สองผู้นำด้านเทคโนโลยี ได้แก่ ทีซีซี เทคโนโลยี (TCCtech) และเดลล์ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) (Dell Technologies) ร่วมกันจัดเวทีให้ความรู้ ภายใต้หัวข้อ “Navigating AI Frontier” โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบัน IMC ผู้บริหารของ TCCtech และ เดลล์ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) เข้าร่วมแบ่งปันประสบการณ์การนำ AI ไปใช้งานในหลายอุตสาหกรรม อัพเดทผลิตภัณฑ์และบริการด้านเทคโนโลยีรวมถึงแนะนำโซลูชันที่ตอบโจทย์เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของการบริหารจัดการธุรกิจ OPEN-TEC ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Tech Knowledge Sharing Platform) ภายใต้การดูแลของ TCC TECHNOLOGY GROUP

ขอนำเสนอประสบการณ์และผลลัพธ์จริงจากทีมงาน TCCtech ซึ่งนำความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและความสามารถของ AI มาประยุกต์ใช้กับโครงการต่าง ๆ ของลูกค้าให้สามารถบริหารอาคารได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จัดการภาคอุตสาหกรรมได้อย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้น ด้วย AI

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโซลูชันภายในโครงการอสังหาริมทรัพย์ เช่น การใช้ Video Analytics วิเคราะห์ภาพใบหน้า เครื่องแบบ เพื่อคัดแยกกลุ่มแรงงานที่เข้ามาทำงานในพื้นที่แต่ละจุด สามารถจำแนกเพศ สังกัด แม้กระทั่งพฤติกรรมของแรงงานที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ในพื้นที่ควบคุม ด้วยการสร้างเงื่อนไขให้ AI เรียนรู้ คาดการณ์ และวิเคราะห์จากลักษณะที่ปรากฎ ซึ่งมีความแม่นยำสูง ละเอียดถึงระดับดวงตา สามารถค้นหาบุคคลหรือยานพาหนะในพื้นที่ภายในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมีการใช้งาน AI เพื่อบริหารจัดการสภาพการจราจร และสนับสนุนงานอาชีวะอนามัย เป็นต้น ตัวอย่างถัดมา เป็นการบริหารจัดการพลังงาน ซึ่งโครงการขนาดใหญ่จะมีการใช้พลังงานจำนวนมาก ข้อมูลการใช้พลังงานจากระบบเซนเซอร์ต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ น้ำเย็น แสงสว่าง และความเร็วลม ซึ่งมีปริมาณมหาศาลจะถูกบันทึกไว้บน Data Server เพื่อรองรับการทำงานของซอฟต์แวร์เพื่อประมวลผล ระบบปรับอากาศจะทำงานอัตโนมัติโดยเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิภายในและภายนอกอาคาร ปริมาณน้ำฝน ภาพจากกล้องวงจรปิด และความหนาแน่นของ Heat Map เพื่อปรับอุณหภูมิของน้ำเย็นและความเร็วลมให้เหมาะสม

 สำหรับการนำ AI ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่ง TCCtech ได้พัฒนาโซลูชัน AI ให้ครอบคลุมทุกแง่มุมของธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ดังนี้

· Rule-Based: การกำหนดกฎเกณฑ์ให้ AI ทำงานตาม

· Optimization: กระบวนการค้นหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุดภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่

· Statistics: โดยการผสมผสานหลากหลายเทคนิควิธีเข้าด้วยกันมาเป็นผลวิเคราะห์และตัวตัดสินใจ

· Machine Learning: การให้แมชชีนเรียนรู้จากข้อมูล

· Deep Learning: การให้แมชชีนเรียนรู้ข้อมูลเชิงลึกด้วยการเลียนแบบการทำงานของโครงข่ายประสาทมนุษย์

ตัวอย่างการใช้งาน AI จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ในภาคอุตสาหกรรม

· Production Planning: การวางแผนการผลิตสินค้า โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความต้องการของตลาด กำลังการผลิต และวัตถุดิบ เพื่อเพิ่มความแม่นยำ และลดเวลาการทำงาน

· Inventory Planning: วางแผนการจัดการสินค้าคงคลัง โดยใช้ Route Optimization มาช่วยให้ Operation ที่เคยทำงานแยกกัน ให้สามารถมองเห็นข้อมูลทั้งระบบและลดระยะทางการจัดส่งสินค้า และเวลาในการทำงาน

· Vehicle Routing Problem: ช่วยแก้ปัญหาการวางแผนเส้นทางขนส่งสินค้า ช่วยให้ประหยัดค่าขนส่งสินค้า และเวลาวางแผนขนส่งได้

· Demand Forecasting: การพยากรณ์ความต้องการสินค้าของผู้บริโภค

· Retail Outlet: การประเมินคุณภาพร้านค้า โดยใช้ ML วิเคราะห์ข้อมูล Actual Transaction ด้วยเทคนิค Local Outlier Factor ช่วยในการตรวจสอบและระบุ Indicator ที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของร้านค้า

· Bottle Recycle Classification: การคัดแยกขวดรีไซเคิล ไปจัดการในรูปแบบต่าง ๆ โดยใช้ AI วิเคราะห์ภาพจากกล้อง

ความท้าทาย และอนาคตของ AI

การนำ AI ไปใช้ในบางกรณี ยังมีข้อจำกัด เช่น เทคโนโลยี Deep Learning ที่แม้จะทำงานได้อย่างแม่นยำ แต่อาจยังไม่สามารถทำงานได้ทันเวลาในบางสถานการณ์ อย่างเช่น การวิเคราะห์ภาพขวดรีไซเคิลบนสายพานลำเลียงความเร็วสูง หรือข้อมูลที่เก็บมาบางประเภท ไม่เพียงพอหรือไม่มีคุณภาพต่อการนำไปสอน AI อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่นอนแล้วว่าเทคโนโลยี AI จะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีบทบาทสำคัญในภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ Gen AI ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและสร้างประสิทธิภาพให้กับธุรกิจมากขึ้น

ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่ OPEN-TEC ได้รวบรวมไว้จากงานสัมมนา “Navigating AI Frontier” ที่จัดขึ้นโดย ทีซีซี เทคโนโลยี และเดลล์ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย)

 บทความโดย OPEN-TEC

ปฏิเสธไม่ได้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น จากการใช้พลังงาน การเกษตร การพัฒนาและขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่า และการทำลายสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่น ๆ หรือที่เรียกว่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ได้ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการดำรงชีพของมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดการสูญเสียสมดุลของระบบนิเวศ ความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ ของธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิต รวมถึงการก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหากมนุษย์ยังไม่เริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดและวิถีปฏิบัติในการดำเนินชีวิตรวมถึงการดำเนินธุรกิจ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ อนาคตอันน่าเศร้าของโลกคงหนีไม่พ้น ในขณะเดียวกัน คาดการณ์ว่าโอกาสในการลงทุนเพื่อความยั่งยืนด้วยเม็ดเงินมูลค่ามหาศาลถึง 34 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (หรือกว่า 1.2 พันล้านล้านบาท) ภายในปี 2030 จะเกิดขึ้น นักลงทุนจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันและเตรียมรับโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ธนาคารกสิกรไทย โดย เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง และลอมบาร์ด โอเดียร์ ในฐานะสถาบันการเงินและผู้ให้คำแนะนำการลงทุนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการลงมือทำ เพื่อพาประเทศไทยมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero จัดงานเสวนาด้านความยั่งยืนแห่งปี ภายใต้หัวข้อ RETHINK SUSTAINABILITY : A CALL TO ACTION FOR THAILAND พร้อมความร่วมมือจากตัวแทนองค์กรใน 4 อุตสาหกรรมของไทย ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อาหารและการเกษตร ปิโตรเคมี และพลังงานหมุนเวียน รวมถึงหน่วยงานระดับโลกอย่าง Systemiq และ The Alliance to End Plastic Waste ที่มาร่วมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด ตลอดจนบทบาทและแนวทางปฏิบัติ เพื่อหารือร่วมกันในการขับเคลื่อนให้เกิดการลงมือทำ เพื่อปฏิวัติเศรษฐกิจไทยสู่ความยั่งยืน ด้วยการดำเนินธุรกิจตามแนวทางของระบบเศรษฐกิจใหม่อย่าง CLIC® คือเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular) ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า (Lean) ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (Inclusive) และเป็นธุรกิจที่ช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่สะอาด (Clean) พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนนี้ด้วย

สร้างอนาคตที่ยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ

(Building Through a Sustainable Future in Tourism and Service Industry)

 

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้มหาศาล และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ความยั่งยืนเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจกันมากขึ้น กระแสของการท่องเที่ยวและการเดินทางอย่างยั่งยืนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการลงทุนในเรื่องหลักๆ ที่ช่วยลดคาร์บอนฟุตพรินท์ส่วนเกินได้ เช่น อุตสาหกรรมการบิน การฟื้นฟูและปกป้องระบบนิเวศทางทะเล และการปรับปรุงระบบทำความร้อนและเย็นในโรงแรม เป็นต้น นอกจากนี้ ความสำคัญของการลงมือทำ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ผู้ประกอบการไทยควรคำนึงถึง มี 3 แกนหลัก ได้แก่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ (Economic Impact) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Protect Environment) และ การรักษาวิถีชีวิต วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของสังคมให้ยั่งยืน (Save Social) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่อยู่บนบรรทัดฐานของความยั่งยืนอย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่าแนวคิดดังกล่าวได้ถูกนำไปปรับใช้ โดยเริ่มมีบริษัทผู้ให้บริการด้านการจองที่พัก (Online Travel Agency: OTAs) ยักษ์ใหญ่บางเจ้า เริ่มจำแนกประเภทที่พักหรือบริการการเข้าพักแบบยั่งยืน ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมทั้งรายเล็ก และใหญ่ต้องปรับตัว ในประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็มีการริเริ่มจัดโครงการยกระดับผู้ประกอบการสู่มาตรฐาน การท่องเที่ยวยั่งยืน โดยการให้มาตรฐานดาวแห่งความยั่งยืน กับผู้ประกอบการ มากกว่า 10 ประเภทกิจการ ภายใต้ STGs (Sustainable Tourism Goals) หรือ STAR : (Sustainable Tourism Acceleration Rating) ที่ครอบคลุมทั้ง 17 เป้าหมายที่สะท้อนความยั่งยืน ซึ่งถอดมาจาก SDGs ของ UNWTO ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเข้าร่วมแล้วกว่า 555 แห่ง โดยผู้ประกอบการประเภทโรงแรมที่พักเข้าร่วมมากที่สุด โดยภาครัฐจะผลักดันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญของการส่งเสริมเพื่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงและพัฒนารูปแบบธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม

อาหารแห่งอนาคต บริโภคอย่างยั่งยืน เพื่อโลกที่ยั่งยืน

(New Food System that Feed the World and Nourish the Planet)

ปัจจุบันทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2593 จะมีจำนวนประชากรเพิ่มราว 1 หมื่นล้านคน นำไปสู่ความต้องการด้านอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 60-100 ฉะนั้นการปรับรูปแบบการผลิตอาหารโดยใช้แนวทางการเกษตรยั่งยืน อย่าง Regenerative Agriculture ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นแหล่งช่วยกักเก็บคาร์บอน ยังช่วยเพิ่มผลผลิต และลดการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง กำลังเป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ในประเทศไทยเองก็เริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารและนำมาใช้ปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net zero เช่น เริ่มมีการพัฒนานวัตกรรมโดยเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ถาดกระดาษ (Paper Tray) ในผลิตภัณฑ์เนื้อหมูและเนื้อไก่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยลดการใช้พลาสติกได้ถึง 80% ในขณะที่ยังคงรักษาความสด ความสะอาดของผลิตภัณฑ์ได้ นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกจากพึช (Plant-based protein) ซึ่งใช้ทรัพยากรน้อยกว่าการผลิตเนื้อสัตว์มาก ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดมลพิษทางน้ำ และลดการใช้พื้นที่ อีกทั้งมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดมาผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในโรงงานมากขึ้นซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนในธุรกิจอาหารที่พร้อมปรับตัวและพัฒนาสู่ความยั่งยืน ตั้งแต่เรื่องของกระบวนการผลิต การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิตอาหารที่มีคุณภาพ อร่อย ปลอดภัย และมีราคาที่สมเหตุสมผล

พลาสติกหมุนเวียน: อุตสาหกรรมเคมีแห่งอนาคต

(Plastic Circularity: Chemistry Shaping the Future)

 

ปัญหาขยะพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เร่งด่วนที่สุดของทุกประเทศรวมถึงในประเทศไทยซึ่งเกิดจากการจัดการที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในแนวทางการแก้ปัญหานี้ที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มองหาคือการลงทุนในธุรกิจที่ผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ามาเป็นแกนหลักในการจัดการช่วยให้พลาสติกถูกนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น เน้นหลักการ 3Rs ได้แก่ Reduce Reuse Recycle ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจจากการจัดการขยะและออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น การลงทุนในพลาสติกชีวภาพ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องที่ช่วยในการผลิตพลาสติกให้มีคุณภาพดีขึ้น ใช้ได้นานขึ้น รวมถึงการนำขวดพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังแสวงหาโอกาส ลงทุนในเทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้สามารถกักเก็บไว้ได้ใต้ดิน และนำออกมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ สอดคล้องกับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

อนาคตพลังงานทางเลือกของประเทศไทยกับโอกาสในการลงทุนด้านพลังงาน

(Carbon Opportunities and Future Electrification)

 

ปัจจุบัน ก๊าซเรือนกระจกประมาณร้อยละ 70 มาจากภาคขนส่งและพลังงาน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษและภาวะโลกเดือด ดังนั้น หากธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานดังกล่าวมาเป็นพลังงานไฟฟ้าจะมีส่วนช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมาก รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในระดับโลกได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการคมนาคมขนส่งอย่างชัดเจน ในระดับการขนส่งสาธารณะก็ได้มีการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้สำหรับรถบัส เรือโดยสาร รวมไปถึงรถไฟ นอกจากนี้ ในระดับบุคคลทั้งต่างประเทศและประเทศไทยได้เปลี่ยนจากการใช้รถยนต์น้ำมัน มาเป็นการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เท่าตัว ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ทั่วโลกต่างมีเป้าหมายดำเนินการร่วมกัน การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาของ ตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนต่อยอดในธุรกิจพลังงานทางเลือกของนักลงทุน

กลยุทธ์การลงทุนในธุรกิจที่ยั่งยืน

(Investment-led Sustainability)

 

KBank Private Banking ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้คำแนะนำการลงทุน เล็งเห็นว่านักลงทุนเป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืน จึงต้องการให้นักลงทุน ผู้ที่สนใจการลงทุน เตรียมพร้อมรับมือกับโอกาสทั้งทางเศรษฐกิจและการลงทุน ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะเกิดเม็ดเงินการลงทุนด้านความยั่งยืนมูลค่ามหาศาลถึง 34 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (หรือกว่า 1.2 พันล้านล้านบาท) ภายในปี พ.ศ. 2573 ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero นักลงทุนจึงต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนการรับรู้ (Awareness) เป็นการลงมือทำ (Action) เน้นลงทุนในธุรกิจที่ยั่งยืน ไม่ว่าองค์กรเหล่านั้นจะเป็นกลุ่มธุรกิจที่นำเสนอแนวทางและผลิตภัณฑ์ที่ช่วยแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้แล้ว (Solution Providers) หรือกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และ/หรือ รูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเป้าหมายเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero (Transition Candidates) ทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืนได้ KBank Private Banking เชื่อมั่นในบทบาทของการลงทุน ว่าสามารถยกระดับองค์ความรู้และความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจที่พยายามสร้างความเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่การลงทุนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของทุกภาคส่วนได้จริง

 

งานเสวนา “RETHINK SUSTAINABILITY: A Call to Action for Thailand" เป็นงานเสวนาด้านความยั่งยืนแห่งปี ภายใต้ความร่วมมือ ระหว่างธนาคารกสิกรไทย โดย เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด และลอมบาร์ด โอเดียร์ เพื่อร่วมกันผลักดันประเทศไทยให้เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมแห่งความยั่งยืนในอนาคต สามารถติดตามรับชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่ www.youtube.com/@KBankPrivateBanking

 

ไมโครซอฟท์ และ ซีเมนส์ ผนึกความร่วมมือต่อเนื่อง นำประสิทธิภาพ Generative AI มาสู่ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยทั้งสองบริษัทฯ เตรียมเปิดตัว Siemens Industrial Copilot ซึ่งเป็นผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่พัฒนาร่วมกัน มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรในภาคการผลิต

นอกจากนี้การผนวกซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (หรือ PLM) เข้ากับ Microsoft Teams ยังสนับสนุนการสร้างเมตาเวิร์สในภาคอุตสาหกรรม ลดความซับซ้อนในการทำงานร่วมกันแบบเสมือนจริงให้แก่วิศวกรออกแบบ ผู้ปฏิบัติงานหน้างานและทีมอื่น ๆ ตลอดสายงานธุรกิจ

สัตยา นาเดลลา ประธานและซีอีโอของไมโครซอฟท์ กล่าวว่า “ด้วยศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ยุคใหม่นี้ เรามีโอกาสพิเศษในการเร่งสร้างนวัตกรรมให้กับภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด เรากำลังพัฒนาต่อยอดจากความร่วมมือที่ยาวนานกับซีเมนส์ รวบรวมความก้าวหน้าด้าน AI ใน Microsoft Cloud มาผนวกรวมกับความเชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมของซีเมนส์ เพื่อเสริมศักยภาพให้แก่ผู้ปฏิบัติงานหน้างานและพนักงานที่มีทักษะเฉพาะทาง ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังปัญญาประดิษฐ์ โดยเริ่มต้นด้วยโครงการ Siemens Industrial Copilot

 

โรแลนด์ บุช ซีอีโอของซีเมนส์ กล่าวว่า “เราและไมโครซอฟท์มีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการส่งเสริมศักยภาพของลูกค้าด้วยการนำ Generative AI มาใช้งาน เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพมหาศาลที่จะปฏิวัติวิธีการที่บริษัทต่าง ๆ ใช้ออกแบบ พัฒนา ผลิตและดำเนินการ ด้วยการส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรที่เชื่อมต่อกันในวงกว้างมากขึ้น ช่วยให้เหล่าวิศวกรสามารถเร่งพัฒนาโค้ด เพิ่มนวัตกรรม และรับมือกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะได้

ยุคใหม่ของการทำงานร่วมกันของมนุษย์และเครื่องจักร

Siemens Industrial Copilot จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้าง เพิ่มประสิทธิภาพ และแก้ไขโค้ดอัตโนมัติที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว พร้อมลดระยะเวลาการจำลองสถานการณ์ลงอย่างมาก ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยลดงานที่ก่อนหน้านี้ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ให้เหลือเป็นหน่วยนาที โดย Copilot จะนำข้อมูลของระบบอัตโนมัติและกระบวนการการจำลองจากแพลตฟอร์ม Siemens Xcelerator ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลแบบเปิดของซีเมนส์ และเพิ่มประสิทธิภาพด้วย Azure OpenAI Service ของไมโครซอฟท์ โดยลูกค้ายังคงควบคุมข้อมูลตนเองได้ทั้งหมด ระบบจะไม่มีการนำข้อมูลไปใช้กับการฝึกโมเดล AI พื้นฐาน

Siemens Industrial Copilot มีความสามารถเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพครบวงจรในอุตสาหกรรม โดยเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงจะได้รับคำแนะนำการซ่อมแซมอย่างละเอียดด้วยภาษาปกติอย่างเป็นธรรมชาติ ขณะที่วิศวกรจะสามารถเข้าถึงเครื่องมือแบบจำลองได้อย่างรวดเร็ว

Copilots สำหรับทุกอุตสาหกรรม

ทั้งซีเมนส์และไมโครซอฟท์ต่างเล็งเห็นว่า AI Copilots มีความสามารถในการช่วยเหลือผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมการผลิต โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการดูแลสุขภาพ โดย Copilot จำนวนมากกำลังถูกวางแผนที่จะนำมาใช้ในภาคการผลิต เช่น ยานยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภค และการผลิตเครื่องจักร Schaeffler AG ซัพพลายเออร์ยานยนต์ชั้นนำเป็นหนึ่งในบริษัทรายแรก ๆ ของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่นำ Generative AI ไปใช้ในงานด้านวิศวกรรม ช่วยให้ทีมวิศวกรสามารถพัฒนาโค้ดที่มีความน่าเชื่อถือสำหรับการโปรแกรมระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม เช่น หุ่นยนต์ นอกจากนี้ บริษัทฯ เตรียมนำ Siemens Industrial Copilot มาใช้ในระบบการดำเนินงาน โดยวางเป้าหมายเพื่อลดการหยุดชะงักของ

การทำงาน (Downtime) ของเครื่องจักรอย่างมีนัยสำคัญ และเตรียมพัฒนาขั้นต่อไปสำหรับลูกค้าในภายหลัง

เคลาส์ โรเซนเฟลด์ ซีอีโอของกลุ่มแชฟฟ์เลอร์ กล่าวว่า “เรากำลังก้าวสู่ยุคใหม่ของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและนวัตกรรมในโครงการนำร่องร่วมกันนี้ ซึ่ง Siemens Industrial Copilot จะช่วยให้ทีมงานของเราทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังลดภาระงานซ้ำซ้อน และเพิ่มไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกับซีเมนส์และไมโครซอฟท์ในโครงการนี้”

Generative AI เพิ่มความสะดวกการทำงานร่วมกันในแบบเสมือน

เพื่อยกระดับการทำงานร่วมกันแบบเสมือนระหว่างทีม ซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ สำหรับ Microsoft Teams พร้อมเปิดให้ใช้งานได้โดยทั่วไปตั้งแต่เดือนธันวาคมปีนี้ โดยแอปพลิเคชันนี้จะใช้ศักยภาพล่าสุดของ Generative AI เชื่อมต่อฟังก์ชั่นการทำงานต่าง ๆ ของวงจรการออกแบบผลิตภัณฑ์และวงจรการผลิต ตั้งแต่ผู้ปฏิบัติงานหน้างานไปจนถึงทีมวิศวกร โดยจะเชื่อมต่อซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (หรือ PLM) เข้ากับ Microsoft Teams ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกันของไมโครซอฟท์ เพื่อให้พนักงานในโรงงานและพนักงานภาคสนามสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ สิ่งนี้จะช่วยให้พนักงานหลายล้านคนที่เข้าไม่ถึงเครื่องมือ PLM ในปัจจุบันสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบและผลิตได้ง่ายยิ่งขึ้นเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำวัน

ซีเมนส์จะแบ่งปันรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Siemens Industrial Copilot ที่งาน SPS expo ที่จะจัดขึ้น ณ เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2566

ตลาดอีคอมเมิร์ซได้รับแรงกระตุ้นจากสถานการณ์โควิด ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคการช้อปปิ้งออนไลน์อย่างรวดเร็ว และมีการขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค บริษัทอีคอมเมิร์ซจำเป็นต้องก้าวนำเทรนด์เสมอ ด้วยการพัฒนารูปแบบอุตสาหกรรมให้ทันยุคทันสมัย

แนวโน้มการพัฒนาของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในปี 2024 เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก อาทิ การบูรณาการปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อนำเสนอสินค้าและแคมเปญการตลาดที่เหมาะสม สร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ที่แตกต่างและกระตุ้นยอดขาย การเติบโตของการค้าด้วยเสียง เมื่อลำโพงอัจฉริยะแพร่หลาย ผู้บริโภคมักจะใช้ผู้ช่วยเสียงมากขึ้นในการซื้อ สั่งของชำ และค้นหาสินค้าออนไลน์ ทำให้เป็นที่นิยมโดยเฉพาะกับผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการประหยัดเวลา ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการชำระเงินแบบใหม่ที่หลากหลาย อย่างการชำระเงินผ่านมือถือและกระเป๋าเงินดิจิทัล หรือสกุลเงิน cryptocurrency โดยบริษัทอีคอมเมิร์ซจะต้องหาวิธีรองรับการชำระเงินให้ครอบคลุมทุกรูปแบบ สร้างความยืดหยุ่นและความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภคมากที่สุด

BEST SOFTWARE (เบสท์ ซอฟต์แวร์) ผู้ให้บริการซอฟท์แวร์โซลูชันด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และการจัดการคลังสินค้าแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยเชื่อมต่อกับระบบขนส่งพัสดุ เบสท์ เอ็กซ์เพรส (BEST Express) หรือบริษัทขนส่งทางเลือกอื่น ๆ ที่พร้อมให้บริการสำหรับธุรกิจทุกขนาด (เล็ก กลาง ใหญ่) ในประเทศไทย ภายใต้การดูแลของ BEST Inc. (เบสท์) ที่มากพร้อมด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซมากว่า 10 ปี และเป็นผู้ให้บริการร้านค้าออนไลน์อีคอมเมิร์ซทั่วโลกจำนวนกว่า 1 ล้านร้านค้า

บริการ BEST SOFTWARE (เบสท์ ซอฟต์แวร์) บริการโซลูชันดิจิทัลแบบครบวงจร ได้แก่

- ezOrder (อีซี่ออเดอร์) ซอฟต์แวร์จัดการคำสั่งซื้อสินค้า ในการพิมพ์ใบจัดส่งแบบอัจฉริยะ เชื่อมต่อโดยตรงกับแพลตฟอร์มหลักอย่าง Shopee, Lazada, Facebook live และอื่น ๆ

- ezShop (อีซี่ช้อป) เป็น ERP ที่ช่วยจัดการคำสั่งซื้อหลายช่องทางแบบครบวงจรในที่เดียวแบบ One-Stop Service เหมาะสำหรับกลุ่มอีคอมเมิร์ซร้านค้าออนไลน์ทุกขนาด ที่มีที่มีหลายแพลตฟอร์ม หลายร้านค้าออนไลน์ หลายช่องทาง หรือมีคลังสินค้าที่มากมาย และใช้บริการหลายโลจิสติกส์

- QuickWMS เป็นระบบการจัดการคลังสินค้าอีคอมเมิร์ซ ช่วยจัดการคลังสินค้า แก้ปัญหาความสับสนวุ่นวายของคลังสินค้าและลดข้อผิดพลาดในการจัดส่งได้ถึง 90% แก้ปัญหาการกระจายของ

สินค้า รายการที่ไม่เป็นระเบียบและการสูญหายที่เกิดขึ้นบ่อย สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าได้มากถึง 50%

นอกจากนี้ การเติบโตของอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าสนใจ ด้วยจำนวนผู้บริโภคที่ต้องการซื้อสินค้าจากตลาดต่างประเทศมากขึ้น อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนจึงคาดว่าจะเติบโตอย่างทวีคูณ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ให้ความสำคัญกับอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า BEST Express มีบริการ BEST Cross border ที่มีเครือข่ายเชื่อมต่อในภูมิภาคเอาเชียตะวันออกเฉียงใต้และครอบคลุมทั่วเอเชีย ที่พร้อมให้บริการจัดส่งสินค้าจากประเทศจีนมาประเทศไทยโดยให้บริการในรูปแบบของธุรกิจ B2B และ B2C

เบสท์ (BEST Inc.) ที่เดียวจบครบทุกความต้องการด้านโลจิสติกส์และอีคอมเมิร์ซ สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่สนใจ สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ https://www.best-inc.co.th/ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 02-108-8000

“เคทีซี” มองการท่องเที่ยวไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัว ส่งผลดีต่อการเช่ารถเพื่อการท่องเที่ยว เป็นที่นิยมมากขึ้น โดย 6 เดือนแรก ยอดการใช้จ่ายในหมวดรถเช่าเติบโตถึง 90% คาดการณ์ปลายปียังขยายตัวต่อ พร้อมจับมือ 17 พันธมิตร จัดแคมเปญเช่ารถขับรับไฮซีซั่น มองรถอีวีมาแรงเพราะประหยัดน้ำมัน หาที่ชาร์จสะดวก

นางสาววริษฐา พัฒนรัชต์ ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย การเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ ส่งผลต่อการท่องเที่ยวไทยกลับมาฟื้นตัว และเป็นปัจจัยสนับสนุนต่ออุตสาหกรรมรถเช่า (Car Rent) เติบโตไปในทิศทางเดียวกัน โดยยอดการใช้จ่ายในกลุ่มรถเช่าช่วงเดือนมกราคม 2566 - มิถุนายน 2566 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ถึง 90% และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี โดยครึ่งปีหลังมองว่าปัจจัยที่จะผลักดันให้ยอดการใช้จ่ายในกลุ่มรถเช่าขยายตัว คือการท่องเที่ยวช่วงไฮซีซั่น

“ ตอนนี้อุตสาหกรรมรถเช่ากลับมาฟื้นตัวตามการท่องเที่ยว และมองว่าช่วงครึ่งปีหลังยังโตต่อ เพราะเป็นช่วงไฮซีซั่นของไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยก็ชื่นชอบการเช่ารถ ทั้งขับเองและมีคนขับให้ ซึ่งเป็นเรื่องดีที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมรถเช่าเติบโต” นางสาววริษฐากล่าว

สำหรับเคทีซีมีโปรโมชั่นร่วมกับผู้ให้บริการรถเช่าชั้นนำทั้งในและต่างประเทศรวม 17 แห่ง พร้อมมีโปรโมชั่นพิเศษ เช่น รับส่วนลดสูงสุด 30% เมื่อเช่ารถและใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซี หรือ ใช้คะแนน KTC FOREVER เท่ายอดใช้จ่าย แลกรับเครดิตเงินคืน 12%

“ปัจจุบัน การเช่ารถอีวีได้รับความนิยมมากขึ้น โดยสัดส่วนการเช่ารถยนต์ปกติอยู่ที่ 80% และรถอีวี 20% เพราะราคาค่าเช่าไม่สูงมาก เช่น รถยนต์ไฟฟ้า Ora Good Cat จาก Hertz Thailand หนึ่งใน

พันธมิตรของเรา หากใช้บัตรเครดิตเคทีซีจะได้ส่วนลด 30% ค่าเช่าจะอยู่ที่ราคา 707 บาท จากราคาปกติ 1,010บาท แต่การใช้รถอีวี ยังมีข้อจำกัด และเหมาะกับนักท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพราะสามารถหาที่ชาร์จได้สะดวก”

สำหรับพันธมิตร 17 แห่ง ประกอบด้วย เอแซ็ป คาร์ เร็นทัล (ASAP) / เอวิส คาร์ เร็นทัล ( AVIS) / บัดเจ็ท คาร์ เรนทัล (Budget) / บิซคาร์ เรนทัล (Bizcar Rental) / ชิค คาร์เร้นท์ (Chic Car Rental) / ไดรฟ์ฮับ (Drivehub) / ไดรฟ์ คาร์ เร้นทัล (Drive Car Rental) / ยุโรปคาร์ (Europcar) / ฮ้อปคาร์ (Haupcar) / เฮิร์ซ (Hertz) / คลูก (Klook) / ไพร์ม คาร์ เรนทอล(Prime Cars) / เร้นท์ คอนเนคเต็ด (Rentconnected) / เรนทัลคาร์ดอทคอม (Rentalcars.com) / ซิกท์ เรนท์ อะคาร์ (Sixt) / ทราเวลไอโก (TraveliGo) และ ทรู ลีสซิ่ง (True Leasing)

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC 02 123 5000 หรือติดตามโปรโมชัน ของเคทีซีได้ที่ https://www.ktc.co.th หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ 

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click