December 22, 2024

กลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Financial Markets: SCB FM) เปิดเผยว่า เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วตามราคาทองคำที่ปรับสูงขึ้นหลังสงครามอิสราเอลกลับมาปะทุ อีกทั้ง เงินเยนที่แข็งค่าขึ้นหลัง BOJ ขึ้นดอกเบี้ยตามตลาดคาดก็เป็นปัจจัยหนุนการแข็งค่าของเงินบาท นอกจากนี้ ตัวเลขตลาดแรงงานและเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่อ่อนแอกว่าคาดเป็นปัจจัยที่ทำให้บาทแข็งค่าขึ้นมาก่อนหน้านี้ด้วย ในระยะต่อไป ต้องจับตาผลการประชุม Fed คืนนี้ และการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่อาจทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น กดดันให้บาทกลับมาอ่อนได้ มองกรอบเงินบาทราว 35.50-36.00 ในช่วง 1 เดือนจากนี้  

นายแพททริก ปูเลีย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เงินบาทในเดือนที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นเร็วเป็นผลจากหลายสาเหตุ คือ 1) ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาอ่อนแอกว่าคาด ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ที่ออกมาต่ำกว่าคาด 3 เดือนติดต่อกัน 2) เงินเยนที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องหนุนให้เงินบาทแข็งค่าตาม โดยเงินเยนแข็งค่าจากที่ตลาดมองว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะขึ้นดอกเบี้ยได้ ขณะที่ดอกเบี้ยในสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดลง ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยแคบลง ซึ่งล่าสุด BOJ ก็ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไป 15 bps มาอยู่ที่ 0.25% ทำให้เงินเยนแข็งค่าต่อ และ 3) ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์โลกที่กลับมาปะทุขึ้น หลังอิสราเอลโจมตีเบรุต ทำให้ราคาทองคำสูงขึ้น หนุนให้บาทแข็งค่าขึ้นในช่วงข้ามคืน  

สำหรับมุมมองในระยะข้างหน้า มองว่าเงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันด้านอ่อนค่าได้ในระยะสั้นนี้ หากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ไม่ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยดังที่ตลาดคาด ซึ่งจะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (Treasury yields) สูงขึ้น และกดดันให้บาทอ่อนค่าได้ นอกจากนี้ การเลือกตั้งสหรัฐฯ อาจทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์ยังแข็งค่าต่อ และความไม่แน่นอนการเมืองไทยอาจส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายอาจยังไม่ไหลกลับไทยได้เร็วนัก จึงมองเงินบาทราว 35.50-36.00 ในช่วง 1 เดือนนี้ 

ในระยะกลาง-ยาว การเลือกตั้งสหรัฐฯ มีแนวโน้มทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐและ Treasury yields สูงขึ้น โดยหากโอกาสที่ Trump จะชนะการเลือกตั้งมีสูงขึ้น อาจส่งผลให้สกุลเงินภูมิภาคและเงินบาทอ่อนค่า และเป็นความเสี่ยง Tail-risk ต่อเงินบาท โดย SCB FM พบว่า เงินบาทจะได้รับผลกระทบจากนโยบายขึ้น Tariffs ทางอ้อม ผ่านแนวโน้มเศรษฐกิจจีนที่จะแย่ลง และ Correlation ระหว่างบาท-หยวนที่สูง ทำให้บาทอ่อนค่าตามเงินหยวน ทั้งนี้ ในวันที่มีการประกาศขึ้นภาษีนำเข้า (Tariffs) ต่อสินค้าจีนในปี 2019 ที่ทำให้สกุลเงิน EM และเอเชียอ่อนค่าลง พบว่าเงินบาทไม่ได้อ่อนค่าชัดเจนนัก (Direct impact ต่ำ) นายแพททริกประเมินว่า หาก Trump ชนะการเลือกตั้งและขึ้น Tariffs ดังที่ประกาศไว้ เงินบาทจะมีความเสี่ยง (Tail-risk) ที่อาจอ่อนค่าไปสู่ระดับ 38.10 บาทได้ (โดยให้ปัจจัยอื่นคงที่ และให้เงินหยวนอ่อนค่าไปที่ 8 หยวนต่อดอลลาร์) 

สำหรับมุมมองอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล นายวชิรวัฒน์ บานชื่น นักกลยุทธ์ตลาดการเงินอาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (US Treasury yields) ที่ผ่านมาปรับลดลงเร็วจากเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอลง ทำให้ตลาดคาดการณ์ลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ และให้โอกาสการลดดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ราว 70% โดยนายวชิรวัฒน์ มองว่า Fed อาจลดดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. และ ธ.ค. ส่วนการประชุม Fed ในคืนวันพุธนี้ คาดว่าน่าจะยังไม่ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ก.ย. ชัดเจนนัก จึงเป็นความเสี่ยงให้ Treasury yields อาจมี Correction และปรับสูงขึ้นได้เล็กน้อย นอกจากนี้ มองว่าการ price-in ลดดอกเบี้ยครั้งที่ 3 มีมากเกินไป สะท้อนจาก GDP ไตรมาสที่ 2 ของสหรัฐฯ ที่ออกมาสูงกว่าตลาดคาด และล่าสุดมีการปรับเลข PCE เดือนก่อนขึ้น จึงมีสัญญาณว่าเงินเฟ้ออาจไม่ลดลงเร็วดังที่ตลาดบางส่วนกังวล ทำให้โอกาสที่ Fed จะลดดอกเบี้ยเร็วและแรงมีน้อยลง ดังนั้น Yields จึงอาจปรับสูงขึ้นจากระดับปัจจุบันเล็กน้อยได้ อีกประเด็นที่ต้องจับตาคือ ประกาศของกระทรวงคลังสหรัฐฯ ที่จะออกแผนการออกพันธบัตรในระยะต่อไป ซึ่งนายวชิรวัฒน์ คาดว่าจะคงการออกพันธบัตรในไตรมาส 3 เท่าเดิม แต่มีโอกาสที่จะออกพันธบัตรมากขึ้นในไตรมาสสุดท้าย 

สำหรับมุมมองอัตราดอกเบี้ยไทยนั้น ยังมองว่า กนง. อาจลดดอกเบี้ย 1 ครั้งปลายปีนี้ เนื่องจากความเปราะบางในภาคครัวเรือนอาจเริ่มส่งผลมายังอุปสงค์ในประเทศ ซึ่งจะทำให้ความจำเป็นในการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายมีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี หากมาตรการ Digital wallet ดำเนินได้ในปีนี้ ก็อาจทำให้ กนง. เลื่อนการลดดอกเบี้ยออกไปได้ สำหรับมุมมองอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะยาว มองว่ามีโอกาสปรับสูงขึ้นได้ จากแนวโน้มเงินทุนไหลออกตามการปรับน้ำหนัก Bond index ของ JP Morgan และความเสี่ยงที่อุปทานพันธบัตรรัฐบาลไทยอาจมีออกมามากขึ้นได้ในระยะต่อไป

นโยบายการเงินโลกมีความแตกต่างกันมากขึ้น ขณะที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองยังมีอยู่ ส่งผลให้เงินบาทจะยังผันผวนสูงในระยะต่อไป SCB มองเงินบาทในช่วง 3 เดือนข้างหน้าอ่อนค่าในกรอบ 34.35-35.35 แนะลูกค้าทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงเงินบาทผันผวน

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 34.50-35.20 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 34.69 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 34.26-34.78 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 2 เดือน ขณะที่ค่าเงินหยวนร่วงลงต่อเนื่อง เงินดอลลาร์เดินหน้าแข็งค่าเทียบทุกสกุลเงินสำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแตะจุดสูงสุดรอบ 2 เดือนขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร(บอนด์ยิลด์)สหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นหลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงแข็งแกร่งเกินคาดแม้ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวในช่วงที่ผ่านมา ทางด้านเจ้าหน้าที่เฟดแสดงความเห็นแตกต่างกันไปในช่วงนี้ต่อประเด็นที่ว่าเฟดควรจะปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไปหรือไม่ ทั้งนี้ ตลาดสัญญาล่วงหน้าบ่งชี้ความน่าจะเป็นราว 34% ที่เฟดจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. และมีโอกาส 66% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 25bp สู่ 5.25-5.50% นอกจากนี้ ระหว่างสัปดาห์ดอลลาร์ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมในฐานะสกุลเงินปลอดภัยจากความกังวลเรื่องเพดานหนี้สหรัฐฯและแนวโน้มเศรษฐกิจจีน  ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นและพันธบัตรไทยสุทธิ 12,189 ล้านบาท และ 21,523 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับภาพรวมในสัปดาห์นี้ กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ กรุงศรี ระบุว่า บรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอาจได้แรงส่งเชิงบวกในช่วงแรกหลังทางการสหรัฐฯได้ข้อตกลงเรื่องงบประมาณเพื่อระงับข้อจำกัดเกี่ยวกับเพดานหนี้รัฐบาลไปจนถึงต้นปี 68 และจะมีการลงคะแนนข้อตกลงดังกล่าวในสภาคองเกรส ก่อนจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการต่อไป อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อสหรัฐฯที่ยังลดลงช้าเกินคาดทำให้ผู้ร่วมตลาดมองว่าดอกเบี้ยเฟดจะอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่เคยประเมินไว้เดิม โดยปัจจัยชี้นำหลักสำหรับตลาดอัตราแลกเปลี่ยนกลับมาอยู่ที่การคาดการณ์ทิศทางนโยบายเฟด หากข้อมูลจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.ของสหรัฐฯต่ำเกินคาด เงินดอลลาร์จะเผชิญแรงขายทำกำไรได้เช่นกัน ทั้งนี้ บอนด์ยิลด์ระยะ 2 ปีของสหรัฐฯพุ่งขึ้นมาแล้ว 86bp ในเวลาเพียง 3 สัปดาห์

สำหรับปัจจัยในประเทศ คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) จะมีมติขึ้นดอกเบี้ย 25bp เป็น 2.00% ในการประชุมวันที่ 31 พ.ค. แม้เงินเฟ้อกำลังเป็นขาลงแต่การสื่อสารจากผู้ดำเนินนโยบายบ่งชี้ว่าต้องการNormalize อีกสักระยะหนึ่ง นอกจากนี้ ตลาดจะให้ความสนใจกับรายงานภาวะเศรษฐกิจเดือนเม.ย. ขณะที่ฝั่งการเมืองยังมีความเสี่ยงที่การจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 67 จะล่าช้า

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เผยรายงานวิจัยล่าสุดวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2566 คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามามากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนผลักดันให้เกิดการบริโภคและการใช้จ่ายภายในประเทศที่สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี (GDP) สามารถเติบโตถึงร้อยละ 3.7 ในปีนี้

นายเอ็นริโก้ ทานูวิดฮาฮา นักเศรษฐศาสตร์ Global Economic and Market Research ของธนาคารยูโอบี เผยว่า ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประเทศไทยเริ่มต้อนรับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนที่กลับเข้ามาอีกครั้งหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งถือว่าเร็วกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ และส่งผลดีให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีสัญญาณที่ดีจากภาคธุรกิจบริการที่เริ่มฟื้นตัว รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภคและการใช้จ่ายในประเทศ ดังนั้นสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปีนี้จะเริ่มกลับมาฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในแต่ละไตรมาส โดยยูโอบีประเมินว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะสามารถขยายตัวได้ถึงร้อยละ 3.7 และอัตราเงินเฟ้อจะเฉลี่ยอยู่ร้อยละ 2.7 ซึ่งเป็นผลจากรายได้ท่องเที่ยวที่เป็นแรงสนันสนุนหลักทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้มีความสดใส"

นอกจากนี้ ผลพวงจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่จะเดินทางกลับมาเข้าอีกครั้ง หลังจากนโยบายการเปิดพรมแดน จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ดีในช่วงครึ่งปีแรก ค่าเงินบาทอาจได้รับผลกระทบจากความท้ายทายของเศรษฐกิจโลกในระดับมหาภาค ทำให้เคลื่อนไหวอ่อนตัวลงไปอยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งปีแรก ก่อนจะกลับมาแข็งแกร่งและไต่ระดับไปถึง 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งปีหลัง

โดยรวมภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะอยู่ในเกณฑ์ที่แข็งแกร่งจากการฟื้นตัวของภาคธุรกิจต่างๆโดยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจหลักในประเทศ”สถานการณ์เศรษฐกิจส่งสัญญาณการฟื้นตัวสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณฟิ้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีที่แล้ว ทำให้ในปีนี้สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยมีโอกาสจะเติบโตได้ถึงร้อยละ 3-4 เห็นได้จากจีดีพีของปี 2565 กลับมาเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4.5 จากมูลค่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การลงทุน และรายได้ท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้มูลค่าการอุบโภคบริโภคระดับครัวเรือนมีอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี และค่าใช้จ่ายในภาคบริการปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 15.8 จากการใช้จ่ายที่สูงขึ้นในภาคธุรกิจร้านอาหาร ท่องเที่ยว สันทนาการ และวัฒนธรรม ดังนั้นยูโอบีจึงเชื่อมั่นว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ในปีนี้ จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะช่วยเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศควบคู่ไปกับภาคส่งออกที่แข็งแกร่งขึ้น

อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่ขาลงตั้งแต่ปี 2565 อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยได้ขึ้นไปแตะที่จุดสูงสุดก่อนจะทยอยปรับระดับลงในช่วงปลายปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากราคาพลังงานที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการฟื้นตัวของระบบห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และ กระจายสินค้าของรายการอาหารบางชนิดที่ช่วยลดแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อต่ำลง สำหรับปี 2566 ยูโอบีประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยจะลอยตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.7 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (headline inflation) จะขึ้นไปแตะที่ร้อยละ 3.9 ในช่วงครึ่งปีแรก และจะคงค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ1.5 ในช่วงครึ่งปีหลัง จากความต้องการบริโภคที่ลดลงเพราะระบบห่วงโซ่อุปทานโลกปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น ประกอบกับสถานการณ์พลังงานและราคาสินค้าทั่วโลกอยู่ในเกณฑ์ที่ทรงตัว (moderate) และ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) จะปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อนี้สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ประเมินอยู่ที่ร้อยละ 2-3  ค่าเงินบาททีมนักวิเคราะห์ของยูโอบีประเมินว่าในปีนี้ ค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคเอเชีย และกับดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจัยต่างๆเช่น การใช้นโยบายการเงินอย่างผ่อนปรนและยืดหยุ่นของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อเทียบกับธนาคารกลางอื่นๆ ในภูมิภาค รวมถึงระดับอัตราดอกเบี้ยทั่วภูมิภาคยังอยู่ในระดับต่ำ และความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลกในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี อานิสงส์จากการฟื้นตัวของภาคธุรกิจท่องเที่ยว และการเปิดพรมแดนของจีนจะช่วยบรรเทาความท้าทายเหล่านี้ และส่งผลให้ค่าเงินบาทยังสามารถรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคนี้ อีกทั้งยูโอบีประเมินว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยจะกลับมาเกินดุลอีกครั้งที่ร้อยละ 2.8 ของจีดีพี ซึ่งจะเป็นแรงสนับสนุนเพิ่มเติมทำให้ค่าเงินบาทซึ่งอ่อนตัวและเคลื่อนไหวอยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงครึ่งปีแรก จะกลับมาแข็งค่าอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสสุดท้าย

X

Right Click

No right click