

เนื่องในวันมะเร็งโลก 4 กุมภาพันธ์ 2568 ภายใต้ธีม United by Unique หรือ “ร่วมกันในเป้าหมาย แต่แตกต่างในความต้องการ” สะท้อนถึงแนวคิดที่ว่า แม้ทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากโรคมะเร็งจะมีความต้องการและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน แต่กลับมีเป้าหมายร่วมกันในการลดภาระจากมะเร็ง ปรับปรุงผลลัพธ์การรักษา และมีคุณภาพชีวิตที่ดี วันมะเร็งโลกในปีนี้ให้ความสำคัญกับผู้คนในชุมชนก่อนที่พวกเขาจะกลายเป็นผู้ป่วย สอดคล้องกับหนึ่งในภารกิจของโรช ในฐานะบริษัทด้านไบโอเทคชั้นนำของโลก ที่มุ่งเน้นการดูแลและเชื่อมโยงผู้ป่วยกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพและชุมชนต่าง ๆ ตั้งแต่การตรวจและการรักษาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในทางบวกในวงกว้าง ผนึกกำลังกับบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย ชมรมผู้ป่วย รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง สู่เป้าหมายเดียวกันที่จะสร้างความตระหนักรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและการรักษาโรคมะเร็งให้คนไทยห่างไกลจากโรคมะเร็ง
องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่า จำนวนผู้ป่วยมะเร็งทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 77 ภายใน 25 ปีข้างหน้า ในขณะที่ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุว่า แต่ละปีมีคนไทยป่วยเป็นมะเร็งรายใหม่ประมาณ 140,000 คน เสียชีวิตประมาณ 83,000 คน เฉลี่ยคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งวันละ 227 คน โดยมะเร็งที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเม็ดเลือดขาว
สำหรับประเทศไทยที่ปัจจุบันคนในหลายพื้นที่เผชิญกับปัญหาฝุ่น PM2.5 การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ เพราะมะเร็งปอดกำลังคร่าชีวิตคนไทยในอัตราที่น่าตกใจถึงวันละ 40 ราย สูงกว่าการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยพบผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยวันละ 48 คน ส่วนใหญ่มาพบแพทย์ในระยะลุกลาม เนื่องจากอาการเริ่มต้นไม่ชัดเจน แม้ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสพบมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบ 10 เท่าแต่มลพิษทางอากาศโดยเฉพาะฝุ่น PM2.5 ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
คำแนะนำจากแพทย์ การตรวจคัดกรองช่วยคนไทยห่างไกลโรคมะเร็ง
นายแพทย์ ยศวัจน์ รุ่งโรจน์วัฒนา อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กล่าวว่า “โรคมะเร็งปอดสามารถเกิดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แต่หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ การตรวจสุขภาพเป็นประจำและการคัดกรองมะเร็งปอด จึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีช่วยให้การตรวจคัดกรองมีความแม่นยำมากขึ้น เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ Low-dose CT Scan ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคได้เร็วขึ้น เพิ่มโอกาสในการรักษา นอกจากนี้ ความก้าวหน้าด้าน Targeted Therapy (การรักษาแบบมุ่งเป้า) และ Immunotherapy (ภูมิคุ้มกันบำบัด) ยังช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”
โรคมะเร็งนอกจากทำลายสุขภาพของผู้ป่วยแล้ว โรคมะเร็งยังส่งผลกระทบต่อครอบครัวและคนใกล้ชิดของผู้ป่วยด้วย ดังนั้น การรักษามะเร็งในปัจจุบันจึงไม่ใช่แค่การรักษาโรค แต่ยังหมายถึงการที่คนใกล้ชิดมีความรู้สามารถช่วยดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาวได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ การตรวจคัดกรองด้วย Low Dose CT Scan ถือเป็นความหวังในการช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 20 เนื่องจากสามารถตรวจพบโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และมีโอกาสรักษาหายขาดสูงกว่ามาก
เสียงสะท้อน ข้อคิด และความหวัง จากผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด
จากประสบการณ์ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด คุณนุช นางธิยารัตน์ ธนาจิรวรพัฒน์ กล่าวว่า “ดิฉันอยู่ในครอบครัวที่ไม่มีใครสูบบุหรี่เลย ก่อนตรวจเจอโรคมะเร็งปอด ด้วยวิชาชีพพยาบาลเป็นคนที่ดูแลคนอื่น ไม่ค่อยได้ดูแลตัวเอง มีความเครียดจากการทำงาน และพักผ่อนไม่เป็นเวลา การตรวจเจอมะเร็งทำให้กลับมาดูแลสุขภาพกายและใจของตัวเอง คิดบวก และปล่อยวางมากขึ้น หันกลับมาดูแลเรื่องอาหารการกิน และพักผ่อนอย่างเพียงพอ อยากฝากถึงทุกคนว่า ตอนนี้พวกเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เรามีโอกาสเป็นโรคเกี่ยวกับปอดมากขึ้น ดังนั้น ถ้าพบว่าตัวเองหรือคนในครอบครัวมีอาการผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายทันที สิ่งสำคัญที่อยากให้ประเทศไทยมีคือ ระบบคัดกรองคนไข้ที่เข้าเกณฑ์เสี่ยงเป็นมะเร็งปอด เช่น คนอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือมีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด หรือมีอาการไอ น้ำหนักลด อยากให้คนกลุ่มนี้มีโอกาสได้ตรวจคัดกรองตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะหากตรวจพบโรคระยะแรกๆ ค่ารักษาจะลดลงมาก นอกจากนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์และยาในปัจจุบันก้าวหน้าไปมาก ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวขึ้นด้วย”
เสียงจากคุณนก ศุภาทร กัลยาณสุต ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย และเป็นประธานชมรมผู้ป่วยมะเร็งปอด ของ TCS และอยู่ร่วมกับโรคมะเร็งปอดในฐานะผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะ 4 ชนิด Non-small cell ปัจจุบันในวัย 56 ปีกำลังอยู่ระหว่างการรักษาด้วยยามุ่งเป้า หลังจากมะเร็งปอดกลับมาลุกลามอีกครั้ง นางศุภาทร เล่าว่า “ดิฉันเป็นคนที่ดูแลสุขภาพตัวเองดีมาตลอด ออกกำลังกายทุกวัน และตรวจสุขภาพประจำปีตามปกติ ดิฉันประเมินว่า ฝุ่นในอากาศอาจมีส่วนทำให้เป็นมะเร็ง เพราะดิฉันออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นประจำ แม้ตอนนั้นยังไม่มีใครพูดถึง PM 2.5 ก็ตาม แต่ปัจจุบันกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนไทย ดังนั้น จึงอยากแนะนำให้ทุกคนสวมหน้ากากป้องกัน เมื่อต้องเผชิญกับฝุ่นจิ๋ว นอกจากนี้ อยากส่งเสริมให้ทุกคนตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ ส่วนผู้ป่วยมะเร็งก็อยากแนะนำว่า หากยังมีวิธีรักษา ก็ควรจะรักษา เพราะตอนนี้มียาที่มีประสิทธิภาพดี ควรทานอาหารให้หลากหลาย ออกกำลังกาย และที่สำคัญ คือ อย่าหมดกำลังใจ”
ภารกิจสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็ง ของ โรช ไทยแลนด์
ที่ผ่านมา โรช ไทยแลนด์ ทำงานร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาด้านการเข้าถึงการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสำหรับคนไข้ โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลชั้นนำ มหาวิทยาลัย และหน่วยงานด้านสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยานวัตกรรม และการวินิจฉัยที่ล้ำสมัยอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เช่น ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาแนวความรู้เกี่ยวกับการประเมินเทคโนโลยีทางสุขภาพแก่ชมรมผู้ป่วยกว่า 20 ชมรม และร่วมมือกับเครือข่ายโรงพยาบาลพระปกเกล้า สร้างระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ และได้รับรางวัล Cancer Branch Award จาก Service Plan Sharing และกำลังขยายผลสู่โรงพยาบาล 12 แห่งทั่วประเทศ คาดว่าจะช่วยผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นกว่า 100,000 รายในปี 2568 ขณะเดียวกัน โรช ไทยแลนด์ ยังส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง เพื่อให้คนไทยกลุ่มวัยทำงานให้ดูแลสุขภาพของตนเองได้ดียิ่งขึ้น โดยมี โครงการ Cancer Care Connect: ตรวจเร็ว รักษาไว ห่างไกลมะเร็ง ที่ช่วยเชื่อมโยงข้อมูลและความรู้ก่อนต้องเผชิญกับโรคมะเร็ง
ภารกิจของโรช สอดคล้องกับคอนเซ็ปต์ United by Unique หรือ “ร่วมกันในเป้าหมาย แต่แตกต่างในความต้องการ” ของวันมะเร็งโลกในปีนี้ นายแมทธิว โคทส์ ผู้จัดการทั่วไป โรช ไทยแลนด์ เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว กล่าวว่า “โรช มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมการรักษาเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยทั่วโลกมาตลอด 129 ปี โดยในทศวรรษที่ผ่านมา เราได้ให้การรักษาผู้ป่วยชาวไทยไปแล้วกว่า 3 ล้านคน และมียาถึง 13 รายการในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วย พร้อมกันนี้ เรายังได้ดำเนินการวิจัยทางคลินิกในประเทศไทย โดยมีผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการกว่า 1,300 คน และมีเงินลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนากว่า 600 ล้านบาท ที่สำคัญเรามีแผนเพิ่มการลงทุนด้านพัฒนางานพัฒนาและวิจัย (R&D) ร้อยละ 5 ในทุก ๆ ปี เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการแพทย์ที่จะเปลี่ยนชีวิตผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น" นายมิไฮ อีริเมสซู กรรมการผู้จัดการ โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “การตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้นเป็นกุญแจสำคัญที่จะมอบโอกาสให้ผู้ป่วยหายขาด โรชมุ่งมั่นที่จะช่วยให้คนไทยเข้าใจความสำคัญของการตรวจคัดกรองตั้งแต่เนิ่น ๆ และใช้โอกาสนี้อย่างเต็มที่ การทำเช่นนี้ไม่ใช่แค่การป้องกันโรค หากแต่เป็นการลงทุนในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับผู้คน และช่วยลดภาระจากโรค รวมถึงค่าใช้จ่ายทางสังคมและเศรษฐกิจสำหรับสังคมไทย ผู้ป่วยแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกัน และโรชมุ่งมั่นที่จะสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้น เพื่อชีวิตที่ดีกว่าสำหรับทุกคน"
โรชเชื่อมั่นว่า ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนจะช่วยให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งมีความก้าวหน้า และภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบสุขภาพในประเทศไทย
ทั้งนี้ การหลอมรวมพลังจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ เอกชน บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และประชาชนคนไทย เป็นกุญแจสำคัญสู่ระบบสุขภาพที่เท่าเทียมและยั่งยืน เพราะแม้เราจะมีความต้องการและเส้นทางที่แตกต่างกัน แต่เราต่างมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ การสร้างอนาคตที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพได้อย่างมีคุณภาพ United by Unique หรือ 'ร่วมกันในเป้าหมาย แต่แตกต่างในความต้องการ’
โรช ไทยแลนด์ ตอกย้ำการเดินทางแห่งนวัตกรรมการรักษาและวัฒนธรมองค์กร ภายใต้ผู้บริหารคนใหม่ แมทธิว ไซมอน โคตส์ (Matthew Simon Coates – Matt Coates) ประจำประเทศไทย เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว ด้วยพื้นฐานความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ และประสบการณ์กว่ายี่สิบปีในการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยาและค้นคว้าและวิจัย ทำให้ แมทธิว พร้อมก้าวเข้าสู่บทบาทใหม่ด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน เพื่อขับเคลื่อนการเข้าถึงนวัตกรรมทางการรักษา พร้อมทั้งส่งเสริมความร่วมมือกับทุกภาคส่วน
ภายใต้แนวคิด “การเดินทางแห่งนวัตกรรมการรักษา และวัฒนธรรมของ โรช ไทยแลนด์ เพื่อสังคมไทย” โรช ไทยแลนด์จัดงานแถลงข่าว เพื่อแนะนำ แมทธิว ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของ โรช ที่มีต่อการวิจัยและพัฒนาผ่านการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความคล่องตัวขององค์กร (Agile Organisation) และการผลักดันความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วนที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางนวัตกรรมและวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมสุขภาพ เพื่อให้คนไทยเข้าถึงยานวัตกรรมมากยิ่งขึ้น
เบื้องหลังการพัฒนายาแต่ละตัว กับความทุ่มเทของโรช
การพัฒนายาเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยต้องอาศัยความทุ่มเทและการทำงานร่วมกันในระบบเครือข่ายทั่วโลกของโรช โดย โรช มีแผนเพิ่มทุนลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ปีละ 5% โดยปี 2569 จะใช้เงินลงทุนถึง 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ที่เปลี่ยนชีวิตคนไข้ไปในทางที่ดีขึ้น โดยโรช ไทยแลนด์ ได้นำการวิจัยทางคลินิกระยะที่ 1 ,2 หรือ 3 เข้ามาลงทุนในประเทศไทย มากกว่า 6 ร้อยล้านบาทในช่วง 22 ปีที่ผ่านมา (786 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2562 ถึง 2567)
กว่ายา 1 ตัวจะได้รับการอนุมัติ ต้องอาศัยความทุ่มเทมหาศาล โดยเฉลี่ยใช้เวลามากกว่า 7 ล้านชั่วโมง ในการศึกษาค้นคว้าและพัฒนา ผ่านมากกว่า 6 พัน การทดลอง ใช้นักวิจัยมากถึง 400 กว่าคน เพื่อให้แน่ใจถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา โดยทั่วไป มียาน้อยกว่า 12% ที่เข้าสู่การวิจัยในมนุษย์ แล้วสามารถพัฒนาจนได้รับการอนุมัติจาก FDA เพื่อพร้อมให้บริการแก่ผู้ป่วย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โรชได้ให้การรักษาผู้ป่วยชาวไทยไปแล้วมามากกว่า 3 ล้านคน อีกทั้งยังมียากว่า 13 รายการ ที่อยู่ในรายชื่อบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งยืนยันถึงบทบาทของโรชในฐานะพันธมิตรที่น่าเชื่อถือในระบบการดูแลสุขภาพของประเทศไทย
บทบาทสำคัญของประเทศไทยในวิสัยทัศน์ระดับโลกของโรช
ประเทศไทยเป็นส่วนสำคัญในภารกิจของโรชที่มุ่งมั่นยกระดับมาตรฐานการรักษาผู้ป่วยในประเทศไทย โดยโรชสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ให้เข้าร่วมงานวิจัยทางคลินิกระยะที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ทำให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการรักษาโรคด้วยยานวัตกรรมใหม่ๆ และ นำเทคโนโลยีที่ใช้ร่วมการดูแลผู้ป่วยในการวิจัยมาให้แพทย์ได้ทำงานวิจัยพร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งทำให้เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงยานวัตกรรมให้คนไข้ไทยในทางหนึ่งด้วย
จากข้อมูลที่ศึกษาโดย Deloitte การลงทุนทำงานวิจัยคลินิกทุก 1 บาทที่ลงทุน ประเทศไทยได้รับประโยชน์ 3 บาท
นอกจากนี้ การทำวิจัยในประเทศไทยช่วยเพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ของนักวิจัยและแพทย์ผู้ดูแล เพื่อพัฒนาแนวทางการรักษาที่ตอบโจทย์ความท้าทายด้านสุขภาพ ยิ่งไปกว่านั้น โรชยังทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้บุคลากรทางการแพทย์ ในการเผชิญกับปัญหาสุขภาพในอนาคต
พลังแห่งความร่วมมือ: วัฒนธรรมของการทำงานที่คล่องตัว ในแบบ Agile Way of Working
หัวใจสำคัญของความสำเร็จของโรช คือแนวทางที่ให้ความสำคัญกับบุคลากรเป็นอันดับแรก จากผลสำรวจของพนักงานปี 2567 ที่ ไรช ไทยแลนด์ พนักงานมีความภูมิใจอย่างมากในการทำงานในองค์กรสูงถึง 92% ในปีนี้ ด้วยโครงสร้างและการทำงานแบบ Agile หรือ การทำงานที่สามารถปรับตัวและตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างคล่องตัว เป็นแนวทางการทำงานแบบคล่องตัว ซึ่งมุ่งเน้นการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว ความสามารถในการปรับตัว และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ได้กลายเป็นรากฐานสำคัญของการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรที่มีความใส่ใจตั้งแต่พนักงานไปจนถึงครอบครัวพนักงาน
แมทธิวกล่าวว่า “จากประสบการณ์ในการทำงานระดับ Global ด้วยการวางวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและการให้อำนาจในการตัดสินใจ จะนำพาไปสู่การทำงานที่มีเป้าหมายเดียวกัน และสำหรับ โรช ไทยแลนด์ เรามีการทำงานแบบ Outcome Based Planning เป็นการทำงานโดยมุ่งที่ผลลัพธ์ในทุกๆ 90 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าเป้าหมายในระยะสั้นนี้ มีการวิเคราะห์ และสามารถพิจารณาปรับเปลี่ยนให้ทันกับเหตุการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เพื่อให้ผลลัพธ์ของเป้าหมายองค์กรระยะยาวสำเร็จได้”
การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ความเท่าเทียม และความร่วมมืออย่างเปิดกว้าง ช่วยให้พนักงานสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และปรับตัวเข้ากับความท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความร่วมมือและความรับผิดชอบต่อสังคมไทย โรชทำงานร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนทั่วประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาด้านความสามารถในการเข้าถึงการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้และส่งเสริมความรู้ด้านการดูแลสุขภาพการอยู่ร่วมกันในสังคมผ่านโครงการต่างๆ
ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ: โรชร่วมมือกับโรงพยาบาลชั้นนำ มหาวิทยาลัย และหน่วยงานด้านสาธารณสุขในการพัฒนาการเข้าถึงยานวัตกรรมและการวินิจฉัยที่ล้ำสมัยอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น การร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาแนวความรู้เกี่ยวกับการประเมินเทคโนโลยีทางสุขภาพแก่ชมรมผู้ป่วยกว่า 20 ชมรม และ การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพในประเทศผ่านงานวิจัยและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
ความรับผิดชอบต่อสังคมไทย: โรชตอบแทนสังคมผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพและการศึกษาของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น กิจกรรม โรช ชิลเดรนส์วอล์คซึ่งจัดขึ้นทุกปีแสดงถึงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนเด็กในชุมชน
อิทธิพลเชิงบวกต่อสังคมไทย:
ในเยาวชนไทย โรชส่งเสริมในการให้ความรู้เรื่องความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วม DE&I (Diversity, Equity and Inclusion) ในโรงเรียนต่างๆ ในกลุ่มคนวัยทำงาน โรชมีโครงการ Cancer Care Connect: ตรวจเร็ว รักษาไว ห่างไกลมะเร็ง ที่ช่วยเชื่อมโยงข้อมูลแลความรู้เมื่อเผชิญกับโรคมะเร็ง ในกลุ่มนักเรียนและนักศึกษามหาลัย โรชเปิดโอกาสให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ 35-40 คน ต่อปี เข้ามามีประสบการณ์ทำงานที่โรช
มุ่งสู่อนาคต: วิสัยทัศน์สำหรับวันข้างหน้า
แมทธิวเน้นย้ำถึงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับบทบาทของโรชในของการดูแลสุขภาพของคนไทย โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ด้วยคำกล่าวที่สร้างแรงบันดาลใจว่า “ถ้าอยากไปเร็ว ให้ไปคนเดียว แต่ถ้าอยากไปไกล ให้ไปด้วยกัน” (When you run alone, you run fast. When you run together, you run far) แมทธิวอธิบายว่า “ระบบการดูแลสุขภาพเป็นระบบที่ต้องพึ่งพาการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ความคิดที่สร้างขึ้นในโรชเพียงลำพังนั้นอาจพัฒนาได้เร็วกว่า แต่อาจเอื้อประโยชน์แก่ผู้ป่วยอย่างจำกัด ในทางกลับกัน ความคิดที่ถูกพัฒนาร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานต่างๆ อาจใช้เวลานานและซับซ้อนกว่า แต่ท้ายสุดจะสามารถส่งมอบผลลัพธ์ที่ดีขึ้นแก่ผู้ป่วย และสร้างระบบการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืนในประเทศไทยได้”