ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2566-2567 มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจาก 11.2 ล้านคนในปี 2565 ขึ้นมาอยู่ที่ 27.1 และ 36.6 ล้านคน โดย นักท่องเที่ยว GIFT+ เป็นกลุ่มที่น่าจับตาจากการมีศักยภาพด้านการใช้จ่าย และเป็นตลาดใหม่ที่มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก คาดในช่วง 1-2 ปีต่อจากนี้จะมีสัดส่วนราว 45-50% จากนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด แนะผู้ประกอบการศึกษาพฤติกรรมและวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว GIFT+ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงใจ

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่าภาคการท่องเที่ยวถือเป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย โดยในช่วง Pre-COVID (ปี 2562) ภาคการท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้ถึง 2.7 ล้านล้านบาท หรือราว 16% ของ GDP ทั้งนี้ แม้การระบาดของ COVID-19 จะทำให้ภาคการท่องเที่ยวของไทยซบเซาลง แต่ปัจจุบันเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดหลังการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบในครึ่งหลังของปี 2565 ที่ผ่านมา

“จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2566-2567 คาดว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่องจาก 11.2 ล้านคนในปี 2565 มาอยู่ที่ 27.1 ล้านคน และ 36.6 ล้านคน ตามลำดับ กลับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วง Pre-COVID ที่ 39.9 ล้านคน ได้ในช่วงปี 2567 โดย นักท่องเที่ยว GIFT+ ซึ่งประกอบด้วย 1) ประเทศแถบตะวันออกกลาง (Gulf) ที่มีค่าใช้จ่ายต่อหัวสูงกว่านักท่องเที่ยวโดยรวมถึง 70-125% 2) อินเดีย (India) ที่จำนวนประชากรกำลังจะขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของโลก และ 3) ประเทศแถบเอเชียตะวันออก (Far easT+) อย่าง จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และรัสเซีย เป็นกลุ่มที่น่าจับตาเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพด้านการใช้จ่าย และบางส่วนยังเป็นตลาดใหม่ที่มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก”

นายธนา ตุลยกิจวัตร นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวเสริมว่า คาดว่านักท่องเที่ยวกลุ่ม GIFT+ ที่เดินทางเข้าไทยในช่วงปี 2566-2567 จะมีจำนวนเท่ากับ 12.2 และ 18.5 ล้านคน คิดเป็น 45-50% จากนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด โดยสาเหตุหลักที่ทำให้นักท่องเที่ยวกลุ่ม GIFT+ มีแนวโน้มเดินทางเข้าไทยต่อเนื่องเป็นเพราะภาคการท่องเที่ยวไทยมีจุดเด่นด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม และความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งทางอากาศ ทำให้ไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางหลักของนักท่องเที่ยวทั่วโลก

“รายงาน Travel & Tourism Competitiveness Report ที่จัดทำโดย World Economic Forum ชี้ว่าภาคการท่องเที่ยวไทยมีความสามารถในการแข่งขันอยู่ในอันดับ Top 3 ของกลุ่มประเทศอาเซียนโดยเป็นรองเพียงสิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ขณะที่ ข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ยังชี้ว่าไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางหลักของนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยผลสำรวจของ Dragon Trail International บริษัทเอเจนซี่สำหรับการท่องเที่ยวต่างประเทศของชาวจีนระบุว่าหากไม่นับกลุ่มประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ไทยถือเป็น Top 1 ของประเทศที่ชาวจีนสนใจเดินทางมาท่องเที่ยวมากที่สุด เช่นเดียวกับข้อมูลของ Google Destination Insights ที่ชี้ว่าไทยอยู่ในอันดับต้น ๆ ที่ชาวอินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวันต้องการเดินทางมาท่องเที่ยว”

นายกณิศ อ่ำสกุล นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวเสริมว่าการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวกลุ่ม GIFT+ ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวโดยตรงอย่างธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร ห้างค้าปลีก และขนส่ง เพียงเท่านั้น แต่ธุรกิจอื่น ๆ อาทิ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจ Healthcare ก็มีแนวโน้มจะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของกำลังซื้อต่างชาติไปด้วยเช่นกัน

“เพื่อเป็นการคว้าโอกาสจากการฟื้นตัวของกำลังซื้อต่างชาติ ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการศึกษาพฤติกรรมและวัฒนธรรมที่หลากหลายของนักท่องเที่ยวกลุ่ม GIFT+ เพื่อจะได้ออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการ รวมถึงใช้ช่องทางการตลาดให้เหมาะสม ส่วนบทบาทของภาครัฐในระยะสั้นควรมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงจุดอ่อนของภาคการท่องเที่ยวไทย โดยเฉพาะปัญหาด้านความปลอดภัยเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติฟื้นตัวกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วง Pre-COVID ให้ได้เร็วที่สุด ส่วนในระยะกลาง-ยาว ควรผลักดันการท่องเที่ยวเมืองรองเพื่อกระจายรายได้สู่จังหวัดอื่น ๆ รวมถึงควรให้ความสำคัญกับนักท่องเที่ยวเชิงคุณภาพให้มากขึ้น เช่น กลุ่ม Gulf อย่าง ซาอุดิอาระเบีย คูเวต อิสราเอล และสหรัฐอาหรับฯ ที่มีค่าใช้จ่ายต่อหัวอยู่ในระดับสูง”

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2566 ฟื้นตัวต่อเนื่อง เติบโต 3.4% จากแรงขับเคลื่อนของภาคการท่องเที่ยวที่สนับสนุนเศรษฐกิจทดแทนการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัว

ชี้ไทยเผชิญ 5 ปัจจัยการเปลี่ยนผ่านสำคัญ เป็นทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับภาคธุรกิจ “การก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ-เศรษฐกิจโลกชะลอตัว-ภาคท่องเที่ยวฟื้น-ดอกเบี้ยขาขึ้น-ภาวะต้นทุนสูง” แนะภาคธุรกิจแสวงหาโอกาสและวางแผนรับมือกับปัจจัยการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามากระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมิน ปี 2566 ว่า เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง นำพาเศรษฐกิจไทยไปอยู่ในจุดที่ไม่คุ้นเคย ภายใต้โลกใหม่ที่มีความผันผวนและซับซ้อนมากขึ้น โดยมีการเปลี่ยนผ่าน หรือ Transition สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เศรษฐกิจโลกเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะชะลอตัว เครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนผ่านสู่ภาคการท่องเที่ยว การเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นของไทย และการเปลี่ยนผ่านท่ามกลางแรงกดดันด้านต้นทุนที่สูงขึ้น

Krungthai COMPASS มองว่า การเปลี่ยนผ่านทั้ง 5 ด้านมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เป็นได้ทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับภาคธุรกิจ เช่น ผู้ประกอบการจะต้องเผชิญกับอุปสรรคในการปรับตัวเข้าบริบทโลกใหม่ที่ใส่ใจกับเรื่อง climate change และความยั่งยืน อาจมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นจากการปรับธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในยามที่ต้นทุนอื่นๆ ก็สูงขึ้นรอบด้านทั้งดอกเบี้ย ค่าไฟ และค่าแรง แต่ในอีกมุมหนึ่งนั้น ผู้ประกอบการที่ปรับตัวจะมองเห็นลู่ทางธุรกิจใหม่ๆ มีโอกาสเติบโตแม้ในยามที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว”

ดร. ฉมาดนัย มากนวล นักวิเคราะห์อาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า แม้ว่าประเทศเศรษฐกิจหลักอย่างสหรัฐฯ จะชะลอตัวจากการขึ้นดอกเบี้ย และยุโรปมีแนวโน้มจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากวิกฤตพลังงาน แต่การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศเหล่านั้น ยังมีทิศทางที่เข้มข้นมากขึ้น สะท้อนจากการตอกย้ำจุดยืนของประชาคมโลกรวมถึงประเทศไทยในเวทีการประชุม COP27 และการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา สำหรับในปี 2566 ภาคธุรกิจต้องติดตามประเด็นด้านกฎเกณฑ์ที่สำคัญ อาทิ การเดินหน้าบังคับใช้มาตรการการเก็บภาษีคาร์บอนที่พรมแดน หรือ CBAM ของยุโรป และแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม หรือ Taxonomy ของประเทศไทย นอกจากนี้ ภาคธุรกิจยังต้องมองหาโอกาสจากนโยบายรัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น นโยบายเศรษฐกิจ BCG และนโยบายการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติภายใต้แนวคิด “Better and Green Thailand 2030” เป็นต้น

นายชนม์นิธิศ ไชยสิงห์ทอง นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า Krungthai COMPASS คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตที่ 3.4% ฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 2565 ที่ขยายตัวได้ 3.2% แรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจจะถูกเปลี่ยนผ่านไปสู่ภาคการท่องเที่ยว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นเป็น 22.5 ล้านคนหรืออาจจะมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนหลังประเทศจีนผ่อนคลายนโยบาย Zero COVID อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกที่อ่อนแรงลงจะกระทบต่อการส่งออก ซึ่งอาจขยายตัวเพียง 0.7% เท่านั้น ซึ่งการที่เศรษฐกิจไทยเดินหน้าด้วยเครื่องยนต์เดียวจึงฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่นัก

นอกจากนี้ ภาวะเงินเฟ้อสูงจะยังไม่หมดไปเนื่องจากภาคธุรกิจยังต้องรับมือกับการเปลี่ยนผ่านด้านต้นทุนที่ปรับสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีจะยังสูงกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งผลให้คาดว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 1.25% ในปี 2565 ขึ้นสู่ระดับ 2% ในปี 2566 และอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงสุด (Terminal rate) อาจอยู่ที่ 2.5% ในปี 2567 เป็นยุคดอกเบี้ยขาขึ้นเต็มตัวของประเทศไทย ส่วนค่าเงินบาทยังเผชิญความผันผวนจากการคาดการณ์นโยบายการเงินของสหรัฐฯ โดยคาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ในช่วง 33.75-36.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

ตารางสรุปประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2565-2566

2564 2565f 2566f

GDP Thai (%YoY) 1.5 3.2 3.4

Private Consumption (%YoY) 0.3 6.2 3.5

Government Consumption (%YoY) 3.2 -0.1 -0.2

Private Investment (%YoY) 3.3 3.5 3.2

Public Investment (%YoY) 3.8 -1.4 2.2

Export USD (%YoY) 19.2 7.0 0.7

Import USD (%YoY) 23.9 15.0 1.3

Headline Inflation (%) 1.2 6.1 3.1

Tourism Arrivals (Million Persons) 0.43 10.2 22.5

Policy Rate (End of Period) 0.50% 1.25% 2.00%

THB / USD (Year Range) 30.0 – 33.5 32.7 – 37.9 33.75 – 36.50

ที่มา: ประเมินโดย Krungthai COMPASS (ณ ธันวาคม 2565)

ทีม Marketing Strategy

10 มกราคม 2566

“ผู้หญิงอย่าหยุดสวย” วลีฮิตที่ไม่เคยตกยุค ซึ่งปัจจุบันไม่ว่าเพศไหน วัยไหน หรือชาติใด เรื่องความงามเป็นสิ่งที่หลายคนปรารถนา

X

Right Click

No right click