การทำธุรกรรมทางการเงินในปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่เคยต้องเดินทางไปทำธุรกรรมที่สาขาธนาคาร กลับเปลี่ยนมาเป็นการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ที่สะดวกและรวดเร็วกว่าเคย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถจัดการได้อย่างง่ายดาย โดยหนึ่งในบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ การเปิดบัญชีธนาคารออนไลน์ แต่หลายคนอาจยังมีคำถามในใจว่า เปิดบัญชีออนไลน์ปลอดภัยจริงหรือไม่? วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้ให้กระจ่าง ช่วยให้คุณทำธุรกรรมออนไลน์ได้อย่างมั่นใจ ไร้กังวล ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจประเภทของบัญชีเงินฝากก่อนว่า มีกี่ประเภทและแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร โดยสามารถแยก ประเภทของบัญชีเงินฝาก ได้ดังนี้
1. บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (Savings Account)
บัญชีที่ให้ความยืดหยุ่นในการฝากถอนเงินได้ตลอดเวลา โดยสามารถใช้ร่วมกับบัตรเดบิต ได้รับอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ เหมาะสำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินหลาย ๆ ครั้งเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น รับเงินเดือน จ่ายค่าสาธารณูปโภค หรือใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
2. บัญชีเงินฝากประจำ (Fixed Deposit Account)
บัญชีที่มีกำหนดระยะเวลาในการฝากถอนเงิน ซึ่งให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ แต่ไม่สามารถถอนเงินได้ก่อนครบกำหนด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการออมเงินในระยะยาวเพื่อรับผลตอบแทนจากดอกเบี้ย
3. บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน (Current Account)
บัญชีที่ออกแบบมาเพื่อสำหรับการบริหารจัดการทางการเงิน เพื่อใช้ในธุรกิจและการค้าขาย โดยบัญชีเงินฝากกระแสรายวันนี้จะไม่มีสมุดคู่ฝาก แต่สามารถตรวจสอบยอดการทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์และการแจ้งยอดบัญชีรายเดือน
เมื่อรู้จักถึงประเภทบัญชีเงินฝากทั้ง 3 ประเภทแล้ว มาดูกันว่าการเปิดบัญชีออนไลน์ จะมีข้อดี และข้อความระวัง หรือเคล็ดลับการเปิดบัญชีออนไลน์ให้ปลอดภัย ห่างไกลมิจฉาชีพกันเถอะครับ
ข้อดีของการเปิดบัญชีออนไลน์
การเปิดบัญชีออนไลน์ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเสียเวลาต่อคิวที่ธนาคาร ไม่ต้องรอเวลาปิด-เปิดสาขาธนาคารที่จำกัด แค่ใช้แอปพลิเคชันของธนาคารก็สามารถเปิดบัญชีและจัดการธุรกรรมได้ นอกจากนี้ การทำธุรกรรมออนไลน์ยังเหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ห่างไกลธนาคารและไม่สะดวกในการเดินทาง โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่อาจไม่มีสาขาธนาคารใกล้ ๆ รวมทั้งการขอรายการเดินบัญชีหรือทำธุรกรรมอื่น ๆ ก็สามารถทำได้ผ่านแอปพลิเคชันทันที ไม่ต้องรอหรือเก็บเอกสารแบบเดิม ๆ อีกต่อไป
เคล็ดลับเปิดบัญชีออนไลน์อย่างปลอดภัย ห่างไกลมิจฉาชีพ
1. เลือกธนาคารที่น่าเชื่อถือ ควรเลือกธนาคารที่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดและมีนโยบายในการป้องกันและเยียวยาผู้ใช้บริการหากเกิดความเสียหายจากการโจรกรรมทางไซเบอร์
2. ใช้ระบบยืนยันตัวตนที่มีความปลอดภัยสูง ควรตรวจสอบว่าธนาคารที่ใช้มีระบบยืนยันตัวตนหลายชั้น เช่น การสแกนใบหน้า การสแกนม่านตา และการตั้งรหัสผ่านที่คาดเดายาก เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกแฮก
3. ตั้งรหัสผ่านอย่างรอบคอบ การตั้งรหัสผ่านต้องไม่ซ้ำกับรหัสอื่น ๆ ที่เคยใช้ หรือตั้งรหัสง่ายเกินไปจนมิจฉาชีพคาดเดาได้ง่าย หรือ ไม่ควรใช้ข้อมูลส่วนตัวในการตั้งรหัส เช่น วันเดือนปีเกิด หรือหมายเลขโทรศัพท์
4. ใช้อุปกรณ์ส่วนตัวและเครือข่ายที่ปลอดภัย เลือกทำธุรกรรมผ่านอุปกรณ์และ Wi-Fi หรือสัญญาณเครือข่ายส่วนตัว หลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะที่อาจเสี่ยงต่อการถูกดักจับข้อมูล
5. เว็บไซต์และแอปพลิเคชันของธนาคารที่น่าเชื่อถือ มักจะให้กรอกข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ อีเมลและรับแจ้งเตือนจากแอปพลิเคชันของธนาคารเอง ขั้นตอนการเปิดบัญชีออนไลน์จำเป็นต้องตรวจสอบง่าย แจ้งเตือนทุกความเคลื่อนไหวของการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์แบบเรียลไทม์
สำหรับคนที่สนใจเปิดบัญชีออนไลน์กับ ทีทีบี สามารถทำได้ผ่านแอป ttb touch ทั้งสะดวกและปลอดภัย แจ้งเตือนทุกรายการ ไม่ว่าจะเป็นบัญชี ttb all free ที่มาพร้อมสิทธิประโยชน์มากมาย เช่น ส่วนลด
ร้านอาหาร ที่พัก และโค้ดส่วนลดแอปสั่งอาหารออนไลน์ พิเศษ! ฝากเงินตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป รับฟรีประกันอุบัติเหตุ คุ้มครองสูงสุด 3 ล้านบาท ไม่ต้องสำรองจ่าย
แม้การเปิดบัญชีออนไลน์อาจจะดูเป็นเรื่องใหม่สำหรับบางคน แต่ถ้าเรารู้จักใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องและรู้เท่าทัน การทำธุรกรรมออนไลน์ก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย สะดวกสบาย และปลอดภัย ไม่ว่าจะเปิดบัญชีออนไลน์หรือทำธุรกรรมอย่างอื่น ก็สามารถทำได้อย่างปลอดภัย ไร้กังวล และห่างไกลมิจฉาชีพ
ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงสูงสุด 0.25% ต่อปี ตามมติ กนง. เพื่อช่วยบรรเทาภาระหนี้ให้กับประชาชน ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว พร้อมขยายอายุมาตรการช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบาง จากปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ย้ำเดินหน้าดูแลลูกค้าอย่างต่อเนื่องภายใต้หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2.50% เหลือ 2.25% ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวและเป็นการช่วยลดภาระหนี้ให้กับประชาชนนั้น ทีทีบีมีความห่วงใยลูกค้าพร้อมขานรับนโยบายดังกล่าว จึงประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย MOR ลดลง 0.25% ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ย MLR และอัตราดอกเบี้ย MRR ลดลง 0.125% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป
สำหรับลูกค้ารายย่อยและ SME ในกลุ่มเปราะบาง ทีทีบีตระหนักถึงปัญหาความเดือดร้อนจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและสภาพเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มนี้มาก่อนหน้า นอกจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ ธนาคารยังมีการต่ออายุมาตรการออกไปจนถึง 31 ธันวาคม 2567 จากเดิมที่จะครบกำหนดในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เพื่อช่วยพยุงสภาพคล่องและลดภาระหนี้ให้กับลูกค้ากลุ่มเปราะบางให้ได้ดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราที่ประกาศอีก 0.25% ซึ่งจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ จะทำให้ลูกค้ากลุ่มดังกล่าว มีอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงรวม 0.375-0.50% ต่อปี ทั้งนี้ ธนาคารยังมีแผนที่จะปรับมาตรการเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางตามความเหมาะสม เมื่อมาตรการดังกล่าวสิ้นสุดลง
สำหรับด้านเงินฝาก เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าเงินออมที่กังวลว่าดอกเบี้ยเงินฝากจะทยอยปรับลดลง ทางทีทีบีมีบัญชีเงินฝากประจำพิเศษ อัพ แอนด์ อัพ 24 เดือน ที่ตอบโจทย์ลูกค้าเงินฝากทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะให้ดอกเบี้ยสูงตั้งแต่ 6 เดือนแรก เริ่มต้นที่ 1.5% ต่อปี และรับดอกเบี้ยสูงขึ้นทุก ๆ 6 เดือน โดยรับดอกเบี้ยสูงสุด 2.0% ต่อปี และยังสามารถถอนก่อนครบกำหนดได้หากมีความจำเป็นในการใช้เงิน จึงเหมาะกับทั้งผู้ที่ฝากระยะสั้นก็จะได้รับดอกเบี้ยสูง และหากฝากต่อเนื่องก็จะเป็นการล็อกเรทอัตราดอกเบี้ยที่ดีในระยะยาว
ทีทีบีพร้อมให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ตลอดจนมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้ลูกค้าสามารถจัดการภาระหนี้ที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนผ่านโซลูชันรวบหนี้ และโซลูชันโอนยอดหนี้เพื่อให้ดอกเบี้ยต่ำลง ช่วยลดภาระดอกเบี้ย เพิ่มสภาพคล่อง ควบคู่กับแนะนำการให้ความรู้ทางการเงิน เพื่อการจัดการหนี้ที่สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการชำระคืนอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ตามเป้าหมายของธนาคารที่มุ่งมั่นทำให้คนไทยมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นทั้งวันนี้และอนาคต
นายปิติ ตัณฑเกษม (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานกรรมการ มูลนิธิทีทีบี และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต รับมอบเงินสนับสนุนมูลค่า 398,043.11 บาท จากนางสาวดารบุษป์ ปภาพจน์ (ที่ 3 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ในงาน fai-fah Art Fest 2024 เพื่อขับเคลื่อนโครงการไฟ-ฟ้า โครงการแห่งการ “ให้” ที่ยั่งยืน โดย มูลนิธิทีทีบี พร้อมต่อยอดสู่กิจกรรมที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ รวมถึงการสร้างเยาวชนคุณภาพ เพื่อส่งต่อพลังแห่งการให้กลับคืนสู่สังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งเงินสนับสนุนดังกล่าวมาจาก 10% ของค่าบริหารจัดการ (Management Fee) กองทุนรวมหุ้นทีเอ็มบีธรรมมาภิบาลไทย โดยกิจกรรมจัดขึ้น ณ ทีเอ็มบีธนชาต สำนักงานใหญ่
ปัญหาค่าใช้จ่ายฉุกเฉินแบบคาดไม่ถึงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หลายคนชีวิตต้องสะดุดเพราะขาดสภาพคล่องทางการเงิน สินเชื่อส่วนบุคคลจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการเงินก้อนอย่างกระทันหัน เพื่อนำไปใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นในช่วงเวลานั้น แต่การเลือกสินเชื่อส่วนบุคคลให้เหมาะสมนั้นสำคัญมาก เพราะหมายถึงภาระหนี้ที่จะต้องแบกรับในระยะยาว ดังนั้นก่อนตัดสินใจ ทีทีบีจึงชวนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลให้มากขึ้น
สินเชื่อส่วนบุคคล ช่วยได้อย่างไร
สินเชื่อส่วนบุคคล คือ สินเชื่อที่สถาบันการเงินให้กู้ยืมโดยไม่ต้องมีหลักประกัน ซึ่งผู้ขอสินเชื่อสามารถนำเงินก้อนไปใช้จ่ายได้ตามต้องการ โดยมีเงื่อนไขในการผ่อนชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้กับธนาคารผู้ปล่อยสินเชื่อ เหมาะกับผู้ที่ต้องการเงินก้อนฉุกเฉิน เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น รถเสีย บ้านชำรุด หรือค่ารักษาพยาบาล ต้องการเงินก้อนเพื่อการลงทุน เช่น เปิดร้านค้า ซื้อสินค้ามาขาย ต้องการปรับปรุงบ้าน เช่น ตกแต่งต่อเติมบ้าน หรือซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่ ต้องการปิดหนี้บัตรเครดิต โดยรวบหนี้บัตรเครดิตหลายใบให้เป็นก้อนเดียว ต้องการศึกษาต่อ เช่น ชำระค่าเทอม ค่าใช้จ่ายระหว่างเรียน หรือเตรียมพร้อมให้บุตรก่อนเปิดเทอม และยังมีอีกหลายเหตุผลที่ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องการเงินก้อนไปใช้จ่ายยามจำเป็น
สิ่งที่ควรรู้ก่อนกู้สินเชื่อส่วนบุคคล
ผู้ขอสินเชื่อส่วนบุคคลควรพิจารณาสิ่งเหล่านี้ก่อนตัดสินใจ เพื่อจะได้เลือกสินเชื่อที่เหมาะสมกับความจำเป็นของตนเองมากที่สุด ไม่เป็นภาระหนี้สินมากเกินไป จนกระทบต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
การเลือกสินเชื่อส่วนบุคคลยังต้องใช้ความรอบคอบและศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เพื่อให้ได้สินเชื่อที่เหมาะสมตามความต้องการและมีกำลังทรัพย์ในการใช้หนี้คืน และอย่าลืมวางแผนการเงินให้ดี ก่อนตัดสินใจกู้สินเชื่อ ควรคำนวณรายรับรายจ่ายให้เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ตามกำหนด เปรียบเทียบเงื่อนไขหลาย ๆ ที่ ข้อเสนอจากหลาย ๆ สถาบันการเงิน เพื่อเลือกสินเชื่อที่คุ้มค่าและเหมาะกับการจ่ายคืนของเรามากที่สุด พิจารณาสัญญาให้ละเอียด ควรอ่านสัญญาการกู้ยืมให้ละเอียด เพื่อทำความเข้าใจเงื่อนไขต่าง ๆ อย่างชัดเจน หากยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกสินเชื่อส่วนบุคคลแบบไหนดี สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการเงินที่น่าเชื่อถือได้
ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เข้าใจถึงความจำเป็นในการใช้จ่ายของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน จึงสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุมทุกปัญหาทางการเงิน ด้วยสินเชื่อส่วนบุคคล 2 ประเภท ได้แก่
หากสนใจสามารถอัปโหลดเอกสารผ่านแอป ttb touch ได้ทันที หรือติดต่อสอบถามได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขาทั่วประเทศ พร้อมรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินของทีทีบี ที่จะช่วยวางแผนทั้งในเรื่องการเลือกประเภทสินเชื่อและอัตราการผ่อนชำระ เพื่อช่วยคลี่คลายปัญหาสุขภาพการเงินของลูกค้าได้ทุกจุด
ทีทีบีส่งเสริมให้ลูกค้าบัตรกดเงินสด กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 25% ต่อปี เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีทั้งในวันนี้ และอนาคต
ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี จัดสัมมนา ttb I Global Trade & FX Forum ภายใต้หัวข้อ “The Future of Asia : Economic Trends and Trade Challenges for Thailand 2025” วิเคราะห์เจาะลึกสภาวการณ์เศรษฐกิจของไทยและการค้าโลกในปี 2025 เปิดมุมมองและประสบการณ์ตรงในการทำการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดในเอเชีย ทั้งจากผู้เชี่ยวชาญในภาครัฐ ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกจากธุรกิจขนาดใหญ่ พร้อมแนะนำเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกของไทย บริหารความเสี่ยงในการทำการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า อิทธิพลของภูมิรัฐศาสตร์ ความขัดแย้งทางการค้า ความไม่แน่นอนทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังคงเป็นปัญหาหลักที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งถือเป็นความท้าทายและเป็นความเสี่ยงอย่างมาก สำหรับผู้ประกอบการการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากความผันผวนของค่าเงินสามารถส่งผลกระทบต่อกำไรและต้นทุนของธุรกิจ นอกจากนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีนยังเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงนโยบายของจีนส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานและโอกาสทางการค้าของธุรกิจทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ในขณะที่ตลาดเอเชียยังคงมีศักยภาพในการเติบโตสูง ซึ่งการเข้าถึงตลาดเหล่านี้ช่วยกระจายความเสี่ยงและเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจในอนาคต
จากปัจจัยดังกล่าว นับเป็นความท้าทายสำหรับผู้ประกอบการที่ทำการค้าระหว่างประเทศต้องมีความเข้าใจสถานการณ์เศรษฐกิจ ตลาดการค้าโลกและในเอเชีย เพื่อปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในระดับโลก รักษาความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตในระยะยาว ซึ่งงานสัมมนาในครั้งนี้ ทีทีบีมุ่งหวังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถวางแผนและปรับกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม รู้วิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการทำการค้าระหว่างประเทศ และได้รับประสบการณ์ตรงจากผู้ที่ดำเนินธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทำการค้าระหว่างประเทศในตลาดการค้าโลก
สำหรับงานสัมมนา ttb I Global Trade & FX Forum ภายใต้หัวข้อ “The Future of Asia : Economic Trends and Trade Challenges for Thailand 2025” มีผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์เศรษฐกิจทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้บริหารธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทำการค้าระหว่างประเทศในตลาดเอเชีย ผู้บริหารความเสี่ยงการทำการค้าระหว่างประเทศมาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานนำไปปรับใช้กับองค์กรได้ตรงจุดมากขึ้น โดยมีวิทยากร ได้แก่ ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษาและรองคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาบรรยายเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวเศรษฐกิจจีนที่ส่งผลกระทบต่อการค้าโลกและการค้าไทย ในหัวข้อ “The 2025 Horizon: China’s Impact on Global Trade” และนายนริศ สถาผลเดชา ประธานกลุ่มงาน Data และ Analytics ทีเอ็มบีธนชาต ให้มุมมองเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและประเทศไทย ในหัวข้อ “Global & Thailand Economic Outlook 2025”
นอกจากนี้ มีการจัดเวทีเสวนาแบ่งปันประสบการณ์จากผู้บริหารเจ้าของธุรกิจนำเข้าและส่งออก และมุมมองของภาครัฐ ในหัวข้อ “Asia Trade Link Opportunities and Challenges” โอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการไทย ในตลาดเอเชีย โดย นายอรรถ เมธาพิพัฒนกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงิน บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด นางสาวปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) ดร.ธนภัท แสงอรุณ ผู้แทนกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ อดีตรองกงสุลฝ่ายพาณิชย์ ณ เมืองมุมไบ และนางสาวบุษรัตน์ เบญจรงคกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต ที่มาแนะนำเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกของไทย บริหารความเสี่ยงในการทำการค้าระหว่างประเทศ
ทีทีบี เป็นธนาคารที่พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการไทยที่ทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นในทุกสถานการณ์ ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยบริหารความเสี่ยงสำหรับการนำเข้า-ส่งออก สำหรับการวางแผนการบริหารงานและกลยุทธ์การเติบโตขององค์กรได้อย่างยั่งยืน