November 23, 2024

มนุษย์เราอยู่รอดได้ด้วย 3 สิ่ง คือ อาหาร น้ำ และพลังงาน

ที่เหลือมนุษย์ล้วนผลิตขึ้นมาได้  ยิ่งพลังงานด้วยแล้ว ถ้ามีมากและใช้ให้เป็น ก็จะนำมาช่วยผลิตอาหารและน้ำได้จนเพียงพอแก่การบริโภค

 

ประเทศไทยเราโชคดีที่มีอาหารและน้ำเหลือเฟือ แต่พลังงานนั้นเป็นปัญหามาโดยตลอด 

เพราะเราต้องนำเข้าพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าส  และราคาของเหล่านี้ มักขึ้นต่อ Geopolitics หรือการเมืองของโลก  รัสเซียบุกยูเครน ราษฏรของเราก็ต้องซื้อข้าวแพงขึ้น

OPEC ลดการผลิต เราก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และปีหน้าก็ต้องเติมน้ำมันแพงขึ้นอีก

นี่ยังไม่รู้ว่าฮามาสรบกับอิสราเอล จะส่งผลระยะยาวอย่างไรต่อราคาพลังงาน

แต่เชื่อเถอะ ไม่ดีต่อเราแน่ๆ !

คงไม่เฉพาะแต่เรา ประเทศส่วนใหญ่ในโลกที่ผลิตพลังงานเองไม่ได้ หรือได้ไม่พอใช้ ย่อมต้องเจอผลกระทบทางลบทั้งสิ้น

แล้วทำไมเรายังต้องแขวนชะตากรรมของเรากับ Geopolitics แบบนี้ ซึ่งวุ่นวายอยู่ได้ด้วยน้ำมือผู้นำเพียงไม่กี่กลุ่ม และอดีตก็พิสูจน์มาแล้วว่า แหล่งพลังงานมักเป็นเป้าหมายของการรบพุ่งกัน และมันก็คงจะทำให้เกิดความขัดแย้งกันไปไม่สิ้นสุดในอนาคต

แต่ละครั้ง พวกเราก็ต้องพลอยลำบากไปด้วย เหมือนถูกเขาจับเป็นตัวประกัน ทั้งๆ ที่หาได้เกี่ยวข้องได้เสียอันใดไม่

เราต้องปลดแอก! 

เราต้องวางแผนให้การผลิตพลังงานของเราในอนาคต มีลักษณะไม่รวมศูนย์ หรือ Decentralize ตีตัวออกห่างจากการเมืองในลักษณะ Geopolitics ของโลก ซึ่งในอนาคตจะเข้มข้นขึ้นเมื่อจีนเข้ามาเป็นผู้เล่นเต็มตัว

 ทางเดียวที่จะทำได้คือต้องหันไปหาพลังงานนิวเคลียร์ เพราะมันสะอาด สอดคล้องกับการแก้ปัญหาโลกร้อน อีกทั้งยังผลิตได้ทีละมากๆ และเริ่มจะถูกลงและปลอดภัยขึ้นแล้วด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ

 

พลังงานนิวเคลียร์ที่เป็นอุดมคติคือ Nuclear Fusion ซึ่งขณะนี้มนุษย์สามารถพัฒนา Reactor ขึ้นมาได้แล้วในระดับห้องทดลองแต่ในระดับ Commercial นั้นยังต้องรอต่อไป

Nuclear Fusion Technology เป็นเทคโนโลยีของดวงอาทิตย์ เชื่อกันว่าดวงอาทิตย์เปล่งความร้อนด้วยวิธีนี้

 นั่นคือการรวมตัวของนิวเคลียสจากสองให้เหลือเพียงหนึ่ง ภายใต้อุณหภูมิที่สูงมากๆ โดยกระบวนการนี้จะเปล่งพลังงานออกมาจำนวนมากด้วย

มีการทดลองกับธาตุหลายชนิด แต่ที่น่าสนใจคือ Proton-boron (pB-11) เพราะผลลัพธ์ที่ได้ติดมาแค่ฮีเลียม (Helium) เพียง 3 นิวเคลียส ที่เหลือล้วนเป็นพลังงานสะอาด ปราศจากกากกัมมันตภาพรังสี หรือ Radioactive Waste แม้แต่น้อย

สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ในระยะห้องทดลอง แต่ก็มีพัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ ความก้าวหน้าทางด้านวัสดุศาสตร์และ AI น่าจะช่วยสร้างสนามแม่เหล็กที่สามารถควบคุมปฏิกิริยาพลาสม่าในเตาปฏิกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จนสามารถนำมาใช้งานจริงได้ในเร็ววัน

 

ส่วนพัฒนาการของ Nuclear Fission Reactor นั้น เครื่องปฏิกรณ์รุ่นใหม่ ที่เรียกว่า Third-generation Reactor ก็ได้เพิ่มระบบความปลอดภัยที่สูงมาก และการออกแบบโรงไฟฟ้าสมัยนี้ ก็คำนึงถึงอุบัติเหตุจากภัยธรรมชาติ เช่น ซึนามิและแผ่นดินไหว ซึ่งเคยทำให้เครื่องปฏิกรณ์ที่ฟูกูชิมาแตกมาแล้ว

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์รุ่น 3 อยู่ในจีนและอินเดีย จำนวนเกือบ 10 โรง  ปัจจุบันการออกแบบและผลิตเตาปฏิกรณ์โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ (Fourth-generation Reactor) เช่น sodium-cooled fast reactors (SFRs), gas-cooled fast reactors (GFRs), very high temperature reactors (VHTRs), and molten salt reactors (MSRs) ก็พบว่าทดลองแล้วได้ผลดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์แบบกระทัดรัด ที่เรียกว่า SMR (Small Modular Reactor) นั้น จะปลอดภัยยิ่งขึ้นไปอีก และจะลดต้นทุนได้มาก เพราะราคาถูกลงแยะ และผลิตได้ทีละมากๆ ขนย้ายไปติดตั้งได้ง่าย ซึ่งผู้พัฒนา (NuScale) ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ เรียบร้อยแล้ว


การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้ขับขี่รุ่นใหม่ ที่หันมาใช้รถยนต์ EV แทนรถยนต์แบบสันดาบภายใน การอุบัติขึ้นของ Generative AI ในนาม ChatGpt ส่งผลให้องค์กรทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐทั่วโลกวางแผนที่จะนำ AI มาประยุกต์ใช้กับงานของตนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน การเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์ที่ควบคุมโดย AI ในภาคการผลิตและภาคบริการ กระแสความนิยมขององค์กรภาคธุรกิจและภาครัฐต่อการเคลื่อนย้ายข้อมูลและซอฟท์แวร์ขึ้นไปอยู่บน Cloud Computer (เทรนด์นี้เรียกว่า Digital Transformation) ตลอดจนขนาดของการสร้าง เคลื่อนย้าย และจัดเก็บ ข้อมูลในยุค 5G, 6G, 7G…..

เหล่านี้ย่อมต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพราะคอมพิวเตอร์ต้องเพิ่ม หน่วยความจำและหน่วยประมวลผลต้องเพิ่ม ศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center และ จุดชาร์ตแบตเตอรี่รถยนต์และพาหนะ EV ทั้งปวง ก็ต้องเพิ่ม และจะเป็นการเพิ่มแบบก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้เสียด้วย เพราะ Adoption Rate ของ EV และ AI เพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้นและกำลังจะ Take-off

 สิ่งเหล่านี้เป็นคำตอบอยู่ในตัวว่าไทยเรายังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล และทุกข์ของเราจะไม่หมดไป ถ้ายังไม่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง

โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว / Editor in Chief _MBA magazine

09/10/2566

ทุกคนที่แคร์ต่อปัญหาโลกร้อนและมลพิษในอากาศ ทั้งฝุ่น PM 2.0 ทั้งก๊าซเรือนกระจก และระดับคาร์บอนฯ บนชั้นบรรยากาศ ต้องดีใจและจริงจังกับโอกาสที่กำลังเปิดขึ้นในช่วงนี้ และมันจะเป็น Investment Theme สำคัญอีกอันหนึ่งในอนาคตอันใกล้ ซึ่งเราสามารถทำกำไรกับมันได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ขณะช่วยโลกไปด้วย
นั่นคือ การลงทุนใน “พลังงานสะอาดและยั่งยืน”
เราย้ำอยู่เสมอว่า ความต้องการพลังงานนับแต่นี้ จะเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด จนยากที่ความสามารถในการผลิตพลังงานที่มีอยู่ปัจจุบันยากจะรับได้
ผู้ขับขี่รุ่นใหม่เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค หันมาใช้รถยนต์ EV แทนรถยนต์แบบสันดาบภายใน การอุบัติขึ้นของ Generative AI ในนาม ChatGpt ส่งผลให้องค์กรทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐทั่วโลกวางแผนที่จะนำ AI มาประยุกต์ใช้กับงานของตนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน การเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์ที่ควบคุมโดย AI ในภาคการผลิตและภาคบริการ กระแสความนิยมขององค์กรภาคธุรกิจและภาครัฐต่อการเคลื่อนย้ายข้อมูลและซอฟท์แวร์ขึ้นไปอยู่บน Cloud Computer (เทรนด์นี้เรียกว่า Digital Transformation) ตลอดจนขนาดของการสร้าง เคลื่อนย้าย และจัดเก็บ ข้อมูลในยุค 5G, 6G, 7G…..
เหล่านี้ย่อมต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพราะคอมพิวเตอร์ต้องเพิ่ม หน่วยความจำและหน่วยประมวลผลต้องเพิ่ม ศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center และ จุดชาร์ตแบตเตอรี่รถยนต์และพาหนะ EV ทั้งปวง ก็ต้องเพิ่ม และจะเป็นการเพิ่มแบบก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้เสียด้วย เพราะ Adoption Rate ของ EV และ AI เพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้นและกำลังจะ Take-off
ทั้งหมดทั้งมวลล้วนต้องขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าทั้งสิ้น
ปัญหาคือกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าทั้งหมดในโลกปัจจุบันมีไม่พอ ต้องสร้างใหม่อีกแยะ แต่ถ้าสร้างโรงไฟฟ้าแบบเดิม ที่อาศัยพลังงานฟอสซิลเป็นตัวปั่นไฟ ก็จะไปซ้ำเติมปัญหาโลกร้อนเข้าให้อีก
ในบรรดาพลังงานสะอาดแต่ละชนิด คือพลังน้ำ (เขื่อน) ลม แสงแดด ไฮโดรเจน และนิวเคลียร์ แต่ละแบบล้วนมีข้อดีข้อเสีย


เขื่อนนั้นสร้างยากและกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาก ลมต้องอาศัยที่ที่มีลมพัดและกังหันปั่นไฟก็ยังแพง แสงแดดก็เช่นกัน ต้องตั้งไว้ในที่แดดแรงและกินพื้นที่มาก ไฮโดรเจนแพงและยังผลิตจำนวนมากไม่ได้ ส่วนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (Fission Technology) แม้จะมั่นคงและยั่งยืนกว่าพวกที่พูดมา ก็ยังแพงมากและภาพลักษณ์แย่ เพราะอันตรายจากกากกัมมันตภาพรังสีเมื่อเกิดอุบัติเหตุใหญ่ที่เชอร์โนบิลและฟูกูชิมา ส่วนพลังงานนิวเคลียร์ที่ปลอดภัยแบบดวงอาทิตย์ (Fusion Technology) นั้น ก็ยังอยู่ในระดับห้องทดลอง แม้จะเริ่มเห็นว่าเป็นไปได้แล้ว แต่ก็ยังต้องรอไปอีกหลายปีกว่าจะนำมาใช้ได้จริง
เดชะบุญที่ตอนนี้ SMR หรือ Small Modular Reactor ที่สร้างขึ้นโดย NuScale ได้รับใบอนุญาตและรับรองมาตรฐานจาก U.S. Nuclear Regulatory Commission (NRC) โดย NuScale นั้นเป็นสตาร์ทอัพที่ Spin-off จากเล็ปของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอเรกอน
จึงเริ่มมีการสร้างโรงไฟฟ้าหลายแห่งในสหรัฐฯ และแคนาดา ที่จะนำ SMR ไปติดตั้งแล้ว และจะเริ่มดำเนินการได้ภายในเวลา 6 ปีนี้ (ญี่ปุ่นโดยฮิตาชิก็เริ่มลงทุนในเทคโนโลยีนี้แล้วเช่นกัน)
ต้องบอกก่อนว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปัจจุบันนั้นราคาแพงมาก เพราะต้องสร้างเครื่องปั่นไฟและระบบให้ฟิตกับการออกแบบ แล้วขนไปประกอบ ณ โรงไฟฟ้าแต่ละแห่งที่สร้างขึ้น ต้นทุนจึงแพงมาก (หลักหมึ่นล้านบาทต่อโรง)
ผิดกับ SMR ที่สามารถผลิตจำนวนมากๆ ได้จากโรงงานของ NuScale แล้วนำไปติดตั้งได้เลย โดยกำลังผลิตของแต่ละโมดูลจะได้ประมาณ 50 เมกกะวัตต์ (ใช้ได้อย่างต่ำ 6 หมึ่นครัวเรือนในเขตพื้นที่นอกกรุงเทพฯ และปริมณฑล)
ถ้าต้องการขยายกำลังผลิตในพื้นที่ ก็สามารถบรรจุ SMR หลายๆ เครื่องได้ต่อ 1 โรงไฟฟ้า (ลองดูตัวอย่าง SMR และโรงไฟฟ้าแบบใหม่ได้จากเว็บไซต์ของ NuScale)
ข้อดีอีกอย่างของมันคือเล็กและไม่จำเป็นต้องสร้างหอหล่อเย็น (Cooling Tower) เพราะใช้ความร้อนไม่มากเท่าเทคโนโลยีเดิม ทำให้ประหยัดค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้า ตลอดจนปริมาณน้ำและระบบหล่อเย็น
SMR จะช่วยให้เราได้พลังงานสะอาดและเพียงพอต่อความต้องการในอนาคต
อันที่จริงแหล่งพลังงานในอุดมคติเลยคือ Fusion Technology (เชื่อว่าเป็นเทคโนโลยีเดียวกับดวงอาทิตย์) ซึ่งอาจจะปลอดภัยร้อยเปอร์เซนต์เพราะไม่คายกากนิวเคลียร์เลย (หรือคายน้อยมาก)
แต่ตราบเท่าที่มันยังไม่เสร็จให้ใช้ SMR ย่อมเป็นความหวังสำคัญ

โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว / Editor in Chief _MBA magazine

05/10/2566

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดทำคลิปวีดิโอ “สนพ.เราสร้างสรรค์...เพื่อทุกคน” ชุดที่ 2 ขึ้น เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ของ สนพ.

X

Right Click

No right click