November 21, 2024

SCB WEALTH เดินหน้าจัดงานสัมมนา Exclusive Investment Talk ในหัวข้อ “รู้ทันเศรษฐกิจโลก จัดสรรความมั่งคั่งแบบมีเป้าหมาย” ให้แก่กลุ่มลูกค้า High Net Worth Individuals (HNWIs) โดยมองว่า มี5 ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการจัดพอร์ตลงทุนในครึ่งหลังปี 2567 เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในช่วงที่เหลือของปี 2567 อัตราเงินเฟ้อชะลอลง เศรษฐกิจยุโรป หลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession)  ด้านเศรษฐกิจจีน มีแนวโน้มขยายตัวได้ตามเป้าที่ 5% ส่วนไทย ถูกปรับลดประมาณการ GDP ในปีนี้ลงอย่างต่อเนื่อง ตามการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐฯ ที่ชะลอตัว  คาดเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีนี้ ช่วงเดือน ก.ย. และ ธ.ค.รวม 50 bps. ด้านสินทรัพย์ลงทุน นับตั้งแต่ต้นปีจนถึง 31 พ.ค. 2567 ทองคำ ให้ผลตอบแทนสูงสุดที่ 12.8%   หุ้นสหรัฐฯ 10.6% น้ำมัน WTI และ ตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว (ไม่รวมหุ้นสหรัฐฯ)  7.5% และหุ้นตลาดเกิดใหม่ 3.5%  การจัดพอร์ตหากรับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง แนะแบ่งเงิน 75-85% ไว้ในพอร์ตหลัก กระจายลงทุนในตราสารหนี้สหรัฐฯ ตลาดหุ้นที่มีพื้นฐานดี ทั้งในตลาดพัฒนาแล้ว และตลาดเกิดใหม่ รวมทั้งสินทรัพย์ทางเลือก เช่น REITs และทองคำ ส่วนอีก 15-25% แบ่งลงทุนในตลาดหุ้นที่เห็นโอกาสในการสร้างผลแทบแทนในช่วงเวลานั้น ได้แก่ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เวียดนาม จีน H-Share  ยุโรป และไทย  จากValuation ค่อนข้างถูก และคาดว่าอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นจะขยายตัวดีขึ้น 

นางสาวเกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB CIO ธนาคารไทยพาณิชย์  เปิดเผยในงานสัมมนา  Exclusive Investment  Talk   ภายใต้หัวข้อ “รู้ทันเศรษฐกิจโลก จัดสรรความมั่งคั่ง แบบมีเป้าหมาย ” ที่จัดขึ้นให้แก่กลุ่มลูกค้า High Net Worth Individuals (HNWIs) ว่า  ปัจจัยที่ต้องติดตามในช่วงครึ่งหลังของปี 2567  มี 5 ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อพอร์ตลงทุน ได้แก่ 1)  ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกอาจขยายตัวในอัตราชะลอลงมากกว่าที่หลายฝ่ายคาด  2) ความไม่แน่นอนจากนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) 3) ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ – จีน 4) ความไม่แน่นอนจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ และ 5) ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์  โดย  SCB CIO  มองว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลก เกือบทุกประเทศถูกปรับประมาณการดีขึ้น แต่ยังมีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าอดีต ขณะที่ปริมาณการค้าโลกมีแนวโน้มปรับลดลง จากความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะหากทรัมป์ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้วนำไปสู่การขึ้นภาษีทุกสินค้านำเข้าจากจีนอย่างน้อย 60% และขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกที่ 10% จะส่งผลกดดันโมเมนตัมการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ผ่านการค้าและห่วงโซ่อุปทานโลกที่จะแย่ลง

ทั้งนี้ มองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในช่วงที่เหลือของปี 2567 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อชะลอลง แต่ยังปรับลดลงค่อนข้างช้า ด้านตลาดแรงงานสหรัฐฯ  ยังคงแข็งแกร่ง ส่วนเศรษฐกิจยุโรป  ได้หลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) และปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน ด้านเศรษฐกิจจีน มีแนวโน้มขยายตัวได้ตามเป้าที่ 5% โดยในระยะสั้นได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นรอบใหม่ แต่ในระยะกลาง ยังถูกกดดันจากการชะลอตัวเชิงโครงสร้างของภาคอสังหาฯ และการกีดกันทางด้านการค้าที่รุนแรงมากขึ้น สำหรับเศรษฐกิจไทย ถูกนักเศรษฐศาสตร์ปรับลดประมาณการ GDP ในปีนี้ลงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ต้นปี ตามการส่งออกสินค้าและการใช้จ่ายภาครัฐฯ ที่ชะลอตัว แม้ว่าจะมีแรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชนและการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวก็ตาม  

ส่วนความไม่แน่นอนนโยบายการเงินของเฟด มีผลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) สหรัฐฯ 10 ปี โดยก่อนหน้านี้ Bond Yield สหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น แตะระดับสูงสุดนับจากต้นปี (YTD) ที่ 4.71% แต่หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ส่งสัญญาณว่า ยังไม่จำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และความกังวลข้อพิพาททางการค้ากับจีน ทำให้ Bond Yield สหรัฐฯ อายุ 10 ปี ลดลง มาอยู่ที่ 4.34% แต่เมื่อตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่น PMI และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคออกมาดี ขณะที่ สมาชิกเฟด ยังคงท่าทีระมัดระวังต่อการลดดอกเบี้ยนโยบาย และรายงานการประชุมฯ รอบล่าสุดที่ค่อนข้างมีมุมมองการใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว  ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลว่า เฟดจะเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไปหรือไม่ ส่งผลให้ Bond Yield สหรัฐฯ 10 ปี ปรับขึ้นอีกครั้ง โดย ณ วันที่ 31 พ.ค. 2567 อยู่ที่ 4.50% อย่างไรก็ดี มองว่า เฟดมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้ง รวม 50 bps. ในปีนี้ ในช่วงเดือน ก.ย. และ ธ.ค. ขณะที่ตลาดคาดเฟดปรับลดดอกเบี้ยลง 2 ครั้งเช่นกัน ทำให้หากเฟดลดอัตราดอกเบี้ยน้อยหรือช้ากว่าที่ตลาดคาด จะส่งผลลบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาด เนื่องจาก ต้นทุนการระดมทุนของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจจะยังอยู่ในระดับสูงต่อ และกระทบกับกำไรของบริษัทจดทะเบียนของสหรัฐฯ

ส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอื่นๆ คาดว่า ธนาคารกลางยุโรปมีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย. (ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2567 ธนาคารกลางยุโรป ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงครั้งแรกในรอบเกือบ 5 ปีตามคาดการณ์) เร็วกว่าธนาคารกลางส่วนใหญ่ที่คาดว่าจะเลื่อนการปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกออกไปเป็นไตรมาสที่ 3-4/2567  ในส่วนของไทย คาดว่า การลดดอกเบี้ยน่าจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในช่วงไตรมาส 4/2567 ขณะที่ ประเทศที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ได้แก่ ญี่ปุ่น ซึ่งได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว และมีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง ช่วงไตรมาส 3/2567 จากเงินเฟ้อที่เริ่มกลับมา และอินโดนีเซีย  ได้มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยไปเมื่อเดือน เม.ย.จากเงินรูเปียห์ที่อ่อนค่ามาก

ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ - จีน ที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพิ่งประกาศปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าบางรายกับจีน มูลค่าประมาณ 18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พุ่งเป้าที่สินค้าสำคัญทางยุทธศาสตร์ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ แผงโซลาร์เซลล์ แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า เหล็ก และ อลูมิเนียม   โดย SCB CIO คาดว่าผลลบโดยตรงที่เกิดกับจีนยังมีค่อนข้างจำกัด  เนื่องจากมูลค่าการส่งออกสินค้าเหล่านี้ คิดเป็น 0.1% ของ GDP จีน อีกทั้ง บริษัทจีนทยอยรับมือลดการพึ่งพาสหรัฐฯ ผ่านการปรับห่วงโซ่อุปทาน ปรับช่องทางการค้า และมีแนวโน้มกระจายความเสี่ยงทางการค้าอย่างต่อเนื่อง   

อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ - จีน มีแนวโน้มสูงขึ้นหลังจากนี้ จากประเด็นความไม่แน่นอนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ   หากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งในเดือน พ.ย. 2567 อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆ ทำให้ความไม่แน่นอนด้านนโยบายระหว่างสหรัฐฯ – จีน ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ทรัมป์ มีแผนจะปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนทุกรายการ อย่างน้อย 60% ซึ่งจะกระทบต่อจีน คิดเป็น 0.8% ของ GDP จีน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงที่ทางการจีนจะยอมปล่อยให้เงินหยวนอ่อนค่าอย่างมีนัย เพื่อลดผลกระทบกำแพงภาษี

นอกจากนี้  ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ล่าสุด คือ ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-อิหร่าน ที่ก่อนหน้านี้อิหร่านตอบโต้อิสราเอลโดยตรงเป็นครั้งแรก ทำให้ทั่วโลกกังวลว่าจะนำไปสู่สงครามโลกครั้งใหม่ แต่สุดท้าย สถานการณ์ก็ไม่ได้รุนแรงอย่างที่กังวล เพียงแต่สงครามยังไม่จบ ขณะที่ สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ยังคงยืดเยื้อ  ทั้งนี้ จากสถิติในอดีต ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง จะกระทบต่อตลาดหุ้นโลกให้ปรับลดลงอย่างมากในกรณีที่ราคาพลังงานเพิ่มขึ้นมาก จนส่งผลกระทบไปยังอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย โดยหากพิจารณาจาก ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ปี 2533 – 2567 พบว่า ตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบเล็กน้อยในช่วง 1 สัปดาห์หลังสงคราม และเมื่อสงครามผ่านพ้นไปแล้ว หากสงครามอยู่ในวงจำกัด ตลาดหุ้นจะกลับมาให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเป็นบวกได้ ในช่วงตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ขณะที่ สินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำ  พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ  และราคาน้ำมัน จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเป็นบวก โดยเฉพาะในช่วงสั้นที่มีความกังวลบนความขัดแย้ง

น.ส.เกษรี กล่าวว่า เมื่อพิจารณา ผลตอบแทนรวมจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ นับตั้งแต่ต้นปีจนถึง 31 พ.ค. 2567 ทองคำ ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด  อยู่ที่ 12.8%  ตามด้วย หุ้นสหรัฐฯ อยู่ที่ 10.6% น้ำมัน WTI และ ตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว (ไม่รวมหุ้นสหรัฐฯ) อยู่ที่ 7.5% และหุ้นตลาดเกิดใหม่ อยู่ที่ 3.5%  อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาควบคู่กับสถิติในอดีต ไม่มีสินทรัพย์ประเภทใดให้ผลตอบแทนโดดเด่นติดต่อกันทุกปี โดยสามารถให้ผลตอบแทนติดลบหรือเป็นบวกได้ในบางปี ดังนั้น หากต้องการรับมือความเสี่ยงที่มีผลต่อการลงทุน เราแนะนำให้ผู้ลงทุนจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย (Asset Allocation) ซึ่งจะช่วยให้มีโอกาสรับผลตอบแทนค่อนข้างสม่ำเสมอในระยะยาว  

สำหรับ การจัดพอร์ตโดยการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่หลากหลาย( Asset Allocation )ในกรณีรับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง ผู้ลงทุนสามารถจัดแบ่งเงินส่วนใหญ่ 75-85% ไว้ในพอร์ตหลักสำหรับการลงทุนระยะยาว (Core Portfolio) โดยควรมีการสำรองสภาพคล่อง พร้อมกระจายเงินลงทุนทั้งในตราสารหนี้ เพื่อสร้างกระแสเงินสดให้พอร์ตลงทุน เพราะจากสถิติในอดีตบ่งชี้ว่า ในช่วง 6 เดือน และ 12 เดือน หลังเฟด หยุดขึ้นดอกเบี้ย และหลังเฟด ลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก ตราสารหนี้ของสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทนรวมเป็นบวก รวมถึงลงทุนในตลาดหุ้นที่มีพื้นฐานดี มี Valuation ที่เหมาะสม ทั้งในตลาดพัฒนาแล้ว และตลาดเกิดใหม่ ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก เช่น ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) รวมถึง สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ เพื่อกระจายความเสี่ยง ให้พอร์ตมีความมั่งคงและมีเสถียรภาพมากขึ้น

ขณะที่ เงินอีกส่วน 15-25% สามารถแบ่งไปลงทุนผ่าน พอร์ตเสริมโอกาส (Opportunistic Portfolio) ในตลาดหุ้นที่เห็นโอกาสในช่วงเวลานั้นได้ ซึ่งในปัจจุบัน SCB CIO มองเห็นโอกาสอยู่ใน 5 ตลาด ได้แก่ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ตลาดหุ้นเวียดนาม ตลาดหุ้นจีน H-Share ตลาดหุ้นยุโรป และตลาดหุ้นไทย ที่ Valuation ค่อนข้างถูก ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์ คาดการณ์อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS growth) ของตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในปี 2567 จะขยายตัวดีขึ้น  


คำเตือน

  • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 02-777-7777

SCB WEALTH เปิด 3 สินทรัพย์ผลงานโดดเด่นในไตรมาสแรก ได้แก่ น้ำมัน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และทองคำ พร้อมแนะกลยุทธ์ลงทุนไตรมาส2 จัดพอร์ตระยะยาว มองตราสารหนี้ Investment grade อายุ 2-3 ปี เพื่อเก็บผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยจ่ายที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าตราสารหนี้ระยะยาวไว้ และเมื่อ Fed ลดดอกเบี้ยแล้ว ยังมีโอกาสรับ Capital gain จากราคาตราสารหนี้ที่ปรับเพิ่มขึ้น ด้านหุ้นสหรัฐ อินเดีย และไทย รอจังหวะปรับตัวลดลง ค่อยเข้าลงทุน ส่วนการลงทุนระยะสั้น แนะนำตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และเวียดนาม จากอานิสงส์ ผลประกอบการแนวโน้มดี มูลค่าหุ้นถูก เงินลงทุนต่างชาติไหลเข้า

SCB WEATLH เดินหน้าจัดสัมมนาตลอดปี ตอบรับการตื่นตัวในการอัพเดทข้อมูลการลงทุนของกลุ่มลูกค้า Wealth ของธนาคารที่ต้องการรับคำปรึกษาการลงทุน จากผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน โดยตรงแบบตัวต่อตัว โดยเริ่มที่งานแรกExclusive Investment Talk ในหัวข้อ “ส่องแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและไทย ปรับกลยุทธ์ลงทุนไตรมาส 2” โดยมี 2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน จาก SCB CIO ได้แก่ น.ส.เกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB Chief Investment Office (SCB CIO) และนายธนกฤต ศรันกิตติภัทร CFP® ผู้อำนวยการที่ปรึกษาการลงทุน SCB CIO ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นวิทยากร เพื่อเปิดมุมมองวิเคราะห์เจาะลึกสถานการณ์เศรษฐกิจ การลงทุน พร้อมแนะนำกลยุทธ์ และผลิตภัณฑ์ลงทุนที่เหมาะสำหรับการจัดพอร์ตลงทุนในไตรมาส 2 ให้กับกลุ่มลูกค้า Wealth ของธนาคาร เมื่อเร็วๆ นี้ ณ SCB Investment Center เซ็นทรัลเวิลด์

 น.ส.เกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก ช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา พบว่า น้ำมัน เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนรวม (Total Return) สูงสุด โดย 3 เดือนแรกของปี 2567 ปรับเพิ่มขึ้น 16.5% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2566 สาเหตุหลักมาจากอุปทานน้ำมันตึงตัว ท่ามกลางการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมัน ประกอบกับมีความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่มีการโจมตีโรงกลั่นในบริเวณที่ผลิตน้ำมัน

รองลงมาได้แก่ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทน ประมาณ 10.6% ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากกระแสปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่ทำให้บริษัทหลายแห่ง เช่น NVIDIA มีผลประกอบการเติบโตค่อนข้างโดดเด่น ประกอบกับนักลงทุนคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ออกมาดี และ ทองคำ เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนรวม เป็นอันดับ 3 อยู่ที่ 9.8% ส่วนหนึ่งมาจากประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ทำให้นักลงทุนต้องการถือครองทองคำมากขึ้น เนื่องจากมองว่า เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะที่ ธนาคารกลางต่างๆ ก็สะสมทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุน ได้แก่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณชัดเจนขึ้นว่า จะชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) ทำให้นักลงทุนมองว่า เศรษฐกิจโลกไม่น่าจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวอย่างรุนแรง แต่ก็ทำให้ ความหวังที่ Fed จะลดดอกเบี้ยรวดเร็วและรุนแรง มีน้อยลง ด้านความน่าจะเป็นที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอีก 1 ปีข้างหน้า ในกลุ่ม

ประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว (Developed Market) มีแนวโน้มลดลงเกือบทุกประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ ที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายรายการปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ Fed ก็มีการปรับคาดการณ์ตัวเลขต่างๆ ดีขึ้น ส่วนโอกาสการเกิดเศรษฐกิจถดถอยใน 1 ปีข้างหน้า ของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Market) ในเอเชีย อยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้ว โดยประเทศไทย แม้มีความน่าจะเป็นสูงที่สุดในกลุ่ม Emerging Market ในเอเชีย แต่ก็ยังอยู่ในระดับ 30% เท่านั้น และเมื่อพิจารณาภาพรวมเศรษฐกิจไทยแล้ว ก็ยังเติบโตล่าช้ากว่าเมื่อเทียบกับ Emerging Market ในเอเชียอื่นๆ

ส่วนของนโยบายการเงิน SCB CIO มองว่า Fed ไม่จำเป็นต้องรีบลดดอกเบี้ย โดยอาจเริ่มลดในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 ช้ากว่าที่ตลาดมอง เพราะข้อมูล Fed Dot Plot สะท้อนว่า แม้ปีนี้ Fed จะลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง จนไปอยู่ที่ 4.625% แต่ Fed ได้ปรับคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยในปี 2568-2569 และในระยะยาว น้อยลงจากคาดการณ์ครั้งก่อน จากการที่เงินเฟ้ออาจไม่ได้ลดลงเร็ว ขณะที่ สภาพคล่องในระบบยังมีค่อนข้างมาก ส่วนตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง สนับสนุนให้ Fed ไม่ต้องรีบลดดอกเบี้ย

สำหรับ ธนาคารกลางอื่นๆ ได้แก่ ธนาคารกลางญี่ปุ่นนำร่องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสวนทางธนาคารกลางอื่นๆ ไปเรียบร้อยแล้ว ในไตรมาสแรก เนื่องจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น แต่ธนาคารกลางอื่นๆ ในโลกส่วนใหญ่มีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ทั้งสิ้น โดยมีธนาคารกลางหลักที่คาดว่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยในไตรมาสที่ 2 นี้ ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป ที่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย. ประมาณ 25 bps และ ธนาคารกลางจีน ที่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 เช่นกัน

SCB CIO มองว่า กลยุทธ์การจัดพอร์ตลงทุนไตรมาส 2 ช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวแบบจัดการได้ ส่วนดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูง และลดลงช้า ในพอร์ตลงทุนหลัก (Core Portfolio) ควรเน้นลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ เช่น การลงทุนในตราสารหนี้ ให้เน้นในกลุ่มพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพดี มีอันดับเครดิตอยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade) โดยเน้นเลือกตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุคงเหลือ (Duration) เฉลี่ย 2-3 ปี เพื่อเก็บอัตราผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยจ่าย (Carry Yield) ที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าตราสารหนี้ระยะยาวไว้ ก่อนที่ Fed จะตัดสินใจลดดอกเบี้ย และเมื่อ Fed ลดดอกเบี้ยแล้ว ผู้ถือตราสารหนี้กลุ่มนี้ก็จะมีโอกาสได้รับ Capital gain จากราคาตราสารหนี้ที่ปรับเพิ่มขึ้นด้วย

ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้น สำหรับพอร์ตระยะยาว แนะนำลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ อินเดีย และไทย โดยในส่วนของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ผ่านมาดัชนีปรับขึ้นมามากตั้งแต่ปี 2566 และจากข้อมูลของ Bloomberg ณ วันที่ 29 มี.ค. 2567 การปรับขึ้นกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มหุ้น 7 บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ได้แก่ Apple, Microsoft, Alphabet, Amazon, META, Tesla และ Nvidia อีกทั้งสถิติหลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับขึ้นเกิน 10% ติดต่อกัน 2 ไตรมาสแล้ว ใน 1 เดือนถัดมาดัชนีมักจะปรับลดลง และหลังจากนั้น 3 เดือน ดัชนีจะปรับขึ้นได้ไม่มาก จึงแนะนำให้รอจังหวะที่หุ้นปรับตัวลดลง แล้วทยอยเข้าไปลงทุน เน้นคัดเลือกหุ้นกลุ่มคุณภาพ หรือ Quality Growth เป็นหลัก

ขณะที่ ตลาดหุ้นอินเดีย กำลังจะมีการเลือกตั้ง คาดว่านายนเรนทรา โมดี น่าจะยังได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และนโยบายรัฐบาลก็คงเป็นการสานต่อนโยบายเดิม เน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ปฏิรูประบบแรงงาน เน้นสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเข้าไปลงทุนโดยตรงในอินเดียมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากสถิติในอดีต 3 เดือนก่อนการเลือกตั้ง ตลาดหุ้นอินเดียมักจะปรับขึ้น แต่ในช่วง 1 เดือนก่อนการเลือกตั้งตลาดหุ้นมักจะพักฐาน เพราะนักลงทุนรอให้การเลือกตั้งผ่านพ้นไปก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงขานรับนโยบายรัฐบาลใหม่ แล้วจึงปรับขึ้นต่อ อีกทั้งตลาดหุ้นอินเดียปรับขึ้นมามาก ทำให้มูลค่าค่อนข้างแพงแล้ว จึงเหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาวมากกว่าระยะสั้น ส่วนตลาดหุ้นไทย ยังปรับขึ้นล่าช้ากว่าตลาดหุ้น Emerging Market ในเอเชีย แต่มีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การท่องเที่ยวฟื้นตัว งบประมาณภาครัฐที่เบิกจ่ายเร็วขึ้น และแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในปีนี้ จึงลงทุนในพอร์ตระยะยาวได้

ส่วนการลงทุนในพอร์ตลงทุนเพื่อโอกาสระยะสั้น (Opportunistic Portfolio) ซึ่งผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างสูง ควรลงทุนไม่เกิน 10-20% ของเงินลงทุนโดยรวม เรามองว่า ตลาดหุ้น Emerging Market ในเอเชีย มีความน่าสนใจมากกว่า ตลาดหุ้น Developed Market ที่ปรับขึ้นมาค่อนข้างมาก และเป็นการปรับขึ้นกระจุกตัวในหุ้นมาร์เก็ตแคปสูงในตลาดไม่กี่ตัว เนื่องจากตลาด Emerging Market ในเอเชีย มีการกระจุกตัวของหุ้นที่ปรับขึ้นน้อยกว่า ราคาหุ้นยังไม่ได้ปรับขึ้นมากนัก ทำให้มูลค่าหุ้นยังถูกกว่า Developed Market ยกเว้นตลาดหุ้นอินเดีย ขณะที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ตลาดคาดการณ์ 12 เดือนข้างหน้า มีแนวโน้มเติบโตค่อนข้างมาก อีกทั้งเงินลงทุนต่างชาติมีแนวโน้มไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดหุ้นที่โดดเด่น คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และตลาดหุ้นชายขอบ (Frontier Market) อย่างเช่น ตลาดหุ้นเวียดนาม

“ช่วงที่ผ่านมา เงินลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้น Emerging Market เอเชียต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2563-2565 และเพิ่งจะเริ่มไหลกลับเข้ามาในปี 2566 ต่อเนื่องถึง ไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 โดยเมื่อนำเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้าและไหลออกหักลบกัน พบว่า ยอดเงินลงทุนจากต่างชาติยังไหลออกสุทธิ อยู่ที่ 78,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้ง สัดส่วนเงินที่ไหลกลับมาลงทุนที่เป็นของนักลงทุนต่างชาติ นับตั้งแต่ปี 2566 จนถึงปัจจุบัน ยังอยู่เพียง 38% ของยอดเงินที่ไหลออกทั้งหมด ดังนั้น จึงมีช่องว่างที่นักลงทุนต่างชาติจะกลับเข้ามาลงทุนใน Emerging Market เอเชียต่อ โดยเฉพาะในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่เงินไหลออกไปมากในช่วงที่ผ่านมา” น.ส.เกษรี กล่าว

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ได้อานิสงส์การส่งออกที่ดี โดยเฉพาะสินค้าเซมิคอนดักเตอร์ในวงจรต้นน้ำ เช่น DRAM ชิปหน่วยความจำในคอมพิวเตอร์ และ NAND ชิปประมวลผลในการ์ดความจำ ซึ่งจะไปสนับสนุนหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่มีสัดส่วน 39% ของมูลค่าตลาดรวม (มาร์เก็ตแคป) ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ให้เติบโตได้ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตขึ้นมาก อีกทั้งตลาดหุ้นเกาหลีใต้พยายามให้บริษัทจดทะเบียนเพิ่มมูลค่าบริษัทโดยสมัครใจ ด้วยการเพิ่มการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น และการซื้อหุ้นคืน เพื่อให้ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) ของบริษัทสูงขึ้น ซึ่งหุ้นที่มีราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) ระดับต่ำ จะได้ประโยชน์จากปัจจัยนี้

ส่วนตลาดหุ้นเวียดนาม เรามองว่า เศรษฐกิจเวียดนาม ในปี 2567 ยังมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากภาคการส่งออก และเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ การยกระดับสถานะตลาดหุ้นเวียดนาม จากตลาด Frontier Market ไปสู่ตลาด Emerging Market มีแนวโน้มส่งผลให้เงินทุนไหลเข้ามากขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ หุ้นกู้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่จะครบกำหนดนัดชำระหนี้ในไตรมาสที่ 2-3 ปี 2567 นี้มีค่อนข้างมาก อาจส่งผลให้นักลงทุนกังวลและขายทำกำไรกลุ่มอสังหาฯ ในระยะสั้น ดังนั้นควรเน้นคัดเลือกกองทุนที่มีนโยบายการบริหารเชิงรุก มีผู้จัดการกองทุนคัดเลือกหุ้นรายตัว หลีกเลี่ยงหุ้นที่อ่อนไหวกับประเด็นในภาคอสังหาฯ

ด้านนายธนกฤต ศรันกิตติภัทร CFP® ผู้อำนวยการที่ปรึกษาการลงทุน SCB CIO ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกล่าวว่า ในส่วนของการลงทุน นักลงทุนควรลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ โดยการลงทุนในพอร์ตหลักนั้น ตราสารหนี้ ยังเป็นคำตอบที่น่าสนใจในช่วงก่อนดอกเบี้ยปรับลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งเราแนะนำให้เลือกพันธบัตรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ส่วนหุ้นกู้ให้หลีกเลี่ยงการเลือกหุ้นกู้ที่ มีความเสี่ยงจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจากระดับ Investment Grade ไปอยู่ในกลุ่มตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง (High Yield) โดยควรเลือกลงทุนหุ้นกู้ Investment Grade ระดับ A ขึ้นไป ซึ่งกองทุนที่ตอบโจทย์ได้ค่อนข้างดีคือ SCBDBOND(A) ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ธปท.รัฐวิสาหกิจในไทยเป็นส่วนใหญ่ และลงทุนในตราสารหนี้เอกชนในประเทศ

กรณีที่รับความเสี่ยงได้สูงขึ้น ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายขึ้นในพอร์ตลงทุนหลัก แต่ยังเน้นลงทุนในประเทศเป็นหลัก แนะนำเลือกกองทุนผสม KFYENJAI-A ซึ่งมีการลงทุนในหุ้น ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

(REITs) และพันธบัตรรัฐบาล กรณีที่พร้อมรับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน มีกองทุนผสมน่าสนใจ 2 กองทุน ได้แก่ SCBCIO(A) ซึ่งมุ่งเน้นการปรับสัดส่วนเงินลงทุนได้ยืดหยุ่น เพิ่มหรือลดสินทรัพย์เสี่ยงได้ 0-100% เพื่อรับมือทุกสภาวะตลาด ที่บริหารพอร์ตกองทุนโดย SCB CIO Office และ กองทุน SCBGA(A) ที่เงินลงทุนหลัก 70% บริหารโดยสะท้อนมุมมองการลงทุนจากจูเลียส แบร์ อีก 30% คัดเลือกลงทุนโดย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ โดยทั้ง 2 กองทุน มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน และกรณีที่ต้องการเลือกลงทุนกองทุนหุ้นไทยในพอร์ตหลัก แนะนำกองทุน SCBDV(A) ซึ่งเน้นลงทุนในหุ้นไทยที่มีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี สามารถลงทุนได้ในระยะยาว ขณะที่ กองทุนที่น่าสนใจสำหรับ Opportunistic Portfolio ได้แก่ SCBKEQTG ซึ่งลงทุนในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และกองทุน PRINCIPLE VNEQ-A ที่ลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม

นอกจากนี้ หากผู้ลงทุนที่มีความมั่งคั่งสูง ประสบการณ์ลงทุนสูง รับความเสี่ยงได้สูง อาจเลือกลงทุนเพิ่มเติมในผลิตภัณฑ์หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Product) ที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์การป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในภาวะตลาดผันผวน เพื่อลดโอกาสการสูญเสียเงินต้น เช่น Double Sharkfin ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่ลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้แบบมีกำหนดอายุและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนคงที่ อีกส่วนหนึ่งไปลงทุนในสัญญาวอแรนท์ ที่อ้างอิงกับดัชนีตลาดหุ้นต่างๆ โดยกำหนดเงื่อนไขว่า หากดัชนีเคลื่อนไหวปรับขึ้นหรือลดลงในกรอบที่กำหนด มีโอกาสได้ผลตอบแทนตามที่ระบุไว้ แต่กรณีดัชนีเคลื่อนไหวหลุดจากกรอบที่กำหนด จะได้รับผลตอบแทนน้อยลง หรือไม่ได้เลย แต่โอกาสขาดทุนก็น้อยลงเช่นกัน

SCB WEALTH เปิด 3 สินทรัพย์ผลงานโดดเด่นในไตรมาสแรก ได้แก่ น้ำมัน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และทองคำ พร้อมแนะกลยุทธ์ลงทุนไตรมาส2  จัดพอร์ตระยะยาว มองตราสารหนี้ Investment grade  อายุ 2-3 ปี  เพื่อเก็บผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยจ่ายที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าตราสารหนี้ระยะยาวไว้ และเมื่อ Fed ลดดอกเบี้ยแล้ว ยังมีโอกาสรับ Capital gain จากราคาตราสารหนี้ที่ปรับเพิ่มขึ้น  ด้านหุ้นสหรัฐ  อินเดีย และไทย รอจังหวะปรับตัวลดลง ค่อยเข้าลงทุน  ส่วนการลงทุนระยะสั้น แนะนำตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และเวียดนาม จากอานิสงส์ ผลประกอบการแนวโน้มดี มูลค่าหุ้นถูก เงินลงทุนต่างชาติไหลเข้า

SCB WEATLH เดินหน้าจัดสัมมนาตลอดปี ตอบรับการตื่นตัวในการอัพเดทข้อมูลการลงทุนของกลุ่มลูกค้า Wealth ของธนาคารที่ต้องการรับคำปรึกษาการลงทุน จากผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน โดยตรงแบบตัวต่อตัว  โดยเริ่มที่งานแรกExclusive Investment Talk  ในหัวข้อ “ส่องแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและไทย ปรับกลยุทธ์ลงทุนไตรมาส 2” โดยมี 2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน จาก SCB CIO  ได้แก่ น.ส.เกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB Chief Investment Office (SCB CIO)  และนายธนกฤต ศรันกิตติภัทร CFP® ผู้อำนวยการที่ปรึกษาการลงทุน SCB CIO ธนาคารไทยพาณิชย์  เป็นวิทยากร เพื่อเปิดมุมมองวิเคราะห์เจาะลึกสถานการณ์เศรษฐกิจ การลงทุน พร้อมแนะนำกลยุทธ์ และผลิตภัณฑ์ลงทุนที่เหมาะสำหรับการจัดพอร์ตลงทุนในไตรมาส 2 ให้กับกลุ่มลูกค้า Wealth ของธนาคาร  เมื่อเร็วๆ นี้  ณ  SCB  Investment  Center เซ็นทรัลเวิลด์

น.ส.เกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์  เปิดเผยว่า การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก ช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา พบว่า น้ำมัน เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนรวม (Total Return) สูงสุด โดย 3 เดือนแรกของปี 2567 ปรับเพิ่มขึ้น 16.5% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2566 สาเหตุหลักมาจากอุปทานน้ำมันตึงตัว ท่ามกลางการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมัน ประกอบกับมีความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่มีการโจมตีโรงกลั่นในบริเวณที่ผลิตน้ำมัน 

รองลงมาได้แก่ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทน ประมาณ 10.6% ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากกระแสปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่ทำให้บริษัทหลายแห่ง เช่น NVIDIA มีผลประกอบการเติบโตค่อนข้างโดดเด่น ประกอบกับนักลงทุนคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ออกมาดี   และ ทองคำ เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนรวม เป็นอันดับ 3 อยู่ที่ 9.8% ส่วนหนึ่งมาจากประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ทำให้นักลงทุนต้องการถือครองทองคำมากขึ้น เนื่องจากมองว่า เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะที่ ธนาคารกลางต่างๆ ก็สะสมทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย      

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุน ได้แก่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณชัดเจนขึ้นว่า จะชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) ทำให้นักลงทุนมองว่า เศรษฐกิจโลกไม่น่าจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวอย่างรุนแรง แต่ก็ทำให้ ความหวังที่ Fed จะลดดอกเบี้ยรวดเร็วและรุนแรง มีน้อยลง  ด้านความน่าจะเป็นที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอีก 1 ปีข้างหน้า ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว (Developed Market) มีแนวโน้มลดลงเกือบทุกประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ ที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายรายการปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ Fed ก็มีการปรับคาดการณ์ตัวเลขต่างๆ ดีขึ้น ส่วนโอกาสการเกิดเศรษฐกิจถดถอยใน 1 ปีข้างหน้า ของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Market) ในเอเชีย อยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้ว โดยประเทศไทย แม้มีความน่าจะเป็นสูงที่สุดในกลุ่ม Emerging Market ในเอเชีย แต่ก็ยังอยู่ในระดับ 30% เท่านั้น และเมื่อพิจารณาภาพรวมเศรษฐกิจไทยแล้ว ก็ยังเติบโตล่าช้ากว่าเมื่อเทียบกับ Emerging Market ในเอเชียอื่นๆ

ส่วนของนโยบายการเงิน SCB CIO มองว่า Fed ไม่จำเป็นต้องรีบลดดอกเบี้ย โดยอาจเริ่มลดในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 ช้ากว่าที่ตลาดมอง เพราะข้อมูล Fed Dot Plot สะท้อนว่า แม้ปีนี้ Fed จะลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง จนไปอยู่ที่ 4.625% แต่ Fed ได้ปรับคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยในปี 2568-2569 และในระยะยาว น้อยลงจากคาดการณ์ครั้งก่อน จากการที่เงินเฟ้ออาจไม่ได้ลดลงเร็ว ขณะที่ สภาพคล่องในระบบยังมีค่อนข้างมาก ส่วนตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง สนับสนุนให้ Fed ไม่ต้องรีบลดดอกเบี้ย  

สำหรับ ธนาคารกลางอื่นๆ ได้แก่ ธนาคารกลางญี่ปุ่นนำร่องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสวนทางธนาคารกลางอื่นๆ ไปเรียบร้อยแล้ว ในไตรมาสแรก เนื่องจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น แต่ธนาคารกลางอื่นๆ ในโลกส่วนใหญ่มีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ทั้งสิ้น โดยมีธนาคารกลางหลักที่คาดว่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยในไตรมาสที่ 2 นี้ ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป ที่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย. ประมาณ 25 bps และ ธนาคารกลางจีน ที่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 เช่นกัน

SCB CIO  มองว่า กลยุทธ์การจัดพอร์ตลงทุนไตรมาส 2  ช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวแบบจัดการได้ ส่วนดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูง และลดลงช้า ในพอร์ตลงทุนหลัก (Core Portfolio) ควรเน้นลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ เช่น การลงทุนในตราสารหนี้ ให้เน้นในกลุ่มพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพดี มีอันดับเครดิตอยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade) โดยเน้นเลือกตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุคงเหลือ (Duration) เฉลี่ย 2-3 ปี เพื่อเก็บอัตราผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยจ่าย (Carry Yield) ที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าตราสารหนี้ระยะยาวไว้ ก่อนที่ Fed จะตัดสินใจลดดอกเบี้ย และเมื่อ Fed ลดดอกเบี้ยแล้ว ผู้ถือตราสารหนี้กลุ่มนี้ก็จะมีโอกาสได้รับ Capital gain จากราคาตราสารหนี้ที่ปรับเพิ่มขึ้นด้วย

ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้น สำหรับพอร์ตระยะยาว แนะนำลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ อินเดีย และไทย โดยในส่วนของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ผ่านมาดัชนีปรับขึ้นมามากตั้งแต่ปี 2566 และจากข้อมูลของ Bloomberg ณ วันที่ 29 มี.ค. 2567 การปรับขึ้นกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มหุ้น 7 บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ได้แก่ Apple, Microsoft, Alphabet, Amazon, META, Tesla และ Nvidia อีกทั้งสถิติหลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับขึ้นเกิน 10% ติดต่อกัน 2 ไตรมาสแล้ว ใน 1 เดือนถัดมาดัชนีมักจะปรับลดลง และหลังจากนั้น 3 เดือน ดัชนีจะปรับขึ้นได้ไม่มาก จึงแนะนำให้รอจังหวะที่หุ้นปรับตัวลดลง แล้วทยอยเข้าไปลงทุน เน้นคัดเลือกหุ้นกลุ่มคุณภาพ หรือ Quality Growth เป็นหลัก

ขณะที่ ตลาดหุ้นอินเดีย กำลังจะมีการเลือกตั้ง คาดว่านายนเรนทรา โมดี น่าจะยังได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และนโยบายรัฐบาลก็คงเป็นการสานต่อนโยบายเดิม เน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ปฏิรูประบบแรงงาน เน้นสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเข้าไปลงทุนโดยตรงในอินเดียมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากสถิติในอดีต 3 เดือนก่อนการเลือกตั้ง ตลาดหุ้นอินเดียมักจะปรับขึ้น แต่ในช่วง 1 เดือนก่อนการเลือกตั้งตลาดหุ้นมักจะพักฐาน เพราะนักลงทุนรอให้การเลือกตั้งผ่านพ้นไปก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงขานรับนโยบายรัฐบาลใหม่ แล้วจึงปรับขึ้นต่อ อีกทั้งตลาดหุ้นอินเดียปรับขึ้นมามาก ทำให้มูลค่าค่อนข้างแพงแล้ว จึงเหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาวมากกว่าระยะสั้น ส่วนตลาดหุ้นไทย ยังปรับขึ้นล่าช้ากว่าตลาดหุ้น Emerging Market ในเอเชีย แต่มีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การท่องเที่ยวฟื้นตัว งบประมาณภาครัฐที่เบิกจ่ายเร็วขึ้น และแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในปีนี้ จึงลงทุนในพอร์ตระยะยาวได้

ส่วนการลงทุนในพอร์ตลงทุนเพื่อโอกาสระยะสั้น (Opportunistic Portfolio) ซึ่งผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างสูง ควรลงทุนไม่เกิน 10-20% ของเงินลงทุนโดยรวม เรามองว่า ตลาดหุ้น Emerging Market ในเอเชีย มีความน่าสนใจมากกว่า ตลาดหุ้น Developed Market ที่ปรับขึ้นมาค่อนข้างมาก และเป็นการปรับขึ้นกระจุกตัวในหุ้นมาร์เก็ตแคปสูงในตลาดไม่กี่ตัว เนื่องจากตลาด Emerging Market ในเอเชีย มีการกระจุกตัวของหุ้นที่ปรับขึ้นน้อยกว่า ราคาหุ้นยังไม่ได้ปรับขึ้นมากนัก ทำให้มูลค่าหุ้นยังถูกกว่า Developed Market ยกเว้นตลาดหุ้นอินเดีย ขณะที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ตลาดคาดการณ์ 12 เดือนข้างหน้า มีแนวโน้มเติบโตค่อนข้างมาก อีกทั้งเงินลงทุนต่างชาติมีแนวโน้มไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดหุ้นที่โดดเด่น คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และตลาดหุ้นชายขอบ (Frontier Market) อย่างเช่น ตลาดหุ้นเวียดนาม

“ช่วงที่ผ่านมา เงินลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้น Emerging Market เอเชียต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2563-2565 และเพิ่งจะเริ่มไหลกลับเข้ามาในปี 2566 ต่อเนื่องถึง ไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 โดยเมื่อนำเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้าและไหลออกหักลบกัน พบว่า ยอดเงินลงทุนจากต่างชาติยังไหลออกสุทธิ อยู่ที่ 78,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้ง สัดส่วนเงินที่ไหลกลับมาลงทุนที่เป็นของนักลงทุนต่างชาติ นับตั้งแต่ปี 2566 จนถึงปัจจุบัน ยังอยู่เพียง 38% ของยอดเงินที่ไหลออกทั้งหมด ดังนั้น จึงมีช่องว่างที่นักลงทุนต่างชาติจะกลับเข้ามาลงทุนใน Emerging Market เอเชียต่อ โดยเฉพาะในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่เงินไหลออกไปมากในช่วงที่ผ่านมา” น.ส.เกษรี กล่าว

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ได้อานิสงส์การส่งออกที่ดี โดยเฉพาะสินค้าเซมิคอนดักเตอร์ในวงจรต้นน้ำ เช่น DRAM ชิปหน่วยความจำในคอมพิวเตอร์ และ NAND ชิปประมวลผลในการ์ดความจำ ซึ่งจะไปสนับสนุนหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่มีสัดส่วน 39% ของมูลค่าตลาดรวม (มาร์เก็ตแคป) ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ให้เติบโตได้ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตขึ้นมาก อีกทั้งตลาดหุ้นเกาหลีใต้พยายามให้บริษัทจดทะเบียนเพิ่มมูลค่าบริษัทโดยสมัครใจ ด้วยการเพิ่มการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น และการซื้อหุ้นคืน เพื่อให้ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) ของบริษัทสูงขึ้น ซึ่งหุ้นที่มีราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) ระดับต่ำ จะได้ประโยชน์จากปัจจัยนี้

ส่วนตลาดหุ้นเวียดนาม เรามองว่า เศรษฐกิจเวียดนาม ในปี 2567 ยังมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากภาคการส่งออก และเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ การยกระดับสถานะตลาดหุ้นเวียดนาม จากตลาด Frontier Market ไปสู่ตลาด Emerging Market มีแนวโน้มส่งผลให้เงินทุนไหลเข้ามากขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ หุ้นกู้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่จะครบกำหนดนัดชำระหนี้ในไตรมาสที่ 2-3 ปี 2567 นี้มีค่อนข้างมาก อาจส่งผลให้นักลงทุนกังวลและขายทำกำไรกลุ่มอสังหาฯ ในระยะสั้น ดังนั้นควรเน้นคัดเลือกกองทุนที่มีนโยบายการบริหารเชิงรุก มีผู้จัดการกองทุนคัดเลือกหุ้นรายตัว หลีกเลี่ยงหุ้นที่อ่อนไหวกับประเด็นในภาคอสังหาฯ

ด้านนายธนกฤต ศรันกิตติภัทร CFP® ผู้อำนวยการที่ปรึกษาการลงทุน SCB CIO ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกล่าวว่า ในส่วนของการลงทุน นักลงทุนควรลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ โดยการลงทุนในพอร์ตหลักนั้น ตราสารหนี้ ยังเป็นคำตอบที่น่าสนใจในช่วงก่อนดอกเบี้ยปรับลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งเราแนะนำให้เลือกพันธบัตรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ส่วนหุ้นกู้ให้หลีกเลี่ยงการเลือกหุ้นกู้ที่ มีความเสี่ยงจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจากระดับ Investment Grade ไปอยู่ในกลุ่มตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง (High Yield) โดยควรเลือกลงทุนหุ้นกู้ Investment Grade ระดับ A ขึ้นไป ซึ่งกองทุนที่ตอบโจทย์ได้ค่อนข้างดีคือ SCBDBOND(A) ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ธปท.รัฐวิสาหกิจในไทยเป็นส่วนใหญ่ และลงทุนในตราสารหนี้เอกชนในประเทศ

กรณีที่รับความเสี่ยงได้สูงขึ้น ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายขึ้นในพอร์ตลงทุนหลัก แต่ยังเน้นลงทุนในประเทศเป็นหลัก แนะนำเลือกกองทุนผสม KFYENJAI-A ซึ่งมีการลงทุนในหุ้น ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) และพันธบัตรรัฐบาล กรณีที่พร้อมรับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน มีกองทุนผสมน่าสนใจ 2  กองทุน ได้แก่ SCBCIO(A) ซึ่งมุ่งเน้นการปรับสัดส่วนเงินลงทุนได้ยืดหยุ่น เพิ่มหรือลดสินทรัพย์เสี่ยงได้ 0-100% เพื่อรับมือทุกสภาวะตลาด ที่บริหารพอร์ตกองทุนโดย SCB CIO Office และ กองทุน SCBGA(A) ที่เงินลงทุนหลัก 70% บริหารโดยสะท้อนมุมมองการลงทุนจากจูเลียส แบร์ อีก 30% คัดเลือกลงทุนโดย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ โดยทั้ง 2 กองทุน มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน และกรณีที่ต้องการเลือกลงทุนกองทุนหุ้นไทยในพอร์ตหลัก แนะนำกองทุน SCBDV(A) ซึ่งเน้นลงทุนในหุ้นไทยที่มีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี สามารถลงทุนได้ในระยะยาว  ขณะที่ กองทุนที่น่าสนใจสำหรับ Opportunistic Portfolio ได้แก่ SCBKEQTG ซึ่งลงทุนในตลาดหุ้นเกาหลีใต้  และกองทุน PRINCIPLE VNEQ-A ที่ลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม

นอกจากนี้ หากผู้ลงทุนที่มีความมั่งคั่งสูง ประสบการณ์ลงทุนสูง รับความเสี่ยงได้สูง อาจเลือกลงทุนเพิ่มเติมในผลิตภัณฑ์หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Product) ที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์การป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในภาวะตลาดผันผวน เพื่อลดโอกาสการสูญเสียเงินต้น เช่น Double Sharkfin ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่ลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้แบบมีกำหนดอายุและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนคงที่ อีกส่วนหนึ่งไปลงทุนในสัญญาวอแรนท์ ที่อ้างอิงกับดัชนีตลาดหุ้นต่างๆ โดยกำหนดเงื่อนไขว่า หากดัชนีเคลื่อนไหวปรับขึ้นหรือลดลงในกรอบที่กำหนด มีโอกาสได้ผลตอบแทนตามที่ระบุไว้ แต่กรณีดัชนีเคลื่อนไหวหลุดจากกรอบที่กำหนด จะได้รับผลตอบแทนน้อยลง หรือไม่ได้เลย แต่โอกาสขาดทุนก็น้อยลงเช่นกัน

แนะนักลงทุนย้ายเงินจาก Money Market สกุลดอลลาร์สหรัฐมุ่งสู่ตราสารหนี้ต่างประเทศและตลาดหุ้นเอเชีย

X

Right Click

No right click