December 23, 2024

RackCorp และ Treasure Hub ผู้ให้บริการคลาวด์ชั้นนำระดับโลก ได้จัดงานเปิดตัว RackCorp.ai แพลตฟอร์มปัญญา ประดิษฐ์แบบ Sovereign AI อย่างเป็นทางการ ครั้งแรกในประเทศไทย  ถือเป็นก้าวสำคัญในวงการเทคโนโลยีของประเทศไทย  

งานเปิดตัว RackCorp.ai ครั้งนี้ ได้จัดบรรยายรูปแบบสัมมนาเพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยี AI ในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้องค์กรก้าวสู่การเติบโตที่ยั่งยืน และปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ คุณลอเรนซ์ ไมเคิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร RackCorp คุณธภัทร ยุวบูรณ์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Treasure Hub ตัวแทน RackCorp.ai ประเทศไทย คุณพรหมินทร์ (ลัคกี้) ซิงห์ ผู้อำนวยการพันธมิตร RackCorp คุณเพรม นาไรน์ดาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Katonic AI คุณจอร์จ ดรากาสซิส ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี Hitachi Vantara คุณ Shankar Raghavan ผู้อำนวยการอาวุโส Hewlett Packard Enterprise (HPE) และวิทยากรพิเศษจาก NVIDIA โดยผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเป็นอธิปไตยด้านข้อมูลและบทบาทของ AI รักษาความมั่นคงในอนาคตดิจิทัลของประเทศไทย รวมถึงการใช้งานในชีวิตจริงและจะเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาทุกธุรกิจที่ได้ใช้งาน 

ลอเรนซ์ ไมเคิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร RackCorp กล่าวว่า การเปิดตัวแพลตฟอร์ตปัญญาประดิษฐ์แบบ Sovereign AI ของ RackCorp ในประเทศไทย เป็นก้าวสำคัญทางเทคโนโลยีของประเทศ “เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้ธุรกิจไทยมีเครื่องมือที่จำเป็นต่อการประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัล พร้อมกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก”  

เพรม นาไรน์ดาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Katonic AI กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างเรากับ RackCorp ที่สร้างสรรค์โซลูชั่นปัญญาประดิษฐ์แบบ Sovereign AI อย่างครบวงจร ด้วยการนำฮาร์ดแวร์ล้ำสมัย ซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อนของ Katonic รวมกับบริการที่ปรับแต่งเพื่อสร้างระบบ AI ที่สมบูรณ์สำหรับธุรกิจไทย โดยยังคงรักษาความเป็นอธิปไตยและความปลอดภัยของข้อมูล “สิ่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่การแก้ปัญหาเฉพาะจุดเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีที่องค์กรต่างๆนำ AI มาใช้ ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดภายในกรอบการทำงานที่มีความปลอดภัยและเป็นอธิปไตย”  

 

คุณธภัทร ยุวบูรณ์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Treasure Hub ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่าย RackCorp.ai ประเทศไทยกล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญสำหรับอุตสาหกรรม AI ในประเทศไทย ด้วย RackCorp.ai ไม่ได้แค่นำเสนอ AI ที่ล้ำสมัย แต่ยังทำให้มั่นใจว่าโซลูชั่นเหล่านี้สามารถปรับและนำมาใช้ให้เข้ากับความต้องการของผู้ประกอบการ เพื่อทำให้ธุรกิจไทยมั่นใจได้ต่อการใช้ประโยชน์จาก AI  

คุณธภัทร กล่าวเพิ่มเติมถึงแพลตฟอร์ม RackCorp.ai ว่า เป็นความร่วมมือร่วมกันของบริษัทชั้นนำของโลก ได้แก่ RackCorp, Katonic AI, Hitachi Vantara, HPE, และ NVIDIA โดยมีเป้าหมายการพัฒนาแพลตฟอร์มให้ใช้งานได้ง่าย มีความปลอดภัยสูง และเป็นไปตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบของไทย เพื่อช่วยให้ธุรกิจไทยสามารถนำ AI มาใช้ได้อย่างมั่นใจ ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูลหรือการพึ่งพารูปแบบ AI จากต่างประเทศ มั่นใจว่าข้อมูลจะถูกเก็บรักษาและดำเนินการภายในประเทศ ซึ่งเรามี Data Center ที่มี GPU ตั้งอยู่ในประเทศไทยถึง 2 แห่งอยู่ที่บางนาและอมตะนคร ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจในการใช้งาน AI ได้อย่างปลอดภัย ข้อมูลสำคัญต่างๆจะไม่รั่วไหลหรือถูกส่งต่อไปยังที่อื่นโดยเราไม่รู้ตัว ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานที่มีความปลอดภัยสุงสุด เพื่อรักษาความมั่นคงและอธิปไตยทางระบบดิจิทัล โดยมีคุณสมบัติสำคัญ ได้แก่ ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ภายในประเทศไทย, มีการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและการปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างครบถ้วน  

เรามั่นใจว่า RackCorp.ai มีศักยภาพสร้างการเปลี่ยนแปลง พลิกโฉมอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อการเติบโตของประเทศไทย เช่น เกษตรกรรม การผลิต การท่องเที่ยว เศรษฐกิจและสังคม ด้วย AI ที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับความต้องการ และยังสอดคล้องกับเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทย คาดหวังว่าการเปิดตัว RackCorp.ai จะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมของหลายอุตสาหกรรมของไทย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศตามแผนพัฒนาไทยแลนด์ 4.0 และผลักดันให้ประเทศไทยมีบทบาทเป็นผู้นำในเทคโนโลยี AI ในภูมิภาคอาเซียน ดึงดูดการลงทุนและบุคลากรคุณภาพจากทั่วโลก”   

สำหรับการจัดงานครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงาน sign up เพื่อนัดหมายการทดลองใช้ระบบแพลตฟอร์ม RackCorp.ai และรับคำปรึกษาการนำ  AI มาใช้ในองค์กรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่มีค่าใช้จ่ายหรือข้อผูกมัดใดๆ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงาน ทั้งที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ผู้บริหารระดับสูงและตัวแทนจากหลากหลายบริษัท สำหรับผู้ที่พลาดงานดังกล่าว สามารถทดลองใช้ฟรีหรือขอคำปรึกษาได้เช่นกัน โดยสามารถนัดหมายได้ที่ treasurehub.ai  

  

 

  

 

นางสาวรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ (คนที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาเก็ตส์ และ ผู้จัดการทั่วไป – ฟิลิปปินส์ ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกับภก.เชิญพร เต็งอำนวย (คนที่ 3 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท เกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด เนื่องในโอกาสจัดกิจกรรมเยี่ยมชมกลุ่มบริษัท เกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์และบริการในอุตสาหกรรมยาไทย ที่กำลังเข้าร่วมจัดแสดงในงานซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024 (CPHI South East Asia 2024) ที่กำลังจะถึงนี้

“ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024 (CPHI South East Asia 2024)” งานแสดงสินค้า เทคโนโลยี และการประชุมด้านอุตสาหกรรมการผลิตยาครบวงจรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-12 กรกฎาคม 2567 ณ ฮอลล์ 1-3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เปิดให้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานแล้วที่ www.cphi.com/sea

บุคคลในภาพ (จากซ้าย)

1. นางสุวรรณี เต็งอำนวย รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท เกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด

2. นางสาวชัญญา เต็งอำนวย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท เกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด

3. ภก.เชิญพร เต็งอำนวย กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท เกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด

4. นางสาวรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาเก็ตส์ และ ผู้จัดการทั่วไป – ฟิลิปปินส์

5. นายชนวิน เต็งอำนวย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท เกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด

6. ดร.ศุภเดช โรจไพศาล แพทย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญทางด้านสเต็มเซลล์

JFIN Chain จับมือ 360Connect เปิดตัว “360Connect : Connect The Future” หลักสูตรการเรียนรู้รูปแบบใหม่มุ่งเน้นการศึกษาที่ไม่หยุดนิ่งแค่ในห้องเรียนโดยผู้เรียน สามารถเรียนไปด้วยสร้างรายได้ ไปด้วยบนแพลตฟอร์ม ภายใต้แนวคิด “Learn more, Contribute more, Earn more - ยิ่งเรียน ยิ่งทำ ยิ่งได้!”

โดยงานนี้ได้รับเกียรติจาก คุณพงศ์พิศิชญ์ ประทีปะวณิช นายกสมาคม NFT และ Web3 แห่งประเทศไทย เป็นประธานเปิดงาน 360Connect : Connect The Future แพลตฟอร์มแห่งการเรียนรู้ สู่โลกอนาคต

 

นายกิตติพล ลีปิพัฒนวิทย์ ผู้บริหารบริษัท KMARS STUDIO และ นายโฆษิต ขุมทรัพย์ ผู้บริหารโปรเจกต์ Tripster ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม 360Connect ได้ร่วมให้ข้อมูลแนวทาง, เป้าหมาย, วิสัยทัศน์ ของการสร้างห้องเรียน Learn2Earn ว่า “เรานำปัญหาด้านการศึกษามาปรับเปลี่ยนให้อยู่ในระบบนิเวศของเทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อให้เกิด แรงจูงใจต่อผู้เรียนมากยิ่งขึ้น 360 Connect เป็นแพลตฟอร์มที่ทุกคนได้เรียนรู้ด้านการลงทุนและการหารายได้ ในสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเรียน ทำกิจกรรม และรับรางวัล ไปพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีประสบการณ์ หลากหลายท่าน ตั้งแต่อาจารย์ระดับท็อปในวงการคริปโต ไปจนถึง CEO เจ้าของธุรกิจ Start-Up ที่จะมาแชร์ความรู้และประสบการณ์ให้ผู้เรียน”

ด้าน นายธนวินท์ รัฐเมธา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวว่า “JFIN Chain มุ่งมั่นที่จะเป็น Blockchain for Business เรามีเครื่องมือพร้อมใช้ (Ready to use tools) สำหรับธุรกิจให้เริ่มต้นในการ นำไปเชื่อมต่อสู่โลกบล็อกเชน โดยเฉพาะการสร้าง Join Application บล็อกเชนแอปพลิเคชันที่ทำหน้าที่หลักเป็นกระเป๋า ในการเก็บเหรียญและ NFT ซึ่งออกแบบมาให้ ผู้ใช้งานเข้าถึงได้อย่าง seamless โดยที่ไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยี เชิงลึกแต่อย่างไร การจับมือกับ 360Connect ในครั้งนี้ เป็นอีกโปรเจกต์ที่ต้องการสร้างให้เกิดการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ทั้งในกลุ่มธุรกิจองค์กร และผู้ใช้งานทั่วไป ซึ่ง JFIN Chain เองให้การสนับสนุนให้เข้าถึงได้ง่าย ด้วยการเชื่อมต่อเข้ากับ Join Application ในการสร้าง Account รวมถึงจัดเก็บทั้งโทเค็นรางวัล และ NFT ที่ได้จากการเข้าเรียนด้วย

 

โดยภายในงานได้วิทยากร 5 ท่าน ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้สอนคอร์สเรียนบนแพลตฟอร์ม 360Connect มาพูดคุย และให้ความรู้เกี่ยวกับห้องเรียนดิจิทัล อาทิ คุณมิกซ์ กฤษหรัญย์ เทศทอง จากเพจ MIXER การลงทุนแห่งอนาคต ได้มาแชร์ประสบการณ์ว่าทำไมถึงได้เปิดใจให้กับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งที่ก่อนหน้านี้ได้ใช้เวลาอยู่กับการลงทุนหุ้น มาอย่างยาวนาน ทางด้าน คุณบอย วรพจน์ ธารา-ศิริสกุล Co-Founder หุ้นปันผล ผู้ให้ความรู้ด้าน Hybrid Investment ได้กล่าวถึงจุดประสงค์ในการที่จะเผยแพร่เรื่องราวการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลแบบเบื้องต้น ให้กับกลุ่มคนที่ลงทุนในกองทุน และตลาดหุ้น เพื่อให้พวกเขาได้ต่อยอดมายังโลกแห่งสินทรัพย์ดิจิทัล ในส่วนของ คุณบอส จิรายุ ระเริง Co-Founder of Great Dream Guild ได้มาเปิดโลกแห่งการเล่นเกมเพื่อสร้างรายได้ให้กับทุกคน ซึ่งจากการเล่นเกมสามารถพามาสู่ธุรกิจที่มีระบบนิเวศอยู่ในเทคโนโลยีบล็อกเชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึง คุณฟ้า กัญญารัตน์ แสงสว่าง Country Head (Thailand) at The Sandbox เตรียมตัวสำหรับการพาทุกคนเข้าสู่การ สร้างรายได้ในโลก Metaverse ชื่อดังอย่าง The Sandbox ที่จะให้ทุกคนเป็นได้ทั้ง ผู้เล่น และเจ้าของพื้นที่เสมือน

เพื่อพัฒนาการสร้างรายได้อย่างสมจริง และ คุณพลอย อิสรียาห์ ประดับเวทย์ Influencer และ NFT Creator แห่งวงการ NFT พร้อมที่จะมาแนะนำแนวทางในการสร้างตัวตนบนโลกดิจิทัลเพื่อให้เกิดประโยชน์ และสามารถ ต่อยอดเป็นแนวทางในการทำงานร่วมกันกับโปรเจกต์ WEB3 ต่างๆ ได้ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศทั่วโลก โดยวิทยากรทั้ง 5 ท่าน จะมีหลักสูตรร่วมกับทางแพลตฟอร์ม 360Connect ที่ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถเรียนรู้ ไปกับพวกเขาได้ เพื่อเปลี่ยนแปลงการศึกษาให้สร้างรายได้ในยุคดิจิทัลนี้

นอกจากนี้แล้ว ยังมีส่วนร่วมกับพาร์ทเนอร์ทางด้านการศึกษาโดยตรง อย่าง ‘MeLearn’ อีกโปรเจกต์เพื่อการศึกษา ให้น้องๆ นิสิตและชั้นมัธยมบนโลกบล็อกเชน เพื่อให้น้องๆ เรียนรู้และเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างง่ายมากขึ้น พร้อมรับสิทธิประโยชน์ในอนาคต และผู้ให้บริการด้าน Web3 Wallet อย่าง Velo โดยมี คุณอินทกานต์ ณ ตะกั่วทุ่ง ได้ขึ้นแนะนำฟีเจอร์การใช้งานในส่วนระบบของ Velo ที่จะสามารถเชื่อมโลก WEB3 มายัง WEB2 และสามารถนำมา ใช้งานจริงได้ ซึ่งตอนนี้กำลังร่วมมือพัฒนากับ Vending Machine เจ้าหนึ่งอยู่ พร้อมเปิดตัวให้พวกเราได้ใช้งานกันในเร็วๆ นี้ รวมถึงกิจกรรมสุดพิเศษจาก Maxbit นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลน้องใหม่ที่มาร่วมจัดกิจกรรมภายในงาน ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกเพื่อรับของที่ระลึกไปกันแบบฟรีๆ

และรวมถึงเหล่าพันธมิตรที่มาร่วมให้การสนับสนุนในงานเปิดตัวแพลตฟอร์ม 360Connect ครั้งนี้ ได้แก่ สมาคม NFT และ WEB3 แห่งประเทศไทย, JFIN Chain, ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน, SCBX Next Tech, MeLearn, มหาวิทยาลัยมหิดล, iNT สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล, Orbit, Tripster, SmyleLand, MIXER การลงทุนแห่งโลกอนาคต, The Sandbox, Maxbit นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล, บริษัท หุ้นปันผล จำกัด, Tokenine, และ Great Dream Guild

แพลตฟอร์ม 360Connect ยินดีต้อนรับผู้เรียนทุกรูปแบบ ตั้งแต่มือใหม่ ไปจนถึงผู้ที่มีประสบการณ์ในวงการ WEB3 แล้ว โดยคอร์สเรียนทั้งหมดจะครอบคลุมทุกเนื้อหาที่เกี่ยวกับโลกเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล, คริปโตเคอร์เรนซี่, การเงินดิจิทัล, Metaverse, โทเคนดิจิทัล, และ AIRDROP, รวมถึง Future Tech ที่ให้ทุกคนได้เตรียมพร้อมกับการเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ 360Connect หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแพลตฟอร์มนี้ จะช่วยให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาในโลกดิจิทัลได้ง่ายยิ่งขึ้นและไม่ใช่แค่โอกาสในการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เป็นการเปิดทางสู่โอกาสในการ สร้างรายได้ให้กับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ก็ตาม

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อใช้งานแพลตฟอร์ม 360Connect และชมสาธิตวิธีการใช้งานได้ทาง LINE Official Account : @360Connect หรือ https://lin.ee/Ena7WmQ โดยสามารถแจ้งปัญหาการใช้งาน ทำกิจกรรม และเลือกดูคอร์สเรียนได้ผ่านช่องทาง LINE มาเชื่อมต่อสู่โลกบล็อกเชนที่จะทำให้ธุรกิจ ไลฟ์สไตล์ ความรู้ และการสร้างรายได้ เป็นไปได้แบบไร้ขีดจำกัดกับ 360Connect

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) จับมือชไนเดอร์ อิเล็คทริค มุ่งสู่การเป็นดิจิทัลยูทิลิตี้ และเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน พร้อมเตรียมระบบรองรับตลาดไฟฟ้าเสรีในอนาคต ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบศูนย์สั่งการจ่ายไฟ (คปศ.) โดยใช้เทคโนโลยี EcoStruxure™ ADMS (Advanced Distribution Management System) ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่สามารถวิเคราะห์ และสนับสนุนการสั่งจ่ายไฟฟ้าที่มี DERs (Distributed Energy Resources) กระจายตัวอยู่ในระบบส่งและระบบจำหน่าย ให้พนักงานศูนย์ควบคุมการจ่ายไฟ สามารถควบคุมระบบไฟฟ้าให้มีเสถียรภาพ ความมั่นคงและปลอดภัยแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ให้บริการของ PEA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการขยายขอบเขตเพื่อมุ่งเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต อาทิ การเป็น Distribution System Operator (DSO) เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบไฟฟ้าเสรีในอนาคต

PEA มีเป้าหมายสูงสุดในมิติด้านความยั่งยืน คือ การให้ประชาชนในประเทศเข้าถึงพลังงานไฟฟ้าสะอาดและมีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างความสมดุลให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตควบคู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างยั่งยืน โดย EcoStruxure™ ADMS ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับงานควบคุมการสั่งการจ่ายไฟฟ้า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบศูนย์สั่งการจ่ายไฟ และเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เป็นพลังขับเคลื่อนสู่การเป็น Digital Utility ตามวิสัยทัศน์ “SMART ENERGY FOR BETTER LIFE AND SUSTAINABILITY ไฟฟ้าอัจฉริยะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน”

ในปัจจุบัน กฟภ. กำลังดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบศูนย์สั่งการจ่ายไฟ (คปศ.) และพร้อมเดินหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อไปสู่เป้าหมายดิจิทัลยูทิลิตี้ และ Green Grid โดยใช้เทคโนโลยี EcoStruxture ADMS ที่มี Software Module สำคัญที่ใช้ในการบริหารจัดการแหล่งพลังงานแบบกระจายตัว (DERMS) และช่วยในการสนับสนุนให้บริการทางด้านพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเทคโนโลยีข้างต้นจะเป็นระบบหลักของสายงานปฏิบัติการและบำรุงรักษา ที่มีการเชื่อมโยงระหว่างระบบบริหารจัดการการดำเนินงานด้านปฏิบัติการ (OT) และ ระบบบริหารจัดการข้อมูลด้านสานสนเทศ (IT) เพื่อให้ประชาชนและภาคธุรกิจต่างๆ ได้มีไฟฟ้าใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และขับเคลื่อนธุรกิจต่างๆ ได้ตามเป้าหมาย อีกทั้งยังช่วยให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสามารถบรรลุเป้าหมายแห่งชาติในการลดการปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ตามแผนงานในอนาคตอีกด้วย

นายปราโมทย์ สุดทรัพย์ รองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เผยว่า “แพลตฟอร์ม EcoStruxture ADMS ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นำเข้ามาใช้งานทดแทนระบบเดิมในเร็วๆ นี้ โดยจะเข้ามามีบทบาทในการช่วยให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสามารถไปสู่เป้าหมายในการเป็นดิจิทัลยูทิลิตี้ได้อย่างราบรื่น เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายแห่งชาติ ในการลดการปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ และยังนำไปสู่การเตรียมพร้อมรองรับตลาดไฟฟ้าเสรีที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยตามนโยบายของภาครัฐในอนาคต เรามองว่าการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาวะการปัจจุบัน รวมถึงความพร้อมในการขยับขยาย และการปรับปรุงเพิ่มเติม เพื่อให้รองรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง”

PEA มีนโยบายการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพ ในการให้บริการทางด้านพลังงานไฟฟ้า เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าที่หลากหลาย และตอบสนองนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมให้มีแหล่งพลังงานทางเลือกมากขึ้นเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากแผนปฏิบัติการลดก๊าชเรือนกระจกของประเทศ สาขาพลังงาน ปี พ.ศ. 2564- 2573 ของกระทรวงพลังงาน จึงเร่งเดินหน้าเต็มที่ทั้งเพื่อประชาชน และเพื่อประเทศเพื่อสร้างภาพรวมด้านพลังงานที่ยั่งยืน

นายสเตฟาน นูสส์ ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ดูแลประเทศไทย เมียนมา และลาว ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เผยว่า “เรารู้สึกภาคภูมิใจ ที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของระบบศูนย์สั่งการจ่ายไฟของ กฟภ. โดยศูนย์ PEA ADMS Control Center เป็นศูนย์ควบคุมส่วนกลางด้านไฟฟ้า ด้วยโซลูชั่น ADMS ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค มั่นใจได้ว่า จะช่วยให้ประเทศไทยได้ใช้พลังงานได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้นด้วย ช่วยให้ กฟภ. สามารถมองเห็นความเป็นไปของระบบไฟฟ้าได้ทั้งระบบ พร้อมการวิเคราะห์ การคาดการณ์แนวโน้ม สามารถแก้ไขปัญหาได้ก่อนที่จะเกิดขึ้น เมื่อต้องมีการเชื่อมต่อกับไมโครกริดผู้ให้บริการรายต่างๆ ในอนาคต ช่วยให้ระบบไฟฟ้าของประเทศมีความยั่งยืน เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศในภาพรวม เพราะพลังงานเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ในการหล่อเลี้ยงธุรกิจทุกอุตสาหกรรมของประเทศ”

นอกจากนี้ ภายในงานยังมี นายฌอง ปาสคาล ตริคัวร์ ประธานบริหาร ชไนเดอร์ อิเล็คทริค และนายอเล็กซิส เกรนอน รองประธานอาวุโส ธุรกิจดิจิทัลกริด จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค รวมถึงผู้บริหารอีกหลายท่านมาร่วมแสดงความยินดีกับการนำร่องใช้งาน ศูนย์ PEA ADMS Control Center ซึ่งกำลังจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการและใช้งานอย่างเต็มรูปแบบในอนาคตอันใกล้

จีดีเอส (GDS) ผู้พัฒนาและดำเนินการศูนย์ข้อมูลสมรรถนะสูงระดับแถวหน้าของเอเชีย และมีฐานนักลงทุนหลากหลายทั่วโลก ร่วมกับสำนักงานการลงทุนแห่งอินโดนีเซีย (Indonesia Investment Authority) หรือไอเอ็นเอ (INA) ซึ่งเป็นกองทุนความมั่งคั่งของอินโดนีเซีย ได้ประกาศผนึกกำลังเป็นพันธมิตร เพื่อพัฒนาและขยายภูมิทัศน์ศูนย์ข้อมูลในอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายต่างเล็งเห็นศักยภาพของอินโดนีเซียในฐานะตลาดศูนย์ข้อมูลที่กำลังมาแรง และมีวิสัยทัศน์เหมือนกันเกี่ยวกับบทบาทของศูนย์ข้อมูลในการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของอินโดนีเซีย

ทั้งสองฝ่ายมีแผนจัดตั้งบริษัทร่วมทุนแบบร่วมหุ้น เพื่อเป็นช่องทางพัฒนาแพลตฟอร์มศูนย์ข้อมูลทั่วประเทศ โดยโครงการแรกที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จนั้นคือโครงการพัฒนาแคมปัสศูนย์ข้อมูลระดับไฮเปอร์สเกลที่นิคมดิจิทัลนองซา (Nongsa Digital Park หรือ NDP) ในเมืองบาตัม ซึ่งทางรัฐบาลอินโดนีเซียกำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) แคมปัสศูนย์ข้อมูลในเมืองบาตัมที่จะมีขึ้นนี้จะนำโซลูชันศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะอันล้ำสมัยของจีดีเอสมาใช้ และเน้นใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ พร้อมเข้ามากำหนดมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้

ความร่วมมือระหว่างจีดีเอสกับไอเอ็นเอมีขึ้นในช่วงเวลาสำคัญ เมื่ออุตสาหกรรมศูนย์ข้อมูลกำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจดิจิทัล เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยไอโอที (IoT) ความนิยมในการเปลี่ยนไปประมวลผลบนคลาวด์ และความแพร่หลายของแอปพลิเคชันเอไอ (AI) ขณะที่ผลการศึกษาตลาดคาดการณ์เอาไว้ว่า ความจุในตลาดศูนย์ข้อมูลของอินโดนีเซียจะเพิ่มขึ้นจาก 514MW ในปี 2566 เป็น 1.41GW ภายในปี 2572 อินโดนีเซียกำลังเร่งใช้ประโยชน์จากความต้องการบริการศูนย์ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นนี้ เพื่อดึงดูดการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมขับเคลื่อนอินโดนีเซียสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

วิลเลียม หวง (William Huang) ประธานและซีอีโอของจีดีเอส กล่าวว่า “อินโดนีเซียกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ในฐานะทำเลทองเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าผู้มองหาบริการศูนย์ข้อมูลระดับพรีเมียม เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นผู้พัฒนาและผู้ดำเนินการศูนย์ข้อมูลรายแรกที่ร่วมมือกับไอเอ็นเอ ซึ่งเรามองว่าเป็นการสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งที่ทางการอินโดนีเซียมีต่อเรา ทั้งในด้านวิสัยทัศน์ระดับนานาชาติ ความเชี่ยวชาญระดับแถวหน้าของตลาด และการเติบโตอย่างรวดเร็วในระดับภูมิภาค ที่จีดีเอส เรามุ่งมั่นที่จะสร้างระบบนิเวศที่มีมูลค่าเพิ่มและส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในอินโดนีเซีย โดยเราบูรณาการโครงการแรกของเราที่เมืองบาตัมเข้ากับโครงการที่ทำงานร่วมกันในสิงคโปร์และยะโฮร์ เพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และออกแบบมาอย่างเหมาะสม เพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัลในอินโดนีเซียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือกับไอเอ็นเอจะเปิดโอกาสให้แพลตฟอร์มนี้ครอบคลุมทั่วอินโดนีเซียได้มากขึ้น”

ริธา วีระกุสุมะห์ (Ridha Wirakusuma) ซีอีโอของไอเอ็นเอ กล่าวว่า “ความร่วมมือของเรากับจีดีเอสนั้นเป็นมากกว่าการปรับกลยุทธ์ให้สอดรับกัน โดยสะท้อนให้เห็นศักยภาพทางดิจิทัลที่มีชีวิตชีวาของอินโดนีเซีย เศรษฐกิจของเรากำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและมีความก้าวหน้าอย่างน่าทึ่งในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ประชากรวัยหนุ่มสาวของเราที่คุ้นเคยกับอินเทอร์เน็ตอยู่แล้วเป็นข้อพิสูจน์ถึงความพร้อมและศักยภาพด้านดิจิทัลของอินโดนีเซีย ซึ่งอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ ชี้ให้เห็นโอกาสมากมายเบื้องหน้า เราต่างตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาศูนย์ข้อมูลในท้องถิ่น ความร่วมมือของเรากับจีดีเอสจึงไม่เพียงแต่มุ่งเป้าไปที่การขยายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของเราเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการนำข้อมูลมาไว้ในประเทศและเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อข้อมูลด้วย”

การเดินทางสู่อนาคตดิจิทัลของอินโดนีเซียมีความต้องการทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นแตกต่างกัน โดยปริมาณการรับส่งข้อมูลมือถือของอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 40-50% ต่อปี [1] ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานข้อมูลยังครอบคลุมไม่เพียงพอ ผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลรายใหญ่ ๆ เช่น จีดีเอส ตระหนักถึงศักยภาพของตลาดอินโดนีเซีย เพราะวงการศูนย์ข้อมูลในอินโดนีเซียมีแนวโน้มเติบโตสดใส ซึ่งได้รับแรงหนุนจากความต้องการกระแสข้อมูลที่ดีขึ้นและเร็วขึ้น ประกอบกับการที่องค์กรต่าง ๆ หันไปใช้บริการบุคคลที่สามมากขึ้น และมีความต้องการโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้น

ไอเอ็นเอมองเห็นช่องว่างภายในภูมิทัศน์ดิจิทัล จึงตัดสินใจอำนวยความสะดวกในการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั่วทั้งอินโดนีเซียอย่างจริงจัง โดยพุ่งเป้าเสริมความได้เปรียบทางการแข่งขันของบาตัม พร้อมดึงดูดความต้องการที่ล้นหลามจากสิงคโปร์ กลยุทธ์สิงคโปร์-ยะโฮร์-บาตัมของจีดีเอส สอดคล้องกับแนวทางของไอเอ็นเออย่างลงตัว เนื่องจากจะช่วยให้เกิดการเชื่อมต่อที่มีเวลาแฝงต่ำทั่วทั้งศูนย์ข้อมูลที่เชื่อมต่อระหว่างกันของจีดีเอสในอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ดังนั้นจึงสร้างโซลูชันบริการศูนย์ข้อมูลแบบองค์รวมที่ให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายของจีดีเอสทั้งในประเทศและต่างประเทศ จีดีเอสพร้อมใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญทางเทคนิคที่ไม่มีใครเทียบได้ และประวัติการบริการที่เป็นที่ยอมรับ เพื่อเสริมความได้เปรียบทางการแข่งขันของบาตัมในฐานะศูนย์กลางศูนย์ข้อมูลภายในภูมิภาคนี้

ความพยายามนี้นับเป็นการทุ่มลงทุนครั้งที่สามของไอเอ็นเอในภาคดิจิทัล ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ภาคส่วนสำคัญ ไอเอ็นเอเป็นกองทุนแห่งชาติหนึ่งเดียวของอินโดนีเซีย เปิดตัวในปลายปี 2563 ด้วยเงิน 5 พันล้านดอลลาร์จากรัฐบาล ก่อนหน้านี้ ไอเอ็นเอเข้ามามีบทบาทในการเสนอขายหุ้น IPO ของมิตราเทล (Mitratel) และเป็นผู้ถือผลประโยชน์รายสำคัญของบริษัทเจ้าของเสาสัญญาณโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รายนี้ นอกจากนี้ ไอเอ็นเอยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรอย่างแบล็คร็อค (BlackRock) อลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ส (Allianz Global Investors) และโอไรออน แคปิตอล เอเชีย (Orion Capital Asia) ในการสนับสนุนแพลตฟอร์มการเดินทางชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างทราเวลโลก้า (Traveloka) ความเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์ดังกล่าวตอกย้ำความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของไอเอ็นเอ ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของอินโดนีเซีย

เมื่อรวมพลังกันแล้ว จีดีเอสและไอเอ็นเอพร้อมเข้ามาพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับศูนย์ข้อมูลที่ดีที่สุดทั่วประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการทางดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไป และยกระดับภูมิทัศน์โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในอินโดนีเซียและที่อื่น ๆ

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click