January 02, 2025

True CJ Creations ร่วมกับ Ryoii Film เปิดตัวเว็บไซต์ “Hidden Gem” แพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลร้านอาหารไทยอันมีเอกลักษณ์ไว้ในที่เดียว สานต่อความสำเร็จของภาพยนตร์ซีรีส์สารคดีอาหารชุด Hidden Gem ที่โด่งดังในต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้เข้าถึงใจผู้คนทั่วโลก ผ่านเรื่องราวของอาหารที่เป็นหนึ่งในจุดแข็งด้านการท่องเที่ยวของไทย พร้อมผลักดันการท่องเที่ยวมิติใหม่อย่างมีคุณค่า ชวนผู้คนออกเดินทางสัมผัสวิถีชีวิตและอาหารท้องถิ่น

โครงการ Hidden Gem เกิดขึ้นจากความตั้งใจของ True CJ Creations ร่วมกับ Ryoii Film ที่อยากนำเสนอเรื่องราวของอาหารและวัฒนธรรมไทยที่ไม่เคยถูกเผยแพร่มาก่อน โดยเริ่มต้นจากการทำซีรีส์สารคดีอาหารไทยออกเผยแพร่ทาง Asian Food Network ในกว่า 60 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2023 ซึ่งได้รับความสนใจและเสียงตอบรับที่ดี จนได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Content Asia Awards 2024 จึงเป็นที่มาสู่การต่อยอดโครงการให้เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น ผ่านการเปิดตัวเว็บไซต์ Hidden Gem ที่รวบรวมเรื่องราวร้านอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวท้องถิ่นในไทย พร้อมเตรียมถ่ายทำภาพยนตร์ซีรีส์สารคดี Season 2 ในปีนี้ เพื่อนำเสนอร้านอาหารคุณภาพที่ยังซ่อนอยู่และขยายฐานคอมมิวนิตี้ของคนรักอาหาร รวมทั้งคนที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวให้กว้างขึ้น

 

นางสาวอารี อารีจิตเสถียร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมของทรูซีเจ ครีเอชั่นส์ กล่าวว่า “เว็บไซต์ Hidden Gem เป็นการใช้รูปแบบเทคโนโลยีออนไลน์ ผสานกับศิลปะในการคัดสรรและถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าสนใจ เพื่อเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างคอมมิวนิตี้สำหรับคนรักอาหารไทย ให้สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทั่วโลก พร้อมต่อยอดเก็บตกร้านอาหารไทยคุณภาพอีกมากมายที่ซีรีส์ไม่สามารถบอกเล่าได้หมดมารวมไว้บนเว็บไซต์นี้ โดยเราเชื่อว่า Hidden Gem จะเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยกระตุ้น

การท่องเที่ยว ยกระดับคุณค่าให้ร้านอาหาร นำไปสู่การผลักดันให้เกิดรายได้กระจายสู่ท้องถิ่น ทั้งร้านอาหาร ร้านค้า สถานที่ท่องเที่ยว และที่พัก”

ทางด้านนายซอง ฮุน จอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมของทรูซีเจ ครีเอชั่นส์ กล่าวเสริมว่า “เทรนด์การท่องเที่ยวยุคใหม่ที่เน้นสัมผัสวิถีชีวิตชุมชน ชูความเป็น Local hero กำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเปิดตัวเว็บไซต์ Hidden Gem เป็นโอกาสอันดีที่ช่วยยกระดับภาพลักษณ์การท่องเที่ยวประเทศไทยให้รับการเทรนด์ของนักท่องเที่ยว รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและบริการของประเทศได้อย่างยั่งยืน”

 

นายอนุรักษ์ ดิษฐไชยวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Ryoii Film กล่าวทิ้งท้ายว่า Hidden Gem จะเป็นมากกว่าแค่แพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลรายชื่อร้านอาหารไทยที่น่าลอง แต่ยังมีเรื่องราวเส้นทางความเป็นมาและอุปสรรคของทุกร้าน รวมถึงแนวคิดการออกแบบสร้างสรรค์เมนูมากมาย เพื่อให้ผู้คนได้ค้นพบประสบการณ์ใหม่ ๆ และจุดประกายแรงบันดาลใจดี ๆ 

ฟีเจอร์และบริการบนเว็บไซต์ Hidden Gem

สำหรับเว็บไซต์ Hidden Gem จะมีฟีเจอร์และบริการที่น่าสนใจเปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถใช้งานได้มากมาย โดยจะมีการพัฒนาและทยอยเพิ่มฟีเจอร์ใหม่เป็นระยะ ไม่ว่าจะเป็น

· Hidden Gem Places บริการรวบรวมสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจจากทั่วประเทศไทย โดยจะเน้นสถานที่ที่เกี่ยวข้องหรืออยู่ในซีรีส์ก่อนในช่วงระยะแรก

· Hidden Gem Vote เปิดให้ผู้ชมสามารถร่วมโหวตและแนะนำร้านอาหารในตำนานที่ชื่นชอบในแต่ละจังหวัด เพื่อนำมาผลิตภาพยนตร์สารคดีซีรีส์ใน Season 3

· Hidden Gem Booking บริการระบบจองร้านที่เป็น Hidden Gem Heroes ที่ปรากฏในภาพยนตร์สารคดีซีรีส์ พร้อมแนะนำเมนูพิเศษ ซึ่งคาดว่าจะเปิดใช้งานได้ในเดือนพฤศจิกายน

· Hidden Gem Restaurants รวมข้อมูลร้านอาหารทั่วประเทศไทยที่น่าสนใจ และมีโอกาสได้เป็น Hidden Gem Heroes ใน Season 3

· Experience the Hidden Gem Heroes Restaurant ระบบจองร้านอาหาร Hidden Gem ผ่านเว็บไซต์ ขยายความร่วมมือกับแพลตฟอร์มการจองในต่างประเทศ ทั้งประเทศไต้หวัน และ ประเทศญี่ปุน เช่น KKDay และ Takeme โดยคาดว่าบริการนี้จะเปิดให้บริการภายในปี 2025

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (เคทีซี)  ร่วมด้วย บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) เดินหน้ากระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยว 55 จังหวัดทั่วประเทศ หวังยกระดับการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยวและกระจายรายได้สู่ชุมชนเพื่อเป็นแรงผลักดันให้รายได้การท่องเที่ยวในประเทศโตตามเป้าหมายที่ 1.2 ล้านล้านบาท พร้อมมอบสิทธิพิเศษผ่านแคมเปญ ‘ขับรถเที่ยวเมืองรอง (เมืองน่าเที่ยว) กับบัตรเครดิตเคทีซี’ รับเครดิตเงินคืน4% เมื่อเติมน้ำมันที่ พีทีที สเตชั่น ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 

นางสาวสมฤดี จิตรจง รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท. กล่าวว่า ททท. ขานรับนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยว หรือ เมืองรอง 55 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) นำรายได้กระจายสู่ชุมชน และยังถือเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์  IGNITE THAILAND’S TOURISM ของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันประเทศไทยสู่เป้าหมายการเป็น Tourism Hub ที่สำคัญของโลก จึงได้ร่วมมือกับร่วมมือกับ เคทีซี หรือ บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท  
ปตท. นํ้ามันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR และพันธมิตรอีกหลายรายออกแคมเปญ ‘ขับรถเที่ยวเมืองรอง (เมืองน่าเที่ยว) กับบัตรเครดิตเคทีซี’ รับเครดิตเงินคืน 4% เมื่อเติมน้ำมันที่สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น และได้รับเครดิตเงินคืนกับสถานีบริการน้ำมันอีกหลายราย รวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ อีกมากมาย โดยตั้งเป้าหมายการออกแคมเปญในครั้งนี้จะมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) ไม่ต่ำกว่า 70,000,000 บาท  

นางประณยา นิถานานนท์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในหมวดการท่องเที่ยวทั้งประเทศเดือนมกราคม – มิถุนายน 2567 เติบโตที่ 12% โดยยอดการเติบโตส่วนใหญ่มาจากหัวเมืองใหญ่จังหวัดท่องเที่ยว สะท้อนได้ว่าการท่องเที่ยวเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) ยังต้องการแรงผลักดันจากรัฐบาลและภาคเอกชนในการกระตุ้นการท่องเที่ยวและนำรายได้สู่ชุมชนอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เคทีซีพร้อมสนับสนุนการท่องเที่ยวของไทยให้บรรลุตามเป้าหมายของรัฐบาลโดยมอบสิทธิพิเศษด้านการท่องเที่ยวครอบคลุมทั้งสถานีบริการน้ำมัน / ส่วนลดและแลกคะแนนรับเครดิตเงินคืนร้านอาหารและร้านกาแฟ 136 ร้านค้า / ส่วนลดที่พัก 41 โรงแรม และส่วนลด 9 พันธมิตรรถเช่า ทั้ง 55 จังหวัดเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ktc.co.th/tat  

นายสุวัฒน์ เทพปรีชาสกุล ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า แคมเปญดังกล่าวถือเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระสำหรับสมาชิกบัตรเครดิต   เคทีซีที่วางแผนขับรถท่องเที่ยวไปยังเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) สำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่เดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) 55 จังหวัดใช้บริการที่สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น และชำระค่าน้ำมันผ่านบัตรเครดิตเคทีซี วีซ่า และบัตรเครดิตเคทีซี มาสเตอร์การ์ด รับเครดิตเงินคืน 4% โดยมีเงื่อนไขข้อมูลจังหวัดที่อยู่ตามที่ระบุในใบแจ้งยอดของสมาชิกฯ ต้องไม่ตรงกับจังหวัดที่ตั้งของสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ที่ทำรายการ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ต้องการสนับสนุนให้คนไทยเที่ยวต่างถิ่น และกระจายรายได้สู่ชุมชน สมาชิกสามารถรับสิทธิ์ดังกล่าวได้ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567  นอกจากนี้ สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซียังสามารถใช้คะแนน KTC FOREVER จำนวน 169 คะแนน แลกรับเครดิตเงินคืน 20 บาท เมื่อมียอดการใช้จ่ายที่ร้าน คาเฟ่ อเมซอน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 

นายถนัดผล ดุละลัมพะ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์และการตลาดค้าปลีกน้ำมัน บริษัท ปตท.น้ำมัน  และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR กล่าวว่า ปัจจุบันสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ภายใต้การกำกับดูแลของ OR ใน 55 จังหวัดเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) มีจำนวนทั้งสิ้น 1,093 สถานี ความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและเคทีซีในครั้งนี้จะเป็นส่วนช่วยให้คนไทยสนใจขับรถท่องเที่ยวเส้นทางเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) มากยิ่งขึ้นด้วยสิทธิพิเศษที่คุ้มค่า พร้อมได้ใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันคุณภาพจาก พีทีที สเตชั่น ซึ่งครอบคลุมความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น “Super Power” น้ำมันเกรดพรีเมียมคุณภาพสูง ที่มีคุณสมบัติเด่นเรื่องความแรง รู้สึกได้ทันทีที่เติม พร้อมทำความสะอาด ปกป้องเครื่องยนต์ สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการน้ำมันที่ช่วยเพิ่มสมรรถนะให้เครื่องยนต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ โดยมีทั้ง Super Power ดีเซล และ Super Power GSH95 และสำหรับผู้บริโภคที่เน้นเรื่องความประหยัดคุ้มค่า ขอแนะนำ “Xtra Save” น้ำมันเกรดมาตรฐานสูตรใหม่ที่ทำให้ขับไปได้ระยะทางไกลกว่าเดิม ด้วย “สารเพิ่มพลังเครื่องยนต์ มากขึ้น 1.5 เท่า” เพิ่มอัตราเร่งได้เต็มกำลัง ปกป้องเครื่องยนต์ และลดการสิ้นเปลืองน้ำมัน มอบความคุ้มค่าแก่ผู้บริโภคทุกคน โดยมีน้ำมันครอบคลุมทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มดีเซล กลุ่มเบนซิน และแก๊สโซฮอล์ น้ำมันทุกชนิดของ พีทีที สเตชั่น ได้รับรองมาตรฐาน EURO 5 ซึ่งมีปริมาณกำมะถันลดลงถึง 5 เท่า ทำให้ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กลดลง อากาศสะอาดมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันอย่างละเอียดเป็นประจำในทุกสาขา เพื่อควบคุมคุณภาพและส่งมอบน้ำมันที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภคสอดคล้องกับพันธกิจหลักของภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในมิติแห่งความยั่งยืน 

ศึกษาข้อมูลรายละเอียดโปรโมชันเพิ่มเติมได้ที่ https://www.pttor.com/th/news/promotion และติดตามโปรโมชันและกิจกรรมอื่น ๆ ได้ที่ Facebook Fanpage: PTT Station หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 1365 Contact Center หรือ KTC PHONE โทรศัพท์ 02 123 5000 สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ https://ktc.today/apply-card หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ   

การท่องเที่ยวไต้หวันเผยปี 67 คนไทยไปไต้หวันเพิ่มขึ้นเกือบ 18%  เดินหน้าจับมือเคทีซีเปิดตัวแคมเปญ ‘Unseen Taiwan 2024’ เที่ยวได้ในทุกฤดูกาล พร้อมเผยโฉมโลโก้ ‘Taiwan - Waves of Wonder’ สะท้อนกลยุทธ์การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สอดรับเทรนด์คนไทยนิยมเดินทางใกล้ วางรูปแบบการท่องเที่ยวตามปัจเจกนิยม และให้คุณค่ากับบริการรักษ์โลก หวังสิ้นปีดันยอดคนไทยเยือนไต้หวันเพิ่มไม่ต่ำกว่านักท่องเที่ยวในช่วงก่อนโควิด 

 

มิสซินดี้ เฉิน ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวไต้หวัน ประจำกรุงเทพฯ เปิดเผยว่า ในปี 2566 นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปไต้หวันทั้งสิ้นเกือบ 4 แสนคน และตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน 2567 ยอดรวมนักท่องเที่ยวคนไทยแตะ 153,638 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง 17.82% เป็นผลจากการขยายระยะเวลานโยบายฟรีวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย 14 วัน จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2568 รวมถึงจำนวนเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ - ไต้หวัน ก็มีเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน สำหรับในปีนี้ การท่องเที่ยวไต้หวันได้เปลี่ยนโลโก้ใหม่ภายใต้ธีม ‘Taiwan - Waves of Wonder’ เพื่อชูจุดยืนเรื่องกลยุทธ์การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้รูปแบบเส้นสายลอนคลื่นที่ได้แรงบันดาลใจมาจากภูเขา ทะเล ถนนทรงคดเคี้ยว หรือทางรถไฟ      บ่งบอกถึงความงดงามของภูมิทัศน์ธรรมชาติผสานกับมรดกทางวัฒนธรรมอันยาวนานของไต้หวัน การเลือกโทนสีส้มเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์ขึ้น สื่อถึงความหวังสำหรับการท่องเที่ยวยั่งยืนที่พร้อมส่งต่อไปยังประชากรรุ่นต่อไปในอนาคต  

ถึงแม้ว่าไต้หวันต้องการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้ได้มากขึ้น แต่รัฐบาลก็ได้ออกนโยบายเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจมีต่อทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ด้วยการรณรงค์ให้ความรู้แก่หน่วยงานภาคการท่องเที่ยวในเรื่องการลดปริมาณขยะ การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า และเคารพวัฒนธรรมพื้นถิ่น นอกจากนี้รัฐบาลยังได้วางแผนงานเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวยั่งยืน (Sustainable Tourism) ดังนี้  1) โครงการด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ (Ecotourism Initiatives) การจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ อุทยานธรณี และเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ พร้อมแผนการบริหารด้านการท่องเที่ยวใส่ใจสิ่งแวดล้อม 2) การคมนาคมคาร์บอนต่ำ (Low-Carbon Transportation) ประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวเลือกเดินทางด้วยรถไฟ เส้นทางจักรยาน หรือการเช่ารถยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดการปล่อยปริมาณคาร์บอน 3) การรับรองมาตรฐานคุณภาพ (Certification and Standards) รัฐบาลสนับสนุนธุรกิจบริการท่องเที่ยวให้ได้รับใบรับรอง อาทิ  Green Travel Mark และ Travelife เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นและรับผิดชอบต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน 4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Development) การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวยั่งยืน อาทิ ที่พักที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระบบการกำจัดของเสีย รวมถึงศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวเพื่อให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและมรดกทางวัฒนธรรม 

ทั้งนี้ ปัจจุบันไต้หวันได้มีโครงการที่เป็นแบบอย่างของนโยบายท่องเที่ยวยั่งยืนเชิงรุก อาทิ ระบบยืมแก้วน้ำใช้ซ้ำที่ทะเลสาบสุริยันจันทรา: เพื่อลดปริมาณแก้วน้ำพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว โดยอนุญาตให้ผู้เข้าชมยืมแก้วน้ำใช้ซ้ำ (Reuse) แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะลดขยะตามสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม หรือโครงการติดป้าย Bicycle-Friendly: เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวด้วยจักรยาน โดยรับรองมาตรฐานที่พักว่ามีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักปั่นจักรยาน และส่งเสริมการเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

นอกจากเรื่องของการท่องเที่ยวยั่งยืนแล้ว  ไต้หวันยังมีสถานที่ท่องเที่ยวจากแคมเปญ ‘Unseen Taiwan 2024’ ที่พร้อมมอบประสบการณ์ที่แตกต่างให้กับนักท่องเที่ยวใน 4 ฤดูกาลดังนี้ 

  1. ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) เป็นช่วงที่ดอกซากุระกำลังบานและสวยงามที่สุด ไต้หวันมีจุดชมดอกซากุระหลายแห่ง อาทิ ไทเป – อุทยานแห่งชาติหยางหมิงซาน หรือสวนเล่อหัว / นิวไทเป - วัดเทียนหยวน / เจียอี้ – อุทยานแห่งชาติอาลีซาน และ เถาหยวน - ลาลา เมาท์เทน  หรือหากต้องการขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไต้หวันมีวัดมากถึงกว่า 12,000 แห่งทีเดียว 
  1. ฤดูร้อน (Summer) ไต้หวันเป็นสวรรค์ของนักชิม มีร้านอาหารที่ได้รับรางวัลมิชลินถึง 4 เมืองทั่วเกาะไต้หวันได้แก่ ไทเป  ไถจง เกาสง และไถหนาน ในขณะที่ Street Food ของไต้หวันก็เป็นที่นิยมด้วยรสชาติที่อร่อย มีความหลากหลาย ในราคาที่เหมาะสม  
  1. ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) อากาศช่วงนี้เหมาะกับการปั่นจักรยานท่องเที่ยว ไต้หวันมีเส้นทางการปั่นจักรยานที่จัดอันดับจาก CNN ว่าเป็น 1 ในเส้นทางจักรยานที่สวยงามที่สุดในโลก นั่นคือ เส้นทางปั่นจักรยานรอบทะเลสาบสุริยันจันทรา หรือจะเลือกแช่บ่อน้ำพุร้อนเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง อาทิ บ่อน้ำพุร้อนหยางหมิงซานที่ไทเป  ซึ่งถือเป็นน้ำพุร้อนที่มีเอกลักษณ์เพราะได้รับความร้อนมาจากภูเขาไฟ ทำให้น้ำพุร้อนมีส่วนผสมของกำมะถันสีขาวและกำมะถันสีเขียว 
  1. ฤดูหนาว (Winter) นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปไต้หวันเพื่อช้อปปิ้ง ประกอบกับเป็นช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองวันสิ้นปี จะมีการจุดดอกไม้ไฟสว่างไสวไปทั้งเมืองไทเป และหัวเมืองใหญ่ทั่วเกาะไต้หวัน รวมถึงกิจกรรมรื่นเริงอื่นๆ อีกมากมายเพื่อต้อนรับวันขึ้นปีใหม่ 

 

นางสาวพัทธ์ธีรา อนันต์โชติพัชร ผู้บริหาร KTC World Travel Service และการตลาดหมวดสายการบิน “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หนึ่งในกลยุทธ์การตลาดของเคทีซีที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอคือเรื่อง Partnership Marketing โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ให้การสนับสนุน ส่งเสริม และขยายขอบเขตความร่วมมือกับพันธมิตรในทุกภาคส่วน อาทิ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว สายการบิน บริษัทตัวแทน (ทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์) โรงแรม รถไฟ รถเช่า หรือเรือสำราญ ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังได้ทำกิจกรรมการตลาดร่วมกันเพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้กับสมาชิกผ่านงานด้านการท่องเที่ยวหรืองานแฟร์ การจัดเวิร์กชอป และกิจกรรมร่วมกับชุมชน รวมถึงพัฒนาช่องทางสื่อสารให้ตรงกลุ่มสมาชิกมากยิ่งขึ้น สำหรับความร่วมมือกับการท่องเที่ยวไต้หวันในปี 2566 ที่ผ่านมา ได้รับผลตอบรับที่ดี สะท้อนจากจำนวนสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีและยอดรวมการใช้จ่ายที่ไต้หวันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ไต้หวันยังคงเป็นเส้นทางยอดนิยมของสมาชิก โดยในครึ่งปีแรกของปี 2567สมาชิกใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ที่ไต้หวันเป็นอันดับที่ 5 เมื่อดูจากพอร์ตยอดรวมการใช้จ่ายในต่างประเทศเส้นทางเอเชีย รองจากญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง และจีน และสมาชิกเลือกใช้บริการเพื่อเดินทางไปยังไต้หวันผ่าน KTC World Travel Service สูงเป็นอันดับที่ 4 รองจากฮ่องกง ญี่ปุ่น และ จีน โดยมียอดใช้จ่ายสำหรับการเดินทางต่อบุคคลอยู่ที่ 23,000 บาทต่อราย 

ในปี 2567 เทรนด์การท่องเที่ยวมีการปรับเปลี่ยนไป สมาชิกนิยมเลือกใช้เวลาเดินทางสั้นลง และวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตัวเองตามไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างมากขึ้น รวมถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมก็เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกใช้บริการด้านการท่องเที่ยว KTC World Travel Service จึงได้รวมผลิตภัณฑ์บริการท่องเที่ยวที่แสดงความมุ่งมั่นด้านรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ในหมวดที่เรียกว่า ‘Green Products’ โดยเคทีซีได้ร่วมมอบสิทธิพิเศษเพิ่มเติม เพื่อแสดงจุดยืนในการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนร่วมกับพันธมิตรทุกราย สำหรับแคมเปญ ‘Unseen Taiwan 2024’ เคทีซีได้จับมือกับสายการบินหลักได้แก่ ไชน่าแอร์ไลน์ (China Airlines) อีวีเอ แอร์ (EVA Air) สตาร์ลักซ์ แอร์ไลน์ (STARLUX Airlines) และการบินไทย (THAI Airways) มอบส่วนลดพิเศษเฉพาะบัตรเครดิตเคทีซี เมื่อสมาชิกจองตั๋วเครื่องบินผ่านเว็บไซต์สายการบินดังกล่าวรวมถึงผ่านช่องทางของเคเคเดย์ (KKday) นอกจากนี้ KTC World Travel Service ยังได้เสนอแพ็กเกจ ‘Taiwan Explorer’ รวมตั๋วเครื่องบิน ที่พัก และบัตรรถไฟเพื่อเน้นเรื่องการเดินทางท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระยะเวลา 3 วัน 2 คืน โดยสามารถเลือกเมืองจุดหมายที่ต้องการ เช่น ไทเป เกาสง หรือเมืองทางตอนใต้อื่นๆ สำหรับรายละเอียดแพ็กเกจมีดังนี้ 

  • Taiwan Explorer 3 วัน 2 คืน เริ่มต้นที่ราคา 13,900 บาท / ท่าน ประกอบด้วย ตั๋วเครื่องบินสาย การบินไชน่าแอร์ไลน์ อีวีเอ แอร์ สตาร์ลักซ์ แอร์ไลน์ และการบินไทย เส้นทางกรุงเทพฯ – ไทเป ไป - กลับ ชั้นประหยัด ที่พักโรงแรมอินเฮาส์ ย่านซีเหมินติง 2 คืน รวมอาหารเช้า สำหรับ 2 ท่าน และบัตรรถไฟ MRT ใช้เดินทางในไทเปได้ไม่จำกัดเที่ยว ระยะเวลา 3 วัน 
  • Unseen Taiwan 3 วัน 2 คืน ราคา 15,900 บาท / ท่าน ประกอบด้วย ตั๋วเครื่องบินสายการบินไชน่าแอร์ไลน์ ขาไปเส้นทางกรุงเทพฯ - ไทเป ขากลับเส้นทางเกาสง - กรุงเทพฯ ชั้นประหยัด ห้องพัก 2 คืน ไม่รวมอาหารเช้า และบัตรรถไฟความเร็วสูง Taiwan Pass High – Speed Rail Edition เดินทางได้ไม่จำกัดเที่ยว ระยะเวลา 3 วัน 

ระยะเวลาการจองตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2567 – วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ระยะเวลาเดินทางตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 - วันที่ 15 มกราคม 2568 สมาชิกสามารถเลือกใช้บริการแบ่งชำระ 0% นาน 6 เดือน และพิเศษ!   เมื่อชำระค่าตั๋วเครื่องบินหรือแพ็กเกจด้วยบัตรเครดิตเคทีซี วีซ่าทุกประเภท รับฟรี Dragon Pass ทันที ดูรายละเอียดสิทธิประโยชน์จากแคมเปญ ‘Unseen Taiwan 2024’ ได้ที่ www.ktc.co.th/UNSEENTAIWAN  

นายคณพศ สิทธิวงค์ บรรณาธิการนิตยสาร My World นิตยสารท่องเที่ยวราย 2 เดือนที่จัดพิมพ์สำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่สนใจด้านการเดินทางและเป็นผู้มียอดใช้จ่ายสูงในหมวดท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ กล่าวว่า สมาชิกนิตยสาร My World มีไลฟ์สไตล์การท่องเที่ยวแบบ Frequent Travelers หรือวางแผนการท่องเที่ยวบ่อย ๆ ไต้หวันจึงเป็นเส้นทางที่ตอบโจทย์ เพราะมีองค์ประกอบครบครัน อาทิ วัฒนธรรมที่สะท้อนจากประวัติศาสตร์และประเพณีที่มีอายุยาวนาน นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสวัฒนธรรมจีนดั้งเดิมควบคู่ไปกับวัฒนธรรมสมัยใหม่ ธรรมชาติและภูมิประเทศที่สวยงาม  เช่น อุทยานแห่งชาติอาลีซาน เมืองทางใต้ที่ทันสมัยและสวยงามอย่างเกาสง หรือเกาะทางใต้ที่มีวิถีดั้งเดิมของชาวประมง เช่น เกาะเผิงหู อาหารไต้หวันเป็นที่รู้จักในเรื่องความอร่อยและหลากหลาย โดยเฉพาะ Street Food ใน Night Market ที่มีในทุกเมืองใหญ่ การเดินทางสะดวก มีระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน รถบัส หรือรถไฟความเร็วสูง ชาวไต้หวันมีชื่อเสียงในเรื่องความเป็นมิตรและการต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างอบอุ่น ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่บ้านและสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างใกล้ชิด 

นางสาวกิจชรัตน์ นทีธำรงสุทธิ์ จากเฟสบุ๊คเพจ Ratto Wanderlust เปิดเผยถึงเทรนด์การท่องเที่ยวไต้หวันมีการปรับเปลี่ยนไปตามไลฟ์สไตล์ของนักท่องเที่ยว และยังมีสถานที่ Unseen ที่ไม่ควรพลาด เช่น ถนนแห่งของกินย่านหย่งคัง (Yongkang Food Street) ที่นอกจากจะเป็นแหล่งรวมอาหารยอดนิยมโดยเฉพาะอาหารท้องถิ่นแท้ๆ ของไต้หวันแล้ว ยังมีร้านคาเฟ่น่ารักๆ ที่ทำให้ทุกคนเพลิดเพลินกับการถ่ายภาพ รวมถึงสวนหรงจิ่น (Rongjin Gorgeous Time) แหล่งรวมสถานที่โดนใจวัยรุ่นแห่งใหม่ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองไทเปเหมาะกับผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติและยังมีกลิ่นอายสไตล์ญี่ปุ่น เดินทางสะดวกสบาย กิน ช้อป จบในที่เดียว 

มิสซินดี้ เฉินกล่าวปิดท้ายว่า การท่องเที่ยวไต้หวันได้ร่วมมือกับเคทีซีมาเป็นปีที่ 2 แล้ว และรู้สึกพึงพอใจกับกิจกรรมต่างๆ ที่เคทีซีให้การสนับสนุนด้วยดีทั้งในด้านการประชาสัมพันธ์และสิทธิพิเศษสำหรับสมาชิกบัตรฯ  จำนวนนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปไต้หวันก็เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหวังว่าสิ้นปี 2567 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปไต้หวันเพิ่มไม่ต่ำกว่านักท่องเที่ยวในช่วงก่อนโควิด 

ผู้สนใจสิทธิพิเศษด้านการเดินทางท่องเที่ยวสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC World Travel Service โทรศัพท์ 02 123 5050 ตั้งแต่เวลา 8.00 น. – 22.00 น. หรือทักแชทไลน์ได้ที่ @KTCWORLD สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ https://ktc.today/apply-card หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประมาณรายได้ท่องเที่ยวไทยปี 2567 อยู่ที่ระดับ 2.75 ล้านล้านบาท จากการท่องเที่ยวในประเทศที่ฟื้นตัวสมบูรณ์ในฝั่งของรายได้ ในขณะที่กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติคาดว่านักท่องเที่ยวชาวจีนกลับมาเพียง 52% ของภาวะปกติจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และพฤติกรรมการเดินทางที่เริ่มเปลี่ยนตามโครงสร้างอายุและรายได้ แนะภาครัฐออกนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่มที่มีพฤติกรรมต่างกัน

 ในปี 2566 ที่ผ่านมานับเป็นความสำเร็จของการท่องเที่ยวไทยทั้งในมิติของนักท่องเที่ยวในประเทศที่สูงเป็นประวัติการณ์ที่ตัวเลข 254.4 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้กว่า 8 แสนล้านบาท รวมถึงในฝั่งของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้ตามเป้าที่ทาง ttb analytics ประมาณการไว้ที่ 28 ล้านคน สร้างเม็ดเงินราว 1.4 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ภาพรวมประเทศไทยสร้างเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวได้กว่า 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 73% เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดเดิมที่ 3 ล้านล้านบาทในปี 2562 อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินดังกล่าวหลุดเป้าไปราว 2 แสนล้านบาทจากที่ภาครัฐได้ตั้งเป้าไว้ที่ 2.4 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แม้การประมาณรายได้จากนักท่องเที่ยวที่พลาดเป้าในปีที่ผ่านมา ในปี 2567 นี้ ก็ยังเห็นมุมมองของภาครัฐที่ตั้งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งในมิติของจำนวนที่คาดว่าจะสูงถึง 40 ล้านคนสร้างรายได้กว่า 2.5 ล้านล้านบาท เมื่อรวมกับรายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศ จะสามารถสร้างเม็ดเงินได้สูงถึง 3.5 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้นกว่า 60% ทั้งที่รายได้จากปีก่อนก็ยังหลุดเป้าไปราว 10% โดยในมุมมองของ ttb analytics มีความเห็นว่าในปี 2567 นี้ ศักยภาพรายได้จากการท่องเที่ยวคาดว่าจะอยู่ที่ราว 2.75 ล้านล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) กลุ่มนักท่องเที่ยวคนไทย ttb analytics ประเมินปี 2567 การท่องเที่ยวในประเทศยังสามารถสร้างประวัติศาสตร์เป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องจากปี 2566 ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะสูงถึง 292.1 ล้านคน-ครั้ง บนพฤติกรรมการใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่อทริปลดลงจากภาวะค่าครองชีพและภาระทางการเงินที่สูงขึ้นลดทอนรายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง แต่จากการชดเชยของมิติเชิงจำนวนสามารถดันให้รายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศคาดแตะระดับ 1 ล้านล้านบาท ได้อีกครั้งหนึ่ง บนรูปแบบของการท่องเที่ยวจากคนไทยดังนี้ 1) เทรนด์การเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ (One-Day Trip) โดยไม่พักแรมเพิ่มขึ้น สะท้อนผ่านจำนวนนักท่องเที่ยวในภาคกลาง และภาคตะวันตก ฟื้นตัวเทียบช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ที่ 136% และ 146% แต่รายได้กลับฟื้นตัวเพียง 103% และ 119% ตามลำดับ 2) นักท่องเที่ยวคนไทยมีแนวโน้มเที่ยวเมืองรองที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเมืองหลักเพิ่มขึ้น เช่น จังหวัดเชียงราย น่าน แพร่ ในพื้นที่ภาคเหนือมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% และจังหวัดสตูล และนราธิวาส ในพื้นที่ภาคใต้มีตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 30-40% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 3) การปรับลดคืนค้างแรมลงโดยเฉพาะกลุ่มจังหวัดห่างไกล ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่ลดลงต่อทริป

โดยเฉพาะในกลุ่มภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สะท้อนผ่านเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวเทียบก่อนสถานการณ์โควิด-19 กลับมาที่ 58% และ 72% ในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวฟื้นตัวในอัตราที่สูงกว่าที่ 100% และ 92% ตามลำดับ

2) ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในปี 2567 คาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ 33.1 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 1.75 ล้านล้านบาท จากค่าเฉลี่ยในการใช้จ่ายต่อทริปที่คาดสูงขึ้นจากราคาที่พักที่ปรับตัวรับอุปสงค์ และแนวโน้มวันท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น โดยในรายละเอียดพบว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวไม่นับรวมชาวจีน (Non-Chinese Travelers) คาดกลับมาใกล้เคียงช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 แต่ปัจจัยที่น่าจับตา คือการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวจีน (Chinese Travelers) ที่คาดยังไม่ฟื้นตัวสมบูรณ์ด้วยอัตราการกลับมาที่ราว 5.7 ล้านคน คิดเป็น 52% เมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนในช่วงก่อนเกิดโควิด-19 เนื่องจากแรงกดดันดังต่อไปนี้

2.1) แรงกดดันจากเศรษฐกิจภายในประเทศของจีน เช่น ปัญหาการว่างงานในคนอายุ 16-24 ปี ที่สูงเกินกว่า 20% ส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวหน้าใหม่ที่จะเดินทางออกนอกประเทศที่ลดลง ซึ่งตามสถิติจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ชี้นักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกกว่า 63% มีอายุต่ำกว่า 35 ปี รวมถึงความมั่งคั่งสุทธิที่ลดลงจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการเงินที่ยังน่ากังวล ที่ส่งผลให้สินทรัพย์หรือรายได้ของชาวจีนบางกลุ่มลดลงจนอาจกระทบต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศ

2.2) จำนวนนักท่องเที่ยวที่ส่งสัญญาณเติบโตชะลอตั้งแต่ช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงปี 2560-2562 นักท่องเที่ยวชาวจีนเข้าไทยเพิ่มขึ้นที่ 6.5% ต่อปี ในขณะที่ ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ ยังรักษาอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวชาวจีนได้สูงถึง 14% และ 20% ต่อปีตามลำดับ กอปรกับในปี 2566 พบนักท่องเที่ยวชาวจีนขาออกนอกประเทศภาพรวมฟื้นตัวกว่า 60%-65% ในขณะที่การกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนในไทยกลับฟื้นตัวเพียง 32% ของภาวะปกติ

2.3) ความดึงดูดในเรื่องของอัตราการท่องเที่ยวซ้ำ เนื่องจากตลาดท่องเที่ยวไทยเป็นตลาดที่เข้าถึงง่ายจากค่าใช้จ่ายต่อทริปที่ไม่สูง ส่งผลให้ตลาดไทยอยู่ในฐานะจุดหมายแรกของการเริ่มเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ (Entry Level) ที่อาจได้ประโยชน์ในระยะแรกแต่อาจเริ่มถูกตั้งคำถามถึงอัตราการท่องเที่ยวซ้ำ (Revisit Intention) เมื่อนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาอาจมีทางเลือกในการเดินทางไปยังประเทศอื่นเพิ่มมากขึ้น สะท้อนผ่านสัดส่วนของจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวจีนในปี 2562 มีสัดส่วนที่เท่ากันที่ 28% ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวจีนในฝรั่งเศสที่มีสัดส่วนเพียง 3% แต่สามารถสร้างรายได้ให้การท่องเที่ยวเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 7%

 โดยสรุป ttb analytics คาดว่าปี 2567 มูลค่าการท่องเที่ยวไทยจะมีมูลค่า 2.75 ล้านล้านบาทต่ำกว่าเป้าที่ภาครัฐได้วางไว้ที่ 3.5 ล้านล้านบาทหรือห่างจากเป้าหมายเกือบ 8 แสนล้านบาท แต่มองว่ายังมีศักยภาพดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้นในเชิงคุณภาพ หากมีการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ให้ตรงตามกลุ่มให้ชัดเจน เช่น นักท่องเที่ยวจากเอเชียที่ไทยได้ประโยชน์จากการเดินทางที่สะดวกและค่าใช้จ่ายต่อทริปที่ต่ำ ภาครัฐควรตั้งเป้าหมายในการดึงดูดให้เกิดการท่องเที่ยวซ้ำ เช่น สิทธิประโยชน์ที่อาจมอบให้เมื่อมีการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ ในกรอบระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงเร่งพัฒนาโครงข่ายคมนาคมให้สะดวก ปลอดภัย ที่สามารถเชื่อมกับภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมีความต้องการท่องเที่ยวซ้ำในภูมิภาคอื่น ๆ และในกลุ่มนักท่องเที่ยวยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ที่มีสัดส่วนนักท่องเที่ยวที่อยู่อาศัยระยะยาวสูงโดยเปรียบเทียบอาจให้เป็นในรูปแบบสิทธิประโยชน์เรื่องการจัดหาที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ จัดหาบริการระบบประกันสุขภาพที่

ครอบคลุม รวมถึงในภาพรวมควรจัดตั้งหน่วยงานสายด่วนรับเรื่องร้องเรียนที่สามารถแก้ปัญหานักท่องเที่ยวต่างชาติถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างจริงจัง เพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวไทยให้ก้าวไปอีกระดับเพื่อสามารถส่งต่อบรรยากาศการท่องเที่ยวที่เป็นมิตร เพิ่มโอกาสการกลับมาเที่ยวซ้ำสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวอายุน้อย และโน้มน้าวให้นักท่องเที่ยวมีความประสงค์ที่จะอยู่อาศัยระยะยาว เพื่อโอกาสในการยกระดับให้การท่องเที่ยวไทยเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาว

นางพิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส กลุ่มงานการตลาดและสื่อสารองค์กร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมด้วย นางสาวเจนจิต ลัดพลี ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์กร และ นางสาวพัทธ์ธีรา อนันต์โชติพัชร ผู้บริหาร KTC World Travel Service เข้าพบนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการททท.คนใหม่ ณ สำนักงานใหญ่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ถนนเพชรบุรี เมื่อเร็วๆนี้

ทั้งนี้ เคทีซี และ ททท. ได้มีการหารือร่วมกันถึงความร่วมมือที่จะผลักดันและสนับสนุนการท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวได้ตามที่คาดหมายไว้

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click