November 21, 2024

เราสามารถดูแลสุขภาพของเราให้ดีได้ตั้งแต่วันนี้ โดยไม่จำเป็นต้องให้เวลาล่วงเลยไปจนสุขภาพเสื่อมถอยลง ร่างกายที่พร้อมจากสุขภาพที่ดี จะขับเคลื่อนให้เราได้ทำในสิ่งที่รักในทุกวัน และช่วยเติมเต็มชีวิตให้มีความหมาย

ซึ่งการดูแลสุขภาพกล้ามเนื้อให้ดีถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ เพราะเมื่ออายุเริ่มย่างเข้าวัย 40 ปีจะเริ่มมีภาวะการสูญเสียกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี และจะเพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าเมื่อเข้าสู่วัย 70 ปีขึ้นไป 

มวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรง: ตัวบ่งชี้สุขภาพที่สำคัญ

จากงานวิจัยเผยว่า มวลกล้ามเนื้อถือเป็นตัวบ่งชี้สุขภาพโดยรวมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง7,8 และพบว่าผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อยจะได้รับผลกระทบต่อการใช้ชีวิตมากกว่าผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อมาก ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพชีวิตที่แย่ลง ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดมากขึ้น การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายถดถอยลง และอัตราการรอดชีวิตต่ำกว่า9 นอกจากนี้ ยังพบว่ามวลกล้ามเนื้อที่ลดลงมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์10 ที่มากขึ้น

เพราะอะไรเมื่อมีอายุมากขึ้น การดูแลกล้ามเนื้อให้แข็งแรงจึงทำได้ยากขึ้นไปด้วย

รู้หรือไม่ กว่า 35% ของผู้สูงอายุไทย หรือประมาณ 4 ล้านคน จาก 12.7 ล้านคนของผู้สูงอายุไทย เสี่ยงต่อการหกล้มในแต่ละปี1 จากผลวิจัยพบว่าเราจะเริ่มสูญเสียมวลกล้ามเนื้อเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 40 ปี และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และอัตราการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อจะเพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าเมื่อเข้าสู่วัย 70 ปีขึ้นไป

นอกจากนั้น 1 ใน 3 ของผู้ใหญ่ที่มีอายุกว่า 50 ปีขึ้นไป มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย11 (Sarcopenia) คือสภาวะที่มวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น การเดิน การลุกจากเก้าอี้ การยกข้าวของ หรือการเดินขึ้นบันได้ เป็นต้น

แอ็บบอต หนึ่งในผู้นำด้านการดูแลสุขภาพแถวหน้าระดับโลก ได้มุ่งมั่นในการส่งเสริมการดูแลกล้ามเนื้อแก่คนไทย ผ่านกิจกรรม #Sit2Stand ณ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2566 โดยมีผู้สูงอายุเข้าร่วมการทดสอบอายุมวลกล้ามเนื้อกว่า 700 คน โดยกว่า 50% ของผู้เข้าร่วมมีอายุกล้ามเนื้อสูงกว่าอายุจริงของตัวเอง! โดยนอกจากกิจกรรมดังกล่าว แอ๊บบอต ยังต้องการส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงวัยเพิ่มความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสุขภาพกล้ามเนื้อ รวมไปถึงแนวทางในการช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการดูแลตนเอง เพื่อการเป็นสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี เนื่องในวันพิชิตมวลกล้ามเนื้อน้อย (World Sarcopenia Day) อีกด้วย

หมั่นทดสอบอายุกล้ามเนื้อของคุณ

สำหรับใครที่กังวลเกี่ยวกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ สามารถทดสอบความแข็งแรงของอายุกล้ามเนื้อของตัวเองได้ง่าย ๆ ด้วยการทดสอบลุกนั่ง 5 ครั้ง และใช้เครื่องคำนวณอายุกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นเครื่องมือง่ายๆ ที่ช่วยประเมินอายุกล้ามเนื้อและทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาได้ แค่ 3 ขั้นตอน

· ขั้นตอนที่ 1: เลือกเก้าอี้ที่มีความมั่งคง โดยมีความสูงจากพื้นถึงที่นั่งราว 43-47 ซม.

· ขั้นตอนที่ 2: เปิดกล้อง และหันหน้าเข้าหากล้อง

· ขั้นตอนที่ 3: กอดอก และทำท่าลุกนั่งให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้จำนวน 5 ครั้ง

โภชนาการที่ดี ช่วยให้มวลกล้ามเนื้อแข็งแรง

โปรตีน: เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายของเราก็ต้องการโปรตีนที่เพิ่มขึ้นไปด้วยเพื่อช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อรวมไปถึงการเพิ่มสมรรถภาพร่างกายโดยรวม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะนำว่าปริมาณโปรตีนที่ผู้สูงอายุควรได้รับ คือ 0.8 ถึง 1 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับคือ 48 – 60 กรัม ต่อวัน เพื่อกล้ามเนื้อและร่างกายที่แข็งแรง14 โดยเนื้อสัตว์ ปลา ถั่วและธัญพืช รวมถึงโยเกิร์ต ก็เป็นตัวเลือกที่ดีในการเพิ่มโปรตีนให้กับร่างกาย

HMB: เป็นสารอาหารสำคัญที่มาจากกรดอะมิโนลิวซีน พบได้ในกล้ามเนื้อและพบได้ในปริมาณเล็กน้อยในอาหาร เช่น ไข่ไก่ อกไก่ เนื้อวัว อะโวคาโด และกะหล่ำดอกปรุงสุก ซึ่ง HMB ได้รับการพิสูจน์ผ่านงานวิจัยแล้วว่ามีส่วนช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายของมวลกล้ามเนื้อ

จากงานวิจัยพบว่าปริมาณ HMB ที่เหมาะสมที่เราควรได้รับคือ 1.5 กรัมต่อวัน ขณะที่งานวิจัยที่ศึกษาผลของการเสริมโภชนาการแก่ผู้สูงอายุในชุมชนประเทศสิงคโปร์ หรือ SHIELD Study โดยแอ๊บบอต ร่วมกับโรงพยาบาลชางงี เจเนอรัล (Changi General Hospital) และ ซิงเฮลท์โพลีคลินิค (Singhealth Polyclinic) พบว่า อาหารเสริมทางการแพทย์ที่มี HMB เป็น

ส่วนประกอบ มีส่วนช่วยส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการที่ดี ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ช่วยให้แรงบีบมือเพิ่มขึ้น เส้นรอบวงน่องเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารได้ถึงเกือบสามเท่า และยังส่งเสริมสมรรถภาพทางกายภาพและสุขภาพโดยรวมอีกด้วย

หากแต่การที่จะได้รับ HMB 1.5 กรัม จากอาหารเพียงอย่างเดียวนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เนื่องจากเราอาจต้องบริโภคไข่ไก่มากถึง 50 ฟอง เนื้ออกไก่ 7 ชิ้น อะโวคาโดถึง 3,000 ลูก หรือกะหล่ำดอกปรุงสุกถึง 6,500 ถ้วย ดังนั้น นอกจากการรับประทานอาหารหลักให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอแล้ว เราควรเสริมมื้ออาหารด้วยอาหารสูตรครบถ้วนที่มี HMB

วิตามินซี: สารอาหารที่มีประโยชน์ในการช่วยส่งเสริมการทำงานตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นโปรตีนหลักในการสร้างเส้นเอ็นที่ใช้ในการเชื่อมต่อกล้ามเนื้อเข้ากับกระดูก โดยพริกหยวกสีแดงและสีเขียว น้ำส้ม สตรอเบอร์รี่ และกะหล่ำดอกเป็นอาหารที่มีปริมาณวิตามินซีสูง

ซิงค์ หรือสังกะสี: เป็นแร่ธาตุที่มีส่วนสำคัญต่อการสร้างเซลล์ใหม่ ซึ่งรวมถึงเซลล์ภูมิคุ้มกันและเซลล์กล้ามเนื้อ โดยร่างกายของคนเราจะสร้างเซลล์ใหม่ที่พร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพอยู่อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการเสริมสร้างการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อด้วย โดยอาหารที่เป็นแหล่งแร่ธาตุดังกล่าว ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมู อาหารทะเล อย่าง กุ้ง ปู หอยนางรม และเมล็ดฟักทอง เป็นต้น

สมิติเวชจับมือไทยประกันชีวิต  เปิดมิติใหม่ “Healthy Life Plus” สร้าง EcoHealth System เชื่อมโยงการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันอย่างครบวงจร ผสานบริการ Samitivej Virtual Hospital เอื้อลูกค้าเข้าถึงบริการทางการแพทย์ทุกที่ ทุกเวลา #คลิกเดียวถึง พร้อมมอบหลากหลายสิทธิพิเศษที่มากกว่า

นายแพทย์ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  ความท้าทายของธุรกิจด้านสุขภาพ (Healthcare) คือ การก้าวข้ามผ่าน  Digital Disruptive  หรือการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจให้บริการทางการแพทย์ จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงต่อจากนี้ โดยผู้ให้บริการจะต้องคิดค้น พัฒนารูปแบบการให้บริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้ทุกช่องทางอย่างต่อเนื่อง

ความร่วมมือกับไทยประกันชีวิตในครั้งนี้ เนื่องจากทั้งสององค์กรมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน คือ #เราไม่อยากให้ใครป่วย อยากให้คนไทยมีสุขภาพดี รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย  ภายใต้เป้าหมายการสร้าง EcoHealth System เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสุขภาพในเชิงป้องกัน หรือ Preventive Medicine จึงเกิดการสร้าง  Brand Collaboration  ขึ้น และขยายฐานการดูแลสุขภาพสู่วงกว้างมากขึ้น โดยสมิติเวชจะอำนวยความสะดวก ให้ลูกค้าไทยประกันชีวิตสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่าน Samitivej Virtual Hospital และแอปพลิเคชัน Samitivej Plus  รวมถึงจัดโปรแกรมการดูแลสุขภาพ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล การบริการข้อมูลทางด้านสุขภาพ การจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ด้านสุขภาพ  เป็นต้น

Samitivej Virtual Hospital เป็นการนำเทคโนโลยี Telehealth เชื่อมโยงกับบริการทางการแพทย์ที่มีอยู่เดิม ก่อให้เกิดบริการทางการแพทย์แบบรูปแบบใหม่ภายใต้แนวคิด #คลิกเดียวถึง  ถือเป็นการเปลี่ยนมิติของการดูแลสุขภาพด้าน  Healthcare ของสมิติเวช โดยให้บริการด้านต่างๆ ประกอบด้วย Teleconsultation บริการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ผ่าน Video Call ด้วยทีมแพทย์และพยาบาลของสมิติเวชโดยเฉพาะตลอด 24 ชั่วโมง บริการเจาะเลือดถึงบ้าน Test @Home แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการทันที บริการจัดส่งยา Medicine Delivery บริการ Vaccine @Home การฉีดวัคซีนถึงบ้านโดยพยาบาลวิชาชีพ และ Virtual Weight Management Program ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการลดน้ำหนักเฉพาะบุคคล

“ผู้ใช้บริการสามารถวางใจในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล เพราะสมิติเวชใช้ระบบรักษาข้อมูลตามมาตรฐานสากล HIPAA (Health Insurance Portability and Accountability Act) ส่วนแอปพลิเคชัน Samitivej Plus  โดยแอปฯ ดังกล่าวจะเป็นเสมือนผู้ช่วยด้านสุขภาพที่ให้ข้อมูลครอบคลุมตั้งแต่ก่อนเดินทางเข้าใช้บริการ (Pre Hospital) ระหว่างใช้บริการที่โรงพยาบาล (Hospital) จนถึงหลังจากกลับบ้านเพื่อพักฟื้นหรือดูแลตัวเอง (Post Hospital) เรียกว่า ให้บริการนัดหมายแพทย์ พบแพทย์ ชำระค่ารักษา ดูประวัติการรักษา ทั้งหมดจบในแอปฯ เดียว”  นายแพทย์ชัยรัตน์กล่าว

นายไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่บริษัทฯ ประกาศปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ หรือ Reinvent Business Model เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงในยุค Digital Disruptive ซึ่งผู้บริโภคในปัจจุบันมีความต้องการคุณค่าที่แท้จริงของสินค้าและบริการ

ไทยประกันชีวิตจึงมุ่งสู่การเป็น Life Solutions หรือทุกคำตอบของการประกันชีวิต ผ่านการสร้าง Life Innovation เพื่อส่งเสริมให้ลูกค้ามีสุขภาพที่ดี มีชีวิตที่ยืนยาว และมีความสุขกับเงินออมในยามเกษียณ โดยมุ่งปรับ Mindset ของคนในองค์กร เพื่อให้ทุกคนก้าวไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ การเป็น Life Solutions เป็นเพื่อนคู่คิดที่เคียงข้าง วางแผนดูแลลูกค้าในทุกช่วงชีวิต

แนวทางการส่งเสริมให้ลูกค้ามีสุขภาพที่ดี ส่วนหนึ่งต้องมาจากการใส่ใจ ดูแลสุขภาพในเชิงป้องกัน หรือ Preventive Healthcare ไทยประกันชีวิตจึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรที่ดี  ซึ่งมี Business Goal เดียวกันในด้าน Wellness Strategy คือ สมิติเวช เพื่อสร้าง EcoHealth System คือ การเชื่อมโยงระบบการดูแลสุขภาพ และการส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับลูกค้าอย่างครบวงจร ผ่านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงการร่วมกับพันธมิตรด้านสุขภาพมอบสิทธิประโยชน์ที่มากกว่าให้กับลูกค้า

ความร่วมมือโครงการ Healthy Life Plus กับสมิติเวชในครั้งนี้ จะเอื้อให้ลูกค้าไทยประกันชีวิตสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ ทุกที่ทุกเวลา ผ่านแอปพลิเคชัน “Samitivej Plus” ซึ่งป็นแอปพลิเคชันที่ดูแลลูกค้าตั้งแต่ก่อนมาโรงพยาบาล ระหว่างอยู่ในโรงพยาบาล และกลับจากโรงพยาบาล โดยเฉพาะการให้บริการที่ปรึกษาทางการแพทย์ Samitivej Virtual Hospital หรือโรงพยาบาลเสมือนจริง ซึ่งลูกค้าสามารถปรึกษาแพทย์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกที่ ง่าย สะดวกสบาย ด้วยค่าบริการที่เหมาะสม เหมือนกับการมารับบริการที่โรงพยาบาลด้วยตัวเอง

ทั้งนี้ ลูกค้าไทยประกันชีวิตสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Samitivej Plus ได้ฟรี ทั้งระบบปฏิบัติการ IOS และ Android รวมถึงใช้บริการต่างๆ ในแอปพลิเคชันได้ฟรี อาทิ การนัดหมายแพทย์ การแจ้งเตือนการนัดหมาย ยกเว้นการใช้บริการ Samitivej Virtual Hospital ซึ่งจะมีค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย ในการใช้บริการ Samitivej Virtual Hospital ลูกค้าไทยประกันชีวิตสามารถใช้บริการ ผ่าน 3 ช่องทางหลัก คือ แอปพลิเคชัน “Samitivej Plus”, แอปพลิเคลชัน “Thailife Card” และเว็บไซต์ www.thailife.com ผ่านบริการ iService

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสามารถนำความต้องการของลูกค้ามาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการในลักษณะ Personalized เฉพาะรายบุคคลได้ในอนาคต รวมถึงการร่วมกับสมิติเวชจัดกิจกรรมพิเศษด้านสุขภาพสำหรับลูกค้า หรือการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ด้านสุขภาพ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันให้กับลูกค้า

“ในเบื้องต้นไทยประกันชีวิตร่วมกับสมิติเวช มอบสิทธิพิเศษให้กับลูกค้า สำหรับลูกค้าที่รับบริการตรวจสุขภาพ 5 โปรแกรม ได้แก่ การตรวจยีน 50 ยีน เพื่อดูความเสี่ยงโรคมะเร็ง การตรวจยีน 139 ยีน เพื่อดูภาวะสุขภาพ การตรวจดูความยาวของปลายสาย DNA คือตรวจดูอายุชีวภาพ (Telomere Program) การตรวจยีนเพื่อดูความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ Precision Alzheimer's disease1 และการตรวจยีนเพื่อดูความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ Precision Alzheimer's disease2 จะได้รับสิทธิ์ตรวจ Fibroscan หรือการตรวจไขมันพอกตับฟรี เฉพาะการเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท” นายไชยกล่าว

นับเป็นอีกก้าวของการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยในการพัฒนาองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ มาสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อตอบรับไทยแลนด์ 4.0   ซึ่งล่าสุด นวัตกรรม Healthy Hub หรือ เครื่องจ่ายยาอัตโนมัตินี้เป็น 1 ใน 5 ทีมจากประเทศไทย ได้รับรางวัลจากงานประกวดนวัตกรรมที่ใช้ระบบอัตโนมัติสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ "Delta Cup 2017" ที่เมืองหวู่เจียง ประเทศจีน ซึ่งจัดโดย เดลต้า อีเลคโทรนิคส์

X

Right Click

No right click