ดีลอยท์ ประเทศไทย เผยผลสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทย ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับมุมมองและแนวโน้มการใช้งานดิจิทัลขององค์กรธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทย 

การสํารวจการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในประเทศไทย (Thailand Digital Transformation Survey) เป็นการสำรวจที่ดีลอยท์ประเทศไทย ให้ความสำคัญและทำการศึกษาอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่สี่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติขององค์กรต่อการปรับตัวสู่ดิจิทัล (Digital transformation) ผลการสำรวจดังกล่าวสะท้อนแนวคิดและมุมมองของผู้บริหารระดับสูง (C-suite) และพนักงานระดับอื่นๆ ในห้ากลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมผู้บริโภค (Consumer) กลุ่มทรัพยากรพลังงานและอุตสาหกรรม (Energy Resources and & Industrials: ER&I) บริการการเงิน (Financial Services) ชีววิทยาศาสตร์และสุขภาพ (Life Science & Healthcare) และเทคโนโลยี สื่อ และ โทรคมนาคม (Technology, Media and Telecommunications: TMT) ผลการสำรวจในปีนี้สะท้อนถึงพัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลภายใต้ 3 หัวข้อหลัก ดังนี้

1. การสำรวจยุคของดิจิทัล ดิสรัปชั่น

2. การปลดล็อกความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

3. ภาพรวมอุตสาหกรรม

 

ตลอดช่วงเวลาในปี 2564-2566 ทัศนคติต่อผลกระทบของ ดิจิทัล ดิสรัปชั่น ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในระดับปานกลาง โดยธุรกิจสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทกว้าง ๆ ตามการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่

· ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีเป็นหลักในการดำเนินงาน: ธุรกิจเหล่านี้มีการดำเนินงานโดยใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก มองว่าได้รับผลกระทบจาก ดิจิทัล ดิสรัปชัน น้อยกว่า เนื่องจากการดําเนินงานของธุรกิจเหล่านี้จําเป็นต้องติดตามและปรับตัวต่อการเปลี่ยนของนวัตกรรมดิจิทัลเป็นปกติอยู่เสมอ

· ธุรกิจแบบดั้งเดิม หรือไม่ได้ใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก: ธุรกิจเหล่านี้มักจะนําเทคโนโลยีมาใช้อย่างจํากัด โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลการปรับปรุงกลไกภายในองค์กรเพื่อให้สามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคธุรกิจได้

เมื่อพิจารณาในเชิงการวิเคราะห์การนำเทคโนโลยีดิจิทัลในแต่ละปี พบว่า ข้อมูลแต่ละปีแตกต่างกัน ในช่วงปี 2564-2566จากรายงานการสำรวจ ปี 2564 พบว่า องค์กรมีการปรับตัวสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็วในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระยะแรก อย่างไรก็ตาม การขาดประสบการณ์และการดำเนินการปรับตัวสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็วนี้ทำให้ผลลัพธ์ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังในหลายธุรกิจ จากประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ในปีที่ผ่านมาทำให้ร้อยละ 43 ของบริษัทยังคงอยู่ในระยะ "Doing Digital" เนื่องจากพวกเขาได้ปรับตัวเชิงกลยุทธ์และเลือกใช้แนวทางที่เหมาะกับองค์กรของตนมากขึ้น ส่งผลให้การปรับตัวสู่ดิจิทัลประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นในปี 2565-2566 จากการสั่งสมประสบการณ์และการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมากขึ้น

เมื่อพิจารณาข้อมูลเชิงลึกในด้านธุรกิจ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือและเว็บไซต์ในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยแอปพลิเคชันแชทและระบบส่งข้อความ (Instant Messaging) เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่ได้รับความนิยม กลุ่มผู้ค้ามีแนวโน้มที่จะปรับโมเดลธุรกิจและเสริมทักษะในการเข้าใจลูกค้า ในขณะที่กลุ่มผู้ให้บริการ เน้นวิธีการให้บริการที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ และการพัฒนาระบบนิเวศทางดิจิทัล

เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรม ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก โดยเฉพาะในกลุ่มเทคโนโลยี สื่อและโทรคมนาคม (TMT) และกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องแข่งขันเพื่อส่วนแบ่งในตลาด ประสบความสำเร็จในการปรับตัวสู่ดิจิทัลได้ดีกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2565 และ 2566 พบว่า องค์กรมีความสนใจที่จะลงทุนในเทคโนโลยีเป็นจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล

ดร. นเรนทร์ ชุติจิรวงศ์ ผู้อำนวยการบริหาร Clients & Markets ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวว่า “เมื่อองค์กรมีขนาดใหญ่ขึ้น องค์กรมักจะใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เนื่องจากองค์กรขนาดใหญ่มีงบประมาณและความซับซ้อนในการบริหารจัดการภายในองค์กรสูงกว่าองค์กรขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม ทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ มีการนำเทคโนโลยีด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ”

การลดต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพ เป็นผลสำเร็จสองอันดับแรกในการปรับองค์กรสู่ดิจิทัล อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้บริหารระดับสูงและพนักงานในระดับอื่นๆ มีมุมมองที่ต่างกันผลสำเร็จอันดับที่สาม โดยกลุ่มผู้บริหารระดับสูง มองว่า ความเสี่ยงในด้านการดำเนินการที่ลดลง เป็นอันดับที่สาม ในขณะที่พนักงานในระดับอื่นๆ มองว่าเป็นการยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า เนื่องจากพวกเขาอาจมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างใกล้ชิดมากกว่า

เมื่อพิจาณาในส่วนความท้าทาย ร้อยละ 60 ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าความสามารถของบุคลากรยังเป็นความท้าทายอันดับแรก โดยมีประเด็นด้านงบประมาณและทรัพยากรที่ไม่เพียงพอ และวัฒนธรรมองค์กรแบบดิจิทัลที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ เป็นความท้าทายในอันดับรองลงมา ที่ร้อยละ 57 และ 47 ตามลำดับ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในการจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ดำเนินการปรับองค์กรสู่ดิจิทัล ทั้งนี้ มีแนวโน้มที่จะนำโซลูชั่นมาใช้ในอนาคต เช่น การเปิดใช้ระบบไอทีผ่านแพลตฟอร์มในคลาวด์ ที่ให้บริการโดยหน่วยงานภายนอกเพื่อช่วยลดต้นทุน นอกจากนี้ การบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยังเป็นความท้าทายอีกประเด็นหนึ่ง เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลอีกด้วย

 

โกบินทร์ รัตติวรากร ผู้อำนวยการบริหาร ดีลอย์ คอนซัลติ้ง กล่าวว่า “ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าองค์กรที่มีความก้าวหน้าในดำเนินการปรับตัวสู่ดิจิทัล สามารถจัดการกับความท้าทายในด้านทรัพยากรได้ดีขึ้น พวกเขาจึงมุ่งให้ความสนใจกับการจัดการความท้าทายเกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล”

การปรับองค์กรสู่ดิจิทัล นับเป็นกระบวนการที่ยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ภาคธุรกิจจำต้องเปิดรับนวัตกรรมใหม่ๆ และปรับตัวให้เท่าทันกับเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ช่วงเวลานี้จึงเป็นเวลาเหมาะสมที่องค์กรต่างๆ จะเปิดรับโอกาสใหม่ๆ เพื่อเปิดทางไปสู่อนาคตที่ดีต่อธุรกิจมากยิ่งขึ้น และการปรับองค์กรสู่ดิจิทัลเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญ ระหว่างธุรกิจในปัจจุบันและธุรกิจแห่งอนาคต

การ์ทเนอร์คาดการณ์ ภายในปี 2568 ประมาณ 30% ขององค์กรธุรกิจข้ามชาติจะประสบกับการสูญเสียรายได้ ความเสียหายต่อแบรนด์หรือการดำเนินการทางด้านกฎหมาย อันเกิดจากความเสี่ยงอธิปไตยทางดิจิทัล (Digital Sovereign Risk) ที่ไม่ได้รับการจัดการ

ไบรอัน เพรนติส รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ช่วง 30 ปีที่ผ่านมาองค์กรธุรกิจข้ามชาติบริหารธุรกิจโดยประเมินความเสี่ยงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศที่เข้ามาเปิดกิจการ แต่ปัจจุบันองค์กรเหล่านี้จำเป็นต้องขยายความเสี่ยงด้านอธิปไตย (หรือ Sovereign Risk) ให้ครอบคลุมด้านดิจิทัลเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการใช้งานดิจิทัลแบบต่างคนต่างใช้และกระจัดกระจายมากขึ้นทั้งในระดับประเทศและในระดับภูมิภาค”

การ์ทเนอร์ระบุว่าอธิปไตยทางดิจิทัล (หรือ Digital Sovereignty) คือ ความสามารถรัฐบาลในการตระหนักถึงนโยบายที่ไม่เป็นอุปสรรคอันเกิดจากกฎระเบียบดิจิทัลของรัฐบาลต่างประเทศที่มีผลโดยตรงต่อพลเมืองและธุรกิจที่มีภูมิลำเนาอยู่ รวมถึงนโยบายที่ดำเนินการผ่านบริษัทดิจิทัลรายใหญ่ภายใต้การควบคุมของกฎระเบียบ

ขณะที่หลากหลายประเทศดำเนินกลยุทธ์ Sovereign Digital มากขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือภาระผูกพันด้านกฎระเบียบข้ามเขตอำนาจศาล ข้อจำกัดด้านภาษี การห้ามนำเข้า/ส่งออก มาตรการทางเทคโนโลยีเฉพาะระดับประเทศและข้อกำหนดด้านเนื้อหาของท้องถิ่นที่ซับซ้อน เนื่องจากดิจิทัลมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ผู้บริหารจึงต้องเข้าใจความเสี่ยงอธิปไตยทางดิจิทัล (Digital Sovereign Risk) และผลกระทบต่อเงื่อนไขทางธุรกิจ

การ์ทเนอร์ชูประเด็นสำคัญ 3 ประการที่ได้รับผลกระทบมาจาก Digital Sovereign Risk ซึ่งต้องจัดการเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียรายได้ ความเสียหายต่อแบรนด์ หรือการดำเนินการทางกฎหมาย ไว้ดังนี้

1. ความเสี่ยงอธิปไตยทางดิจิทัลที่ส่งผลต่อลูกค้าองค์กรข้ามชาติของผู้ให้บริการเทคโนโลยี

การหยุดชะงักส่วนใหญ่เป็นผลมาจากกลยุทธ์ Sovereign Digital ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของผู้ให้บริการเทคโนโลยี โดยการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญกำลังส่งผลกระทบต่อภาคเทคโนโลยีและผู้ให้บริการเฉพาะ อาทิ ด้านข้อจำกัดของซัพพลายเออร์ 5G อย่าง Huawei หรือ Nokia ซึ่งอาจเป็นผลมาจากแรงกดดันด้านกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น เพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายระดับชาติ หรือรับมือต่อเหตุการณ์ฉับพลันทางภูมิรัฐศาสตร์

จากข้อมูลของการ์ทเนอร์ชี้ให้เห็นว่าวิธีการที่ผู้ให้บริการเทคโนโลยีรับมือกับความเสี่ยงอธิปไตยทางดิจิทัลจะสามารถส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจข้ามชาติ โดยองค์กรต้องพิจารณาผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่สำคัญไว้เป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานที่กว้างขึ้น และประเมินแบบเชิงรุกพร้อมลดความเสี่ยงอธิปไตยทางดิจิทัล

2. การสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีดิจิทัลจะถูกขัดขวางหากไม่ได้รับการปรับให้เข้ากับท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อความมุ่งมั่นสู่ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น ความพยายามในการผลิตเทคโนโลยี/นวัตกรรมดิจิทัลจะผลักดันองค์กรต่าง ๆ ไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ดิจิทัลแบบแยกส่วน ซึ่งตลาดที่เผชิญกับผลิตภัณฑ์ดิจิทัลเหล่านี้บ่อยครั้งจะมีผลกำไรและขาดทุน (Profit & Loss) เป็นของตนเอง หากพบตลาดที่อื่น ๆ นอกเหนือจากประเทศต้นทางขององค์กร การ์ทเนอร์ขอแนะนำให้ใช้ขั้นตอนจัดการ Digital Sovereign Risk ที่เกี่ยวกับแต่ละผลิตภัณฑ์ดิจิทัล

จำเป็นต้องปรับแต่งผลิตภัณฑ์เป็นท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องและปรับให้เข้ากับข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ ควบคู่ไปกับด้านวัฒนธรรมและภาษาของลูกค้าในตลาดเฉพาะ เป็นไปในทิศทางที่ต่างกันตามมาตรฐานเทคโนโลยีในระดับประเทศ ระเบียบการที่รัฐสนับสนุน และกรอบการทำงานที่ภาครัฐฯ ส่งเสริม ซึ่งล้วนเพิ่มน้ำหนักการตัดสินใจที่จำเป็นในการผลิตผลิตภัณฑ์ดิจิทัลที่จะให้บริการในตลาดหลายแห่ง

3. ธุรกิจดิจิทัลจะอยู่ในสถานการณ์ลำบากท่ามกลางการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ดิจิทัล

ขณะที่องค์กรขยายเป้าหมายดิจิทัลและกลายเป็นธุรกิจดิจิทัล องค์กรจะต้องรับมือกับข้อขัดแย้งของตลาดเสรีดิจิทัลในวงกว้าง เช่นเดียวกับผู้ให้บริการเทคโนโลยี ทำให้อยู่ท่ามกลางการแข่งขันทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ดิจิทัล ซึ่งกระทบต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจ

การ์ทเนอร์แนะนำให้ผู้บริหารระดับสูงด้านความเสี่ยง (Chief Risk Officers หรือ CRO) ทำความเข้าใจกับเทคโนโลยีดิจิทัล ไม่เช่นนั้นจะประสบปัญหาในการขยายขอบเขต วัตถุประสงค์ และผลกระทบการดำเนินงานจากปัจจัยต่าง ๆ ของ Digital Sovereign Risk ที่มีต่อองค์กร

จีดีเอส (GDS) ผู้พัฒนาและดำเนินการศูนย์ข้อมูลสมรรถนะสูงระดับแถวหน้าของเอเชีย และมีฐานนักลงทุนหลากหลายทั่วโลก ร่วมกับสำนักงานการลงทุนแห่งอินโดนีเซีย (Indonesia Investment Authority) หรือไอเอ็นเอ (INA) ซึ่งเป็นกองทุนความมั่งคั่งของอินโดนีเซีย ได้ประกาศผนึกกำลังเป็นพันธมิตร เพื่อพัฒนาและขยายภูมิทัศน์ศูนย์ข้อมูลในอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายต่างเล็งเห็นศักยภาพของอินโดนีเซียในฐานะตลาดศูนย์ข้อมูลที่กำลังมาแรง และมีวิสัยทัศน์เหมือนกันเกี่ยวกับบทบาทของศูนย์ข้อมูลในการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของอินโดนีเซีย

ทั้งสองฝ่ายมีแผนจัดตั้งบริษัทร่วมทุนแบบร่วมหุ้น เพื่อเป็นช่องทางพัฒนาแพลตฟอร์มศูนย์ข้อมูลทั่วประเทศ โดยโครงการแรกที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จนั้นคือโครงการพัฒนาแคมปัสศูนย์ข้อมูลระดับไฮเปอร์สเกลที่นิคมดิจิทัลนองซา (Nongsa Digital Park หรือ NDP) ในเมืองบาตัม ซึ่งทางรัฐบาลอินโดนีเซียกำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) แคมปัสศูนย์ข้อมูลในเมืองบาตัมที่จะมีขึ้นนี้จะนำโซลูชันศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะอันล้ำสมัยของจีดีเอสมาใช้ และเน้นใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ พร้อมเข้ามากำหนดมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้

ความร่วมมือระหว่างจีดีเอสกับไอเอ็นเอมีขึ้นในช่วงเวลาสำคัญ เมื่ออุตสาหกรรมศูนย์ข้อมูลกำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจดิจิทัล เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยไอโอที (IoT) ความนิยมในการเปลี่ยนไปประมวลผลบนคลาวด์ และความแพร่หลายของแอปพลิเคชันเอไอ (AI) ขณะที่ผลการศึกษาตลาดคาดการณ์เอาไว้ว่า ความจุในตลาดศูนย์ข้อมูลของอินโดนีเซียจะเพิ่มขึ้นจาก 514MW ในปี 2566 เป็น 1.41GW ภายในปี 2572 อินโดนีเซียกำลังเร่งใช้ประโยชน์จากความต้องการบริการศูนย์ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นนี้ เพื่อดึงดูดการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมขับเคลื่อนอินโดนีเซียสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

วิลเลียม หวง (William Huang) ประธานและซีอีโอของจีดีเอส กล่าวว่า “อินโดนีเซียกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ในฐานะทำเลทองเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าผู้มองหาบริการศูนย์ข้อมูลระดับพรีเมียม เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นผู้พัฒนาและผู้ดำเนินการศูนย์ข้อมูลรายแรกที่ร่วมมือกับไอเอ็นเอ ซึ่งเรามองว่าเป็นการสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งที่ทางการอินโดนีเซียมีต่อเรา ทั้งในด้านวิสัยทัศน์ระดับนานาชาติ ความเชี่ยวชาญระดับแถวหน้าของตลาด และการเติบโตอย่างรวดเร็วในระดับภูมิภาค ที่จีดีเอส เรามุ่งมั่นที่จะสร้างระบบนิเวศที่มีมูลค่าเพิ่มและส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในอินโดนีเซีย โดยเราบูรณาการโครงการแรกของเราที่เมืองบาตัมเข้ากับโครงการที่ทำงานร่วมกันในสิงคโปร์และยะโฮร์ เพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และออกแบบมาอย่างเหมาะสม เพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัลในอินโดนีเซียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือกับไอเอ็นเอจะเปิดโอกาสให้แพลตฟอร์มนี้ครอบคลุมทั่วอินโดนีเซียได้มากขึ้น”

ริธา วีระกุสุมะห์ (Ridha Wirakusuma) ซีอีโอของไอเอ็นเอ กล่าวว่า “ความร่วมมือของเรากับจีดีเอสนั้นเป็นมากกว่าการปรับกลยุทธ์ให้สอดรับกัน โดยสะท้อนให้เห็นศักยภาพทางดิจิทัลที่มีชีวิตชีวาของอินโดนีเซีย เศรษฐกิจของเรากำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและมีความก้าวหน้าอย่างน่าทึ่งในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ประชากรวัยหนุ่มสาวของเราที่คุ้นเคยกับอินเทอร์เน็ตอยู่แล้วเป็นข้อพิสูจน์ถึงความพร้อมและศักยภาพด้านดิจิทัลของอินโดนีเซีย ซึ่งอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ ชี้ให้เห็นโอกาสมากมายเบื้องหน้า เราต่างตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาศูนย์ข้อมูลในท้องถิ่น ความร่วมมือของเรากับจีดีเอสจึงไม่เพียงแต่มุ่งเป้าไปที่การขยายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของเราเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการนำข้อมูลมาไว้ในประเทศและเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อข้อมูลด้วย”

การเดินทางสู่อนาคตดิจิทัลของอินโดนีเซียมีความต้องการทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นแตกต่างกัน โดยปริมาณการรับส่งข้อมูลมือถือของอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 40-50% ต่อปี [1] ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานข้อมูลยังครอบคลุมไม่เพียงพอ ผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลรายใหญ่ ๆ เช่น จีดีเอส ตระหนักถึงศักยภาพของตลาดอินโดนีเซีย เพราะวงการศูนย์ข้อมูลในอินโดนีเซียมีแนวโน้มเติบโตสดใส ซึ่งได้รับแรงหนุนจากความต้องการกระแสข้อมูลที่ดีขึ้นและเร็วขึ้น ประกอบกับการที่องค์กรต่าง ๆ หันไปใช้บริการบุคคลที่สามมากขึ้น และมีความต้องการโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้น

ไอเอ็นเอมองเห็นช่องว่างภายในภูมิทัศน์ดิจิทัล จึงตัดสินใจอำนวยความสะดวกในการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั่วทั้งอินโดนีเซียอย่างจริงจัง โดยพุ่งเป้าเสริมความได้เปรียบทางการแข่งขันของบาตัม พร้อมดึงดูดความต้องการที่ล้นหลามจากสิงคโปร์ กลยุทธ์สิงคโปร์-ยะโฮร์-บาตัมของจีดีเอส สอดคล้องกับแนวทางของไอเอ็นเออย่างลงตัว เนื่องจากจะช่วยให้เกิดการเชื่อมต่อที่มีเวลาแฝงต่ำทั่วทั้งศูนย์ข้อมูลที่เชื่อมต่อระหว่างกันของจีดีเอสในอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ดังนั้นจึงสร้างโซลูชันบริการศูนย์ข้อมูลแบบองค์รวมที่ให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายของจีดีเอสทั้งในประเทศและต่างประเทศ จีดีเอสพร้อมใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญทางเทคนิคที่ไม่มีใครเทียบได้ และประวัติการบริการที่เป็นที่ยอมรับ เพื่อเสริมความได้เปรียบทางการแข่งขันของบาตัมในฐานะศูนย์กลางศูนย์ข้อมูลภายในภูมิภาคนี้

ความพยายามนี้นับเป็นการทุ่มลงทุนครั้งที่สามของไอเอ็นเอในภาคดิจิทัล ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ภาคส่วนสำคัญ ไอเอ็นเอเป็นกองทุนแห่งชาติหนึ่งเดียวของอินโดนีเซีย เปิดตัวในปลายปี 2563 ด้วยเงิน 5 พันล้านดอลลาร์จากรัฐบาล ก่อนหน้านี้ ไอเอ็นเอเข้ามามีบทบาทในการเสนอขายหุ้น IPO ของมิตราเทล (Mitratel) และเป็นผู้ถือผลประโยชน์รายสำคัญของบริษัทเจ้าของเสาสัญญาณโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รายนี้ นอกจากนี้ ไอเอ็นเอยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรอย่างแบล็คร็อค (BlackRock) อลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ส (Allianz Global Investors) และโอไรออน แคปิตอล เอเชีย (Orion Capital Asia) ในการสนับสนุนแพลตฟอร์มการเดินทางชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างทราเวลโลก้า (Traveloka) ความเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์ดังกล่าวตอกย้ำความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของไอเอ็นเอ ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของอินโดนีเซีย

เมื่อรวมพลังกันแล้ว จีดีเอสและไอเอ็นเอพร้อมเข้ามาพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับศูนย์ข้อมูลที่ดีที่สุดทั่วประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการทางดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไป และยกระดับภูมิทัศน์โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในอินโดนีเซียและที่อื่น ๆ

 ธุรกิจ Business Analytics & Development บริษัท เอ้ก ดิจิทัล ให้บริการโซลูชันที่ปรึกษาด้านข้อมูลและวิเคราะห์บิ๊กดาต้าครบวงจรที่ขับเคลื่อนด้วย AI “Business Analytics as a Service - Powered by AI Engine” รุกชิงส่วนแบ่งตลาดบิ๊กดาต้ามูลค่า 14,000 ล้าน เดินหน้าให้บริการใน 5 อุตสาหกรรมหลัก “ค้าปลีก-ธุรกิจสื่อ-การเงิน-ประกัน-ยานยนต์” ซึ่ง Data Science และเทคโนโลยี AI, Machine Learning ขั้นสูงของ EGG Digital จะเป็นขุมพลังที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรธุรกิจนั้นๆ อย่างตรงจุด โดยพร้อมดูแลและจัดการข้อมูลได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ มอบบริการแบบ End-to-End มีความยืดหยุ่นสูง วางแผน กำหนดกลยุทธ์ และออกแบบจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงลึกได้หลากหลายมิติ ตอบอินไซต์และการดำเนินงานตามโจทย์ทางธุรกิจ เสริมศักยภาพความแข็งแกร่งการแข่งขันให้กับองค์กรต่างๆ ช่วยเพิ่มรายได้-ลดต้นทุน-ลดความเสี่ยง โดย EGG Digital ตั้งเป้ารายได้เติบโตก้าวกระโดด 30% ในปี 2566 นี้

 

นายวรภัทร งามเจตวรกุล ผู้จัดการทั่วไปธุรกิจ Business Analytics & Development บริษัท เอ้ก ดิจิทัล จำกัด กล่าวว่า “ธุรกิจยุคใหม่ต่างหันมาให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลและมีความต้องการขับเคลื่อนธุรกิจด้วย Data-Driven Analytics โดยใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเอ้ก ดิจิทัล ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์เชิงลึกจากข้อมูลขนาดใหญ่และ ผู้ให้บริการที่ปรึกษาทางธุรกิจ ได้นำเสนอบริการให้คำปรึกษาด้านข้อมูลและวิเคราะห์บิ๊กดาต้าครบวงจรที่ขับเคลื่อนด้วย AI หรือ Business Analytics as a Service - Powered by AI Engine เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจตลอดเส้นทางให้กับองค์กรธุรกิจ เพิ่มรายได้ ลดต้นทุน และลดความเสี่ยง โดยที่ผ่านมาเอ้ก ดิจิทัล ได้เข้าไปช่วยจัดการข้อมูลในด้านต่าง ๆ ให้กับหลากหลายธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจรีเทลชั้นนำขนาดใหญ่ และ FMCG รวมกว่า 200 แบรนด์ ซึ่งเราได้นำผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีขั้นสูงเข้าไปช่วยจัดการกับข้อมูล พร้อมสร้างคุณค่าในหลากหลายมิติ อาทิ เพิ่มอัตราเติบโตเฉลี่ย (Growth), อัตราส่วนยอดขายต่อค่าใช้จ่าย (Sales to Cost Ratio), ค่าเฉลี่ยอัตราตอบรับการตลาดจากลูกค้า (Conversion) ให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ”

ธุรกิจ Business Analytics & Development ภายใต้เอ้ก ดิจิทัล ดำเนินงานโดยวางจุดยืนเป็นพาร์ทเนอร์คู่คิดของทุกธุรกิจในทุกสเกล มีบริการครอบคลุมทั้งด้านให้คำปรึกษาทางธุรกิจ (Business Consult) และด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) โดยใช้หลักการ “Always-on Power of Two” เป็นหัวใจสำคัญในการให้บริการคือ ผสานความเข้าใจ การวิเคราะห์ บริบททางธุรกิจ (Business Context) และการใช้ศาสตร์ด้านข้อมูลขั้นสูง (Advanced Data Science) ทั้ง Cloud Computing, AI ซึ่งรวมถึงการใช้ Generative AI, และ Machine Learning ที่สามารถออกแบบบริการและ Customize ให้ตอบโจทย์แต่ละธุรกิจอย่างเหมาะสมด้วยรูปแบบ Business Analytics as a Service - Powered by AI Engine พร้อมมีผู้เชี่ยวชาญดูแลแบบ End-to-End ตั้งแต่การสำรวจปัญหาและความต้องการ นำดาต้าของลูกค้าผนวกกับบิ๊กดาต้าของเอ้ก ดิจิทัล เพื่อวิเคราะห์เชิงลึกเป็นอินไซต์ทางธุรกิจ รวมถึงสามารถออกแบบกลยุทธ์และข้อเสนอแนะที่สร้างผลลัพธ์เชิงบวกที่ยั่งยืนให้กับลูกค้าด้วยอัตราค่าบริการที่เหมาะสม

โดยบริการ Business Analytics as a Service – Powered by AI Engine ของเอ้ก ดิจิทัล ประกอบด้วย 5 บริการหลัก ได้แก่ 1. Data Management as a Service – บริการดูแลจัดการข้อมูลครบวงจร (Data Discovery, Cleansing, Consolidation, Cloud, Query, Visualization) 2. Data Platform & Enrichment as a Service – บริการ Data Mart, Customer Data Platform (CDP),

Analytics Platform ทั้งแบบมาตรฐานและแบบ customize, Data Enrichment บริการข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์รอบด้าน (Customer 360/720 องศา) 3. Data Analytics as a Service – บริการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกทุกมิติ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน เชิงบรรยาย (Descriptive), เชิงการพยากรณ์แนวโน้ม (Predictive), และขั้นสูงแบบให้คำแนะนำ เชิงการประมวลฉากทัศน์และผลลัพธ์ในแง่มุมต่าง ๆ (Prescriptive) ด้วยเทคโนโลยี AI และ ML 4. Business Consulting as a Service – บริการให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีข้อมูลที่เชื่อมโยงกับกลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจโดยผู้ที่มีประสบการณ์ตรงกับธุรกิจต่าง ๆ 5. Customer Experience Enhancement as a Service – บริการให้คำปรึกษา วางแผนกลยุทธ์ และดำเนินการด้านการพัฒนาประสบการณ์ลูกค้า (CX/CI) รวมถึงเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และ Touchpoints ต่าง ๆ

 

นายวรภัทร กล่าวต่อว่า “จากผลสำรวจพบว่า ตลาด Big Data Analytics มีอัตราการเติบโต 12-15% ต่อปี* โดยคาดการณ์ว่า ในปีนี้ตลาดจะมีมูลค่าประมาณกว่า 14,000 ล้านบาท ซึ่งมองว่า ตลาดบิ๊กดาต้าในประเทศไทยยังมีโอกาสทางการตลาดอยู่อีกมาก เมื่อเทียบกับตลาดในเอเชียและตลาดโลก ดังนั้น ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ บริษัทฯ ได้วางแผนที่จะขยายการให้บริการในธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น โดยมุ่งเป้าไปที่ 5 ธุรกิจหลักที่มีความต้องการใช้บิ๊กดาต้าในการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างมาก ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก หลังจากช่วงโควิด-19 ธุรกิจรีเทลแบบออฟไลน์เริ่มกลับมาคึกคักมากขึ้น การใช้บิ๊กดาต้าจะเข้าไปช่วยกำหนดโมเดลทางการตลาดไม่ว่าจะเป็น 4Rs (Recognize, Remember, Recommend, Relevance) และ 4Ps เพื่อทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง ตอบอินไซต์ผู้บริโภคได้มากขึ้น ธุรกิจสื่อ กลับมาฟื้นตัวได้อย่างน่าสนใจโดยเฉพาะการใช้สื่อแบบ O2O2O ที่เกิดจากการวิเคราะห์ บิ๊กดาต้าและวัดผลการใช้สื่อได้อย่างครบลูป ธุรกิจการเงิน มีการนำบิ๊กดาต้ามาใช้มากที่สุดผ่าน FinTech อาทิ การวิเคราะห์ Credit Scoring และการประมวลผลเพื่อการดำเนินงานที่ดีที่สุด พร้อมทั้งการลดความเสี่ยงของธนาคารและสถาบันการเงิน เพื่อธุรกิจรายย่อยจนถึงรายใหญ่ ธุรกิจประกัน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างโดดเด่น มีการนำบิ๊กดาต้ามาใช้เพื่อนำเสนอบริการและเบี้ยประกันที่หลากหลาย ตรงตามพฤติกรรมลูกค้ากรมธรรม์ที่เปลี่ยนไปได้อย่างดี และธุรกิจยานยนต์ ซึ่งคำนึงถึงการมอบประสบการณ์ตั้งแต่ก่อนขาย ระหว่างการขาย และหลังการขายด้วยการใช้บิ๊กดาต้า”

“บริษัทฯ มั่นใจว่าบริการ Business Analytics as a Service - Powered by AI Engine จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพลิกธุรกิจลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ สู่ Data-driven เพื่อสามารถเพิ่มยอดขาย ลดค่าใช้จ่าย และลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ โดยบริษัทฯ จะให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลข้อมูลของลูกค้าด้วยมาตรฐาน 3 ชั้น เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าข้อมูลจะถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีที่สุด ทั้งการกำกับดูแลข้อมูลภายในให้เป็นไปตามมาตรฐานระดับสูง การกำกับดูแลข้อมูลตามพรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พรบ. การแข่งขันทางการค้า และมาตรฐานทางกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมขั้นสูงเพื่อป้องกันการรั่วไหลและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยตั้งเป้าปีนี้ เพิ่มรายได้ธุรกิจ Business Analytics & Development เติบโต 30% ปีนี้ ขยายจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น 10% และช่วยดันตลาดบิ๊กดาต้าไทยเติบโตต่อเนื่อง” นายวรภัทร กล่าวทิ้งท้าย

 

ไมโครซอฟท์และ LinkedIn ได้ร่วมกันเผยถึงก้าวต่อไปในโครงการ Skills for Jobs

โดยจะเปิดให้ผู้เรียนได้เข้าถึงหลักสูตรต่างๆ เพิ่มเติมอีกกว่า 350 คอร์สโดยไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมด้วยประกาศนียบัตรระดับ “Career Essentials” หรือพื้นฐานอาชีพ ที่รับรองทักษะสำคัญใน 6 ตำแหน่งงานอันเป็นที่ต้องการในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลนี้ นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์และ LinkedIn ยังพร้อมมอบสิทธิในการเป็นสมาชิก LinkedIn Premium รายปี รวมกว่า 50,000 ราย ให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าถึงความรู้และทักษะเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา เพื่อปูทางสู่การเติบโตแบบก้าวกระโดดในอาชีพการงาน

ภายใต้โครงการนี้ ไมโครซอฟท์มีเป้าหมายที่จะยกระดับทักษะเชิงดิจิทัลให้กว่า 10 ล้านคนทั่วโลกภายในปี 2025 โดยนับเป็นการต่อยอดจากโครงการ Global Skills Initiative (GSI) ที่ได้ช่วยให้ผู้คนกว่า 80 ล้านคนทั่วโลกได้เข้าถึงทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ทักษะเชิงดิจิทัล และปูทางไปสู่อาชีพการงานที่ดีกว่า ปัจจุบัน ไมโครซอฟท์ได้ให้การสนับสนุนกับผู้เรียนรวมกว่า 14 ล้านคนในทวีปเอเชีย ผ่านทางแพลตฟอร์มการเรียนรู้อย่าง LinkedIn และ Microsoft Learn โดยจากจำนวนนี้ คิดเป็นผู้เรียนชาวไทยรวมกว่า 534,000 ราย

สำหรับหลักสูตรและประกาศนียบัตรใหม่ทั้งหมดนี้ เป็นผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจาก LinkedIn และสถาบัน Burning Glass Institute โดยไมโครซอฟท์นำรายการตำแหน่งงานที่เปิดรับบุคลากรมาประมวลผลเพื่อค้นหา 6 ตำแหน่งงานที่มีความต้องการสูงสุด ซึ่งได้แก่ พนักงานธุรการ (Administrative Professional), ผู้จัดการโครงการ (Project Manager), นักวิเคราะห์เชิงธุรกิจ (Business Analyst), ผู้ดูแลระบบไอที (Systems Administrator), นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) และนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) โดยสำหรับประเทศไทย จะมีการนำเสนอหลักสูตรเต็มรูปแบบภายใต้ชื่อ LinkedIn Learning Pathways สำหรับทักษะและสายงานต่างๆ ดังนี้: Critical Soft Skills, Project Manager, Digital Marketing Specialist, Financial Analyst, Data Analyst และ Sales Development Representative

ส่วนประกาศนียบัตรระดับ Career Essentials จะช่วยให้ผู้เรียนได้เดินหน้าต่อ จากการสร้างเสริมทักษะดิจิทัลในระดับพื้นฐาน สู่ทักษะเชิงเทคนิคที่ลงลึกยิ่งขึ้น และต่อยอดไปสู่ประกาศนียบัตรและการรับรองมาตรฐานความรู้อื่นๆ ที่ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสในการทำงานมากขึ้น เมื่อเรียนรู้จนสำเร็จหลักสูตรหนึ่งแล้ว ผู้เรียนจะได้รับตรารับรองจาก LinkedIn ซึ่งเป็นเครื่องหมายบ่งบอกให้องค์กรผู้ว่าจ้างเล็งเห็นถึงทักษะของผู้เรียน

การประกาศขยายโครงการในครั้งนี้จะช่วยสานต่อพันธกิจของไมโครซอฟท์ในการเปิดให้ทุกคนเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมมากขึ้น ผ่านทางทักษะ เทคโนโลยี และช่องทางในการมุ่งสู่ความสำเร็จ ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังคงเคลื่อนเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยทุกหลักสูตรในโครงการนี้สามารถเรียนได้ผ่าน LinkedIn ที่เว็บไซต์ opportunity.linkedin.com นอกจากนี้ ผู้เรียนยังสามารถพบกับหลักสูตรเพิ่มเติมอื่นๆ จากไมโครซอฟท์ได้ทาง Microsoft Community Training (MCT) ขณะที่องค์กรไม่แสวงผลกำไรก็ยังสามารถดาวน์โหลดหลักสูตรไปปรับใช้กับระบบการเรียนการสอน (Learning Management Systems; LMS) ของตนเองได้อีกด้วย คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า “ข้อมูลจาก สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ระบุว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเติบโตด้วยอัตราระดับสองหลักในปี 25661 แต่ไม่ว่าเศรษฐกิจจะไปในทิศทางใด ไมโครซอฟท์ก็มีความตั้งใจที่จะเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนของประเทศไทยมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นในด้านเทคโนโลยี จากศักยภาพของนวัตกรรมระดับโลกที่มั่นใจได้ในความปลอดภัย ด้านความร่วมมือ กับเครือข่ายพันธมิตรในหลากหลายภาคส่วนที่ขับเคลื่อน Digital Transformation ไปด้วยกัน และในด้านบุคลากร กับเป้าหมายในการเสริมทักษะให้คนไทย 10 ล้านคน การประกาศหลักสูตรเพิ่มเติมจาก LinkedIn ในโอกาสนี้ เป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราอีกครั้ง ภายใต้เป้าหมายที่จะผลักดันให้คนไทย ธุรกิจไทย และเศรษฐกิจไทย ก้าวต่อไปอย่างมั่นคงสู่ยุคแห่งการสร้างธุรกิจและนวตกรรมในประเทศที่ Born in Thailand อย่างเต็มตัว”

ผู้ที่สนใจเสริมสร้างทักษะเชิงดิจิทัลในประเทศไทย สามารถเรียนรู้จากหลักสูตรออนไลน์ของโครงการ รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ของพันธมิตรทั้งหมด ซึ่งให้บริการแก่ผู้เรียนภายในโครงการทั้งหมด รวมถึงบุคคลทั่วไป โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาตลอดหลักสูตรจะได้รับใบรับรองประกาศนียบัตรอีกด้วย ทั้งนี้ แพลตฟอร์มออนไลน์ของพันธมิตร ประกอบด้วย · สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล กระทรวงแรงงาน: ฝึกทักษะออนไลน์หมวดโปรแกรมคอมพิวเตอร์และทักษะดิจิทัล · สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน): https://e-training.tpqi.go.th/ · ยูเนสโก: https://lll-olc.net/th/ · สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa): www.digitalskill.org/

Page 1 of 7
X

Right Click

No right click