December 27, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

เอสพี กรุ๊ป พร้อมเสริมศักยภาพให้อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยเดินหน้าการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียวด้วยโซลูชันพลังงานที่ยั่งยืน

กรุงเทพฯ 29 พฤษภาคม 2567 - เอสพี กรุ๊ป (เอสพี) จัดแสดงเทคโนโลยีสีเขียวในงาน ThaiFex-Anuga Asia (Thaifex) งานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำแห่งเอเชียประจำปี ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม ถึง 1 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี กรุงเทพฯ โดยนับเป็นครั้งแรกที่บริษัทโซลูชันพลังงานยั่งยืนได้เข้าร่วมงานจัดแสดงอาหารและเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคที่มีบรรดาแบรนด์ชั้นนำระดับโลกจัดแสดงนวัตกรรมล่าสุดที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทยกำลังเติบโตขึ้นอย่างมาก1 ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานมากที่สุดในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยภาคอุตสาหกรรมคิดเป็นประมาณร้อยละ 37 ของการใช้พลังงานทั้งหมดของประเทศ2 ด้วยโซลูชันพลังงานสีเขียวที่ครบวงจรของเอสพี สามารถช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยประหยัดต้นทุนด้านพลังงาน และบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน

โซลูชันพลังงานคาร์บอนต่ำอัจฉริยะของเอสพี ที่นำมาจัดแสดงภายในงาน ThaiFex ได้แก่

 

· ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (PV) เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า โซลูชันดังกล่าวประกอบไปด้วยระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา พื้นดิน หรือแบบทุ่นลอยน้ำ และระบบกักเก็บพลังงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้ครอบคลุมมากที่สุด เพื่อนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างยั่งยืนและประหยัดต้นทุน

· บริการระบบทำความเย็น (Cooling-as-a-Service) ที่นำเสนอเทคโนโลยีระบบทำความเย็นที่ออกแบบตามการใช้งานได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน ที่จะช่วยให้แต่ละอาคาร โรงงาน หรือกลุ่มอาคารขนาดเล็กสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการทำความเย็นได้อย่างเหมาะสม โดยบริการระบบทำความเย็นจะช่วยเสริมประสิทธิภาพของระบบ นำไปสู่การประหยัดพลังงานและความน่าเชื่อถือที่เพิ่มมากขึ้น

· การจัดการพลังงานแบบดิจิทัลอัจฉริยะ หรือ Green Energy Tech (GET™) นวัตกรรมโซลูชันการจัดการพลังงานที่รวมพลังของ AI เข้ากับ IoT เพื่อให้สามารถจัดการการใช้พลังงานในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมช่วยให้ธุรกิจต่างๆ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีให้กับผู้พักอาศัย และบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน

· ระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ (District Cooling System) เป็นศูนย์กลางการผลิตน้ำเย็นสำหรับเครื่องปรับอากาศ ช่วยให้เจ้าของอาคารสามารถประหยัดพลังงานและลดต้นทุนตลอดอายุการใช้งาน พร้อมช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

บูธของเอสพี กรุ๊ป ภายในงาน ThaiFex 2024 ตั้งอยู่ในโซน Fine Food ฮอลล์ 12 บูธ 50 (VV50) โดยนอกเหนือจากการจัดแสดงเทคโนโลยีและโซลูชันแล้ว นายธนภัทร ญาณโครโยธิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจของเอสพี ด้านโซลูชันและพลังงานยั่งยืน (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย) ได้เข้าร่วมเสวนาภายใต้หัวข้อ 'การปลูกฝังการเปลี่ยนแปลงและกำหนดรูปแบบระบบอาหารแห่งอนาคต' เพื่อนำเสนอความเชี่ยวชาญของ เอสพี กรุ๊ป ในด้านเทคโนโลยีและโซลูชันสีเขียว ซึ่งออกแบบมาเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม พร้อมเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของเอสพี กรุ๊ป ในด้านความยั่งยืนและการช่วยสนับสนุนในการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมไปสู่พลังงานสีเขียว

 w

นายชญาศักดิ์ อิทธิศิริ กรรมการผู้จัดการ (ประเทศไทย) เอสพี กรุ๊ป กล่าวว่า “การมีส่วนร่วมของเราที่งาน ThaiFex 2024 ตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในภาคการผลิตของประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงไปสู่พลังงานสีเขียวของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจะช่วยให้ประเทศลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมาก พร้อมช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและประหยัดต้นทุนด้านพลังงานให้กับบริษัท โดยประโยชน์เหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถบริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (ESG Risk) และยังคงสามารถแข่งขันได้ในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ความร่วมมือของเรากับบริษัทไทยชั้นนำอย่าง มาลี นับเป็นตัวอย่างที่สะท้อนถึงความสามารถและความมุ่งมั่นของ เอสพี กรุ๊ป ในการนำโซลูชันพลังงานที่ยั่งยืนและปรับขนาดได้มาปรับใช้ในอุตสาหกรรม โดยใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญและทรัพยากรระดับภูมิภาคของเรา เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายด้านประสิทธิภาพและความยั่งยืนที่ต้องการ”

เอสพีได้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาให้กับโรงงานของมาลีที่จังหวัดนครปฐมในปี 2567 การติดตั้งดังกล่าวสามารถผลิตพลังงานสะอาดได้ประมาณ 1,378 เมกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ครอบคลุมความต้องการการใช้พลังงานของโรงงานได้ประมาณร้อยละ 15 และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากถึง 700 ตันต่อปี

สำหรับการดำเนินงานของเอสพีในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน มีโครงการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ที่อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการและการก่อสร้างร่วมกับพันธมิตรหลัก อาทิ บริษัทเอเชีย คอมโพสิต แมททีเรียล (Asia Composite Material) มาลี กรุ๊ป และบริษัทสยามอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ SAICO โดยการร่วมมือกับบริษัทในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากกว่า 28,000 ตันต่อปี

นอกจากนี้ เอสพี ยังมีโครงการพลังงานแสงอาทิตย์อื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมมากกว่า 100MWp ทั่วประเทศไทย และโครงการระบบทำความเย็นแบบศูนย์รวมแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ศูนย์ราชการฯ โซนซี ด้วยความร่วมมือกับบริษัท บ้านปู เน็กซ์ (Banpu NEXT) รวมทั้งได้มีการลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยรังสิตเพื่อนำโซลูชันพลังงานแบบบูรณาการที่ยั่งยืนของเอสพีมาปรับใช้ให้ครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัย

มนุษย์เราอยู่รอดได้ด้วย 3 สิ่ง คือ อาหาร น้ำ และพลังงาน

ที่เหลือมนุษย์ล้วนผลิตขึ้นมาได้  ยิ่งพลังงานด้วยแล้ว ถ้ามีมากและใช้ให้เป็น ก็จะนำมาช่วยผลิตอาหารและน้ำได้จนเพียงพอแก่การบริโภค

 

ประเทศไทยเราโชคดีที่มีอาหารและน้ำเหลือเฟือ แต่พลังงานนั้นเป็นปัญหามาโดยตลอด 

เพราะเราต้องนำเข้าพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าส  และราคาของเหล่านี้ มักขึ้นต่อ Geopolitics หรือการเมืองของโลก  รัสเซียบุกยูเครน ราษฏรของเราก็ต้องซื้อข้าวแพงขึ้น

OPEC ลดการผลิต เราก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และปีหน้าก็ต้องเติมน้ำมันแพงขึ้นอีก

นี่ยังไม่รู้ว่าฮามาสรบกับอิสราเอล จะส่งผลระยะยาวอย่างไรต่อราคาพลังงาน

แต่เชื่อเถอะ ไม่ดีต่อเราแน่ๆ !

คงไม่เฉพาะแต่เรา ประเทศส่วนใหญ่ในโลกที่ผลิตพลังงานเองไม่ได้ หรือได้ไม่พอใช้ ย่อมต้องเจอผลกระทบทางลบทั้งสิ้น

แล้วทำไมเรายังต้องแขวนชะตากรรมของเรากับ Geopolitics แบบนี้ ซึ่งวุ่นวายอยู่ได้ด้วยน้ำมือผู้นำเพียงไม่กี่กลุ่ม และอดีตก็พิสูจน์มาแล้วว่า แหล่งพลังงานมักเป็นเป้าหมายของการรบพุ่งกัน และมันก็คงจะทำให้เกิดความขัดแย้งกันไปไม่สิ้นสุดในอนาคต

แต่ละครั้ง พวกเราก็ต้องพลอยลำบากไปด้วย เหมือนถูกเขาจับเป็นตัวประกัน ทั้งๆ ที่หาได้เกี่ยวข้องได้เสียอันใดไม่

เราต้องปลดแอก! 

เราต้องวางแผนให้การผลิตพลังงานของเราในอนาคต มีลักษณะไม่รวมศูนย์ หรือ Decentralize ตีตัวออกห่างจากการเมืองในลักษณะ Geopolitics ของโลก ซึ่งในอนาคตจะเข้มข้นขึ้นเมื่อจีนเข้ามาเป็นผู้เล่นเต็มตัว

 ทางเดียวที่จะทำได้คือต้องหันไปหาพลังงานนิวเคลียร์ เพราะมันสะอาด สอดคล้องกับการแก้ปัญหาโลกร้อน อีกทั้งยังผลิตได้ทีละมากๆ และเริ่มจะถูกลงและปลอดภัยขึ้นแล้วด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ

 

พลังงานนิวเคลียร์ที่เป็นอุดมคติคือ Nuclear Fusion ซึ่งขณะนี้มนุษย์สามารถพัฒนา Reactor ขึ้นมาได้แล้วในระดับห้องทดลองแต่ในระดับ Commercial นั้นยังต้องรอต่อไป

Nuclear Fusion Technology เป็นเทคโนโลยีของดวงอาทิตย์ เชื่อกันว่าดวงอาทิตย์เปล่งความร้อนด้วยวิธีนี้

 นั่นคือการรวมตัวของนิวเคลียสจากสองให้เหลือเพียงหนึ่ง ภายใต้อุณหภูมิที่สูงมากๆ โดยกระบวนการนี้จะเปล่งพลังงานออกมาจำนวนมากด้วย

มีการทดลองกับธาตุหลายชนิด แต่ที่น่าสนใจคือ Proton-boron (pB-11) เพราะผลลัพธ์ที่ได้ติดมาแค่ฮีเลียม (Helium) เพียง 3 นิวเคลียส ที่เหลือล้วนเป็นพลังงานสะอาด ปราศจากกากกัมมันตภาพรังสี หรือ Radioactive Waste แม้แต่น้อย

สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ในระยะห้องทดลอง แต่ก็มีพัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ ความก้าวหน้าทางด้านวัสดุศาสตร์และ AI น่าจะช่วยสร้างสนามแม่เหล็กที่สามารถควบคุมปฏิกิริยาพลาสม่าในเตาปฏิกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จนสามารถนำมาใช้งานจริงได้ในเร็ววัน

 

ส่วนพัฒนาการของ Nuclear Fission Reactor นั้น เครื่องปฏิกรณ์รุ่นใหม่ ที่เรียกว่า Third-generation Reactor ก็ได้เพิ่มระบบความปลอดภัยที่สูงมาก และการออกแบบโรงไฟฟ้าสมัยนี้ ก็คำนึงถึงอุบัติเหตุจากภัยธรรมชาติ เช่น ซึนามิและแผ่นดินไหว ซึ่งเคยทำให้เครื่องปฏิกรณ์ที่ฟูกูชิมาแตกมาแล้ว

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์รุ่น 3 อยู่ในจีนและอินเดีย จำนวนเกือบ 10 โรง  ปัจจุบันการออกแบบและผลิตเตาปฏิกรณ์โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ (Fourth-generation Reactor) เช่น sodium-cooled fast reactors (SFRs), gas-cooled fast reactors (GFRs), very high temperature reactors (VHTRs), and molten salt reactors (MSRs) ก็พบว่าทดลองแล้วได้ผลดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์แบบกระทัดรัด ที่เรียกว่า SMR (Small Modular Reactor) นั้น จะปลอดภัยยิ่งขึ้นไปอีก และจะลดต้นทุนได้มาก เพราะราคาถูกลงแยะ และผลิตได้ทีละมากๆ ขนย้ายไปติดตั้งได้ง่าย ซึ่งผู้พัฒนา (NuScale) ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ เรียบร้อยแล้ว


การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้ขับขี่รุ่นใหม่ ที่หันมาใช้รถยนต์ EV แทนรถยนต์แบบสันดาบภายใน การอุบัติขึ้นของ Generative AI ในนาม ChatGpt ส่งผลให้องค์กรทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐทั่วโลกวางแผนที่จะนำ AI มาประยุกต์ใช้กับงานของตนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน การเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์ที่ควบคุมโดย AI ในภาคการผลิตและภาคบริการ กระแสความนิยมขององค์กรภาคธุรกิจและภาครัฐต่อการเคลื่อนย้ายข้อมูลและซอฟท์แวร์ขึ้นไปอยู่บน Cloud Computer (เทรนด์นี้เรียกว่า Digital Transformation) ตลอดจนขนาดของการสร้าง เคลื่อนย้าย และจัดเก็บ ข้อมูลในยุค 5G, 6G, 7G…..

เหล่านี้ย่อมต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพราะคอมพิวเตอร์ต้องเพิ่ม หน่วยความจำและหน่วยประมวลผลต้องเพิ่ม ศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center และ จุดชาร์ตแบตเตอรี่รถยนต์และพาหนะ EV ทั้งปวง ก็ต้องเพิ่ม และจะเป็นการเพิ่มแบบก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้เสียด้วย เพราะ Adoption Rate ของ EV และ AI เพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้นและกำลังจะ Take-off

 สิ่งเหล่านี้เป็นคำตอบอยู่ในตัวว่าไทยเรายังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล และทุกข์ของเราจะไม่หมดไป ถ้ายังไม่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง

โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว / Editor in Chief _MBA magazine

09/10/2566

เชื่อว่าหลายคนคงรู้ดีอยู่แล้วว่า พลังงานสะอาดมีบทบาทสำคัญในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่จากการระบาดของโควิด-19 และวิกฤติโลกร้อนที่ยังรุนแรงขึ้น

X

Right Click

No right click