October 23, 2024

หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติถอดถอนนายเศรษฐา ทวีสิน จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทยได้เสนอชื่อ น..แพทองธาร ชินวัตร หรือ "อุ๊งอิ๊ง" เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2567 ..แพทองธาร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ทำให้เธอกลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นสตรีคนที่สองที่ดำรงตำแหน่งนี้ และเป็นบุคคลที่สามในตระกูลชินวัตรที่ได้นั่งเก้าอี้ผู้นำประเทศไทย ส่งผลให้เกิดกระแสการพูดคุยและถกเถียงอย่างกว้างขวางในโซเชียลมีเดีย 

บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ได้ทำการรวบรวมข้อมูลผ่านเครื่องมือ DXT360 เพื่อฟังเสียงในสื่อสังคมออนไลน์ (Social Listening) ในช่วงวันที่ 15 - 18 สิงหาคม 2567 ถึงประเด็น “นายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย” พบว่าชาวโซเชียลต่างแสดงความคิดเห็น สะท้อนทั้งความคาดหวัง และข้อกังวลต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในแง่มุมที่หลากหลาย ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างทางความคิดและทัศนคติทางการเมืองในสังคมไทยได้อย่างชัดเจน 

 

วิเคราะห์ความรู้สึกของชาวโซเชียลต่อนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 (Sentiment Analysis) 

ประเด็นที่ชาวโซเชียลพูดถึงนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 (Comment Topics) 

เมื่อวิเคราะห์เนื้อหาของความคิดเห็น (Comments) ที่ปรากฎในโซเชียลมีเดีย สามารถสรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับนายกฯ แพทองธาร ได้ดังต่อไปนี้ 

  1. สานต่อนโยบายของพรรคเพื่อไทย (41.3%) 
  • ดิจิทัล วอลเล็ต (Digital Wallet) 

นโยบายแจกเงินดิจิทัล หรือ นโยบายการเติมเงิน 10,000 บาทผ่าน Digital Wallet เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในโซเชียลมีเดีย ประชาชนส่วนใหญ่แสดงความกังวลว่านโยบายนี้อาจจะไม่ได้รับการดำเนินการต่อ ส่งผลให้มีทัศนคติเชิงลบต่อพรรคเพื่อไทย และนายกฯ แพทองธาร สูงถึง 74.7% ของการกล่าวถึงนโยบาย Digital Wallet 

  อย่างไรก็ตาม ยังมีบางส่วนที่ยังคงมีความหวังว่านายกฯ แพทองธารจะสามารถดำเนินนโยบายนี้ต่อไปได้ เนื่องจากมีข้อมูลว่างบประมาณบางส่วนได้รับการอนุมัติแล้ว 

  • นโยบายลดค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน 

หนึ่งในนโยบายหาเสียงสำคัญในการเลือกตั้งที่ผ่านมา คือการลดหย่อนค่าสาธารณูปโภค เช่น การลดค่า Ft และค่าน้ำมัน ซึ่งสัญญาว่าจะดำเนินการได้ทันทีหากพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ปัจจุบัน ความคิดเห็นส่วนใหญ่บนโซเชียลมีเดียอยู่ในสถานะ 'รอดู' โดยยังไม่ตัดสินว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่จะสามารถดำเนินการตามนโยบายนี้ได้หรือไม่ ส่งผลให้ทัศนคติส่วนใหญ่เป็นกลาง คิดเป็น 85% ของการกล่าวถึงนโยบายด้านการช่วยเหลือค่าสาธารณูปโภค 

  • ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) 

ก่อนการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี น.ส.แพทองธาร รับบทบาทประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ส่งผลให้ประชาชนในโซเชียลมีเดียมีความคาดหวังเชิงบวกต่อการผลักดันนโยบายด้านซอฟต์พาวเวอร์ของเธอ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น การผลักดันการศึกษา การส่งเสริมการท่องเที่ยว การยกระดับการผลิตสินค้า เป็นต้น 

  • การแก้ไขปัญหายาเสพติด 

ปัญหายาเสพติดในประเทศไทยทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อสังคมไทย สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือการขาดความเด็ดขาดในการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ นโยบายด้านสาธารณสุขที่นำกัญชาและกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดได้สร้างความท้าทายในการจัดการกับปัญหานี้ ภายหลังจากที่ น.ส.แพทองธารได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประชาชนในโซเชียลมีเดียต่างแสดงความคาดหวังอย่างสูงต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด ความคาดหวังนี้มีรากฐานมาจากความสำเร็จในอดีตของรัฐบาลภายใต้การนำของนายทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นบิดา ซึ่งสามารถจัดการกับปัญหายาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

  • ยกระดับฐานรายได้ 

ในช่วงหาเสียง พรรคเพื่อไทยได้เสนอนโยบายเพื่อดึงดูดความสนใจจากประชาชน โดยเฉพาะการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 600 บาทต่อวัน และเงินเดือนผู้จบการศึกษาปริญญาตรี 25,000 บาท เมื่อมีการประกาศแต่งตั้ง น.ส.แพทองธาร ลูกสาวของอดีตนายทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ประชาชนในโซเชียลมีเดียจึงให้ความสนใจนโยบายนี้ โดยหวังว่าเธอจะสามารถทำให้เศรษฐกิจดีเช่นเดียวกับบิดาของเธอที่ทำได้ในอดีต 

อย่างไรก็ตาม มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากบางส่วน (5% ของการกล่าวถึงนโยบายการเพิ่มรายได้) ที่แสดงความไม่เชื่อมั่นว่านายกฯ แพทองธาร จะสามารถทำให้นโยบายด้านรายได้ประสบความสำเร็จได้ นอกจากนี้ อีกประเด็นที่ได้รับการพูดถึงอย่างมากคือการอ้างอิงคำกล่าวของ น.ส.แพทองธารในช่วงหาเสียง “มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ไปพร้อม ๆ กัน 

 

  1. ความน่าเชื่อถือและความเหมาะสม (35.2%) 
  • การไม่รักษาคำพูด 

หลังจากพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล สลับขั้วไปจับมือกับพรรครวมไทยสร้างชาติและพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นกลุ่มขั้วอำนาจเดิมในฝั่งอนุรักษ์นิยม และทำให้พรรคก้าวไกลต้องไปเป็นฝ่ายค้าน ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมาย รวมถึงการผิดคำมั่นที่พูดไว้เรื่อง “ปิดสวิตช์ 3 ป” ตอนหาเสียงเลือกตั้ง เหตุการณ์เหล่านี้นำไปสู่ความไม่พอใจของชาวโซเชียลบางกลุ่มจนเกิดวลี “เพื่อไทยหักหลังประชาชน” รวมถึงมีการแสดงความคิดเห็นโดยใช้อิโมจิรูปสตรอว์เบอร์รี่เป็นสัญลักษณ์ สะท้อนถึงความไม่เชื่อมั่นที่มีต่อพรรคเพื่อไทย และนายกฯ แพทองธาร ในฐานะผู้นำพรรค 

  • คุณวุฒิและวัยวุฒิ 

ประเด็นความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องอายุและประสบการณ์ทางการเมือง ประเด็นหลักที่ถูกหยิบยกขึ้นมา ได้แก่ อายุน้อยเมื่อเทียบกับนายกรัฐมนตรีคนก่อน ๆ และขาดผลงานทางการเมืองที่เป็นที่ประจักษ์ 

นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวอ้างถึงคำพูดของนายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่เคยกล่าวเมื่อครั้งที่มีการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ว่า “ไม่ต้องการได้สามเณรเป็นเจ้าอาวาส” ในครั้งนี้จึงมีการเปรียบเปรยกันในบางส่วนของสังคมออนไลน์ว่า "ได้แม่ชีเป็นเจ้าอาวาส" โดยต้องการสื่อถึง น.ส.แพทองธาร อย่างไม่เป็นทางการ 

  • สืบทอดอำนาจครอบครัวชินวัตร 

ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์แสดงข้อสงสัยเกี่ยวกับการได้มาซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ น.ส.แพทองธาร โดยมีประเด็นหลักดังนี้ 

  • พรรคเพื่อไทยไม่ใช่พรรคที่ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนมาเป็นอันดับหนึ่ง 
  • ความไม่เชื่อมั่นในกระบวนการทางการเมืองไทย: สถานการณ์นี้ถูกมองว่าสะท้อนปัญหาในระบบการเมืองของไทยที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน 
  • อิทธิพลของตระกูลชินวัตร: มีการตั้งคำถามว่าการได้รับตำแหน่งนี้อาจเป็นผลมาจากอิทธิพลของครอบครัว และมีการตั้งข้อสังเกตว่าน.ส.แพทองธาร อาจเป็นเพียงตัวแทนในการบริหารประเทศแทนอดีตนายกฯ ทักษิณ 

ข้อสงสัยเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความกังวลของประชาชนต่อความโปร่งใสและความเป็นอิสระในการบริหารประเทศของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ 

 

  • ตัวแทนคนรุ่นใหม่  

ชาวโซเชียลบางส่วนแสดงความยินดีและพร้อมสนับสนุนนายกฯ แพทองธาร โดยมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถบริหารประเทศได้ดี จึงอยากให้โอกาสและรอดูผลงานก่อนแล้วค่อยตัดสินทีหลัง โดยสิ่งที่ชาวโซเชียลกำลังจับตาพิจารณาในช่วงนี้คือการแต่งตั้งรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ที่สำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจว่าจะใช้คนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมบริหาร หรือเป็นกลุ่มนักการเมืองรุ่นเก่าที่เคยทำงานกับนายทักษิณมาก่อน 

  1. เสถียรภาพทางการเมือง (17.6%)   

เหตุการณ์ที่ผ่านมาได้สร้างความกังวลให้กับประชาชนในโซเชียลมีเดีย โดยมีประเด็นหลักดังนี้ 

  1. ความเปราะบางของตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากกรณีอดีตนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากตำแหน่ง หลังจากดำรงตำแหน่งได้ไม่ถึง 1 ปี 2
  2. ความกังวลว่านายกฯ แพทองธารอาจเผชิญชะตากรรมเดียวกัน 3
  3. ความกังวลเกี่ยวกับการบริหารประเทศของนายกฯ แพทองธาร ภายใต้อิทธิพลของนายทักษิณ 4
  4. ประเด็นการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงในการถูกตัดสิทธิทางการเมือง เช่นเดียวกับกรณีการถือหุ้นสื่อของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ 

ประเด็นเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความไม่มั่นใจของประชาชนต่อเสถียรภาพทางการเมืองในปัจจุบัน 

  1. เฝ้ารอการฟื้นฟูทางด้านเศรษฐกิจ (5.9%)   

แม้ว่าประเด็นหลักซึ่งมีการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์กันในหลากหลายแง่มุมจะเกี่ยวข้องกับความนิยมของตระกูลชินวัตรและพรรคเพื่อไทย รวมถึงการแบ่งแยกแนวคิดทางการเมืองระหว่างอนุรักษ์นิยมและเสรีนิยม แต่ก็ยังคงมีการพูดถึงประเด็นเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ ปากท้องและความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งมีมุมมองที่น่าสนใจดังนี้ 

  • ประเด็นปากท้อง: บางส่วนให้ความสำคัญกับเรื่องเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นหลัก 
  • ความสงบของบ้านเมือง: มีการแสดงความคิดเห็นที่เน้นความสำคัญของเสถียรภาพทางการเมืองและสังคม 

Insight ที่น่าสนใจจาก Reaction ของผู้คนบนเฟซบุ๊ก 

การวิเคราะห์การแสดงอารมณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับนายกฯ แพทองธารผ่าน Reaction บนเฟซบุ๊ก พบประเด็นที่น่าสนใจ คือโดยปกติผู้ใช้เฟซบุ๊กมักจะกดไลค์ (Like) เพราะกดง่าย แตกต่างจาก Reaction อื่นที่ต้องเลื่อนเพื่อจะเลือก แต่จากการศึกษาโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับนายกฯ แพทองธารซึ่งมี Engagement สูงกว่า 10,000 ครั้ง กลับพบว่ามีการกดปุ่ม "หัวเราะ" เฉลี่ยสูงถึง 29% ของ Reaction ทั้งหมด ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงอย่างมีนัยยะสำคัญ 

 

กระแสของกัญชากลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง หลังจากที่มีแนวโน้มว่าโฉมหน้ารัฐบาลชุดใหม่จะมีพรรคภูมิใจไทยรวมอยู่ในสมการนั้นด้วย หลังจากที่ชะงักไปบ้างเมื่อครั้งการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคก้าวไกล ที่ใน MOU ระบุจะนำกัญชากลับไปอยู่ในบัญชียาเสพติดให้โทษโดยมีกฎหมายควบคุมและรองรับการใช้ประโยชน์จากกัญชา ซึ่งเท่ากับว่านโยบายกัญชาเสรี ของรัฐบาลชุดที่แล้วซึ่งผลักดันโดยพรรคภูมิใจไทยมีแนวโน้มว่าจะได้ไปต่อ

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า นโยบายการเปิดเสรีกัญชามีทั้งคุณและโทษ หลายเรื่องยังเป็นข้อถกเถียงที่ยังไม่ได้ข้อสรุปในสังคมไทย โดยเฉพาะประเด็นทางด้านสังคมและระบบสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบจากการปลดล็อกกัญชาโดยไม่มีการควบคุมและยังไม่มีมาตรการรองรับอย่างรอบด้าน  แต่หากพิจารณาในด้านเศรษฐกิจแล้ว กัญชาเป็นพืชที่สามารถทำรายได้ได้จริง จากข้อมูลของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งมีการประเมินมูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมกัญชา-กัญชง ณ ปี 2565 นับตั้งแต่ต้นน้ำถึงผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ มีมูลค่ารวมถึงกว่า 28,000 ล้านบาท แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต้นน้ำมูลค่า 9,615 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์กลางน้ำ 14,690 ล้านบาท ส่วนผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ 3,750 ล้านบาท แบ่งเป็น ยารักษาโรคและอาหารเสริม มูลค่า 1,500 ล้านบาท อาหารและเครื่องดื่ม 1,200 ล้านบาท เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล 800 ล้านบาท เครื่องนุ่งห่มและของใช้ส่วนตัว 250 ล้านบาท และยังมีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดในอีก 2 ปีข้างหน้า จะโตได้ 10-15% คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 42,800 ล้านบาท

 

และจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในสังคมออนไลน์โดยใช้เครื่องมือ DXT360 ของ บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ที่มีการกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ปลายน้ำของอุตสาหกรรมกัญชา-กัญชง ในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 2566 พบว่ามีการพูดถึงทั้งหมด 902 ข้อความ และได้รับการมีส่วนร่วม หรือ Engagement ถึง 12,358 ครั้ง ซึ่งเห็นได้ว่าผู้คนบนสังคมออนไลน์ให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับกัญชา-กัญชงไม่น้อย และถ้าดูจากสัดส่วนการโพสต์ลงบนโซเชียล แยกตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ ดังนี้

· ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย มีการโพสต์ขายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ภายในประเทศและต่างประเทศ ที่ใช้ส่วนประกอบอย่างเส้นใยของกัญชามาช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้มีความแข็งแรงขึ้น โดยพบว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มีสัดส่วนการโพสต์บนโลกออนไลน์มากที่สุดคิดเป็น 57.43%

· ผลิตภัณฑ์ยา/การแพทย์ มีการโพสต์ส่วนใหญ่เป็นการใช้สารสกัดจากน้ำมันกัญชามาใช้เป็นส่วนประกอบของยาเพื่อการรักษาต่าง ๆ เช่น ประกอบการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง รักษาอาการปวดท้อง และรักษาอาการปวดเรื้อรัง เป็นต้น โดยสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีถึง 27.05%

· ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง มีการโพสต์ขายผลิตภัณฑ์เพื่อความงามและการทำความสะอาดโดยใช้ส่วนประกอบเป็นสารสกัดน้ำมันจากเมล็ดกัญชง เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว สบู่ และยาสระผม เป็นต้น ซึ่งสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีมากที่สุดคิดเป็น 8.43%

· ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม พบว่ามีการนำกัญชามาเป็นส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นขนม ผงเครื่องดื่ม และเครื่องดื่มบรรจุขวด ซึ่งส่วนผสมที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสารสกัดน้ำมันกัญชาและใบกัญชา โดยสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีมากที่สุดคิดเป็น 6.54%

· ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ นอกจากผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ข้างต้น พบว่ามีการโพสต์ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 0.55% เช่น สินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง คือ อิฐ และ เฮมป์พาร์ทิเคิลบอร์ด หรือแผ่นกั้นผนังห้อง เป็นต้น ซึ่งในอนาคตอาจมีแนวโน้มว่าจะมีการนำสารสกัดจากกัญชาและกัญชงมาใช้แปรรูปหรือพัฒนาเป็นสินค้าหรือนวัตกรรมที่มีความหลากหลายในด้านของรูปแบบสินค้าและประเภทของสินค้ามากขึ้น

นอกจากนี้ เมื่อดูความคิดเห็นบนโซเชียล พบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

 

จากข้อมูลพบว่าผู้ใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์จะมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อผลิตภัณฑ์ยา/การแพทย์ โดยมีการพูดถึงในเรื่องของการยอมรับการใช้กัญชามาประกอบการรักษามากขึ้นด้วย โดยเฉพาะการรักษาหรือบำบัดผู้ป่วยโรคมะเร็ง ถึงแม้ในความเป็นจริงจะยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ทางด้านวิทยาศาสตร์รองรับว่าสามารถรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งได้

แต่หากมองในมุมของผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและเครื่องดื่มพบว่า ผู้คนบนโซเชียลได้มีการแสดงความคิดเห็นที่สื่อถึงความกังวลและความคิดเห็นไปในทิศทางเชิงลบ โดยเฉพาะความกังวลในเรื่องการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสารสกัดจากกัญชา-กัญชง ที่อาจได้รับเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือนำไปสู่การเสพติดไปจนถึงทำให้เกิดการเสียชีวิตได้

กล่าวได้ว่า นับแต่มีการปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 2565 และแนวโน้มการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่น่าจะมีพรรคภูมิใจไทยเป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล การใช้กัญชาจึงยังคงอยู่ในสถานะที่ถูกเปิดช่องให้ใช้ได้อย่างเสรี โดยไม่ได้ถูกจำกัดเพียงการใช้ทางการแพทย์ ไปจนกว่า

จะมีการออกมาตรการเพื่อควบคุมการเข้าถึงและการใช้อย่างเหมาะสม เรื่องของกัญชาจึงได้กลายเป็นวาระในการถกเถียงของคนทุกระดับในสังคมไทย

CR :  Inforquest

X

Right Click

No right click