ทรู คอร์ปอเรชั่น ลุยเข้มหยุดภัยมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงประชาชน โดยคณะผู้บริหารระดับสูง นำโดย นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย นายชารัด เมห์โรทรา รองประธานคณะผู้บริหาร นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกิจการองค์กร และนางสาวทิพยรัตน์ แก้วศรีงาม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการจัดการระดับภูมิภาค เข้าพบ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.อ.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร จเรตำรวจแห่งชาติ เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยมีแนวคิดตั้ง “วอร์รูม” ร่วมกันที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การปรึกษาหารือครั้งนี้ ทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และทรู คอร์ปอเรชั่น จะร่วมมือกันในแนวทางการจัดตั้ง "วอร์รูม" ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อบูรณาการข้อมูลเชิงลึกจากทั้งสองฝ่าย นำมาวิเคราะห์เพื่อป้องปรามและจับกุมแก๊งมิจฉาชีพ โดยเฉพาะการทลายเครือข่ายที่ใช้อุปกรณ์ซิมบ็อกซ์ (Simbox) และการตรวจจับพฤติกรรมการโทรหรือส่ง SMS ที่ผิดปกติ เพื่อหยุดยั้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์และทลายแหล่งมิจฉาชีพในการสร้างความเสียหายและการสูญเสียทรัพย์สินจากการหลอกลวงประชาชน
นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ในฐานะผู้นำด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีของประเทศไทย เราตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่กำลังสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง จึงได้มุ่งมั่นดำเนินมาตรการเชิงรุกอย่างเข้มข้น เพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากมิจฉาชีพที่สร้างความเสียหายแก่ประชาชน ทั้งในรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์และการส่งข้อความ SMS หลอกลวง โดยบริษัทได้กำหนดมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยของลูกค้าและสังคมอย่างเป็นระบบ มีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยคัดกรองและเฝ้าระวังพฤติกรรมที่ผิดปกติ พร้อมทั้งจัดตั้งทีมงานเฉพาะกิจในการตรวจสอบและป้องกันการกระทำผิดอย่างเข้มงวด ล่าสุด เราได้ยกระดับความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการบูรณาการการทำงานเชิงลึก ด้วยการเตรียมจัดตั้งวอร์รูมร่วมกัน เพื่อผสานความเชี่ยวชาญและข้อมูลเชิงลึกจากทั้งสองฝ่าย การร่วมมือครั้งนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ยับยั้งและทลายเครือข่ายมิจฉาชีพ เพื่อปกป้องประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มอาชญากรเหล่านี้”
นับตั้งแต่ปี 2567 บริษัทได้เพิ่มความเข้มงวดในการลงทะเบียนซิมการ์ดและเลขหมาย พร้อมนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการคัดกรอง มีการยกเลิกความร่วมมือกับคู่ค้าที่มีพฤติกรรมน่าสงสัย และระงับการใช้งานซิมการ์ดที่อาจถูกนำไปใช้ในทางมิชอบ รวมถึงจัดตั้งทีมงานเฉพาะกิจด้านการป้องกันการทุจริต (Fraud Team)
นอกจากนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่นยังได้พัฒนาบริการ "ทรูไซเบอร์เซฟ" (True CyberSafe) เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์แก่ผู้ใช้บริการ โดยระบบจะแจ้งเตือนเมื่อพบลิงก์ต้องสงสัย ซึ่งลูกค้าทรู-ดีแทค และทรูออนไลน์สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องติดตั้งแอปพลิเคชันเพิ่มเติม
ด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้นำระบบดิจิทัลและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม โดยล่าสุดได้เปิดตัวแอปพลิเคชัน Cyber Check ที่ช่วยให้ประชาชนสามารถคัดกรองเบอร์โทรศัพท์และตรวจสอบเลขบัญชีธนาคารที่ต้องสงสัยได้ โดยใช้ฐานข้อมูลจากระบบรับแจ้งความออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นข้อมูลจากการร้องเรียนและการดำเนินคดีจริง
ความร่วมมือครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในประเทศไทย เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและป้องกันการสูญเสียทรัพย์สินที่ถูกหลอกลวงจากกลุ่มมิจฉาชีพ สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการฉ้อโกงประชาชน รวมถึงการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
ภายหลังจากที่ ทรู คอร์ปอเรชั่น เดินหน้าภารกิจรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ลงทุนพัฒนาและนำ AI ขั้นสูงมาใช้เพื่อยกระดับการปกป้องและเพิ่มความปลอดภัยในการใช้บริการโลกออนไลน์ เปิดระบบป้องกันภัยไซเบอร์อัจฉริยะ "True CyberSafe" ให้บริการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับ ลูกค้ามือถือทรูและดีแทค รวมทั้งลูกค้าเน็ตบ้านทรูออนไลน์ ทุกราย โดยจะ บล็อก หรือ แจ้งเตือน เมื่อมีการเข้าถึงเว็บไซต์ที่อาจเป็นอันตราย หากลูกค้ากดเข้าไป จาก SMS หรือบราวเซอร์ และเมื่อมีการเข้าถึงเว็บไซต์ที่อาจเป็นอันตราย บนเว็บบราวเซอร์ โดยเริ่มให้บริการไปตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคมนั้น
ล่าสุด ทีมงานทรู คอร์ปอเรชั่นได้เปิดเผยข้อมูลสถิติที่รวบรวมได้ระหว่างการเปิดระบบ True CyberSafe เพียง 7 วัน (ระหว่างวันที่ 3 - 9 ธันวาคม 2567) พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
อย่างไรก็ตาม ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังคงเคารพสิทธิ์ลูกค้า หากลูกค้ายังยืนยันจะคลิกเข้าลิงก์ที่ได้รับการแจ้งเตือนต่อไป ก็สามารถทำได้ โดยพบว่า ช่วง 7 วันดังกล่าว จำนวนครั้งที่ลูกค้ายืนยันเข้าลิงก์แปลกปลอมอยู่ที่ 400,283 คลิก ( จาก 10,773,877 ล้านคลิก )
โดย 4 ประเภทลิงก์แปลกปลอมที่พบจากระบบ True CyberSafe ในช่วงที่ผ่านมา มีดังนี้
อันดับ 1 : มัลแวร์ – เป็นไวรัสหรือซอฟแวร์เข้ามาฝังตัวในเครื่อง เพื่อเปิดช่องทางเข้ามาควบคุมเครื่องของเรา
อันดับ 2 : ฟิชชิง – เป็นการหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงิน เช่น รายละเอียดบัตรเครดิต หรือรหัสผ่าน
อันดับ 3: หลอกลงทุน - มีการแสดงผลกำไรที่สูงเกินควร เพื่อดึงดูดความสนใจ รวมไปถึงการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล เช่น คริปโต
อันดับ 4 : สแกม – การหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ทางออนไลน์ เช่น สแกมบัตรเครดิต, สแกมถูกรางวัล, สแกมค่าธรรมเนียมศุลกากร และโรแมนซ์สแกม
หมายเหตุ: พบว่า 1 ลิงก์ มีมากกว่า 1 ประเภทการหลอกลวง
ยิ่งไปกว่านั้น ทรูยังเดินหน้าร่วมกับภาครัฐทุกภาคส่วน ในการตรวจสอบและเพิ่มลิงก์แปลกปลอมในฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อบล๊อคการเข้าถึงเว็บไซต์ที่อาจเป็นอันตรายได้ อีกทั้งยังสร้างความตระหนักรู้เท่าทันกลลวงของมิจฉาชีพทางออนไลน์ เพื่อให้รู้ทันภัยไซเบอร์ ผ่านทาง ทรูปลูกปัญญา “รู้ทันโลกออนไลน์” https://www.trueplookpanya.com/rootanlokonline
ทรู ดีแทค รวมน้ำใจ...ทรู คอร์ปอเรชั่น นำโดย นายฐานพล มานะวุฒิเวช หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด นายวรวัฒน์ ปรีดาภัทรากุล หัวหน้าสายงานด้านการจัดการระดับภูมิภาค (ภาคเหนือ) และ นางสาวฉัทชนัน วิวรรธนวรางค์ หัวหน้าฝ่ายดูแลกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวและคนเข้าเมือง พร้อมด้วยทีมงานทรู เป็นตัวแทน มอบของบริจาค อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งหม้อหุงข้าวไฟฟ้า พัดลม เป็นต้น ซึ่งต่อยอดมาจากกิจกรรมออนไลน์ รวมพลัง ช่วยเเชร์ ช่วยเหลือเพื่อนเมียนมา บน Facebook True dtac Myanmar สมทบทุนเพื่อช่วยเหลือ และเยียวยาผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมชาวเมียนมา จังหวัดเชียงราย ณ วัดผาสุกการาม (วัดไม้ลุงขน) ทรูมั่งมุ่นเป็นเครือข่ายอันดับ 1 เพื่อพี่น้องชาวเมียนมา พร้อมยืนเคียงข้างทุกสถานการณ์