การปฏิรูปทางดิจิทัล (Digital Revolution) กำลังเข้ามาเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเรา บริการออนไลน์และบริการต่าง ๆ บนมือถือกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เราเริ่มเห็นเทคโนโลยีอัจฉริยะ เช่น แอปพลิเคชัน AI ได้รับการนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกมากขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยวางเป้าหมายเพื่อขึ้นเป็นศูนย์กลางทางด้านดิจิทัลของอาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้ เราจำเป็นจะต้องมีระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งเพื่อรองรับเทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ ที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลที่จะเกิดขึ้นทั่วประเทศ เทคโนโลยีฐานข้อมูลจึงเป็นหนึ่งในรากฐานที่สำคัญที่สุดในกระบวนการปฏิรูปทางดิจิทัลนี้ ขณะเดียวกัน ฐานข้อมูลยังเป็นหัวใจหลักในการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตลอดเวลาห้าทศวรรษที่ผ่านมา คำถามสำคัญคือเทคโนโลยีฐานข้อมูลรุ่นใหม่ล่าสุด จะช่วยปลดล็อคคุณค่าสูงสุดให้กับประเทศไทยในยุคสมัยของ Big Data และ AI ได้อย่างไร

นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีฐานข้อมูลยุคใหม่ว่า “สำหรับภาคอุตสาหกรรมแนวดิ่งต่าง ๆ รวมไปถึงอุตสาหกรรมธนาคาร แอปพลิเคชันที่ใช้งานแบบเรียลไทม์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ภาคอุตสาหกรรมหลายแห่งยังมีความต้องการใช้งานธุรกรรมออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาคธนาคารที่มีการทำธุรกรรมข้อมูลออนไลน์เกิดขึ้นหลายล้านรายการ เทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของทุกคนไปแล้ว นั่นหมายความว่าแอปพลิเคชันจำนวนมากที่ให้บริการผู้บริโภคจำเป็นต้องมีระบบและอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลในประเทศ หัวเว่ย ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านบริการโซลูชันดิจิทัล จะเข้ามาช่วยสร้างและบ่มเพาะอีโคซิสเต็มให้กับเหล่าพันธมิตรในประเทศ พร้อมไปกับการให้บริการแก่อุตสาหกรรมแนวดิ่งและหน่วยงานภาครัฐ หัวเว่ยมีความมั่นใจในศูนย์ข้อมูลที่ได้ลงทุนไว้ ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจอย่างมาก โดยปัจจุบันเรามีศูนย์ข้อมูล (Data Center) 3 แห่งในประเทศไทย ซึ่งตอกย้ำถึงความทุ่มเทในระยะยาวและความเชื่อมั่นที่เรามีต่อประเทศไทย”

ปัจจุบัน เทคโนโลยีฐานข้อมูลยังพบกับความท้าทายหลัก 4 ประการ ประการแรก คือวิธีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หลากหลาย และกระจัดกระจาย ในการรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้ เราจำเป็นต้องมีฐานข้อมูลที่สามารถขยายขนาดได้อย่างไร้รอยต่อ และสามารถปรับให้เข้ากับภาระงานหลากหลายรูปแบบ ประการที่สอง คือวิธีการคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพการทำงานในระดับสูง ภายใต้กระบวนการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากพร้อม ๆ กัน เนื่องจากมีความต้องการใช้งานแอปพลิเคชันในแบบเรียลไทม์มากขึ้น รวมไปถึงการทำธุรกรรมออนไลน์จากธนาคารและภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้น ประการที่สาม คือวิธีการสร้างความปลอดภัยได้อย่างครอบคลุม รวมทั้งการรับมือกับความท้าทายจากการละเมิดข้อมูลออนไลน์และการโจมตีทางไซเบอร์ โดยในปี พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา มูลค่าความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ทั่วโลกได้เพิ่มสูงถึง 8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะทะลุ 10.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี พ.ศ. 2568 ประการสุดท้าย คือการรับมือกับเทรนด์ดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการอีโคซิสเต็มดิจิทัลภายในประเทศที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งผู้ติดตั้งระบบ ผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ และผู้พัฒนาแอปพลิเคชันในประเทศล้วนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนา 

ประเทศไทยมีจุดแข็งด้านจำนวนผู้ใช้งานดิจิทัลจำนวนมาก แต่ยังคงขาดแคลนผู้สร้างสรรค์ทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล นี่คือปัญหาในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศในยุคของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล เนื่องจากหลายประเทศต่างนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งาน แต่ไม่ได้คาดการณ์ถึงความสามารถที่จำเป็นต่อการสร้างและบ่มเพาะอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลในประเทศ อย่างไรก็ตาม หัวเว่ยมองเห็นศักยภาพระดับสูงของประเทศไทย เนื่องจากรัฐบาลไทยมีความตระหนักในความท้าทายต่าง ๆ เหล่านี้ ทั้งยังมีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนหลายโครงการเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศด้านดิจิทัลของประเทศ ไม่เพียงเท่านั้น หัวเว่ยยังมองเห็นความตระหนักที่เพิ่มขึ้นของภาคสาธารณะและภาคเอกชนที่มีต่อเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งทุกฝ่ายต่างมีความตั้งใจที่จะลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เทคโนโลยีฐานข้อมูลจึงกำลังเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมแนวดิ่งของหลาย ๆ อุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี เนื่องจากเมื่อใดที่มีการลงทุน ย่อมนำมาซึ่งโอกาสทางอาชีพที่มากขึ้นตามไปด้วย

นี่จึงเป็นสาเหตุให้หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะลงทุนในประเทศไทย พร้อมไปกับการบ่มเพาะบุคลากรด้านดิจิทัลและสร้างสรรค์ระบบนิเวศทางดิจิทัลให้เกิดขึ้นในประเทศ เพราะนี่คือส่วนสำคัญของกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศชาติ นอกจากนี้ หัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าให้ความสำคัญกับการนำเสนอประโยชน์จากการลงทุนในด้านไอซีที พร้อมส่งมอบเทคโนโลยีล้ำยุคให้กับประเทศไทย เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของภาครัฐ ภาคการขนส่ง ภาคธนาคาร และภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศ

นายเดวิด หลี่ เปิดเผยว่าหัวเว่ยได้ลงทุนในเทคโนโลยีฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่องมากว่า 20 ปี และล่าสุดได้เปิดตัว GaussDB เทคโนโลยีฐานข้อมูลรุ่นใหม่ล่าสุดที่จะเข้ามาปลดล็อคคุณค่าสูงสุดทางด้านข้อมูลในประเทศไทย โดย GaussDB จะช่วยให้หัวเว่ยสามารถทำงานและให้การสนับสนุนพันธมิตรในประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจาก GaussDB สามารถใช้งานได้ทั้งบนระบบคลาวด์สาธารณะและคลาวด์ส่วนบุคคล ไม่เพียงเท่านั้น การใช้งานฐานข้อมูลล้ำสมัยอย่าง GaussDB จะช่วยเสริมศักยภาพโซลูชันอัจริยะในปัจจุบัน ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพและสร้างประโยชน์เพิ่มเติมให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นการช่วยบ่มเพาะอีโคซิสเต็มดิจิทัลโดยรวมของประเทศไทย

ก่อนหน้านี้ หัวเว่ยได้เปิดตัวฐานข้อมูล GaussDB ในประเทศจีนเพื่อทดสอบและปรับปรุงประสิทธิภาพเทคโนโลยี เมื่อโซลูชันนี้ได้รับการพัฒนาจนให้ประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดแล้ว หัวเว่ยจึงได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดต่างประเทศแห่งแรกภายใต้โครงการนำร่องของหัวเว่ยเพื่อสนับสนุนพันธมิตรและหน่วยงานในท้องถิ่น โดยหัวเว่ยเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าฐานข้อมูล GaussDB จะเข้ามาพลิกโฉมตลาดผลิตภัณฑ์ฐานข้อมูล ด้วยข้อเสนอที่ดีกว่าสำหรับหลายภาคอุตสาหกรรม

เมื่อไม่นานมานี้ หัวเว่ย คลาวด์ ถือเป็นผู้ให้บริการคลาวด์เพียงรายเดียวในตลาดที่ได้รับรางวัล ‘ตัวเลือกดีเด่นของลูกค้าในปี 2023’ จากผลสำรวจเสียงตอบรับของลูกค้าโดยการ์ทเนอร์ (Gartner Peer Insights™) โดยหัวเว่ย คลาวด์ จะยังมุ่งให้ความสำคัญกับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพสำหรับรองรับการใช้งานในภาคธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยลูกค้าในการสร้างรากฐานของข้อมูลอัจฉริยะที่มีความเสถียร ยืดหยุ่น และมีศักยภาพสูงต่อไป ทั้งนี้ หัวเว่ยได้เข้ามาสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งในประเทศไทยมากว่า 24 ปี ด้วยความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาทางดิจิทัลให้กับประเทศ ภายใต้พันธกิจ ‘เติบโตในประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย’ (Grow in Thailand, Contribute to Thailand) สำหรับก้าวต่อไปภายใต้ภารกิจ ‘นำทุกฝ่ายก้าวไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง’ (Lead Everyone Forward, Leave No One Behind) หัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าส่งมอบเทคโนโลยีฐานข้อมูลที่ล้ำสมัยและโซลูชันอัจฉริยะต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการเติบโต เพิ่มประสิทธิภาพ และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันให้กับประเทศไทย พร้อมทั้งกระชับความร่วมมือกับพันธมิตรในท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยีอัจฉริยะ สนับสนุนกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัล กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัล และผลักดันให้ประเทศไทยได้ขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของอาเซียน

สนับสนุนการเติบโตพร้อมบุกเบิกโอกาสใหม่ในภาคอุตสาหกรรมยุคดิจิทัล

X

Right Click

No right click