January 22, 2025

เอปสันเดินหน้าลุยตลาดการพิมพ์ส่วนบุคคล (Personal Printing Service) อย่างต่อเนื่อง หลังจากเอปสัน เปิดตัว เครื่องพิมพ์หมึกยูวีขนาดเดสก์ท็อป A4 รุ่นแรก SC-V1030 ไปแล้ว เอปสันเดินหน้ารุกตลาดงานพิมพ์ส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่อง ด้วยเครื่องพิมพ์ผ้าขนาดเดสก์ท็อปรุ่นแรกของเอปสัน Epson SureColor SC-F1030 เหมาะกับงานออนดีมานด์ ที่กำลังเป็นที่นิยมในตลาด สามารถพิมพ์ได้ทั้งผ้าเส้นใยธรมมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ ด้วยเทคโนโลยีหัวพิมพ์แบบใหม่ของเอปสัน PrecisionCore MicroTFP  ให้งานพิมพ์คมชัด แม่นยำ และพิมพ์งานได้เร็วขึ้นถึง 135%  ให้ผู้สวมใส่มั่นใจด้วยหมึก UltraChrome DG2 ผ่านการรับรองความปลอดภัยและปลอดสารพิษของ OEKO-TEX®   ขนาดกะทัดรัด ออกแบบให้วางบนโต๊ะได้อย่างสะดวก เหมาะกับทุกสภาพแวดล้อมการทำงาน นอกจากนี้ Epson SureColor SC-V1030 ยังทำงานได้ทั้งการพิมพ์ DTG และ DFT จึงมีความยืดหยุ่นในการพิมพ์บนวัสดุที่หลากหลาย สามารถตอบโจทย์สำหรับร้านค้าที่ต้องการรองรับงานที่หลากหลาย และกลุ่มสตาร์ทอัพที่ต้องการเริ่มธุรกิจ รูปแบบ DIY เพื่อรองรับการพิมพ์งานส่วนบุคคลหรือองค์กรที่ต้องการปรับแต่งหรือออกแบบเองงานพิมพ์ของตัวเอง

อปสันครองตลาดโปรเจคเตอร์ 23 ปีซ้อน พร้อมเปิดตัวสินค้ารุกตลาดโฮมเอนเตอร์เทนเมนท์ในงาน Epson Ultra Projectors Experience Day

20 พฤศจิกายน 2567 – เอปสันเดินหน้าสร้างสถิติครองเจ้าตลาดโปรเจคเตอร์ทั่วโลกเป็นปีที่ 23 ติดต่อกัน ทั้งยังครองส่วนแบ่งตลาดในประเทศไทยถึง 54% ในไตรมาสแรกปีนี้ พร้อมเปิดตัวสินค้าใหม่ในกลุ่มโฮมโปรเจคเตอร์และโปรเจคเตอร์ความสว่างสูง เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดความบันเทิงภายในบ้านและธุรกิจ

ครองตลาดโปรเจคเตอร์ระดับโลก

นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เอปสันยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำตลาดโปรเจคเตอร์ระดับโลกมาอย่างยาวนานถึง 23 ปี และในประเทศไทย เอปสันมีส่วนแบ่งตลาดถึง 54% ในปีงบประมาณ 2567 (ข้อมูลจาก Futuresource) ซึ่งสะท้อนถึงความไว้วางใจจากลูกค้าในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ ตั้งแต่บริษัท หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา โรงแรม ไปจนถึงสถานที่จัดงานอีเวนต์

นอกจากนี้ เอปสันยังครองตำแหน่งผู้นำในตลาดย่อย เช่น โปรเจคเตอร์ธุรกิจ (57%) โปรเจคเตอร์ความสว่างสูง (55%) และโปรเจคเตอร์อินเตอร์แอคทีฟ (35%)

รุกตลาดโฮมโปรเจคเตอร์ ตอบรับการเติบโตของโฮมเอนเตอร์เทนเมนท์

โฮมโปรเจคเตอร์มีส่วนแบ่งตลาดของเอปสันในปัจจุบันอยู่ที่ 12% โดยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคต้องการสร้างประสบการณ์ความบันเทิงแบบโรงภาพยนตร์ที่บ้าน รวมถึงกลุ่มเกมเมอร์ที่ต้องการประสบการณ์เล่นเกมที่สมจริง

ตามรายงานของ KBV Research ตลาดอุปกรณ์เพื่อความบันเทิงในบ้านในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตเฉลี่ย 6.2% ต่อปีในช่วงปี 2566-2573

เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เอปสันได้เปิดตัวโปรเจคเตอร์หลากหลายรุ่น เช่น

  • EpiqVision Mini Projector รุ่น EF-21 และ EF-22: ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา รองรับ Full HD, HDR10 และ Dolby Audio พร้อม Google TV
  • EH-QL3000W: โฮมโปรเจคเตอร์ 4K ความสว่าง 6,000 ลูเมน พร้อมเทคโนโลยี Dynamic Tone Mapping และดีไซน์พรีเมียม

โปรเจคเตอร์ความสว่างสูงสำหรับงานขนาดใหญ่

ในกลุ่มโปรเจคเตอร์ความสว่างสูง เอปสันได้เปิดตัวซีรีส์ใหม่ EB-PQ ที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยี 4K Crystal Motion และเลนส์คู่แบบไมโคร โดยรองรับการใช้งานในสถานที่ขนาดใหญ่ เช่น ห้องประชุมและอีเวนต์

รุ่นเด่นในซีรีส์นี้คือ EB-PQ2220B ซึ่งมีความสว่าง 20,000 ลูเมน และเป็นโปรเจคเตอร์ขนาดเล็กและเบาที่สุดในโลก

งาน Epson Ultra Projectors Experience Day

งาน Epson Ultra Projectors Experience Day จัดขึ้นที่ Solution Center อาคารปัน ถนนพระรามสี่ ตั้งแต่วันนี้จนถึงสิ้นปี ภายในงาน ผู้เข้าชมสามารถสัมผัสเทคโนโลยีโปรเจคเตอร์รุ่นใหม่มากกว่า 20 รุ่น รวมถึงโซลูชันด้านเอนเตอร์เทนเมนท์ที่หลากหลาย เช่น Golf Simulation และ Immersive Mapping Projection

ผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถติดต่อได้ที่ Epson Call Center โทร. 02-460-9699 (จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-17.30 น.)

เอปสันมุ่งมั่นสู่การสร้างประสบการณ์ความบันเทิงระดับพรีเมียม ตอกย้ำความเป็นผู้นำในตลาดโปรเจคเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ

เอปสัน ผู้นำโลกในตลาดการพิมพ์เชิงพาณิชย์ เผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงาน Road to Sustainable Printing: Exploring Attitudes and Behaviors in Southeast Asia พบว่าความยั่งยืนถูกยกระดับความสำคัญขึ้น และมีผลต่อพฤติกรรมการพิมพ์ในสำนักงานอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามยังมีธุรกิจและบุคคลจำนวนมากที่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการพิมพ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอยู่

รายงาน Road to Sustainable Printing: Exploring Attitudes and Behaviors in Southeast Asia เป็นการสำรวจเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้มีอำนาจตัดสินใจในองค์กรธุรกิจจำนวน 1,500 คน ในประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เพื่อศึกษาถึงทัศนคติและพฤติกรรมต่อการพิมพ์เพื่อความยั่งยืน ซึ่งเอปสันได้จัดทำขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยผลสำรวจในปีนี้ตอกย้ำว่า การพิมพ์ยังคงเป็นขั้นตอนการทำงานที่มีความจำเป็นสำหรับสำนักงานในภูมิภาคนี้ โดยผู้มีอำนาจตัดสินใจในการจัดซื้ออุปกรณ์สำนักงานและผู้ใช้งานมากกว่า 40% ยืนยันว่ามีการใช้กระบวนการพิมพ์เป็นประจำทุกวัน อย่างไรก็ตาม การทำงานแบบไฮบริดและการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สำนักงานต่าง ๆ ต้องการความยืดหยุ่นในการพิมพ์งานเพิ่มมากขึ้น

ความสามารถทางดิจิทัลกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานประจำวันขององค์กรธุรกิจปัจจุบัน มากกว่าจะเป็นแค่ทางเลือกเหมือนในอดีต ซึ่งหลายองค์กรมองว่าการแชร์เอกสารดิจิทัลเป็นขั้นตอนแรกในการก้าวเข้าสู่กระบวนการดิจิทัล (Digitalization) โดยองค์กรในบางอุตสาหกรรมจะมีการปรับตัวช้ากว่า เช่น มีเพียง 39% ขององค์กรในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และ 40% ในธุรกิจการค้าปลีก ที่ยังคงใช้เอกสารในรูปแบบกระดาษ เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมที่มีความทันสมัยมากกว่า เช่น กลุ่มธุรกิจที่ปรึกษาและบริการวิชาชีพ และโฆษณาและการตลาด ที่มี 50% และ 48% ขององค์กรในธุรกิจนี้ที่ได้เริ่มเข้าสู่ Digitalization

ขนาดของธุรกิจก็มีส่วนสำคัญ โดย 41% ของธุรกิจขนาดเล็กที่มีพนักงานไม่เกิน 50 คน และ 48% ของธุรกิจขนาดกลางที่มีขนาดไม่เกิน 500 คน ได้เปลี่ยนไปใช้เอกสารแบบดิจิทัล เมื่อเทียบกับ 45% ของธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งมีจำนวนพนักงานมาก ตั้งแต่ 501 คนขึ้นไป ทำให้มีความคล่องตัวในการเปลี่ยนแปลงภายในน้อยกว่า

การสำรวจยังพบว่า 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการให้การพิมพ์ในที่ทำงานมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 44% ต้องการเห็นระบบการพิมพ์ดิจิทัลแบบบูรณาการที่ทันสมัย เช่น โซลูชันการพิมพ์ผ่านเครือข่ายคลาวด์ อีกทั้งราว 4 ใน 5 ของผู้ตอบแบบสอบถามยังมองว่าความกะทัดรัดของเครื่องพิมพ์มีความจำเป็นต่อการพิมพ์งานในสำนักงาน ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มของธุรกิจที่มุ่งเน้นความมีประสิทธิภาพและความทนทานในพื้นที่จำกัด

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการพิมพ์ ได้แก่ ความสะดวกสบาย (46%) ความคุ้มค่า (44%) และการตื่นตัวในเรื่องการพิมพ์อย่างยั่งยืนที่เพิ่มขึ้น (41%) ข้อมูลเหล่านี้ตอกย้ำถึงความสำคัญของการหาสมดุลระหว่างการใช้งานได้จริง ความยั่งยืน และความคุ้มค่า ในกระบวนการพิมพ์ในสำนักงาน ทั้งยังต้องสนับสนุนพนักงานให้ก้าวทันตามแนวทางด้านความยั่งยืน

เป็นที่น่าสังเกตว่า องค์กรธุรกิจทั่วภูมิภาคนี้ตระหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงโซลูชันที่ยั่งยืน และพยายามมองหาทางเลือกด้านการพิมพ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบต่อธรรมชาติ โดยกว่า 3 ใน 5 หรือ 66% ของผู้ตอบแบบสอบถามได้ระบุว่าความยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกเครื่องพิมพ์ 74% ของบุคคลและบริษัทมีความตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการพิมพ์ในระดับ ‘มาก’ หรือ ‘ปานกลาง’ และ 63% ‘มีแนวโน้ม’ หรือ ‘มีแนวโน้มมาก’ ที่จะยินดีจ่ายเงินเพิ่มขึ้น เพื่อโซลูชันการพิมพ์ที่ยั่งยืน

ในภาพรวม ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนกำลังพิจารณาถึงทางเลือกที่มีอย่างรอบคอบยิ่งขึ้น ในขณะที่ได้นำวิธีการพิมพ์ที่เน้นความยั่งยืนมาปฏิบัติ เช่น การพิมพ์สองหน้า (38%) และการเข้าร่วมโครงการรีไซเคิลกระดาษ (34%)

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลสำรวจจะชี้ชัดว่าองค์กรต่าง ๆ จะตระหนักเพิ่มขึ้นและตั้งใจดีเกี่ยวกับการพิมพ์ที่ยั่งยืน แต่ยังจำเป็นต้องได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทางปฏิบัติจริงอยู่

เจสเตอร์ ครูซ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายผลิตภัณฑ์องค์กร ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเอปสัน กล่าวว่า “ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราได้เห็นความสนใจต่อความยั่งยืนเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่กล่าวว่าความยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกเครื่องพิมพ์ แต่มีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้นที่ยินดีที่จะจ่ายเงินมากขึ้น เพื่อมาตรการที่ยั่งยืน ทำให้เกิดช่องว่างใหญ่ในเรื่องการปฏิบัติจริง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมก็ยังสามารถเป็นสิ่งที่ดีต่อธุรกิจได้เช่นกัน ข่าวดีก็คือความต้องการเช่นนั้นมีอยู่จริง โดยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามพร้อมจะเปลี่ยนมาใช้เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท แทนที่เครื่องถ่ายเอกสารเลเซอร์อย่างแน่นอน หากได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นทางเลือกที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า”

รายงานดังกล่าวพบอีกว่า ยังมีความเข้าใจผิดในหมู่องค์กรธุรกิจทั่วภูมิภาคนี้ โดยหนึ่งในสาม (34%) ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท ขณะที่มีเพียง 29% ที่เชื่อว่าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า และอีก 29% ไม่แน่ใจในเรื่องนี้

เอปสัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ยกเลิกการจำหน่ายเครื่องพิมพ์เลเซอร์ตั้งแต่สิ้นปี 2566 หลังจากการประกาศยุติการจำหน่ายและจัดจำหน่ายเครื่องพิมพ์เลเซอร์ทั่วโลก และจะมุ่งให้ความสำคัญกับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทเท่านั้น  เนื่องจากเทคโนโลยีเลเซอร์ต้องใช้ความร้อนในกระบวนการพิมพ์ ซึ่งทำให้ใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

“ในสำนักงานปัจจุบัน มีเพียงเครื่องปรับอากาศและไฟส่องสว่างเท่านั้นที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าอุปกรณ์สำนักงาน ในความเป็นจริงแล้ว เครื่องพิมพ์คิดเป็นสัดส่วนถึง 10% ของการใช้พลังงานทั้งหมด การเปลี่ยนจากเครื่องพิมพ์เลเซอร์มาใช้เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทที่มีเทคโนโลยี Heat-Free ของเอปสันจะสามารถลดการใช้พลังงานในการพิมพ์ได้มากถึง 85% การใช้พลังงานที่น้อยลงนี้ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีก” เจสเตอร์ ครูซ กล่าว

“ผู้คนให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการลดการใช้พลังงาน แต่สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือการแสดงให้เห็นว่าประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมเหล่านี้สามารถแปลงเป็นเม็ดเงินได้อย่างไร เอปสันเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่านวัตกรรมสามารถทำให้การดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสภาพอากาศเกิดเป็นความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจได้ อนาคตขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ยั่งยืน และมันดูจะมีแนวโน้มที่สดใส ด้วยปรัชญาในการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ กะทัดรัด และแม่นยำ เอปสันจะยังคงผลักดันความยั่งยืนให้เป็นแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจที่สำคัญต่อไป”

นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร และนางสาวปวีณา ศรีตระกูล หัวหน้าฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาด บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเปิดกิจกรรม “Greenhouse Effect: Plastic Trap Stimulation” หนึ่งใน “From Waste To Worth” แคมเปญเพื่อสังคมประจำปีงบประมาณ 2567 ของบริษัทฯ ที่มุ่งผลักดันประเด็น “การลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากขวดพลาสติก” เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อที่ 12 ขององค์การสหประชาชาติ ว่าด้วยเรื่องของการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะหว่านเมล็ดความยั่งยืนในสังคมไทยด้วยการสร้างจิตสำนึกถึงการลด การรีไซเคิล และการนำขยะขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ ผ่านการสื่อสารภายในและนอกองค์กร

กิจกรรม “Greenhouse Effect: Plastic Trap Stimulation” เป็นกิจกรรมแนว social experiment ที่จำลองภาวะเรือนกระจกที่เกิดขึ้นกับโลก ด้วยเรือนกระจกที่ทำจากขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว 1,400 ขวด ซึ่งจะปล่อยให้แสงแดดผ่านเข้าไปภายใน แต่เก็บกักความร้อนไว้ไม่ให้ระบายออกมาได้อย่างเต็มที่ คล้ายกับวิธีที่ก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ อย่าง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน หรือ ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ทำกับโลก ทำให้อุณหภูมิภายในเรือนเพิ่มสูงขึ้น และร้อนกว่าอากาศภายนอก 1-4 องศาเซลเซียสระหว่างวัน โดยเอปสัน ประเทศไทย ได้นำเรือนกระจกจำลองดังกล่าวไปทำการทดลองกับผู้มาใช้บริการมากกว่า 200 คน ที่สยามสแควร์ ก่อนที่จะย้ายมาที่อาคารปัน ที่ตั้งของบริษัทฯ เพื่อให้พนักงานเอปสัน และผู้ที่สัญจรแถวอาคารปันได้ร่วมกิจกรรม โดยหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมดังกล่าว บริษัทฯ จะนำเรือนกระจกจำลองนี้ไปมอบให้แก่โรงเรียนวัดขุนทิพย์ (สาครราษฎร์บำรุง) อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อใช้ทำเป็นโรงเรือนปลูกผักปลอดสารพิษสำหรับอาหารกลางวันเด็กนักเรียนต่อไป

จากผลกระทบของน้ำท่วมครั้งใหญ่ทางภาคเหนือของไทย ซึ่งสร้างผลกระทบให้กับประชาชนในพื้นที่เป็นจำนวนมาก บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด จึงต้องการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ประสบภัยในครั้งนี้ ด้วยบริการตรวจเช็คและทำความสะอาดเครื่องพิมพ์เอปสันทุกรุ่นโดยไม่มีค่าบริการ ในจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ และสุโขทัย กรณีต้องเปลี่ยนอะไหล่ เอปสันมอบส่วนลดค่าอะไหล่ 50% รวมทั้งมีโปรแกรมเก่าแลกใหม่ สำหรับเครื่องพิมพ์เอปสันที่เสียหายจากอุทกภัย สามารถนำมาเป็นส่วนลดมูลค่า 800 บาท เพื่อซื้อเครื่องพิมพ์ Epson EcoTank รวมถึงกรณีเครื่องเสียหายจากน้ำท่วม และยังอยู่ในระยะเวลาประกัน สามารถส่งซ่อมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายอีกด้วย ลูกค้าสามารถเข้ารับบริการที่ศูนย์บริการเอปสันที่ร่วมโครงการ ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 30 กันยายนนี้

รายชื่อศูนย์บริการเอปสันที่ร่วมโครงการ

1) จังหวัดเชียงราย ได้แก่ หจก.เชียงรายเทคโนคอม หจก. มิวนิคซัพพลาย หจก.เควีซีคอมพิวเตอร์

2) จังหวัดน่าน ได้แก่ บริษัท อินเกรส โอเอ (น่าน) จำกัด บริษัท รวมมิตรสรรพสินค้า ร้าน คลิกไอที น่าน

3) จังหวัดพะเยา ได้แก่ บริษัท โกลด์ พีซี เน็ตเวิร์ค จำกัด หจก. พีพียู คอมพิวเตอร์

4) จังหวัดแพร่ ได้แก่ หจก. เวิลด์ไวด์ เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์

5) จังหวัดสุโขทัย ได้แก่ บริษัท สยาม วินเทจ แอ๊ดวานซ์ จำกัด บริษัท เอส วี พลาซ่า เซ็นเตอร์ จำกัด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  facebook.com/EpsonThailand, Line: @Epsonthailand หรือ โทร. 02-460-9699 ในเวลาทำการวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 - 18.00 น.

Page 1 of 19
X

Right Click

No right click