ผู้นำระดับโลกด้านหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหรือ โคบอท ประกาศจัดงานการประชุมหุ่นยนต์โคบอทที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ประเทศไทย ภายใต้ชื่องาน Collaborate APAC 2022 ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเต็ล อะ ลักชัวรี คอลเลคชั่น โฮเต็ล ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย

แนวคิดของงาน Collaborate APAC 2022 ในปีนี้ คือ "Redefining Automation to Stay Ahead of the Curve" หรือ “การพลิกโฉมระบบอัตโนมัติเพื่อความก้าวหน้ากว่าใคร” ซึ่งการประชุมภายในหนึ่งวันครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับแนวโน้มการผลิตหลังการเกิดโรคระบาดใหญ่ รวมถึงวิวัฒนาการของระบบอัตโนมัติที่กำลังเข้ามาเปลี่ยนอนาคตของการทำงาน นอกจากนี้ยังมีผู้นำในแวดวงอุตสาหกรรมที่จะเข้ามาร่วมแบ่งปันมุมมองของตลาดทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย

"แนวโน้มของการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาปรับใช้ในองค์กรกำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และเราเชื่อว่าไม่น่าจะมีเหตุผลใดที่จะชะลอการเติบโตดังกล่าวได้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในภาคส่วนของระบบอัตโนมัติได้สร้างโอกาสใหม่ให้กับองค์กรธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งเรามีความชัดเจนในเรื่องนี้มาโดยตลอด กล่าวคือเราต้องการสร้างโลกที่คนทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ได้ ไม่ใช่จำกัดเฉพาะแค่หุ่นยนต์เพียงอย่างเดียว หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานสามารถให้การสนับสนุน เสริมสร้างกำลังการผลิต และอยู่ร่วมกับแรงงานที่เป็นมนุษย์ได้อย่างเหมาะสมโดยที่ไม่ได้เข้ามาแทนที่มนุษย์แต่อย่างใด" มาเธียส วิกลันด์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ (ซีซีโอ) บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท กล่าว

ทั้งนี้ บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท จะจัดแสดงรูปแบบการใช้งานโคบอทจากยูอาร์พลัส ซึ่งเป็นระบบนิเวศของพันธมิตรและผู้รวมระบบเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรอง พร้อมด้วยผลิตภัณฑ์และโซลูชันต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อผสานรวมเข้ากับหุ่นยนต์ได้อย่างราบรื่น เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะบรรดาผู้เข้าร่วมงานจะมีโอกาสได้สัมผัสแนวคิดและแนวทางใหม่เกี่ยวกับระบบอัตโนมัติที่เกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์อันสมบูรณ์แบบ ทั้งยังรับทราบถึงรายละเอียดเชิงลึกของความสำเร็จในการใช้งานโคบอทสำหรับสายงานด้านการประกอบชิ้นส่วน การจ่ายหรือหยอดของเหลว การขัดเงาพื้นผิว การทำงานร่วมกับเครื่องจักร การจัดการวัสดุ การกำจัดวัสดุ การตรวจสอบคุณภาพ การวางพาเลท การเชื่อม และอื่นๆ อีกมากมาย ภายในงานยังจัดแสดงให้เห็นประโยชน์ที่สำคัญของโคบอทผ่านการสาธิตแบบสดๆ เพื่ออธิบายให้เห็นภาพอย่างชัดเจนว่า ธุรกิจต่างๆ สามารถนำระบบอัตโนมัติไปใช้งานอย่างง่ายดายได้อย่างไร นอกจากนี้ยังจะมีการเปิดตัวโคบอท UR20 รุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกที่งาน Collaborate APAC 2022 ด้วย ซึ่งผู้เข้าร่วมงานจะได้สัมผัสกับประสบการณ์ตรงของโคบอท UR20 ในการขนถ่ายชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากเข้าและออกจากระบบจับยึดของเครื่องจักร

"สำหรับในปีนี้เรามีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 200 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอำนาจในการตัดสินใจขององค์กรต่างๆ ผู้มีอิทธิพลในแวดวง ผู้ใช้งานโคบอท และพันธมิตรในระบบนิเวศยูอาร์พลัสของเรา ที่พร้อมเข้าร่วมการอภิปรายเกี่ยวกับระบบอัตโนมัติโดยเฉพาะ เรามีผู้เชี่ยวชาญที่จะมาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการผลิตที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบริษัทและสำรวจความเป็นไปได้ในการนำโคบอทไปใช้งาน โดยเราจะจัดแสดงโคบอท UR20 ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ ซึ่งเป็นโคบอท ยูอาร์ เจเนอเรชันถัดไปที่สามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้ถึง 20 กก. อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ผู้เข้าร่วมงานสามารถรับชมการสาธิตนวัตกรรมของเรา รวมถึงโคบอท ยูอาร์ 20 รุ่นล่าสุดแบบสดๆ ได้ภายในงาน" วิกลันด์ กล่าว

สำหรับผู้สนใจสามารถลงทะเบียนฟรีได้ที่เว็บไซต์  https://www.universal-robots.com/seao/collaborate-apac-confernce/

ผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ร่วมจัดแสดงภายในงาน

บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท ได้สร้างระบบนิเวศที่ครอบคลุมและเปิดกว้างให้องค์กรธุรกิจอิสระต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างง่ายดายผ่านทางนวัตกรรม โดยระบบนิเวศของบริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท ประกอบไปด้วย ยูอาร์พลัส, เครือข่ายตัวแทนจำหน่ายของเรา, ผู้รวมระบบเทคโนโลยีที่ผ่านการรับรอง และผู้ผลิตอุปกรณ์ดั้งเดิม (OEM) ทั้งนี้ภายในงานประชุม Collaborate APAC 2022 จะมีการนำเสนอส่วนประกอบต่างๆ, กริปเปอร์, ซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์เสริมด้านความปลอดภัยที่สามารถผสานรวมเข้ากับโคบอทของยูอาร์ ได้อย่างราบรื่น ผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่จัดแสดงมีดังนี้:

• Baumer XF900 with VeriSens: เซ็นเซอร์ตรวจจับด้วยภาพพร้อมระบบออปติกแบบในตัวที่จะเข้ามาช่วยลดเวลาในการปรับเทียบด้วยมือและตาด้วยตนเอง ทำให้การปรับใช้งานระบบมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น

• Impaqt Robotics Pneumagiq PQ90: อินเทอร์เฟซสำหรับกริปเปอร์ระบบนิวเมติกอเนกประสงค์ที่สามารถสั่งงานกริปเปอร์สองชุดได้พร้อมกันทันทีเมื่อต่อเข้ากับระบบ

• Mech-Mind 3D vision: โซลูชันที่พร้อมรองรับการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงการหยิบถัง การทำงานร่วมกับเครื่องจักร การจัดวางพาเลท การประกอบชิ้นส่วน และอื่นๆ อีกมากมาย

• Mirka Airos: เครื่องขัดไฟฟ้าอัจฉริยะเครื่องแรกสำหรับหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ซึ่งได้รับการออกแบบทางวิศวกรรมให้สามารถประกอบได้ง่ายและตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างหลากหลาย

• Nordbo Robotics Mimic Kit: แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ที่ใช้งานง่ายซึ่งจะทำหน้าที่เก็บบันทึกและถ่ายโอนการเคลื่อนไหวของมือคนไปให้กับหุ่นยนต์ผ่านการสาธิต

• ซอฟต์แวร์ OnRobot D:PLOY: แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์อัตโนมัติชุดแรกของอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้งานร่วมกับหุ่นยนต์เป็นหลัก ซึ่งซอฟต์แวร์นี้จะสร้างลอจิกของโปรแกรมทั้งหมดโดยอัตโนมัติ รวมถึงการแลกเปลี่ยนสัญญาณ การจัดการเหตุการณ์ การวางแผนเส้นทาง และการตรวจสอบแบบเรียลไทม์

• ชุดแอพพลิเคชั่น Schunk MTB : ชุดแอพพลิเคชั่น MTB จะช่วยให้การปรับใช้ระบบโหลดของเครื่องจักรแบบอัตโนมัติดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

• SICK Microscan3: เครื่องสแกนเลเซอร์เพื่อความปลอดภัยที่ทำหน้าที่ช่วยปกป้องดูแลการปฏิบัติงานใน ส่วนต่างๆ โดยมีให้เลือกทั้งแบบติดตั้งอยู่กับที่ไปจนถึงแบบพกพา รวมถึงในรุ่นพื้นฐานไปจนถึงรุ่นที่มีความซับซ้อนสูง

• SICK PLOC2D: ระบบเซ็นเซอร์ที่ใช้งานง่ายสำหรับติดตั้งกับฮาร์ดแวร์ประมวลผลภาพคุณภาพสูงสำหรับนำไปใช้ร่วมกับอัลกอริธึมการระบุตำแหน่งของหุ่นยนต์ว่าที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ

โปรแกรมการประชุม

บรรดาผู้เชี่ยวชาญจากแวดวงอุตสาหกรรมจะมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ผ่านการนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจอย่างหลากหลาย ซึ่งจะดำเนินการเป็นภาษาอังกฤษและมีบริการแปลเป็นภาษาไทยให้ด้วยพร้อมกัน ผู้เข้าร่วมงานสามารถรับฟังเรื่องราวเกี่ยวกับการนำไปใช้งาน ซักถามข้อสงสัย และเตรียมพร้อมรับข้อมูลเชิงลึกอันเป็นประโยชน์ของโคบอทที่มีต่อธุรกิจได้โดยตรง

 

มาเธียส วิกลันด์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท จะเป็นผู้เปิดการประชุมพร้อมกล่าวเปิดงาน

โดยภายในงานจะอัดแน่นไปด้วยเหล่าวิทยากรผู้มีประสบการณ์และหัวข้อการอภิปรายกลุ่มที่มีให้เลือกรับฟังอย่างมากมาย:

• ปาฐกถาพิเศษ: Future of Automation (อนาคตของระบบอัตโนมัติ) โดย "นีลส์ เฮนิช" (Niels Haenisch) พันธมิตรของเราจากบริษัท บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (Boston Consulting Group) ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายศูนย์นวัตกรรมดานการปฏิบัติงาน ประเทศสิงคโปร์

• Redefining Automation with UR20 (นิยามใหม่ของระบบอัตโนมัติด้วย UR20) โดย "ลาร์ส บัค" (Lars Bach) หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านแขนโคบอท บริษัท ยูนิเวอร์ซัท โรบอท

• D:PLOY – Shaping the Future of Robotic Automation (D:PLOY – พลิกโฉมอนาคตของหุ่นยนต์อัตโนมัติ) โดย "เจมส์ เทย์เลอร์" (James Taylor) ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ออนโรบอท (OnRobot)

• Mirka® AIROS - The Perfect Robotic Sanding & Polishing Solution (Mirka® AIROS - โซลูชันการขัดกระดาษทรายและการขัดเงาด้วยระบบหุ่นยนต์ที่สมบูรณ์แบบ) โดย "มาโนช โซนี" (Manoj Soni) กรรมการผู้จัดการและผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท เมอร์กา (Mirka)

• Let's MOVE: Combination of Clamping Technology (CT) and Gripping System (GS) portfolio (ก้าวไปข้างหน้า: การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการหนีบยึด (Clamping Technology: (CT) และระบบจับยึด (Gripping System: GS) โดย "วินเซนต์ เตียว" (Vincent Teo) ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ชุ้งค์ (SCHUNK)

• Why is VeriSens® so unique for use with Universal Robots? (เหตุใด VeriSens® จึงมีความโดดเด่นอย่างมากเมื่อนำไปใช้ร่วมกับหุ่นยนต์ของยูนิเวอร์ซัล โรบอท) โดย "วิภาต ยอดวัลลภ" (Wipart Yodwanlop) ผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศไทย บริษัท เบาเมอร์ (Baumer)

• การอภิปรายกลุ่ม: Is the Four-Day Manufacturing Week a Reality in Asia? (สัปดาห์การผลิตสี่วันเป็นจริงได้หรือไม่ในเอเชีย)

• พิธีกร: ดร. หยอง เช ฝาย (Yeong Che Fai) รองศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมาเลเซีย

• รายชื่อผู้ร่วมอภิปราย:

• วัชรพงษ์ โลกนิยม (Watcharaphong Lokniyom) กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฟิร์สเม็ค (FERSMEK)

• บาลาจี โคเนรู (Balaji Koneru) ผู้จัดการทั่วไป บริษัท นาลา โรโบติกส์ (Nala Robotics)

• ดร.ประพิณ อภินรเศรษฐ์ (Dr Prapin Abhinorasaeth) นายกสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์

• ลาร์ส บัค (Lars Bach) หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาแขนโคบอต บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท

• Sensor Technology - Forming the Robot Ecosystem to increase productivity (เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ - การสร้างระบบนิเวศของหุ่นยนต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต) โดย "โยฮัน เอง" (Jhohan Ng) รองหัวหน้าฝ่ายการจัดการผลิตภัณฑ์ตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท ซิค พีทีอี จำกัด (SICK Pte Ltd)

• Unlock extra power of UR with Mimic (ปลดล็อกขุมพลังพิเศษของ UR ด้วย Mimic) โดย "ลิซา มารี แบกจ์" (Lisa Marie Bagge) ผู้อำนวยการฝ่ายขายสำหรับช่องทางจำหน่ายประจำภูมิภาคเนลักซ์ ยุโรปตะวันออก และเอเชียแปซิฟิก บริษัท นอร์ดโบ โรโบติกส์ (Nordbo Robotics)

• Empowering Robots with 3D Vision and AI (เสริมพลังหุ่นยนต์ด้วยเทคโนโลยี 3D Vision และ AI) โดย "บรู๊ค โซว" (Brook Zou) ผู้จัดการประจำประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย บริษัท เมค-มายด์ โรโบติกส์ (Mech-Mind Robotics)

• Accelerate Universal Robots Machine Tending with pneumagiQ (เดินหน้าผลักดันระบบหุ่นยนต์ร่วมทำงานกับเครื่องจักรของยูนิเวอร์ซัล โรบอทด้วย pneumagiQ) โดย "อนัจ บิฮานี่" (Anuj Bihani) ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (ซีอีโอ) บริษัท อิมแพค โรโบติกส์ (Impaqt Robotics)

เกี่ยวกับยูนิเวอร์ซัล โรบอท

บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานโดยใช้แพลตฟอร์มหุ่นยนต์ระดับแนวหน้า นับตั้งแต่เปิดตัวหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหรือที่เรียกว่า "โคบอท" (Cobot) ที่ใช้งานได้เชิงพาณิชย์ตัวแรกของโลกในปี พ.ศ. 2551 บริษัทก็ได้พัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกสู่ตลาด ได้แก่ UR3e, UR5e, UR10e UR16e และ UR20 เพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านระยะการเอื้อมถึงและการรับน้ำหนักโดยเฉพาะโคบอทแต่ละรุ่นมาพร้อมกริปเปอร์ (หรืออุปกรณ์ที่ติดอยู่ที่บริเวณปลายแขนหุ่นยนต์) ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์เสริม และชุดแอพพลิเคชั่นมากมายที่ได้รับการพัฒนาขึ้นภายในระบบนิเวศยูอาร์ พลัส ทำให้โคบอทพร้อมรองรับอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งหมายความว่าสามารถนำโคบอทไปใช้ในงานต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย

บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท เป็นธุรกิจในเครือของบริษัท เทราดีน อิงค์ (Teradyne Inc.) มีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่เมืองโอเดนเซ ประเทศเดนมาร์ก และมีสำนักงานในประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี สาธารณรัฐเช็ก โรมาเนีย ตุรกี จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และเม็กซิโก ทั้งนี้ บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท ได้ดำเนินการติดตั้งโคบอทไปแล้วกว่า 50,000 ตัวทั่วโลก

 

X

Right Click

No right click