พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทยในการถ่ายทอดองค์ความรู้และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ในงานนี้เต็มไปด้วยเหล่า Speakers คุณภาพที่มีประสบการณ์และมุมมองทางด้านธุรกิจในการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กันและกัน
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้บริหารจากองค์กรภาครัฐและเอกชนหรือผู้ที่สนใจในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ
การพูดคุยหัวข้อสำคัญ
วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567
ณ ห้อง Auditorium ชั้น 7 อาคาร KX Knowledge Xchange ถ.กรุงธนบุรี
เวลา 12.00 – 17.00 น.
ลงทะเบียนร่วมงานฟรี ได้ที่
https://forms.gle/rfuNdNVWjCis2uLMA
รายละเอียดเพิ่มเติม
Facebook : ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มจธ.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร. 064-749-9629 , 02-470-9643 คุณดลฤทัย
E mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
ปฏิเสธไม่ได้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น จากการใช้พลังงาน การเกษตร การพัฒนาและขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่า และการทำลายสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่น ๆ หรือที่เรียกว่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ได้ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการดำรงชีพของมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดการสูญเสียสมดุลของระบบนิเวศ ความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ ของธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิต รวมถึงการก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหากมนุษย์ยังไม่เริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดและวิถีปฏิบัติในการดำเนินชีวิตรวมถึงการดำเนินธุรกิจ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ อนาคตอันน่าเศร้าของโลกคงหนีไม่พ้น ในขณะเดียวกัน คาดการณ์ว่าโอกาสในการลงทุนเพื่อความยั่งยืนด้วยเม็ดเงินมูลค่ามหาศาลถึง 34 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (หรือกว่า 1.2 พันล้านล้านบาท) ภายในปี 2030 จะเกิดขึ้น นักลงทุนจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันและเตรียมรับโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ธนาคารกสิกรไทย โดย เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง และลอมบาร์ด โอเดียร์ ในฐานะสถาบันการเงินและผู้ให้คำแนะนำการลงทุนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการลงมือทำ เพื่อพาประเทศไทยมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero จัดงานเสวนาด้านความยั่งยืนแห่งปี ภายใต้หัวข้อ RETHINK SUSTAINABILITY : A CALL TO ACTION FOR THAILAND พร้อมความร่วมมือจากตัวแทนองค์กรใน 4 อุตสาหกรรมของไทย ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อาหารและการเกษตร ปิโตรเคมี และพลังงานหมุนเวียน รวมถึงหน่วยงานระดับโลกอย่าง Systemiq และ The Alliance to End Plastic Waste ที่มาร่วมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด ตลอดจนบทบาทและแนวทางปฏิบัติ เพื่อหารือร่วมกันในการขับเคลื่อนให้เกิดการลงมือทำ เพื่อปฏิวัติเศรษฐกิจไทยสู่ความยั่งยืน ด้วยการดำเนินธุรกิจตามแนวทางของระบบเศรษฐกิจใหม่อย่าง CLIC® คือเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular) ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า (Lean) ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (Inclusive) และเป็นธุรกิจที่ช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่สะอาด (Clean) พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนนี้ด้วย
สร้างอนาคตที่ยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
(Building Through a Sustainable Future in Tourism and Service Industry)
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้มหาศาล และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ความยั่งยืนเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจกันมากขึ้น กระแสของการท่องเที่ยวและการเดินทางอย่างยั่งยืนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการลงทุนในเรื่องหลักๆ ที่ช่วยลดคาร์บอนฟุตพรินท์ส่วนเกินได้ เช่น อุตสาหกรรมการบิน การฟื้นฟูและปกป้องระบบนิเวศทางทะเล และการปรับปรุงระบบทำความร้อนและเย็นในโรงแรม เป็นต้น นอกจากนี้ ความสำคัญของการลงมือทำ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ผู้ประกอบการไทยควรคำนึงถึง มี 3 แกนหลัก ได้แก่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ (Economic Impact) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Protect Environment) และ การรักษาวิถีชีวิต วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของสังคมให้ยั่งยืน (Save Social) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่อยู่บนบรรทัดฐานของความยั่งยืนอย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่าแนวคิดดังกล่าวได้ถูกนำไปปรับใช้ โดยเริ่มมีบริษัทผู้ให้บริการด้านการจองที่พัก (Online Travel Agency: OTAs) ยักษ์ใหญ่บางเจ้า เริ่มจำแนกประเภทที่พักหรือบริการการเข้าพักแบบยั่งยืน ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมทั้งรายเล็ก และใหญ่ต้องปรับตัว ในประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็มีการริเริ่มจัดโครงการยกระดับผู้ประกอบการสู่มาตรฐาน การท่องเที่ยวยั่งยืน โดยการให้มาตรฐานดาวแห่งความยั่งยืน กับผู้ประกอบการ มากกว่า 10 ประเภทกิจการ ภายใต้ STGs (Sustainable Tourism Goals) หรือ STAR : (Sustainable Tourism Acceleration Rating) ที่ครอบคลุมทั้ง 17 เป้าหมายที่สะท้อนความยั่งยืน ซึ่งถอดมาจาก SDGs ของ UNWTO ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเข้าร่วมแล้วกว่า 555 แห่ง โดยผู้ประกอบการประเภทโรงแรมที่พักเข้าร่วมมากที่สุด โดยภาครัฐจะผลักดันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญของการส่งเสริมเพื่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงและพัฒนารูปแบบธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม
อาหารแห่งอนาคต บริโภคอย่างยั่งยืน เพื่อโลกที่ยั่งยืน
(New Food System that Feed the World and Nourish the Planet)
ปัจจุบันทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2593 จะมีจำนวนประชากรเพิ่มราว 1 หมื่นล้านคน นำไปสู่ความต้องการด้านอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 60-100 ฉะนั้นการปรับรูปแบบการผลิตอาหารโดยใช้แนวทางการเกษตรยั่งยืน อย่าง Regenerative Agriculture ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นแหล่งช่วยกักเก็บคาร์บอน ยังช่วยเพิ่มผลผลิต และลดการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง กำลังเป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ในประเทศไทยเองก็เริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารและนำมาใช้ปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net zero เช่น เริ่มมีการพัฒนานวัตกรรมโดยเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ถาดกระดาษ (Paper Tray) ในผลิตภัณฑ์เนื้อหมูและเนื้อไก่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยลดการใช้พลาสติกได้ถึง 80% ในขณะที่ยังคงรักษาความสด ความสะอาดของผลิตภัณฑ์ได้ นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกจากพึช (Plant-based protein) ซึ่งใช้ทรัพยากรน้อยกว่าการผลิตเนื้อสัตว์มาก ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดมลพิษทางน้ำ และลดการใช้พื้นที่ อีกทั้งมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดมาผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในโรงงานมากขึ้นซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนในธุรกิจอาหารที่พร้อมปรับตัวและพัฒนาสู่ความยั่งยืน ตั้งแต่เรื่องของกระบวนการผลิต การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิตอาหารที่มีคุณภาพ อร่อย ปลอดภัย และมีราคาที่สมเหตุสมผล
พลาสติกหมุนเวียน: อุตสาหกรรมเคมีแห่งอนาคต
(Plastic Circularity: Chemistry Shaping the Future)
ปัญหาขยะพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เร่งด่วนที่สุดของทุกประเทศรวมถึงในประเทศไทยซึ่งเกิดจากการจัดการที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในแนวทางการแก้ปัญหานี้ที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มองหาคือการลงทุนในธุรกิจที่ผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ามาเป็นแกนหลักในการจัดการช่วยให้พลาสติกถูกนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น เน้นหลักการ 3Rs ได้แก่ Reduce Reuse Recycle ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจจากการจัดการขยะและออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น การลงทุนในพลาสติกชีวภาพ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องที่ช่วยในการผลิตพลาสติกให้มีคุณภาพดีขึ้น ใช้ได้นานขึ้น รวมถึงการนำขวดพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังแสวงหาโอกาส ลงทุนในเทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้สามารถกักเก็บไว้ได้ใต้ดิน และนำออกมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ สอดคล้องกับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)
อนาคตพลังงานทางเลือกของประเทศไทยกับโอกาสในการลงทุนด้านพลังงาน
(Carbon Opportunities and Future Electrification)
ปัจจุบัน ก๊าซเรือนกระจกประมาณร้อยละ 70 มาจากภาคขนส่งและพลังงาน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษและภาวะโลกเดือด ดังนั้น หากธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานดังกล่าวมาเป็นพลังงานไฟฟ้าจะมีส่วนช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมาก รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในระดับโลกได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการคมนาคมขนส่งอย่างชัดเจน ในระดับการขนส่งสาธารณะก็ได้มีการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้สำหรับรถบัส เรือโดยสาร รวมไปถึงรถไฟ นอกจากนี้ ในระดับบุคคลทั้งต่างประเทศและประเทศไทยได้เปลี่ยนจากการใช้รถยนต์น้ำมัน มาเป็นการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เท่าตัว ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ทั่วโลกต่างมีเป้าหมายดำเนินการร่วมกัน การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาของ ตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนต่อยอดในธุรกิจพลังงานทางเลือกของนักลงทุน
กลยุทธ์การลงทุนในธุรกิจที่ยั่งยืน
(Investment-led Sustainability)
KBank Private Banking ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้คำแนะนำการลงทุน เล็งเห็นว่านักลงทุนเป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืน จึงต้องการให้นักลงทุน ผู้ที่สนใจการลงทุน เตรียมพร้อมรับมือกับโอกาสทั้งทางเศรษฐกิจและการลงทุน ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะเกิดเม็ดเงินการลงทุนด้านความยั่งยืนมูลค่ามหาศาลถึง 34 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (หรือกว่า 1.2 พันล้านล้านบาท) ภายในปี พ.ศ. 2573 ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero นักลงทุนจึงต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนการรับรู้ (Awareness) เป็นการลงมือทำ (Action) เน้นลงทุนในธุรกิจที่ยั่งยืน ไม่ว่าองค์กรเหล่านั้นจะเป็นกลุ่มธุรกิจที่นำเสนอแนวทางและผลิตภัณฑ์ที่ช่วยแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้แล้ว (Solution Providers) หรือกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และ/หรือ รูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเป้าหมายเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero (Transition Candidates) ทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืนได้ KBank Private Banking เชื่อมั่นในบทบาทของการลงทุน ว่าสามารถยกระดับองค์ความรู้และความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจที่พยายามสร้างความเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่การลงทุนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของทุกภาคส่วนได้จริง
งานเสวนา “RETHINK SUSTAINABILITY: A Call to Action for Thailand" เป็นงานเสวนาด้านความยั่งยืนแห่งปี ภายใต้ความร่วมมือ ระหว่างธนาคารกสิกรไทย โดย เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด และลอมบาร์ด โอเดียร์ เพื่อร่วมกันผลักดันประเทศไทยให้เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมแห่งความยั่งยืนในอนาคต สามารถติดตามรับชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่ www.youtube.com/@KBankPrivateBanking
ไมโครซอฟท์ และ ซีเมนส์ ผนึกความร่วมมือต่อเนื่อง นำประสิทธิภาพ Generative AI มาสู่ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยทั้งสองบริษัทฯ เตรียมเปิดตัว Siemens Industrial Copilot ซึ่งเป็นผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่พัฒนาร่วมกัน มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรในภาคการผลิต
นอกจากนี้การผนวกซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (หรือ PLM) เข้ากับ Microsoft Teams ยังสนับสนุนการสร้างเมตาเวิร์สในภาคอุตสาหกรรม ลดความซับซ้อนในการทำงานร่วมกันแบบเสมือนจริงให้แก่วิศวกรออกแบบ ผู้ปฏิบัติงานหน้างานและทีมอื่น ๆ ตลอดสายงานธุรกิจ
สัตยา นาเดลลา ประธานและซีอีโอของไมโครซอฟท์ กล่าวว่า “ด้วยศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ยุคใหม่นี้ เรามีโอกาสพิเศษในการเร่งสร้างนวัตกรรมให้กับภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด เรากำลังพัฒนาต่อยอดจากความร่วมมือที่ยาวนานกับซีเมนส์ รวบรวมความก้าวหน้าด้าน AI ใน Microsoft Cloud มาผนวกรวมกับความเชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมของซีเมนส์ เพื่อเสริมศักยภาพให้แก่ผู้ปฏิบัติงานหน้างานและพนักงานที่มีทักษะเฉพาะทาง ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังปัญญาประดิษฐ์ โดยเริ่มต้นด้วยโครงการ Siemens Industrial Copilot”
โรแลนด์ บุช ซีอีโอของซีเมนส์ กล่าวว่า “เราและไมโครซอฟท์มีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการส่งเสริมศักยภาพของลูกค้าด้วยการนำ Generative AI มาใช้งาน เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพมหาศาลที่จะปฏิวัติวิธีการที่บริษัทต่าง ๆ ใช้ออกแบบ พัฒนา ผลิตและดำเนินการ ด้วยการส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรที่เชื่อมต่อกันในวงกว้างมากขึ้น ช่วยให้เหล่าวิศวกรสามารถเร่งพัฒนาโค้ด เพิ่มนวัตกรรม และรับมือกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะได้”
ยุคใหม่ของการทำงานร่วมกันของมนุษย์และเครื่องจักร
Siemens Industrial Copilot จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้าง เพิ่มประสิทธิภาพ และแก้ไขโค้ดอัตโนมัติที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว พร้อมลดระยะเวลาการจำลองสถานการณ์ลงอย่างมาก ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยลดงานที่ก่อนหน้านี้ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ให้เหลือเป็นหน่วยนาที โดย Copilot จะนำข้อมูลของระบบอัตโนมัติและกระบวนการการจำลองจากแพลตฟอร์ม Siemens Xcelerator ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลแบบเปิดของซีเมนส์ และเพิ่มประสิทธิภาพด้วย Azure OpenAI Service ของไมโครซอฟท์ โดยลูกค้ายังคงควบคุมข้อมูลตนเองได้ทั้งหมด ระบบจะไม่มีการนำข้อมูลไปใช้กับการฝึกโมเดล AI พื้นฐาน
Siemens Industrial Copilot มีความสามารถเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพครบวงจรในอุตสาหกรรม โดยเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงจะได้รับคำแนะนำการซ่อมแซมอย่างละเอียดด้วยภาษาปกติอย่างเป็นธรรมชาติ ขณะที่วิศวกรจะสามารถเข้าถึงเครื่องมือแบบจำลองได้อย่างรวดเร็ว
Copilots สำหรับทุกอุตสาหกรรม
ทั้งซีเมนส์และไมโครซอฟท์ต่างเล็งเห็นว่า AI Copilots มีความสามารถในการช่วยเหลือผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมการผลิต โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการดูแลสุขภาพ โดย Copilot จำนวนมากกำลังถูกวางแผนที่จะนำมาใช้ในภาคการผลิต เช่น ยานยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภค และการผลิตเครื่องจักร Schaeffler AG ซัพพลายเออร์ยานยนต์ชั้นนำเป็นหนึ่งในบริษัทรายแรก ๆ ของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่นำ Generative AI ไปใช้ในงานด้านวิศวกรรม ช่วยให้ทีมวิศวกรสามารถพัฒนาโค้ดที่มีความน่าเชื่อถือสำหรับการโปรแกรมระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม เช่น หุ่นยนต์ นอกจากนี้ บริษัทฯ เตรียมนำ Siemens Industrial Copilot มาใช้ในระบบการดำเนินงาน โดยวางเป้าหมายเพื่อลดการหยุดชะงักของ
การทำงาน (Downtime) ของเครื่องจักรอย่างมีนัยสำคัญ และเตรียมพัฒนาขั้นต่อไปสำหรับลูกค้าในภายหลัง
เคลาส์ โรเซนเฟลด์ ซีอีโอของกลุ่มแชฟฟ์เลอร์ กล่าวว่า “เรากำลังก้าวสู่ยุคใหม่ของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและนวัตกรรมในโครงการนำร่องร่วมกันนี้ ซึ่ง Siemens Industrial Copilot จะช่วยให้ทีมงานของเราทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังลดภาระงานซ้ำซ้อน และเพิ่มไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกับซีเมนส์และไมโครซอฟท์ในโครงการนี้”
Generative AI เพิ่มความสะดวกการทำงานร่วมกันในแบบเสมือน
เพื่อยกระดับการทำงานร่วมกันแบบเสมือนระหว่างทีม ซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ สำหรับ Microsoft Teams พร้อมเปิดให้ใช้งานได้โดยทั่วไปตั้งแต่เดือนธันวาคมปีนี้ โดยแอปพลิเคชันนี้จะใช้ศักยภาพล่าสุดของ Generative AI เชื่อมต่อฟังก์ชั่นการทำงานต่าง ๆ ของวงจรการออกแบบผลิตภัณฑ์และวงจรการผลิต ตั้งแต่ผู้ปฏิบัติงานหน้างานไปจนถึงทีมวิศวกร โดยจะเชื่อมต่อซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (หรือ PLM) เข้ากับ Microsoft Teams ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกันของไมโครซอฟท์ เพื่อให้พนักงานในโรงงานและพนักงานภาคสนามสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ สิ่งนี้จะช่วยให้พนักงานหลายล้านคนที่เข้าไม่ถึงเครื่องมือ PLM ในปัจจุบันสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบและผลิตได้ง่ายยิ่งขึ้นเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำวัน
ซีเมนส์จะแบ่งปันรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Siemens Industrial Copilot ที่งาน SPS expo ที่จะจัดขึ้น ณ เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2566
สมาคมโรงแรมไทย สมาคมภัตตาคารไทย และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผสานพลังสร้างกลยุทธ์ สร้างการท่องเที่ยวมูลค่าสูงขับเคลื่อนเร็ว จับกระแส Maga Trend ส่งเสริม Soft Power อาหารไทย พร้อมร่วมมือจัดงาน Food & Hospitality Thailand 2023 ดึงผู้ผลิตสินค้า บริการและโซลูชั่นระดับโลก ร่วมโชว์ผลิตภัณฑ์ใหม่ นวัตกรรม-เทคโนโลยีล่าสุด คาดปีนี้มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 28,000 คน
ในงานเสวนาพิเศษ “รวมพลังสร้างกลยุทธ์เพิ่มมูลค่า เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย” ซึ่งร่วมกันจัดขึ้นโดย สมาคมโรงแรมไทย สมาคมภัตตาคารไทย และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย พร้อมแถลงความร่วมมือการจัดงาน Food & Hospitality Thailand 2023 โดยเนื้อหาในการเสวนากล่าวถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ขับเคลื่อนได้รวดเร็ว เป็นอีกกลยุทธ์สำคัญของการท่องเที่ยวไทย โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ประกอบการในภาคท่องเที่ยวทั้งระบบ
นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวถึงแนวโน้มของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่กำลังเติบโตขณะนี้ว่า เป็นกลุ่มการท่องเที่ยวพร้อมทำงาน (Work from Anywhere) ซึ่งเป็นวิถีชีวิตและการทำงานของคนรุ่นใหม่ที่ไม่ยึดติดกับสถานที่ คนเหล่านี้เรียกว่า Digital Nomad มักเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ ค่าครองชีพไม่สูง อากาศดี มาตรการวีซ่าไม่ยุ่งยาก และจะใช้เวลาการท่องเที่ยวนานกว่านักท่องเที่ยวปกติ ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในจุดหมายของการท่องเที่ยวของคนกลุ่มนี้ ส่วนแนวโน้มการท่องเที่ยวของโลกนั้น การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Travel) กลายเป็นกระแสหลักที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวตระหนักถึงและช่วยกันผลักดันให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าสู่ระบบนิเวศ (Ecosystem) เดียวกัน ดังนั้นภาครัฐและผู้ประกอบการไทยต้องเร่งส่งเสริมเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดขยะ ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า รักษาแหล่งท่องเที่ยวและธรรมชาติให้สมบูรณ์ หากเราทำได้ดีก็จะมีแต้มต่อในการสนับสนุนการท่องเที่ยวไทยจากทั่วโลกและยังส่งผลดีต่อทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวด้วย
สำหรับการสนับสนุนและร่วมจัดงาน Food & Hospitality Thailand นั้น ถือเป็นวาระสำคัญของสมาคมฯ เพราะนอกจากจะได้ติดตามแนวโน้มการท่องเที่ยว พบกับสินค้าและบริการจากบริษัทชั้นนำแล้ว ปีนี้ยังเป็นปีพิเศษฉลองครบรอบ 60 ปี ของสมาคม พร้อมมีการจัดประชุมใหญ่ประจำปีและกิจกรรมให้ความรู้กับสมาชิกและผู้สนใจ โดยร่วมกับ มูลนิธิใบไม้สีเขียว ในหัวข้อเกี่ยวกับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การคำนวณคาร์บอนในการเข้าพัก การลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน รวมถึงการจัด Hospitality Digital Day ที่พูดถึง Digital Marketing สำหรับธุรกิจโรงแรมทุกแง่มุม การแข่งขัน Thailand & AHRA ASEAN Hotel Bartenders’ Championships 2023 เพื่อพัฒนาทักษะพนักงานบาร์เทนเดอร์โรงแรมด้วย
นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย กล่าวถึง การส่งเสริมอาหารไทยให้เป็น Soft Power ด้านการท่องเที่ยวไทยว่า อาหารไทย (Food) เป็นหนึ่งใน 5F ของ Soft Power เป้าหมายที่ ททท. วางไว้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านความอุดมสมบูรณ์ของวัฒนธรรมอาหารไทย หรือ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) ซึ่ง 20% ของค่าใช้จ่ายที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจ่ายในการท่องเที่ยวไทยมาจากอาหาร โดยในปี 2562 นักท่องเที่ยวต่างชาติมีการใช้จ่ายด้านอาหารในไทยสูงถึง 6 แสนล้านบาท ซึ่งในการการพัฒนาอาหารไทยให้เป็น Soft Power นั้น ต้องร่วมกันสร้างมาตรฐานพัฒนาทั้งระบบ ทั้งด้านสาธารณสุข ความสะอาด ปลอดภัย รสชาติ ฯลฯ รวมถึงประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อที่เข้าถึงง่าย อาทิ ภาพยนตร์ ซีรีย์ ดารานักร้อง รายการอาหาร และรางวัลอาหารระดับโลก อาหารไทยมีข้อได้เปรียบหลายด้าน ทั้งอาหารไทยแท้และเกิดจากการผสมผสานหลายวัฒนธรรมดัดแปลงร่วมกับวัตถุดิบท้องถิ่นจนมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ โดยปีนี้อาหารไทยติด 10 Best Rated Curries ถึง 5 อันดับ ได้แก่ แกงพะแนง ข้าวซอย แกงเขียวหวาน แกงมัสมั่น และแกงส้ม ความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นเสน่ห์ที่ชวนให้หลงไหลและทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเพื่อสัมผัสกับรสชาติที่แท้จริงของอาหารเหล่านี้
ส่วนการจัดงาน Food & Hospitality Thailand นั้น สมาคมฯ ให้การสนับสนุนมาตลอด มีการเชิญสมาชิกให้เข้าร่วมงานเพื่อหาความรู้รับทราบแนวโน้มธุรกิจใหม่ๆ พร้อมร่วมประชุมและร่วมกิจกรรม โดยกิจกรรมที่น่าสนใจปีนี้ คือ การเชิญวิทยากรที่เป็นนักธุรกิจอาหาร ซึ่งประสบความสำเร็จ มาสร้างแรงบันดาลใจ แนะนำการบริหารและการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ จึงขอเชิญให้ผู้สนใจติดตามและเข้าร่วมกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในครั้งนี้
นายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวว่า งาน Food & Hospitality Thailand มีเป้าหมายการในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้เป็นกำลังสำคัญของธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งไทยเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวของโลก แต่เราจะสร้างความประทับใจ สร้างแรงดึงดูดใจ และรักษาตำแหน่งนี้ไว้ได้อย่างไร การจัดงาน Food & Hospitality Thailand แต่ละครั้งผู้จัดงานจึงต้องทำงานกันอย่างหนัก ทั้งรวบรวมฐานข้อมูลการจัดงานและผู้ประกอบการจากทั่วโลกมาประมวลผลสรุปเป็นแนวทางจัดงาน พร้อมนำเสนอแนวโน้ม ทิศทาง และโอกาสใหม่ๆ ของธุรกิจการท่องเที่ยวให้แก่ผู้เข้าร่วมงานได้รับทราบ เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ธุรกิจก่อนเสมอ
สำหรับแนวคิดในการจัดงานฯ ครั้งนี้ คือ เชื่อมโยงสู่อนาคต (Connecting the Future) เนื่องจากปีนี้การท่องเที่ยวมีการเดินหน้าต่อเนื่องหลังฟื้นตัวจากช่วงโควิด ทำให้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยถึง 30 ล้านคน ด้วยสัญญาณบวกนี้ส่งให้งานฯ ปีนี้มีความสำคัญมากขึ้น ผู้ประกอบการต่างมองหาผลิตภัณฑ์ บริการ และโซลูชั่นระดับพรีเมียมไว้รองรับและสร้างความพึ่งพอใจให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามามากขึ้นในช่วงปลายปีนี้และปีหน้า ทั้งยังเป็นการขานรับและดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันกับกลยุทธ์ที่ทาง ททท. และ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยววางไว้
ดังนั้นงาน Food & Hospitality Thailand 2023 จึงได้รับความสนใจจากผู้ผลิตสินค้าและบริการระดับพรีเมียมในการเข้าร่วมจัดแสดงงานกว่า 2,000 แบรนด์ จาก 20 ประเทศทั่วโลก ในโซนต่างๆ ของการจัดงานฯ ได้แก่ Coffee & Bakery Thailand (CBT), Restaurant & Bar Thailand (RBT) และ 2 โซนใหม่ Shop & Retail Thailand (SRT), และ Cleaning
Hygiene Thailand (CHT) ที่เกิดขึ้นครั้งแรก ส่วนความพิเศษในปีนี้ คือ การจับมือกับพันธมิตรรายใหญ่ยักษ์ใหญ่จากจีน ที่นำงาน Hotel & Shop Plus Thailand งานแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์สำหรับการออกแบบตกแต่งอาคาร โรงแรมและพื้นที่เชิงพาณิชย์ มาร่วมจัดแสดง นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมงานสัมมนา การประชุม เวิร์กชอป และการแข่งขันที่น่าสนใจมากมาย อาทิ สัมมนาพิเศษจาก ททท. หัวข้อ “โอกาสการเติบโตของธุรกิจอาหารออร์แกนิกและความเป็นคลังอาหารของประเทศไทย รวมถึงการเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism)”, การแข่งขันทำอาหาร Thailand's 27th International Culinary Cup (TICC), การแข่งขัน Latte Art และ Coffee in Good Spirits, การทำเบเกอรี่ ไอศกรีม ศิลปะการตกแต่งอาหาร บาริสต้าและบาเทนเดอร์เวิร์กชอป ฯลฯ โดยการจัดงานฯ ครั้งนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมชมงานกว่า 28,000 คน
โดยงาน Food & Hospitality Thailand 2023 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-26 สิงหาคม 2566 ณ ฮอลล์ 1-3 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจรายละเอียดการจัดงานฯ สามารถติดตามข้อมูลได้ที่ www.fhtevent.com
อุตสาหกรรมกระดาษฝ่ากระแสคลื่นดิจิทัล หลังสัญญาณดี ความต้องการเพิ่ม สร้างการเติบโตต่อเนื่อง จากภาคการผลิตที่มีกระดาษเป็นส่วนประกอบ การเติบโตของอีคอมเมิร์ซ การขนส่งและบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ ล่าสุดองค์กรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกระดาษทั้งไทยและนานาชาติร่วม อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย จัดงานใหญ่ระดับภูมิภาค ASEAN Paper Bangkok 2023 ดึงผู้ประกอบการทั่วโลกแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ เจรจาการค้า พร้อมโชว์ศักยภาพอุตสาหกรรมกระดาษไทย ภายใต้แนวคิด เทคโนโลยีการผลิตกระดาษเพื่อความยั่งยืนและโซลูชั่นสำหรับธุรกิจในอนาคต
นายวัชชระ ชินเศรษฐวงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทย กล่าวถึง สถานการณ์ของอุตสาหกรรมกระดาษและเยื่อกระดาษของไทยและต่างประเทศในปีนี้ว่า ยังเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ ยังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก แต่ถือว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว เห็นได้จากปริมาณการใช้กระดาษของไทยในไตรมาส 3 และ 4 ของปีที่แล้ว (2565) เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้ มีการเติบโตขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก โดยกลุ่มกระดาษที่นำมาทำบรรจุภัณฑ์ หรือ กระดาษคราฟท์ ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ของการผลิต กว่า 80% มาจากวัตถุดิบที่ได้จากการรีไซเคิลกระดาษปีละหลายล้านตัน ซึ่งผู้ผลิตกระดาษไทยหลายรายมีการใช้วัตถุดิบที่ได้จากการรีไซเคิลสูงกว่า 90% แต่ยังไม่เพียงพอจนต้องนำเข้าเศษกระดาษเพื่อรีไซเคิลสูงถึง 40% ขณะที่กระดาษใช้แล้วของไทยได้รับคัดแยกเข้าระบบเพียง 60% ถ้ามีการปลูกฝังให้มีการแยกขยะได้ดียิ่งขึ้น ก็จะช่วยลดปริมาณขยะและนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ด้วยเหตุนี้อุตสาหกรรมกระดาษควรได้รับการส่งเสริมมากขึ้น เพราะนอกจากจะสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
ส่วนการใช้งานกระดาษนั้น ประเทศที่มีการพัฒนาแล้วจะใช้มากกว่าประเทศที่ยังไม่พัฒนา ประเทศที่เจริญแล้วจะมีการใช้กระดาษมากกว่า 100 กิโลกรัม / คน / ปี ส่วนในอาเซียนอย่างสิงคโปร์และมาเลเซียมีการใช้กระดาษเกือบ 100 กิโลกรัม / คน / ปี แต่ในไทยมีการใช้งานกระดาษอยู่เพียง 75 กิโลกรัม / คน / ปี จึงยังมีช่องว่างในการพัฒนาตลาดอีกมาก แต่ก็ถือเป็นโชคดีที่เรามีการผลิตกระดาษที่ครบวงจร เพียงพอต่อการใช้งาน และการแข่งขันไม่สูง ทำให้ราคากระดาษภายในประเทศไม่สูงจนเกินไป
สำหรับงาน ASEAN Paper Bangkok 2023 ที่จะเกิดขึ้นนั้น เป็นงานสำคัญของอุตสาหกรรมกระดาษโลก มีผู้ประกอบการ บริษัทชั้นนำ และผู้มีบทบาทสำคัญมาร่วมงานจำนวนมาก เป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการที่จะได้พบกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลก ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เจรจาธุรกิจ และนำเสนอความสามารถ
ในการผลิตผลิตภัณฑ์ และบริการแก่ลูกค้าที่มาร่วมงานด้วย ซึ่งสมาคมฯ ได้สนับสนุนการจัดงานฯ โดยเชิญสมาชิกสมาคมซึ่งมีกำลังการผลิตรวมแล้วกว่า 90% ของกำลังการผลิตกระดาษทั้งประเทศให้เข้าร่วมงาน รวมถึงทางสมาคมยังได้ร่วมออกบูทจัดแสดงงาน นำเสนอศักยภาพ และเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนสำหรับอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทยอีกด้วย
นายปณิธาน มีสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายขายส่วนภูมิภาค บริษัท วอยท์ เปเปอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด หนึ่งในบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมกระดาษระดับโลก ซึ่งดำเนินธุรกิจอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ กล่าวถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมกระดาษว่า วันนี้กระดาษเป็นคำตอบและทางออกของโลกในความต้องการลดการใช้พลาสติกลง เป็นอีกเหตุผลที่เสริมให้อุตสาหกรรมกระดาษมีการเติบโต สำหรับประเทศไทยแม้ตลาดจะมีความอิ่มตัว แต่ผู้ประกอบการไทยได้รุกอีกก้าวในการเข้าไปขยายธุรกิจและขยายตลาดในต่างประเทศ โดยเข้าไปลงทุนในประเทศกลุ่มอาเซียนที่มีศักยภาพสูงอย่าง อินโดนีเซีย เวียดนาม ซึ่งนอกจากจะมีจำนวนประชากรมากแล้ว ยังสามารถผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าของประเทศที่เข้าไปลงทุนได้อีกด้วย
ดังนั้น งาน ASEAN Paper Bangkok 2023 จึงไม่ใช่แค่งานสำคัญของไทยหรือภูมิภาค แต่เป็นงานสำคัญระดับโลกที่คนในอุตสาหกรรมให้ความสำคัญ เพราะอาเซียนเป็นแหล่งผลิตกระดาษอันดับต้นของโลก โดยมีไทยเป็นฮับ (Hub) หรือ ศูนย์กลางของภูมิภาคและอุตสาหกรรม ส่วนอีกกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน คือ การบรรยายในหัวข้อ New standards in dewatering with FloWing disc filter ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตกระดาษ โดยเฉพาะทรัพยากรน้ำ รวมถึงการลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต
การจัดงาน ASEAN Paper Bangkok 2023 นั้น นายธัชพล วงษ์รักษา รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวว่า งานนี้เป็นการพัฒนาและขยายการจัดงาน Tissue & Paper Bangkok ที่จัดขึ้นในปีที่ผ่านมา (2565) และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้ในปีนี้มีการขยายพื้นที่การจัดงานให้ใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับผู้ต้องการเข้าร่วมจัดแสดงงานและเยี่ยมชมงานที่มากขึ้น รวมถึงเปลี่ยนชื่อการจัดงานเป็น ASEAN Paper Bangkok เพื่อให้ครอบคลุมทุกส่วนของอุตสาหกรรมกระดาษ พร้อมยกระดับการจัดงานให้เป็นงานสำคัญระดับภูมิภาค โดยสิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นในครั้งนี้ คือ พื้นที่จัดแสดงงานในกลุ่มกระดาษลูกฟูกและกระดาษรีไซเคิล (Corrugated and Paper Recycling) ที่สอดคล้องกับแนวโน้มของอุตสาหกรรมและทิศทางการเติบโตของความต้องการผลิตภัณฑ์ในกลุ่มที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ จะมีบริษัทชั้นนำจากทั่วโลกเข้าร่วมจัดแสดงงานกว่า 200 ราย และมีผู้เข้าร่วมชมงานมากกว่า 3,000 ราย
สำหรับแนวคิดการจัดงานครั้งนี้ คือ “เทคโนโลยีการผลิตกระดาษเพื่อความยั่งยืนและโซลูชั่นสำหรับธุรกิจของอนาคต” (Sustainable Paper Production Technology & Solution for Future Business) เนื่องจาก
อุตสาหกรรมกระดาษเป็นหนึ่งของอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของโลก แม้สองทศวรรษที่ผ่านมีความกังวลว่ากระดาษจะถูกลดความสำคัญลงจากกระแสดิจิทัล แต่จากการเติบโตและความต้องการกระดาษเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์และชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่องเป็นข้อพิสูจน์ว่ากระดาษยังมีความสำคัญ โดยได้พัฒนาปรับตัวไปในหลายรูปแบบสอดคล้องไปกับวิถีชีวิตใหม่ เทคโนโลยี และสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งแนวคิดของการผลิตและการใช้งานของกระดาษยุคใหม่ นอกจากจะต้องตอบสนองในเชิญพาณิชย์แล้ว ต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
สำหรับงาน ASEAN Paper Bangkok 2023 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม - 1 กันยายน 2566 ณ ฮอลล์ 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.aseanpaperbangkok.com