January 07, 2025

รถยนต์ไฟฟ้า (EV) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มาแรงและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในบรรดาผู้ใช้รถยนต์ โดยเฉพาะในหมู่ผู้ซื้อรถยนต์หน้าใหม่ เพราะโดดเด่นทั้งเรื่องความสะดวกสบายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ก่อนจะตัดสินใจซื้อรถไฟฟ้าสักคันควรเช็กให้รอบคอบ fintips by ttb  #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ อยากชวนทุกคนมาเช็กและทำความเข้าใจเรื่องที่จำเป็นต้องรู้ก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้ทุกการใช้เงินของคุณคุ้มค่ามากที่สุด

1. ประเภทรถยนต์ไฟฟ้า

ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าจะแบ่งตามวิธีการทำงานและพลังงานที่ใช้ในการขับเคลื่อน โดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

  • Hybrid (HEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ผสมผสานการใช้งานระหว่างพลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง และพลังงานไฟฟ้า เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ จึงมีทั้งเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าที่ทำงานร่วมกัน
  • Plug-in Hybrid (PHEV) มีความคล้ายคลึงกับ HEV แต่มีความสามารถในการชาร์จแบตเตอรี่จากแหล่งพลังงานภายนอกด้วยการใช้ปลั๊กไฟฟ้าได้
  • Battery Electric Vehicle (BEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนที่ใช้เฉพาะพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว จึงไม่มีการปล่อยก๊าซที่สร้างมลพิษให้กับโลก ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้ได้รับความสนใจจากอุตสาหกรรมผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก
  • Fuel Cell Electric Vehicle (FCEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซไฮโดรเจนทำปฏิกิริยากับออกซิเจนที่เซลล์เชื้อเพลิงเพื่อสร้างพลังงานให้เกิดการขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า

2. สำรวจความพร้อมด้วยเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าน่ารู้

หลายคนอาจกังวลเรื่องความพร้อมและบริการต่าง ๆ เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ แต่ปัจจุบันตลาดรถยนต์ไฟฟ้ากำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเราสามารถติดตามเทรนด์และความเคลื่อนไหว เพื่อให้ไม่พลาดข่าวสาร รวมทั้งช่วยเสริมความมั่นใจและไขข้อสงสัยต่าง ๆ ได้อีกด้วย โดยเทรนด์ที่น่าสนใจล่าสุด มีดังนี้

  • ตลาดรถยนต์ไฟฟ้ากำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมียอดขายและการจดทะเบียนเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ส่วนในประเทศไทย สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (EVAT) รายงานว่า มียอดจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้า BEV รวมทุกประเภท ตั้งแต่มกราคม - ธันวาคมปี 2566 จำนวนกว่าหนึ่งแสนคัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มีเพียงหลักหมื่นคัน
  • ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแบตเตอรี่พัฒนาขึ้นมาก ทำให้รถยนต์ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น สามารถวิ่งระยะทางได้ไกลขึ้นเรื่อย ๆ
  • กระแสความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม ทำให้รัฐบาลทั่วโลกหันมาสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น

3. ไลฟ์สไตล์เราเป็นแบบไหน เหมาะกับรถยนต์ไฟฟ้าหรือไม่

แน่นอนว่าไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตและการทำงานก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าที่ควรพิจารณาควบคู่ เช่น

  • ผู้ที่ห่วงใยใส่ใจสิ่งแวดล้อม : รถยนต์ไฟฟ้าตอบโจทย์สายรักษ์โลก เพราะใช้พลังงานสะอาด ลดภาวะก๊าซเรือนกระจก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทำให้โลกเราน่าอยู่ขึ้น
  • ผู้ที่ต้องการทางเลือกที่ประหยัด : ค่าน้ำมันนับวันยิ่งแพงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น รถยนต์ไฟฟ้าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องพลังงานในระยะยาวมากกว่า
  • ผู้ที่สามารถปรับตัวไปพร้อมกับเทคโนโลยีได้ : จะใช้รถยนต์ไฟฟ้าต้องมีความพร้อมในการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น สถานีชาร์จภายในบ้าน และต้องหมั่นติดตามอัปเดตซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ให้ทันสมัย

4. ข้อมูลสำคัญ เพื่อการดูแลรักษารถยนต์ไฟฟ้า

ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เราควรจะต้องทราบข้อมูลที่สำคัญในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า เช่น

  • ประเภทของแบตเตอรี่ : รถยนต์ไฟฟ้ามีแบตเตอรี่หลายรูปแบบ ซึ่งเราจะต้องทราบรายละเอียดแต่ละประเภท เพื่อการใช้งานและ ดูแลรักษาให้มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น
    • ลิเทียมไอออน – เป็นแบตเตอรี่ที่ถูกนำมาใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าด้วย มีคุณสมบัติที่เหมาะสมและได้รับความนิยมนำมาใช้งานในรถยนต์ไฟฟ้า เพราะมีประสิทธิภาพสูง เก็บพลังงานได้อย่างดี อีกทั้งยังมีน้ำหนักที่เบา ขนาดที่เล็กกว่า เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ที่มีความจุเท่ากัน
    • ลิเธียมไอรอนฟอสเฟต - เป็นแบตเตอรี่ที่ใช้ฟอสเฟสเป็นตัวเก็บประจุไฟฟ้า ทำให้มีความทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวกว่าลิเทียมไอออน ใช้เวลาชาร์จสั้นลง ปลอดภัยและทนทานในการใช้งานในอุณหภูมิต่างๆ ได้อีกด้วย
    • โซลิดสเตด - เป็นแบตเตอรี่ที่มีการพัฒนาให้ได้คุณภาพที่สูงขึ้น ชาร์จไฟได้อย่างรวดเร็ว สามารถใช้ในรถยนต์ที่มีการขับขี่ในระยะไกล ทำงานได้หลายอุณหภูมิ และมีความปลอดภัยสูง
  • แท่นชาร์จ : มั่นตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ชาร์จที่บ้านเป็นประจำ เพื่อรักษาความปลอดภัยในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาด การตรวจสอบช่องระบายอากาศ และสายเคเบิล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย

ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้ามีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งก่อนตัดสินใจซื้อควรต้องศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ให้เข้าใจก่อนว่า รถยนต์ไฟฟ้านั้นมีกี่ประเภท ไลฟ์สไตล์การใช้งานแบบไหนที่เหมาะกับตัวเอง รวมไปถึงการดูแลรักษาต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อได้อย่างคุ้มค่า และขับขี่อย่างปลอดภัยตลอดอายุการใช้งาน

และเมื่อเลือกรถยนต์ไฟฟ้าที่ตอบไลฟ์สไตล์ได้แล้ว ก็อย่าลืมวางแผนการเงินก่อนตัดสินใจซื้อ โดยหากคุณกำลังมองหา ไฟแนนซ์รถ หรือ สินเชื่อเพื่อซื้อรถใหม่สักคัน สินเชื่อรถยนต์ใหม่ ทีทีบีไดรฟ์ มีโซลูชัน หรือสินเชื่อที่ตอบโจทย์คุณได้ ให้คุณรู้ผลอนุมัติเบื้องต้นไว ภายใน 30 นาที ผ่อนได้นาน สูงสุด 84 เดือน และสมัครได้ง่าย ๆ  เพียงใช้แค่บัตรประชาชนใบเดียว (ลูกค้าทีทีบีไดรฟ์)

มาร่วมวางแผนชีวิตทางการเงิน เพื่อสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้นไปพร้อมกัน ด้วยเคล็ดลับทางการเงินดี ๆ ได้ที่ fintips by ttb” เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ

การมีภาระหนี้สินมากเกินกว่าจะจัดการไหว อาจส่งผลกระทบต่อการเงินในมิติต่าง ๆ ของชีวิตได้ ดังนั้น fintips by ttb เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จึงขออาสาพาไปพบกับ 3 เรื่องที่คนเป็นหนี้ต้องรู้ เพื่อหยุดปัญหาหนี้เรื้อรังได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยให้พิชิตหนี้ได้ไวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งรักษาสุขภาพทางการเงินและสุขภาพใจได้อีกด้วย

สิ่งแรกขอชวนทุกคนมาเช็กปัญหาหนี้กันก่อน หากยังไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังเผชิญปัญหาหนี้อยู่หรือไม่ ให้ลองสำรวจตัวเองง่าย ๆ ด้วย 4 สัญญาณเหล่านี้

  1. รายได้ไม่พอรายจ่าย
  2. ชำระขั้นต่ำติดต่อกันหลายครั้ง
  3. จ่ายช้ากว่ากำหนด
  4. กดเงินสดมาจ่ายหนี้อื่น

ถ้าหากพบว่ามีสัญญาณเหล่านี้ และคิดว่าตัวเองเริ่มมีปัญหา สามารถติดต่อธนาคารที่ได้ทำการกู้สินเชื่อไว้เพื่อหาวิธีแก้หนี้อย่างยั่งยืนร่วมกันได้  และมาดูพร้อม ๆ กันได้เลย กับ “3 สิ่งที่ต้องรู้ หยุดปัญหาหนี้เรื้อรังได้ ให้พิชิตหนี้ได้ไวขึ้น”

1. มาตรการแก้หนี้ยั่งยืน คือ แนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนแบบครบวงจรโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดให้สถาบันการเงิน หรือธนาคารให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม โดยดูแลลูกค้าสินเชื่อที่ประสบปัญหาด้านการชำระหนี้ กำหนดสิทธิเพื่อคุ้มครองลูกค้าสินเชื่อ สนับสนุนวินัยด้านการเงิน และการบริหารจัดการหนี้ที่ดี

2. มาตรการแก้หนี้ยั่งยืนประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่

1) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา เพื่อให้สถาบันการเงิน หรือธนาคารช่วยเหลือลูกค้าที่มีปัญหาหนี้ ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ สำหรับวางแผนการชำระหนี้ให้ลูกค้ารายย่อยและ SMEs ที่ไม่เคยผ่านการปรับโครงสร้างหนี้มาก่อน โดยธนาคารจะเสนอแนวทางปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า ซึ่งจะทำให้ลูกค้ามีเงินคงเหลือเพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมทั้งธนาคารต้องเสนอแนวทางการช่วยเหลือ (Product Program) อย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อให้ลูกค้าที่เริ่มมีปัญหาในการชำระหนี้ไม่เป็นหนี้เสีย ส่วนสำหรับคนที่เป็นหนี้เสีย(Non-Performing Loan : NPL) จะไม่ถูกโอนขายหนี้ก่อน 60 วัน นับจากวันที่เสนอเงื่อนไขปรับปรุงโครงสร้างหนี้

นอกจากนี้ ยังมีโครงการคลินิกแก้หนี้สำหรับคนที่มีปัญหาหนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล ที่ค้างชำระเกิน 120 วัน เมื่อเข้าร่วมโครงการจะได้รับการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ให้ผ่อนเฉพาะเงินต้นนานสูงสุด 10 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยเพียง 3-5% ต่อปี และยกดอกเบี้ยค้างเดิมให้เมื่อชำระครบตามสัญญา รวมไปถึงยังมีทางด่วนแก้หนี้ และหมอหนี้เพื่อประชาชน ที่จะคอยช่วยให้คำปรึกษาด้านการแก้ปัญหาหนี้อย่างครบวงจร

2) การแก้ปัญหาหนี้เรื้อรัง เป็นแนวทางที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2567 โดยให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาหนี้อย่างต่อเนื่อง (กลุ่มเปราะบาง) ให้สามารถจบหนี้ได้ โดยกำหนดให้คนที่เป็นหนี้เรื้อรังจากสินเชื่อส่วนบุคคลประเภทวงเงินหมุนเวียน แต่ยังไม่เป็นหนี้เสีย และมีการชำระดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวมในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งยังมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 20,000 บาท จะได้รับความช่วยเหลือให้ปิดยอดหนี้ได้เร็วยิ่งขึ้น ผ่านการเปลี่ยนประเภทสินเชื่อเป็นแบบผ่อนชำระรายงวด (Installment Loan) เพื่อให้ปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไม่เกิน 15% ต่อปี ทั้งนี้ ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล และบัตรเครดิต

3)การคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ เพื่อให้มีความเป็นธรรมกับลูกหนี้มากขึ้น ทั้งการให้ความรู้เรื่องสินเชื่อ การบริหารจัดการหนี้ และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและสร้างวินัยทางการเงินที่ดียิ่งขึ้น

3. สิทธิคุ้มครองเพื่อแก้หนี้อย่างยั่งยืน มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ประกอบด้วย

1) ไม่ต้องจ่ายค่า Prepayment Fee หรือค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด โดยจะต้องปิดยอดหนี้ก่อนวันที่ครบกำหนดในสัญญา รวมไปถึงสัญญาเก่าที่ยังมีผลอยู่ด้วยเช่นกัน โดยจะมีผลกับสินเชื่อทั้ง 5 ประเภท ได้แก่

  • สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
  • สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ (Nano Finance)
  • สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ
  • สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล
  • สินเชื่ออุปโภคบริโภคอื่น ๆ เช่น สินเชื่อสวัสดิการ

2) ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยลูกค้าสินเชื่อจะไม่ถูกคิดค่าธรรมเนียมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ยกเว้นค่าประเมินราคาหลักประกัน ซึ่งจำเป็นต้องนำมาใช้ประกอบการพิจารณากำหนดเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

3) ไม่มีการคิดดอกเบี้ยแบบทบต้นของสินเชื่อรายย่อยทั้งหมด รวมไปถึงกรณีที่บัญชีเดินสะพัดของสินเชื่อวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี หรือ Overdraft ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป

4) ลูกค้าสามารถตัดสินใจได้เองว่าจะกดเงินทันทีหรือไม่ หลังจากได้รับอนุมัติสินเชื่อบัตรกดเงินสดแล้ว นอกจากนี้ยังมีสิทธิ์ที่จะได้รับข้อมูลสำคัญที่ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อสามารถใช้เปรียบเทียบข้อมูลได้ รวมถึงมีสิทธิ์ที่จะได้รับแจ้งเตือนให้มาชำระหนี้อย่างมีวินัย

ลองมาสำรวจสัญญาณปัญหาหนี้ดังกล่าวข้างต้นกันดู หากสำรวจตัวเองแล้วพบว่าเริ่มมีปัญหา อย่าลังเลที่จะติดต่อธนาคารที่เราเป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อหาวิธีแก้หนี้อย่างยั่งยืน ส่วนใครที่กำลังจะขอสินเชื่อ อย่าลืมทำความเข้าใจ อัตราดอกเบี้ย และคำนวณดอกเบี้ยที่จะต้องชำระ ไม่ว่าจะเป็นชำระคืนปกติตามกำหนด จ่ายขั้นต่ำ หรือผิดนัดชำระ เพื่อช่วยวางแผนการเงินให้ดียิ่งขึ้น

มาร่วมออกแบบชีวิตทางการเงินในวันนี้และในอนาคต เพื่อพิชิตเป้าหมายการมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ด้วยเคล็ดลับทางการเงินดี ๆ ได้ที่ “fintips by ttb” เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ

เพียงคลิก https://www.ttbbank.com/th/fintips-pr

หรืออ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/fintips-bot1-pr

ค้นหาตัวช่วยพิชิตหนี้ได้ ที่ https://www.ttbbank.com/phi-chit-nee-fintips-pr

กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว

เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารฯ กำหนด

ทราบหรือไม่ มนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ ต้องทำเรื่องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

X

Right Click

No right click