เพราะ “ตับ” เปรียบเสมือนหัวใจที่ 2 ของร่างกาย เป็นศูนย์กลางการทำงานของร่างกายและต้องทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา หากสุขภาพตับไม่ดี สุขภาพของเราก็จะไม่ดีตามไปด้วย
จากกรณีศึกษาขององค์กรด้านการแพทย์และสุขภาพในปัจจุบัน ค้นพบดัชนีด้านสุขภาพและสุขภาวะของคนไทยที่เปลี่ยนไปและอยู่ในเกณฑ์ที่น่ากังวล ข้อมูลจาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า “ประชากรไทยกว่า 71 ล้านคน มีผู้ที่ป่วยเป็นไขมันพอกตับโดยไม่รู้ตัว สูงถึง 25-30% หรือราวๆ 1 ใน 3 ของประชากรทั่วประเทศ ส่งผลให้หลายคนต้องเผชิญกับภัยร้ายจากโรคตับ” สอดคล้องกับข้อมูลทางสถิติ โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. พบว่า “มะเร็งตับ กลายเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย และมีอัตราเสียชีวิตสูงถึง 16,000 คนต่อปี” ซึ่งพบว่าผู้ป่วยเหล่านี้มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่สนใจต่อ “สุขภาพตับ” ปล่อยให้ตับพังขาดการดูแล อันมาจากหลายปัจจัย เช่น การกินอาหารที่มีไขมันสูง การกินอาหารที่มีรสหวานและน้ำตาลสูง การกินอาหารที่มากเกินความต้องการของร่างกายจนเกิดภาวะอ้วน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่และได้รับควันบุหรี่มือสองอย่างเป็นประจำ จากลักษณะดังกล่าว คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีข้อสรุปจากงานวิจัยพบว่า “ผู้ที่เป็นมะเร็งตับ ส่วนใหญ่พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงสูงถึง 2-5 เท่า ซึ่งมาจากการขาดวินัยในการดูแลสุขภาพอย่างจริงจัง”
พญ.ณัฐธิดา ศรีบัวทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ได้แชร์ความรู้เรื่องของสุขภาพตับและระดับอาการของโรคตับที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ “โรคตับเป็นโรคที่พบมากขึ้นกับคนไข้ในปัจจุบัน อาการป่วยที่เกี่ยวกับโรคของตับมีอยู่หลายระดับ ซึ่งผู้ป่วยบางรายแทบไม่รู้ตัว หรือรู้ตัวช้าในตอนที่ร่างกายทรุดหนักแล้ว ซึ่งบางเคสก็อยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง โดยคนปกติที่มี ‘สุขภาพตับดี’ ตับจะมีผิวเรียบ สีชมพู และไม่มีแผลเป็น ซึ่งเมื่อมีไขมันสะสมอยู่ในเซลล์ตับ จุดนี้จะถือว่า เข้าสู่ภาวะ ‘ไขมันพอกตับ’ จากนั้น หากยังไม่ดูแลสุขภาพหรือได้รับการรักษา จนมีการอักเสบและก่อให้เกิดพังผืด ไปสู่เนื้อเยื่อตับสูญเสียหน้าที่ถาวร ถือว่าเข้ามาสู่ภาวะ ‘ตับอักเสบ’ และหนักไปกว่านั้น เมื่อตับมีลักษณะขรุขระเต็มไปด้วยปุ่ม เซลล์ตับได้ถูกทำลาย นี่คืออาการของภาวะ ‘ตับแข็ง’ และเคสที่หนักที่สุดคือ ‘มะเร็งตับ’ เซลล์ตับมีการแบ่งตัวและ เพิ่มจำนวนอย่างผิดปกติ ทำให้การรักษาผู้ป่วยนั้นเป็นไปได้ยาก ยิ่งสุขภาพตับพังมากเท่าไหร่ เมื่อได้รับการฟื้นฟูช้า ก็ทำให้การรักษาเป็นสิ่งที่หมอต้องทำการบ้านอย่างหนักมากขึ้น ทางที่ดีอยากให้ผู้ที่มีร่างกายปกติและผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับหันมาดูแลสุขภาพของตนเอง รวมถึงหมั่นตรวจสุขภาพร่างกายและตับอย่างเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อทราบแนวทางดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงยาวนาน”
“นิวทริไลท์” จาก แอมเวย์ ผู้นำตลาดวิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ดูแลผู้คนทั่วโลกมา 90 ปี ตระหนักและพร้อมผลักดันให้ผู้คนได้มีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี ได้เล็งเห็นถึงปัญหาสุขภาพตับของประชากรไทยที่ต้องเผชิญ จึงขอแนะนำวิธีดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคตับภัยร้ายใกล้ตัว มีทั้งหมด 7 ข้อ ดังนี้
1. เลือกรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปและอาหารปรุงแต่ง
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
3. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4. หลีกเลี่ยงการซื้อยากินเอง รวมถึงอาหารเสริมที่ไม่มีแหล่งที่น่าเชื่อถือมากพอ
5. หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารหวาน การกินอาหารที่มากเกินความต้องการของร่างกาย
6. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี โดยการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไม่ใช้เข็มฉีดยาหรือของมีคมร่วมกับผู้อื่น
7. เลือกกินอาหารหรือสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการดูแลตับ เช่น ‘สารสกัดจากบรอกโคลี’ ‘สารสกัดจาก ชะเอมเทศ’ และ ‘สารสกัดจากเมล็ดองุ่น’ ที่มีส่วนช่วยกำจัดสารพิษ ช่วยลดการอักเสบและการเกิดพังผืด ช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลินของเซลล์ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและปกป้องเซลล์ตับจากการถูกทำลาย รวมถึง ‘เลซิติน’ ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่พบได้ในไข่แดง ถั่ว ถั่วเหลือง นม เมล็ดทานตะวัน ตับ เนื้อสัตว์ บริวเวอร์ยีสต์ และอื่นๆ มีส่วนช่วยในการลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ลดความดันโลหิต และมีส่วนช่วยในการลดการอักเสบของตับจากไขมันพอกตับได้
ทั้งนี้ การดูแลสุขภาพและสุขภาวะให้เกิดบาลานซ์ที่ดี เริ่มตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำวัน การเคลื่อนไหวร่างกาย การออกกำลังกาย การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม ควบคู่การทานวิตามินหรือผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารที่มีคุณภาพและจำเป็นต่อร่างกาย จะทำให้ทุกคนมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ห่างไกลจากโรคร้ายอย่างปัญหาไขมันพอกตับและปัญหาที่มาจากโรคของตับได้ไม่ยาก
อีกก้าวของคนไทยสร้างนวัตกรรมพิชิตมะเร็งเพื่อมนุษยชาติ ตอบโจทย์แนวเศรษฐกิจ BCG และหนุนการก้าวเป็นเมดิคัลฮับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คิดค้น นวัตกรรม ‘อนุภาคคาร์บอนเรืองแสง’ จากสารชีวพอลิเมอร์ทะลายปาล์ม เพื่อส่งยารักษามะเร็งลำไส้แบบมุ่งเป้า (Synthesis of Fluorescent Carbon Dots Derived From Palm Empty Fruit Bunch For The Targeted Delivery of Anti-Cancer)
ดยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Nature.com ชูธงนาโนเทคโนโลยีผสานวิศวกรรมเคมีขั้นสูงและชีวพอลิเมอร์ที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกายรศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โรคมะเร็งถือเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นของประชากรที่มีอายุต่ํากว่า 70 ปี โดยในปี 2018 พบจํานวนผู้ป่วยใหม่ทั่วโลกมากถึง 18 ล้านคน ส่วนประเทศไทยมีผู้ป่วยใหม่ปีละ 1.4 แสนคน และเสียชีวิตปีละกว่า 8 หมื่นคน โดยมี 5 โรคมะเร็งที่คร่าชีวิตสูงสุด คือ มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม การวิจัยพัฒนานวัตกรรมของคนไทยนี้เป็นที่น่าภาคภูมิใจและได้รับความสนใจจากนานาประเทศโดยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก Nature.com ทั้งนี้ทีมนักวิจัยไทย 5 คน ประกอบด้วย รศ.ดร.จุฬารัตน์ ศักดารณรงค์ หัวหน้าโครงการวิจัย ดร.สุธิดา บุญสิทธิ์ ดร.สาคร ราชหาด อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อมรรัตน์ แสงจันทร์ นักศึกษา ป.โท สาขาวิศวกรรมเคมี ม.มหิดล และ ดร.กนกวรรณ ศันสนะพงษ์ปรีชา หน่วยปฏิบัติการเวชศาสตร์นาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สนง.พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนโดยทุนอัจฉริยภาพนักวิจัยรุ่นกลาง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
รศ.ดร.จุฬารัตน์ ศักดารณรงค์ หัวหน้าโครงการวิจัย อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงที่มาของงานวิจัยว่า วิธีการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันมีหลายวิธี อาทิ การผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออก การฉายรังสีบําบัด และเคมีบําบัดซึ่งยังมีข้อด้อย เนื่องจากสารออกฤทธิ์ที่กว่าจะไปถึงเป้าหมายจะเหลือปริมาณตํ่า จึงต้องใช้ยาในปริมาณที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติ ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงต่างๆ เราจึงมีแนวคิดในการพัฒนา ’นาโนเทคโนโลยี’ สำหรับการรักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้า โดยใช้ ‘อนุภาคนาโน’ เป็นวัสดุในการนำส่งยาต้านมะเร็ง (Drug Delivery) สู่เซลล์เป้าหมาย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาที่ได้รับความสนใจอย่างมาก จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่าอนุภาคคาร์บอน (Carbon Dots) มีคุณสมบัติความเข้ากันได้ทางชีวภาพ ความเป็นพิษต่ำ มีความสามารถในการละลายน้ำสูง พื้นที่ผิวสูง ปรับปรุงหมู่ฟังก์ชันพื้นผิวได้ง่าย มีขนาดเฉลี่ยต่ำกว่า 10 นาโนเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสม สามารถเคลื่อนที่เข้าไปในเซลล์ได้ดี และมีคุณสมบัติในการเรืองแสงหลายสีตามหมู่ฟังก์ชันที่ดัดแปลงซึ่งจะช่วยติดตามการบำบัดรักษาได้ว่ายาอยู่ส่วนไหนของร่างกาย
ทีมวิจัยจึงคิดค้น นวัตกรรม ‘อนุภาคคาร์บอนเรืองแสงจากสารชีวพอลิเมอร์ทะลายปาล์ม เพื่อส่งยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า’ ซึ่งการใช้อนุภาคคาร์บอน ที่เป็นวัสดุนาโน ในการนําส่งยาเข้าสู่ร่างกาย เพื่อเข้าไปขัดขวางและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง รวมถึงจํากัดบริเวณเพื่อให้ยาออกฤทธิ์เฉพาะที่อย่างแม่นยำ ซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อเซลล์ปกติโดยรอบได้ และลดผลข้างเคียงจากการรักษาได้ สำหรับการสังเคราะห์อนุภาคคาร์บอนได้ทดลองพัฒนาด้วยหลากหลายกระบวนการ ในที่สุดทีมวิจัยได้เลือกใช้กระบวนการไฮโดรเทอมัล คาร์บอไนเซชัน เนื่องจากมีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ มีศักยภาพในการขยายขนาดในภาคอุตสาหกรรม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และง่ายต่อการสังเคราะห์อนุภาคคาร์บอนใหม่ๆ จากสารตั้งต้นอื่นๆในอนาคต อาทิ เปลือกส้ม เปลือกมะม่วง ฟางข้าว นม สาหร่าย กรดซิตริค กรดโฟลิค ยูเรีย กลีเซอรอล เป็นต้น รวมทั้งใช้พลังงานต่ำและไม่ต้องปรับสภาพหรืออบแห้งชีวมวล
จุดเด่นของการสังเคราะห์อนุภาคคาร์บอนจากทะลายปาล์ม ซึ่งเป็นวัสดุระดับนาโนจากชีวมวลเหลือจากอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันนำมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าทางอุตสาหกรรมการแพทย์ โดยนำมาเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมการ
ผลิตอนุภาคคาร์บอน ทั้งนี้โครงสร้างหลักของทะลายปาล์ม คือกลุ่มของลิกโนเซลลูโลส (Lignocellulose) ที่ประกอบด้วยเซลลูโลส (Cellulose) 35-50% เฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) 20-35% และลิกนิน (Lignin) 10-25% ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการปรับสภาพและแยกองค์ประกอบจะเป็นอนุภาคคาร์บอนที่ดี
รศ.ดร.จุฬารัตน์ ศักดารณรงค์ กล่าวสรุปผลวิจัยว่า อนุภาคคาร์บอน (Carbon Dots) ที่ผลิตจากกระบวนการนี้จะเป็นสารละลายสีน้ำตาล จากการศึกษาพบว่าเมื่อนำอนุภาคคาร์บอนมากระตุ้นด้วยแสง UV จะให้ผลได้ควอนตัม และคุณสมบัติในการเรืองแสงสูงสุด ในกระบวนการนำส่งยาต้านมะเร็งสู่เซลล์มะเร็งเป้าหมาย จึงได้ทำปฏิกิริยาการเชื่อมโยงหมู่ฟังก์ชัน COOH บนอนุภาคคาร์บอนเข้ากับหมู่ OH ของโมเลกุลพอลิเอทิลีนไกลคอลที่ขนาดโมเลกุลต่างๆ และ NH2 ของยาต้านมะเร็ง ได้แก่ Doxorubicin จากนั้น การนำส่งยาจะถูกทดสอบกับเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองเปรียบเทียบกับเซลล์ปกติ ด้วยนาโนเทคโนโลยีการเชื่อมขวางอนุภาคคาร์บอนเข้ากับ ’โปรตีนจำเพาะ’ ซึ่งจะไปต่อเข้ากับ ‘ตัวรับ’ หรือ ‘รีเซ็ปเตอร์’ ของเซลล์มะเร็ง เพิ่มประสิทธิภาพการนำส่งยาเข้าสู่เป้าหมายได้แม่นยำ ในอนาคตจะนำไปสู่การทดลองกับสัตว์และมนุษย์ต่อไป
ประโยชน์ของนวัตกรรม ‘อนุภาคคาร์บอนเรืองแสงจากสารชีวพอลิเมอร์ทะลายปาล์ม เพื่อส่งยารักษามะเร็งลำไส้แบบมุ่งเป้า’ เพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีอัตราผู้ป่วยสูง เช่น มะเร็งลำไส้ ลดเวลาจากการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเคมีบำบัดแบบดั้งเดิม โดยเพิ่มทางเลือกในการรักษาด้วย ‘เคมีบำบัดแบบมุ่งเป้า’ ต้นทุนต่ำ และมีราคาถูก ไม่มีพิษต่อร่างกาย ลดความเหลื่อมล้ำช่วยให้ประชากรในประเทศสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพได้ทั่วถึง ส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตจากวัตถุดิบการเกษตรที่มีในประเทศ ลดการนำเข้าวัสดุนำส่งยาที่มีราคาแพง ตลอดจนโอกาสต่อยอดในอุตสาหกรรมการแพทย์และส่งเสริมประเทศไทยก้าวเป็นเมดิคัลฮับ โดยสอดคล้องกับแนวทาง BCG ของประเทศไทยและกลุ่มภูมิภาค APEC อีกด้วย
นับเป็นความหวังและทางเลือกใหม่ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งในไทยและเพื่อนมนุษย์
มูลนิธิรักษ์ตับ ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคมะเร็ง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และมูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง ได้จัดงาน Voice of Liver 2022: #ฟังเสียงตับรับมือมะเร็ง ครั้งที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้และเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งตับให้แก่คนไทย รวมไปถึงเพื่อเผยแพร่และรายงานการศึกษา “ต่อชีวิตผู้ป่วยมะเร็งตับ…ยกระดับเส้นทางการรักษา (Surviving Liver Cancer - Improving the Disease Journey)” ที่สะท้อนความต้องการและอุปสรรคต่างๆ ที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งเซลล์ตับต้องเผชิญ รวมถึงเสียงของผู้ให้บริการทางการแพทย์ทีี่เล็งเห็นโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ในรายงานการศึกษาดังกล่าวยังประกอบด้วยข้อเสนอแนะ ซึ่งอาจเป็นแนวทางแก่ผู้กำหนดนโยบายที่ช่วยขยายโอกาสการเข้าถึงการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเซลล์ตับ นอกจากนี้ ตัวแทนหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อีกทั้งผู้ป่วยโรคมะเร็งเซลล์ตับยังให้เกียรติมาร่วมกันเสวนาหาทางออก เพื่อเพิ่มโอกาสการรักษาและสร้างความยั่งยืนด้านการรับมือกับโรคมะเร็งเซลล์ตับในระยะยาว
โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตราโรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางโรคมะเร็งแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สร้างนวัตกรรมอุทิศต่อสังคม : “ชุดทดสอบโรคพยาธิใบไม้ตับและโรคพยาธิเส้นด้ายในคนแบบรวดเร็ว ช่วยผู้ป่วยให้รอดชีวิต” ณ ห้องประชุมสารสิน ตึกสิริคุณากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดนวัตกรรม “ชุดทดสอบโรคพยาธิใบไม้ตับและชุดทดสอบโรคพยาธิเส้นด้ายแบบรวดเร็ว” ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะนักเทคนิคการแพทย์ ที่จะนำชุดทดสอบโรคฯ ดังกล่าวไปใช้ใน รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตลอดจน นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย นำไปใช้ประโยชน์
การคิดค้นครั้งนี้ มีที่มาจากในแต่ละปีโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี เป็นปัญหาคร่าชีวิตคนไทยโดยเฉพาะชาวอีสานอัตราสูงสุดของโลก มีประชากรอีสานที่เสียชีวิตจากมะเร็งท่อน้ำดี ปีละกว่าสองหมื่นคน จำนวนกว่า 6 ล้านคน ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ จากการบริโภคอาหารโดยเฉพาะก้อยปลาที่มีระยะติดต่อของพยาธิใบไม้ การติดพยาธิซ้ำหลายครั้งร่วมกับปัจจัยก่อมะเร็งอื่น ทำให้เกิดการอักเสบของท่อน้ำดีจนเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี ที่ผ่านมารัฐต้องสูญเสียงบประมาณไปกับการรักษาพยาบาลจำนวนมาก ในขั้นตอนการตรวจคัดกรองเพื่อติดตามหาผู้ติดเชื้อพยาธิ โดยการตรวจอุจจาระ ต้องใช้บุคลากรนักปรสิตที่น่าเชื่อถือและใช้เวลานานต้องการ และในรายที่ติดเชื้อเรื้อรังไม่สามารถตรวจพบไข่พยาธิในอุจจาระได้ นอกจากนี้การตรวจคัดกรองด้วยอัลตร้าซาวน์ตับในบุคคลกลุ่มเสี่ยงก็มีค่าใช้จ่ายสูง
ชุดทดสอบโรคพยาธิใบไม้ตับในคนนี้ ผลิตด้วยมาตรฐาน ISO 13485 ถือเป็น นวัตกรรมชุดทดสอบแบบรวดเร็วที่ทันสมัยชุดแรกของโลก ใช้วินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ตับทั้งชนิดโอพิสทอร์คิส วิเวอรินี่ ที่พบในคนไทย และชนิดคลอนอร์คิส ไซเนนสิส ที่พบในจีน เกาหลี และเวียดนาม ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “แลทเทอรัลโฟลว์” (Lateral flow) คล้ายชุดตรวจการตั้งครรภ์ ที่ใช้ตรวจหาแอนติบอดีในน้ำเลือด (ซีรั่ม) ของคน ซึ่งใช้งานง่าย สะดวก อ่านผลด้วยตาเปล่า ณ จุดทดสอบ ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือราคาแพง บุคลากรในห้องปฏิบัติการทั่วไปสามารถใช้ชุดทดสอบได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง