เมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Power Purchase Agreement) กับ เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ บริษัทผู้พัฒนาและให้บริการธุรกิจโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชั้นนำของประเทศไทย เพื่อติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ให้แก่อาคารสำนักงาน และสาขา ธนาคารยูโอบีทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้ธนาคารสามารถนำพลังงานหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์มาใช้ และช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงปีละ 200,000 ตัน หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ถึง 8,000 ต้น

ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนของธนาคารยูโอบี ประเทศไทยปี 2566-2573 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการประหยัดพลังงานภายในอาคารสำนักงานและสาขาต่างๆ ทั่วประเทศ ภายใต้ข้อตกลงนี้เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ จะดำเนินการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ที่อาคารยูโอบี สาทร อาคารยูโอบี เพชรเกษม และสาขาอีก 24 แห่งที่มีความพร้อมในการติดตั้ง ซึ่งการผลิตไฟฟ้าจากระบบพลังงานแสงอาทิตย์ นอกจากจะช่วยให้ธนาคารลดค่าไฟฟ้าแล้วและยังช่วยรักษาและดูแลสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

นางสาวปิยพร รัตน์ประสาทพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือข่ายสาขาและบริการดิจิทัล กล่าวว่า “ธนาคารตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้กำหนดเป้าหมายในการบรรเทาผลกระทบนี้ด้วยการยกระดับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในอสังหาริมทรัพย์ของธนาคาร ปัจจุบันสาขาของธนาคาร มีสัดส่วนในการใช้พลังงานประมาณร้อยละ 40 ของการใช้พลังงานทั้งหมดของธนาคารยูโอบี ในประเทศไทย[1] ซึ่งโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ริเริ่มร่วมกับ เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่คาดหวังที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรภายใต้ Scope 2[2] อย่างมีนัยสำคัญ แต่อาจบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเกือบร้อยละ 90 ในสาขาที่ร่วมโครงการอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการรักษาความเป็นกลางทางคาร์บอนในการดำเนินธุรกิจของยูโอบี เป็นอย่างดี”

นายอนาวิล จิรธรรมศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ CHOW กล่าวว่า “ เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือธนาคารยูโอบี เพื่อยกระดับการพัฒนาองค์กรไปสู่ความยั่งยืนและลดผลกระทบของการดำเนินธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทั้งสององค์กรในการนำพลังงานสะอาด และพลังงานหมุนเวียนเข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเชาว์ ในการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน บริษัทพร้อมทำหน้าที่พัฒนาโครงการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เหมาะสมกับความต้องการของอาคารสำนักงาน และสาขาของธนาคารยูโอบี เพื่อให้เกิดการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ธนาคารสามารถบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ”

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จะดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ อาคารยูโอบี เพชรเกษม และ สาขาธนาคารที่ได้รับการคัดเลือกใน 13 แห่งทั่วประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ขอนแก่น เชียงราย นครปฐม นครราชสีมา นนทบุรี ภูเก็ต ระยอง สุรินทร์ และอุบลราชธานี ภายในปีนี้ และจะดำเนินการติดตั้งเพิ่มเติมใน 11 สาขาอื่นๆ ที่เหลือรวมไปถึงที่อาคารยูโอบี สาทร ให้แล้วเสร็จภายในปี 2568


[1] ที่มา รายงานความยั่งยืน ประจำปี 2566 ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

[2] Scope 2 emission คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Indirect Emissions)

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์เงินฝากสีเขียว (Green Term Deposit) ในสกุลเงินบาท สกุลเงินเหรียญสิงคโปร์ และสกุลเงินเหรียญสหรัฐ เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้าองค์กรและลูกค้าสถาบันรายใหญ่มีส่วนร่วมในโครงการที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน

เงินฝากที่ธนาคารยูโอบีได้รับจากลูกค้าจะถูกนำไปใช้สนับสนุนสินเชื่อสีเขียวสำหรับกิจกรรมและสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ด้าน ESG ภายใต้กรอบแนวคิดการให้สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนของธนาคาร (Sustainable Finance Framework) ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SGDs) เช่น สินเชื่อเพื่ออาคารสีเขียว สินเชื่อเพื่อเมืองอัจฉริยะซึ่งรวมถึงเรื่องการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานหมุนเวียน  และสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นต้น

องค์กรที่ใช้บริการผลิตภัณฑ์เงินฝากประเภทนี้นอกจากจะได้รับดอกเบี้ยเงินฝากแล้ว ยังมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาการเติบโตที่ยังยืน โดยธนาคารจะจัดส่งรายงานเงินฝากสีเขียวประจำปี ที่รวบรวมข้อมูล และผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม จากโครงการด้านความยั่งยืนที่ได้รับการอนุมัติของธนาคาร เช่น ข้อมูลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เทียบเท่ากับจำนวนต้นไม้ที่ปลูก และจำนวนปริมาณการใช้รถยนต์ที่ลดลงในแต่ละปี ซึ่งบริษัทสามารถนำข้อมูลจากรายงานฉบับนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำรายงานด้านความยั่งยืน เพื่อตอกย้ำถึงความโปร่งใสและความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลของบริษัท

นางพณิตตรา เวชชาชีวะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Financial Institutions และ ESG Solutions กล่าวว่า “ความยั่งยืนเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักของยูโอบีในการดำเนินธุรกิจ เราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์บัญชีเงินฝากสีเขียว (Green Term Deposit) ที่ช่วยเปิดโอกาสให้ธุรกิจมีส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน และได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งธุรกิจสามารถมั่นใจได้ว่าโครงการต่างๆ ที่ธนาคารให้สินเชื่อจะอยู่ภายใต้กรอบแนวคิดการให้สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนของธนาคาร ที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นไปตามมาตรฐานความยั่งยืนระดับสากล”

บริษัท อาร์เซลิก ฮิตาชิ โฮม แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (อาร์เซลิก) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่เริ่มใช้บริการผลิตภัณฑ์บัญชีเงินฝากสีเขียวของธนาคารยูโอบี ในประเทศไทย

นายอูมุท ออซซอส กรรมการบริหารฝ่ายการเงินและบัญชี กลุ่มบริษัทอาร์เซลิก ฮิตาชิ โฮม แอพพลายแอนซ์ และ บริษัท อาร์เซลิก ฮิตาชิ โฮม แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “บริษัทมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับมาตราฐานระดับโลกและหลักการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล บริษัทมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (net zero) ภายในปี 2593 เราจึงมีการดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของเรา โดยการเปิดบัญชีเงินฝากสีเขียวกับยูโอบีช่วยให้เรามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการทำธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น”  

นายธนโชติ รุ่งสิทธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าบลจ.เอ็มเอฟซีเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นอย่างมาก เพราะความยั่งยืนส่งผลต่อวิธีการดำเนินธุรกิจของบริษัทต่างๆ ในปัจจุบัน และเราในฐานะผู้ลงทุนสามารถมีบทบาทในการขับเคลื่อนการลงทุนที่เกี่ยวกับความยั่งยืน เราเลือกเปิดบัญชีเงินฝากสีเขียวกับธนาคารยูโอบี เพราะธนาคารยูโอบีมีกรอบแนวคิดการให้สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เรามั่นใจว่าเงินลงทุนของเราจะถูกนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนที่เป็นไปตามมาตรฐานด้าน ESG และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ 

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย แต่งตั้งให้นายริชาร์ด มาโลนีย์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ของธนาคาร มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 โดยจะเข้ามารับตำแหน่งต่อจาก นายตัน ชุน ฮิน ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่มาตั้งแต่ปี 2559 ทั้งนี้ นายตัน ชุน ฮิน จะกลับไปรับบทบาทใหม่ในตำแหน่ง รองประธานฝ่ายกำกับดูแลความเสี่ยงและกำกับธุรกิจของกลุ่มธนาคาร (Deputy Head of Group Governance, Risk and Compliance) ของกลุ่มธนาคารยูโอบี ที่สำนักงานใหญ่ ประเทศสิงคโปร์

นายริชาร์ด มาโลนีย์ มีประสบการณ์ในวงการธนาคารกว่า 40 ปี ในด้านกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ตลาดทุน และกลุ่มธุรกิจลูกค้ารายย่อย ในภูมิภาคอาเซียน เขาดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ของ Group Wholesale Banking นับตั้งแต่ร่วมงานกับยูโอบีในปี 2557 ก่อนหน้านี้นายมาโลนีย์ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการประจำภูมิภาคอาเซียนที่ธนาคารระดับโลกแห่งหนึ่ง เขาเริ่มต้นอาชีพด้วยตำแหน่งด้านการเงินในนิวยอร์ก หลังจากนั้นจึงย้ายไปทำงานที่ลอนดอน ฮ่องกง และสิงคโปร์

ในฐานะที่เป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ นายมาโลนีย์มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของธนาคาร ผ่านการพัฒนาและการดำเนินการตามกลยุทธ์สำคัญๆ เขาเป็นผู้นำพอร์ตโฟลิโอของหน่วยงานสนับสนุนธุรกิจ รวมถึงโครงการโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการลูกค้าและดูแลข้อตกลงทางธุรกิจ การปฏิบัติการต่อต้านอาชญากรรมทางการเงินและการขายข้อมูล ในบทบาทใหม่นี้ นายมาโลนีย์จะเป็นผู้นำในการเพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัลของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เพิ่มสิทธิประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ และเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับโอกาสทางธุรกิจในประเทศไทยและทั่วทั้งเครือข่ายระดับภูมิภาคของกลุ่มธนาคารยูโอบี

นายวี อี เชียง รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารยูโอบี กล่าวว่า “หลังจากการเข้าซื้อกิจการลูกค้ารายย่อยซิตี้แบงก์ในประเทศไทย เราจะมุ่งเน้นไปที่การนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายมากขึ้นให้กับลูกค้าที่มีฐานใหญ่ขึ้น นายริชาร์ด เป็นนายธนาคารผู้ช่ำชองและมีความรู้กว้างขวางด้านการธนาคารทั้งแบบลูกค้าองค์กรและลูกค้ารายย่อย และเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำการเติบโตในระยะต่อไปสำหรับเครือข่ายของธนาคารในประเทศไทย สำหรับนายชุน ฮิน ที่เป็นผู้นำที่มีความสามารถหลากหลายและมากประสบการณ์ในการบริหารจัดการทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค จึงเหมาะสมที่จะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของการกำกับดูแล ความเสี่ยง และกำกับธุรกิจทั่วทั้งกลุ่มธนาคาร”

นายตัน ชุน ฮิน ร่วมงานกับยูโอบีในปี 2555 ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายสินเชื่อรายย่อยของกลุ่มธนาคาร ภายใต้การนำของเขาในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ทำให้ธนาคารเติบโตขึ้นจนกลายเป็นธนาคารต่างประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับสอง และผลักดันให้ธุรกิจบัตรเครดิตของธนาคารใหญ่เป็นอันดับที่สามในประเทศไทย เขายังได้ขับเคลื่อนกลุยทธ์สำคัญของธนาคาร ในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย และสนับสนุนลูกค้าในภูมิภาคให้เข้าสู่ตลาดใหม่

ในฐานะรองประธานฝ่ายกำกับดูแลความเสี่ยงและกำกับธุรกิจของกลุ่มธนาคาร นายตัน ชุน ฮิน จะรับผิดชอบเรื่องการปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงของธนาคาร เพื่อเสริมสร้างการกำกับดูแลและวัฒนธรรมความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร เขาจะรับผิดชอบด้านการบริหารความเสี่ยง กำกับธุรกิจ กฎหมายและสำนักเลขาธิการของกลุ่มธนาคาร การอนุมัติสินเชื่อในการทำธุรกรรมต่างๆ และการจัดการการเรียกคืนสินทรัพย์ของกลุ่มธนาคาร

นางวีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล ซึ่งปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการ Retail and Brand ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการ Wholesale Banking และ Deputy CEO ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เธอเคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงทั้งลูกค้ารายย่อยและลูกค้าองค์กรในซิตี้แบงก์ ประเทศไทย ก่อนที่จะมาร่วมงานกับยูโอบีในปี 2565 เพื่อช่วยดูแลการรวมธุรกิจลูกค้ารายย่อยของกลุ่มซิตี้เข้ากับยูโอบี ประเทศไทย 

ประเทศไทยนับเป็นตลาดสำคัญของเครือข่ายระดับภูมิภาคของธนาคาร ธนาคารยูโอบีได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี และได้เข้าซื้อธุรกิจธนาคารรายย่อยของซิตี้กรุ๊ปในประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน 2565 ด้วยช่องทางการให้บริการลูกค้าที่มากขึ้นและเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่งขึ้น ธนาคารจึงสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ และสิทธิประโยชน์ที่หลากหลายมากขึ้นให้กับฐานลูกค้าที่ขยายใหญ่ขึ้น

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดตัว UOB Sustainability Compass เครื่องมือชิ้นแรกที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในทุกอุตสาหกรรมในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืน ด้วยการทำแบบประเมินออนไลน์เพื่อรับรายงานที่ระบุแผนงานและขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน

ผลสำรวจจากรายงาน UOB Business Outlook Study 2024 พบว่าร้อยละ 94 ของธุรกิจไทยตระหนักว่าประเด็นความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ โดยร้อยละ 22 ของผู้ตอบแบบสำรวจมีแผนที่จะเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ในอีก 3 ปีข้างหน้า และต้องการความช่วยเหลือจากธนาคารในด้านต่างๆ เช่น ต้องการเชื่อมต่อกับบริษัทที่อยู่ในระบบนิเวศอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อเรียนรู้แนวปฎิบัติตัวอย่าง ต้องการบริการด้านการลงทุนรวมถึงคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานด้าน ESG และต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

เพื่อตอบสนองต่อความต้องการธุรกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จึงร่วมกับ พีดับบลิวซี พัฒนา UOB Sustainability Compass ซึ่งเป็นเครื่องมือในรูปแบบของแบบประเมินออนไลน์ ที่จะช่วยวัดระดับและประเมินความพร้อมด้านความยั่งยืนของบริษัทว่าอยู่ในระยะใด บริษัทสามารถลงทะเบียนเพื่อทำแบบสอบถาม และรับรายงานที่รวบรวมแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน โดยรายงานมีการรวบรวมข้อมูลจำเพาะของกฎระเบียบ บรรทัดฐาน และมาตราฐานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทของแต่ละอุตสาหกรรม พร้อมคำแนะนำเกี่ยวกับโซลูชันทางการเงินที่เหมาะสมให้แก่บริษัท

นางสาวอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Commercial Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ความยั่งยืนถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยสร้างความแตกต่างให้แก่บริษัทในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้บริษัทสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า และปรับแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบและเทรนด์การดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้อง บริษัทที่สามารถพัฒนาธุรกิจให้มีความยั่งยืนจะช่วยสร้างความแตกต่างและขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว เราในฐานะธนาคารชั้นนำของภูมิภาคตระหนักถึงความสำคัญในการสนับสนุนลูกค้าให้สามารถพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างสะดวกขึ้น ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จาก UOB Sustainability Compass เพื่อรับทราบแผนงานที่ชัดเจนเพื่อข้ามอุปสรรค และความท้าทายในการพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน”

นางพณิตตรา เวชชาชีวะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Financial Institutions และ ESG Solutions ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะความยั่งยืนเป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่บรรษัทขนาดใหญ่นำมาพิจารณาสำหรับคัดสรรองค์กรที่ต้องการทำธุรกิจร่วมกัน ธนาคารจึงได้ออกแบบกรอบแนวคิดที่เรียกว่า Sustainable Finance Framework เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อความยั่งยืนประเภทต่างๆ อาทิ  สินเชื่อเพื่ออาคารสีเขียว (Green Building) สินเชื่อเพื่อเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และสินเชื่อเพื่อการเปลี่ยนผ่าน (Transition Financing) ซึ่งสินเชื่อประเภทต่างๆ นี้ จะช่วยลดระยะเวลาและลดการใช้ทรัพยากรภายในองค์กรให้แก่ธุรกิจ ช่วยให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างทันท่วงที”

ปัจจุบันมีบริษัทจากหลากหลายอุตสาหกรรมได้ทดลองใช้เครื่องมือ UOB Sustainability Compass ประกอบด้วย บริษัท มโนห์รา อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด ผู้ผลิตข้าวเกรียบรายใหญ่ของประเทศ และ บริษัท ยูนิคอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด

นายอภิวัฒน์ วังวิวัฒน์ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ บริษัท มโนห์รา อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด กล่าวว่า “การเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับภาคอุตสาหกรรมอาหารที่มีการแข่งขันสูง บริษัทของเรามีการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก เราจึงให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงปฎิบัติตามมาตราฐานระบบจัดการสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตของโรงงานอย่างเคร่งครัด หลังจากที่ได้ทดลองใช้ UOB Sustainability Compass เราได้รับรายงานที่รวบรวมกฎระเบียบสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท และเราสามารถใช้ข้อมูลจากรายงานฉบับนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจในการหาแนวทางการดำเนินธุรกิจที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม เพื่อขับเคลื่อนวาระ ESG ของเราไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง”

นายโสฬส ยอดมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูนิคอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด กล่าวว่า “รายงานที่บริษัทได้รับจากการใช้ UOB Sustainability Compass ช่วยตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการพัฒนาธุรกิจของเราไปสู่ความยั่งยืน ข้อมูลที่เราได้รับจากรายงานฉบับนี้ทำให้เราสามารถระบุแนวทางที่บริษัทควรบฎิบัติเพื่อทำให้ธุรกิจให้มีความยั่งยืน เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การคัดสรรพันธมิตรทางธุรกิจ และการเลือกใช้ซัพพลายเออร์ที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนมากยิ่งขึ้น เราพร้อมที่จะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับธนาคารยูโอบีเพื่อขอสนับสนุนสินเชื่อทางการเงินเพื่อความยั่งยืน ที่จะช่วยสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งภายในและภายนอกองค์กรของเรา”

ตั้งแต่ธนาคารยูโอบีเปิดตัว UOB Sustainability Compass เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย มีบริษัทกว่า 1,700 แห่งทั่วภูมิภาคได้ทดลองใช้เครื่องมือนี้เพื่อเป็นตัวช่วยในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจสีเขียว ธนาคารมีแผนจะเปิดตัวเครื่องมือนี้ที่ประเทศอินโดนิเซียนเป็นลำดับต่อไปภายในปีนี้ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ uob.co.th/compass-th

นายชูรัตน์ จึงธนสมบูรณ์ กรรมการผู้จัดการ (ที่ 3 จากซ้าย) นางสาวมธุชา จึงธนสมบูรณ์ รองกรรมการผู้จัดการสายงานการจัดการ (ที่ 2 จากซ้าย) ผศ.ดร.ศิริรักษ์ ขาวไชยมหา รองกรรมการผู้จัดการสายงานบัญชีและการเงิน (กลาง) บริษัท ชูวิทย์ฟาร์ม (2019) จำกัด (มหาชน) หรือ CFARM และ ดร.สมภพ ศักดิ์พันธ์พนม (ที่ 3 จากขวา) ประธานกรรมการ นายสุริยา ธรรมธีระ (ที่ 2 จากขวา) รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ที่ปรึกษาทางการเงิน คุณธีรศักดิ์ ทวีปิยมาภรณ์ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ (ซ้ายสุด) บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) แกนนำการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ร่วมนำเสนอข้อมูลรายละเอียดหลักทรัพย์แก่นักลงทุน จ.สุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดที่ 5 โดย CFARM มีแผนเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO)จำนวน 149 ล้านหุ้นและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ณ โรงแรมวังใต้ เมื่อเร็วๆ นี้

Page 1 of 11
X

Right Click

No right click