×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

1. บทนำ ในยุคเทคโนโลยี 5G ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงกว่า 4G ถึง 10 เท่าเป็นอย่างต่ำ โดยจะใช้แถบความกว้างของความถี่ในระดับ 50 - 100 MHz ซึ่งจะทำให้หุ่นยนต์และมนุษย์ทำงานร่วมกันในโรงงาน และในโรงงานจะทำหน้าที่เหมือนวง ดนตรีที่เล่นเพลงเดียวกันอย่างไพเราะด้วยเครื่องดนตรีที่หลากหลาย นอกจากนี้หุ่นยนต์จะเชื่อมต่อเข้ากับระบบคลาวด์ (Cloud robotics) ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อความปลอดภัยและสั่งการควบคุมกระบวนการ ซึ่ง 5G ไม่ได้มีการก้าวกระโดดแค่เรื่องความเร็ว   แต่จะมีการเพิ่มจำนวนเครือข่ายที่สามารถเชื่อมต่อกันได้มากขึ้นและ สามารถรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ได้ถึงล้านล้านชิ้น อุปกรณ์ทั่วโลกซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน 5G ที่มีการวางไว้แล้ว

ทั้งนี้การวิเคราะห์และการคาดการณ์จากสำนักวิจัยหลายสำนักสามารถสรุปได้ว่า อุตสาหกรรมสื่อและโทรคมนาคมจะถูกพลิกโฉมอย่างที่ไม่เหลือรูปแบบเดิมๆ ประมาณช่วงปี 2023-2025 (หลังจากการประกอบร่างของ AI และ Big data สำเร็จ) ตามมาด้วยอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารและค้าปลีกในช่วงปี  2025  (หลังจากการประกอบร่างระหว่าง AI, Big data และ Blockchain สำเร็จ) ไปจนถึงอุตสาหกรรมพลังงานในปี  2030  (หลังจากการประกอบร่างระหว่าง  AI,  Big data, Blockchain และ Energy storage สำเร็จ)  ซึ่งหลังจากปี  2030  จะเป็นภาพจริงของการอพยพจากอุตสาหกรรมเก่าเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) อย่างสมบูรณ์แบบ

การให้บริการ Mobile broadband กำลังก้าวไปสู่ระบบ 5G โดยมีแผนที่จะวางโครงข่ายครั้งแรกในหลายประเทศไม่เกินปีนี้ (ปี 2018) ซึ่งถือได้ว่าเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ถึง 2 ปี ทั้งนี้เป็นผลมาจากการแข่งขันที่รุนแรง ในความพยายามที่จะผลักดันให้การบริการ Mobile broadband ที่สามารถให้บริการ Digital platform ในทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก

ความต้องการเพิ่มความเร็วเครือข่ายในระดับ Gbps และการมีแอพพลิเคชั่นที่ หลากหลาย ส่งผลทำให้ 5G มีผลกระทบต่อบทบาทและขอบเขตของการให้บริการ โทรคมนาคมอย่างมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาในการให้บริการทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การเงินการธนาคาร, ประกันภัย, การขนส่ง, ค้าปลีก บันเทิง ไปจนถึง พลังงาน

เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้กลายเป็นเครื่องมือหลักของการเข้าถึงการเชื่อมต่อระหว่างคนด้วยกันเอง   และระหว่างคนกับอุปกรณ์หรือเครื่องจักร   และจะส่งผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่างบนอินเทอร์เน็ต ไปจนถึงระบบเมืองอัจฉริยะด้วยการเชื่อมโยงของ Internet of Things  (IoT), รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง,  หุ่นยนต์,  Virtual Reality (VR), Big Data เป็นต้น โดยจุดเด่นของ 5G ที่สำคัญได้แก่

(1) เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5G จะกลายเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงเครือข่ายสำหรับเชื่อมต่อระหว่างคนด้วยกันเอง และระหว่างคนกับอุปกรณ์หรือเครื่องจักร โดยเครือข่ายเหล่านี้จำเป็นจะต้องพัฒนาปรับปรุงเครือข่าย ทั้งในแง่ของคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัย

(2) 5G  จะผลักดันให้วิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ตมุ่งเน้นไปที่พื้นฐานสำคัญ 2 ประการ นั่นคือความจุเครือข่าย (ความเร็วในการส่งข้อมูล) และความสามารถในการเชื่อมต่อที่หนาแน่น เพื่อลดปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นคอขวดจากการเพิ่ม ขึ้นของ real-time videos

(3)  ความสามารถในการรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วของ  5G  ในระดับ  Gbps  จะทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันในเมืองอัจฉริยะทำได้แบบ real time ส่งผลให้สภาพแวดล้อมภายในเมืองมีประสิทธิภาพในการบริหาร ทรัพยากรมากขึ้น  เช่น  การควบคุมจราจร  จะพัฒนาได้มากเมื่อสามารถวิเคราะห์ สภาพถนนได้แบบ real time โดยการใช้กล้อง IP ที่ชาญฉลาด

(4) การสำรวจของอีริคสันพบว่าร้อยละ 95 ของผู้นำด้านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เชื่อว่า 5G จะเข้ามาช่วยสนับสนุนการใช้ข้อมูลปริมาณมหาศาลจากอุปกรณ์ IoT ซึ่งผลสำรวจยังกล่าวถึงการนำ 5G มาใช้ โดยร้อยละ 64 จะใช้เครือข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ในการส่งผ่านข้อมูลไปยังอุปกรณ์ต่างๆ โดยใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนการเชื่อมต่อ WiFi, ร้อยละ 38 ใช้ดำเนินการด้านสุขภาพ เช่น บริษัท เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสามารถใช้อุปกรณ์  IoT ในการเชื่อมต่อ 5G เพื่อตรวจสอบผู้ป่วยที่กำลังฟื้นตัวจากการรักษา, ร้อยละ 36 ใช้ในการควบคุมระยะไกลแบบ real time เช่น  บริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติใช้การเชื่อมต่อ 5G เพื่อสำรวจและ ตรวจสอบความพร้อมและความผิดปกติของระบบต่างๆ

สำหรับมุมมองของโนเกียเชื่อว่าเครือข่าย 5G จะทำให้ผู้ใช้งานระบบเสมือนจริง สามารถทำงานร่วมกันได้ราวกับว่าอยู่ใกล้กัน ซึ่งอาจจะดูเหมือนวิดีโอเกมยุคใหม่ และการทำงานร่วมกันจากระยะไกลโดย 5G จะทำให้เกิดความเป็นไปได้ใน การนำระบบอัตโนมัติมาใช้กับทุกสิ่งทุกอย่าง โดย 5G จะสร้างแพลตฟอร์มเพื่อ บริหารจัดการด้วยการเชื่อมโยงสู่ Cloud robotics

Facebook ประกาศว่าโครงการ Telecom Infra Project เป็นความคิดริเริ่มในการออกแบบเพื่อปรับปรุงโครงสร้างเครือข่ายโทรคมนาคมใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับ ความต้องการใช้งานข้อมูลที่มีเพิ่มขึ้นของโลก อีกทั้งบริษัทเครือข่ายทางสังคม (Social media)ได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และผู้จำหน่ายอุปกรณ์ เช่น Nokia, Intel และ Deutsche Telekom เพื่อให้สามารถดำเนินการรับมือกับการใช้งานข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นระบบ VR และการ ดูวิดีโอออนไลน์ เป็นต้น

หนึ่งในจุดเด่นของ 5G คือความสามารถในการลดความหน่วงเวลาได้อย่างมาก (Ultra-low latency) เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับรถยนต์ได้อย่างต่อเนื่องแบบ Real time ซึ่งสามารถพัฒนาความปลอดภัยของยานพาหนะได้อย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น ความหน่วงเวลาที่ต่ำของ 5G จะช่วยให้เครือข่ายหุ่นยนต์สามารถดำเนินงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้

นอกจากนี้เทคโนโลยีเครือข่าย 5G ยังเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จสำหรับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ยุคใหม่ ที่มีการควบคุมแบบไร้สายมากกว่าการสื่อสารแบบมีสายและการจัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ (Cloud robotics) ด้วยความสามารถเหล่านี้  ทำให้หุ่นยนต์สามารถถูกควบคุมการเคลื่อนที่ ได้อย่างแม่นยำและ real time มากที่สุด และสามารถเชื่อมได้กับทั้งคน เครื่องจักร อุปกรณ์ทั้งในประเทศและทั่วโลก

ความท้าทายที่สำคัญของผู้ให้บริการเครือข่าย 5G ในอนาคต ได้แก่ มาตรฐาน การให้บริการ การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งความ ท้าทายของเทคโนโลยีเครือข่าย 5G จะต้องมุ่งเน้นการเชื่อมต่อของสังคมดิจิทัล (Digital Society) ในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยมีปัจจัยสำคัญประกอบด้วย

  • ระบบเครือข่ายที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นทำให้เครือข่ายเคลื่อนที่และอุปกรณ์ สามารถเชื่อมต่อได้ง่ายขึ้น ซึ่งในอดีตที่ผู้ให้บริการต้องพบกับข้อจำกัดต่างๆ
  • สามารถเชื่อมต่อองค์ความรู้ที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเติบโตของอินเทอร์เน็ต การให้บริการคลาวด์ และการวิเคราะห์ Big Data
  • การขับเคลื่อนนวัตกรรม 5G โดยการเปลี่ยนผ่านและหลอมรวมทางเทคโนโลยี (Technology convergence)และโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT จะผลักดันให้เกิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการในทุกอุตสาหกรรม

ในอนาคตข้างหน้า 5G จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในการใช้ ในชีวิตประจำวัน การทำงาน และบันเทิง ซึ่งถือว่าเทคโนโลยี 5G จะเป็นหนึ่งในผู้เปลี่ยนเกมการให้บริการและ Business model ในอุตสาหกรรมทุกอุตสาหกรรมและ ทุก Digital platform และแน่นอนความเสี่ยงด้านไซเบอร์ก็จะทวีคูณขึ้นเป็นเงาตาม ตัวด้วยความเร็วในระดับ 5G เช่นกัน

มีการคาดการณ์จากนักอนาคตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ไว้ว่า TV ในอนาคต อาจจะเป็นเพียงพลาสติกใสบางๆ และในที่สุดจะเป็นภาพลอยขึ้นมาแบบสามมิติ ด้วย content ที่ผลิตผ่าน social media ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นภายใน 10 ปีจากนี้

อย่างไรก็ตามรูปแบบอนาคตของ TV ณ ขณะนี้ยังเป็นการต่อสู้ระหว่าง 5G และ social media เช่น Facebook, Google, Youtube และ social media อื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นความสั่นสะเทือนวงการ TV ดั้งเดิมเป็นอย่างมาก

หลังจากการวางเคเบิ้ลไฟเบอร์ออฟติกใต้น้ำ (submarine optical cable) ตั้งแต่ปี 2000 ที่มีการแข่งขันกันกันสูงมากจนทำให้โลกถูกเชื่อมโยงด้วยทางด่วนข้อมูลใต้น้ำอย่างสมบูรณ์ จึงเป็นผลทำให้ราคาค่าเชื่อมโยงผ่านเคเบิ้ลใต้น้ำมีราคาถูกกว่า การเชื่อมโยงด้วยดาวเทียม และยังมีความเร็วสูงกว่าการส่งข้อมูลด้วยดาวเทียมอีกด้วย ผลกระทบดังกล่าวจึงทำให้ระบบ Mobile broadband มีต้นทุนในการส่ง content ถูกกว่าด้วยการส่ง content ผ่านระบบดาวเทียมเป็นอันมาก ยิ่งไปกว่านั้น ขีดความสามารถของโครงข่าย Mobile broadband มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด พร้อมทั้งการเข้าถึงของประชากรโลกมีความง่ายดายด้วย smart devices ที่มีราคาที่ ทุกคนสามารถหาซื้อได้ โดย GSMA คาดการณ์ว่ากว่า 70% ของประชากรโลกจะมี smartphone ใช้ภายในปี 2020 (ณ ขณะนี้ปี 2018 มีถึง 66%)

การให้บริการ Mobile broadband 5G ทำให้ผู้ให้บริการโครงข่าย (Network operators) จะต้องหาวิธีการรับมือกับปริมาณข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการใช้งานของ เทคโนโลยีไร้สายยุคใหม่ ที่มีการใช้งานเครือข่ายที่หนาแน่นมาก โดยขณะนี้ AT&T ได้ทดลองการให้บริการเครือข่าย 5G เพื่อแพร่ภาพโทรทัศน์ที่มีชื่อ โครงการว่า DirecTV Now  ซึ่งให้บริการวิดีโอออนดีมานด์ (VDO on demand) ในรูปแบบสตีมมิ่ง และได้เริ่มทดลองแพร่ภาพในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2017 ใน เมืองออสติน รัฐเท็กซัส  ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว

AT&T ทำการทดลองแพร่ภาพสตรีมมิ่งเป็นครั้งแรกผ่านโครงข่าย 5G โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อ "ทำให้เครือข่าย 5G สามารถให้บริการแทนระบบสายเคเบิ้ล" ซึ่งขีดความสามารถตามมาตรฐานของเทคโนโลยี 5G ได้ถูกกำหนดไว้โดย สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)  เพื่อสามารถรองรับการใช้งานรับส่ง ข้อมูลปริมาณมากๆ เช่น วิดีโอ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพแบบ real time อีกทั้งยัง สามารถรองรับการให้บริการด้านบันเทิงในรูปแบบต่างๆ ในอนาคตได้อีกด้วย

ซึ่งการให้บริการเช่นนี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการอวสานของ “เคเบิ้ลทีวี” ที่ กำลังจะมาถึงเร็วๆนี้ ด้วยบริการเครือข่ายไร้สาย 5G ที่มีราคาถูกกว่า,   มีประสิทธิภาพดีกว่าและเข้าถึงผู้ชมได้ง่ายกว่าด้วย smartphone ที่มีขีดความ สามารถสูงและราคาถูก

5G ถือเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายไร้ที่มีเป้าหมายให้สามารถบริการด้วยความเร็วที่ สูงกว่าเครือข่าย 4G ถึง 100 เท่า โดยสามารถดาวน์โหลดด้วยความเร็วถึง 14 Gbps ซึ่งหากเทียบกับความเร็วสูงสุดที่ AT&T ให้บริการบนเครือข่าย 4G ใน ประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ ณ ขณะนี้ ที่มีความเร็วสูงสุดในการดาวน์โหลดอยู่ที่ 14 Mbps เท่านั้น

ผู้ให้บริการโครงข่าย (Network operators) หลายรายในสหรัฐฯ ต่างมุ่งผลักดัน เพื่อการให้บริการแห่งอนาคต ไม่ว่าจะเป็น Verizon Wireless, AT&T, Sprint และ T-Mobile ต่างก็เริ่มมีการทดสอบการให้บริการเครือข่าย 5G กันไปบ้างแล้ว ซึ่งใน ปี 2017 ที่ผ่านมาเป็นปีแห่งการทดสอบเครือข่าย 5G ในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่ง จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการภายในปี   2018

อย่างไรก็ตามในขณะที่ผู้ให้บริการโครงข่าย 5G (Network operators) พยายาม แย่งชิงเพื่อที่จะเป็นเจ้าแห่งอุตสาหกรรม TV แต่ Facebook ก็ได้ประกาศไปแล้วว่า กำลังจะเริ่มให้บริการแพร่ภาพแบบสตรีมมิ่ง (Streaming videos) ผ่านแพลตฟอร์ม หลักของ Facebook โดยสามารถแสดงผลบนจอ TV แบบปกติโดยผ่านอุปกรณ์ เช่น Apple TV หรือ Google Chrome-cast ซึ่งการให้บริการดังกล่าวจะทำให้ สามารถรับชม Facebook videos บนจอขนาดใหญ่ได้ ซึ่งจะทำให้ social media เพิ่มความสามารถในการให้บริการเสมือนเป็นสถานีโทรทัศน์

นับจากนี้ไปสงครามชิงดำเพื่อยึด Landscape ใหม่ของ TV คงจะระอุอย่างยิ่ง ซึ่งคงเป็นเรื่องที่ยากในการคาดการณ์ว่าจะจบลงในรูปแบบใด

 


บทความ โดย : พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)


สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ “Next-Gen. Leaders & Next-Gen. Mobile Tech” โดย พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กสทช. จากงาน Thailand MBA Forum 2018 ได้ที่นี่

 

 

 

 

พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) คือหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีที่ให้มุมมองเกี่ยวกับผลกระทบจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเราและโลกธุรกิจรวมไปถึงการบริหารงานต่างๆ อย่างคมชัด

เพราะเราคงไม่สามารถหยุดยั้งเทคโนโลยีที่กำลังขับเคลื่อนโลกใบนี้อยู่ได้ ยิ่งในโลกดิจิทัลที่เชื่อมโยงกันจนยากจะจำกัดหรือกำจัดเทคโนโลยีเหล่านี้ออกไปจากชีวิตใครคนใดคนหนึ่งหรือสังคมใดสังคมหนึ่งไปได้ การอยู่ร่วมกันโดยที่ยังคงรักษาผลประโยชน์ของเราไว้ได้จึงเป็นทางออกที่น่าสนใจที่สุด เพราะคงไม่มีใครที่จะสามารถหยุดยั้งเทคโนโลยีที่สามารถสร้างสรรค์จากทุกมุมโลกเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้

ดร.เศรษฐพงค์เปิดห้องพูดคุย ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้น และนวัตกรรมที่กำลังเข้าสู่ช่วงอัตราเร่งในการพัฒนา การที่ธุรกิจถูก Disrupt จากเทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่งบล็อกเชน และเทคโนโลยี 5G ที่กำลังจะกลายเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมยุคใหม่ การเข้ามาของเทคโนโลยีเหล่านี้จะเชื่อมต่อเซนเซอร์ทั้งหลายช่วยให้โลกชาญฉลาดมากขึ้น การเติบโตของนวัตกรรมจะรวดเร็วเพราะคนสามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ง่ายขึ้นทุกมุมโลก โลกจะก้าวสู่โลกยุค Industry 4.0 ที่หมายถึง Autonomous Decentralize Distributed เป็นยุคที่คนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการสร้างงานสร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ ข่าวสาร สร้างนวัตกรรมร่วมกัน

  ผลกระทบของบล็อกเชน

ดร.เศรษฐพงค์มองว่า เทคโนโลยีบล็อกเชนส่งผลกระทบต่อหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมการเงิน อุตสาหกรรมสื่อ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดี จากยุคเทปคาสเซ็ทที่การก๊อบปี้ทำได้ยาก สู่ยุคที่อินเทอร์เน็ตมีความเร็วเพิ่มขึ้นเพลงถูกเปลี่ยนเป็นไฟล์ดิจิทัลและสามารถแชร์กันได้ ทำให้ป้องกันเรื่องลิขสิทธิ์ได้ยาก ส่งผลให้ไม่สามารถกำหนดจำนวนอุปทานที่จะออกมาได้

มาในยุคปัจจุบันที่อินเทอร์เน็ตมีพลังมากขึ้น สมาร์ตโฟนสามารถเข้าถึงผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลก เกิดแนวคิดที่จะกำหนดจำนวนไฟล์ จำนวนลิขสิทธิ์ของเพลงเช่นเดียวกับการผลิตเทปคาสเซ็ทในอดีต ช่วยให้เกิด Business Value บนเครือข่าย

ในปี 2008 ซาโตชิ นากาโมโตะ ซึ่งเป็นชื่อสมมติ เขียนบทความขึ้นมาชิ้นหนึ่งและส่งให้โปรแกรมเมอร์ระดับโลกว่ามีวิธีการสำหรับเรื่องข้างต้น นั่นคือแนวคิดของบล็อกเชน เป็นจังหวะเดียวกันที่อินเทอร์เน็ตไปถึงจุดที่เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารผ่านระบบเซิร์ฟเวอร์ทั่วโลกได้ ด้วยแนวคิดว่าให้คนบนเครือข่ายมาช่วยกัน Verify ไฟล์ที่เรากำหนดไว้ ทำให้ทุกคนไม่สามารถโกงกันได้ เพราะจะเห็นจำนวนที่ตรงกัน มีรหัสเดียวกัน หากใครมีรหัสที่แปลกปลอมก็จะถูกเตะออกนอกระบบ

บิทคอยน์คือตัวอย่างที่ทำให้โลกเห็นว่า มีแอปพลิเคชันหนึ่งที่สามารถสร้างและเก็บรักษามูลค่าโดยกำหนดจำนวนได้ เป็นต้นแบบให้กับธุรกิจอื่นๆ สามารถจะนำไปต่อยอด เช่นศิลปิน สามารถออกเพลงโดยกำหนดจำนวนก๊อบปี้ที่ชัดเจนบนแอปพลิเคชันมิวสิกบล็อกเชน ผู้อยากได้ไฟล์ไปฟังก็ส่งเงินไปที่วอลเล็ตของศิลปิน และหากมีการส่งต่อหรือซื้อขายเพลงดังกล่าวไปสู่ผู้ฟังรายอื่น ตัวศิลปินก็จะได้ส่วนแบ่งรายได้ จากโค้ดที่เขียนไว้

เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วในชุมชนของคนรุ่นใหม่ ขณะเดียวกันก็ยังมีผู้ประกอบการรายใหญ่อย่างเช่นหัวเหว่ยที่เตรียมจะนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาอยู่บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งหากวันใดก็ตามที่บริษัทสมาร์ตโฟนที่มีชื่อเสียง มีผู้ใช้งานเป็นพันล้านคนนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ ก็เป็นการเปิดช่องทางให้ทุกคนต้องเข้ามาใช้เทคโนโลยีนี้

ดร.เศรษฐพงค์เปรียบเทียบอินเทอร์เน็ตว่าเหมือนกับทะเล เป็นตัวกลางที่ยังไม่มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ ขณะที่บล็อกเชนเปรียบดังเรือที่สามารถบังคับตัวเองได้ตามที่กำหนดไว้ เมื่อมีคนขึ้นเรือก็เก็บเงินผ่านวอลเล็ต หรือจะเรียกบล็อกเชนว่า Programmable Internet ก็ได้ บล็อกเชนจะกำหนดอุปทาน และกำหนดการทำ Smart Contact รูปแบบใหม่ ที่จะช่วยสร้างมูลค่าให้กับสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานเพลง การแลกเปลี่ยนพลังงาน และอื่นๆ

“บล็อกเชนเป็นตัวกำหนดว่าเรือลำนี้กับเรือลำนั้นเป็นเพื่อนกัน จะคุยกัน แต่ถ้าเรือลำนี้ไม่มีโค้ดเราจะไม่คุยกับเรือลำนี้ เราจะไปส่งคนให้เรือลำที่เรารู้จักเท่านั้น เรือก็ล่องเต็มไปหมดเป็นโหนดๆ เต็มไปหมด เรือจะมากขึ้นๆ เพราะคนเป็นพันล้านคน บล็อกเชนคือการทำทรานเซกชันแบบเรียลไทม์และอัตโนมัติ โดยเขียนโปรแกรมไว้แล้ว เป็นข้อตกลงกัน และจะทำงานให้อัตโนมัติ ผมแค่ออกเพลง 1 ล้านเพลงเป็นดิจิทัลไฟล์ที่มีการเข้ารหัสไว้เรียบร้อยแล้ว ใครซื้อมาก็โอนให้”

ผลกระทบของบล็อกเชนจะทำให้ตัวกลางที่เคยมีอยู่ถูกลดหรือเปลี่ยนบทบาทลงไป เช่นอุตสาหกรรมสื่อสาร อุตสาหกรรมการเงิน ทนายความ รวมไปถึงภาครัฐต่างๆ ซึ่งต้องมีการเตรียมตัวปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่กันใหม่

ดร.เศรษฐพงค์มองว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนจะเป็นเหมือนกับแอปพลิเคชันที่เราใช้กันเป็นประจำในวันนี้ ที่เมื่อเกิดมาแล้วมีผู้ใช้งานจำนวนมากก็กลายเป็นสิ่งที่คนในสังคมต้องใช้ เพื่อติดต่อสื่อสารหรือทำธุรกรรมระหว่างกัน ดังนั้นการเตรียมเข้าไปมีส่วนร่วมกับเทคโนโลยีนี้อย่างชาญฉลาดจึงเป็นทางออกของเรื่องนี้

  5G จะพาเราไปไหน

ดร.เศรษฐพงค์เล่าถึงเทคโนโลยี 5G ที่เป็นพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรม 4.0 ว่า เป็นการพัฒนาต่อจากระบบ 4G LTE Advance และมีอีกกลุ่มหนึ่งที่พัฒนาแบบแยกออกไปต่างหากซึ่งกำลังแข่งขันกันเพื่อเป็นเทคโนโลยีหลักอยู่ เนื่องจากอุตสาหกรรมโทรคมนาคมสร้างมูลค่าได้ลดลง ทำให้ต้องเปลี่ยนวิธีคิดมาสู่การเชื่อมโยงธุรกิจสู่ธุรกิจ (Business to Business) มนุษย์สู่มนุษย์ (Human to Human) และ มนุษย์สู่ธุรกิจและสู่อะไรก็ได้ (Human to Business to X)

ดังนั้น 5G จึงสามารถเป็นได้ทั้งแพลตฟอร์มในโรงงานอุตสาหกรรม หรือเป็นช่องทางทำธุรกรรมในอุตสาหกรรมทางการเงิน หรือจะนำไปใช้ในรถอัตโนมัติ โดยสามารถสร้างแพลตฟอร์มเฉพาะแต่ละธุรกิจได้ เช่นเป็น Mobile Commerce เป็นยานยนต์ไฟฟ้า หรือเป็น IoT ที่ทำงานด้านบริการ

“ระบบ 5G จะเป็นระบบซึ่งไม่ใช่ผู้คนคุยกันเอง แต่ผู้คนคุยกับองค์กร ผู้คนลงทุนกับองค์กร องค์กรทำงานแบบอัตโนมัติมากขึ้น มูลค่าก็จะไปสร้างใหม่เพราะแบบเดิมสร้างไม่ได้ นั่นคือเส้นทางของ 5G ที่แตกต่างจาก 4G 3Gโดยสิ้นเชิง ทำให้บล็อกเชนและเอไอต้องเข้ามาเพื่อจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 5G เป็นพื้นฐานของIndustry 4.0 ที่ทำให้บล็อกเชนเป็น Simple Application เหมือนซอฟต์แวร์ตัวหนึ่ง แต่ข้างในก็ verify ด้วยบล็อกเชน คนใช้งานไม่รู้เรื่องเลย แต่ที่บล็อกเชนดังเพราะมีอิทธิพลสูงมากจนคนทุกคนได้ยิน”

สำหรับประเทศไทยการจะได้ใช้ระบบ 5G ซึ่งต้องใช้ช่วงความถี่ถึง 100 เมกกะเฮิร์ตช ผู้ประกอบการจะต้องลงทุนจำนวนมาก ดร.เศรษฐพงค์ทำนายว่า ประเทศไทยอาจประสบปัญหาทางตันสักระยะหนึ่งจนต้องไปแก้กฎหมายและ 5G จะกลับมาเริ่มได้ช่วงปี 2022 เพราะตามกำหนดที่วางไว้โลกจะเริ่มใช้เทคโนโลยีนี้ในปี 2020 แต่ปัจจุบันมีหลายประเทศเริ่มไปแล้วไม่ว่าจะเป็น อเมริกา จีน เกาหลีใต้

 

  โลกของผู้เชี่ยวชาญ

ดร.เศรษฐพงค์เล่าว่า นับจากความสำเร็จของเทคโนโลยี 4G ในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชน ซึ่งเป็นเรื่องที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ทำให้เราเห็นว่า ประชาชนสามารถผลิตสื่อ บริโภคสื่อต่างๆ กันได้เอง ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ จะเป็นผู้กำหนดเนื้อหาโดยที่สื่อตัวกลางเริ่มลดบทบาทลง ผู้เชี่ยวชาญ (Expert) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในโลกยุคใหม่

“โลกอนาคตจะเป็น self regulation เช่น ส.ส. กำลังจะไปโหวตในสภา ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ แต่ปรากฏว่าประชาชนไม่รับ ถ้าส.ส.คนนี้โหวตแบบนี้ ฉันขอโหวตผ่านบล็อกเชนว่าไม่เห็นด้วยกับคุณ คน 1 ล้านคนโหวตบอกไม่เอาอย่างนี้แต่คุณไป
โหวตในสภาแบบนี้ ครั้งหน้าคุณจะได้เป็นไหม บล็อกเชนจะเป็นระบบโหวตที่มีประสิทธิภาพมาก”

ความรวดเร็วของเทคโนโลยีส่งผลต่อการกำกับดูแลในอนาคต ดร.เศรษฐพงค์มองว่า ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารจะต้องทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้เป็นอย่างมาก เพราะเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่จินตนาการแต่เป็นเส้นทางที่ถูกกำหนดขึ้นมาแล้ว โดยยกตัวอย่างเทคโนโลยี 4G ที่กำหนดมากว่าจะมาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมสื่อที่เราได้เห็นไปแล้ว

“สึนามิมาน้ำในแม่น้ำไม่มีความหมายหรอก คุณคิดว่าคุณจะสร้างเขื่อนกันระบบชลประทานในประเทศ แต่อินเทอร์เน็ตคือทะเล น้ำขึ้นน้ำลงไปห้ามได้หรือ หรือแผ่นดินไหวใต้ทะเล สร้างสึนามิคุณห้ามแผ่นดินไหวได้หรือ คุณต้องอยู่กับโลกที่เปลี่ยนแปลงได้”

การเกิดขึ้นของเศรษฐกิจดิจิทัล นับเป็นโลกใหม่ ที่เราต้องรู้จักการสร้างมูลค่าใหม่ๆ เพื่อทดแทนสิ่งที่กำลังจะหายไป เพราะหากไม่ทำก็จะมีคนที่มีความรู้และแนวคิดเข้ามาแล้วทำธุรกิจเหล่านั้นแทนที่ ดร.เศรษฐพงค์เปรียบเทียบกับที่ดินในกรุงเทพฯ บางพื้นที่ว่าในอดีตแทบไม่มีอะไรเลย แต่เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นในปัจจุบันก็แย่งซื้อขายกันเพื่อนำมาพัฒนาเป็นคอนโดมิเนียมหรืออาคารสำนักงานขนาดใหญ่ เปลี่ยนแปลงย่านที่เคยเงียบเหงาให้กลายเป็นย่านชิคชิลล์ยกระดับให้มีมูลค่าสูงขึ้น

การอยู่กับโลกโดยเราได้มูลค่าร่วมไปด้วย หากเราไม่สามารถหารูปแบบการยึดโยงได้เราก็จะสูญเสียรายได้ไปกับโลกดิจิทัล เช่นการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ที่ปัจจุบันมีผู้ประกอบการรายใหญ่ระดับโลกหลายรายสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ ปัญหาคือภาครัฐจะเก็บภาษีธุรกรรมที่เกิดขึ้นได้อย่างไร

“ถ้าเราไม่สร้างแพลตฟอร์มของเรา เราไม่ Engage กับโลก เราไม่ไปสร้าง Value Chain ของเรา เราก็ไม่สามารถไปเก็บภาษีได้ ภาษีก็จะหลอมละลายไปในอินเทอร์เน็ต และการทำ Transaction (ธุรกรรม) ระหว่างประเทศ เขาก็เอา Transaction เราไป เราซื้อของต่างประเทศภาษีเราจะไปเก็บที่ไหน เราก็ได้แต่เก็บภาษีบนเรือนร่างประเทศไทย ค่าแรงงาน การค้าภายในประเทศ ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย”

การจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่นับจากปีนี้จะเปลี่ยนแปลงด้วยอัตราเร่ง ในมุมมองของดร.เศรษฐพงค์มองว่า เราต้องการผู้เชี่ยวชาญที่จะมาช่วยกำหนดแนวทางเพื่อช่วยสร้างระบบให้ประเทศไทย “ถามว่าประเทศไทยต้องการคนเป็นล้านมาสร้างระบบเพื่อให้ประเทศเจริญและมีงานทำรูปแบบใหม่หรือไม่ เราต้องการคนที่เป็น expert (ผู้เชี่ยวชาญ) ไม่กี่พันคน” เขาเปรียบเทียบกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่างกูเกิลที่มีผู้ใช้งานนับพันล้านคนว่ามีนักวิทยาศาสตร์วิศวกรที่คิดซอฟต์แวร์เป็นหลักพันแม้จะจ้างคนเป็นหลักหมื่นคน

และบอกต่อว่า “ผมมองว่าเด็กรุ่นใหม่เขาจะค่อยๆ มาเปลี่ยน เขาจะมีบทบาทในนิติบัญญัติมากขึ้น เขาจะมองออกว่าแล้วทำไมเรามานั่งคิดเรื่องพวกนี้” 

Page 3 of 3
X

Right Click

No right click