· 20% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟน 5G ยินดีจ่ายค่าบริการเพิ่มขึ้นแก่ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารเพื่อใช้บริการ 5G ที่มีคุณภาพโดดเด่นกว่า
· ผู้บริโภค 5G มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนผู้ให้บริการเพิ่มขึ้น 3 เท่า หากได้รับประสบการณ์การเชื่อมต่อที่ไม่ดีตามสถานที่ที่มีการใช้ดาต้าหนาแน่น อาทิ สนามกีฬาและสนามบินต่าง ๆ
· อีริคสันทำวิจัยการตลาดสำหรับประเทศไทยเฉพาะ โดยการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนผู้บริโภคราว 23 ล้านคนในประเทศ
อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) เผยการวิจัยในรายงาน Ericsson ConsumerLab ฉบับล่าสุด ระบุ 1 ใน 5 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟน 5G มองหาประสบการณ์บริการ 5G ที่แตกต่าง เช่น คุณภาพของการบริการ สำหรับการใช้แอปพลิเคชันยอดนิยม โดยผู้บริโภคยินดีจ่ายเงินแก่ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารในอัตราพิเศษสูงสุดถึง 11% เพื่อเพลิดเพลินไปกับการเชื่อมต่อที่มีมูลค่าเพิ่ม
รายงาน 5G Value: Turning Performance into Value ยังเน้นด้านความพึงพอใจและความภักดีของผู้ใช้ โดยให้ความสำคัญกับศักยภาพของเคสทางธุรกิจของผู้ให้บริการ 5G เนื่องจากยอดผู้สมัครใช้บริการที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกแสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจเพิ่มขึ้นกับการใช้งานเครือข่าย 5G
นอกจากนี้ ในรายงานยังเผยประสบการณ์การเชื่อมต่อ 5G ที่ไม่น่าพึงพอใจในสถานที่หลัก ๆ อาทิ สนามกีฬา สถานบันเทิงและสนามบิน ทำให้ลูกค้ามีแนวโน้มที่จะย้ายค่ายมือถือมากขึ้นถึงสามเท่า
การวิจัยโดยรอบด้านครั้งนี้สะท้อนมุมมองของผู้บริโภคประมาณ 1.5 พันล้านรายทั่วโลก รวมถึงลูกค้า 5G ประมาณ 650 ล้านราย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยของอีริคสันเพื่อติดตามวิวัฒนาการของตลาดผู้บริโภค 5G ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562
ในประเทศไทยอีริคสันยังได้วิจัยตลาดแบบเฉพาะเจาะจง โดยการสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนผู้บริโภคราว 23 ล้านคนในประเทศ
พบว่าปัจจัยขับเคลื่อนความพึงพอใจของเครือข่าย 5G กำลังพัฒนาไปสู่ประสบการณ์การใช้งานแอปพลิเคชัน โดยจำนวนผู้ใช้ที่พึงพอใจอย่างมากกับประสิทธิภาพเครือข่าย 5G ในภาพรวมของประเทศไทยเพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
5G กำลังเปลี่ยนโฉมการสตรีมวิดีโอและการใช้งาน AR ผู้ใช้ชาวไทยที่ใช้แพ็คเกจบริการประเภทนี้จะใช้เวลาเกือบ 60% ของเวลาสตรีมมิ่งวิดีโอทั้งหมดไปกับการเพิ่มความน่าสนใจให้กับเนื้อหาวิดีโอหรือ AR ขณะที่ผู้ใช้ที่ไม่ได้ใช้แพ็คเกจบริการประเภทนี้จะใช้เวลาเพียง 40% ไปกับคอนเทนต์สมจริง (Immersive Content)
ประสิทธิภาพ 5G ในจุดสำคัญ ๆ มีผลต่อความภักดีของผู้บริโภค นับตั้งแต่เปิดตัว 5G ในประเทศไทย มีผู้ใช้บริการมือถือประมาณ 19% ย้ายค่ายมือถือ และในบรรดาผู้ที่ย้ายเครือข่าย เกือบ 60% เกิดจากเหตุผลด้านประสิทธิภาพเครือข่าย 5G ซึ่งหากผู้ใช้มีปัญหาการเชื่อมต่อในพื้นที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไปก็มีแนวโน้มที่ย้ายค่ายมากขึ้น 1.3 เท่า
ผู้บริโภค 5G ในประเทศไทยจะจ่ายค่าบริการพิเศษสำหรับการเชื่อมต่อที่มีความต่างและโดดเด่น โดยผู้ใช้สมาร์ทโฟนยินดีจ่ายค่าบริการเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 13% สำหรับข้อเสนอที่รวมการใช้บริการแอปฯ ชั้นนำ
ญาสมีต ซิงห์ เซธิ หัวหน้าฝ่าย Ericsson ConsumerLab กล่าวว่าในการสำรวจครั้งนี้ มีผู้บริโภค 5G ราว 37% เชื่อว่าการเพิ่มปริมาณการใช้ดาต้าในแพ็คเกจ 5G ของพวกเขาสมเหตุสมผลกับอัตราค่าบริการพรีเมียมของผู้ให้บริการ “ที่น่าสนใจคือประมาณหนึ่งในห้าของผู้ใช้สมาร์ทโฟน 5G แสดงความพึงพอใจชัดเจนต่อคุณภาพการเชื่อมต่อบริการที่มีความแตกต่าง โดยผู้บริโภคกลุ่มนี้มองหาประสิทธิภาพเครือข่ายที่ยกระดับและมีความเสถียรแทนการเลือกใช้ 5G แบบทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับแอปพลิเคชันที่ต้องการประสิทธิภาพเครือข่ายสูง ๆ และเจาะจงสถานที่สำคัญ ๆ ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าพวกเขายินดีจ่ายค่าบริการพิเศษเพิ่มขึ้นอีก 11% หากผู้ให้บริการมีบริการเหล่านี้เสนอให้”
วิธีเก็บข้อมูล
อีริคสันสัมภาษณ์ผู้บริโภคมากกว่า 37,000 คน ใน 28 ประเทศ ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2566 โดยขอบเขตการวิจัยสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของผู้บริโภคประมาณ 1.5 พันล้านคน รวมถึงผู้ใช้ 5G จำนวน 650 ล้านราย
อ่านรายงานฉบับเต็ม: 5G Value: Turning performance into loyalty
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง: Ericsson ConsumerLab: the voice of the consumer Ericsson ConsumerLab: 5G Reports Ericsson Private Networks
ผลวิจัยล่าสุดจากทีม Ericsson (NASDAQ: ERIC) Mobility Report เผยหลักฐานสนับสนุนสำคัญแก่ผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSPs) ทั่วโลก ซึ่งชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของการนำ 5G มาปรับใช้และการเติบโตของรายได้
การเติบโตของรายได้เป็นความท้าทายของผู้ให้บริการทั่วโลกที่มักส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนด้านเครือข่าย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์การเติบโตทางธุรกิจของพวกเขาหรือเรียกว่า 'การสร้างรายได้ (Monetization)' ในอุตสาหกรรม
รายงาน Ericsson Mobility ฉบับพิเศษที่เรียกว่า Business Review edition นำเสนอโอกาสต่าง ๆ สำหรับการสร้างรายได้จากบริการ 5G
โดยรายงานนี้เน้นย้ำถึงแนวโน้มการเติบโตของรายได้แง่บวกตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2020 ในตลาด 5G ชั้นนำ 20 แห่ง* คิดเป็น 85% ของยอดผู้ใช้บริการ 5G ทั้งหมดทั่วโลก และสัมพันธ์กับยอดผู้ใช้บริการ 5G ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นในตลาดเหล่านี้
รายงานฉบับนี้พบว่า:
· โมเดลการกำหนดราคาตามกลุ่มลูกค้า (Tiered Pricing) เป็นกุญแจสำคัญของผู้ให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการส่วนบุคคลของแต่ละลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลักดันรายได้ให้เติบโตต่อเนื่องระยะยาว
· ในตลาด 5G ชั้นนำ 20 แห่ง พบว่ามีประสิทธิภาพเครือข่ายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลัง 5G เปิดให้บริการ
· เส้นกราฟรายได้จากบริการเครือข่ายไร้สายจะพุ่งขึ้นอีกครั้งในตลาด 5G ชั้นนำเหล่านี้ หลังจากช่วงเติบโตช้าหรือไม่มีการเติบโต ซึ่งสัมพันธ์กับยอดการขยายตัวของผู้ใช้บริการ 5G
เฟรดริก เจดลิง รองประธานผู้บริหารและหัวหน้าเครือข่ายของอีริคสันกล่าวว่า "การรับมือกับความท้าทายของลูกค้าคือหัวใจสำคัญของความมุ่งมั่นพยายามในด้านการวิจัยและพัฒนาในทุก ๆ ผลิตภัณฑ์ของอีริคสัน โดยความเชื่อมโยงระหว่างการนำเครือข่าย 5G มาปรับใช้และการเติบโตของรายได้ในตลาด 5G ชั้นนำ 20 อันดับแรก ตอกย้ำให้เราเห็นว่าเครือข่าย 5G ไม่เพียงแต่เป็น Game Changer เท่านั้น แต่ยังให้ประโยชน์แก่ผู้นำไปใช้ระยะแรกอีกด้วย แม้ว่า 5G จะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่มีการเติบโตรวดเร็วจากกรณีการใช้งานที่ได้รับการยืนยันแล้ว และยังมีแผนการสร้างกรณีการใช้งานทั้งในระยะกลางและระยะยาวที่ชัดเจน”
ตามที่คาดไว้ บริการ Enhanced Mobile Broadband (eMBB) จะเป็นการใช้งานหลักของเครือข่าย 5G ในช่วงแรก โดยได้รับแรงหนุนมาจากความต้องการเพิ่มความครอบคลุมสัญญาณทางด้านภูมิศาสตร์และมอบข้อเสนอที่แตกต่าง ปัจจุบันมียอดผู้ใช้งาน 5G มากกว่าหนึ่งพันล้านรายอยู่บนเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ที่เปิดให้บริการอยู่ 230 เครือข่ายทั่วโลก โดยบริการ 5G eMBB มอบโอกาสในการสร้างรายได้ที่รวดเร็วที่สุดสำหรับ 5G เนื่องจากเป็นบริการส่วนขยายจากธุรกิจที่มีอยู่เดิมของผู้ให้บริการ อาศัยโมเดลธุรกิจและใช้กระบวนการแบบเดียวกัน แม้แต่ในตลาด 5G ชั้นนำ 20 อันดับแรก ก็ยังมีผู้บริโภคประมาณ 80% ที่ยังไม่ได้เปลี่ยนไปใช้ 5G นับว่าเป็นตัวชี้ชัดสำคัญถึงศักยภาพในการเติบโตของรายได้
ตามที่ระบุไว้ในรายงาน Ericsson Mobility ฉบับเดือนพฤศจิกายนปีก่อนว่าบริการ Fixed Wireless Access (FWA) จะมีกรณีการใช้งาน 5G ในช่วงแรกขนาดใหญ่ที่สุดเป็นลำดับสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคต่าง ๆ ที่ยังไม่มีตลาดบรอดแบนด์และผู้บริโภคยังเข้าไม่ถึงบริการดังกล่าว สำหรับบริการ FWA นั้นมีศักยภาพการเติบโตของรายได้ที่น่าสนใจสำหรับ CSPs เนื่องจากใช้ศักยภาพของบรอดแบนด์มือถือเป็นส่วนใหญ่ โดยคาดว่าจะมีการเชื่อมต่อ FWA สูงถึง 300 ล้านครั้งภายในหกปี
นอกเหนือจากผู้บริโภคที่ใช้บริการ 5G แล้ว ยังมีโอกาสการเติบโตเพิ่มขึ้นจากการนำเครือข่าย 5G ไปใช้ในระดับองค์กรและภาครัฐทั่วโลก
5G ช่วยทำให้เกิดคุณค่าสำคัญสำหรับองค์กร ด้วยเครือข่าย 5G แบบส่วนตัวและเครือข่ายไร้สายที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างที่นำมาใช้ในองค์กรและในภาคอุตสาหกรรม
การอัปเกรดเครือข่าย 4G ที่มีอยู่เดิมให้เป็นเครือข่าย 5G ที่มีศักยภาพมากกว่าถึง 10 เท่า และลดปริมาณการใช้พลังงานได้มากกว่า 30% ช่วยเพิ่มรายได้พร้อมลดต้นทุนและยังสอดรับกับความยั่งยืน
“การเติบโตของรายได้และความยั่งยืนเป็นหัวข้อสนทนาประจำระหว่างเรากับลูกค้า โดยรายงาน Ericsson Mobility ฉบับพิเศษนี้ เราได้สำรวจวิธีที่ผู้ให้บริการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย 5G และเห็นสัญญาณเริ่มต้นของการเติบโตของรายได้ในตลาด 5G ชั้นนำ จากการขยายความครอบคลุมของสัญญาณที่กว้างขวางและการมอบข้อเสนอด้านบริการที่แตกต่าง โดยยังมีด้านที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือสามารถสร้างความได้เปรียบด้านต้นทุนและช่วยจัดการกับการเติบโตด้านข้อมูลที่มีผลต่อการขับเคลื่อนรายได้ในอนาคต ตอกย้ำให้เห็นว่าเครือข่าย 5G เป็นตัวเร่งการเติบโตที่ตลาดรอคอย” เฟรดริก เจดลิง กล่าวเพิ่มเติม
อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ Ericsson Mobility Report Business Review Edition report
อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU)
อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) เปิดงาน Imagine Live Thailand 2022 งานแสดงเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร 3 วันเต็ม
ในปี 2565 คาดว่ายอดผู้สมัครใช้งาน 5G ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเพิ่มขึ้นสองเท่า จาก 15 ล้านบัญชี ณ สิ้นปี 2564 ตามที่ระบุไว้ในรายงาน Ericsson Mobility Report ของอีริคสัน (NASDAQ: ERIC) ฉบับล่าสุด และยังได้คาดการณ์ไว้อีกว่า ภายในสิ้นปี 2565 จะมียอดสมัครใช้บริการ 5G ทั่วโลกมากถึงหนึ่งพันล้านบัญชี
ภายในไม่กี่ปีข้างหน้าจะมีการปรับใช้งานเครือข่ายมากขึ้นคาดว่าจะทำให้การสมัครใช้บริการ 5G จะเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ (CAGR) 83% ตลอดช่วงระยะเวลาคาดการณ์ซึ่งจะเพิ่มขึ้นแตะ 570 ล้านบัญชี ภายในปี 2570 ตัวเลขดังกล่าวนี้เกือบเท่ากับจำนวนการสมัครใช้บริการ 4G ทั้งหมดในภูมิภาคในช่วงเวลานั้น โดยปริมาณการใช้ดาต้าบนมือถือต่อสมาร์ทโฟนยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งและคาดว่าจะพุ่งแตะ 45 กิกกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 30% โดยการใช้งาน 5G ที่กว้างขึ้นและบริการ XR ใหม่ จะช่วยผลักดันการเติบโตของปริมาณการใช้ดาต้าเน็ตในช่วงหลังของระยะเวลาคาดการณ์ของอีริคสันจนถึงปี 2570
มร. อิกอร์ มอเรล ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “ในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทย คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดทั้งในด้านจำนวนผู้ใช้บริการและปริมาณการใช้งาน 5G โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมียอดการใช้ดาต้าต่อสมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง แตะระดับ 45 กิกกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยที่ 30% ต่อปี จากตลาดในประเทศไทยมีความไดนามิกสูงมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มที่เป็น Tech Savvy ระดับต้น ๆ ของโลก”
“อีริคสันดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาเป็นเวลานานและเรายังมุ่งมั่นเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเสริมศักยภาพให้แก่ประเทศไทย เราพร้อมร่วมพัฒนาระบบนิเวศ 5G ของประเทศไทย เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จาก 5G ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี XR/AR การเล่นเกมบนคลาวด์ และช่วยเหลือองค์กรต่าง ๆ เร่งเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการนำเสนอคลื่น 5G ทั้งย่านความถี่ต่ำ กลาง และสูง ในประเทศไทย ที่เป็นกุญแจสำคัญสำหรับมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า เต็มไปด้วยสมรรถนะของสัญญาณ ความครอบคลุม และความเร็วที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ใช้ 5G ในประเทศไทย”
คาดว่าในปี 2570 ภูมิภาคอเมริกาเหนือจะกลายเป็นผู้นำโลกด้านการสมัครใช้บริการ 5G โดยจากยอดผู้สมัครใช้บริการมือถือในทุก ๆ 10 รายจะมีผู้สมัครใช้ 5G ถึง 9 ราย
จากไทม์ไลน์ปี 2570 มีการคาดการณ์เกี่ยวกับ 5G ที่น่าสนใจตามภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ ในยุโรปตะวันตก มีสัดส่วนการสมัครใช้บริการ 5G ที่ 82% ขณะที่ในภูมิภาคของกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) มีสัดส่วนอยู่ที่ 80% และ 74% ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด ซึ่งเป็นฉบับที่ 22 ได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกและการคาดการณ์ที่น่าสนใจ พร้อมยังเผยให้เห็นว่าปริมาณการใช้ดาต้าบนมือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา
การเติบโตของยอดการใช้ดาต้านี้ได้รับแรงหนุนมาจากปริมาณการใช้สมาร์ทโฟนและบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตบนมือถือที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของภาคสังคมและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไปสู่ดิจิทัล สถิติและการคาดการณ์ล่าสุดยังสะท้อนถึงความต้องการเชื่อมต่อข้อมูลและบริการดิจิทัลอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีการระบาดของโควิด-19 และความไม่แน่นอนของภูมิศาสตร์ทางการเมืองเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ก็มีผู้คนหลายร้อยล้านคนสมัครใช้งานบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตบนมือถือใหม่ทุกปี
รายงาน Ericsson Mobility Report เดือนมิถุนายน ปี 2565 ตอกย้ำให้เห็นว่าการเติบโตของ 5G เป็นเจนเนอเรชั่นเครือข่ายไร้สายที่มีการนำมาใช้งานรวดเร็วกว่าเทคโนโลยีมือถือรุ่นก่อน ๆ ทั้งหมด โดยเวลานี้หนึ่งในสี่ของประชากรโลกสามารถเข้าถึงเครือข่าย 5G ได้ และเพียงช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 มีจำนวนการสมัครใช้บริการ 5G เพิ่มขึ้นประมาณ 70 ล้านบัญชี ซึ่งตามรายงานยังระบุว่า ภายในปี 2570 ประชากรทั่วโลกสามในสี่จะสามารถเข้าถึง 5G ได้
ในรายงานยังได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการเชื่อมต่อความเร็วสูงแบบ Fixed Wireless Access (FWA) ที่มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับการให้บริการบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต โดยอีริคสันคาดการณ์ว่า ในปี 2565 นี้ จะมีการเชื่อมต่อแบบ FWA เกิน 100 ล้านจุด และจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวภายในปี 2570 แตะระดับ 230 ล้านจุด
ในส่วนของ Internet of Thing (IoT) ตามรายงานระบุว่าในปี 2564 บรอดแบนด์ IoT (4G/5G) แซงหน้า 2G และ 3G กลายเป็นเทคโนโลยีหลักที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เชื่อมสัญญาณเซลลูลาร์แบบ IoT มากที่สุด หรือคิดเป็น 44% ของการเชื่อมต่อทั้งหมด
เทคโนโลยีเชื่อมต่อ IoT (NB-IoT, Cat-M) เพิ่มขึ้นเกือบ 80% ช่วงปี 2564 โดยมีการเชื่อมต่อแตะ 330 ล้านจุด และคาดว่าจำนวนอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้จะแซงหน้าเทคโนโลยี 2G/3G ภายในปี 2566