December 22, 2024

มุ่งสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีไทย ในทุกอุตสาหกรรมเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดตัวโครงการ Sustainability Innovation หรือ SIP ประจำปี 2024 จัดโดย ยูโอบี ฟินแล็บ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ของไทยในทุกภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการนำความยั่งยืนมาสู่ธุรกิจ โดยใช้ประโยชน์จากเครือข่ายที่กว้างขวางของยูโอบี ฟินแล็บ (UOB FinLab) ซึ่งประกอบด้วยพันธมิตรจากภาครัฐ เอกชน ผู้ให้คำปรึกษา และ SMEs

โครงการ SIP ประกอบด้วย 3 โมดูลหลัก ซึ่งจัดทำขึ้นโดยความร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรม ได้แก่ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), PwC ประเทศไทย,องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โครงการยั่งยืนนิยม ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 29 และ 30 พฤษภาคม 2567 ที่กรุงเทพฯ โดยประกอบด้วยเวิร์กชอปและมาสเตอร์คลาสที่ออกแบบมาสำหรับ SMEs ไทยที่ผ่านการคัดเลือกมากกว่า 200 ราย ซึ่ง SMEs ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับความรู้และข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับกฎระเบียบด้านความยั่งยืน เครื่องมือวัดผล ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social and Governance - ESG) แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม และขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อเริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว

จากรายงาน UOB Business Outlook Study 20241 พบว่า การนำแนวทางปฏิบัติ ESG มาใช้ในประเทศไทยนับเป็น 1 ใน 5 ลำดับความสำคัญทางธุรกิจที่องค์กรให้ความสำคัญอย่างมากในช่วง 1-3 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ธุรกิจประมาณ 3 ใน 10 ระบุว่า จำเป็นต้องมีการสนับสนุนเพิ่มมากขึ้นในส่วนของการเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นๆ ในภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงคำแนะนำสำหรับการปรับใช้มาตรฐาน ESG และแนวทางปฏิบัติในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

นายบัลลังก์ ว่องธวัชชัย Head of Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ปัญหาโลกร้อนส่งผลให้องค์กรต่างๆ ทั่วโลกจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจและการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืน จากผลสำรวจ UOB Business Outlook Study พบว่าโดยทั่วไปแล้วองค์กรธุรกิจในไทยมองว่าการปรับใช้แนวทางความยั่งยืนคือปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีกับองค์กร (ร้อยละ 56) ช่วยดึงดูดนักลงทุน (ร้อยละ 50) และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในการทำงานร่วมกับองค์กรขนาดใหญ่ (ร้อยละ 42)

“SMEs ตระหนักมากขึ้นถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว โครงการ SIP รวบรวมพันธมิตรจากภาครัฐและเอกชนที่สามารถช่วยเหลือ SMEs ไทยในทุกกลุ่มธุรกิจ เพื่อเริ่มต้นปรับใช้แนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยองค์ความรู้เฉพาะทาง นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจะสามารถประเมินความพร้อมของธุรกิจตน สำหรับการพัฒนาสู่ความยั่งยืน โดยใช้เครื่องมือด้านความยั่งยืนของทางธนาคารที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยเครื่องมือนี้จะแนะนำแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มธุรกิจต่างๆ”

ทางด้านนายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO กล่าวว่า “ปัจจุบันความยั่งยืนกลายเป็นความจำเป็นของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ที่เป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของประเทศ หลังนโยบายทั้งไทยและต่างประเทศมุ่งเป้าจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พบว่ามีหลายๆ บริษัทได้ตั้งเป้าหมายสู่ Net Zero มากขึ้น แต่ไม่มีความรู้ที่แน่ชัดว่าจะเริ่มต้นจากจุดไหน ทาง TGO จะเข้ามาช่วย เสริมโครงการ SIP ในจุดนี้ได้ ด้วยการสนับสนุน SMEs ทั้งในเรื่องของแพลตฟอร์มการขอขึ้นทะเบียนกับ TGO ตลอดการให้คำปรึกษาและข้อแนะนำต่างๆ ที่จะช่วยสร้างโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจ SMEs สามารถรุกตลาดคาร์บอนเครดิตต้องทำยังไง ทั้งเป็นหน่วยงานกลางให้ความรู้และช่วยในการประเมินก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจ”

ส่วนทางด้านนายปิติพัฒน์ มงคลอริยนันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคเอ็มพี คอร์ปอเรชัน ที่ทำธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างแบบครบวงจรที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการภาครัฐและภาคเอกชนอย่างครบวงจร กล่าวว่า “หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการกับทาง UOB FinLab เราเห็นผลลัพธ์อย่างชัดเจน นอกจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายลดลง ระบบปฏิบัติการหลังบ้านที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังได้นำแนวคิดเรื่องความยั่งยืนไปปรับใช้ในธุรกิจและคู่ค้าของธุรกิจของเราด้วย การขยาย

 

โครงการ SIP ในปีนี้ที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนอุตสาหกรรม นับว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการที่ต้องการปรับสู่ความยั่งยืน แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากจุดไหน เพราะจะได้เรียนรู้ตั้งแต่ความจำเป็น กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง การประเมินการปล่อยคาร์บอนของธุรกิจ การทำโมเดลธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมถึงโอกาสเข้าถึงเครือข่ายธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น”

นอกจากโครงการ SIP แล้ว ยูโอบี ฟินแล็บ ยังจัดทำโครงการสำหรับสตาร์ทอัพและบริษัทผู้ให้บริการโซลูชันเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือกรีนเทค ที่ชื่อว่า GreenTech Accelerator (GTA) 2024 ระยะเวลา 6 เดือนอีกด้วย โครงการ GTA จะช่วยให้ผู้ให้บริการโซลูชันกลุ่มกรีนเทคได้พัฒนาโซลูชันเพื่อสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงจาก SMEs ในอาเซียน และกรีนเทคผู้ชนะจะได้รับเงินทุนสนับสนุนเพื่อนำไปพัฒนาโครงการนำร่องในการแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเริ่มต้นเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนี้ เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นของยูโอบี ฟินแล็บ ในการขับเคลื่อนโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน โครงการ GTA 2024 จะสนับสนุนเงินทุนสูงถึง 100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ สำหรับเทคโนโลยีสีเขียว หรือกรีนเทค (Greentech) เพื่อนำร่องนวัตกรรมโซลูชันที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้งานได้จริงสำหรับธุรกิจต่างๆ

โครงการ SIP เปิดรับผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs หรือผู้มีอำนาจตัดสินใจจากทุกภาคธุรกิจที่ต้องการปรับใช้แนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืน SMEs ที่สนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 25 พฤษภาคม 2567 ที่ www.facebook.com/uob.th หรือ https://thefinlab.com/th/thailand

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ร่วมกับ ดิเอ็ม ดิสทริค และ AEG  เตรียมเปิดตัว ยูโอบี ไลฟ์ (UOB LIVE) ศูนย์รวมการจัดงานที่ก้าวล้ำแห่งล่าสุด ภายใต้การบริหารงานโดย เออีจี (AEG) และยังเป็นการเปิดตัวก่อนอารีน่าแห่งอื่นๆ ของเออีจีในเอเชียอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้อีกด้วย แน่นอนว่าหลายคงเฝ้ารอชมไลน์อัพความบันเทิงจากทั่วโลกเมื่อ ยูโอบี ไลฟ์ เปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ 2567

ยูโอบี ไลฟ์ เป็นศูนย์รวมการจัดงานแห่งใหม่ล่าสุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นหนึ่งในไฮไลต์ของ ดิ เอ็มสเฟียร์ (THE EMSPHERE) ศูนย์การค้าแห่งใหม่ในย่าน ดิ เอ็มดิสทริค (The EM District) ที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา ยูโอบี ไลฟ์ มุ่งยกระดับให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการจัดอีเวนท์และการแสดงระดับโลกของภูมิภาคนี้ โดยรองรับผู้ชมได้ถึง 6,000 ที่นั่ง และยังเพียบพร้อมด้วยแหล่งช้อปปิง และตัวเลือกร้านอาหารที่หลากหลาย รวมถึงพื้นที่สำหรับความบันเทิงที่ครอบคลุม จึงเป็นนิยามใหม่ที่ยกระดับประสบการณ์ความบันเทิงได้อย่างแท้จริง ทั้งคอนเสิร์ต การแสดง และอีเวนท์ของศิลปินทั้งไทยและเทศที่ได้รับความนิยม

ภายใต้ความร่วมมือของ 3 พันธมิตร ที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการผลักดันให้กรุงเทพฯ กลายเป็นศูนย์กลางชั้นนำของนวัตกรรมการช้อปปิง อีเวนท์ความบันเทิง และประสบการณ์ด้านไลฟ์สไตล์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หัวใจสำคัญของความร่วมมือในครั้งนี้ คือการผนึกความเชี่ยวชาญของทั้งสามภาคธุรกิจมาผนวกไว้เป็นหนึ่งเดียว ได้แก่ เออีจี ผู้นำด้านธุรกิจความบันเทิงและกีฬาระดับโลกกว่าสองทศวรรษ ดิ เอ็มดิสทริค ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศูนย์การค้ามาอย่างยาวนาน และ ยูโอบี ในฐานะธนาคารชั้นนำระดับภูมิภาค ที่ก้าวเข้ามาในธุรกิจศูนย์กลางไลฟ์เอนเตอร์เทนเมนต์ระดับพรีเมียร์เป็นครั้งแรก เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้ ยูโอบี ไลฟ์ กลายเป็นไอคอนของนวัตกรรมและวัฒนธรรมความบันเทิงแห่งใหม่

เพื่อเผยนิยามใหม่ของความบันเทิงที่กำลังจะมาถึง ยูโอบี ไลฟ์ ได้เปิดตัววิดีโอที่แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของเออีจีผ่านอารีน่าในเมืองหลักทั่วโลก อาทิ L.A. LIVE ในลอสแอนเจลิส, Mercedes-Benz Arena และ Mercedes-Benz Platz ในเบอร์ลิน, T-Mobile Arena ในลาสเวกัส และ The O2 arena ในกรุงลอนดอน นับเป็นการจุดกระแสอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ได้เปิดตัวโลโก้ UOB LIVE อย่างโดดเด่นบนศูนย์การค้า ดิ เอ็มสเฟียร์ เพื่อสื่อถึงประสบการณ์ความบันเทิงสุดยิ่งใหญ่ ที่กำลังจะมาถึงกรุงเทพฯ ในอีกไม่นานนี้

เตรียมสัมผัสนิยามใหม่ของความบันเทิงที่จะมาพลิกโฉมประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางการจัดงานไลฟ์เอนเตอร์เทนเมนต์ระดับชั้นนำของโลกในภูมิภาคนี้ พร้อมเตรียมพบกับศิลปินจากทั่วโลกที่เตรียมตบเท้ามาจัดเต็มสีสันและความสนุกที่กรุงเทพฯ ณ ยูโอบี ไลฟ์

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดตัวโซลูชันบริการสินเชื่อหมุนเวียนธุรกิจแบบดิจิทัล (Financial Supply Chain Management - FSCM) บนแพลตฟอร์ม e-banking สำหรับลูกค้าองค์กรของธนาคาร

ด้วยฟีเจอร์นี้ การบริหารซัพพลายเชนที่ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง (procurement to pay) การผลิตและจัดจำหน่าย (production to sales) รวมถึงการออกใบแจ้งหนี้และการชำระเงิน (invoice to collect) ทั้งหมดรวมอยู่บนแพลตฟอร์ม e-banking ของธนาคาร ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนในการประสานงานระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายทำให้การส่งเอกสารและการขอสินเชื่อจากธนาคารเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและทำให้การบริหารซัพพลายเชนมีประสิทธิภาพได้อย่างครบวงจร

สอดคล้องกับรายงาน UOB Business Outlook Study 2023 ประเทศไทย1 ที่พบว่าเกือบร้อยละ 48 ของภาคธุรกิจมองว่าการบริหารซัพพลายเชนเป็นเรื่องสำคัญ โดยกว่าร้อยละ 69 พบว่าการบริหารซัพพลายเชนของบริษัทได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมืองระดับภูมิภาค และกว่าร้อยละ 40 ของธุรกิจในไทยมีต้นทุนที่สูงขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการบริหารซัพพลายเชน

 

นางพัชนี ว่องศิลป์วัฒนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Head of Transaction Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ปัจจุบันมีลูกค้าหลายรายประสบความท้าทายที่หลากหลายในการบริหารซัพพลายเชน ดังนั้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า โดยดิจิทัลโซลูชันแบบครบวงจรที่ธนาคารเสริมเข้ามาจะทำให้การขอสินเชื่อหมุนเวียน การบริหารเงินสด และบริหารความเสี่ยงที่อยู่ในระบบซัพพลายเชนของบริษัทให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”

ลูกค้าองค์กรสามารถใช้ฟีเจอร์ใหม่ในการบริหารเงินสด ทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศและการบริหารซัพพลายเชนทั้งหมดด้วยการลงทะเบียนเข้าระบบแบบครั้งเดียว ซึ่งจะช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินมีความสะดวก รวดเร็ว และส่งผลให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น เช่น

· แสดงข้อมูลและตรวจสอบสถานการณ์ทำธุรกรรมแบบเรียลไทม์ ตั้งแต่ขั้นตอนการส่งเอกสารจนถึงการชำระเงิน

· ลดขั้นตอนด้วยการเปลี่ยนรูปแบบเอกสารทางการค้าจากกระดาษมาเป็นเอกสารการค้าดิจิทัล

· ปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทตั้งแต่กระบวนการออกใบแจ้งหนี้ การขอสินเชื่อ และการกระทบยอดบัญชีของบริษัท

· สามารถกำหนดอัตราส่วนในการเบิกใช้สินเชื่อ (financing advance ratio) ระยะเวลาในการเบิกใช้สินเชื่อสูงสุด (tenors) และวงเงินสินเชื่อสูงสุด (limits) ของบริษัทคู่ค้าเพื่อป้องกันความเสี่ยง

นางโซ เล ฮัว Head of Group Transaction Banking ธนาคารยูโอบี กล่าวว่า “ฟีเจอร์ใหม่นี้จะช่วยให้ลูกค้าของธนาคาร ทั่วภูมิภาคอาเซียนเข้าถึงบริการสินเชื่อหมุนเวียนธุรกิจแบบครบวงจร (FSCM) ผ่านระบบดิจิทัลเพื่อบริหารซัพพลายเชนของบริษัทตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่การค้าระหว่างไทยและอาเซียนมีโอกาสเติบโตมากขึ้น หลายธุรกิจหันมาเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจให้แข็งแกร่งขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายกิจการในประเทศและรอบภูมิภาคมากขึ้น โดยฟีเจอร์ใหม่นี้สามารถใช้ได้ในทุกประเทศหลักที่ธนาคารดำเนินธุรกิจ จึงเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการการเงิน และบริหารระบบซัพพลายเชนของบริษัททั้งในประเทศและทั่วภูมิภาคได้อย่างทั่วถึง ช่วยลดความยุ่งยากในการแลกเปลี่ยนเอกสารการค้า การบริหารเงินทุนหมุนเวียน อีกทั้งยังช่วยบริหารความเสี่ยงในการเรียกชำระเงินได้ภายในแพลตฟอร์มเดียว”

ลูกค้าองค์กรสามารถใช้ฟีเจอร์บริการสินเชื่อหมุนเวียนธุรกิจแบบดิจิทัล ได้แล้ววันนี้ ทั้งในประเทศไทย และทุกประเทศที่ธนาคารยูโอบีดำเนินธุรกิจ ได้แก่ สิงค์โปร์ อินโดนิเซีย มาเลเซีย จีน และฮ่องกง

 

เมื่อเร็วๆนี้ ธนาคารยูโอบีได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับบริษัท Guangzhou Auto Group (GAC) Aion เพื่อผนึกความร่วมมือแบบครอบคลุมทุกมิติในการเข้ามาทำธุรกิจรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย โดยธนาคาร ยูโอบี ประเทศจีน และ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยจะร่วมสนับสนุนสินเชื่อทางการเงินสำหรับการขยายธุรกิจ การพัฒนาตลาดและ การลงทุนเพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ของบริษัท

ข้อตกลงในครั้งนี้เป็นการสานต่อความร่วมมืออันยาวนานระหว่าง ธนาคารยูโอบี ประเทศจีน กับ GAC Aion ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารายใหญ่ลำดับที่ 3 ภายในประเทศจีนในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 ภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ GAC Aion และ บริษัท ไอออน ออโตโมบิล เซลล์ (ประเทศไทย) จะได้รับประโยชน์จากบริการ Global Credit Services เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการขยายกิจการและดำเนินธุรกิจ บริการธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ บริการบริหารความเสี่ยงที่หลากหลาย และการเข้าถึงสินเชื่อสีเขียวภายใต้กรอบแนวคิดการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนของธนาคารในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน

ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ธนาคารยูโอบีขอร่วมแสดงความยินดีกับ GAC Aion กับก้าวแรกแห่งความสำเร็จในการเข้ามาสู่ตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าประเทศไทย จากความสัมพันธ์ที่ก่อตัวขึ้นอย่างยาวนาน ยูโอบีรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่บริษัทเลือกธนาคารเป็นสถาบันทางการเงินหลักเพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจนอกประเทศ ในฐานะธนาคารชั้นนำระดับภูมิภาคที่มีรากฐานที่มั่นคงในประเทศไทย ยูโอบีได้ช่วยเหลือให้ GAC Aion ได้เข้ามาทำตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่กำลังเติบโตในประเทศได้อย่างประสบความสำเร็จเพราะธนาคารมีเครือข่ายที่แข็งแกร่งและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจในประเทศไทยเป็นอย่างดี ยูโอบีพร้อมมอบความช่วยเหลือเพิมเติมให้แก่บริษัทเพื่อสนับสนุนความต้องการในการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค และการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้ยานยนต์สีเขียวต่อไปในอนาคต

บันทึกความเข้าใจนี้สืบเนื่องจากที่ GAC Aion ได้เปิดตัว Aion Y Plus รถยนต์พลังงานไฟฟ้าสำหรับจำหน่ายในต่างประเทศเป็นที่แรกในประเทศไทย โดยเมื่อปี 2565 บริษัทได้วางกลยุทธ์ขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ในต่างประเทศ และเลือกภูมิภาคอาเซียนที่ตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีประเทศไทยเป็นจุดหมายแรกในการปักธงธุรกิจ ธนาคารยูโอบีนำโดยหน่วยงานที่ปรึกษาด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment Advisory Unit) พร้อมด้วยผู้จัดการลูกค้าสัมพันธ์ และ หน่วยบริการธุรกิจจีนได้ร่วมให้คำแนะนำในการขยายธุรกิจแก่บริษัทในทุกมิติ ทำให้ Gac Aion สามารถจัดตั้งบริษัทย่อย จดทะเบียนลงทุนทางตรงในต่างประเทศ และส่งออกรถยนต์รุ่น Y Plus มาทำตลาดในไทย นอกจากนี้ธนาคารยังให้บริการชำระเงินข้ามพรมแดนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยสามารถชำระเงินเป็นสกุลเงินบาท และโอนเงินโดยตรงให้แก่บริษัทที่จีนเป็นสกุลเงินหยวนได้ทันที”

โอเชียน หม่า กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอออน ออโตโมบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ไอออน ออโตโมบิล เซลส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้วหลังจากที่บริษัทได้จัดตั้งหน่วยธุรกิจต่างประเทศ เราได้เรียนรู้และสานสัมพันธ์กับธุรกิจในประเทศต่างๆ ผ่านเครือข่ายระดับภูมิภาคที่เข้มแข็งของธนาคารยูโอบีทำให้เรามีข้อมูลและรับทราบความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นเวลาขยายธุรกิจออกนอกประเทศ อีกทั้งธนาคารยังช่วยเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างบริษัทกับตัวแทนจากภาครัฐทั่วภูมิภาคอาเซียนที่ตั้งอยู่ในมณฑลกวางโจว และตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ยูโอบีจึงไม่เป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาด้านการเงินแต่เป็นคู่คิดที่อยู่เคียงข้างเราในทุกๆ ก้าวของการเดินทาง”

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเป็นผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอันดับหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากที่เปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่น Y Series ทุกรุ่น Gac Aion มีแผนที่จะตั้งโรงงานและใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในไทยและประเทศอื่นๆ

กู่ ฮุ่ยหนาน กรรมการผู้จัดการบริษัท GAC Aion New Energy Automotive Co., Ltd กล่าวเพิ่มเติมว่า “บริษัทมีแผนจะใช้ประเทศไทยเป็นที่แรกเพื่อตั้งโรงงานประกอบรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและสร้างเครือข่ายในการขยายธุรกิจส่งออกรถยนต์ไปต่างประเทศ ซึ่งเราได้รับการสนับสนุนจากธนาคารยูโอบีในการเข้ามาทำตลาดในภูมิภาคนี้เป็นอย่างดี บริษัทพร้อมจะเติบโตไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องและยินดีที่จะร่วมงานกับธนาคารเพื่อเสริมสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้แก่ทุกคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ซินเทีย ซิง, Head of Corporate Banking, ธนาคารยูโอบี ประเทศจีน กล่าวว่า “ยูโอบีรู้สึกยินดีที่ได้รับความไว้วางใจจาก GAC Aion พร้อมทั้งมีความเชื่อมั่นว่าการลงนามในข้อตกลงร่วมครั้งนี้จะกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจของเราให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการตอกย้ำจุดยืนของธนาคารในฐานะผู้ให้บริการทางการเงินหลักของ Aion และ GAC Aion ที่พร้อมสนับสนุนการขยายโอกาสทางธุรกิจอย่างครอบคลุมทั่วภูมิภาคอาเซียนผ่านการให้สินเชื่อหมุนเวียนทางธุรกิจ โซลูชันทางการเงินเพื่อความยั่งยืน รวมทั้งการให้บริการที่ปรึกษาทางการเงิน (global markets)และกิจกรรมในตลาดทุน (capital markets)”

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยเดินหน้าสนับสนุนสินเชื่อทางการเงิน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตสีเขียวให้แก่ภูมิภาคอาเซียน ธนาคารพร้อมสนับสนุนสินเชื่อทางการเงินภายใต้กรอบแนวคิดเพื่อความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจในทุกภาคอุตสาหกรรมในการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission)

โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารยูโอบี ได้เข้าร่วมงาน ฟิวเจอร์ โมบิลิตี้ เอเชีย (Future Mobility Asia) และ “ฟิวเจอร์ เอนเนอร์จี เอเชีย” (Future Energy Asia) ประจำปี 2566 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและนำเสนอโซลูชันทางการเงินของธนาคาร ที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนให้แก่ภูมิภาค ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงในอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้กำหนดนโยบายที่เข้าร่วมงานในปีนี้

นายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ ธนาคารยูโอบียึดมั่นในแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมผนึกความร่วมมือกับทุกภาคส่วนผ่านโครงการเพื่อความยั่งยืนที่หลากหลายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น ยูโอบีในฐานะธนาคารที่ตอบโจทย์ครบในหนึ่งเดียวเพื่อเข้าถึงโอกาสเติบโตทางธุรกิจทั่วอาเซียน ยืนยันจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงินที่พร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ยั่งยืน และเพื่อสิ่งแวดล้อมให้แก่สังคม ปัจจุบันสภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องเร่งด่วนสำหรับพวกเราทุกคน ธนาคารพร้อมนำเสนอกรอบแนวคิดและโซลูชันทางการเงินเพื่อความยั่งยืนที่ช่วยส่งเสริมและสร้างโอกาสให้แก่บริษัทในทุกภาคอุตสาหกรรมในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนร่วมกัน”

รายงานการศึกษาขององค์การสหประชาชาติพบว่าภาคธุรกิจพลังงานเป็นอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 3 ใน 4 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มีการปล่อยทั่วโลก1 ธุรกิจพลังงานจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนในแหล่งพลังงานหมุนเวียนทดแทนเพิ่มขึ้น แทนที่การใช้พลังงานจากก๊าซ ถ่านหิน และน้ำมัน เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

ยูโอบีย้ำถึงบทบาทของธนาคารในการจัดสรรเงินในการลงทุนเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปใช้พลังงานสะอาดให้มากขึ้น ซึ่งรายงานการศึกษาของสำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ (International Renewable Energy Agency: IRENA) พบว่าต้องมีการจัดสรรเงินลงทุนรวมกว่า 57 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐให้แก่ธุรกิจพลังงานไปจนถึงปี 2573 เพื่อจำกัดอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามความตกลงปารีส (Paris Agreement)2 โดยเงินลงทุนประมาณร้อยละ 57 มาจากการปล่อยกู้และการระดมทุนโดยสถาบันการเงิน อีกร้อยละ 25 มาจากเงินลงทุนในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ (private equity markets) และส่วนที่เหลือมาจากเงินลงทุนของธนาคารเพื่อการพัฒนาต่างๆ และเงินลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (public equity markets)

สำหรับภาคขนส่งที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึงร้อยละ 20 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก การพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมยานยนต์พลังงานสะอาดในอนาคตเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ ยูโอบีมองว่าแนวโน้มการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าทั่วโลกจะเติบโตถึงร้อยละ 18 ภายในปี 2566 และจะมากถึงร้อยละ 35 ภายในปี 2573 โดยเฉพาะในอาเซียนที่ยอดจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในหลายประเทศมีแนวโน้มจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 จากนโยบายของรัฐบาลที่เกื้อหนุนต่ออุตสาหกรรมและโมเดลรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือในประเทศไทย และประเทศอินโดนิเซียที่รัฐบาลกำหนดให้การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานรถยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป็นนโยบายเศรษฐกิจหลักเพื่อส่งเสริมให้ค่ายผู้ผลิตให้ย้ายฐานการผลิต

ธนาคารยูโอบีพร้อมสนับสนุนโซลูชันทางเงินแบบครบวงจรภายใต้โครงการยู-ไดรฟ์ (U-drive) เพื่อเชื่อมต่อไปยังทุกภาคส่วนตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า ตั้งแต่ บริษัทผลิตรถยนต์ บริษัทผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนรถยนต์(OEMs) ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ผู้ประกอบการสถานีชาร์จแบตเตอรี่ ไปจนถึงผู้บริโภค ให้สามารถนำระบบขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ตลอดจนขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน

นอกจากนี้ธนาคารได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาโซลูชันทางการเงินที่ล้ำสมัยให้ตอบสนองต่อความต้องการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดของภูมิภาค เช่น สินเชื่อทางการเงินเพื่ออนุรักษ์พลังงานสำหรับอาคารและที่อยู่อาศัยภายใต้โครงการยู-เอนเนอร์จี (U-Energy) ควบคู่ไปกับการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร หรือส่งเสริมความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม

โครงการยู-โซลาร์ (U-Solar) โซลูชันทางการเงินแบบครบวงจรที่สนับสนุนทุกภาคส่วน ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไปให้เปลี่ยนมาใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์มากขึ้น ความสำเร็จของโครงการในประเทศไทย สิงค์โปร์ อินโดนิเซีย และมาเลเซียช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนและเร่งให้การพัฒนาด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในอาเซียนเป็นไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน โครงการยู-โซลาร์ของสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 186,000 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า (tCO2e) ทั่วภูมิภาคอาเซียน

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click