December 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

หลักการบริหารจัดการน้ำเพื่อความยั่งยืน ตามแนวคิดเรื่อง Sustainable Development ของน้ำนั้นมีมานานแล้ว แต่สิ่งที่เข้ามาเพิ่มในปัจจุบัน คือการประดิษฐ์สร้าง Toolจำนวนมากผนวกเข้ามา ภายใต้แนวคิด IWRM (Integrated Water Resources Management) เป็น Tool ซึ่งในระยะแรกที่นำมาใช้กับทุกเรื่อง จากนั้นมีพัฒนาการ Integrated ซึ่งในความหมาย คือ การรวมทุกคน ทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มาอย่างต่อเนื่อง

ความพร้อมในการรับมือกับบริบทของสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อป่าต้นน้ำของประเทศไทย ในวันนี้เกี่ยวข้องและเชื่อมโยง ทั้งศาสตร์ด้านวิศวกรรมน้ำ และTool (เครื่องมือ) ตลอดจนการบูรณาการเพื่อนำเทคโนโลยี IoT และBig Data มาใช้ในงานบริหารจัดการน้ำให้เกิดความยั่งยืน

ผศ.ดร.อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึง หลักการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยเน้นในเรื่อง Sustainable Development ของน้ำนั้นมีมานานแล้ว แต่สิ่งที่เข้ามาเพิ่มในปัจจุบัน คือ มีการประดิษฐ์Toolจำนวนมากขึ้นมาก โดยมี IWRM (Integrated Water Resources Management) เป็น Tool ซึ่งในระยะแรกที่นำมาใช้กับทุกเรื่อง จากนั้นมีพัฒนาการ Integrated ซึ่งในความหมาย คือ การรวมทุกคน ทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับ “ต้นน้ำ” ก็คือ คนที่อาศัยอยู่ติดกับป่า ต้องไม่ทำลายป่า รักษาป่า “คนที่อยู่กลางน้ำ” คือ คนที่เพาะปลูก ถ้าน้ำไม่ถูกปล่อยมาก็จะมีปัญหากับกลางน้ำ และ “คนที่อยู่ปลายน้ำ” คือ คนที่อยู่ในเมือง ที่ต้องการน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค รวมในส่วนที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มักอยู่บริเวณพื้นที่ราบ ซึ่งต้องการน้ำที่เพียงพอ การมองจึงต้องรอบด้าน ให้มีการใช้น้ำให้เหมาะสม และเพียงพอทั้งต้น กลางและปลาย นั่นคือแนวทางในการมองก่อนจะไปสู่การบริหารจัดการ

ต่อมาเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย มิติจึงเริ่มเปลี่ยนไปเป็นแนวคิดที่เรียกว่า (WEF - WATER, ENERGY & FOOD) NEXUS หมายถึง “การเชื่อมต่อ” เพราะทั้ง 3 ส่วนคือ Water, Energy และ Food ไม่สามารถทำได้โดยอิสระ ต้องมีการเชื่อมต่อกัน เช่น การทำ Food ต้องใช้ Water และ Energy การสร้าง Energy ก็ต้องใช้ Water เป็นสิ่งพื้นฐานในการสร้างพลังงาน ตั้งแต่โรงงานไฟฟ้า เช่นการหล่อเย็น หรือ Water เองก็ต้องใช้ Energy มาประกอบ จึงสรุปได้ว่า การจัดการเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเดียวนั้นไม่ได้ตอบโจทย์ยุคสมัยอีกต่อไป ต้องมีการเชื่อมโยงทั้ง 3 เรื่อง และต้องรักษาสมดุลทุกเรื่องไปพร้อมๆ กันเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

ในส่วนของความท้าทายของการนำ Tool ไปใช้ให้ได้ประโยชน์นั้น อยู่ที่การสื่อสารและศาสตร์ความรู้ในมิติอื่นด้วย ถึงแม้ในทางวิศวกรรมเรามีความเชี่ยวชาญชำนาญเรื่องในคอนเซปท์ IWRM แต่เราก็ต้องสามารถคุยกับคนอื่นให้ได้ในทุกมิติว่าใครจะเอาเราไปใช้ และเราจะเอาของใครมาใช้ เกิดการแลกเปลี่ยน (Exchange) ขยายตนเองออกไปนอกวง

ยกตัวอย่าง เรื่องจำเป็นที่เราต้องรู้เกี่ยวกับ Energy และ Food และวันนี้ ได้รู้เรื่อง Smart Farm ที่เป็น Combination ระหว่าง Food กับ Water เราอาจไม่มีความรู้เรื่องการปลูกพืช แต่ต้องรู้ว่าการจะปลูกพืชให้ดีนั้นต้องการน้ำเท่าไร เพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ขยายภาพออกก็จะสามารถนำหลักการนี้ไปเกี่ยวข้องกับอีกหลายเรื่อง เช่น ที่อยู่อาศัย ระบบการจัดการน้ำในบ้าน ก็สามารถไปร่วมกับการจัดการ Energy เป็น Smart City และหากมีการจัดการข้อมูลที่ดี ยังสามารถเจาะไปถึงพฤติกรรมของคนได้ถึงการใช้น้ำที่แตกต่างกันอีกด้วย

จะเห็นได้ว่ากรอบเรื่องนี้สามารถคิดต่อขยายวงออกไปได้อีกมากมาย ซึ่งการ combine หลายๆ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เป็นการโฟกัสไปที่การใช้งาน ว่าจะนำเรื่องน้ำไปใช้เพื่ออะไร เช่น เพื่อการเกษตร เรื่องของเมือง คล้ายๆ กับ IoT ที่ไม่จำกัดแค่เรื่อง Internet แต่เป็นอุปกรณ์ แอปพลิเคชันต่างๆ นานา ที่จะคิดขึ้นมาได้ เพียงแต่ใช้ internet เป็นเครื่องมือเท่านั้น ปัจจุบันจึงมีเทคโนโลยีต่อเนื่องที่เกิดขึ้นมาอีกมากมายในศาสตร์เรื่องนี้

ศาสตร์ของวิศวกรรมแหล่งน้ำในวันนี้

ผศ.ดร.อนุรักษ์ บอกว่าถ้าจะพูดเรื่อง “ศาสตร์ของวิศวกรรมน้ำ” ในวันนี้กับในอดีตไม่มีความแตกต่างกัน เพราะการจะทำอะไรต้องมีพื้นฐานของศาสตร์ที่ถูกต้องเป็นรากฐานก่อน ยิ่งในสังคมปัจจุบันยิ่งต้องการคนที่รู้จริง ที่เป็นมืออาชีพ จากความรู้พื้นฐานที่จากเดิม เราอาจจะต้องศึกษาในเชิงลึกลงไปให้มากที่สุด แต่ในวันนี้มองว่าเราต้องปรับตัว เพื่อให้ความรู้ตนเองถูกกระจายไปใช้กับเรื่องอื่นๆ ให้ได้กว้างที่สุด

ขณะเดียวกัน “น้ำ” ไม่ได้มีความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบัน แต่สิ่งที่ต่างไป คือ สภาพสังคมและบริบท ซึ่งทำให้เกิดการปรับตัวไปใช้เทคโนโลยีอื่นๆ วิศวกรน้ำในอดีตอาจจะเน้นการทำเขื่อน แต่วันนี้คงต้องหันไปทำอย่างอื่นแทน เช่น ฝายขนาดเล็ก ซึ่งในความเป็นจริงนั้นก็คือเขื่อน เพราะเป็นสิ่งที่ใช้กันน้ำ สิ่งสำคัญที่ต้องเปลี่ยนและปรับตัวคือคำว่า Management คือต้องเปลี่ยนระบบตนเองให้เข้ากับสภาพการที่เปลี่ยนไป

คนที่เรียนเรื่องน้ำในอดีตจะถูกสอนให้มอง 4 อย่างคือ Space, Time, Quantity และ Quality (ที่ไหน, เมื่อไร, ปริมาณ และคุณภาพ) ซึ่งปัจจุบันเราก็ยังต้องมอง 4 มิตินี้ แต่บริบทเปลี่ยนไป เมื่อเรานำคำว่า Management เข้ามาเกี่ยวจะมีหลายๆ ด้านเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ เช่น Smart Farm ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ในฐานะของวิศวกร ต้องนำศาสตร์ไปตามให้ทันในมิติที่เรามีหลักการอยู่

การเตรียมตัวจัดการน้ำในอนาคต

ในประเด็นของความกังวลในเรื่อง Water Security ที่หมายถึงความมั่นคงทางน้ำ ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงเรื่องความยั่งยืนของน้ำนั่นเอง

ทั้งนี้เราต้องมาหาว่าปัจจัยอะไร ที่ทำให้เกิดความไม่มั่นคง ซึ่งจะพบว่ามี 2 ปัจจัยหลักๆ คือ 1. Water Productivity และ 2. Water Disaster

สำหรับ Water Productivity นั้นเป็นตัวตอบที่ชัดเจนอย่างหนึ่งว่า ใช้น้ำแล้วต้องแบ่ง ซึ่งการแบ่งจะใช้สัดส่วนใดเพื่อให้บาลานซ์กับทุกคน ให้เกิดความเท่าเทียมกัน การตัดสินจะต้องนำ Productivity มาขบคิดพิจารณา สถานการณ์ในวันนี้ประเทศเราใช้ Priority แรก คือ เพื่อการอุปโภคบริโภค และข้อที่ 2 คือ เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็สะท้อนไปที่ความมั่นคง และความยั่งยืน จากนั้นถัดมาจึงไปที่การเกษตร อุตสาหกรรม หรือการบริการก่อนหลัง

ที่ผ่านมามีผลการสำรวจด้านการจัดสรรน้ำ โดยใช้วิธีนำสภาพเศรษฐกิจมาวัดว่า 1 ลูกบาศก์เมตรของน้ำเพื่อการเกษตร ผลิตออกมาเป็นผลบวกทางจีดีพีได้ 4 บาท ในขณะที่อุตสาหกรรมได้ 300 กว่าบาท และการบริการได้ที่ 2,400 บาท อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถนำแกนนี้มายึดเป็นตัวตัดสินโดยหลักเสียทีเดียว แต่เป็นเพียงการคาดการณ์ในอนาคต เพื่อสุดท้ายอาจนำมาซึ่งการสร้างข้อตกลง สำหรับการบริหารจัดการน้ำในอนาคต ถ้ามีการขาดน้ำ เช่นเดียวกับเรื่องไฟฟ้าที่กำลังมีประเด็นอยู่ในปัจจุบัน

ผศ.ดร.อนุรักษ์ ยังเปิดเผยว่า ความยากของการบริหารจัดการน้ำ คือ การถูกควบคุมโดยธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งพื้นที่และเวลาและมีความไม่แน่นอนสูงมาก ยกตัวอย่างพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยมีน้ำมหาศาล แต่เราเอาน้ำจากภาคใต้มาใส่ให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ประสบปัญหาด้านความแห้งแล้งไม่ได้ เพราะมีข้อจำกัดของพื้นที่

นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดเรื่องเวลา สร้างปัญหาระหว่างดีมานต์กับซัพพลายที่ไม่ตรงกัน เพราะปริมาณน้ำยังมีปัจจัยที่ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน โดยเฉพาะฝนตกในภาคใต้ของประเทศไทยคิดเป็น 85-90% ของทั้งปี แต่หน้าแล้งไม่มีฝนตกเลย

การขาดน้ำในหน้าแล้งจะหาซัพพลายได้ ต้องมีการสำรองน้ำตั้งแต่หน้าฝน สิ่งที่จะสำรองน้ำได้ในระดับบ้านเรือนก็คือโอ่ง ตุ่ม ระดับภูมิภาคก็คือเขื่อน ซึ่งทุกวันนี้มีกระแสต่อต้านทำให้การสร้างเขื่อนใหม่เป็นไปได้ยาก ดังนั้นเมื่อประเทศไทยหยุดสร้างเขื่อนหมายถึงตัวเลขซัพพลายหรือสำรองของน้ำหยุดเติบโต ในขณะที่ดีมานด์หรือความต้องการใช้น้ำกลับเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ วันนี้ที่ยังไม่มีใครสนใจเพราะวันนี้เป็นหน้าฝน พอมาพูดกันเมื่อหน้าแล้งก็จะสายเกินไป เรื่องของน้ำจึงเป็นเรื่องที่พูดและศึกษาควบคู่กันระหว่าง Space กับ Time เสมอ

สำหรับปัจจัยกระทบด้านความมั่นคงของน้ำในเรื่อง Water Disaster นั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ น้ำแล้ง กับ น้ำท่วม ซึ่งการจัดการนั่นแน่นอนว่าย่อมต่างกันโดยสิ้นเชิง

สำหรับการจัดการน้ำแล้ง ใช้ Tool คือ Productivity แต่การจัดการน้ำท่วมจะทำอย่างไร จะอยู่สู้หรือจะหนี จะเอาอะไรมาใช้ตัดสิน น้ำท่วมมาก หรือท่วมน้อย นั่นคือ ระดับของน้ำและท่วมนานเท่าไร

หากเรามองจากธรรมชาติของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกิดจาก แม่น้ำ 4 สาย คือ ปิง วัง ยม น่าน ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดน้ำท่วมในภาคกลาง และแม้บางส่วนจะเกิดจากฝนที่ตกในพื้นที่ แต่บางส่วนก็เกิดจากสิ่งที่เราเรียกกันว่าน้ำหลากจากภาคเหนือลงมา นั่นคือด้านการจัดการน้ำจะทำอย่างไร

ในกรณีภาคใต้ ที่เป็นลักษณะน้ำท่วมฉับพลัน (Flash Flood) เกิดจากฝนตกในปริมาณมากต่อเนื่อง วิธีการจัดการปัญหาสองแบบนี้ ต่างกันอย่างสิ้นเชิง น้ำท่วมฉับพลันจะสามารถเตือนล่วงหน้าได้เพียงแค่ 3 ชั่วโมง หรืออย่างมากที่สุดคือ 1 วัน มีลักษณะมาเร็ว ไปเร็ว แต่ลักษณะนี้จะทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน

ในขณะที่น้ำท่วมในปี พใศ. 2554 จะเป็นน้ำหลากที่ค่อยๆ มา เห็นชัดแน่ๆ ว่าจะท่วม ความยากอยู่ที่ปริมาณน้ำที่มาก ระบายไม่ได้ น้ำขังนาน วิธีการจัดการจึงมีหลากหลายวิธีทั้งการใช้โครงสร้าง หรือไม่ใช้โครงสร้าง

การนำเทคโนโลยีมาใช้กับเรื่องน้ำ

ผศ.ดร.อนุรักษ์ บอกว่า ความคาดหวังที่เราจะนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานบริหารจัดการน้ำ ไม่ว่าจะเป็น IoT หรือ Big Data ปัจจุบันนี้เรายังไม่สามารถนำมาใช้ได้ในประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์ นั่นเพราะเรายังไม่มีการเก็บข้อมูลในระยะเวลาที่นานและต่อเนื่อง ตลอดจนครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการ ซึ่งปัญหาส่วนหนึ่งมาจากหน่วยงานที่เก็บข้อมูลยังไม่มีการบูรณาการอย่างชัดเจน ทั้งที่มีหน่วยงานที่ทำเกี่ยวกับเรื่องน้ำในประเทศไทยที่มีมากถึงกว่า 30 หน่วยงาน แต่ข้อมูลก็ไม่ครบถ้วน อาจเพราะมีความยากลำบากและต้องมีการลงทุนในการเก็บข้อมูลจำนวนมากเป็นระยะเวลานาน

“น้ำเป็นหนึ่งใน Utility หลัก” ที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของรัฐ จึงต้องฝากความหวังไว้กับสทนช. หรือสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หน่วยงานที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ที่เป็นของรัฐ และสังกัดภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี ที่คาดว่าจะทำให้เกิดความคล่องตัวในการประสานงานกันระหว่างกระทรวงต่างๆ และสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญคือเรื่องกฎหมายที่ต้องมารองรับ เช่น พระราชบัญญัติน้ำ เพื่อให้มีอำนาจบังคับใช้ในการทำงาน จากนั้น คือ การลงทุนในงบประมาณทั้ง Operation และ Maintenance เพื่อการรวบรวมข้อมูลจำนวนมหาศาล จากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปสู่การเผยแพร่ให้กับประชาชน เพื่อความหวังในการรับมือกับการบริหารจัดการน้ำในอนาคตอย่างยั่งยืน 


เรื่อง : กองบรรณาธิการ

ท่ามกลางโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด! นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญชื่อดัง เปิดนิยามคำว่า ‘Good Life’ ครบทุกมิติ สะท้อนทัศนะ “คุณภาพชีวิตดี-สมดุล-ยั่งยืน” ผ่านเวทีเสวนา THAILAND MBA FORUM 2018 ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ: The Next Chapter of Technology for Sustainable & Good Life 

Good Life

ผศ.ดร.อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงนิยามคำว่า Good Life ผ่านเวทีเสวนาครั้งนี้ว่า ระบบน้ำที่ดีมีส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ได้ ขณะที่ปัญหาเกี่ยวกับน้ำที่เห็นได้ชัดเจน ยังคงเป็นเรื่องของภัยน้ำท่วม-น้ำแล้ง 

ทว่า การแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำและสิ่งแวดล้อม ต้องมีการยึดหลักความพอเพียง ทั้งด้านการอุปโภค-บริโภค รวมถึงการแบ่งปันให้กับภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม ให้สามารถดำเนินการพัฒนาได้อย่างครอบคลุม

"นิยามคำว่า Good Life ของประเทศไทย ผมเน้นไปที่เรื่องการแก้ปัญหาความยากจน น้ำ-สิ่งแวดล้อม และ สภาพเศรษฐกิจสังคม ‘น้ำ’ ถือเป็นทรัพยากรที่มนุษย์ขาดไม่ได้ ทุกคนจะต้องใช้น้ำ ซึ่งสาธารณูปโภค (Utility) ตามนิยามมีอยู่ 2 อย่าง นั่นคือ น้ำ กับ ไฟฟ้า นี่คือสิ่งที่มนุษย์ขาดไม่ได้ 

ด้วยความที่ประเทศไทยมีน้ำมากอยู่พอสมควร แต่ในอนาคตอาจมีปัญหาเกิดขึ้นได้ ในเรื่องของประชากร อาจส่งผลไปสู่การแย่งชิงน้ำเพิ่มขึ้น รวมไปถึงเรื่องความยั่งยืน ทั้งความมั่งคงทางด้านน้ำ (Water Security) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ
ความสามารถในการผลิต (Water Productivity) 

นั่นคือ การทำอย่างไรให้น้ำ 1 หน่วย มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งในเรื่องของ มหันต์ภัย (Water Disaster) เพราะประเทศไทยประสบปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งอยู่ตลอด หลักๆ ควรมีน้ำอย่างพอเพียง ทั้งในเรื่องอุปโภค-บริโภค มีการแบ่งปันให้กับภาคเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาในเรื่องของเศรษฐกิจและสังคม เมื่อเศรษฐกิจดี สังคมก็จะดี" 

ด้าน ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขยายความถึงคำว่า Good Life ว่ามีความหมายในแง่ของความสามารถในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากร ที่สำคัญคือการมีสิทธิ์ในการได้รับการศึกษาอย่างถูกต้องเหมาะสม

“ผมคิดว่า Good Life อาจหมายถึงการที่มนุษย์สามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ รวมไปถึงการมีสิทธิ์ที่จะได้รับการศึกษาที่เหมาะสมตรงตามความต้องการ มีสิทธิ์เข้าถึงอาหาร น้ำดื่ม และทรัพยากรอื่นๆ ที่เหมาะสมกับเรา 

แต่ส่วนสำคัญที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประเด็นใหญ่ คือ ข้อจำกัดของเศรษฐกิจครอบครัวที่กลายเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถเลือกสาขาอาชีพที่อยากทำในอนาคตได้ ผมคิดว่านี่ไม่ใช่ Good Life ที่ดีนัก เพราะข้อจำกัดอันเกิดขึ้นจาก ตัวเศรษฐกิจทางบ้าน ข้อจำกัดอันเกิดจากการที่เราไม่ได้เกิดมาในถิ่นฐานที่มีทรัพยากรสมบูรณ์ 

นั่นหมายความว่าระบบของภาครัฐที่จะลงมาช่วยดูแลและสร้างองค์ประกอบภาพรวม ซึ่งทำให้คนทุกคนที่เกิดอยู่ในประเทศของเรา หรือในทุกๆ ที่ในโลก น่าจะมีสิทธิ์เลือกการศึกษา รวมไปถึงมีสิทธิ์ในการเลือกประกอบอาชีพที่ตัวเองอยากทำ เพราะการที่ได้เลือกทำในสิ่งที่รัก มันจะนำมาซึ่งอิสระและความสุข” 

สอดคล้องกับผู้อำนวยการ Enterprise Brand Management Office SCG วีนัส อัศวสิทธิถาวร ได้เน้นย้ำถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผ่านมุมมองของภาคเอกชนด้วยว่าการมีชีวิตที่ดีนั่นหมายถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด อีกทั้งยังต้องมีความร่วมมือช่วยเหลือกันในภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชน

“ในมุมของภาคเอกชน SCG เรามีเรื่องของการผลิตเป็นหลัก ฉะนั้น เรามองไปในมุมของลูกค้าว่าสิ่งที่เราผลิตและมอบให้ลูกค้า ทำให้ลูกค้ามีชีวิตที่ดีขึ้นหรือไม่ (Better Life) แน่นอนว่าเมื่อเรามองในมุมของคนทำธุรกิจ เป้าหมายของธุรกิจ คือ การสร้างรายได้ตอบแทนผู้ถือหุ้น 

เห็นว่าทฤษฎีห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain) ของคนทำธุรกิจมีความเกี่ยวเนื่องกัน แต่มุมมองของ SCG อาจแตกต่าง เรามองว่าหากลูกค้าได้ Good Life ผู้ถือหุ้นได้ Good Life อาจยังไม่พอ เรามองทั้ง Value Chain ยกตัวอย่างเช่น ซัพพลายเออร์ที่ส่งของมาให้เราผลิต ชุมชนที่อยู่รอบโรงงานเรา หรือพนักงานเราเอง 

อีกมุมที่มองเพิ่มเติม ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตที่ใช้ทรัพยากรต่างๆ ด้วยเรื่องของการผลิตในอดีต เรามองเรื่องของการนำทรัพยากรมาผลิต หลังจากนั้นก็กลายเป็นขยะที่ไม่มีคุณค่า แต่สิ่งที่พูดถึงในวันนี้ในปี 2050 มีการประเมินว่า ประชากรจะเยอะขึ้น ขณะเดียวกันได้สวนทางกับทรัพยากรที่ลดน้อยลง

คนรุ่นลูก-รุ่นหลานจะไม่มีทรัพยากรใช้ หากเราไม่เตรียมการตั้งแต่วันนี้ ในการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด แน่นอนว่าคนรุ่นหลังต้องลำบาก ดังนั้น ทั้งภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม มีการเปลี่ยนวิธีการมองให้เป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มากขึ้น 

นั่นคือการทำอย่างไรให้ใช้ทรัพยากรคุ้มค่ามากที่สุด ไม่ใช่แค่เพื่อให้เรามี Good Life แต่เจเนอเรชันต่อๆ ไปจะได้รับ Good Life ที่พอเพียงด้วยเช่นกัน ตอนนี้ SCG ลุกขึ้นมาเผยแพร่ Circular Economy ให้กับภาคธุรกิจด้วยกันได้รับทราบ เพื่อที่เปลี่ยนวิธีคิดว่าทำอย่างไรให้การทำอุตสาหกรรมมีการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด” 

ด้าน ดร.พีระพงษ์ กลิ่นละออ Managing Director, 3P Consulting Co., Ltd. ฉายภาพใหญ่ของการพัฒนาชุมชนไว้ว่าแก่นสำคัญที่ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี คือ การเปลี่ยนกระบวนการความคิดและทำให้เกิดความสมดุล ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาต่อไปได้

“ในมุมมองของการพัฒนาชุมชน เราพยายามทำให้เกิด “โอกาส” ของการรับรู้ ซึ่งการรับรู้อาจมาจากสิ่งที่เขารับมาจากการอ่าน จากการใช้ชีวิตประจำวัน ฉะนั้น การเข้าใจคือการเปิดโอกาสให้ได้รับรู้และเกิดการกระทำด้วย หลังจากที่ได้เรียนรู้แล้ว เขาจะต้องมีสิ่งที่รัก และได้เลือกสิ่งที่ตัวเองสามารถทำได้ดี

การที่มนุษย์อยู่อาศัยอย่างมีเครือข่าย หรือเป็นสังคม-ชุมชน โอกาสที่จะทำให้เกิดการพัฒนาต่อไปได้ คือ สามารถทำงานได้เป็นหมู่คณะ ดังนั้น Good Life เกิดขึ้นได้จากการที่เขาเปลี่ยนวิธีคิดที่เขาได้เรียนรู้มา จากนั้นสามารถดึงเอาพลังของตัวเองออกมาได้

ถ้าพลังเหล่านั้นสามารถเชื่อมต่อและก่อให้เกิดการรวมกลุ่ม เกิดเป็นชุมชนได้ พลังสามัคคีจะทำให้ Good Life เกิดขึ้นได้อย่างมีความมั่นคง ท้ายที่สุดสิ่งสำคัญของเครือข่าย คือ เรื่องของจรรยาบรรณและศีลธรรม ในการอยู่ร่วมกันอย่างแบ่งปัน รวมถึงความสมดุลจะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงการเดินก้าวต่อไป” ดร.พีระพงษ์ กล่าว

ปิดท้ายด้วย รศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกเล่าแนวคิดเกี่ยวกับนิยามของคำว่า Good Life ว่ามีทั้งเชิงปัจเจกบุคคลและในส่วนภาพรวมของประเทศ โดยมีแกนหลัก 3 ส่วนที่สำคัญ นั่นคือ ความสุข ครอบครัว และ สังคม

“Good Life ในความคิดผม ผมแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง ฝั่งแรกคือในชีวิตของคนทั่วไป ต้องการ 3 องค์ประกอบให้เกิดความสมดุล ส่วนที่หนึ่ง ‘ความสุข’ ส่วนที่สองคือ ‘ครอบครัว’ และ ส่วนสุดท้ายคือ ‘สังคม’

ดังนั้น ถ้าเราจะมี Good Life ในฝั่งที่เป็นปัจเจกบุคคล ผมคิดว่าเราต้องสร้าง ‘ความสมดุล’ ระหว่าง 3 ส่วนนี้ นั่นคือต้องมีชีวิตที่ดี ต้องทำงานอย่างมีความสุข และอยู่ในสังคมที่ดี

ส่วนอีกฝั่งหนึ่งที่เป็นภาพที่ใหญ่ขึ้น ถ้าเป็น Good Life ของคนทั้งประเทศหรือประชากรของโลก ในฐานะที่ผมเป็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติทางด้านการเจริญเติบโต บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เราใส่คำว่า Good Life เข้าไปในความเติบโต ความสมดุล และความยั่งยืนด้วย

ถ้าเราอยากมี Good Life ในฝั่งภาพใหญ่ เราต้องมาร่วมกันนิยามคำว่า Good Life ไปด้วยกันว่าจะเติบโตอย่างไรให้สมดุลและยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น Circular Economy, Sustainable Development Goals, เศรษฐกิจพอเพียง, การปรับตัวทางด้านการศึกษา ล้วนมีความสำคัญในการทำให้เกิด Good Life ได้” 

Sustainable 

ผศ.ดร.อนุรักษ์ มองเรื่อง ‘ความยั่งยืน’ ผ่านสายตาของผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรน้ำ โดยต้องเริ่มจากการพัฒนาก่อน รวมไปถึงการสื่อสารระหว่างกันและกัน

“ความยั่งยืนจริงๆ แล้ว ต้องเริ่มจากการพัฒนาก่อน ถ้าไม่มีการพัฒนาก็จะไม่มีการยั่งยืนต่อไป ในทางกลับกันถ้าการพัฒนาไม่มีความสมดุล หรือไม่มีการบูรณาการ ก็จะไม่เกิดความยั่งยืน ดังนั้น ความสมดุลในที่นี้ไม่ใช่แค่เรื่องของตัวเรา แต่รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม โลก สังคม ในทุกๆ มิติ วิธีการที่จะไปรอดมีทางเดียว คือ การพูดคุยกันระหว่างทุกฝ่ายที่อยู่ในองค์รวมของระบบ ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกัน” 

ขณะที่ ดร.ประมวล เสนอมุมมองเพิ่มเติมในฐานะนักวิศวกรอุตสาหการ โดยมีแนวคิดว่าการเกิดคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจที่ดี ผ่านกลไกการทำงานของเทคโนโลยีที่ช่วยขับเคลื่อนร่วมด้วยเช่นกัน

“ผมเชื่อว่า เป้าหมาย (Goals) และ วิธีการ (Means) มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือพัฒนาอุตสาหกรรม โดยมุ่งไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ซึ่งเครื่องมือที่ทำให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้น คือการพัฒนาสภาพเศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจดี คุณภาพชีวิตก็จะดี ซึ่งสิ่งที่เป็นกลไกทำให้เศรษฐกิจดีในมุมมองของวิศวกร คือ การพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้วงจรนี้ขับเคลื่อนได้ ผมคิดว่าถ้าทำให้คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการศึกษา มีทางเลือก มีอิสระที่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก รวมถึงใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” 

ทางด้าน วีนัส ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ทาง SCG ดำเนินการในขณะนี้ คือ การอนุรักษ์น้ำ ซึ่งมีการน้อมนำแนวคิดจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 มาเป็นแรงบันดาลใจ

“ทาง SCG ทำในเรื่องของการอนุรักษ์น้ำ ตั้งแต่ภูผาสู่มหานที ตามแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ที่โรงงานปูนซีเมนต์ไทย จ.ลำปาง แรกเริ่มเราได้สัมปทานป่าบริเวณนั้นเป็นป่าอนุรักษ์ในพื้นที่ 5,000 ไร่ ขณะที่เราเริ่มสร้างโรงงานก็พบว่ามีปัญหาไฟไหม้ป่าทุกวัน รวมกว่า 300 ครั้งต่อปี 

เราจึงคิดว่าจะมีวิธีใดที่สามารถดับไฟป่าได้อย่างยั่งยืน จึงได้พบแนวทางที่สามารถแก้ปัญหา น้ำขาด น้ำเกิน น้ำเสีย ไฟป่า นั่นคือ พระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวราชการที่ 9 ซึ่งท่านได้ทำการทดลองไว้ที่ห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่ ด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำ หลังจากได้ลงมือสร้างฝายชะลอน้ำ พบว่าปัญหาไฟไหม้ป่าลดลง ซึ่งภารกิจของเราคงไม่สำเร็จ หากไม่มีการทำงานร่วมกันของชุมชน สิ่งสำคัญคือการสร้างชุมชนให้เป็นนักวิจัย โดยการการสร้างกระบวนการเรียนรู้” 

ขณะที่ความเปลี่ยนแปลงหลังการสร้างฝายชะลอน้ำ พบว่า รายได้จากของป่าและการทำเกษตรเพิ่มขึ้น 9,025 บาท ต่อครอบครัว/เดือน สำหรับรายได้จากอาชีพประจำเฉลี่ย 8,000 บาทต่อครอบครัว/เดือน ปัจจุบันสร้างฝายชะลอน้ำไปแล้วกว่า 79,330 ฝาย ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด โดยมีเป้าหมายสร้างฝายชะลอน้ำทั้งสิ้น 100,000 ฝาย ในปี 2563 

สอดคล้องกับด้าน รศ.ดร.พิสุทธิ์ ได้ฝากแนวคิดความยั่งยืนไว้ว่า ควรตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ที่สำคัญต้องสร้างจิตสำนึกให้เกิดความหวงแหนร่วมกันด้วยว่า ทุกคนคือเจ้าของแหล่งทรัพยากรและธรรมชาติ

“ผมอยากฝากคำว่า ‘ยั่งยืน’ เพราะว่าถึงเราพัฒนาขั้นตอนอย่างไรก็ตาม แต่ถ้าไม่ยั่งยืน ผมคิดว่านั่นคงไม่ใช่คำตอบของประเทศ ผมว่ามีอยู่ 3 คำ นั่นคือ การคิดถึงคนรุ่นหลัง (For Next Generation) การตระหนักถึงปัญหา (Engagement) และสุดท้าย การทำให้รู้สึกว่าเขาคือเจ้าของ (Owner Ship)” 

สุดท้าย ดร.พีระพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายถึงเรื่องการศึกษา รวมถึงเทคโนโลยีที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว คือสิ่งสำคัญที่นำไปสู่ความก้าวหน้าของคุณภาพชีวิตได้ในมิติต่อไปของประเทศไทย

“ผมคิดว่าส่วนที่เป็น The next Chapter ได้ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา หรือเทคโนโลยีที่เป็นทางด้านอุตสาหการต่างๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันของชุมชน ทั้งด้านการประกอบอาชีพ หรือส่วนที่ทำให้ร่างกายหรือชีวิตก้าวขึ้นสู่สภาพเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่แข็งแรงยั่งยืน” ดร.พีระพงษ์ กล่าว 


สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ The Next Chapter of Technology for Sustainable & Good Life จากงาน Thailand MBA Forum 2018  ได้ที่นี่


 

 

 

ความพร้อมในการรับมือกับบริบทของสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อป่าต้นน้ำของประเทศไทย ในวันนี้เกี่ยวข้องและเชื่อมโยง ทั้งศาสตร์ด้านวิศวกรรมน้ำ และTool (เครื่องมือ) ตลอดจนการบูรณาการเพื่อนำเทคโนโลยี IoT และBig Data มาใช้ในงานบริหารจัดการน้ำให้เกิดความยั่งยืน

บทสรุปของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทั้ง 17 Sustainable Development Goals ที่ UN ได้กำหนดไว้นี้ ดูเหมือนว่าจะมาอยู่ในหัวใจสำคัญของภารกิจพิชิต Goal สุดท้ายนี้เอง นั่นคือ การรวมพลังสานเครือข่ายจากทั่วทุกมุมโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม โดยทุกฝ่ายมุ่งมั่นแชร์หลักการเดียวกัน ในวิสัยทัศน์เดียวกัน เพื่อสร้างพลังยิ่งใหญ่ที่จะนำพาทุกองคาพยพให้เข้าถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกันนั่นเอง

 

โดยการดำเนินการที่ควรทำอย่างเร่งด่วน คือ การปลอดล็อกเงินทุนจำนวนมหาศาลกว่าล้านล้านบาทที่กระจุกตัวอยู่ในภาคเอกชน ให้กระจายไปยังภาคส่วนของการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยความถูกต้องและเหมาะสม โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ที่ต้องส่งเสริมให้เกิดการลงทุนระยะยาวด้านการพัฒนาประเทศ เพิ่มอัตราการลงทุนในการส่งออกสู่ต่างประเทศ ซึ่งหมายรวมทั้ง การลงทุนด้านพลังงาน การวางระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการคมนาคมที่ทันสมัย ไปจนถึงระบบการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า 

 

ภารกิจที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องเป็นเสาหลักในการกำหนดทิศทางที่ชัดเจน ควบคู่ไปกับการตรวจสอบกรอบและกำหนดกฎหมายที่เข้มแข็ง เพื่อนำไปบังคับใช้ในการลงทุนที่นำไปสู่ความยั่งยืน นอกจากนั้น เพื่อความสำเร็จของภารกิจยิ่งใหญ่นี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงาน องค์กร สนับสนุน ดังที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากภาครัฐ เอกชนแล้ว องค์กรภาคประชาสังคมก็มีบทบาทเคียงข้างภาครัฐในการมีส่วนร่วมและผลักดันโครงการดีๆ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยสถาบันไทยพัฒน์ นับเป็นองค์กรภาคประชาสังคมต้นแบบ ที่มีจุดมุ่งหมายดำเนินการให้เกิดความยั่งยืนขึ้นในสังคมไทย โดยได้ลงนามเข้าเป็นภาคีในข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) เมื่อปี พ.ศ. 2555 และได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการลงทุนทางสังคม โดยสำนักงานเลขาธิการว่าด้วยหลักการลงทุนทางสังคม (Principles for Social Investment: PSI) ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มที่สนับสนุนโดยสหประชาชาติ

 

ขอยกตัวอย่างบทบาทสำคัญล่าสุด ที่นำสู่การขับเคลื่อนอย่างยั่งยืนในทุกองคาพยพในเวลาต่อมา นั่นคือ เมื่อครั้งที่มีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (UNCSD) หรือ Rio+20 ณ เมืองรีโอเดจา-เนโร ประเทศบราซิล ถือเป็นจุดตั้งต้นของกระบวนการหารือเพื่อกำหนดวาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ. 2015 โดยมีความคิดริเริ่มที่สำคัญ คือ การจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งยกร่างโดยคณะทำงานของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Open Working Group on SDGs) สถาบันไทยพัฒน์ เป็น 1 ใน 4 องค์กรภาคประชาสังคมของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองเป็นองค์กรในกลุ่มภาคผนวกที่ 1 จากสมัชชาสหประชาชาติ ให้เข้าร่วมการประชุม Rio+20 อย่างเป็นทางการ โดยในการประชุมเต็มคณะ (Plenary Meeting) ได้มีการให้ความเห็นชอบในเอกสารผลลัพธ์ การประชุม (Outcome Document) ที่ใช้ชื่อว่า “The Future We Want”

 

ต่อมา หลังจากที่ชาติสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ 193 ประเทศ ได้จัดประชุมเพื่อให้การรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ซึ่งรวมถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558 สถาบันไทยพัฒน์ก็ได้แถลงถึงการจัดตั้งคณะกรรมการเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Develop-ment Network Board (SDNB) ในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2558 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนการทำงานส่งเสริม สนับสนุน และสานเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย ภายใต้วาระสังคม 2020 หรือ Society 2020 ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับสากล  

 

 

คณะกรรมการเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือเรียกสั้นๆ ว่า “บอร์ดยั่งยืน” ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภาคเอกชน ภาคสังคม ภาควิชาการ และสื่อมวลชน ที่ผลักดันงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ คุณศิริชัย สาครรัตนกุล ดร.วัฒนา โอภานนท์อมตะ ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล ดร.สุนทร คุณชัยมัง คุณสุกิจ อุทินทุ รศ.ทองทิพภา วิริยะพันธุ์ และดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ รวม 7 ท่าน โดยมีสถาบันไทยพัฒน์ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการ  โดยบทบาทของคณะกรรมการเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน เน้นการทำหน้าที่เป็นกลไกประสานหน่วยงาน โดยหลีกเลี่ยงการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน แต่จะทำงานในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือเพื่อตอบโจทย์ SDGs ในลักษณะที่เป็น Collective Impact เรียกว่าเป็น ‘หุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่สังคม 2020’ หรือ Partnership for Sustainable Development towards Society 2020 ตามเจตนารมณ์ของเป้าหมาย SDG ข้อที่ 17 นั่นเอง

 

Society 2020 เป็นวาระที่บอร์ดยั่งยืนริเริ่มขึ้น เพื่อสร้างขบวนเคลื่อนไหวทางสังคมต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการทำงานในรูปของกลุ่มความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่าย (Multi-Stakeholder Group) ที่ต้องการเห็นภาคประชาชนทำหน้าที่ (Perform) ของตนเองอย่างมีประสิทธิผล ภาคธุรกิจเปลี่ยนผ่านหรือแปรรูป (Transform) ไปสู่การยกระดับการประกอบธุรกิจที่ทำให้สังคมได้รับการดูแลตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปพร้อมกัน และภาครัฐมีการปฏิรูป (Reform) หน่วยงานอย่างจริงจัง เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและความคาดหวังของสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ตามวิสัยทัศน์ “People -> Perform, Business -> Transform, State -> Reform” มุ่งไปสู่ “สังคมที่เราต้องการ” (The Society We Want) ในอีก 15 ปีข้างหน้า โดยมีกรอบเวลา 5 ปี ในระยะแรก (สิ้นสุดปี ค.ศ. 2020) และจะมีการประเมินการดำเนินงาน เพื่อพิจารณาสู่การขับเคลื่อนในกรอบเวลา 10 ปี (สิ้นสุดปี ค.ศ.2030) ในระยะต่อไป

 

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนวาระสังคม 2020 จะมีการจัดกลุ่มการพัฒนาในแต่ละด้าน ในรูปของคณะกรรมการหรือคณะทำงานผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่าย นำโดยหน่วยงานหรือองค์กรที่เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีแผนงานหรือความริเริ่ม หรือมีโครงการที่ริเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 2015 เป็นต้นไป และมีระยะเวลาการดำเนินโครงการอย่างน้อยจนถึงปี ค.ศ. 2020 โดยสามารถตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อพร้อมกัน วาระสังคม 2020 ถูกออกแบบให้เป็นความเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement) ที่มุ่งให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในสังคมในลักษณะเครือข่าย บูรณาการเป้าหมายการพัฒนาที่มีความหลากหลายและแตกต่างกัน ให้สามารถเชื่อมโยงกับการตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปพร้อมกัน โดยในการออกแบบการร่วมดำเนินงาน ได้คำนึงถึงการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักของหน่วยงานที่เข้าเป็นหุ้นส่วนการดำเนินงานมาใช้ในการขับเคลื่อนวาระสังคม 2020 เพราะในทุกหน่วยงานจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะตน ที่มีความโดดเด่นและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา และที่สำคัญ คือ การทำงานตามวาระสังคม 2020 จะเน้นที่การต่อยอดการทำงานของแต่ละหน่วยงาน โดยไม่เริ่มจากศูนย์ และพร้อมเปิดรับการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น เพื่อขยายผลการดำเนินงานของหน่วยงานในเชิงปัจเจก มาสู่ผลลัพธ์ในเชิงท้องถิ่น ภูมิภาค และโลกโดยรวม

 

 

การร่วมขับเคลื่อนวาระสังคม 2020 สามารถดำเนินการได้ใน 2 ระดับ คือ ระดับที่เป็น “องค์กรริเริ่ม” และระดับที่เป็น “องค์กรเข้าร่วม” ดำเนินงาน

องค์กรริเริ่ม หมายถึง หน่วยงานที่มีความประสงค์จะเป็นผู้ริเริ่มและนำการดำเนินงาน โดยอาจมีการตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานในรูปของกลุ่มความร่วมมือผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่าย นำโดยองค์กรริเริ่ม ซึ่งได้มีการเสนอแผนงานหรือโครงการที่มีระยะเวลาการดำเนินงานอย่างน้อยจนถึงปี ค.ศ. 2020 ในอันที่จะตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อพร้อมกัน

องค์กรเข้าร่วม หมายถึง หน่วยงานที่มีความประสงค์จะเป็นผู้เข้าร่วมดำเนินงานที่หน่วยงานอื่นเป็นผู้ริเริ่ม โดยอาจเข้าร่วมในคณะกรรมการหรือคณะทำงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่องค์กรเข้าร่วมมีความสนใจและสามารถให้การสนับสนุนทุน ทรัพยากร หรือความเชี่ยวชาญที่องค์กรมีอยู่ในเบื้องต้น ธนาคารออมสิน ได้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่สังคม 2020 ซึ่งนับเป็นองค์กรในหมวดธุรกิจธนาคารรายแรกที่ได้นำเอาเป้าหมายโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อไปใช้เป็นกรอบการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมไทย และ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค ก็ได้เข้าร่วมมือเป็นเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามกรอบ SDGs ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อเสริมสร้างให้เกิดความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของโลก

 

นี่เป็นหนึ่งในต้นแบบองค์กรภาคประชาสังคมของไทย ที่ดำเนินการจนกระทั่งเห็นผลไปในทิศทางก่อให้เกิดความยั่งยืน ทว่าในส่วนของ Goals ที่ UN ตั้งไว้ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิด the global partnership for sustainable development ให้ได้ภายในปี 2030 นั้น ยังแบ่งออกเป็น การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน สร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงผสานความช่วยเหลือจากองค์กรนานาชาติที่จะเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านการเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบการจัดเก็บภาษีในรูปแบบต่างๆ การสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้าถึงแหล่งเงินทุนคุณภาพที่จะใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนได้มากยิ่งขั้น ขณะเดียวกัน ยังต้องพัฒนาด้านการเข้าถึงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอาจจัดตั้งศูนย์กลางการเรียนรู้ ที่จะมาเป็นสื่อกลางนำเสนอนวัตกรรมและเครื่องมือที่เหมาะสมในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเรื่องนี้ UN ตั้งเป้าไว้ว่าต้องทำให้เห็นผลภายในปี 2017 ที่จะถึงนี้ด้วย

 

เผยแพร่    นิตยสาร MBA ฉบับครบรอบ เดือนมีนาคม 2016

เรื่อง : กองบรรณาธิการ 

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click