November 24, 2024

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดการบริหารจัดการการนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการ อนุรักษ์อย่างยั่งยืน BEDO ได้ขับเคลื่อนการทำงานด้านทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่กับการ บริหารจัดการข้อมูลทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในรูปแบบของระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทาง ชีวภาพ โดยเริ่มต้นจากการค้นหาของดีจากความหลากหลายทางชีวภาพ และได้รับการสนับส นุนข้อมูลจาก นักวิชาการที่ร่วมกันจัดทำข้อมูลบัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพ ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลเศรษฐกิจ ข้อมูล องค์ความรู้ออนไลน์ และข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำเข้าข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจน สพภ. ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลด้วย ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อนำใช้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าจะเป็นวิสาหกิจชุมชน ภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ ภาคการศึกษา ไปต่อยอดเชิงคุณค่าเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคม  เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจ การผลิตสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่จากความหลากหลาย ทางชีวภาพ ที่ถือเป็น “วัตถุดิบในเชิงเศรษฐกิจ” นำไปสู่การพัฒนาเป็น Soft Power สร้างฐานรายได้ใหม่เป็น  

New Engine of Growth ในอนาคต 

เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567สพภ. ได้จัดประชุมเผยแพร่ความหลากหลายทางชีวภาพกับการสร้างโอกาส ทางธุรกิจด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ ในหัวข้อ “AI กับโอกาสทางธุรกิจชีวภาพ” ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอน เวนชั่น โดยมีนางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เป็นประธานใน พิธีพร้อมด้วยคณะกรรมการ สพภ. คณะผู้บริหาร สพภ. และวิทยากรทุก ๆ ท่าน และมีผู้เข้าร่วมที่มีความสนใจ เป็นจำนวนมากกว่า 100 คน โดยภายในงานได้มีการแนะนำระบบของ สพภ. และให้ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ หัวข้อ“AI กับโอกาสทางธุรกิจชีวภาพ”คือ 

1) แนะนำระบบงานบริการของ สพภ. โดย ดร.ธนิต ชังถาวร รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจ จากฐานชีวภาพ 

2) แนะนำระบบฐานงานบริการข้อมูลฐานชีวภาพด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการนำไปใช้ ประโยชน์โดย นายสัณห์ อุทยารัตน์ ที่ปรึกษาโครงการบริษัท เกรซ เทคโนโลยี แอนด์ คอนซัลแตนท์ 3) ให้ความรู้เกี่ยวกับ AI กับเศรษฐกิจชีวภาพ (BCG) โดย ดร.วาริน รัชนานุสรณ์ ผู้อำนวยการสถาบัน ส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล 

4) ให้ความรู้เกี่ยวกับ AI กับ เศรษฐกิจ โดยนายสืบศักดิ์ สืบภัคดี กรรมการบริหารและเลขาธิการ สมาคม โทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 

5) ให้ความรู้เกี่ยวกับ AI กับ เกษตรที่ยังยืน โดย รศ.ดร.มงคล รักษาพัชรวงศ์ผู้อำนวยการสถานี  รับสัญญาณดาวเทียมจุฬาภรณ์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

6) ให้ความรู้เกี่ยวกับ AI กับ สิ่งแวดล้อม โดย ดร.ไชยวัฒน์ กล่ำพล ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ  คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

สพภ. จัดประชุมเผยแพร่ “AI กับโอกาสทางธุรกิจชีวภาพ” เพื่อเผยแพร่ข้อมูลฐานชีวภาพเพื่อนำ ความหลากหลายทางชีวภาพไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงเศรษฐกิจและสังคม โดยอาศัยข้อมูลเชิงนิเวศ  ข้อมูลภูมิปัญญา ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์ และส่งเสริมความรู้การพัฒนาศักยภาพของข้อมูลฐานชีวภาพ ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการประมวลผลข้อมูลในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนำไปสู่การพัฒนา เป็น Soft Power สร้างฐานรายได้ใหม่เป็น New Engine of Growth 

มุ่งมั่นเดินหน้าปลูกจิตสำนึกเยาวชนและคนไทยทั้งประเทศ สร้างแรงบันดาลใจในการอนุรักษ์สัตว์ป่าและป่าไม้ ผ่านการประกวดภาพถ่าย ‘สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ’ ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 29 โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผนึกกำลังเครือเจริญโภคภัณฑ์ ด้วยการดำเนินงานของ ซีพีเอฟ ซีพีออลล์ และทรู คอร์ปอเรชั่น จัดพิธีมอบรางวัลโครงการปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การประกวดภาพถ่าย 'สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ' ประจำปี 2565-2566 พร้อมจัดนิทรรศการภาพถ่ายอันทรงคุณค่า ประจำปี 2565 และ ปี 2566 ณ ลานกิจกรรมชั้น 1 และผนังโค้งชั้น 3 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

โดยมี นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย ดร.อาชว์ เตาลานนท์ รองประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และดร.เนตรชนก วิภาตะศิลปิน หัวหน้าสายงานกลยุทธ์องค์กรและด้านการศึกษา บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น โดยผู้ได้รับรางวัลเกียรติยศในปี 2565-2566 มีดังนี้

  • ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

-  ประจำปี 2566 ระดับบุคคลทั่วไป ประเภทสัตว์มีค่า ภาพพฤติกรรมสัตว์ป่า

นายธีรพงศ์ เพ็ชร์รัตน์ เจ้าของภาพ “ศึกชนช้าง”

- ประจำปี 2565 ระดับบุคคลทั่วไป ประเภทสัตว์มีค่า ภาพสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

นายปฤษฎิ์ เก่งสูงเนิน เจ้าของภาพ “More than Dream”

  • ถ้วยประทานสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

- ประจำปี 2566 ระดับบุคคลทั่วไป ประเภทป่ามีคุณ ภาพถ่ายระยะใกล้

นายศราวุฒิ ทองเมือง เจ้าของภาพ “Hoar Frost”

- ประจำปี 2565 ระดับบุคคลทั่วไป ประเภทป่ามีคุณ ภาพทิวทัศน์

นายสุชาติ เกื้อทาน เจ้าของภาพ “ไออุ่นแห่งขุนเขา”

ทั้งนี้ ในปี 2565 และปี 2566 มีเยาวชนและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 1,126 คน รวม 4,041 ภาพ เป็นการตอกย้ำ และสร้างความตระหนัก ปลูกใจรักสิ่งแวดล้อม รวมถึงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สมบัติอันล้ำค่าอันเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติให้ยั่งยืนสืบไป

ปลูกใจรักสิ่งแวดล้อม ทรูปลูกปัญญา

สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนอวนประมงไม่ใช้แล้ว สู่ Marine Materials วัสดุรีไซเคิล ทางเลือกใหม่เพื่อความยั่งยืน

เคทีซี ร่วมกับ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนโครงการ “โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” (Green Hotel) โดยเคทีซีจับมือ 114 พันธมิตรโรงแรม ใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ มอบสิทธิพิเศษให้สมาชิกกับส่วนลดสูงสุด 45% ครอบคลุมบริการ ห้องพัก ห้องอาหาร และสปา พร้อมวางแผนต่อยอดขยายความร่วมมือ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวแนวใส่ใจธรรมชาติ และส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจสำหรับธุรกิจโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไป

 นางประณยา นิถานานนท์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เคทีซีนำแนวคิดด้านความยั่งยืนหรือการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental / Social / Governance) มาบูรณาการกับการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ ในส่วนมิติสิ่งแวดล้อมนั้น เคทีซีตอบสนองแนวคิด Environmentally Friendly ผ่านการดำเนินงานและการเข้าร่วมโครงการเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง การเข้าร่วมสนับสนุนโครงการ “โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” (Green Hotel) ในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่เคทีซีจะร่วมขับเคลื่อนสังคมแห่งความยั่งยืน พร้อมตอบโจทย์พฤติกรรมการท่องเที่ยวของสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่หันมาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เคทีซีจึงได้เพิ่ม “คุณค่า” ให้ทุกการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีที่ 114 โรงแรมที่ร่วมโครงการ กระจายอยู่ทั้ง 20 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งเป็นจังหวัดท่องเที่ยว อาทิ ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เชียงใหม่ และ ภูเก็ต เป็นต้น  ด้วยสิทธิพิเศษส่วนลดสูงสุด 45% ครอบคลุมบริการ ห้องพัก ห้องอาหาร และสปา  นอกจากนี้ สมาชิกยังสามารถใช้คะแนน KTC FOREVER แลกรับเครดิตเงินคืน 13% ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2566 - 31 ธันวาคม 2566  สามารถดูรายละเอียดผ่านเว็บไซต์ www.ktc.co.th/greenhotels

ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญระหว่างกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เคทีซี สมาชิก รวมถึงพันธมิตรโรงแรม  เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างมีคุณค่า ส่งผลต่อการสร้างสังคมแห่งความยั่งยืนต่อไป

นายสมศักดิ์ สรรพโกศลกุล อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “สำหรับโครงการ “โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” (Green Hotel) ดำเนินการด้วยเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการถ่ายทอดเป้าหมายหลักในการพัฒนาไปสู่กลุ่มโรงแรมซึ่งมีการใช้พลังงานอย่างมาก โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2556 มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์ความรู้ เสริมศักยภาพ เพื่อส่งเสริมศักยภาพสถานประกอบการให้เกิดการใช้ทรัพยากร พลังงาน อย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี และเพื่อยกระดับมาตรฐานการบริการ ทั้งด้านสุขอนามัย และการจัดการสิ่งแวดล้อมให้สอดรับกับสถานการณ์การท่องเที่ยว พร้อมขยายจำนวนเครือข่ายสถานประกอบการในการบริการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อันจะทำให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศอย่างยั่งยืน โดยมีโรงแรมที่ผ่านเกณฑ์การประเมินและเข้าร่วมโครงการตั้งแต่แรกเริ่มเป็นจำนวน 594 แห่ง ปัจจุบันมีโรงแรมที่ยังอยู่ในการรับรองจำนวน 262 แห่ง แบ่งเป็นระดับดีเยี่ยม (G ทอง) จำนวน 106 แห่ง ระดับดีมาก (G เงิน) จำนวน 83 แห่ง และระดับดี (G ทองแดง) จำนวน 73 แห่ง 

โดยในปี 2566 ได้ร่วมมือกับ SWITCH-ASIA, TourLink ในการยกระดับสู่การปฏิบัติที่ดีเทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยเทียบเกณฑ์การประเมินโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Hotel) ของประเทศไทยกับเกณฑ์ GSTC (Global Sustainable Tourism Council) ซึ่งเป็นเกณฑ์ชี้วัดระดับสากล เพื่อใช้ประเมินกับโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Hotel) ในระดับดีเยี่ยม (G ทอง) รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคเอกชนอย่างเคทีซี ในการมอบสิทธิประโยชน์ร่วมกับโรงแรมในโครงการ เพื่อเป็นการรองรับนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ รวมทั้งเป็นการสร้างภาคีความร่วมมือในทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน และกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากธุรกิจโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นต่อไป”

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมควบคุมมลพิษ และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จับมือภาคีเครือข่าย ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจัดการขยะทะเลให้เป็นศูนย์ นำร่อง 5 ปากแม่น้ำสายหลักที่ไหลลงสู่ทะเล ณ สวนสาธารณะลานโลมา ชายหาดป่าตอง ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต  เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2565 ในวันทะเลโลก โดยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นสักขีพยาน เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาขยะให้เป็นศูนย์ พร้อมสนับสนุนนวัตกรรมทุ่นกักขยะ ลดการเพิ่มจำนวนของขยะทะเล ภัยร้ายทำลายสิ่งแวดล้อมทางทะเล

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click