November 22, 2024

ไมเดียจับมือหัวเว่ย, เอไอเอส, และไชน่า ยูนิคอม ในการสร้างโรงงานอัจฉริยะพร้อมระบบ 5G เต็มรูปแบบแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างมาตรฐานใหม่ของสายการผลิตอัจฉริยะในประเทศไทยที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรมล้ำสมัย โดยการผนึกกำลังครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่ปูทางสู่ยุคแห่งเทคโนโลยี 5G ที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพ, ความปลอดภัย, และรองรับการทำงานร่วมกันแบบอัตโนมัติภายใต้กระบวนการผลิตที่มีความซับซ้อน

ทั้งนี้ เครือข่าย 5G ที่ครอบคลุมทั่วพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมและแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต 5G+ เชิงอุตสาหกรรม ทำให้กระบวนการผลิตเชื่อมต่อกันโดยสมบูรณ์ผ่านเทอร์มินัล 5G ความเร็วสูง นอกจากนี้ ยังติดตั้งไพรเวทเน็ตเวิร์ก 5G แบบเดดิเคท (Dedicated) ที่ได้รับการออกแบบให้รองรับข้อกำหนดกระบวนการทำงานและให้ทำงานร่วมกับระบบอัจฉริยะต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่นโดยเฉพาะ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสถานการณ์การผลิตและเชื่อมต่อขั้นตอนการผลิตเข้าด้วยกันแบบไร้รอยต่อ

นายวินเซ็นท์ ไค ผู้จัดการทั่วไป โรงงานเครื่องปรับอากาศไมเดียประเทศไทย กล่าวว่า “โรงงานอัจฉริยะ 5G ในประเทศไทยได้กำหนดต้นแบบสายการผลิตแห่งโลกอนาคต เพื่อสอดรับกับกลยุทธ์การพลิกโฉมสู่ยุคดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะเต็มรูปแบบของไมเดีย กรุ๊ป โดยเราได้ออกแบบสายการผลิตประสิทธิภาพสูงให้เชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย”

ทั้งนี้ โซลูชันหลักที่เสริมศักยภาพให้กับโรงงานอัจฉริยะ 5G ได้แก่:

  • การเชื่อมต่อและการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านเครือข่าย 5G: เครือข่าย 5G มอบศักยภาพการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์จำนวนมหาศาลอย่างมีเสถียรภาพ จึงสามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลของอุปกรณ์การผลิตแบบเรียลไทม์ รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่องช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้อุปกรณ์, ลดเวลาหยุดทำงาน (down time) และเพิ่มศักยภาพการใช้งานอุปกรณ์ในสายการผลิต

  • รถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ 5G (Automated Guided Vehicles - AGV): เทคโนโลยี 5G พลิกโฉมการทำงานของรถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ (AGV) โดยปลดล็อคข้อจำกัดของ AGV ในการลำเลียงสินค้าแบบดั้งเดิม ที่ใช้การกำหนดเส้นทางล่วงหน้าร่วมกับเครื่องหมายต่าง ๆ ที่ติดตั้งในพื้นที่ ด้วยการวางแผนเส้นทางแบบมีพลวัตรและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมแบบเรียลไทม์ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและขีดความสามารถในการปรับเปลี่ยนเส้นทาง ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานในสายการผลิตที่ซับซ้อน

  • ระบบตรวจสอบคุณภาพด้วย AI ผ่านเครือข่าย 5G: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ช่วยเพิ่มอัตราการผลิตชิ้นงานที่สมบูรณ์แบบในครั้งแรกถึง 4% ระบบตรวจสอบคุณภาพด้วย AI ช่วยลดจำนวนอุปกรณ์ที่ต้องนำกลับมาแก้ไขลงจากจำนวน 4,000 ชิ้น เหลือเพียง 1,000 ชิ้น ลดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน และลดอัตราข้อผิดพลาดของชิ้นงานลงถึง 75%
  • แขนกลอัจฉริยะ 5G: พนักงานสามารถควบคุมแขนกลจากระยะไกลผ่านสมาร์ทโฟนที่รองรับ 5G ลดการใช้แรงงานคนในบริเวณที่เสี่ยงอันตราย ช่วยเพิ่มความปลอดภัยของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพการลำเลียงวัสดุที่ใช้ในการผลิตเพื่อยกระดับคุณภาพสินค้า
  • ห้องควบคุมการปฏิบัติงานระบบ 5G: ห้องควบคุมการปฏิบัติงานจำลองและทดสอบสถานะของคอมเพรสเซอร์ที่อยู่ข้างนอกผ่านระบบ 5G ทำให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพและปราศจากข้อผิดพลาด มาพร้อมโซลูชัน 5G backhaul ที่มีค่าความหน่วงต่ำและระบบป้องกันข้อมูลสูญหาย ทำให้การรับส่งข้อมูลระหว่างแอปพลิเคชันสำคัญเป็นไปอย่างราบรื่น

ในโครงการโรงงานอัจฉริยะ ผู้ให้บริการเครือข่ายถือว่ามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล โดยใช้ความเชี่ยวชาญและอีโคซิสเต็มในประเทศไทยเพื่อผลักดันเครือข่าย 5G ให้บรรลุประสิทธิภาพที่เหนือชั้น, มอบการเชื่อมต่อที่ไร้ขีดจำกัด รวมทั้งช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในการดำเนินงาน นายภูผา เอกะวิภาต รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ตอกย้ำความมุ่งมั่นของเอไอเอสในการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยกล่าวว่า เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่น 5G ถือเป็นเทคโนโลยีหนึ่งเดียวที่สามารถสร้างเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่กว่า 160,000 ตร.ม. รวมโรงงานผลิตถึง 3 แห่งเข้าด้วยกันได้ และในอนาคต เอไอเอสยังคงมุ่งมั่นขับเคลื่อนนวัตกรรมและผนึกกำลังกับผู้ผลิตระดับโลกในการสร้างโรงงานอัจฉริยะในประเทศไทย

ในขณะเดียวกัน นส. ยูนิซ เซ, ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไชน่า ยูนิคอม โอเปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวย้ำถึงความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมและไอทีว่า ความพร้อมของเครือข่าย 5G ของประเทศไทยอยู่ในระดับแนวหน้าของภูมิภาคอาเซียน ทางไชน่า ยูนิคอม มุ่งมั่นสนับสนุนความสำเร็จของนโยบาย Thailand 4.0 ด้วยสถานการณ์การใช้งานที่ครอบคลุม และสถานการณ์แบบ 5G2B ใหม่ ๆ ที่หลากหลาย พร้อมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและระบบอัจฉริยะสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ

นายวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวย้ำถึงความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการพลิกโฉมอุตสาหกรรม เรามองเห็นแล้วว่า 5G มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพลิกโฉมของภาคอุตสาหกรรม และภาคอุตสาหกรรมการผลิตเองก็ได้แสดงศักยภาพด้านการพัฒนาและยกระดับศักยภาพด้วยเทคโนโลยี 5G ให้ประจักษ์ โดยหัวเว่ยยังคงมุ่งต่อยอดความร่วมมือกับลูกค้าในภาคอุตสาหกรรม ผู้ให้บริการเครือข่าย และพาร์ทเนอร์เพื่อสร้างมูลค่าทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยี 5G ต่อไป เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เราได้ทำงานกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดเพื่อทำความเข้าใจกลยุทธ์ดิจิทัลในแต่ละราย และเจาะลึกกระบวนการผลิตและค้นหาความต้องการเฉพาะด้าน พร้อมแบ่งปันประสบการณ์และหลักปฏิบัติจากความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อเร่งนำเทคโนโลยี 5G มาใช้เพื่อยกระดับสายการผลิตอัจฉริยะ”

โรงงานอัจฉริยะ 5G เต็มรูปแบบแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นก้าวสำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคอัจฉริยะและยุคอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทย และยังได้แสดงให้เห็นถึงพลังของความร่วมมือและนวัตกรรมล้ำสมัย เพื่อร่วมกันกำหนดต้นแบบของเทคโนโลยีการผลิตแห่งโลกอนาคต

ไมเดีย ประเทศไทย ปักธงเปิดโรงงานผลิตอัจฉริยะ Midea Thailand Smart Factory ด้วยคอนเซ็ปต์ MANUFUTURE 2.0 ที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง ศรีราชา ปลายปีนี้

ไมเดีย ประเทศไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านระบบการผลิตอัจฉริยะของไมเดีย กรุ๊ป ด้วยการแถลงเปิดแผนสร้างโรงงานผลิตอัจฉริยะ Midea Thailand Smart Factory ภายในงาน Midea H2 E-order Fair 2021 เมื่อวันที่
7 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยนายโทนี่ หลิว กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มดี คอนซูเมอร์ แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ไมเดีย ประเทศไทย เปิดเผยว่า “บริษัทฯ ได้ลงทุนสร้างโรงงาน Midea Thailand Smart Factory บนเนื้อที่ 2.08 แสน ตร.ม. รวมตัวอาคารส่วนการผลิตขนาด 1.6 แสน ตร.ม. ในนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5) อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งจะพร้อมเปิดปฏิบัติงานเต็มรูปแบบภายในไตรมาสสี่ปีนี้ โดย Midea Thailand Smart Factory จะเป็นโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกำลังผลิตสูงที่สุดที่ตั้งอยู่นอกประเทศจีนของไมเดีย กรุ๊ป อยู่ที่ 4 ล้านยูนิตต่อปี ทั้งยังเป็นโรงงานผลิตสินค้าเครื่องปรับอากาศภายในบ้านของไมเดีย (Residential Air Conditioner หรือ RAC) ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย”

โรงงานดังกล่าวได้วางระบบการผลิตตามแนวคิด MANUFUTURE 2.0 หรือการผลิตแห่งอนาคต ซึ่งมาจาก Manufacture บวกกับ Future หมายถึงการที่ไมเดียได้ก้าวกระโดดจากการใช้ระบบอัตโนมัติแบบดั้งเดิมในกระบวนการผลิตมาเป็นโรงงานแห่งยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่เน้นใช้เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลของเครื่องจักร ซึ่งมีความยืดหยุ่นและการเชื่อมต่อกันตลอดสายการผลิต

นายโทนี่ กล่าวเสริมว่า “การเปิดโรงงานใหม่ครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการแสดงให้เห็นว่าไมเดีย กรุ๊ป เชื่อมั่นในศักยภาพ และมองว่าประเทศไทยเป็นตลาดที่สำคัญ แต่ยังเป็นกลยุทธ์สร้างการเติบโตให้กับกลุ่มสินค้าเครื่องปรับอากาศภายในบ้านอีกด้วย โดยโรงงาน Midea Thailand Smart Factory มีทั้งระบบการผลิตอัจฉริยะ ที่ได้นำ AI  และบิ๊กดาต้าเข้ามาใช้งาน และยังเป็นระบบการผลิตแบบอัจฉริยะ ที่เน้นการลดความสูญเปล่าของกระบวนการผลิต”

ภายในโรงงาน Midea Thailand Smart Factory ประกอบด้วย  4 ส่วนสำคัญ ได้แก่

  • อิเล็กทรอนิกส์ เวิร์คช็อป แบบ One Flow ซึ่งรับผิดชอบขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะป้อนแผงวงจรเข้าสู่ไลน์ประกอบ DIP ก่อนจะส่งต่อไปสู่การประกอบขั้นสุดท้าย ขณะที่ส่วนประกอบอื่นยังคงถูกส่งผ่านไลน์การผลิตตามขั้นตอนอย่างลื่นไหลต่อเนื่อง ไม่มีการสะดุด ทั้งยังช่วยย่นระยะเวลาในการประกอบสินค้าได้อย่างมาก โดยมีระบบ SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition) ที่ช่วยตรวจสอบการเชื่อมต่อการทำงานระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เก็บรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้อง และบริหารกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

  • สายการผลิตโดยหุ่นยนต์ Kuka ใช้กับไลน์สินค้าเครื่องปรับอากาศภายนอกอาคารแบบแยกส่วน ซึ่งช่วยให้ทั้งสายการผลิตเป็นระบบอัตโนมัติโดยสมบูรณ์ นอกจากนี้ ไมเดียยังมีกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์และแม่พิมพ์ต่างๆ ที่พิถีพิถันและทันสมัยทำให้ทุกชิ้นส่วนประกอบได้มาตรฐานสม่ำเสมอ ไม่มีการคลาดเคลื่อน ทั้งยังทำในระบบอัจฉริยะจึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตและลดอัตราส่วนของเสียระหว่างการผลิต รวมถึงดำเนินการผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามเวลาที่กำหนด
  • ระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ ด้วยระบบรางลอยฟ้า ซึ่งเป็นระบบอัตโนมัติอัจฉริยะที่ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานได้มาก โดยจะทำหน้าที่ขนส่งชิ้นส่วนประกอบหรือตัวสินค้า 3 รายการ ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบเสร็จ ชิ้นส่วนทั้งหมดที่ประกอบเสร็จ และผลิตภัณฑ์ที่ประกอบเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งระบบรางขนส่งลอยฟ้าภายในโรงงานนี้จะใช้กับสินค้ากลุ่มเครื่องปรับอากาศแบบหน้าต่างราว 70% ของขั้นตอนการผลิตทั้งหมดและเครื่องปรับอากาศแบบเคลื่อนที่ราว 85%

  • ห้องควบคุมปฏิบัติการดิจิทัล ซึ่งมีจอแอลอีดีโค้งขนาดยักษ์ เพื่อแสดงภาพข้อมูลจากกระบวนการผลิตทั้งหมด ช่วยในการบริหารระบบซัพพลายเชนภายในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังใช้ Digital Twins สำหรับบริหารการทำสำเนาข้อมูล การติดตาม และวัดผล รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพสูง เพื่อใช้คู่กับขั้นตอนการก่อสร้างโรงงานและการผลิตต่างๆ

“MANUFUTURE คือแนวคิดที่จะทำให้สินค้าเครื่องปรับอากาศภายในบ้านของไมเดียก้าวไปสู่ความสำเร็จขั้นต่อไป สามารถเผชิญความท้าทายต่างๆ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ ผ่านการค้นพบใหม่ๆ นวัตกรรม และมุมมองทางอุตสาหกรรม แนวคิดดังกล่าวยังสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของไมเดีย กรุ๊ป ในเรื่องการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและระบบอัจฉริยะอย่างสมบูรณ์ Midea Thailand Smart Factory ซึ่งเป็นโรงงานในต่างประเทศลำดับที่ 6 ของไมเดีย กรุ๊ป จึงให้ความสำคัญต่อการผลิตแบบอัตโนมัติด้วยรูปแบบอัจฉริยะ ที่มีทั้งความยืดหยุ่น การเชื่อมโยงถึงกัน ความยั่งยืน และสามารถสร้างคุณประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ตลอดกระบวนการผลิต โรงงานนี้จะสามารถผลิตสินค้าคุณภาพสูงด้วยต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและมีความยั่งยืนมากกว่าที่เคย และจะมีสินค้าเครื่องปรับอากาศภายในบ้านออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบไลฟ์สไตล์ที่ชาญฉลาดและความคุ้มค่าให้กับผู้บริโภคชาวไทย” นายโทนี่ กล่าวสรุป

ไมเดีย เร่งเครื่องเปิดตัวสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเกี่ยวกับน้ำและเครื่องครัว ประเดิมด้วยเครื่องกรองน้ำ พร้อมจับมือพาวเวอร์ บาย อัดโปรสุดคุ้มทั้งหน้าร้านและออนไลน์

X

Right Click

No right click