กลุ่มสมุนไพร ส.อ.ท. เปิดข้อมูลโรงงงานสมุนไพรในประเทศ 500 แห่ง เสี่ยงถูกปิด เหตุไม่ผ่านมาตรฐาน GMP PIC/S ตามรอยโรงงานในประเทศไทยปิดตัวลงเกือบ 2,000 แห่ง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไทย แนะแนวทางแก้ไข 4 ด้าน 1. จัดอบรม และหาแหล่งเงินทุน ให้โรงงานปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน GMP PIC/S 2. เป็นตัวกลางจับคู่โรงงานใหญ่เปิดให้โรงงานเล็กเข้าถึงการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 3. ใช้ภาคท่องเที่ยวหนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านการใช้สมุนไพร 4.อย. เพิ่ม Positive list เพื่อให้ผู้ประกอบการขึ้นทะเบียนสมุนไพรง่ายขึ้น หากผลักดันได้จะช่วยขยายโอกาสการส่งออกสินค้าสมุนไพรไทยที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ
ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพรในสภาอุตสาหกรรม (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์โรงงานในประเทศไทยปิดตัวลงเกือบ 2,000 แห่ง ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมานับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 ถึงเดือนมิถุนายน 2567 ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตเกือบ 1 ใน 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทำให้แรงงานกว่า 51,500 คน สูญเสียงาน และวิกฤตดังกล่าวมีโอกาสลุกลามไปยังภาคการผลิตในอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย จากการสำรวจพบว่า อุตสาหกรรมสมุนไพรไทยปัจจุบันยังประคับประครองตัวเองได้อย่างดี เนื่องจากผู้ประกอบการได้ปรับตัวแบบ 360 องศา ทั้งการลงไปจับตลาดใหม่ๆที่เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว ผลพัฒนาแพ็กเก็จจิ้งให้มีความโดดเด่นเหมาะแก่การสะสมและเป็นของฝาก อย่างไรก็ดีพบว่ามีโรงงานอุตสาหกรรมภาคสมุนไพรที่มีความเสี่ยงถูกปิดอยู่เช่นกัน โดยพบข้อมูลน่าตกใจว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานผลิตสมุนไพรมากกว่า 1,000 แห่ง แต่มีโรงงานผลิตสมุนไพร 500 แห่งยัง ยังไม่สามารถผ่านมาตรฐาน GMP PIC/S หากโรงงานสมุนไพรเหล่านี้ถูกปิดตัวลง ประเทศไทยจะสูญเสียโอกาสในการผลักดัน สร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรมูลค่าสูง สนับสนุนศักยภาพเศรษฐกิจมหาภาค ของประเทศ วิกฤตการปิดตัวของโรงงานในประเทศไทย กำลังส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและแรงงานอย่างหนัก อุตสาหกรรมสมุนไพรไทยก็ยากจะรอดพ้นจากวิกฤตนี้ แต่ก็ยังมีโอกาสรอดวิกฤตนี้ไปได้หากหน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องเร่งเข้ามาช่วยเหลือเร่งด่วน มิฉะนั้นประเทศไทยจะสูญเสียโอกาสการสร้างฐานเศรษฐกิจมหาภาคไปได้
โดยกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพรในสภาอุตสาหกรรม ได้เสนอ แนวทางแก้ไขเพื่อปิดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นนี้ใน 3 มิติ ได้แก่
ทั้งนี้มูลค่าตลาดสมุนไพรในปัจจุบัน 52,104.3 ล้านบาท มีแนวโน้มการเติบโต 8 % ต่อปี (ข้อมูลล่าสุดจากสภาอุตสาหกรรม)ปัจจัยที่สนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเติบโตมาจาก การเติบโตของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งมีกำลังซื้อสูงและใส่ใจสุขภาพมากขึ้น จึงนิยมเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและสมุนไพรความกังวลด้านสุขภาพ คนเริ่มกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาเคมี จึงหันมาใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมากขึ้น สังคมสูงวัยและประชากรโลกมีอายุยืนยาวขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ มากขึ้น ผู้คนจึงมองหาผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาช่วยดูแลสุขภาพและป้องกันโรค กระแสการกลับสู่ธรรมชาติผู้คนเริ่มให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติมากขึ้น จึงนิยมใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและสมุนไพร หากทุกฝ่ายร่วมมือกันผลักดันให้การผลิตเป็นมาตรการเดียวกัน จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยสามารถส่งออกได้มากกว่าปัจจุบันหลายเท่า
JSP เผยผู้สูงอายุไทยทุ่มจ่ายอาหารเสริมเฉลี่ย 2,000 บาทต่อครั้ง พบอัตราการซื้อซ้ำใน 1-2 เดือน ชี้สังคมสูงวัยเต็มรูปแบบดันอาหารเสริมโต 30 % พร้อมเปิด 4 ปัจจัย หนุนยอดขายกลุ่มผู้สูงวัยเติบโตโดดเด่น 1. เทรนด์ดูแลสุขภาพเชิงป้องกันหลังทิศทางราคายาพุ่งทุกปี 2.เทรนด์ไม่เอาสารเคมี 3.เทรนด์ครอบครัวคนเดียว และ 4. เทรนด์ไม่อยากแก่ หนุนยอดขายจาก Gen X เติบโต 15 % ในปี 2566 พร้อมคาดปี 2567 เติบโต 30 %
นายพิษณุ แดงประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานขายและการตลาด บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ JSP เปิดเผย ปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยกว่า13.7 ล้านคน คิดเป็น 20 % ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด และในปี 2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ คือ มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด ส่งผลให้ยอดขายสินค้าในกลุ่มผู้สูงอายุของ JSP เติบโตอย่างต่อเนื่องพบมียอดสั่งซื้อรายละ 2,000 บาทต่อครั้ง และมีอัตราการซื้อซ้ำทุก 1-2 เดือน สินค้าขายดี 5 รายการของสุภาพโอสถ ได้แก่ 1.น้ำมันงาดำรำข้าว 2. 4 mix oil 3. สไปมอร์ 4. ฟิช ออยล์ 5. น้ำมันงาขี้ม่อน ปัจจุบันรายได้จากกลุ่มสินค้าอาหารเสริมผู้สูงอายุคิดเป็น 25% ของรายได้รวม 579 ล้านบาท เมื่อปี 2566 และในปี 2567 มีแนวโน้มเติบโตเป็น 30 % บริษัท ตั้งเป้ารายได้สินค้าในกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มเป็น 300 ล้านบาท จากรายได้รวม 750 ล้านบาท
JSP ประเมินว่าปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตของกำลังซื้อจากกลุ่มผู้สูงวัยมาจาก 4 ปัจจัยหนุนได้แก่
1. เทรนด์ดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ตัวเลขตลาดรวมสุขภาพเชิงป้องกันที่คาดว่าจะแตะ 5.5 แสนล้านบาท ภายในปี 2568 มูลค่าตลาดสุขภาพเชิงป้องกันในกลุ่มผู้สูงอายุ คิดเป็น 22% ของมูลค่าตลาดรวมสุขภาพเชิงป้องกันคาดว่าจะแตะ 1.2 แสนล้านบาท ภายในปี 2568 เป็นผลมาจากจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นคนอายุยืนขึ้น อีกทั้งทิศทางตลาดอุตสาหกรรมยาทั่วโลก มีแนวโน้มจะปรับราคายาขึ้นไปอย่างต่ำ 20% ภายในปีนี้ เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตยาพุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด จึงเป็นปัจจัยสนับสนุนเทรนด์การดูแลสุขภาพเชิงป้องกันก่อนป่วยให้ได้รับความสนใจมากขึ้น
2. เทรนด์ไม่บริโภคและใช้ผลิตภัณฑ์จากสารเคมี สังคมปัจจุบันเริ่มตระหนักมากขึ้นถึงอันตรายของสารเคมีที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม มองหาทางเลือกที่เป็นธรรมชาติและยั่งยืนมากขึ้นความกังวลด้านสุขภาพ สารเคมีหลายชนิดเชื่อมโยงกับปัญหาด้านสุขภาพที่ร้ายแรง เช่น มะเร็ง
โรคทางระบบประสาท และปัญหาการเจริญพันธุ์ ความต้องการทางเลือกที่เป็นธรรมชาติ คนจำนวนมากกำลังมองหาทางเลือกที่เป็นธรรมชาติและยั่งยืนมากขึ้น ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ทำจากส่วนผสมจากธรรมชาติและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อมตลาดสินค้าออร์แกนิกส์ในประเทศไทยมีมูลค่า 2,800 ล้านบาทในปี 2564 คาดการณ์ว่าจะเติบโตถึง 4,000 ล้านบาทภายในปี 2568
3. เทรนด์ครอบครัวอยู่คนเดียว ครอบครัวไทยยุคใหม่มีครอบครัวขยายมีจำนวนน้อยลง ขนาดครอบครัวเดี่ยว และครอบครัวคนเดียวเพิ่มมากขึ้น มีผู้สูงอายุอยู่คนเดียวมากขึ้น ใน ปี 2564 มีผู้สูงอายุไทยอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่คนเดียว 842,184 คน คิดเป็น 10.2% ของผู้สูงอายุทั้งหมด และคาดการณ์ว่าจำนวนผู้สูงอายุไทยอยู่คนเดียวจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1.8 ล้านคนภายในปี 2574 ส่งผลให้ผู้สูงอายุต้องการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อให้สามารถดูแลพึ่งพาตัวเองได้
4. เทรนด์ไม่อยากแก่ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประชาชนมีอายุยืนยาวขึ้น ต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและแข็งแรงแม้ในวัยสูงอายุ ผู้สูงอายุเริ่มเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง และตระหนักถึงการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและดูดีอยู่เสมอ
“ จาก4 ปัจจัยดังกล่าวยังส่งผลให้ตลาดสุขภาพเชิงป้องกันในกลุ่มคนเจน X เติบโตตามตลาดผู้สูงอายุเนื่องจากคน X กลุ่มเตรียมเข้าสู่กลุ่มคนสูงวัยทำให้ยอดขายในกลุ่มดังกล่าวเติบโตเพิ่มขึ้น 15 % ในปี 2566 ที่ผ่านมาและคาดว่าจะเติบโต 30 % ในปี 2567 ” นายพิษณุ กล่าว