November 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

งานวิจัยโดย The Circulate Initiative ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ดำเนินการเพื่อแก้ปัญหามลพิษจากพลาสติกในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ได้เผยข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างการกำจัดขยะพลาสติกและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย

รายงานเรื่อง "ประโยชน์ในด้านสภาพภูมิอากาศจากการกำจัดขยะในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" รายงานถึงศักยภาพของการลงทุนเพื่อกำจัดและรีไซเคิลขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพใน 6 ประเทศของภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอ้างอิงข้อมูลล่าสุดจากเครื่องมือคำนวณวงจรชีวิตพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (PLACES) ฉบับล่าสุดที่จัดทำโดย The Circulate Initiative ซึ่งเป็นการคำนวณเพื่อติดตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนปริมาณพลังงานและน้ำที่ใช้สำหรับการจัดการและรีไซเคิลขยะพลาสติกทั่วภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านเครื่องมือคำนวณซึ่งเป็นเครื่องมือแรกที่เปิดให้สาธารณชนเข้าถึงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

การที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหาด้านมลพิษพลาสติกมากที่สุดนั้นเป็นผลมาจากการขาดโครงสร้างพื้นฐานในการจัดการขยะ ด้วยเหตุนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการกำจัดขยะพลาสติกอย่างถูกต้องจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อจัดการกับปัญหามลพิษพลาสติกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเด็นสำคัญ ประกอบไปด้วย

● หากสามารถรีไซเคิลขยะพลาสติกที่ถูกกำจัดอย่างไม่ถูกต้องในประเทศไทยได้ทั้งหมดภายในปี 2573 จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 27.9 ล้านตัน ซึ่งเทียบเท่ากับการลดจำนวนรถยนต์กว่า 6.2 ล้านคันจากท้องถนนในหนึ่งปี

● 85% ของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในประเทศไทยเกิดจากการเผาขยะในที่โล่งและในโรงเผาขยะ หากเปลี่ยนการกำจัดขยะจำนวน 1 ตันจากจากการเผาในที่โล่ง ไปสู่การคัดแยกขยะและรีไซเคิลอย่างถูกต้องและเหมาะสม อาจช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 3 ตัน

● หากประเทศไทยยังคงกำจัดขยะพลาสติกด้วยการเผาขยะและการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน จะทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 3.3 ล้านตันภายในปี 2573 ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้โดยการใช้โซลูชันการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่และการรีไซเคิล

นอกจากนี้ รายงานยังเปิดเผยว่า การรีไซเคิลขยะพลาสติกที่ถูกกำจัดอย่างไม่ถูกต้องในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม รวมกันจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 229 ล้านตันภายในปี 2573 ซึ่งเทียบเท่ากับการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน 61 แห่งเป็นเวลาหนึ่งปี

เครื่องมือ PLACES ได้รับความร่วมมือในการพัฒนากับหน่วยงาน Agency for Science, Technology and Research (A*STAR) ในสิงคโปร์เพื่อดำเนินโครงการในอีก 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม อีกทั้งยังมีข้อมูลที่อัปเดตสำหรับการดำเนินงานในอินเดียและอินโดนีเซีย ทั้งนี้ สถาบันเทคโนโลยีการผลิตแห่งสิงคโปร์ (SIMTech) ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของ A*STAR ได้ให้การสนับสนุนการวิจัยด้านการศึกษาและประเมินปริมาณของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในทุก ๆ ขั้นตอนการเดินทางของขยะพลาสติกที่สิ้นอายุการใช้งานแล้ว

นับตั้งแต่เปิดใช้งานในปี 2564 เครื่องมือ PLACES ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทต่าง ๆ นักลงทุน นักรีไซเคิล ผู้ให้บริการกำจัดขยะ และนักวางผังเมือง ในการผลิตข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงเชิงลึกเพื่อนำไปใช้ในการวัดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการกำจัดและรีไซเคิลขยะ

นายอุเมช มาดาวาน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ The Circulate Initiative กล่าวว่า “การเจรจาเพื่อบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับมลพิษจากพลาสติกที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกฝ่ายเล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น โดยผลการวิจัยของเราสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของการลงทุนในการกำจัดและรีไซเคิลขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหามลพิษพลาสติกและปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ไปพร้อม ๆ กัน”

“การนำเครื่องมือ PLACES มาใช้ให้ครอบคลุมจำนวนประเทศเพิ่มขึ้นจะช่วยสนับสนุนให้นักลงทุนหลากหลายประเภท รวมถึงรัฐบาลท้องถิ่น และองค์กรธุรกิจในภูมิภาคสามารถประเมินโอกาสด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของพลาสติกที่ขึ้นอยู่กับปริมาณผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” นายอุเมช กล่าวสรุป

บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC เร่งเครื่องรุกตลาดพลาสติกรีไซเคิลในยุโรป ด้วยการลงนามซื้อกิจการของบริษัท Recycling Holding Volendam BV หรือ “Kras” (คราส) ผู้นำด้านการจัดการวัสดุเหลือใช้จากประเทศเนเธอร์แลนด์ และยังมีกิจการที่ครอบคลุมการรีไซเคิลพลาสติกตลอดทั้งห่วงโซ่ธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของ SCGC ที่มุ่งสู่ผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน ด้วยการพัฒนานวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งนำผลิตภัณฑ์กลุ่ม Green Polymer รุกตลาดพลาสติกรีไซเคิลในทวีปยุโรปที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ช่วยเพิ่มศักยภาพและเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ ตั้งแต่การจัดเก็บ คัดแยก ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ครอบคลุมภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรม

การลงนามเพื่อเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ เป็นการลงนามร่วมกันระหว่างนายธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ SCGC และ Mr. Ben Kras ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Recycling Holding Volendam BV โดย SCGC จะเข้าถือหุ้นในสัดส่วน 60% ใน Recycling Holding Volendam BV ผ่าน SCG Chemicals Trading (Singapore) Pte. Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ SCGC

นายธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC กล่าวว่า “SCGC ตั้งเป้าปริมาณการขายสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็น 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573 โดยก่อนหน้านี้ SCGC ได้ลงทุนในบริษัท ซีพลาสต์ (Sirplaste) ผู้นำด้านการผลิตพลาสติกรีไซเคิลในประเทศโปรตุเกส และเราได้ขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจต้นน้ำ นั่นคือการจัดเก็บและคัดแยกพลาสติกเหลือใช้ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจผลิตพลาสติกรีไซเคิล และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเติบโตของสินค้ากลุ่มพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือ Green Polymer การลงทุนใน Kars จะเป็นการบูรณาการห่วงโซ่ธุรกิจการรีไซเคิลแบบครบวงจร ตั้งแต่การจัดเก็บพลาสติกเหลือใช้ การรีไซเคิล การแปรรูป และการเข้าถึงลูกค้าแบรนด์ต่าง ๆ ของยุโรป สอดรับกับ กลยุทธ์ของ SCGC ที่มุ่งสร้างการเติบโตต่อเนื่องสู่อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน”

สำหรับ Kras เนเธอร์แลนด์ ประกอบธุรกิจหลักด้านการจัดเก็บและคัดแยกพลาสติกและกระดาษใช้แล้วจากครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม ในปี 2564 Kras มียอดขายรวม 92.7 ล้านยูโร หรือประมาณ 3,475 ล้านบาท โดยมีความสามารถในการจัดหาและรวบรวมขยะพลาสติกอยู่ที่ 160,000 ตันต่อปี และมีกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล 9,000 ตัน และจะกำลังขยายกำลังการผลิตอีก 9,000 ตัน นอกจากนี้ยังถือหุ้นในบริษัทที่ทำธุรกิจด้านการรีไซเคิลพลาสติก โซลูชันด้านการขนส่ง และบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน

Mr. Ben Kras ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Recycling Holding Volendam BV กล่าวว่า “Kras ดำเนินธุรกิจด้านการจัดการวัสดุเหลือใช้แบบครบวงจรให้กับบริษัทหลายร้อยแห่งในทวีปยุโรป ด้วยความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมากว่า 70 ปี Kras มีความสามารถในการจัดหาและจัดการวัสดุเหลือใช้ และยังมีการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรีไซเคิล ทั้งการถือหุ้นในบริษัท REKS LLC ซึ่งเป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลในประเทศโคโซโว มีกำลังการผลิต 9,000 ตันต่อปี และมีแนวโน้มเติบโตแบบเท่าตัวในปี 2023 นอกจากนี้ยังถือหุ้นใน Circular Plastics BV ซึ่งทำธุรกิจด้านโซลูชันการขนส่งและบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนในประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อประกอบกับความชำนาญของ SCGC ในการผลิตพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก็จะสามารถรุกตลาดในยุโรปและสร้างผลตอบแทนให้กับธุรกิจได้ในระยะยาว”

การลงทุนใน Recycling Holding Volendam BV หรือ “Kras” จะเสริมความแข็งแกร่งให้กับสินค้าในกลุ่ม Green Polymer ของ SCGC ซึ่งประกอบไปด้วยโซลูชัน 4 ด้าน ได้แก่

(1) REDUCE ลดการใช้ทรัพยากรและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

(2) RECYCLABLE การออกแบบเพื่อให้รีไซเคิลได้

(3) RECYCLE การนำกลับมาใช้ใหม่

และ (4) RENEWABLE โซลูชันเพื่อให้เกิดพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และพลาสติกจากทรัพยากรหมุนเวียน โดยเฉพาะสินค้าในหมวด RECYCLE หรือการนำกลับมาใช้ใหม่จะสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ตามความต้องการใช้งานพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทวีปยุโรป ปัจจุบัน SCGC ได้ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรีไซเคิลในทวีปยุโรปผ่าน 2 บริษัท ได้แก่ บริษัทซีพลาสต์ (Sirplaste) ประเทศโปรตุเกส และบริษัท Recycling Holding Volendam BV (Kras) ประเทศเนเธอร์แลนด์

 กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow)  และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) อำเภอบ้านฉาง เทศบาลตำบลบ้านฉาง และสถาบันพลาสติก ร่วมลงนามพัฒนาต้นแบบการจัดการขยะชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในโครงการ “ต้นแบบศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร ส่งเสริมการคัดแยกและยกระดับคุณภาพขยะเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้ชุมชน ด้วยงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ด้วยงบสนับสนุนกว่า 20 ล้านบาท ตั้งเป้านำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้ประมาณปีละ 1,000 – 1,200 ตัน เตรียมเป็นต้นแบบให้ชุมชนอื่น ๆ

โครงการดังกล่าวเป็นการขยายผลความร่วมมือที่ Dow และ วว. ได้ร่วมกันดำเนินงานโครงการ “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม นำสู่การพัฒนาคุณภาพขยะพลาสติกในชุมชนอย่างยั่งยืน” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 โดยความร่วมมือในครั้งนี้ จะบูรณาการองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญของ 4 องค์กรพันธมิตร และส่งเสริมความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ เพื่อจัดตั้งศูนย์ต้นแบบคัดแยกและแปรรูปวัสดุรีไซเคิล (Material Recovery Facility: MRF) คุณภาพสูงแห่งแรกของประเทศไทยที่อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เพื่อบริหารจัดการขยะชุมชน บรรจุภัณฑ์พลาสติก และของเหลือทิ้งในชุมชนแบบครบวงจรและยั่งยืน สร้างมูลค่าเพิ่มต่อการจัดการขยะ ยกระดับคุณภาพของวัตถุดิบรอบสองตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน พัฒนาผลิตภัณฑ์จากขยะชุมชนและของเหลือทิ้งในพื้นที่อำเภอบ้านฉาง รวมถึงจัดการน้ำเสียและการผลิตพลังงานทดแทนชีวภาพ เมื่อดำเนินการสำเร็จจะนำรายได้เสริมมาสู่ชุมชนในขณะเดียวกับที่ช่วยลดปริมาณขยะในสิ่งแวดล้อม

นายกิติพงศ์ อุระวัตร นายอำเภอบ้านฉาง กล่าวว่า “ในนามของชาวบ้านฉางและในฐานะคณะทำงาน เรายินดีให้การสนับสนุนโครงการฯ เพื่อผนึกกำลังสร้างชุมชนต้นแบบจัดการขยะยั่งยืน เพื่อให้เกิดระบบการบริหารจัดการขยะภายในอำเภอ เสริมความรู้ สร้างความตระหนักและความร่วมมือในการเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะของคนในชุมชน ส่งเสริมให้มีระบบการจัดการขยะและคัดแยกที่ดี เพื่อเพิ่มอัตราการรีไซเคิลให้สูงขึ้นสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้านการแก้ไขปัญหาขยะตกค้างในสิ่งแวดล้อม

นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมถึงการสนับสนุนการจัดกิจกรรมว่า “ในสถานการณ์ที่โลกมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด แต่มีความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้น การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีควบคู่กับสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนจะต้องนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามาประยุกต์ รวมทั้งต้องมีโครงสร้างพื้นฐาน และการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้เราสามารถใช้ทรัพยากรที่มีค่าได้เกิดประโยชน์สูงสุด และใช้ซ้ำได้เป็นวงจรไม่รู้จบ โดยเฉพาะพลาสติกใช้แล้ว โครงการนี้สอดคล้องเป็นอย่างยิ่งกับหนึ่งในเป้าหมายด้านความยั่งยืนของ Dow ที่จะ ‘หยุดขยะพลาสติก’ โดยเราตั้งเป้าจะผลักดันให้พลาสติกใช้แล้วจำนวน 1 ล้านตันจากทั่วโลกถูกเก็บกลับมาใช้ประโยชน์หรือรีไซเคิล ทั้งผ่านกิจกรรมที่ Dow ดำเนินการเอง และโครงการความร่วมมือ

ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “งานวิจัยในด้านการจัดการขยะที่สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมของ วว. มุ่งเน้นการจัดการวัสดุรีไซเคิลที่ต้นทางเพื่อสร้างโอกาสในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สร้างงาน สร้างอาชีพ ขยายผลความสำเร็จสู่ภาคเอกชน ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน สอดคล้องกับนโยบาย BCG Economy เชื่อมั่นว่าความร่วมมือเชิงบูรณาการของทั้ง 4 หน่วยงานในครั้งนี้ จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งในการนำผลงานวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นต้นแบบศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร ขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่การประยุกต์ใช้งานจริงในพื้นที่ เพื่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างยั่งยืน”

นายวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก กล่าวว่า “พลาสติกถือเป็นวัสดุที่มีคุณประโยชน์และความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จึงมีการนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมที่หลากหลาย พร้อมทั้งสามารถปรับให้เหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย หากใช้งานอย่างคุ้มค่าและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพหลังใช้งาน ก็จะเป็นวัสดุหนึ่งที่สามารถดูแลสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ต้องอาศัยการให้ความรู้ ความเข้าใจ ความร่วมมือของชุมชนตลอดจนผู้อุปโภคบริโภคในการคัดแยกและจัดการกับขยะชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงพลาสติกใช้แล้วภายในชุมชน เกิดเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการสร้างอาชีพและธุรกิจของชุมชน จนสามารถเป็นแผนต้นแบบขยายสู่ระดับประเทศได้ ถือเป็นการสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีความลงตัวในทั้ง 3 มิติ คือ ชุมชนที่แข็งแรง ภาคธุรกิจที่เติบโต และเศรษฐกิจของประเทศก้าวหน้าและยั่งยืนได้นั่นเอง”

นายสุพจน์ ต่ออาจหาญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า “การที่จะทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดขึ้นได้จริงและยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ตั้งแต่ผู้ผลิต ห้างร้าน ผู้บริโภค และสิ่งสำคัญที่สุดในฐานะผู้บริโภค คือ การคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ตั้งแต่ครัวเรือนในชุมชน เพื่อให้ขยะแต่ละชนิดสามารถนำไปใช้ต่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ขอขอบคุณ Dow วว. สถาบันพลาสติก และอำเภอบ้านฉาง รวมถึงทุกคนที่ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในครั้งนี้ ผมมั่นใจว่าจังหวัดระยองของเรามีศักยภาพและมีความพร้อมที่จะผนึกกำลังสร้างและยกระดับให้บ้านของพวกเราเป็นต้นแบบการจัดการขยะที่ยั่งยืน”

โครงการต้นแบบศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานกว่า 20 ล้านบาท จากสองหน่วยงานคือ กองทุน Dow Business Impact Fund จากบริษัท Dow และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

31 มีนาคม 2564, กรุงเทพฯ – บริษัท เอสซีจี ยามาโตะ เอ็กซ์เพรส จำกัด ร่วมกับ เอสซีจีพี เปิดตัวโครงการ “Dream Box” กล่องเติมฝัน ปันให้น้อง

X

Right Click

No right click