December 23, 2024

ในเดือนตุลาคม 2564 Facebook ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Meta และประกาศว่าบริษัทจะมุ่งพัฒนาเมตาเวิร์ส

*หากเรามองย้อนกลับไปในช่วงเวลานับตั้งแต่การประกาศของ Meta เราจะเจอคำถามบางอย่างที่น่าสนใจ เกิดอะไรขึ้นกับเมตาเวิร์สในช่วง 12 เดือน ที่ผ่านมา และเมตาเวิร์สเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคและแบรนด์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไร?

*หลายคนอาจสังเกตได้ว่าการพูดคุยเกี่ยวกับเมตาเวิร์สนั้นเริ่มเงียบหายไปอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่ช่วงที่เมตาเวิร์สมีความนิยมสูงสุดในเดือนตุลาคม 2564 ข้อมูลจาก Google Trends ช่วยยืนยันถึงความเปลี่ยนแปลงนี้

*นอกจากการตลาดเชิงรุก และพาดหัวข่าวที่รายงานเกี่ยวกับเงินจำนวนมหาศาลที่ได้จากการซื้อขายศิลปะดิจิทัลที่ไม่มีใครเข้าใจ สิ่งที่ทำให้เมตาเวิร์สสามารถดึงดูดความสนใจได้จากผู้คนมากมายในช่วงแรก คือการที่เราคิดว่าเทคโนโลยีได้พัฒนามาจนถึงจุดทีการใช้ชีวิตในโลกเสมือนจริงนั้นเป็นไปได้

*โควิด-19 ยังช่วยเร่งให้ผู้บริโภคใช้ชีวิตประจำวันในด้านต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ โดยมีตัวบ่งชี้เช่นความนิยมและการพัฒนาของวงการเกม และการที่ดิจิทัลเริ่มมีความสำคัญในการทำงาน การเรียน การออกเดต และการช้อปปิ้ง และความก้าวหน้าของเหรียญดิจิทัล เครื่องเล่น VR และความเร็วอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น เริ่มช่วยแก้ปัญหาความท้าทายของการใช้ชีวิตแบบดิจิทัล

*แต่น่าเสียดายที่เมตาเวิร์สไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้ใช้ และไม่สามารถทำตามคำสัญญาถึงบทบาทในชีวิตแบบดิจิทัลที่ยังเป็นสิ่งใหม่และท้าทายอยู่

เมตาเวิร์สคืออะไร

เมตาเวิร์สได้รับคำนิยามว่าเป็นส่วนขยายดิจิทัลของโลกแห่งความจริง เป็นส่วนหนึ่งของโลกอินเทอร์เน็ตในอนาคต

เมตาเวิร์สคือพื้นที่เสมือนที่ผู้ใช้สามารถตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้คนอื่น ๆ ซึ่งเป็นการจำลองการมีปฏิสัมพันธ์ในโลกแห่งความจริงมาไว้ในโลกออนไลน์

หากเราลองมองถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยี โลกอินเทอร์เน็ตในอนาคตอาจเป็นโลกแบบไร้หน้าจอ ชีวิตของทุกคนจะเชื่อมต่อ ดำดิ่ง และซ้อนทับกับโลกดิจิทัล ผ่านการใช้เทคโนโลยี AR และ VR ลองนึกถึงการพิมพ์คีย์บอร์ดบนอากาศที่มีแต่คุณเท่านั้นที่มองเห็นผ่านสมาร์ตคอนแทคเลนส์ แทนที่จะเป็นผู้ไลฟ์สตรีมคอนเสิร์ต ก็สามารถเข้าไปร่วมสัมผัสบรรยากาศจริงพร้อมผู้ชมคนอื่น ๆ ในรูปแบบดิจิทัล หากเราพูดถึงการดำดิ่งสู่ดิจิทัล ลองนึกถึงการอยู่ในโลกเสมือนในมุมมองบุคคลที่หนึ่ง หันไปทางซ้าย คุณจะเห็นอวาตาร์ของเพื่อนของคุณกำลังหาตั๋ว NFT ในกระเป๋ากางเกงของเขา เมื่อมองไปทางขวา คุณจะเห็นว่ามีคลับเสมือนจริงเปิดใหม่ที่มาแทนที่พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงที่เคยเป็นที่โปรดของคุณมาก่อน

ทำไมเมตาเวิร์สถึงยังไม่เหมาะกับแบรนด์ - ในตอนนี้ ?

เท่าที่ผ่านมา ‘เมตาเวิร์ส’ ส่วนใหญ่ที่แบรนด์นำเสนอนั้นไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นเมตาเวิร์สได้เต็มปากเต็มคำ ฟีเจอร์เหล่านี้ได้ออกแบบมาให้ใช้งานผ่านเบราว์เซอร์หรือสมาร์ตโฟน และมีรูปแบบการใช้งานที่จำกัด อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความพยายามที่น่าชื่นชมในการสร้างประสบการณ์ดิจิทัลใหม่ ๆ เพื่อมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคและยังช่วยนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับเมตาเวิร์สไปยังผู้คนในวงกว้างอีกด้วย

แต่นี่ก็ไม่ได้หมายความว่าเมตาเวิร์ส (ตามคำนิยามที่ให้ไว้) นั้นไม่มีอยู่จริง แต่มีผู้คนเพียงจำนวนน้อยมากที่เข้าถึงการใช้งาน หากต้องการดึงดูดผู้ใช้เพิ่มขึ้นและกลายเป็นวิธีหลักที่ผู้คนใช้โต้ตอบกับโลกดิจิทัล เมตาเวิร์สต้องได้รับการพัฒนาให้เข้าถึงง่ายและน่าสนใจกว่าเดิมอย่างมาก

การพัฒนาอย่างแรกคือการปรับปรุงประสบการณ์เสมือนจริงให้ดีขึ้นอย่างชัดเจน เครื่องเล่น VR ยังมีราคาสูง และมันเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าสู่โลกเมตาเวิร์สอย่างแท้จริง และรู้สึกถึงการมีตัวตนของตนเองเมื่อตอบโต้กับพื้นที่เสมือน ถึงแม้ราคาอาจไม่เป็นอุปสรรคสำหรับบางคน แต่เราจะเข้าสู่โลกเมตาเวิร์สไปทำไมในเมื่อมันไม่มีความน่าอยู่เลย

การควบคุม VR ยังไม่ใช่สิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย และการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้เนื่องจากการตอบสนองของการเคลื่อนไหวและรูปภาพที่ไม่เท่ากัน ผู้ใช้ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยรู้เรื่องเมตาเวิร์สมาก่อนอาจพบว่าตนได้เข้าไปอยู่ในโลกว่างเปล่าที่ไม่มีอะไรให้ทำ หรือไม่มีผู้ใช้คนอื่นให้คุยด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับตัวละครในวิดีโอเกมในปัจจุบัน อวาตาร์ใน Horizon ของ Meta หรือใน VRChat ยังเป็นบล็อก ๆ และไม่ชัดเจน แม้จะมีการถกเถียงว่าอวาตาร์เหล่านี้ไม่ต้องการความสมจริงขั้นสูงเพื่อดึงดูดผู้ใช้ แต่ก็เห็นได้ชัดว่าความลื่นไหลและการแสดงออกนั้นต้องการการปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม เรา สามารถแก้ไขข้อบกพร่องทางเทคโนโลยีได้ ยิ่งมีการทุ่มเงินทุนจำนวนเป็นพัน ๆ ล้าน และใช้บุคลากรทางเทคโนโลยีที่เก่งที่สุดในการพัฒนาเมตาเวิร์ส อุปกรณ์จะเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และประสบการณ์เสมือนจริงจะได้รับการพัฒนาไปอีกหลายระดับ แต่เราไม่สามารถบอกได้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในอีก 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปี ผู้พัฒนาเกมอาจจะเป็นผู้ที่พัฒนาเมตาเวิร์สเพื่อมอบประสบการณ์ที่สมจริงมากกว่าเดิมให้กับผู้ใช้ ด้วยการเพิ่มความเป็นไปได้ของสิ่งที่สามารถทำได้ และการนำประสบการณ์ดิจิทัลมารวมเข้ากับตัวละครที่คุ้นเคยและกลไกต่าง ๆ ของโลก

เกมออนไลน์ที่มีผู้เล่นจำนวนมาก (MMO – Massive Multiplayer Online) ที่โด่งดังในปัจจุบัน เช่น Fortnite และ Roblox ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้เยอะกว่ามาก หากเทียบกับเมตาเวิร์ส น่าจะเป็นผู้ที่นำเสนอประสบการณ์ VR (ซึ่ง Fortnite ได้เผยให้เรารู้บ้างแล้ว) แต่ก็จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อพวกเขาสามารถมอบประสบการณ์ที่ตรงตามความต้องการของกลุ่มผู้เล่นขนาดใหญ่ที่มีเสียงที่ดังและมีอำนาจในการชักจูงสูง

ความน่าตื่นเต้นของเมตาเวิร์ส เพียงพอสำหรับผู้บริโภคหรือไม่?

ในการเพิ่มการมีส่วนร่วม เมตาเวิร์สจำเป็นต้องเพิ่มความน่าสนใจมากขึ้น โดยตามความจริงนั้น มนุษย์ไม่สามารถกินอาหารในเมตาเวิร์ส (แม้ว่าจะสามารถจำลองประสบการณ์ทางสังคมของการดินเนอร์ได้) และคอนเสิร์ตที่จัดขึ้นในโลกแห่งความจริงจะมีพลังมากกว่าเสมอ ถึงแม้ผู้บริโภคจะสามารถลองชุดแบบดิจิทัลได้ แต่ทำไมพวกเขาต้องทำแบบนั้น ในเมื่อพวกเขาสามารถเดินทางไปร้านเสื้อจริง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงได้

หากว่ากันตามทฤษฎี เมตาเวิร์สสามารถแทนที่โลกแห่งความจริงได้ และจะเกิดการใช้งานที่เป็นประโยชน์ เช่น การทดสอบเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับ การฝึกอาชีพ การวางผังเมือง การจำลองผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และการรับการบำบัดหรือการรักษาทางการแพทย์

ตามทฤษฎีแล้ว เมตาเวิร์สเป็นพื้นที่แห่งความเป็นไปได้ที่ไร้ขีดจำกัด และแบรนด์ที่กำลังมองหาโอกาสกับเมตาเวิร์สควรนำความเป็นไปได้เหล่านี้มาใช้ การสร้างเรื่องราว จินตนาการ ประวัติศาสตร์ หรือการสร้างอนาคต รวมถึงการปรับเปลี่ยนกฎแห่งฟิสิกส์ หรือการให้ผู้ใช้ได้ท่องโลกในร่างของแมว สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างของสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในชีวิตจริง แต่เมตาเวิร์สสามารถทำให้กลายเป็นจริงได้

อย่างไรก็ตาม หากโลกของเราไม่ได้เป็นโลกที่ใช้ชีวิตไม่ได้แบบที่มนุษย์ต้องอยู่แต่ในบ้านตลอดเวลา จะมีผู้ที่ตื่นเต้นกับการได้สัมผัสกับสถานที่ที่มีอยู่แล้วในโลกความเป็นจริง ในเวอร์ชันดิจิทัลมากเพียงใด

ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นผู้ใช้หลักของเมตาเวิร์สหรือไม่?

ข้อมูลจากงานวิจัยผู้บริโภคทั่วโลกของ มินเทล ชี้ว่าผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 2 ใน 3 คน (64%) บอกว่าพวกเขาสนใจลองทำสิ่งที่พวกเขาไม่กล้าทำในโลกจริงในโลกเมตาเวิร์ส นอกจากนี้ หากเทียบกับค่ากลางของผู้บริโภคทั่วโลก (45%) ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเข้าใจเกี่ยวกับเมตาเวิร์สมากกว่า โดย 62% บอกว่าพวกเขาเคยได้ยินเกี่ยวกับเมตาเวิร์สและมีความรู้เกี่ยวกับเมตาเวิร์สเล็กน้อยเป็นอย่างต่ำ

งานวิจัยผู้บริโภคทั่วโลกของ มินเทล ยังแสดงให้เห็นว่าในปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ใช้ NFT จำนวนมากที่สุดในโลก (ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NFT ได้ในพอดคาสต์ของมินเทล Episode นี้) ผู้บริโภคในประเทศฟิลิปปินส์ใช้เวลา 4 ชั่วโมง ต่อวัน ในการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กในปี 2564 และ 90% ของผู้บริโภคในประเทศอินโดนีเซียที่มีสมาร์ตโฟนเคยเล่นเกมบนสมาร์ตโฟนในช่วง 3 เดือน ก่อนเดือนสิงหาคม 2565

ปัจจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความสนใจของผู้บริโภคในการใช้งานเมตาเวิร์ส หากเมตาเวิร์สเข้าถึงง่ายและมีความน่าสนใจต่อพวกเขา ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายคนมีความสนใจในแพลตฟอร์มดิจิทัล เทคโนโลยี และโอกาสต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นเพราะโลกดิจิทัลในปัจจุบันนั้นมีความสนุก ตื่นเต้น และเต็มไปด้วยความเป็นไปได้มากมาย ภูมิภาคนี้มีความสนใจในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและการเรียนรู้ทักษะเทคโนโลยี เพราะทั้งผู้คน สตาร์ตอัป และประเทศต่าง ๆ กำลังเตรียมตัวเพื่อความสำเร็จในโลกดิจิทัลแห่งอนาคต นักพัฒนา นักออกแบบ นักสร้างสรรค์ และนักคิดหลายคนกำลังร่วมมือกับรัฐบาลเพื่อทดลองเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเสมือนจริงและการพัฒนาอื่น ๆ ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการใช้งานเมตาเวิร์สได้แก่ สกุลเงินท้องถิ่นที่ไม่มีเสถียรภาพ (หรืออ่อนค่า) และการที่ผู้คนบางกลุ่มในสังคมไม่สามารถแสดงออกได้อย่างอิสระ

หากแบรนด์ยังไม่แน่ใจว่าจะรับบทบาทใดในโลกเมตาเวิร์ส หรือไม่แน่ใจว่าตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ แบรนด์สามารถคลายความกังวลได้เพราะเมตาเวิร์สยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา และช่วงเวลานี้ยังมีโอกาสอีกมากมายให้แบรนด์ทดลอง แบรนด์สามารถใช้เกม ความบันเทิง และวัฒนธรรมประชานิยม (ป็อปคัลเจอร์) เพื่อทำความเข้าใจองค์ประกอบต่าง ๆ ดึงดูดผู้บริโภคและสร้างความตื่นเต้นให้กับพวกเขา และใช้ความรู้ใหม่ ๆ เหล่านี้ในการวางแผนงานทั้งขนาดเล็กและใหญ่สำหรับการใช้งานเมตาเวิร์ส

บทความ   Joey  Khong

 

ผลการศึกษาซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Respiratory Medicine แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของ Evusheld ในการรักษาโรคโควิด-19 สำหรับกลุ่มผู้ป่วยนอกที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง  

เซอร์ เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านยาชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals) ของแอสตราเซนเนก้า กล่าวว่า “ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Respiratory Medicine เป็นอีกหนึ่งข้อมูลสนับสนุนการใช้ Evusheld เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องการการป้องกันโรคโควิด-19 มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งขณะนี้ได้มีการหารือเกี่ยวกับข้อมูลจากการศึกษานี้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีการยื่นพิจารณาการขึ้นทะเบียนยาในข้อบ่งชี้ทั้งในทางการรักษาและการป้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อสู้กับโรคโควิด-19 ในทุกๆด้าน” 

นอกจากนี้ ในรายงานผลลัพธ์รอง (secondary endpoint) Evusheld ยังสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหายใจล้มเหลว ได้ถึง 72% (95% ช่วงความเชื่อมั่น (CI) 0.3, 92; nominal p=0·036) โดยมีผู้รับ Evusheld 3 คน (0.7%) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก 11 คน (3%) ที่ต้องอาศัยการรักษาด้วยเครื่องมืออื่นๆ อาทิ เครื่องช่วยหายใจ หรือเครื่องหัวใจ-ปอดเทียมแบบเคลื่อนย้าย (ECMO)1. 

จากการศึกษาแท็คเคิล Evusheld มีผลข้างเคียงที่ยอมรับได้ดี โดยพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (AEs) ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกมากกว่ายา Evusheld (36% และ 29% ตามลำดับ) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบได้คือภาวะปอดอักเสบในผู้ป่วยโรคโควิด-19  ซึ่งเกิดขึ้นในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก 49 คน (11%) และในกลุ่มที่ได้รับ Evusheld 26 คน (6%) สำหรับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระดับรุนแรงนั้นเกิดขึ้นในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก 12% และในกลุ่มที่ได้รับ Evusheld1 7%   โดยมีรายงานผู้เสียชีวิต 6 รายในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และ 3 รายในกลุ่มที่ได้รับ Evusheld1 

TACKLE 

ก่อนหน้านี้ทางแอสตร้าเซนเนก้าได้ประกาศผลลัพธ์เบื้องต้นที่ดีจากการทดลองแท็คเคิล (TACKLE) การศึกษาระยะที่ 3 เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง 

Evusheld

Evusheld เดิมชื่อ AZD7442 คือ แอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว (Long-acting Antibody - LAAB) ที่ผสมยา LAAB สองชนิด ได้แก่ tixagevimab (AZD8895) และ cilgavimab (AZD1061) ซึ่งมาจากบีเซลล์ที่ได้รับการบริจาคจากผู้ที่เคยป่วยจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งถูกค้นพบโดยศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิวท์ และได้อนุญาตให้แอสตร้าเซนเนก้านำมาพัฒนาต่อเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2563 โมโนโคลนอลแอนติบอดีของมนุษย์ 2 ตัวนี้จะมีความจำเพาะที่ต่างกัน เพื่อจับกับโปรตีนหนามของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือ SARS-CoV-27 ในคนละจุด2 และถูกพัฒนาต่อโดยแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อขยายระยะเวลาครึ่งชีวิต(half-life) เพื่อเพิ่มความยืนยาวของแอนติบอดี้ และปรับให้มีการจับกันของ Fc Receptor และ Complement ชนิด C1q ที่ลดลง3 10 โดยการขยาย half-life นั้น สามารถเพิ่มความยืนยาวของแอนติบอดี้ได้มากกว่าสามเท่าเมื่อเทียบกับแอนติบอดี้ทั่วไป4-6 จากข้อมูลของการทดลองในระยะที่ 3 แสดงให้เห็นว่าระดับของแอนติบอดีที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจํานวนของไวรัส (neutralizing antibody) คงอยู่ได้เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน7และการปรับให้มีการจับของ Fc Receptor ที่ลดลงนั้นสามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะ antibody-dependent enhancement (ADE) ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่แอนติบอดี้ของเชื้อไวรัสเข้าไปกระตุ้นแทนที่จะยับยั้งการติดเชื้อ8 

มีหลักฐานค้นคว้าในหลอดทดลองและการทดลองในสิ่งมีชีวิต (แบบใช้สัตว์) ที่แสดงให้เห็นว่ายา Evusheld สามารถป้องกันการติดเชื้อจากสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน และสายพันธุ์ที่เป็นกังวลทั้งหมดที่ได้รับการทดสอบจนถึงตอนนี้9-13 จากการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ยังยืนยันถึงประสิทธิภาพของ Evusheld ในการลบล้างฤทธิ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ย่อย BA.2 ซึ่งปัจจุบันเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดทั่วโลก9-14 และผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า Evusheld ลดปริมาณเชื้อไวรัสและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อในปอดต่อทุกสายพันธุ์ย่อยของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอน BA.1, BA.1.1 และ BA.29  การศึกษาพรีคลินิกครั้งใหม่จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด พบว่า Evusheld ลบล้างฤทธิ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอน BA.4 และ BA.513 ได้ไม่ต่างกัน 

ยา Evusheld ที่กำลังพัฒนาอยู่นี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงเงินทุนจากหน่วยงานด้านสุขภาพและบริการมนุษย์ของสหรัฐฯ  ภายใต้การกำกับดูแลของ Office of the Assistant Secretary for Preparedness and Response และ Biomedical Advanced Research and Development Authority ภายใต้ความร่วมมือกับกระทรวงกลาโหม และ Joint Program Executive Office for Chemical, Biological, Radiological and Nuclear Defense ภายใต้สัญญาหมายเลข W911QY-21-9-0001 

ภายใต้ข้อตกลงกับแวนเดอร์บิวท์ แอสตร้าเซนเนก้าจะจ่ายส่วนแบ่งค่าสิทธิจากยอดขายในอนาคต 

 

กว่า 60 ปี ของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)  ในการดำเนินธุรกิจด้านพลังงาน และเป็นโรงกลั่นที่มีประสิทธิภาพแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีธุรกิจหลักคือธุรกิจการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง และต่อยอดไปสู่ธุรกิจปิโตรเคมี น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน การผลิตไฟฟ้า รวมถึงการจัดจำหน่ายเคมีภัณฑ์ประเภทสารทำละลาย และการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ภายใต้วิสัยทัศน์ “Empowering Human Life Through Sustainable Energy and Chemicals สร้างสรรค์คุณภาพชีวิตด้วยพลังงานและเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน” ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งองค์กรไทยที่ดึงดูดคนรุ่นใหม่ ๆ ให้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอย่างต่อเนื่อง

ไทยออยล์ถือเป็นองค์กรที่ได้รวบรวมบุคลากรที่มีความสามารถหลากหลายแขนง ตั้งแต่ระดับพนักงาน ไปจนถึงระดับผู้บริหาร โดยการมีบุคลากรที่มีคุณภาพถือเป็นกุญแจดอกสำคัญแห่งความสำเร็จของการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศมาโดยตลอด สืบเนื่องจากการสั่งสมประสบการณ์และองค์ความรู้กว่า 6 ทศวรรษ นำมาสู่การพัฒนาและสร้าง “คน” ของไทยออยล์ให้มีพลัง ความสามารถ และดึงศักยภาพเพื่อสร้างผลผลิตได้อย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมองค์กรที่สะท้อนถึงวิถีการทำงานตามแบบฉบับคนไทยออยล์ ผ่านการปลูกฝังวัฒนธรรมการทำงานจากรุ่นสู่รุ่น การสอนงานและการถ่ายทอดความรู้จากหัวหน้าสู่ลูกน้อง การพัฒนาศักยภาพด้วยการส่งเสริมความรู้ในหลากหลายมิติ รวมถึงการจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานที่ดี

ซึ่งภายในองค์กรของไทยออยล์ มีวัฒนธรรมการทำงานแบบ POSITIVE ที่เน้นการทำงานด้วยคุณลักษณะที่ดี 8 ประการ อาทิ ทำงานอย่างมืออาชีพ (P - Professionalism) ยึดมั่นในการเป็นเจ้าของและทุ่มเทต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ (O - Ownership and Commitment) มีความรับผิดชอบต่อสังคม (S – Social Responsibility) การทำงานด้วยความซื่อสัตย์ (I - Integrity) การทำงานเป็นทีม (T - Teamwork and Collaboration) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (I – Initiative) การมุ่งมั่นในวิสัยทัศน์ (V- Vision Focus) และ การมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (E – Excellence Striving) ในการปฏิบัติงานในทุก ๆ ด้าน

การดูแลบริหารทรัพยากรบุคคลของไทยออยล์นับว่าอยู่ในระดับเดียวกับองค์กรชั้นนำระดับประเทศ เพราะไทยออยล์เล็งเห็นถึงคุณค่าของ “คน” เป็นสิ่งสำคัญ อาทิ การเปิดโอกาสในพนักงานสามารถเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพแบบไม่มีที่สิ้นสุดด้วยคอร์สออนไลน์กว่า 700+ หลักสูตร และระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ที่มีในองค์กรอีกกว่า 4000+ รายการ รวมถึงการส่งเสริมเส้นทางอาชีพด้วยการมอบโอกาสและกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนให้แก่พนักงาน รวมทั้งการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการที่สูงติดอันดับ TOP5 ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ไทยออยล์ให้ความสำคัญในการดูแลคนมาเป็นอันดับหนึ่ง (People First) เสมอ เพราะเราเชื่อว่า "คน" เป็นขุมพลังหลักในการขับเคลื่อนองค์กร จะเห็นได้ว่าในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์โควิด-19 เราได้ยกระดับมาตรการดูแลพนักงานเป็นพิเศษ ด้วยการจัดตั้งศูนย์ควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (I – COVID Center) ที่ทำงานเชิงรุก ครอบคลุม และดำเนินการอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคในกลุ่มพนักงานในองค์กร และเตรียมพร้อมรับมือหากเกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของโรค ทั้งในการดำเนินธุรกิจปกติและการก่อสร้างโครงการลงทุนต่าง ๆ รวมถึงการให้พนักงานสามารถ Work From Home 100% ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงแก่พนักงานทุกคน”

ไทยออยล์ยังดูแลพนักงานในยุค New Normal ด้วยโครงการ 5 สุข ได้แก่ โครงการสุขเงิน – แลกเปลี่ยนสวัสดิการได้ตรงใจด้วยตัวเอง, โครงการสุขใจ – ปรึกษาทุกข้อกังวลใจกับนักจิตวิทยาและจิตแพทย์, โครงการสุขกาย – ตัวช่วยในการดูแลสุขภาพของพนักงานแบบอัจฉริยะ, โครงการสุขสังคม - สร้างความรู้สึกใกล้ชิดกับพนักงานด้วย Digital Collaboration Platform และ สุขชื่นชม – สนับสนุนการส่งพลังบวกและยกย่องชมเชยเพื่อนร่วมงาน ช่วยยกระดับวัฒนธรรมในองค์กรและเป็นพลังให้พนักงานสามารถสร้างผลงานที่ดีได้มากขึ้น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกมิติ มีแรงบันดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์และพลังในการสร้างผลงานอันมีคุณค่าต่อตนเอง องค์กรและสังคมต่อไป

นอกจากการบริหาร ดูแลและพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพสูงสุด พร้อมสนับสนุนคุณภาพชีวิตของพนักงานในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว ในมุมของการดำเนินกิจการจะเห็นได้ว่า ไทยออยล์ ยังเป็นองค์กรที่มุ่งมั่นในการขับเคลื่อนและพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด ESG (Social / Environmental / Governance) ที่ใช้เป็นหลักยึดมั่นและเป็นรากฐานสำคัญในการดำเนินธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง นำมาสู่การเป็นองค์กรแห่งคุณภาพที่มีความน่าเชื่อถือและสร้างคุณค่าแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องรวมถึงพนักงานในองค์กร มาตลอด 60 ปี โดยแบ่งแนวคิดการดำเนินงานออกเป็น 3 มิติที่แตกต่าง ได้แก่

มิติสิ่งแวดล้อม: Enhance Environment การยกระดับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับทิศทางของโลก โดยศึกษาแนวทางที่จะมุ่งไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Carbon Emission

มิติสังคม: Engage Society มีเป้าหมายสร้างความผูกพันเพื่อเติบโตร่วมกันในระยะยาว ด้วยพลังงานและเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ผ่านการสื่อสารเชิงรุก การรับฟังความเห็น การพัฒนาความสัมพันธ์และโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคม โดยเฉพาะด้านสุขอนามัย (Healthcare)

มิติบรรษัทภิบาล: Ensure Good Governance เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านบรรษัทภิบาล ผ่านการบูรณาการ GRC (Governance, Risk and Compliance) โดยเน้นการสร้างสมดุลระหว่างความเข้มงวดของมาตรการควบคุมภายในและความยืดหยุ่นคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ โดยมีเป้าหมายการปราศจากการฝ่าฝืนกฎหมายและกฎระเบียบขององค์กร

เราให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมาโดยตลอด ด้วยการขับเคลื่อนธุรกิจและองค์กรภายใต้แนวคิด ESG ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการทำงานในทุกกระบวนการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเดินหน้าไปสู่เป้าหมายไม่ได้ หากขาดตัวแปรที่สำคัญนั่นคือ “พนักงาน” ของไทยออยล์ทุกคนที่ช่วยผลักดันให้องค์กรเติบโตสู่องค์กร 100 ปี เพื่อเชื่อมโยงคุณค่าสู่สังคม สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและอนาคตของทุกคนไทยทั้งประเทศอย่างยั่งยืน” นายวิรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย

###

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตในประเทศไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนให้นำมาใช้ในภาวะฉุกเฉิน (EUL) จากองค์การอนามัยโลก (WHO) แล้ว โดยการขึ้นทะเบียนดังกล่าวมีผลทันที และครอบคลุมถึงวัคซีนที่ผลิตในประเทศไทยก่อนหน้านี้ด้วยเช่นเดียวกัน

 

องค์การอนามัยโลกได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าให้นำมาใช้ในภาวะฉุกเฉิน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา เพื่อเร่งการเข้าถึงวัคซีนและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และใน ขณะนี้ได้เพิ่มเติมในส่วนของการรับรองวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตในประเทศไทยโดยสยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งเป็นการยืนยันว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หรือ Vaxzevria เป็นวัคซีนที่มีคุณภาพสูง และผลิตตามเกณฑ์มาตรฐานเดียวกันทั่วโลกไม่ว่าจะผลิตจากที่ใดก็ตาม

 

นายเจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า “แอสตร้าเซนเนก้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่องค์การอนามัยโลกได้ให้การรับรองวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตในประเทศไทยเพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉิน แม้ว่าที่ผ่านมา รัฐบาลในหลายประเทศจะให้การรับรองผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตในประเทศไทยว่าเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนแล้ว และตามมาตรการควบคุมการเดินทาง ผู้ที่ได้รับวัคซีนดังกล่าวสามารถเดินทางระหว่างประเทศได้ แต่การรับรองวัคซีนโดยองค์การอนามัยโลกในครั้งนี้ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ ยอมรับและรับรองวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเพื่อประโยชน์ในการเดินทางที่ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น”

 

นางนวลพรรณ ล่ำซำ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรกิตติมศักดิ์ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด กล่าวว่า “วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตในประเทศไทยในทุก ๆ รอบการผลิตนั้นได้ผ่านการตรวจรับรองคุณภาพจากหน่วยงานที่กำกับดูแล รวมถึงห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่ วัคซีนชุดแรกที่ได้ทำการส่งมอบให้กับแอสตร้าเซนเนก้า ผลการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ครั้งนี้ ถือเป็นข่าวดีที่ตอกย้ำถึงคุณภาพของวัคซีนที่ผลิตโดยสยามไบโอไซเอนซ์ ในฐานะศูนย์การผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศใกล้เคียง ที่ได้รับการรับรองจากองค์กรระดับโลกอย่าง WHO เรามีความภาคภูมิใจที่บริษัทของคนไทยได้รับเลือกจากแอสตร้าเซนเนก้าให้เป็นหนึ่งในผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 และสามารถผลิตวัคซีนคุณภาพสูงตามมาตรฐานสากล สยามไบโอไซเอนซ์ยังคงทำงานร่วมกับแอสตร้าเซนเนก้าอย่างใกล้ชิด และผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้สุขภาพและความเป็นอยู่ของคนในชาติกลับเข้าสู่ภาวะปกติอีกครั้ง”

 

แอสตร้าเซนเนก้าและพันธมิตรผู้ผลิตทุกรายให้ความสำคัญกับคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สูงสุด วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าในแต่ละรุ่นการผลิตนั้นผ่านการตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพต่างๆ รวมกันมากกว่า 60 รายการ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนมั่นใจได้ว่าจะได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานสากล

 

นับตั้งแต่เริ่มมีการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าจนถึง เดือน กันยายน 2564 มีผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าแล้ว กว่า 585 ล้านคนทั่วโลก ทั้งนี้ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าได้สร้างประโยชน์อันยิ่งใหญ่ในการช่วยปกป้องชีวิตผู้คนมากมายจากโรคโควิด-19 ทั้งจากการเสียชีวิต กว่า 105,000 คน และจากอาการเจ็บป่วยในระดับที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากโรคโควิด-19 กว่า 620,000 คน 1

 

ผลการทดลองทางคลินิกยืนยันว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า มีประสิทธิผลในการป้องกันอาการเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 ในทุกระดับความรุนแรง และมีประสิทธิผลในการป้องกันการเจ็บป่วยในระดับที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ 100% หลังได้รับวัคซีนครบทั้งสองโดส2 นอกจากนี้ จากข้อมูลการใช้วัคซีนในประชากรทั่วโลก ยังแสดงให้เห็นว่า วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิผลในการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงจากโรคโควิด-19 ในทุกกลุ่มอายุได้มากถึง 80%-90% และยังมีประสิทธิผลครอบคลุมไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ต่างๆ รวมถึงสายพันธุ์กลายพันธุ์หลักที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้ 3

 

แอสตร้าเซนเนก้าและพันธมิตรผู้ผลิตได้ส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว กว่า 1.5 พันล้านโดสให้แก่ประเทศต่างๆ มากกว่า 170 ประเทศทั่วโลก และ ประมาณ 2 ใน 3 ของจำนวนวัคซีนจำนวนดังกล่าวได้ถูกส่งมอบให้กับกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางต่ำ

 

 

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (ChAdOx1-S [Recombinant]) เดิมเรียก AZD1222 ถูกคิดค้นและพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและบริษัท วัคซีเทค ซึ่งก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยการนำส่วนของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการถอดรหัสการสร้างหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ใส่ในโครงของอะดีโนไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หวัดทั่วไปในลิงชิมแปนซีที่ถูกทำให้อ่อนแรงลงและไม่สามารถแบ่งตัวได้ โดยหลังจากฉีดวัคซีนเซลส์ในร่างกายมนุษย์จะตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเดียวกันกับหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในกรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง

 

เกี่ยวกับ แอสตร้าเซนเนก้า

แอสตร้าเซนเนก้า (ชื่อย่อหลักทรัพย์ AZN ในตลาดหลักทรัพย์ LSE/ STO/ Nasdaq) เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก มุ่งเน้นทางด้านการคิดค้น พัฒนา และจำหน่ายยาเพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มยาโรคมะเร็ง กลุ่มยาโรคหัวใจ ไต และระบบเผาผลาญ และกลุ่มยาโรคทางเดินหายใจ แอสตร้าเซนเนก้า มีฐานอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร

 

เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ยังมีความรุนแรงและมีการพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง Sea (Group) และบริษัทในเครือ ได้แก่ การีนาและช้อปปี้ จึงมุ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยการส่งมอบถังออกซิเจนเพื่อใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยขั้นวิกฤต สำหรับโรงพยาบาลสนาม 2 แห่ง ของโรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยตู้คอนเทนเนอร์เพื่อจัดทำศูนย์ปฏิบัติการสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยระดับสีเขียว โดยมีบริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการสายการเดินเรือระหว่างประเทศในระบบคอนเทนเนอร์ สนับสนุนการขนส่งไปยังโรงพยาบาล พร้อมร่วมบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์โรคระบาดในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

นางสาวมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) กล่าวว่า “Sea ให้ความสำคัญกับการให้ความช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยโควิด-19 เสมอมา เมื่อเล็งเห็นว่าการระบาดในพื้นที่ชายแดนภาคใต้กำลังมีการแพร่ระบาดอย่างหนักและมีการพบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก สวนทางกับภาพรวมสถานการณ์โควิด-19 ของประเทศที่มีแนวโน้มการแพร่ระบาดลดลง Sea จึงเร่งส่งมอบถังออกซิเจนสำหรับผู้ป่วยขั้นวิกฤต และคอนเทนเนอร์จำนวน 3 ตู้ เพื่อใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติการของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ระดับสีเขียว

ให้แก่โรงพยาบาลสนามของโรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้”

นพ.อดิศักดิ์ งามขจรวิวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี เผยว่า “ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานีได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างสุดความสามารถ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาที่รวดเร็วและปลอดภัย โดยการช่วยเหลือประชาชนที่ป่วยด้วยโรคโควิด-19 ให้มีที่กักตัวรักษาอยู่บ้าน (Home Isolation) ศูนย์พักคอยชุมชน (Community Isolation) Hospitel และโรงพยาบาลสนาม ซึ่งการจัดตั้งสถานพยาบาลเร่งด่วนนี้ทำให้ประสบกับปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์และสถานที่ปฏิบัติงาน ในภาวะวิกฤตนี้ทางโรงพยาบาลมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความช่วยเหลือจาก Sea (Group) และบริษัทในเครือที่ได้ส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์เพื่อใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติการสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ณ โรงพยาบาลสนามธัญญารักษ์โรงยิม อบต.บานา และโรงพยาบาลสนามธัญญารักษ์สะพานปูน จังหวัดปัตตานี โดยจะมีส่วนสำคัญในการรักษาผู้ป่วยระดับสีเขียว หรือผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย ในขณะที่ถังออกซิเจนที่ได้รับมาก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่มีอาการขั้นวิกฤต มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงออกซิเจนอย่างเพียงพอ ทางโรงพยาบาลต้องขอขอบคุณทาง Sea และบริษัทในเครือที่พร้อมช่วยสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ของเราที่กำลังทำงานอย่างหนักให้สามารถรักษาผู้ป่วยให้มีอาการดีขึ้นโดยเร็วที่สุด”

โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้เข้ามาร่วมปฏิบัติการในการบรรเทาสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยดำเนินงานอย่างครบวงจร ตั้งแต่การเตรียมพร้อมชุมชน การค้นหาคัดกรอง การรักษา การให้วัคซีนป้องกันโรค และการเสริมสร้างชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งเป็นการประสานงานกับเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนชุมชน ที่ร่วมกันพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการโรคระบาดอย่างต่อเนื่อง หากโมเดลการดำเนินงานของโรงพยาบาลฯ มีประสิทธิภาพ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการต่อยอดการดำเนินงานโดยยึดโมเดลดังกล่าว ไม่เพียงแต่ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ยังรวมถึงจังหวัดอื่นๆ ทั่วทั้งประเทศ

Sea (Group) จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการสนับสนุนให้โรงพยาบาลสนามของโรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานีสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเพียงพอ ด้วยการส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์และถังออกซิเจนในครั้งนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้โรงพยาบาลสามารถรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ได้อย่างเต็มที่มากยิ่งขึ้น และช่วยเร่งให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาอย่างทันท่วงที ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดการแพร่ระบาดในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนให้สังคมไทยผ่านพ้นวิกฤตการณ์ได้โดยเร็ว

###

Page 1 of 16
X

Right Click

No right click