October 16, 2024

วิเคราะห์ข้อมูลการขายเชิงลึก ครบทุกมิติ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ร่วมให้และได้บุญไปพร้อม ๆ กัน ตั้งแต่วันที่ 24 – 26 เมษายน 2567

กรุงเทพฯ, 19 เมษายน 2567 – ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต (ทีทีบี) แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2567 โดยธนาคารมีกำไรสุทธิ 5,334 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 4,295 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2566 ปัจจัยหนุนมาจากกลยุทธ์การปรับโครงสร้างสินเชื่อและการบริหารเงินฝาก เพื่อให้ผลตอบแทนและต้นทุนทางการเงินมีความสอดคล้องกัน และการมีวินัยด้านค่าใช้จ่าย ในด้านคุณภาพสินทรัพย์ ธนาคารสามารถลดอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพลงมาได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังคงอัตราส่วนสำรองฯ ต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพและฐานเงินกองทุนยังคงในระดับสูง สะท้อนสถานะทางการเงินที่มั่นคงแข็งแกร่ง

 

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปีถือว่าเป็นไปตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปรับโครงสร้างพอร์ตสินเชื่อและการบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินเพื่อหนุนรายได้ การมีประสิทธิภาพด้านต้นทุน และการดูแลคุณภาพสินทรัพย์

หนึ่งในจุดเด่นของผลการดำเนินงานในไตรมาสนี้ ได้แก่ ด้านสินเชื่อ ซึ่งธนาคารยังคงเน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพ เน้นกลุ่มลูกค้าที่ธนาคารมีความชำนาญ เข้าใจทั้งความต้องการและความเสี่ยงเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนมีรถ กลุ่มคนมีบ้าน และพนักงานเงินเดือน ภายใต้แนวคิด Ecosystem play หนุนให้ธนาคารสามารถเติบโตสินเชื่อกลุ่มเป้าหมายได้ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อรถแลกเงิน (+4%) สินเชื่อบ้านแลกเงิน (+3%) และสินเชื่อบุคคล (+4%)

ในประการสำคัญ ธนาคารยังคงให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่องในหลายรูปแบบ เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ และการรวบหนี้ (Debt Consolidation) เพื่อช่วยบรรเทาภาระดอกเบี้ยและช่วยให้ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการสภาพคล่องได้ในระยะยาว โดยปัจจุบันธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าผ่านการปรับโครงสร้างหนี้คิดเป็นมูลค่าสินเชื่อประมาณ 11% ของพอร์ตสินเชื่อรวม ขณะที่จำนวนลูกค้าภายใต้โครงการรวบหนี้ เพิ่มขึ้นจากประมาณ 17,000 ราย ณ สิ้นปีที่แล้ว สู่ระดับ 21,000 ราย โดยธนาคารสามารถช่วยให้ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวประหยัดดอกเบี้ยไปได้กว่า 1,400 ล้านบาท

นอกจากนั้นแล้ว ธนาคารยังได้เปิดตัวแคมเปญ “พิชิตหนี้” ซึ่งมุ่งช่วยพนักงานเงินเดือนลดภาระหนี้และปลอดหนี้ให้เร็วขึ้นอย่างยั่งยืน โดยได้ตั้งเป้าหมายช่วยเหลือคนไทยให้ได้ 200,000 ราย ภายใน 3 ปี เป็นไปตามพันธกิจของธนาคาร และสอดรับกับหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม

จากการเติบโตสินเชื่ออย่างรอบคอบ การดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด และการบริหารจัดการหนี้เสียในเชิงรุก ส่งผลให้คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารเป็นไปตามเป้าหมาย สามารถลดอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพลงมาได้อย่างต่อเนื่องจาก 2.62% ณ สิ้นปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 2.56% ณ สิ้นไตรมาส 1 พร้อมยังคงอัตราส่วนสำรองฯ ต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการรองรับความเสี่ยงในระดับสูงที่ 155%

 นี้ ด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ธนาคารจะยังคงดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบและบริหารจัดการทุกองค์ประกอบของงบดุลให้มีคุณภาพ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เรามุ่งเน้นมาโดยตลอดและให้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวของธนาคารในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเห็นได้ว่าตั้งแต่การรวมกิจการและหลังจากช่วงวิกฤตโควิด-19 ผลการดำเนินงานของธนาคารมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านคุณภาพสินทรัพย์ก็มีเสถียรภาพ และสถานะทางการเงินก็แข็งแกร่งขึ้นโดยตลอด

สำหรับผลการดำเนินงานรายการหลัก ๆ ในไตรมาส 1 ปี 2567 มีดังนี้

สินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2567 อยู่ที่ 1,315 พันล้านบาท ชะลอลง 1.0% จากไตรมาสที่แล้ว เป็นไปตามแนวทางการเติบโตสินเชื่ออย่างรอบคอบ รวมทั้งการชำระคืนหนี้ของลูกค้า ทั้งนี้ สินเชื่อกลุ่มเป้าหมาย นำโดยสินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และสินเชื่อบุคคล ยังคงรักษาโมเมนตัมการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

ด้านเงินฝาก อยู่ที่ 1,373 พันล้านบาท ลดลง 1.0% จากไตรมาสที่แล้ว สอดคล้องกับการเติบโตด้านสินเชื่อและเป็นไปตามแผนบริหารสภาพคล่องหลังจากที่ก่อนหน้านี้ในไตรมาส 4 ปี 2566 ธนาคารได้ขยายฐานเงินฝากไปแล้วกว่า 4.3% เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ปี 2567 โดยเงินฝากที่ลดลงเป็นผลจากเงินฝากกลุ่มลูกค้าธุรกิจ ขณะที่เงินฝากรายย่อยกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะเงินฝากประจำยังคงขยายตัวได้ตามแผน ทั้งนี้ ด้วยสภาพคล่องที่ยังคงอยู่ในระดับสูงก็จะช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้กับการบริหารต้นทุนทางการเงินในระยะถัดไป

 

ด้านรายได้ยังคงได้รับแรงหนุนจากการปรับโครงสร้างสินเชื่อไปยังสินเชื่อกลุ่มลูกค้ารายย่อยและการบริหารจัดการต้นทุนทางการเงิน ช่วยชดเชยผลกระทบจากรายได้ค่าธรรมเนียมซึ่งยังคงมีความท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายได้ค่าธรรมเนียมกองทุนรวม โดยในไตรมาส 1 ปี 2567 รายได้จากการดำเนินงานรวมอยู่ที่ 17,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.7% จากไตรมาส 1 ปี 2566 ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอยู่ที่ 7,570 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ทั้งนี้ ธนาคารยังคงบริหารจัดการต้นทุนให้สอดคล้องกับด้านรายได้ได้เป็นอย่างดี สะท้อนได้จากอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ซึ่งอยู่ที่ 43% เป็นไปตามเป้าหมายแม้ว่าธนาคารยังคงเดินหน้าตามแผนการลงทุนด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่องก็ตาม

ด้านคุณภาพสินทรัพย์ ยังคงบริหารจัดการได้ตามเป้าหมายเช่นกัน โดยสินเชื่อด้อยคุณภาพลดลงมาอยู่ที่ 39,759 ล้านบาท ลดลง 3.0% จากสิ้นปีที่แล้ว หรือคิดเป็นอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม (NPL ratio) ที่ระดับ 2.56%

เทียบกับ 2.62% ณ สิ้นปีที่แล้ว นอกจากนี้ ในด้านพอร์ตการลงทุน ธนาคารเน้นการลงทุนในตราสารภาครัฐเป็นหลัก ไม่มีนโยบายแสวงหากำไรจากการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง จึงทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีผิดนัดชำระหนี้ในตลาดตราสารหนี้ในช่วงที่ผ่านมา

จากภาพรวมด้านคุณภาพสินทรัพย์ข้างต้น ส่งผลให้การตั้งสำรองฯ ตามการดำเนินงานปกติยังคงเป็นไปตามแผน และเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งด้านการเงิน ธนาคารได้เสริมกันชนรองรับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอน โดยธนาคารได้ตั้งสำรองฯ เพิ่มเติมจากระดับปกติ รวมตั้งสำรองฯ ทั้งสิ้นเป็นจำนวน 5,117 ล้านบาท ซึ่งหลังจากหักสำรองฯ และภาษี ธนาคารรายงานกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ปี 2567 ที่ 5,334 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 4,295 ล้านบาทในไตรมาส 1 ปี 2566

ท้ายสุดด้านฐานะเงินกองทุน ยังคงอยู่ในระดับสูงและมีเสถียรภาพ โดยอัตราส่วน CAR และ Tier 1 ณ สิ้นไตรมาส 1 อยู่ที่ 20.8% และ 17.0% โดยระดับดังกล่าวถือว่าสูงเป็นลำดับต้น ๆ ของอุตสาหกรรม และสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารกลุ่ม D-SIBs ที่ธปท.กำหนดไว้ที่ 12.0% และ 9.5% ตามลำดับ

นายปิติ กล่าวสรุป “นอกเหนือจากการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ทีทีบียังคงเน้นย้ำการดูแลและช่วยเหลือลูกค้าอย่างต่อเนื่องตามแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) และการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของภาครัฐ ทั้งนี้ ภายใต้พันธกิจหลัก Financial Well-being ซึ่งเราได้ดำเนินการมาโดยตลอด การสนับสนุนของเราไม่ได้จำกัดเพียงแค่ด้านสินเชื่อเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงปัจจัยพื้นฐานทางการเงินที่สำคัญด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการออม การลงทุน และการมีประกันที่เพียงพอและเหมาะสมกับลูกค้าในทุก ๆ ช่วงชีวิต โดยเรามุ่งมั่นที่จะเป็นธนาคารที่ LEAD the CHANGE หรือเป็นผู้นำในการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงเพื่อให้คนไทยมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน”

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เดินหน้ามอบชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน มอบสิทธิพิเศษให้แก่ผู้ถือบัตรเครดิต ttb ได้รับประสบการณ์สุดพิเศษอิ่มอร่อยเกินคุ้มอย่างต่อเนื่อง กับโปรโมชันสุดพิเศษ กิน 1,000.- ลด 100.- ในแคมเปญTasty Asian” มอบส่วนลด เมื่อใช้บริการ 9 ร้านอาหารเด็ดสไตล์เอเชียน ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2567 – 30 มิถุนายน 2567 นี้ ดังนี้

สิทธิพิเศษ 1: รับส่วนลด 100 บาท เมื่อรับประทานอาหารและมียอดใช้จ่ายครบ 1,000 บาทขึ้นไป / เซลล์สลิป ณ 9 ร้านอาหารชั้นนำที่ร่วมรายการ ได้แก่ ร้านบ้านหญิง ร้านขมิ้น คูซีน & คาเฟ่ ร้านเอี่ยวไถ่ ร้านฮิโตริ ชาบู ร้านมากุโระ ร้านแซมาอึล ร้านแซมาอึล เอ็กซ์เพรส ร้านซูชิโร่ ร้านทงชินราเมง จำกัดส่วนลด 1 สิทธิ์ / โต๊ะ / ใบเสร็จ / วัน / ร้าน โดยตรวจสอบจำนวนสิทธิ์ส่วนลดของแต่ละร้านก่อนใช้บริการ รับสิทธิ์ด้วยการสแกน QR Code ที่สื่อประชาสัมพันธ์แต่ละร้านเพื่อรับสิทธิ์ผ่านแอป ttb touch

สิทธิพิเศษ 2: แลกรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 12% เมื่อใช้คะแนนสะสมทุก 1,000 คะแนน และมียอดใช้จ่าย 1,000 บาทขึ้นไป / เซลล์สลิป สำหรับบัตรเครดิต ttb reserve infinite และ บัตรเครดิต ttb reserve signature ทุก 1,000 คะแนน รับเครดิตเงินคืน 120 บาท บัตรเครดิต ttb อื่น ๆ ทุก 1,000 คะแนน รับเครดิตเงินคืน 100 บาท จำกัดการแลกคะแนนสะสม 4,000 คะแนน / บัญชีบัตรหลัก / เดือน สูงสุด 12,000 คะแนน / บัญชีบัตรหลัก ตลอดรายการส่งเสริมการขาย เพียงส่ง SMS ทุกครั้งที่ต้องการแลกคะแนน พิมพ์ TSTY ตามด้วยคะแนนที่ต้องการแลกทุก 1,000 คะแนน แต่ไม่เกินยอดใช้จ่าย เว้นวรรค ตามด้วยหมายเลขบัตรเครดิต 12 หลักสุดท้าย ส่งมาที่หมายเลข 4806026 โดยทีทีบีส่งเสริมให้ลูกค้าใช้เท่าที่จำเป็น และผ่อนชำระคืนไหว เพื่อสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น

การมีภาระหนี้สินมากเกินกว่าจะจัดการไหว อาจส่งผลกระทบต่อการเงินในมิติต่าง ๆ ของชีวิตได้ ดังนั้น fintips by ttb เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จึงขออาสาพาไปพบกับ 3 เรื่องที่คนเป็นหนี้ต้องรู้ เพื่อหยุดปัญหาหนี้เรื้อรังได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยให้พิชิตหนี้ได้ไวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งรักษาสุขภาพทางการเงินและสุขภาพใจได้อีกด้วย

สิ่งแรกขอชวนทุกคนมาเช็กปัญหาหนี้กันก่อน หากยังไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังเผชิญปัญหาหนี้อยู่หรือไม่ ให้ลองสำรวจตัวเองง่าย ๆ ด้วย 4 สัญญาณเหล่านี้

  1. รายได้ไม่พอรายจ่าย
  2. ชำระขั้นต่ำติดต่อกันหลายครั้ง
  3. จ่ายช้ากว่ากำหนด
  4. กดเงินสดมาจ่ายหนี้อื่น

ถ้าหากพบว่ามีสัญญาณเหล่านี้ และคิดว่าตัวเองเริ่มมีปัญหา สามารถติดต่อธนาคารที่ได้ทำการกู้สินเชื่อไว้เพื่อหาวิธีแก้หนี้อย่างยั่งยืนร่วมกันได้  และมาดูพร้อม ๆ กันได้เลย กับ “3 สิ่งที่ต้องรู้ หยุดปัญหาหนี้เรื้อรังได้ ให้พิชิตหนี้ได้ไวขึ้น”

1. มาตรการแก้หนี้ยั่งยืน คือ แนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนแบบครบวงจรโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดให้สถาบันการเงิน หรือธนาคารให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม โดยดูแลลูกค้าสินเชื่อที่ประสบปัญหาด้านการชำระหนี้ กำหนดสิทธิเพื่อคุ้มครองลูกค้าสินเชื่อ สนับสนุนวินัยด้านการเงิน และการบริหารจัดการหนี้ที่ดี

2. มาตรการแก้หนี้ยั่งยืนประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่

1) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา เพื่อให้สถาบันการเงิน หรือธนาคารช่วยเหลือลูกค้าที่มีปัญหาหนี้ ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ สำหรับวางแผนการชำระหนี้ให้ลูกค้ารายย่อยและ SMEs ที่ไม่เคยผ่านการปรับโครงสร้างหนี้มาก่อน โดยธนาคารจะเสนอแนวทางปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า ซึ่งจะทำให้ลูกค้ามีเงินคงเหลือเพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมทั้งธนาคารต้องเสนอแนวทางการช่วยเหลือ (Product Program) อย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อให้ลูกค้าที่เริ่มมีปัญหาในการชำระหนี้ไม่เป็นหนี้เสีย ส่วนสำหรับคนที่เป็นหนี้เสีย(Non-Performing Loan : NPL) จะไม่ถูกโอนขายหนี้ก่อน 60 วัน นับจากวันที่เสนอเงื่อนไขปรับปรุงโครงสร้างหนี้

นอกจากนี้ ยังมีโครงการคลินิกแก้หนี้สำหรับคนที่มีปัญหาหนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล ที่ค้างชำระเกิน 120 วัน เมื่อเข้าร่วมโครงการจะได้รับการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ให้ผ่อนเฉพาะเงินต้นนานสูงสุด 10 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยเพียง 3-5% ต่อปี และยกดอกเบี้ยค้างเดิมให้เมื่อชำระครบตามสัญญา รวมไปถึงยังมีทางด่วนแก้หนี้ และหมอหนี้เพื่อประชาชน ที่จะคอยช่วยให้คำปรึกษาด้านการแก้ปัญหาหนี้อย่างครบวงจร

2) การแก้ปัญหาหนี้เรื้อรัง เป็นแนวทางที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2567 โดยให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาหนี้อย่างต่อเนื่อง (กลุ่มเปราะบาง) ให้สามารถจบหนี้ได้ โดยกำหนดให้คนที่เป็นหนี้เรื้อรังจากสินเชื่อส่วนบุคคลประเภทวงเงินหมุนเวียน แต่ยังไม่เป็นหนี้เสีย และมีการชำระดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวมในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งยังมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 20,000 บาท จะได้รับความช่วยเหลือให้ปิดยอดหนี้ได้เร็วยิ่งขึ้น ผ่านการเปลี่ยนประเภทสินเชื่อเป็นแบบผ่อนชำระรายงวด (Installment Loan) เพื่อให้ปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไม่เกิน 15% ต่อปี ทั้งนี้ ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล และบัตรเครดิต

3)การคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ เพื่อให้มีความเป็นธรรมกับลูกหนี้มากขึ้น ทั้งการให้ความรู้เรื่องสินเชื่อ การบริหารจัดการหนี้ และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและสร้างวินัยทางการเงินที่ดียิ่งขึ้น

3. สิทธิคุ้มครองเพื่อแก้หนี้อย่างยั่งยืน มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ประกอบด้วย

1) ไม่ต้องจ่ายค่า Prepayment Fee หรือค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด โดยจะต้องปิดยอดหนี้ก่อนวันที่ครบกำหนดในสัญญา รวมไปถึงสัญญาเก่าที่ยังมีผลอยู่ด้วยเช่นกัน โดยจะมีผลกับสินเชื่อทั้ง 5 ประเภท ได้แก่

  • สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
  • สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ (Nano Finance)
  • สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ
  • สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล
  • สินเชื่ออุปโภคบริโภคอื่น ๆ เช่น สินเชื่อสวัสดิการ

2) ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยลูกค้าสินเชื่อจะไม่ถูกคิดค่าธรรมเนียมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ยกเว้นค่าประเมินราคาหลักประกัน ซึ่งจำเป็นต้องนำมาใช้ประกอบการพิจารณากำหนดเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

3) ไม่มีการคิดดอกเบี้ยแบบทบต้นของสินเชื่อรายย่อยทั้งหมด รวมไปถึงกรณีที่บัญชีเดินสะพัดของสินเชื่อวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี หรือ Overdraft ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป

4) ลูกค้าสามารถตัดสินใจได้เองว่าจะกดเงินทันทีหรือไม่ หลังจากได้รับอนุมัติสินเชื่อบัตรกดเงินสดแล้ว นอกจากนี้ยังมีสิทธิ์ที่จะได้รับข้อมูลสำคัญที่ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อสามารถใช้เปรียบเทียบข้อมูลได้ รวมถึงมีสิทธิ์ที่จะได้รับแจ้งเตือนให้มาชำระหนี้อย่างมีวินัย

ลองมาสำรวจสัญญาณปัญหาหนี้ดังกล่าวข้างต้นกันดู หากสำรวจตัวเองแล้วพบว่าเริ่มมีปัญหา อย่าลังเลที่จะติดต่อธนาคารที่เราเป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อหาวิธีแก้หนี้อย่างยั่งยืน ส่วนใครที่กำลังจะขอสินเชื่อ อย่าลืมทำความเข้าใจ อัตราดอกเบี้ย และคำนวณดอกเบี้ยที่จะต้องชำระ ไม่ว่าจะเป็นชำระคืนปกติตามกำหนด จ่ายขั้นต่ำ หรือผิดนัดชำระ เพื่อช่วยวางแผนการเงินให้ดียิ่งขึ้น

มาร่วมออกแบบชีวิตทางการเงินในวันนี้และในอนาคต เพื่อพิชิตเป้าหมายการมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ด้วยเคล็ดลับทางการเงินดี ๆ ได้ที่ “fintips by ttb” เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ

เพียงคลิก https://www.ttbbank.com/th/fintips-pr

หรืออ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/fintips-bot1-pr

ค้นหาตัวช่วยพิชิตหนี้ได้ ที่ https://www.ttbbank.com/phi-chit-nee-fintips-pr

กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว

เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารฯ กำหนด

X

Right Click

No right click