PTG ประกาศร่วมมือ SSC IT Group เดินหน้าใช้ประโยชน์บนเทคโนโลยีจาก Dataiku เพื่อยกระดับกลยุทธ์การวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับองค์กร โดยความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยให้ PTG สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรองรับการนำ AI มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน พัฒนาสินค้าและบริการ ซึ่งจะนำพาบริษัทเข้าสู่ยุคใหม่ด้วยกลยุทธ์ที่เน้นข้อมูลเป็นศูนย์กลาง และ จะสามารถเข้าใจลูกค้าและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

นายสัทธา สุภาพ ผู้อำนวยการ ฝ่าย Business Intelligence บริษัท พีทีจีเอ็นเนอยีจํากัด (มหาชน) กล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของเทคโนโลยีที่ทุกคนเข้าถึงได้ว่า "เรามุ่งหวังว่าทุกคน ไม่ว่าจะมีพื้นฐานด้านเทคนิคมากหรือน้อย ล้วนมีศักยภาพในการค้นหาคุณค่าจากข้อมูลและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการเติบโตขององค์กร Dataiku มีจุดเด่นเรื่องการทำงานด้านวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลและผู้เชี่ยวชาญด้านเฉพาะทางสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังนำ AI ไปบูรณาการกับการทำงานประจำวันได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ แพลตฟอร์ม Dataiku ยังมีระบบ MLOps และ Governance ซึ่งช่วยสร้างกลยุทธ์ที่น่าเชื่อถือและอธิบายได้ง่ายขึ้น"

 

ในภาพ: นายสัทธา สุภาพ ผู้อำนวยการ ฝ่าย Business Intelligence บริษัท พีทีจีเอ็นเนอยี จํากัด (มหาชน)

วันนี้ PTG กำลังดำเนินการโครงการ Customer Data Integration (CDI) ซึ่งจะนำมาใช้ในการสร้างแบบจำลองเชิงพยากรณ์ (predictive modeling) เข้ากับระบบสมาชิกที่มีสมาชิกกว่า 20 ล้านคน เพื่อมาคำนวณมูลค่าที่ลูกค้าแต่ละรายใช้จ่ายไปกับสินค้าหรือบริการของธุรกิจ (customer lifetime value) และเสริมสร้างการตลาดแบบเฉพาะบุคคล (marketing personalization) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการทำตลาดไปด้วยกัน ซึ่งด้วยความสำเร็จนี้ PTG มุ่งมั่นทีจะเดินหน้ายกระดับกลยุทธ์ การสร้างระบบ วิเคราะห์ข้อมูล สู่ enterprise AI อย่างต่อเนื่องโดยการนำเทคโนโลยี AI บนแพลตฟอร์ม Dataiku มาใช้ในการพัฒนาโซลูชันต่างๆ ไปสู่ภาคธุรกิจนอกเหนือจากธุรกิจน้ำมันเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ

ความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีการวิเคราะห์มาใช้ของ PTG และ Dataiku โดย SSC IT Group ครั้งนี้ ไม่เพียงแต่สามารถเอาชนะความท้าทายเดิมๆ ในการพัฒนาโครงการทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกัน ความสำเร็จนี้ตอกย้ำถึงความสำคัญของการพิสูจน์เทคโนโลยี (proof of technology) ภายใต้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่รวดเร็วในปัจจุบัน ซึ่งโซลูชันของการนำ Dataiku มาใช้จะช่วยประหยัดเวลาในการสร้าง Model ซึ่งจะมีความสำคัญต่อการรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันของกลุ่มธุรกิจต่างๆ ภายใต้เครือ PTG จะสามารถใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดมหาศาลจากระบบนี้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการตัดสินใจทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ PTG มุ่งมั่นที่จะคว้าและหาโอกาสใหม่ ๆ โดยอาศัยพลัง AI ซึ่งเปรียบเหมือนการสร้างสรรค์และคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ วิสัยทัศน์ของ PTG คือการปฏิวัติความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับลูกค้า โดยมอบประสบการณ์ที่เหนือระดับ สร้างความประทับใจและสายสัมพันธ์ที่ยั่งยืนให้กับลูกค้า ความมุ่งมั่นด้านนวัตกรรมและความเป็นเลิศ นี่คือสิ่งที่ทำให้ PTG เป็นผู้นำโดดเด่น ไม่เพียงแค่ในภาคพลังงานเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกด้วย

SSC IT Group ในฐานะคู่ค้าและเป็นผู้เชี่ยวชาญ Dataiku ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์ม AI ระดับโลกที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าสามารถนำมาใช้ในการสนับสนุนภาคธุรกิจได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก Dataiku เป็นเครื่องมือที่มีความทันสมัยในด้านการนำข้อมูลองค์กรมาวิเคราะห์เชิงลึก (Advance analytics) โดยใช้เทคโนโลยี AI/ML ที่ใช้งานง่ายและมีความยืดหยุ่นสูงที่สุดในกลุ่ม Solutions ที่เกี่ยวกับ Data Science Platform โดยในปัจจุบันมีบริษัททั่วโลกให้ความไว้วางใจใช้ Dataiku เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจที่สำคัญขององค์กรในทุกภาคธุรกิจ อาทิ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจการเงินการธนาคาร เป็นต้น โดย Dataiku มุ่งเน้นพัฒนารับการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินธุรกิจของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการคาดการณ์ยอดขายในอนาคต หรือ ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนึงถึงพฤติกรรมลูกค้าในปัจจุบันและรวมถึงสามารถแนะนำข้อเสนอที่เหมาะสมในอนาคตให้กับลูกค้า ทั้งนี้ Dataiku ยังได้มุ่งมั่นพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับองค์กรธุรกิจที่จะนำ AI และ Generative AI มาขับเคลื่อนธุรกิจให้มีความคล่องตัว รวมถึงมีความพร้อมรองรับการแข่งขันทางธุรกิจ โดยย้ำเน้นถึงความง่ายและความสะดวกในการทำงานร่วมกันภายในองค์กร ตั้งแต่วิศวกรข้อมูล (Data Engineer), นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data

Analyst) ไปจนถึงนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) และอีกทั้งผู้ใช้ข้อมูลในเชิงธุรกิจ (Business User / Citizen Data Science) อีกด้วย

ธุรกิจกลุ่มบริการด้านอาหารและเครื่องดื่มยังติดเทรนด์ดาวรุ่ง ร้านอาหาร ร้านกาแฟ เบเกอรี่ และบาร์ตบเท้าเดินหน้าดีต่อเนื่อง หลังท่องเที่ยวฟื้น ประชาชนใช้จ่ายเพิ่ม พฤติกรรมคนยุคใหม่บริโภคและใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น โดยมูลค่าตลาดรวมร้านอาหารยังยืนหนึ่งที่ประมาณ 4.25 แสนล้านบาท ด้าน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย แนะผู้ประกอบการต้องตามแนวโน้ม สร้างจุดเด่น หาจุดขาย สู้ปัจจัยเสี่ยงและการแข่งขันที่สูงขึ้น พร้อมชวนผู้ประกอบการเสริมความรู้ จับทิศธุรกิจจากบริษัทชั้นนำของโลกที่ยกทับร่วมจัดงานในโซนกาแฟ-เบเกอรี่ และ โซนร้านอาหาร-บาร์ พร้อมพื้นที่จัดแสดงพิเศษใหม่ SIPS & SPIRITS ที่รวบรวมและจัดแสดงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไวน์ คราฟต์เบียร์จากทั่วโลก รวมถึงสุราไทยที่กำลังเป็นกระแสความสนใจในงาน Food & Hospitality Thailand 2023

นางสาวสุภาภรณ์ อังศรีสุรพร ผู้จัดการฝ่ายบริหารโครงการอาวุโส อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน Food & Hospitality Thailand 2023 กล่าวถึงธุรกิจกลุ่มกาแฟ เบเกอรี่ กลุ่มบาร์และร้านอาหารว่า ทั้ง 2 กลุ่มยังคงติดอยู่ในกลุ่มธุรกิจดาวรุ่ง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว การใช้จ่ายของภาคประชาชนที่มีความมั่นใจขึ้น รวมถึงพฤติกรรมและวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่บริโภคและใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ซึ่งประมาณการมูลค่ารวมของธุรกิจกลุ่มบริการด้านอาหาร-เครื่องดื่มในปี 2566 ธุรกิจร้านอาหารยังมีมูลค่ารวมมาเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ประมาณ 4.25 แสนล้านบาท (ไม่รวมธุรกิจผับและบาร์) ส่วนตลาดรวมของธุรกิจร้านกาแฟอยู่ที่ประมาณ 65,000 ล้านบาท และตลาดรวมของธุรกิจเบเกอรี่อยู่ที่ประมาณ 38,000 ล้านบาท

แม้ธุรกิจในกลุ่มดังกล่าวจะได้รับผลจากปัจจัยบวก แต่ผู้ประกอบการก็ควรต้องคำนึงถึงปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อ การแข่งขันที่สูงขึ้น รวมถึงภาวะเศรษฐกิจไทยและต่างประเทศยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ดังนั้นหนึ่งในทางออกของผู้ประกอบการคือ ต้องมีการเตรียมพร้อม พัฒนาเพิ่มศักยภาพ การบริหารความเสี่ยง รวมถึงติดตามแนวโน้มและทิศทางของธุรกิจตลอดเวลา ดังนั้นในงาน Food & Hospitality Thailand 2023 ครั้งนี้ จึงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับโฃนกาแฟ-เบเกอรี่ (Coffee & Bakery Thailand : CBT) และ โซนร้านอาหาร-บาร์ (Restaurant & Bar Thailand : RBT)

โดยโซนกาแฟ-เบเกอรี่ (Coffee & Bakery Thailand : CBT) เป็นศูนย์รวมของธุรกิจกาแฟและเบเกอรี่อย่างครบวงจร ซึ่งได้รับความสนใจเข้าร่วมจัดแสดงงานจากผู้ผลิตและจัดจำหน่ายวัตถุดิบพรีเมี่ยม อุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ใช้ในธุรกิจทั้งไทยและนานาชาติ อาทิ Duchess, Filter Vision, Global Partner Inter Food, Grain Baker, i-Cream Solutions,

ITO EN, Longbeach, NC Bakery Equipment, Santoker, Siamaya Craft, SKGF Trading, Tafa Inter Trading, Nescafé Dolce Gusto และ Alpine Water ซึ่งนอกจากจะมีการจัดแสดงงานจากบริษัทชั้นนำต่างๆ แล้ว ยังมีกิจกรรมการแข่งขันและเวิร์คชอป เพื่อเพิ่มทักษะให้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจอีกหลายรายการ อาทิ การแข่งขัน Thailand National Latte Art Championship (TNLAC), Thailand National Coffee in Good Spirits Championship (TNCIGS), Grow Tea Creatives Sensory Special Class และ Coffee Workshop

ส่วนโซนร้านอาหารและบาร์ (Restaurant & Bar Thailand : RBT) เป็นอีกโซนที่มีความสำคัญ โดยในโซนนี้จะเป็นการรวบรวมบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายวัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องมือระดับพรีเมี่ยมของโลก ตลอดจนระบบจัดการโซลูชั่นต่างๆ ที่ใช้ในธุรกิจมาร่วมในการจัดแสดง อาทิ Abbra Corporation Limited, Nutra Regenerative Protein, Chaitip, CTI Food Supply, Ebisu Foods, See Fah Food, Udom Supply Imex, BR Group, Fukushima Galilei, K.M. Packaging, Lucky Flame Co., Ltd., Newton Food Equipment, Winterhalter, VJ International Group, Royal Porcelain, Villeroy & Boch, Independent Wine & Spirit และ GLT Italia นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมสัมมนา เวิร์คชอป และการแข่งขันเพิ่มทักษะเสริมศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจอีกหลายรายการ อาทิ การแข่งขัน Thailand’s International Culinary Cup (TICC) 2023, การแข่งขัน ASEAN Hotel Bartender Competition 2023, Food Stylist for Value Added Workshop, สัมมนาหัวข้อ Restaurant Success Case by Copper และ TAT Seminar: Thailand's Culinary Treasures

และในปีนี้ยังมีการเพิ่มพื้นที่จัดแสดงพิเศษใหม่ SIPS & SPIRITS ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในงาน โดยเป็นการรวบรวมและจัดแสดงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไวน์ คราฟต์เบียร์จากทั่วโลก รวมถึงสุราไทยที่กำลังเป็นกระแสความสนใจจากคนทั่วประเทศ พร้อมเวิร์คชอปการชงค็อกเทล การทำเบียร์ การสัมมนาให้ความรู้จากผู้อยู่ในอุตสาหกรรมและธุรกิจตัวจริงอีกด้วย

งาน Food & Hospitality Thailand 2023 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-26 สิงหาคม 2566 ณ ฮอลล์ 1-3 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจรายละเอียดการจัดงานฯ สามารถติดตามข้อมูลได้ที่ www.fhtevent.com

นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (ที่สามจากซ้าย) นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย (ที่สองจากซ้าย) และนายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย (คนกลาง) จัดเสวนาพิเศษ “รวมพลังสร้างกลยุทธ์เพิ่มมูลค่า เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย” พร้อมร่วมพันธมิตรองค์กรภาครัฐและเอกชนผู้ให้การสนับสนุนการจัดงาน Food & Hospitality Thailand 2023 แถลงความพร้อมการจัดงาน โดยมี นางสาวสุนันทา หามนตรี ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ในประเทศ ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ (คนแรกซ้าย) ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธาน สมาคมผู้ค้าปลีกไทย (ที่สามจากขวา) นายมีชัย อมรพัฒนกุล นายกสมาคมบาริสต้าแห่งประเทศไทย (ที่สองจากขวา) เชพสมศักดิ์ รารองคำ นายกสมาคมเชฟประเทศไทย (คนแรกขวา) ให้เกียรติร่วมแถลงข่าว ซึ่งงาน Food & Hospitality Thailand 2023 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-26 สิงหาคม 2566 ณ ฮอลล์ 1-3 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจรายละเอียดการจัดงานฯ สามารถติดตามข้อมูลได้ที่ www.fhtevent.com เมื่อเร็วๆ นี้

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินธุรกิจบริการดิจิทัลในปี 2566 มีมูลค่าถึง 5.6 แสนล้านบาทเติบโตกว่า 20% จากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปเป็นออนไลน์มากขึ้นหลังสถานการณ์โควิด-19 เร่งให้เกิดการเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลเร็วมากขึ้นและมีการแข่งขันที่สูงขึ้น แนะธุรกิจปรับตัวนำเทคโนโลยีใหม่ เช่น AI มาประยุกต์ใช้ และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจการบริการให้ครบวงจร

ปัจจุบันธุรกิจบริการดิจิทัล (Digital Services) เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนและเป็นขั้นตอนกระบวนการสำคัญของภาคธุรกิจมากขึ้นอย่างชัดเจน ไม่เพียงเป็นประโยชน์ในด้านการสื่อสาร แต่ยังกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้เชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก โดยในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ธุรกิจบริการดิจิทัลในประเทศมีรายได้เติบโตต่อเนื่อง ผลจากการปรับตัวของผู้ประกอบการเพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันธุรกิจบริการดิจิทัลของไทยในรูปแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล รองรับธุรกรรมออนไลน์ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ตั้งแต่การทำธุรกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันผ่านระบบออนไลน์ โดยในปี 2564 มีธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่ 1) บริการสื่อบันเทิงออนไลน์ (Online Media) มูลค่าตลาด 1.3 แสนล้านบาท หรือสัดส่วน 38% 2) บริการขนส่ง E-Logistics มูลค่าตลาด 9 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 26% 3) บริการซื้อขายสินค้าออนไลน์ (E-Retail หรือที่รู้จักคือ E-Commerce) มีมูลค่าตลาด 5.9 หมื่นล้านบาท สัดส่วนรายได้อยู่ที่ 17% และ 4) บริการอื่น ๆ มีมูลค่า 6.5 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 19% เช่น บริการด้านการศึกษาออนไลน์ และบริการด้านสาธารณสุข/สุขภาพออนไลน์ (E-Health)

โดยสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงปี 2563-2564 ถือเป็นช่วงที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค ช่วยผลักดันบริการดิจิทัลในภาพรวมเติบโตกว่า 36% จากการที่ผู้ประกอบการนำกลยุทธ์ Digital Transformation มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจเต็มตัวเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องพึ่งพาการทำธุรกรรมต่าง ๆ ทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคมีการปรับตัวและมีความคุ้นเคยกับการใช้บริการธุรกิจบริการดิจิทัลจนถึงปัจจุบัน โดยในปี 2565 คนไทยมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 3.4% ทำให้ปัจจุบันระดับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 78% ของประชากรทั้งหมด อีกทั้งยังมีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยต่อวันถึงกว่า 9 ชั่วโมง สูงเป็นอันดับ 7 ของโลกที่มีค่าเฉลี่ยราว 7 ชั่วโมงต่อวัน

ปัจจุบันธุรกิจบริการดิจิทัลที่มีรายได้ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าเป็นหลัก มีอัตราการเติบโตของรายได้มากกว่ากลุ่มที่ทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มบริการดิจิทัลอื่น ๆ กว่า 2 เท่า โดยพบว่าธุรกิจบริการดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายมีการเติบโตต่อเนื่อง เช่น ธุรกิจ E-Logistics และ E-Retail ที่เติบโตได้ 58% และ 44% ในปี 2564 ตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานมีการซื้อสินค้าและการใช้บริการออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ส่วนธุรกิจบริการดิจิทัลที่มีรายได้มาจากแพลตฟอร์มบริการดิจิทัลอื่น ๆ พบว่ามีอัตราการเติบโตที่แผ่วลง เช่น ธุรกิจ Online Media มีการเติบโตในปี 2564 ราว 28% มีรายได้หลักมาจากสื่อโฆษณาออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น เช่น Facebook และ YouTube โดยในปี 2565 สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตของไทยได้สูงถึง 92% และ 79% ตามลำดับ ถือเป็นอัตราการเข้าถึงที่สูง

อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นทิศทางการเติบโตอย่างรวดเร็วในบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (E-Health) ถึงแม้ปัจจุบัน E-Health จะยังมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่น้อย แต่มีการเติบโตของรายได้ในปี 2564 ก้าวกระโดดกว่า 50% จากการที่ผู้ให้บริการเริ่มหันมาสนใจให้บริการด้านสุขภาพกันมากขึ้น อาทิ ระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) กอปรกับ ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) คือการมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปในสัดส่วนมากกว่า 20% ในอีก 8 ปีข้างหน้า

จากมูลค่าตลาดธุรกิจดิจิทัลในภาพรวมราว 4.5 แสนล้านบาทในปี 2565 ttb analytics คาดว่าในปี 2566 นี้ ธุรกิจบริการดิจิทัลยังมีแนวโน้มเติบโต 24% มูลค่าอยู่ที่ 5.6 แสนล้านบาท จากการที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มพัฒนาเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีด้านดิจิทัลส่งผลกระทบด้านบวกต่อภาคธุรกิจและพฤติกรรมผู้บริโภค ทำให้มีการพัฒนาต่อยอดบริการดิจิทัลใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองอุปสงค์ที่เป็นลักษณะเฉพาะส่วนบุคคลมากขึ้น สอดคล้องกับทิศทางธุรกิจบริการดิจิทัลทั่วโลกที่มีการเติบโตเฉลี่ยกว่า 34% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ E-Logistics และ E-Retail แม้ว่าจะมีสัดส่วนรายได้มากกว่า 43% แต่ธุรกิจมีการแข่งขันค่อนข้างสูง และยังมีการทุ่มงบประมาณด้านการตลาดเพื่อรักษาฐานลูกค้า ในขณะที่กลุ่มแพลตฟอร์มบริการดิจิทัลอื่นๆเป็นกลุ่มที่ยังคงมีการเติบโตในระดับสูง

ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจบริการดิจิทัลควรมีการปรับตัว เพื่อเตรียมรองรับการขยายตัวของธุรกิจบริการดิจิทัลและการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ภายใต้แรงกดดันด้านกำไรที่ลดน้อยลงตามกระแสธุรกิจโลก โดยนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ เช่น นำระบบ AI มาช่วยในการบริหารจัดการข้อมูล ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลจากคำถามและพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อผู้ใช้บริการได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น อีกทั้งเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้บริการ และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ เชื่อมการบริการของธุรกิจเกี่ยวเนื่องให้ครบวงจร เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและสร้างความพึงพอใจให้ผู้บริโภค

X

Right Click

No right click