January 22, 2025

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) จัดทำ “แพลตฟอร์ม EF ปี 2567: ร่วมด้วยช่วยกันสร้างทักษะสมอง EF เด็กไทย (Platform EF: Building Brains EF Together)” ซึ่งเป็นช่องทางการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเสริมสร้างความเข้าใจในการพัฒนาเด็กด้วยทักษะสมองอีเอฟ (Executive Functions) โดยมุ่งเน้นให้ครู นักวิชาการสาธารณสุข ผู้ปกครอง และผู้สนใจทั่วไปมีโอกาสเข้าถึงสื่อการเรียนรู้และการเสวนาจากนักวิขาการผู้ทรงคุณวุฒิของไทย ที่สามารถนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงดูบุตรหลานให้เติบโตเป็น ‘คนดี’ และ ‘คนเก่ง’ ขยายผลการพัฒนาพลเมืองคุณภาพที่พร้อมจะขับเคลื่อนประเทศชาติในอนาคต

ทักษะสมองอีเอฟ (Executive Functions) เป็นการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ส่งผลเกี่ยวกับความจำ การเรียนรู้ การทำงาน (Working Memory) การควบคุมตนเอง ยับยั้งชั่งใจ (Inhibitory Control) ความยืดหยุ่น และปรับตัวแก้ปัญหาได้เอง (Cognitive Flexibility) พัฒนาได้ดีที่สุดในช่วงปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบ หากได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเหมาะสมจากครอบครัว จะทำให้เด็กเติบโตขึ้นเป็น ‘คนดี’ และ ‘คนเก่ง’ ของสังคม มีภูมิต้านทานชีวิต และป้องกันปัญหาสังคมเชิงรุก อาทิ ยาเสพติด ติดเกม ท้องก่อนวัยอันควร ปัญหาความรุนแรงต่างๆ เป็นต้น 

รศ. นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “สถาบันมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและความร่วมมือในการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัว เพื่อนำไปสู่สังคมที่เป็นธรรมและยั่งยืน ผ่านการใช้ประโยชน์จากการวิจัยวิชาการ รวมทั้งสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ สุขภาพ และปลอดภัยที่เหมาะสมกับเด็ก นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่องค์ความรู้ในวงกว้างและขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่สังคมทั้งในภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการวางนโยบายการพัฒนาเยาวชนให้เติบโตด้วย EF ซึ่งเป็นทักษะที่ช่วยให้เด็กมีการควบคุมอารมณ์ ความคิด และการกระทำที่เป็นไปตามเป้าหมาย และมุ่งสู่พฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ เกิดความเข้าใจและการเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อเด็กและสังคมในอนาคต”

นางภรณี กองอมรภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า “Dow เป็นบริษัทวิทยาศาสตร์ที่มีความเชื่อมั่นในการพัฒนาทักษะสมองของเยาวชนให้เป็นคนดีและคนเก่ง ซึ่งจะนำไปสู่การป้องกันปัญหาสังคมและส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของคนไทยในอนาคต เราจึงดำเนินโครงการ ดาว-อีเอฟ พัฒนาเยาวชนสู่ความสำเร็จ เพื่อพัฒนาสมองส่วนหน้าของเยาวชนไทยมาตลอด 9 ปี โดยเริ่มต้นที่จังหวัดระยอง ตั้งแต่ปี 2559 และขยายผลสำเร็จสู่กรุงเทพมหานครในปีที่ผ่านมา เราจึงมีความยินดีที่ได้ร่วมสนับสนุนร่วมกับสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ในการจัดทำแพลตฟอร์มการเรียนรู้ EF แบบออนไลน์ เพื่อเปิดโอกาสและขยายองค์ความรู้ในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานให้เป็นคนดีและคนเก่งตามแนวทาง EF ให้กับผู้ปกครองและคุณครูทั่วประเทศที่สนใจ ซึ่งจะช่วยสร้างเยาวชนที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาประเทศไทยต่อไป”

แพลตฟอร์ม EF ปี 2567 ร่วมด้วยช่วยกันสร้างทักษะสมอง EF เด็กไทย จะมีกิจกรรมและการอบรมฟรีจากนักวิขาการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในรูปแบบ online และ on-site เดือนละ 1 ครั้ง รวม 12 หัวข้อ โดยเน้นไปที่การพัฒนาทักษะ EF สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 1,000 คนต่อครั้ง หรือตลอดปีไม่น้อยกว่า 12,000 คนทั่วประเทศ ท่านที่สนใจสามารถสมัครเรียนฟรีผ่านระบบสมาชิกเครือข่ายของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวได้ หรือดูงานเสวนาย้อนหลังได้ที่ https://nicfd-member.mahidol.ac.th/course/detail/275  หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่ม Line “แพลตฟอร์ม EF

 สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) จัดทำ “แพลตฟอร์ม EF ปี 2567: ร่วมด้วยช่วยกันสร้างทักษะสมอง EF เด็กไทย (Platform EF: Building Brains EF Together)” ซึ่งเป็นช่องทางการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเสริมสร้างความเข้าใจในการพัฒนาเด็กด้วยทักษะสมองอีเอฟ (Executive Functions) โดยมุ่งเน้นให้ครู นักวิชาการสาธารณสุข ผู้ปกครอง และผู้สนใจทั่วไปมีโอกาสเข้าถึงสื่อการเรียนรู้และการเสวนาจากนักวิขาการผู้ทรงคุณวุฒิของไทย 

ทักษะสมองอีเอฟ (Executive Functions) เป็นการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ส่งผลเกี่ยวกับความจำ การเรียนรู้ การทำงาน (Working Memory) การควบคุมตนเอง ยับยั้งชั่งใจ (Inhibitory Control) ความยืดหยุ่น และปรับตัวแก้ปัญหาได้เอง (Cognitive Flexibility) พัฒนาได้ดีที่สุดในช่วงปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบ หากได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเหมาะสมจากครอบครัว จะทำให้เด็กเติบโตขึ้นเป็น ‘คนดี’ และ ‘คนเก่ง’ ของสังคม มีภูมิต้านทานชีวิต และป้องกันปัญหาสังคมเชิงรุก อาทิ ยาเสพติด ติดเกม ท้องก่อนวัยอันควร ปัญหาความรุนแรงต่างๆ เป็นต้น

รศ. นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “สถาบันมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและความร่วมมือในการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัว เพื่อนำไปสู่สังคมที่เป็นธรรมและยั่งยืน ผ่านการใช้ประโยชน์จากการวิจัยวิชาการ รวมทั้งสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ สุขภาพ และปลอดภัยที่เหมาะสมกับเด็ก นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่องค์ความรู้ในวงกว้างและขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่สังคมทั้งในภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการวางนโยบายการพัฒนาเยาวชนให้เติบโตด้วย EF ซึ่งเป็นทักษะที่ช่วยให้เด็กมีการควบคุมอารมณ์ ความคิด และการกระทำที่เป็นไปตามเป้าหมาย และมุ่งสู่พฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ เกิดความเข้าใจและการเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อเด็กและสังคมในอนาคต”

นางภรณี กองอมรภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า “Dow เป็นบริษัทวิทยาศาสตร์ที่มีความเชื่อมั่นในการพัฒนาทักษะสมองของเยาวชนให้เป็นคนดีและคนเก่ง ซึ่งจะนำไปสู่การป้องกันปัญหาสังคมและส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของคนไทยในอนาคต เราจึงดำเนินโครงการ ดาว-อีเอฟ พัฒนาเยาวชนสู่ความสำเร็จ เพื่อพัฒนาสมองส่วนหน้าของเยาวชนไทยมาตลอด 9 ปี โดยเริ่มต้นที่จังหวัดระยอง ตั้งแต่ปี 2559 และขยายผลสำเร็จสู่กรุงเทพมหานครในปีที่ผ่านมา เราจึงมีความยินดีที่ได้ร่วมสนับสนุนร่วมกับสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ในการจัดทำแพลตฟอร์มการเรียนรู้ EF แบบออนไลน์ เพื่อเปิดโอกาสและขยายองค์ความรู้ในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานให้เป็นคนดีและคนเก่งตามแนวทาง EF ให้กับผู้ปกครองและคุณครูทั่วประเทศที่สนใจ ซึ่งจะช่วยสร้างเยาวชนที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาประเทศไทยต่อไป”

แพลตฟอร์ม EF ปี 2567 ร่วมด้วยช่วยกันสร้างทักษะสมอง EF เด็กไทย จะมีกิจกรรมและการอบรมฟรีจากนักวิขาการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในรูปแบบ online และ on-site เดือนละ 1 ครั้ง รวม 12 หัวข้อ โดยเน้นไปที่การพัฒนาทักษะ EF สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 1,000 คนต่อครั้ง หรือตลอดปีไม่น้อยกว่า 12,000 คนทั่วประเทศ ท่านที่สนใจสามารถสมัครเรียนฟรีผ่านระบบสมาชิกเครือข่ายของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวได้ หรือดูงานเสวนาย้อนหลังได้ที่ https://nicfd-member.mahidol.ac.th/course/detail/275 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่ม Line “แพลตฟอร์ม EF”

นายรังสรรค์ เพ็งพันธ์ (ที่ 3 จากซ้าย) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานธรณีศาสตร์และการสำรวจ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. และ ผศ.ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ (ที่ 4 จากซ้าย) รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ภายใต้โครงการ PTTEP Subsurface University Energy Connect เพื่อพัฒนางานวิจัยทางวิชาการด้านธรณีศาสตร์ วิศวกรรมปิโตรเลียม สร้างบุคลากรด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รวมถึงการหาแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน หรือ CCS (Carbon Capture and Storage) เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศไทย สู่เป้าหมายสังคมคาร์บอนต่ำ พิธีลงนามจัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี

ภายใต้โครงการ PTTEP Subsurface University Energy Connect ปตท.สผ. ได้ลงนามความร่วมมือกับหลายสถาบันการศึกษา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีเป้าหมายจะขยายความร่วมมือดังกล่าวไปยังมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ต่อไป

สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล และ สยามจุลละมณฑล ผู้จัดงาน “45 ปี ซีไรต์มาไกลมาก” เชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมประกวดโปสเตอร์นิทรรศการ 45 ปี ซีไรต์มาไกลมาก ภายใต้แนวคิด “ซีไรต์ใน “ภาพจำ” กับ “จินตนาการ” ของฉัน” เพื่อสะท้อนความรู้สึกและความคิดเห็นในฐานะผู้อ่านที่มีต่อวรรณกรรมรางวัลซีไรต์ตลอด 45 ปีที่ผ่านมา รวมถึงความมุ่งหวังที่ต้องการเห็นพัฒนาการของวรรณกรรมรางวัลซีไรต์ที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต โดยสามารถสมัครและส่งผลงานได้แล้วตั้งแต่วันนี้ - 30 มิถุนายน 2566 ที่ https://forms.gle/Kcbc581XCNZkvjQu5

การประกวดแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทบุคคล และ ประเภททีม ประกอบไปด้วยกลุ่มเด็ก-เยาวชน และกลุ่มประชาชนทั่วไป ผู้สนใจสามารถสมัครได้โดยไม่จำกัดอายุและอาชีพ โดยต้องส่งผลงานในรูปแบบภาพนิ่ง (A3) โปสเตอร์ ไฟล์นามสกุล JPG, PNG ฯลฯ จำนวน 1 ไฟล์ และไฟล์ต้นฉบับนามสกุล AI, PSD, PPT ฯลฯ จำนวน 1 ไฟล์

ความละเอียดไม่ต่ำกว่า 300 dpi โดยระบุชื่อ-นามสกุล สถานศึกษา (ถ้ามี) ช่องทางการติดต่อ พร้อมคำอธิบายที่สื่อถึงแนวคิดของโปสเตอร์นิทรรศการฯ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ที่อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ระบุหัวเรื่อง: ส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรม 45 ปีซีไรต์ (นิทรรศการ)

โดยคณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกผลงานที่ผ่านเข้ารอบ เพื่อจัดแสดงผ่านช่องทางออนไลน์ที่ www.siamclmt.com และ Facebook Page : สยามจุลละมณฑล พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมโหวตโปสเตอร์ที่เข้าประกวดได้ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2566 ถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2566 โดย 20 ผลงานที่ได้รับการโหวตสูงสุดทางออนไลน์จะถูกนํามาจัดแสดงในงานกิจกรรมพิเศษ 45 ปี ซีไรต์มาไกลมาก และประกาศผลผู้ได้รับคะแนนโหวตสูงสุด 3 อันดับแรกของแต่ละประเภทในวันที่ 27 สิงหาคม 2566 พร้อมร่วมพิธีมอบเกียรติบัตรและเงินรางวัล ในวันเดียวกัน ซึ่งรางวัลชนะเลิศมีทั้งหมด 4 รางวัล ได้แก่ ประเภทบุคคล และ ประเภททีม ในกลุ่มเด็กและเยาวชน และ กลุ่มประชาชนทั่วไป

กิจกรรมการประกวดโปสเตอร์นิทรรศการฯ เป็นหนึ่งในกิจกรรมของการจัดงาน “45 ปีซีไรต์มาไกลมาก” ในโอกาสที่รางวัลซีไรต์เดินทางมาครบ 45 ปี โดยต้องการปลุกกระแสแวดวงวรรณกรรมไทยและอาเซียนให้กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง พร้อมดึงเยาวชนและนักอ่านรุ่นใหม่ให้สร้างงานเขียนและการอ่านอย่างมีคุณค่า เพื่อพัฒนาศักยภาพพัฒนาความคิดและการเติบโตทางสังคม ซึ่งการจัดงานฯ มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม2566 สำหรับการจัดงาน “45 ปี ซีไรต์มาไกลมาก” ได้รับความร่วมมือจากสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ธนาคารออมสิน และแอปพลิเคชันสอบติดจูเนียร์

ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดงาน “45 ปีซีไรต์มาไกลมาก” สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.siamclmt.com, Facebook: สยามจุลละมณฑล, Line Oa: @siamclmt หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.063-451-9359, 061-519-3641, 092-425-5229

 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน ผนึกกำลังจัดงาน SCGC-Mahidol Science Symposium: “Healthcare, Well-being & Sustainability” เดินหน้าความร่วมมือสร้างสรรค์งานวิจัยเชิงพาณิชย์ ผลักดันนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และความยั่งยืนให้กับผู้คนทั้งในประเทศไทยและระดับสากล

ตอบรับเมกะเทรนด์ ภายในงานได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ Research and Innovation for the Future Materials โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข พญาไท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีทีมผู้บริหารจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์ วราภรณ์ รองคณบดี และ ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี พร้อมทั้งทีมผู้บริหารจาก SCGC นายนิวัฒน์ อธิวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการเทคโนโลยี SCGC และ ดร.สุเมธ เจริญชัยเดช หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนา SCGC เข้าร่วมงาน

 

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ SCGC ได้ร่วมมือทางวิชาการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งได้จัดตั้ง “ศูนย์วิจัยนวัตกรรม SCG-MUSC Innovation Research Center” ขึ้นในปี 2562 ณ อาคารเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาพอลิเมอร์ชนิดพิเศษ โดยใช้องค์ความรู้ในศาสตร์เคมีเชิงลึกของมหาวิทยาลัยมหิดล ประสานกับเทคโนโลยีชั้นนำระดับสเกลอัปเชิงอุตสาหกรรมของ SCGC เพื่อต่อยอดในการสร้างวัสดุและผลิตภัณฑ์แห่งอนาคต

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการขยายขอบเขตความร่วมมือให้ครอบคลุมถึงนวัตกรรมด้านสุขภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Healthcare & Well-being) และความยั่งยืน (Sustainability) โดยยังคำนึงถึงหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ขาดแคลนทรัพยากร ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมเคมี รวมถึงส่งเสริม Open Innovation ผ่านความร่วมมือของสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน (Public-Private Partnership) ที่ประสานความเข้มแข็งขององค์กรพันธมิตรเข้าด้วยกัน เพื่อร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับเมกะเทรนด์โลก นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างผู้เชี่ยวชาญและนวัตกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ เพื่อคิดค้นนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

 

ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC กล่าวว่า “ SCGC มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเคมีภัณฑ์เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง โดยนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนและเมกะเทรนด์มาเป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการ โดย SCGC ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนนวัตกรรมผ่านการสร้างเครือข่ายด้าน R&D กับองค์กรและสถาบันชั้นนำทั้งในประเทศและระดับโลก เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA (High Value Added Products & Services) อย่างต่อเนื่อง สำหรับการลงนามความร่วมมือด้าน “Research and Innovation for the Future Materials” ระหว่าง SCGC กับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในครั้งนี้ เป็นการยกระดับและขยายกรอบการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ครอบคลุมทั้งหมด 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) การวิจัยพัฒนาพอลิเมอร์ชนิดพิเศษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาสารประกอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาให้ครอบคลุมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Green Polymer โดยเน้นโซลูชัน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ Reduce, Recyclable, Recycle, Renewable 2) การวิจัยพัฒนาสินค้านวัตกรรมเพื่อสุขภาพ มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ให้มีความสะดวกสบายขึ้น และป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและโรคอุบัติใหม่ และ 3) การวิจัยพัฒนาเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่การลดของเสียและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี รวมถึงการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรงให้เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี หรือการนำสารตั้งต้นที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นต์ต่ำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ”

 

รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี กล่าวว่า “การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ รวมถึงการลงนามต่ออายุข้อตกลงความร่วมมือ จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นระหว่างบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด มหาชน (SCGC) และ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมงานวิจัยที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจ และส่งเสริมงานวิจัยเชิงพาณิชย์ให้กับประเทศไทย ซึ่งเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในระดับสากล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เรามีอาจารย์และนักวิจัย ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยที่หลากหลาก โดยเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ตรงกับความต้องการของ

ภาคเอกชน กิจกรรมครั้งนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเพิ่มขยายความร่วมมือไปในด้านอื่น ๆ อาทิ ด้านนวัตกรรมด้านสุขภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Healthcare & Well-being) และความยั่งยืน (Sustainability) ทั้งยังเป็นโอกาสอันดีที่ในการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมของบุคลากรและนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียนและเมกะเทรนด์โลก และแลกเปลี่ยนมุมมองทางด้านงานวิจัยและนวัตกรรมต่าง ๆ กับทีมนักวิจัยของ SCGC เพื่อหารือต่อยอดความร่วมมือนำไปสู่การทำวิจัยร่วม รวมถึงการให้ทุนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนั้น ยังเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรและนักศึกษาได้พัฒนาแนวคิดต่อยอดสู่การผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ด้วย”

นอกจากนี้ ภายในงาน SCGC-Mahidol Science Symposium: “Healthcare, Well-being & Sustainability” ยังมีการ หารือต่อยอดความร่วมมือทางการวิจัยและนวัตกรรมระหว่างทีมนักวิจัยของ SCGC และคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ เคมี, เทคโนโลยีชีวภาพ, ฟิสิกส์, ชีวเคมี, วัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ, ยางและพอลิเมอร์, เภสัชวิทยา, สรีรวิทยา, กายวิภาคศาสตร์ รวมทั้งได้มีการนำเสนองานวิจัยต่างๆ เช่น การตรวจหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ, การนำส่งยา, เอนไซม์, วัสดุและเซนเซอร์ ฯลฯ พร้อมเดินหน้าหารือความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกับทีมนักวิจัยจาก SCGC อย่างเข้มข้น รวมถึงการให้ทุนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาอีกด้วย

Page 1 of 4
X

Right Click

No right click