November 24, 2024

เมกะเทรนสำคัญของโลกที่กำลังเกิดขึ้นและจะดำเนินไปอีกเป็นสิบปีนับจากนี้ คือการสลายตัวของระบบโลกาภิวัฒน์ และนำโรงงานและฐานการผลิตกลับสู่บ้านตัวเองของประเทศตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังจะมีการกีดกันการค้าและปกป้องเทคโนโลยีของตนให้เข้มข้นขึ้น


หลายคนเรียกเทรนสำคัญนี้ว่า “Re-calibrations” ไทยเราจะรับมือกับโลกที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปนี้อย่างไร?

โลกเราในรอบ 40 กว่าปีมานี้ เสียเงินเสียทองและทุ่มเททรัพยากรจำนวนมากมายนับไม่ถ้วนไปกับการสถาปนาระบบ Globalization หรือที่เราแปลไทยว่า “โลกาภิวัฒน์” ขึ้นมาเพื่อจัดระเบียบเศรษฐกิจ การค้า การผลิต และการเงินของทั้งโลก ภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา


นับแต่จีนเปิดประเทศและแบ่งเขตภาคตะวันออกให้เป็นฐานการตั้งโรงงานผลิตของโลกตะวันตก โดยป้อนแรงงานราคาถูกที่มีอยู่เป็นจำนวนมหาศาลให้กับโรงงานเหล่านี้ กิจการธุรกิจของประเทศตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ก็ย้ายฐานไปผลิตในจีน ยุบเลิกโรงงานในประเทศ แล้วนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคราคาถูกจากจีนแทน โดยในประเทศก็ได้จัดตั้งห้างยักษ์ใหญ่ที่ขายสินค้าราคาถูก และมีเครือข่ายทั่วประเทศ เช่น Walmart และอีกหลายแห่ง ขึ้นบริการผู้บริโภคของตัว


ฝ่ายจีนนั้นเล่า เมื่อรับเงินดอลล่าร์เข้ามาเป็นรายได้จากการส่งออก ก็ได้นำกลับไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน ถือไว้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศภายใต้โลกาภิวัฒน์และเปิดเสรีทางการเงิน จนจีนได้กลายเป็นเจ้าหนี้รายสำคัญของรัฐบาลสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯ เป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบนี้


มิเพียงจีนเท่านั้น ที่เปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ Eastern Seaboard เพื่อรับเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายรวมทั้งไทยเองก็ได้ดำเนินนโยบายแบบนี้เช่นกัน ส่งผลให้ไทยเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Globalization แบบเต็มตัว และเต็มที่หลังจากเปิดเสรีทางการค้าและการเงินด้วยอีกช่องทางหนึ่ง


Globalization มาถึงจุดสูงสุดหลังจากโซเวียตล่มสลาย ทำให้สหรัฐฯ กลายเป็นเจ้าโลกแต่ผู้เดียว และเป็นช่วงที่ American Empire ขึ้นสู่จุดสูงสุดอีกด้วย


ระบบแบบนี้พอทำไปนานเข้า ส่งผลให้โรงงานในสหรัฐฯ ยุโรปและญุ่ปุ่น ต้องปิดตัวลง ชนชั้นกลางลำบาก อีกทั้งกิจการที่เข้าสู่ระบบนี้ แม้โรงงานในบ้านจะปิดตัวลง แต่ก็สามารถทำกำไรได้มากเพราะต้นทุนการผลิตต่ำลง ส่งผลให้ราคาหุ้นพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนก่อให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรงขึ้น และส่งผลต่อการเมืองในประเทศ เป็นรากฐานให้นักการเมืองฝ่ายขวาขึ้นมามีอำนาจ อีกทั้งยังต้องสูญเสียความลับทางการผลิตหรือเทคโนโลยีให้กับจีน จนจีนผงาดขึ้นมาเป็นคู่แข่ง และจีนเองก็เริ่มไหวตัว นำเงินสำรองออกมาใช้ขยายแสนยานุภาพและขยายอิทธิพลไปทั่วโลก อย่างที่เห็นกันอยู่


อีกทั้งค่าแรงในจีนที่สูงขึ้นมากๆ เมื่อเทียบกับอดีต และปัญหาละเมิดสิทธิบัตรและขโมยความลับทางการผลิตต่างๆ ตลอดจนคุณภาพการผลิตของโรงงานจีน ที่หลายครั้งต้องนำมาแก้ไขก่อนส่งมอบให้ลูกค้า ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจย้ายฐานการผลิตออกจากจีน


สถานการณ์โควิดทำให้เรื่องเลวร้ายขึ้นเมื่อจีนปิดประเทศและล็อกดาวน์เข้มงวดทำให้ Supply Chain ของโลกปั่นป่วน เพราะขาดวัตถุดิบพื้นฐานแทบทุกด้าน เคมี ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้กระทั่งยาสำคัญหลายชนิด เช่น Antibiotic ก็ยังขาดแคลน เป็นต้น อีกทั้งปัจจุบันค่าแรงในจีนก็สูงขึ้นมากๆ เมื่อเทียบกับอดีต และรัฐบาลจีนเองก็ประกาศชัดเจนว่าจะเข้าควบคุมไต้หวันให้เป็นส่วนหนึ่งให้ได้ โดยที่ไต้หวันเป็นฐานการผลิตใหญ่ของ Micro-processor Chips ชั้นสูง ที่เป็นสมองของระบบเศรษฐกิจแบบดิจิตัล


เหล่านี้ทำให้กิจการของตะวันตกต้องหันมาลดความเสี่ยงของตนลง โดยเริ่มย้ายฐานการผลิตที่มีความสำคัญกลับบ้านหรือย้ายไปที่อื่นแทน เพื่อกระจายความเสี่ยง Systematic Risk นั่นเอง


ที่เห็นชัดเจนคือวงการชิปและกิจการขนาดใหญ่ ซึ่งได้ทยอยกลับไปสหรัฐฯ กันมาก ยักษ์ใหญ่อย่าง Intel, Samsung, Micron, และ TSMC ต่างประกาศโครงการลงทุนมหาศาลของตัวไปแล้ว อีกทั้งรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ออกแพ็กเกจใหญ่ภายใต้กฎหมาย CHIPS เพื่อจูงใจให้กิจการย้ายฐานกลับบ้าน เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง 3-D Printing ที่ก้าวหน้าขึ้นมาก ก็มีส่วนสำคัญ ให้โรงงานรุ่นใหม่ผลิตด้วยต้นทุนต่ำ และตัดสินใจย้ายฐานการผลิตมาอยู่ใกล้ตลาดในบ้านได้ง่ายขึ้น หรือเทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์และ AI ก็ช่วยลดปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานไปได้ เพราะแม้สังคมตะวันตกจะเข้าสู่สังคมสูงอายุกันมาก ก็จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการผลิต

 

เทรนแห่งการลดความเสี่ยง โดยกระจายฐานการผลิตออกจากจีนเพิ่งเริ่มต้น และกำลังจะโหมกระหน่ำแรงขึ้นๆ เมื่อความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เปิดเผยรุนแรงขึ้น


การโดดเข้าร่วมกลุ่ม BRICS ของซาอุดิอาราเบีย อิหร่าน UAE อาร์เจนตินา อียิปต์ และเอธิโอเปีย ยิ่งจะทำให้กลุ่ม BRICS ซึ่งมีจีนและรัสเซียเป็นโต้โผ เข้มแข็งขึ้น และอีกไม่นาน กลุ่มนี้อาจหันไปใช้เงินสกุลอื่นมาซื้อขายน้ำมันและพลังงานแทนดอลล่าร์ ส่งผลให้ Petrodollar ลดความสำคัญลง


หากไทยเราสามารถดำเนินการเชิงรุกในช่วงนี้ นำเสนอบริการแพ็กเกจจูงใจที่น่าสนใจ เพื่อช่วงชิงกิจการสมัยใหม่ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจแบบใหม่ของโลก และคาดว่าจะเติบโตในอนาคต ให้เข้ามาลงทุน และแบ่งปันความรู้ทางการผลิตให้เรา ย่อมเป็นเรื่องเร่งด่วน

 โดย ทักษ์ศิล  ฉัตรแก้ว / Editor in Chief _MBA magazine

29/09/2566

 

 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน ผนึกกำลังจัดงาน SCGC-Mahidol Science Symposium: “Healthcare, Well-being & Sustainability” เดินหน้าความร่วมมือสร้างสรรค์งานวิจัยเชิงพาณิชย์ ผลักดันนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และความยั่งยืนให้กับผู้คนทั้งในประเทศไทยและระดับสากล

ตอบรับเมกะเทรนด์ ภายในงานได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ Research and Innovation for the Future Materials โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข พญาไท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีทีมผู้บริหารจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์ วราภรณ์ รองคณบดี และ ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี พร้อมทั้งทีมผู้บริหารจาก SCGC นายนิวัฒน์ อธิวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการเทคโนโลยี SCGC และ ดร.สุเมธ เจริญชัยเดช หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนา SCGC เข้าร่วมงาน

 

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ SCGC ได้ร่วมมือทางวิชาการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งได้จัดตั้ง “ศูนย์วิจัยนวัตกรรม SCG-MUSC Innovation Research Center” ขึ้นในปี 2562 ณ อาคารเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาพอลิเมอร์ชนิดพิเศษ โดยใช้องค์ความรู้ในศาสตร์เคมีเชิงลึกของมหาวิทยาลัยมหิดล ประสานกับเทคโนโลยีชั้นนำระดับสเกลอัปเชิงอุตสาหกรรมของ SCGC เพื่อต่อยอดในการสร้างวัสดุและผลิตภัณฑ์แห่งอนาคต

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการขยายขอบเขตความร่วมมือให้ครอบคลุมถึงนวัตกรรมด้านสุขภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Healthcare & Well-being) และความยั่งยืน (Sustainability) โดยยังคำนึงถึงหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ขาดแคลนทรัพยากร ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมเคมี รวมถึงส่งเสริม Open Innovation ผ่านความร่วมมือของสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน (Public-Private Partnership) ที่ประสานความเข้มแข็งขององค์กรพันธมิตรเข้าด้วยกัน เพื่อร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับเมกะเทรนด์โลก นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างผู้เชี่ยวชาญและนวัตกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ เพื่อคิดค้นนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

 

ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC กล่าวว่า “ SCGC มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเคมีภัณฑ์เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง โดยนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนและเมกะเทรนด์มาเป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการ โดย SCGC ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนนวัตกรรมผ่านการสร้างเครือข่ายด้าน R&D กับองค์กรและสถาบันชั้นนำทั้งในประเทศและระดับโลก เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA (High Value Added Products & Services) อย่างต่อเนื่อง สำหรับการลงนามความร่วมมือด้าน “Research and Innovation for the Future Materials” ระหว่าง SCGC กับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในครั้งนี้ เป็นการยกระดับและขยายกรอบการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ครอบคลุมทั้งหมด 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) การวิจัยพัฒนาพอลิเมอร์ชนิดพิเศษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาสารประกอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาให้ครอบคลุมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Green Polymer โดยเน้นโซลูชัน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ Reduce, Recyclable, Recycle, Renewable 2) การวิจัยพัฒนาสินค้านวัตกรรมเพื่อสุขภาพ มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ให้มีความสะดวกสบายขึ้น และป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและโรคอุบัติใหม่ และ 3) การวิจัยพัฒนาเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่การลดของเสียและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี รวมถึงการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรงให้เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี หรือการนำสารตั้งต้นที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นต์ต่ำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ”

 

รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี กล่าวว่า “การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ รวมถึงการลงนามต่ออายุข้อตกลงความร่วมมือ จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นระหว่างบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด มหาชน (SCGC) และ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมงานวิจัยที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจ และส่งเสริมงานวิจัยเชิงพาณิชย์ให้กับประเทศไทย ซึ่งเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในระดับสากล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เรามีอาจารย์และนักวิจัย ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยที่หลากหลาก โดยเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ตรงกับความต้องการของ

ภาคเอกชน กิจกรรมครั้งนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเพิ่มขยายความร่วมมือไปในด้านอื่น ๆ อาทิ ด้านนวัตกรรมด้านสุขภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Healthcare & Well-being) และความยั่งยืน (Sustainability) ทั้งยังเป็นโอกาสอันดีที่ในการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมของบุคลากรและนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียนและเมกะเทรนด์โลก และแลกเปลี่ยนมุมมองทางด้านงานวิจัยและนวัตกรรมต่าง ๆ กับทีมนักวิจัยของ SCGC เพื่อหารือต่อยอดความร่วมมือนำไปสู่การทำวิจัยร่วม รวมถึงการให้ทุนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนั้น ยังเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรและนักศึกษาได้พัฒนาแนวคิดต่อยอดสู่การผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ด้วย”

นอกจากนี้ ภายในงาน SCGC-Mahidol Science Symposium: “Healthcare, Well-being & Sustainability” ยังมีการ หารือต่อยอดความร่วมมือทางการวิจัยและนวัตกรรมระหว่างทีมนักวิจัยของ SCGC และคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ เคมี, เทคโนโลยีชีวภาพ, ฟิสิกส์, ชีวเคมี, วัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ, ยางและพอลิเมอร์, เภสัชวิทยา, สรีรวิทยา, กายวิภาคศาสตร์ รวมทั้งได้มีการนำเสนองานวิจัยต่างๆ เช่น การตรวจหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ, การนำส่งยา, เอนไซม์, วัสดุและเซนเซอร์ ฯลฯ พร้อมเดินหน้าหารือความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกับทีมนักวิจัยจาก SCGC อย่างเข้มข้น รวมถึงการให้ทุนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาอีกด้วย

โชว์อินไซต์นักช้อป แบรนด์หรูในไทย และเมกะเทรนด์ที่น่าสนใจเพื่อธุรกิจเติบโต

ส่ง SCGC GREEN POLYMER นวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รุกตลาดโลก

กระแสเทรนด์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว รวมถึงสถาบันอุดมศึกษา

X

Right Click

No right click