

‘การปลูกถ่ายอวัยวะ’ นับเป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สำคัญอย่างมากในการช่วยชีวิตและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตองผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้หลายโรค เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคตับแข็ง และโรคหัวใจล้มเหลว รวมถึงการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา ซึ่งเปรียบเสมือนการให้ชีวิตใหม่เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง
ปัจจุบันทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนอวัยวะปลูกถ่าย โดยข้อมูล Global Observatory on Donation and Transplantation (GODT) ระบุว่าในปี 2022 ทั่วโลกมีการปลูกถ่ายอวัยวะทั้งหมดเพียง 157,494 ครั้ง และ ‘ไต’ เป็นอวัยวะที่ได้รับการปลูกถ่ายมากที่สุดในโลก รองลงมาคือ ตับ และหัวใจ และยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่รอการปลูกถ่ายอวัยวะ ขณะที่ข้อมูลของประเทศไทยล่าสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 จากศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ระบุว่า มีจำนวนผู้ป่วยที่รอการปลูกถ่ายอวัยวะ สูงถึง 7,486 ราย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดย 95% เป็นผู้ป่วยที่รอ ‘ไต’ รองลงมา คือ ตับ หัวใจ ปอด และตับอ่อน ขณะเดียวกันมีผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะแล้วเพียง 946 ราย และจะมีผู้เสียชีวิตระหว่างรอคอยการปลูกถ่ายอวัยวะ เฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 ราย
รศ.นพ. ทวีสิน ตันประยูร ประธานปฏิบัติการด้านการแพทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้เปิดเผยในงานแถลงข่าว ‘Bumrungrad Transplant Services: Where Life Gets a Second Chance’ ว่า การปลูกถ่ายอวัยวะ เปรียบเสมือนความหวังใหม่และอีกโอกาสที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมามีชีวิตใหม่ที่สมบูรณ์มากขึ้น ในฐานะที่บำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลที่ให้การรักษาในระดับจตุตถภูมิ (Quaternary Care) เราได้พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์เพื่อให้การบริบาลดูแลผู้ป่วยอย่างครอบคลุมเพื่อส่งมอบผลลัพธ์ที่ดีที่สุดมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะสำคัญ ปัจจุบัน บำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ได้รับให้เป็นศูนย์การปลูกถ่ายอวัยวะหัวใจ ไต ตับ และกระจกตา จากศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย และสามารถปลูกถ่ายอวัยวะได้ครบทั้ง 3 อวัยวะ และ 1 เนื้อเยื่อ ได้แก่ ‘หัวใจ ไต ตับ และกระจกตา’ ซึ่งการปลูกถ่ายอวัยวะถือเป็นการผ่าตัดที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญการของทีมแพทย์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย และทำในสถาบันที่มีมาตรฐานและมีประสบการณ์สูง
นพ. ทัตพงศ์ จิตเอื้ออารีย์ แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์ - ไตวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ไต เป็นอวัยวะที่ได้รับการปลูกถ่ายบ่อยที่สุดในโลก โดยกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไต คือ ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ทั้งในกลุ่มที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตหรือยังไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไตสามารถปลูกถ่ายไตได้ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับการประเมินความพร้อมด้านสุขภาพก่อนเข้ารับการปลูกถ่ายไตจากสหสาขาวิชาชีพ อาทิ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านหัวใจ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจิตเวช แพทย์ผู้ชาญการด้านศัลยศาสตร์การปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นต้น
บำรุงราษฎร์ได้ดำเนินการปลูกถ่ายไตให้กับผู้ป่วยมากว่า 37 ปี ให้บริการครอบคลุมตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และการรักษาผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายด้วยการปลูกถ่ายไต และสามารถปลูกถ่ายไตผู้ป่วยได้ตั้งแต่อายุไม่ถึง 10 ปี จนถึงอายุมากกว่า 80 ปี รวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหลายโรค โดยมีทีมแพทย์และพยาบาลดูแลภาวะหลังการปลูกถ่ายไตอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ยังมีทีมแพทย์ผ่าตัดที่พร้อมเดินทางไปผ่าตัดไตที่รับบริจาคจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ และพร้อมผ่าตัดปลูกถ่ายไตให้ผู้ป่วยหลังจากไตบริจาคมาถึงโรงพยาบาล
โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บำรุงราษฎร์มีอัตราความสำเร็จในการปลูกถ่ายไตสูงกว่า 90% ซึ่งนับเป็นอัตราความสำเร็จที่สูงเทียบเท่ามาตรฐานระดับโลกอย่างสหรัฐอเมริกา แคนาดา และยุโรปตะวันตก ความสำเร็จนี้เกิดจากการผสมผสานประสบการณ์ของทีมแพทย์ เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย และนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น การตรวจวิเคราะห์ยีน การใช้เทคนิคการผ่าตัดส่องกล้องและหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ที่สำคัญ บำรุงราษฎร์ยังสามารถทำการปลูกถ่ายไตข้ามหมู่เลือดได้สำเร็จ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างครบวงจรและมีโอกาสกลับมามีชีวิตที่สมบูรณ์ได้อีกครั้ง
พญ. ปิยฉัตร พิพัฒนพงศ์โสภณ แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ - หัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวถึงผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวขั้นสุดท้ายมักเผชิญกับความท้าทายในการใช้ชีวิตประจำวัน หัวใจที่อ่อนล้าไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ ทำให้เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก นอนราบไม่ได้ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตแย่ลง และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงถึง 10% ต่อปี ‘การปลูกถ่ายหัวใจ’ จึงเป็นการรักษาขั้นสูงสุดที่ช่วยยืดอายุและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย ปัจจุบันการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจถือว่าประสบความสำเร็จสูง จากสถิติผู้ป่วยมีอัตรารอดชีวิตมากถึง 85-90% ซึ่งหากผู้ป่วยไม่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจในช่วงเวลาที่เหมาะสม ส่วนใหญ่อาจเสียชีวิตภายในระยะเวลาเพียง 1-2 ปี
การปลูกถ่ายหัวใจ จึงเป็นทางเลือกในการรักษาที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวขั้นสุดท้าย เพราะเป็นการรักษาที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพสูง โดยการแทนที่หัวใจที่เสียหายด้วยหัวใจดวงใหม่จากผู้บริจาค ทำให้หัวใจสามารถทำงานได้เป็นปกติอีกครั้ง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ การปลูกถ่ายหัวใจเป็นการผ่าตัดใหญ่และมีขั้นตอนที่ซับซ้อน โดยก่อนการผ่าตัด แพทย์จำเป็นต้องประเมินสภาพร่างกายและสภาพจิตใจของผู้ป่วยอย่างละเอียดเพื่อให้มั่นใจการผ่าตัดจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 1-3 สัปดาห์ ซึ่งจะมีหน่วยดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขั้นวิกฤต ที่จะดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง
สถาบันโรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีทีมแพทย์เฉพาะทางและทีมสหสาขาวิชาชีพที่เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างครอบคลุม รวมถึงแพทย์เฉพาะทางด้านภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งผ่านการฝึกอบรมและได้รับวุฒิบัตรผู้ชำนาญการเฉพาะทางสาขาภาวะหัวใจล้มเหลวจากประเทศสหรัฐอเมริกา (American Board) ด้วยแนวทางการดูแลรักษาเฉพาะบุคคล ตั้งแต่การวินิจฉัย การวางแผนการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ จนถึงการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ ด้วยประสบการณ์มากกว่า 20 ปี พร้อมเทคโนโลยีที่ทันสมัย และได้การรับรองมาตรฐานสากล JCI Heart Failure สหรัฐอเมริกา ทำให้การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา บำรุงราษฎร์สามารถผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจให้กับผู้ป่วย 5 รายได้สำเร็จ และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
พญ. อรพิน ธนพันธุ์พาณิชย์ แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร - โรคตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะตับ มักจะเป็นผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับตับในระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ได้ และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมาก โดยโรคที่จำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายตับ ได้แก่ 1. ภาวะตับวายเฉียบพลัน มักเกิดกับผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคตับมาก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ยาเกินขนาดหรือเกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ 2. โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคที่ทำให้มีการสะสมสารบางอย่างในตับผิดปกติ ส่งผลต่อการทำงานของตับและอวัยวะอื่น ๆ 3. ภาวะตับอักเสบเรื้อรังจนทำให้เป็นตับแข็งระยะท้ายที่มีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยยาหรือเทคนิคการรักษาอื่น ๆ ซึ่งเกิดหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบและเชื้อไวรัสอื่น ๆ การดื่มสุรามากเกินไปเป็นระยะเวลานานและโรคไขมันพอกตับ และ 4. โรคมะเร็งตับ ขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนและสภาพของตับว่าเหมาะสมกับการปลูกถ่ายตับหรือไม่ หากเป็นในระยะแรกเริ่ม แพทย์สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการอื่น ซึ่งการรักษาด้วยการปลูกถ่ายตับจะช่วยยืดอายุและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยให้ดีขึ้น
การรักษาด้วยการปลูกถ่ายตับ จะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยกลับมาทำงานได้เป็นปกติมากขึ้น ทั้งในส่วนของการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ดีขึ้น โดยตับใหม่จะทำหน้าที่ในการกำจัดสารพิษในร่างกาย สร้างโปรตีน และผลิตน้ำดี ทำให้การทำงานของอวัยวะอื่น ๆ เช่น ไต หัวใจ และสมองกลับมาเป็นปกติ รวมถึงอาการที่เกิดจากโรคตับจะทุเลาลง เช่น อาการเหนื่อยง่าย บวม อาเจียน ก็จะทุเลาลงหรือหายไป ส่งผลให้ผู้ป่วยมีแรงมากขึ้น ทำกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงมีอายุขัยที่เพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายตับ จะมีอัตราการรอดชีวิตสูงถึง 97% ในปีแรก, 82% ใน 5 ปี และ 67% ใน 10 ปี ซึ่งถือเป็นอัตราความสำเร็จที่สูง สะท้อนให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์และการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้ และด้วยประสบการณ์กว่า 22 ปีในการปลูกถ่ายตับ ซึ่งคลินิกโรคตับเป็นหนึ่งใน 8 คลินิกเฉพาะทางของศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยมากกว่า 42,000 รายต่อปี และสามารถดูแลรักษาโรคตับได้อย่างครอบคลุม เช่น ตับอักเสบเฉียบพลัน ตับอักเสบเรื้อรัง ก้อนเนื้อในตับ ไขมันพอกตับ และมะเร็งตับ จนถึงการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกครั้ง
ศ.พญ. งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ แพทย์เฉพาะทางด้านจักษุวิทยา การผ่าตัดแก้ไขสายตา กระจกตา และ ต้อกระจก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวปิดท้ายเกี่ยวกับปัญหากระจกตาเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคกระจกตาเสื่อม กระจกตาโก่ง/ย้วย กระจกตาบวม และกระจกตาเป็นแผล ซึ่ง ‘การปลูกถ่ายกระจกตา’ เป็นการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนกระจกตาส่วนที่เสียหายด้วยกระจกตาจากผู้บริจาค เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการมองเห็นของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ช่วยเสริมความแข็งแรงของกระจกตาในกรณีที่ผู้ป่วยมีกระจกตาบางหรือทะลุ ซึ่งบำรุงราษฎร์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น กล้องผ่าตัดที่มีการผนวกเทคนิคที่ช่วยในการตรวจชั้นต่าง ๆ ของกระจกตาในระหว่างผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำสูงขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน
การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา มีด้วยกัน 2 วิธี คือ 1. การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาทุกชั้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาที่กระจกตาทุกชั้น และ 2. การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาเฉพาะชั้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาที่กระจกตาบางชั้นเท่านั้น โดยมีให้เลือกทั้งการปลูกถ่ายกระจกตาชั้นบน และการปลูกถ่ายกระจกตาชั้นใน ซึ่งเป็นเทคนิคที่ละเอียดอ่อนและมีความแม่นยำสูง และในกรณีผู้ป่วยที่มีโรคกระจกตาซับซ้อน ศูนย์ปลูกถ่ายกระจกตา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา พร้อมเทคนิคการรักษาที่หลากหลาย เช่น เลเซอร์ PTK, ฉายแสง UV-A และการผ่าตัดใส่วงแหวน ซึ่งอาจใช้รักษาร่วมกับการปลูกถ่ายกระจกตาเพื่อปรับปรุงการมองเห็นให้ดีที่สุด
ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายกระจกตาด้วยอัตราสูงถึง 97% โดยผู้ป่วยยังคงมองเห็นได้ชัดเจนหลังการผ่าตัด 1 ปี และไม่มีรายงานภาวะแทรกซ้อนใด ๆ เช่น การติดเชื้อ ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมามองเห็นเป็นปกติได้
ในฐานะตัวแทนเจ้าภาพในประเทศไทย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้รับเกียรติจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักในการจัดงานประชุม ซึ่งเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างเครือข่ายของนักวิจัยและแพทย์จากทั่วโลกกว่า 600 คน โดยประเทศไทยมีส่วนสำคัญในการก่อตั้งสหพันธ์ และได้รับเลือกให้เป็นผู้จัดงานในครั้งนี้ ระหว่างวันที่ 5-8 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและการยอมรับด้านวิชาการ การวิจัย และบุคลากรทางการแพทย์ของไทย ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลักดันประเทศไทยสู่การเป็น Medical Hub พร้อมยกระดับระบบสาธารณสุขไทย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ
อีกทั้ง ยังได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงาน “FNM 2024 Thai Touch Party by Bumrungrad” เพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จของงานประชุมดังกล่าว ซึ่งบรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความเพลิดเพลิน และมีเอกลักษณ์ของความเป็นไทยที่น่าประทับใจ โดยมีการแสดงเปิดจากหุ่นละครเล็กโจหลุยส์ รวมถึงการขับร้องและบรรเลงเพลงโดย คุณจิรพรรณ อังศวานนท์ และวงดนตรี ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและสมาชิกรุ่นแรกของวง บัตเตอร์ฟลาย วงดนตรีชั้นนำของเมืองไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ โรงแรม Waldorf Astoria Bangkok
ดร. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้มีโอกาสต้อนรับผู้ทรงคุณวุฒิด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารกว่า 600 ท่านจากทั่วโลก ซึ่งเป็นเวทีสำคัญที่สนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์ได้เรียนรู้และสร้างเครือข่ายกับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญระดับโลก เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนนวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ ๆ ด้วยความมุ่งหวังที่จะส่งมอบการบริบาลทางการแพทย์ที่ดีที่สุด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้ป่วย
ศ.นพ. สุเทพ กลชาญวิทย์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ หัวหน้าศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ประธานจัดงานและเจ้าภาพงาน FNM 2024 กล่าวว่า การที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุม FNM ในปีนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและการยอมรับด้านวิชาการ การวิจัย และบุคลากรทางการแพทย์ของไทย ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลักดันประเทศไทยสู่การเป็น Medical Hub พร้อมยกระดับระบบสาธารณสุขไทย จึงขอถือโอกาสนี้ ขอบคุณโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ที่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี และขอบคุณในความร่วมมือจาก Professor Doctor Xiaohua Hou, PhD, President of Asian Neurogastroenterology and Motility Association เจ้าภาพร่วมงาน FNM 2024 และ Professor Doctor Max Schmulson, the Sociedad Latinoamericana de Neurogastroenterología (SLNG) เจ้าภาพงาน FNM ครั้งถัดไป ที่จะเกิดขึ้นในปี 2026
งานในครั้งนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจของวงการแพทย์ไทย ที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศในฐานะเจ้าภาพจัดงานประชุม รวมถึงยังส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้ชายสูงวัยและมีแนวโน้มว่าจะพบมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาโรคเกี่ยวกับมะเร็งต่อมลูกหมากมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง นอกจากทำให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำมากขึ้นแล้ว ยังทำให้การรักษามีความปลอดภัย ลดภาวะแทรกซ้อน และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังการรักษา
ปัจจุบัน มีทางเลือกการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากหลายหลายวิธี ซึ่งเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยที่แตกต่างกันไป ได้แก่
ไฮโดรเจล (Hydrogel) เป็นนวัตกรรมที่ผลิตจากสารโพลีเอธิลีน ไกลคอล (Polyethylene Glycol: PEG) ช่วยลดผลแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยการฉายรังสีและการฝังแร่ ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้วว่ามีความปลอดภัย ร่างกายสามารถดูดซึมและย่อยสลายได้ โดยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้นำนวัตกรรมไฮโดรเจลเข้ามาใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อเดือนมีนาคม 2566
ทั้งนี้ ไฮโดรเจลจะทำหน้าที่เหมือนเป็นหมอนคั่นระหว่างต่อมลูกหมากและลำไส้ตรง ด้วยการเพิ่มช่องว่างระหว่างอวัยวะทั้งสอง ซึ่งปกติอยู่ห่างกันประมาณ 2-3 มม. ให้มีระยะห่างเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ซม. ทำให้ลำไส้ตรงไม่ได้รับรังสีหรือได้รับรังสีน้อยมาก
โดยก่อนการทำหัตถการ แพทย์จะฉีดยาชาหรือยานอนหลับให้กับผู้ป่วย แล้วจึงใช้น้ำเกลือฉีดเข้าไปในช่องว่างระหว่างต่อมลูกหมากกับลำไส้ตรงเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่ง จากนั้นแพทย์จะฉีดสารไฮโดรเจลซึ่งอยู่ในรูปแบบน้ำเข้าไปที่ช่องว่างนั้น เมื่อไฮโดรเจลเข้าสู่ร่างกาย จะเปลี่ยนสภาพเป็นเจลและช่วยขยายช่องว่างระหว่างต่อมลูกหมากกับลำไส้ตรงให้มีขนาดกว้างยิ่งขึ้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะใช้เวลาเพียง 10-20 นาที ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้หลังจากทำหัตถการ โดยร่างกายจะดูดซึมไฮโดรเจลไปตามธรรมชาติจนหมดภายในเวลา 6 เดือน
นพ. ธีระพล อมรเวชสุกิจ แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ เป็นหนึ่งในศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ที่มีทีมแพทย์เฉพาะทางและทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์สูง ซึ่งปัจจุบัน ได้ให้การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะไปแล้วกว่า 1,500 รายต่อปี และประมาณ 300 รายในนั้น คือผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ที่รักษาด้วยการใช้รังสีรักษา เรามุ่งมั่นและไม่หยุดพัฒนาที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการดูแลรักษาโรคเฉพาะทางได้อย่างครอบคลุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้ป่วย
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ขอแสดงความยินดีกับ รศ.คลินิก นพ. ทศพล เกิดศิริชัยรัตน์, FASGE แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ในโอกาสที่ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการการประชุม Digestive Disease Week (DDW) ระหว่างปี 2563-2567 โดยเป็นแพทย์ไทยคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานการประชุมเสวนาทางวิชาการด้านการตรวจระบบทางเดินอาหารโดยการส่องกล้องติดอัลตราซาวด์ หรือ Endoscopic Ultrasound (EUS) ของสมาคม American Society for Gastrointestinal Endoscopy (ASGE)
รศ.คลินิก นพ. ทศพล มีบทบาทสำคัญในการคัดเลือกและทบทวนงานวิจัยจากทั่วโลกสำหรับนำเสนอในการประชุมดังกล่าว โดยได้ดำเนินงานร่วมกับคณะผู้บริหารสมาคม ASGE อย่างใกล้ชิด ในการนำเสนอหัวข้อในเวทีสำคัญ ได้แก่
ยิ่งไปกว่านั้น รศ.คลินิก นพ. ทศพล ยังได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานประกาศรางวัล Crystal Awards Night ซึ่งเป็นงานสำหรับผู้นำและผู้เชี่ยวชาญด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารเท่านั้น โดยได้ร่วมแสดงความยินดีกับ ศ. นพ. มาร์ติน แอล. ฟรีแมน ผู้รับรางวัล ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (mentor) ของ รศ.คลินิก นพ. ทศพล ขณะศึกษาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ รศ.คลินิก นพ. ทศพล ได้รับการตอบรับเข้าฝึกอบรมการส่องกล้องขั้นสูงที่ Johns Hopkins University
นอกจากนี้ รศ.คลินิก นพ. ทศพล ยังได้ร่วมแสดงความยินดีกับลูกศิษย์ ในฐานะที่ปรึกษาที่สามารถผลักดันลูกศิษย์ให้ได้รับการตอบรับเข้าฝึกอบรมการส่องกล้องขั้นสูงที่ Johns Hopkins University ได้ โดยเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาเพียงคนเดียวที่อาศัยอยู่นอกสหรัฐอเมริกาของสมาคม ASGE และสมาคม American College of Gastroenterology (ACG)
การได้รับเกียรติในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมและความทุ่มเทของ รศ.คลินิก นพ. ทศพล ในการพัฒนาองค์ความรู้และการปฏิบัติทางการแพทย์ในระดับโลก