January 22, 2025

สะท้อนภาพ BCG MODEL ผ่านรูปแบบการดำเนินงานและเส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืนตลอดระยะเวลา 50 ปี

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ สถาบันพลาสติก จัดงานสัมมนา เรื่อง BCG MODEL จะไปในทิศทางใด จะพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพได้อย่างไร แบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เวลา 9.00-12.00 น. โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ทั้งนี้ Bio-Circular-Green Economy model หรือ BCG model เป็นรูปแบบทางเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรชีวภาพ เพื่อสร้างสรรค์สินค้าที่มีมูลค่าสูง โดยคำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันพลาสติก ได้เล็งเห็นถึงจุดแข็งของประเทศไทย ซึ่งมีทั้งภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมมีการเพาะปลูกอ้อย ทำให้มีผลผลิตต่อไร่ที่สูง สามารถเป็นจุดเริ่มต้นของการผลักดันอุตสาหกรรมชีวภาพ นำไปสู่การยกระดับผู้ประกอบการและเกษตรกร และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอ้อยและน้ำตาลทราย จึงได้ดำเนินโครงการการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ (BIO ECONOMY NON-FOOD) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  • เพิ่มมูลค่าอ้อยและน้ำตาล
  • พัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
  • การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ การนำอ้อยหรือผลผลิตจากอ้อยมาเป็นวัตถุดิบนำร่องของอุตสาหกรรมชีวภาพของประเทศไทย เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบดังกล่าว ให้สอดคล้องกับการผลักดันอุตสาหกรรมด้านชีวภาพตามนโยบายของรัฐบาลนั้น เพื่อวางรากฐานของระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยให้มีความมั่นคงและก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมชีวภาพของภูมิภาคในอนาคต

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)  ให้การสนับสนุนนักวิจัยพัฒนานวัตกรรมชุดเพาะเลี้ยงไข่น้ำระบบปิด พร้อมต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีโปรตีนสูง อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน สร้าง Bio Economy ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศด้วย BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) 

 

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำทีมโดย ศ.ดร.อรรถชัย  จินตะเวช และคณะ ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ติดตามความคืบหน้าโครงการ “นวัตกรรมผลิตไข่น้ำระบบปิดแบบแม่นยำและการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โปรตีนสูงระดับชุมชน” ซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้ดำเนินงานมาแล้ว 6 เดือน สามารถสร้างนวัตกรรมในการเพาะเลี้ยงไข่น้ำระบบปิดโดยใช้วิธีการทำเกษตรแบบแม่นยำ สามารถจัดการผลิตและเตรียมต่อยอดขยายผลสู่การเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีโปรตีนสูง

 

ไข่น้ำ คืออะไร ?

ไข่น้ำ หรือ ผำ เป็นพืชดอกสีเขียวที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ในประเทศไทยสามารถเจริญเติบโตตามแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยชาวบ้านในภาคเหนือและอีสานนิยมนำมาใช้เป็นอาหาร ซึ่งข้อมูลจากงานวิจัยระบุว่า ไข่น้ำเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยพบปริมาณโปรตีนในไข่น้ำอบแห้งสูงถึงร้อยละ 40 และนอกจากนี้ยังพบ เบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์อีกด้วย

ผศ.ดร.อารักษ์  ธีรอำพน  หัวโครงการวิจัย เปิดเผยว่า ไข่น้ำเป็นพืชท้องถิ่นที่มีคุณค่าทางโภนาการสูง เหมาะสำหรับเป็นอาหารทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการโปรตีน อย่างเช่น กลุ่มผู้สูงวัยหรือกลุ่มผู้ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยโปรตีนจากเนื้อสัตว์ จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมชุดเพาะเลี้ยงไข่น้ำในระบบปิด ซึ่งขณะนี้สามารถสร้างโรงเรือนอยู่ระหว่างการทดลองเพาะเลี้ยงไข่น้ำ และขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาพัฒนาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ พร้อมเมื่อการวิจัยแล้วเสร็จกลุ่มนักวิจัยมีแผนที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไข่น้ำสู่ชุมชนบ้านโพนสูง จ.นครราชสีมา และขยายผลต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ในอนาคต

 

สกสวขับเคลื่อน Bio Economy ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศด้วย BCG Model

ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศ โดยการขับเคลื่อน BCG Model ซึ่งการสนับสนุน  โครงการ “นวัตกรรมผลิตไข่น้ำระบบปิดแบบแม่นยำและการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โปรตีนสูงระดับชุมชน” ถือเป็นการร่วมสร้างเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เป็นการต่อยอดพัฒนาชีวภาพนำไปสู่การขับเคลื่อนพัฒนาให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม สกสว. ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว โดยกำหนดเป็นแผนงานสำคัญ (Flagship) ประจำปีงบประมาณ 2563  ประเด็น BCG in Action (กากรขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภำพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวเพื่อกำรพัฒนำที่ยั่งยืน) เป็นการวางรากฐานขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดย สกสว. จะจัดสรรงบประมาณผ่านไปยังหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU: Program Management Unit) ก่อนจะส่งงบประมาณให้กับนักวิจัยใช้ในการพัฒนาประเทศต่อไป

X

Right Click

No right click