ปี 2565 เป็นรอยต่อสำคัญจากช่วงโควิดระบาด จนมาถึงช่วงที่ทุกคนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ในปีที่ผ่านมา foodpanda ได้เห็นพฤติกรรมของลูกค้า ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จากหลาย ๆ ปัจจัย อาทิ สภาพสังคม เศรษฐกิจ โซเชียลมีเดียเทรนด์ เทคโนโลยี เป็นต้น
foodpanda จึงรวบรวมสถิติที่น่าสนใจ เพื่อให้เป็นประโยชน์กับลูกค้า พันธมิตรร้านค้า พันธมิตรไรเดอร์ รวมถึงนักการตลาดในวงการอาหารเครื่องดื่มและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาและเตรียมกลยุทธ์ในการทำธุรกิจในปี 2566 นี้
ที่สุดของอาหารของกินของใช้ยอดนิยม แห่งปี 2565!
foodpanda ได้รวบรวมเมนูอาหาร และของกินของใช้ ที่เป็นแชมป์ครองใจลูกค้ามาตลอดปี 2565 เป้าหมายของการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคนอกจากจะทำให้ foodpanda สามารถออกแบบสินค้าและบริการที่ตรงใจลูกค้าที่สุด ข้อมูลเหล่านี้ยังเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจอาหารของกินของใช้ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ให้สามารถคาดการณ์ตลาดได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในปีนี้
· ประเภทอาหารเดลิเวอรี่ ยอดนิยม 10 อันดับแรก
1. อาหารไทย
2. อาหารอเมริกัน
3. อาหารนานาชาติ
4. อาหารญี่ปุ่น
5. อาหารอิตาเลี่ยน
6. อาหารเกาหลี
7. อาหารจีน
8. อาหารอินเดีย
9. อาหารเม็กซิกัน
10. อาหารเวียดนาม
· เมนูอาหารและเครื่องดื่มเดลิเวอรี่ ยอดนิยม 10 อันดับแรก
1. ข้าวกะเพรา
2. กาแฟ
3. ข้าวผัด
4. ข้าวมันไก่
5. ก๋วยเตี๋ยว
6. ชาเขียว
7. ชานมไข่มุก
8. ส้มตำปู
9. ไก่ย่าง
10. ผัดไทย
Fun fact ของการสั่งอาหาร:
1. รู้หรือไม่? ข้าวมันไก่เป็นเมนูที่มักถูกสั่งในช่วงเช้าตั้งแต่ 6.00 - 9.00 น.
2. วันที่ลูกค้าสั่งอาหารมากที่สุดคือวันหยุดสุดสัปดาห์ และวันอังคาร วัน foodpanda
3. บริการรับเองที่ร้าน หรือ Pick-up ของ foodpanda ถูกใช้ในเมนู ‘เครื่องดื่ม’ มากที่สุด
· สินค้าประเภทของกินของใช้เดลิเวอรี่ ยอดนิยม 5 อันดับแรก
1. น้ำดื่มและน้ำอัดลม
2. ขนมขบเคี้ยว
3. ผลิตภัณฑ์นม
4. เครื่องปรุง
5. บะหมีกึ่งสำเร็จรูป และเครื่องดื่มชูกำลัง
Fun Fact ของการสั่งของกินของใช้:
ช่วงเวลาที่ลูกค้ากดสั่งของกินของใช้จากแอปฯ foodpanda มากที่สุดคือตั้งแต่ 8.00 น. - 19.00 น. ในแต่ละวัน
pandamart และ foodpanda shops ช่วยให้ลูกค้าไม่ต้องละจากงานสำคัญ และยิ่งกว่านั้นไม่ต้องฝ่ารถติดให้หงุดหงิดใจ เฉลี่ยประมาณ 25 นาที ของที่สั่งก็มาส่งถึงที่โดยไรเดอร์ foodpanda
· สถิติอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก foodpanda
o 5,222,897,639 กิโลเมตร (ไปดวงจันทร์ได้ 1,200 ครั้ง) ที่ไรเดอร์ได้ตระเวณส่งความสุข ผ่านทุกบริการของ foodpanda ทั่วประเทศไทย
กลยุทธ์ foodpanda ประเทศไทย
ในคอนเทนต์นี้นอกจาก foodpanda จะแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แล้ว
ศิริภา จึงสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) foodpanda ประเทศไทย ได้เผยถึงกลยุทธ์ในปีนี้ของ foodpanda ประเทศไทยไว้ว่า เป้าหมายระยะยาวของ foodpanda คือการสร้างแบรนด์ที่เป็นมิตร เป็นเพื่อนที่รู้ใจของลูกค้า ซึ่งในยุคที่ Brand Loyalty เป็นเรื่องท้าทายสำหรับทุกองค์กร foodpanda ได้วางกลยุทธ์ที่จะทำให้เราไปสู่เป้าหมายระยะยาวได้ ดังนี้;
· มอบบริการที่มีคุณภาพ สะดวกสบาย และเข้าถึงง่าย foodpanda จะเป็นเพื่อนรู้ใจ ที่ทำให้ทุกเรื่องในชีวิตคุณเป็นเรื่องง่าย เพราะมีบริการทั้งของกินของใช้ ที่ครอบคลุมฟู้ดเดลิเวอรรี่, pandamart, foodpanda shops, รับเองที่ร้าน (Pick-up) และ pandago รวมถึง Subcription Program อย่าง pandapro ที่มีสิทธิประโยชน์มากมาย และส่วนลดสำหรับทานที่ร้าน (Dine-in)
· เป็นแพลตฟอร์มส่งอาหารของกินของใช้ ที่ลูกค้าไว้วางใจที่สุด ส่งเร็วภายใน 25 นาที ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยในการคำนวนเวลา โดยเริ่มตั้งแต่ลูกค้ากดสั่ง เวลาในการเตรียมอาหาร และเส้นทางการส่งสินค้า ทำให้ไรเดอร์ส่งอาหารและของกินของใช้ถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
· สร้าง Community ระหว่างแบรนด์และลูกค้าผ่าน Subscription Program ซึ่งก็คือ pandapro มีหัวใจหลักคือการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับธุรกิจ ด้วยการพยายามให้ลูกค้าเดิมยังคงใช้บริการต่อในระยะยาวเพื่อสร้างรายได้ต่อเนื่อง สิทธิประโยชน์ของ pandapro มีทั้งจัดส่งฟรี ส่วนลดค่าอาหาร ส่วนลดบริการรับเองที่ร้าน ส่วนลด pandamart และ foodpanda shops รวมถึงส่วนลดสำหรับทานที่ร้าน
· ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน ไม่ใช่แค่ธุรกิจของ foodpanda เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเติบโตของพันธมิตรร้านค้า และรายได้ของพันธมิตรไรเดอร์ ซึ่งเป็น Ecosystem สำคัญที่ต้องเติบโตไปด้วยกันกับ foodpanda
“นอกจากกลยุทธ์หลักข้างต้น เรายังมี ‘เปาเปา’ แบรนด์แอมบาสเดอร์สุดน่ารักของ foodpanda ที่จะมีเซอร์ไพรส์อีกครั้งในปีนี้แน่นอน ขอให้ทุกคนรอติดตามกันไม่นานเกินรอ ขอฝากเปาเปาและ foodpanda ไว้ในใจ ไว้บนหน้าจอมือถือด้วยนะคะ” ศิริภาทิ้งท้าย
TwitterTrends Report เผยข้อมูลเชิงลึก “One Planet” เทรนด์บทสนทนามาแรงโตกว่า 191% ย้ำกระแสคนไทยใส่ใจสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
แพลตฟอร์มโฆษณาโปรแกรมเมติกครบวงจร เพื่อยกระดับการสื่อสารแบรนด์ผ่าน อีโคซิสเต็มมือถือของหัวเว่ย