December 23, 2024

ท่ามกลางกระแสรักษ์โลก ที่ทุกภาคส่วนในสังคมกำลังมุ่งมั่นเดินหน้าไปสู่การสร้าง “สังคมคาร์บอนต่ำ” มีหลายธุรกิจชั้นนำระดับโลกที่พัฒนานวัตกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้นจริงแล้ว และนำมาแบ่งปันแนวคิด สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนมาร่วมก้าวไปพร้อมกัน ในงาน ESG Symposium 2023: ร่วม เร่ง เปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ 

ขนส่งและเดินทางด้วย “รถประหยัดพลังงาน (Green Logistic)”

ปัจจุบัน เราอยู่ในยุคของความเป็นกลางทางคาร์บอน และมีความต้องการที่ต้องเปลี่ยนยานยนต์ทุกคันเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ BEV และพลังงานสะอาด ซึ่งในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตามนโยบายของภาครัฐ

มร.ฮิโรกิ นาคาจิม่า กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนไม่ใช่สิ่งที่บริษัทเดียวจะทำได้โดยลำพัง จึงได้มีการริเริ่มความร่วมมือกับระหว่างบริษัทรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศญี่ปุ่นและได้ก่อตั้งบริษัทภายใต้ชื่อ “Commercial Japan Partnership Technologies Corporation หรือ CJPT” เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้รถที่มีเทคโนโลยีหลากหลาย รวมถึงรถจากพลังงานสะอาด และรถที่มีคาร์บอนต่ำ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและเพิ่มประสิทธิภาพในภาคการขนส่ง โดยได้ขยายความร่วมมือดังกล่าวมายังประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และระดับโลก “Detroit of Asia” สำหรับรถยนต์เชิงพาณิชย์

 

นอกจากนี้ มร.นาคาจิม่ายังได้เปิดเผยถึงความร่วมมือที่บริษัท CJPT มีความร่วมมือกับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) และเอสซีจี เพื่อผลักดันให้ไทยบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ด้วยการพัฒนานวัตกรรมรักษ์โลก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงาน ทั้งการผลิตพลังงานไฮโดรเจนจากชีวมวล และอาหารเหลือทิ้ง รวมถึงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ ด้านการใช้ข้อมูล (Big Data) และโครงสร้างพื้นฐานด้านการโทรคมนาคม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ และด้านการเดินทาง โดยการนำเสนอยานยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย ได้แก่ รถพลังงานไฟฟ้าแบบไฮบริด (HEVs) รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEVs) รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEVs) รวมถึงยานยนต์ที่ประหยัดน้ำมัน ซึ่งสอดคล้องกับด้านพลังงาน ลูกค้า รวมทั้งรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้งาน

โดยในความร่วมมือกับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) บริษัท CJPT ได้ร่วมมือในการผลิตพลังงานไฮโดรเจนที่มาจากพลังงานไบโอก๊าซ หรือ “ก๊าซชีวภาพ” ซึ่งหมักโดยใช้มูลไก่จากฟาร์มของ CP และนำไปใช้ในภาคขนส่ง ซึ่งเป็นการนำของเสียจากการผลิตภาคการเกษตรมาเพิ่มมูลค่า และใช้ประโยชน์ให้เป็นพลังงานสะอาดสำหรับรถพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง (FCEVs) ซึ่งถือเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดโลกร้อนได้ด้วย

ส่วนกรณีศึกษาในประเทศญี่ปุ่น มร.นาคาจิม่าเล่าว่า

กรณีแรกคือ CJPT ได้ริเริ่มให้มีการใช้ “ไฮโดรเจน” ในเมืองฟุกุชิมะ ในรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) ซึ่งใช้เป็นร้านสะดวกซื้อและการขนส่ง สำหรับประชากรกว่า 300,000 คน โดยสามารถขยายไปสู่เมืองอื่น ๆ ได้ในอนาคต

กรณีที่สองคือ ในกรุงโตเกียว ที่ CJPT ร่วมมือกับบริษัทต่าง ๆ รวมถึงการสนับสนุนจากทางภาครัฐ ในการส่งเสริมการสร้างสถานีชาร์จสำหรับรถ BEV และไฮโดรเจนสำหรับรถ FCEVs เพื่อขยายการใช้รถยนต์พลังงานสะอาด ขณะเดียวกันกระจายการใช้พลังงาน

เร่งเครื่อง “พลังงานสะอาด”

จากการที่ภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้พลังงานความร้อนในการผลิต แต่ในยุคที่ทั่วโลกเริ่มปรับตัวมาใช้พลังงานสะอาดแทน จอห์น โอดอนเนลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Rondo Energy กล่าวว่า ถึงแม้การเปลี่ยนผ่านนี้ถือเป็น “โจทย์ยาก” แต่สามารถเป็นไปได้

โอดอนเนลล์ อธิบายว่า ไทยเป็นตลาดสำคัญของบริษัทในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานพลังงานใหญ่ระดับโลกเพื่อนำไปสู่พลังงานสะอาด ซึ่งบริษัทกำลังทำงานกับเอสซีจีเพื่อผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมในไทยใช้พลังงานสะอาดและต้นทุนต่ำ ที่สำคัญ “เมื่อรักษ์โลกแล้ว ต้องทำเงินได้ด้วย”

“การสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานนั้นแม้เป็นเรื่องยาก แต่ก็เป็นโอกาสเช่นกัน เพราะปัจจัยพื้นฐานในปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้ว” โอดอนเนลล์กล่าว “แหล่งพลังงานสะอาดทั้งจากแสงแดดและลมขณะนี้ถือว่าต้นทุนต่ำมาก ๆ อยู่ที่ใครจะกล้าลงทุนหรือไม่”

อีกทั้งยังเป็นโอกาสครั้งใหญ่สุดแห่งยุค “ขณะนี้พลังงานสะอาดกำลังขับเคลื่อนการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม และจะเป็นแบบนี้ต่อไปอีกใน 50 ปีข้างหน้า”

โอดอนเนลล์ เปิดเผยด้วยว่า บริษัทได้ร่วมกับเอสซีจีในการผลิตอิฐแบบพิเศษที่เก็บความร้อนได้กว่า 1,500 องศาเซลเซียส เพื่อใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ความร้อนซึ่งสามารถแปลงพลังงานสะอาดจาก “ลม” และ “แสงแดด” ให้เป็นพลังงานความร้อนที่สามารถใช้ได้ในภาคอุตสาหกรรม

ขณะเดียวกัน เนื่องจากไทยมีศักยภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากลมและแสงแดดสูง และต้นทุนพลังงานสะอาดกำลังมีต้นทุนที่ถูกลงเรื่อย ๆ จนขณะนี้มีต้นทุนถูกกว่าพลังงานฟอสซิล ดังนั้น พลังงานเหล่านี้จึงสามารถตอบโจทย์การใช้พลังงานความร้อนในภาคอุตสาหกรรมได้

“นวัตกรรมแบตเตอรี่เก็บความร้อนจากพลังงานสะอาดสำหรับภาคอุตสาหกรรม จึงเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่” โอดอนเนลล์ระบุ

“ไบโอพลาสติก” ลดคาร์บอน

ในขณะนี้ จำนวนประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ความต้องการใช้ทรัพยากรโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในฐานะผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากบราซิล บริษัท Braskem จึงได้ริเริ่มนำประโยชน์ที่ได้จากการผลิตเอทานอลจากอ้อย มาผลิตเป็น “ไบโอพลาสติก” ที่ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงแบบดั้งเดิม เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ

โรเจอร์ มาร์คิโอนี ผู้อำนวยการเอเชีย ฝ่ายโอเลฟินส์และโพลีโอเลฟินส์ บริษัท Braskem กล่าวว่า ปัจจุบัน บริษัทสามารถผลิตไบโอพลาสติกจากอ้อยซึ่งสามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมาก สอดรับกับความต้องการพลาสติกชีวภาพในตลาด

ล่าสุด จัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่กับ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ตั้งเป้าผลิตเอทิลีนชีวภาพ (Green-Ethylene) จากเอทานอลที่ใช้ผลิตผลจากภาคเกษตร แทนเอทิลีนจากฟอสซิล ซึ่งมีกำลังการผลิต 2 แสนตันต่อปี ภายใต้แบรนด์ I’m green™ (แอมกรีน) และยังสามารถนำไปผลิตสินค้าได้หลากหลายประเภท ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ส่วนบุคคลและอุปกรณ์ดูแลบ้าน ของเล่น เครื่องใช้ในบ้าน ถุงพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Mechanical recycling และ Advanced recycling เช่นเดียวกับพอลิเอทิลีนทั่วไป จึงช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดภาวะโลกร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการผสมผสานความเชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับพลาสติกชีวภาพของ Braskem เข้ากับความเชี่ยวชาญของ SCGC ในด้านการผลิตพอลิเอทิลีน รวมทั้งศักยภาพของ SCGC ที่เป็นผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ในระดับภูมิภาคโดยโรงงานของบริษัทร่วมทุนดังกล่าวจะตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ประเทศไทย และถือเป็นโรงงานผลิต I’m green™ แห่งแรกนอกประเทศบราซิล

จากกรณีตัวอย่างนวัตกรรมคาร์บอนต่ำจากหลากหลายธุรกิจทั่วโลกข้างต้น จะเห็นได้ว่า ขณะนี้ โลกกำลังมุ่งไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และสามารถเกิดขึ้นจริงได้หากทุกคนร่วมมือกัน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดผลกระทบต่อโลกยังเป็นอีกหนึ่ง “ทางรอด” ท่ามกลางภาวะโลกเดือดในปัจจุบันด้วย

ซิโนเปค เชลล์ ไชน่า เป่าอู่ และบีเอเอสเอฟ เตรียมสำรวจการพัฒนา CCUS แบบโอเพนซอร์ซ เพื่อบรรลุเป้าหมายทางคาร์บอน

บริษัท ไชน่า ปิโตรเลียม แอนด์ เคมิคอล คอร์ปอเรชัน (China Petroleum & Chemical Corporation) (HKG: 0386) หรือซิโนเปค (Sinopec) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) แบบไม่มีผลผูกมัดกับเชลล์ (Shell) ไชน่า เป่าอู่ (China Baowu) และบีเอเอสเอฟ (BASF) เพื่อเปิดตัวโครงการดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ขนาด 10 ล้านตันโครงการแรกในจีนตะวันออก โครงการแบบโอเพนซอร์ซนี้จะสนับสนุนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วภูมิภาค ในการทำให้การดำเนินงานของตนปล่อยคาร์บอนน้อยลง และจัดตั้งซัพพลายเชนคาร์บอนต่ำ เพื่อรับหน้าที่นำการพัฒนา CCUS ในจีน และบรรลุเป้าหมาย “คาร์บอนคู่ขนาน” ของภูมิภาค

CCUS ซึ่งเป็นกรรมวิธีลดคาร์บอนด้วยการดักจับและทำให้ใช้ CO2 ที่ปล่อยจากภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างมีนัยสำคัญในสเกลใหญ่ และมีแนวโน้มที่จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน

โครงการนี้จะสำรวจความเป็นไปได้ในการขนส่ง CO2 ที่ผลิตโดยโรงงานอุตสาหกรรมในตอนกลางและตอนล่างของแม่น้ำแยงซี (รวมถึงจากบริษัทเหล็กกล้า เคมี พลังงาน ซีเมนต์) ไปยังสถานีรับ CO2 จากนั้นขนส่ง CO2 ไปยังจุดจัดเก็บบนฝั่งหรือนอกฝั่งผ่านท่อส่งระยะสั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอโซลูชันการลดคาร์บอนที่ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพสำหรับบริษัทอุตสาหกรรม ซึ่งซิโนเปค เชลล์ ไชน่า เป่าอู่ และบีเอเอสเอฟ ไม่เพียงแต่สนับสนุนการลดคาร์บอนของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน และสร้างห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำเท่านั้น แต่ยังเร่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำและเศรษฐกิจหมุนเวียนคาร์บอนต่ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

หม่า หยงเชิง (Ma Yongsheng) ประธานบริษัทซิโนเปค กล่าวว่า “ซิโนเปคจะทำงานร่วมกับเชลล์ ไชน่า เป่าอู่ และบีเอเอสเอฟ เพื่อขยายการลดคาร์บอนในเชิงพาณิชย์ และส่งเสริมการพัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรม CCUS เต็มรูปแบบอย่างแข็งขัน ไม่เพียงแต่สนับสนุนการพัฒนาสีเขียวของจีนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทั่วโลกด้วย ซิโนเปคจะยังคงมุ่งหวังที่จะร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันกับพันธมิตรระดับโลก บรรลุเป้าหมายการเปิดกว้างและการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมุ่งปล่อยคาร์บอนถึงจุดสูงสุดก่อนที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน”

ซิโนเปคมีความมุ่งมั่นในการรับหน้าที่เป็นผู้นำ CCUS ระดับอุตสาหกรรมของจีน โดยในปี 2555 นั้น ซิโนเปคได้เปิดตัวโครงการ CCUS โรงไฟฟ้าถ่านหินโครงการแรกของจีนในบ่อน้ำมันเฉิงลี่ และในปี 2558 ก็ได้ร่วมมือกับบริษัท ซิโนเปค หนานจิง เคมิคอล อินดัสทรีส์ จำกัด (Sinopec Nanjing Chemical Industries Co., Ltd.) และซิโนเปค อีสต์ ไชน่า ออยล์ แอนด์ ก๊าซ คอมปะนี (Sinopec East China Oil and Gas Company) เพื่อบุกเบิกการใช้ประโยชน์จาก CO2 ในบริษัททั้งต้นน้ำและปลายน้ำ ซิโนเปคดักจับ CO2 ได้ 1.52 ล้านตันในปี 2564 ทั้งยังได้เปิดตัวโครงการ CCUS ระดับเมกะตันโครงการแรกของจีนอย่างโครงการ CCUS บ่อน้ำมันฉีหลู่-เฉิงลี่ อย่างเป็นทางการในต้นปี 2565 ด้วย ดูข้อ.0.0.0.0.0.0.0.0.0.0.0.0.0.0

มูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของซิโนเปค

X

Right Click

No right click